เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]


    หลวงปู่กลิ่น วัดหนองบัว อายุ 117 ปี ท่านเป็นพระที่เรืองพระเวทย์อย่างสูงในยุคนั้น มีศิษย์พระธุดงค์ที่มาฝากตัวสำนักท่านหลายรูป โดยศิษย์องค์สำคัญได้มีรูปปั้นอยู่ที่วัดถ้ำขุนแผนอันได้แก่

    1. หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน ตำหรับแหวนพิรอดสุดขลัง
    2. หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ปรมาจารย์เสืออันดับหนึ่ง
    3. หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ฉายามัจจุราจยังเมิน
    4. หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เหรียญหล่ออันดับหนึ่งของนครปฐม
    5. หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน รูปหล่อพระเกจิอันดับหนึ่ง
    6. หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระอาจารย์ของกรมหลวงชุมพร
    7. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว ต้นตำหรับเบี้ยแก้อันดับหนึ่ง
    8. หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว ปรมาจารย์แห่งตะกรุดหัวใจโลกธาตุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948

    ไม่ได้มีของอะไรแจกมากขนาดนั้นครับ พี่บัติ ผมไม่ได้เหงาอะไรหรอก แต่อยากเห็การแสดงความคิดเห็นในกระทู้บ้าง มานั่งพิมพ์คนเดียวแบบนี้ ไม่ได้เงิน ไม่ได้ผลประโยชน์อะไร มันก็เซ็งๆเท่านั้นเอง ถ้าเหงาจริงไปทองหล่อเอกมัยนู่นแล้ว
     
  3. bat119

    bat119 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    14,520
    ค่าพลัง:
    +30,858
    หวัดดีเจ้าของกระทู้และสมาชิกทุกท่านครับ เอกมัยทองหล่อไปด้วย555
     
  4. THANARATH 2010

    THANARATH 2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ถ้าไปสุราษฏร์บอกด้วยนะครับคุณ สุรเชษฐ์ เพื่อนของผมอาสาพาไปกราบได้ทั้ง 4 องค์เลยครับ 086-9411950 ธนรัตน์
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ขอบคุณอย่างยิ่งครับ ไว้รอสอบเสร็จก่อนนะครับ วันนี้ผมจะลงกระทู้เป็นวันสุดท้าย แล้วค่อยเจอกันใหม่เว้นประมาณ 1 เดือนนะครับ เพราะผมคงต้องเตรียมตัวสอบซะหน่อย เพราะฉะนั้นพระเครื่องคงไม่ได้อธิษฐานแบบupgradeนักนะ ยังไงถ้าลงใต้คงต้องรบกวนคุณธนรัตน์แน่ๆครับ (แต่ผมขอออกค่าน้ำมันนะ)

    สรุปความคืบหน้าตอนนี้

    1. ล็อกเกตเปิดโอกาสให้โอนเงินที่ท่านทำบุญจองถึงวันที่ 30 เมษายน ครับ ใครที่ยังไม่ได้โอนก็ตัดสินใจนะครับ (จำเป็นต้องเลื่อนสิทธิ์ตัวสำรอง) เพราะของแบบนี้ไม่ได้จัดสร้างบ่อยครั้งนัก ว่าไปจะเหมือนเชียร์พระที่ตัวเองสร้าง

    2. ความคืบหน้าเรื่องการอธิษฐานจิตพระเครื่อง อยู่ที่คุณฟาเรน น่าจะมาบอกกล่าวในกระทู้เป็นระยะๆ ส่วนพระปิดตา(นะมิหลวงปู่สี ฉันทสิริ)ที่อุดด้านหลังล็อกเกตนั้นตอนนี้ อยู่บนหัวนอนของ พระเดชพระคุณหลวงปู่ภัททันตะธัมมานันทะ อัครบัณฑิต จากนั้นจะย้ายไปขอเมตตาไว้บนหัวนอนของหลวงพ่อสุจินต์ วัดหนองน้ำเขียว จ.ตาก ถ้าไม่รู้จักท่านต้องถามหลวงพี่เอก วัดเขาแร่

    3. เรื่องมวลสารสำหรับการจัดสร้างสมเด็จองค์ปฐมส่วนใหญ่จะเป็นพวกมวลสารโบราณ และพระกรุที่จัดสร้างในพระราชพิธี ไม่ผสมอังคารครูบาอาจารย์เหมือนล็อกเกต
     
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    สรุปรูปซะหน่อยมีที่ยังไม่ได้ลงเกือบ 100 รูปแน่ะ

    [​IMG]

    หลวงปู่แสวง พระอริยะที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักนัก องค์นี้เป็นชีปะขาวติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    [​IMG]

    หลวงตาฮ้อ วัดทุ่งเศรษฐี พระวิปัสสนาที่มาจากเมืองจีน เป็นศิษย์หลวงปู่คำดี ปภาโส ศิษย์สายหลวงพ่อชา มากราบท่านกันเพียบ


    [​IMG]

    อธิษฐานต่อหน้าร่างสรีระของหลวงปู่สา อริยเจ้าสายหลวงปู่มั่นอีกองค์หนึ่งท่านละสังขารไปมากกว่า 20 ปีแล้ว

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0844.JPG
      IMG_0844.JPG
      ขนาดไฟล์:
      303 KB
      เปิดดู:
      1,234
    • IMG_0847.JPG
      IMG_0847.JPG
      ขนาดไฟล์:
      220 KB
      เปิดดู:
      1,352
    • IMG_0848.JPG
      IMG_0848.JPG
      ขนาดไฟล์:
      351.8 KB
      เปิดดู:
      1,304
    • IMG_0850.JPG
      IMG_0850.JPG
      ขนาดไฟล์:
      297.7 KB
      เปิดดู:
      1,225
    • IMG_0853.JPG
      IMG_0853.JPG
      ขนาดไฟล์:
      252.8 KB
      เปิดดู:
      1,141
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 123 หลวงปู่โส กัสสโป

    หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป พระอรหันต์กลางป่าบำเพ็ญสมณะกรรมฐานเป็นนิจ
    **หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป นามสกุลเดิม ดีเลิศ เกิดเมื่อวันที่ วันจันทร์ ที่ 8 พ.ย.2458 เวลาตี 2 (ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 12 ปีเถาะ) ปัจจุบันสิริอายุ 96 ปี



    **สถานที่เกิด : เกิดที่ บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี โยมบิดาชื่อ เคน โยมมาดาชื่อ ค้ำ มีอาชีพทำนา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 9 คน คือ
    1.นางพิมพา
    2.นางทุมมา
    3.นางสีทา
    4.นางสีดา
    5.นางทองสา
    6.หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป
    7.นายพรหมมา อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านก่อ
    8.นางวรรณา
    9.นายสง่า ดีเลิส อดีตสหกรณ์อำเภอม่วงสามสิบ



    บรรพชา
    **ในปี พ.ศ.2477 เมื่อมีอายุ 19 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรกับหลวงปู่อุปัฌชาย์อ่อน ที่วัดบ้านก่อ(บ้านเกิดท่าน) เป็นการบวชหน้าไฟให้โยมมารดาซึ่งถึงแก่กรรมลง ตั้งใจจะบวชเพียง 3 พรรษา แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ครบกำหนดแล้ว ก็ธรรมทำความรู้ในพระธรรมวินัยด้านปริยัติแตกฉาก จนสอบได้ นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ติดต่อกันมาทุกปี จนทำให้มีศรัทธาบวชต่อ



    อุปสมบท
    **ถึงปี พ.ศ.2478 อายุครบ 20 ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา โดยมีพระอุปัฌชาอ่อน เป็นพระอุปัฌชาย์ที่วัดบ้านเกิดนั่นเอง และได้จำพรรษาอยู่ที่นั่น



    ญัตติเป็นธรรมยุติ
    **ล่วงเข้าปี พ.ศ.2480 ท่านได้กราบลาพระอุปัฌชาย์อ่อนออกเดินทางติดตามพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน (ซึ่งเป็นญาติกันด้วย) โดยมีจุดหมายปลายทางที่ จ.อุดรธานี เมื่อเดินทางถึง จ.อุดรธานี หลวงปู่พระมหาสีทนได้นำท่านไปเปลี่ยนยัตติเป็นพระธรรมยุต ในวันที่ 17 ก.ค.2480 ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระเทพกวี (จูม พนฺธุโล) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัฌชาย์ มีพระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อยัตติแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์



    เป็นมหาเปรียญ
    **หลวงปู่พระมหาโส เป็นพระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติตามคำสอนขององค์ศาสดามาโดยตลอด ท่านแสวงธรรมทั้งในด้าน ปฏิยัติ(แสวงหาความรู้) ปฏิบัติ(แสวงธรรมตามคำสอนของพระพุทธเจ้า) ปฏิเวธ(แสวงหาธรรมด้วยปัญญาของตนเองเพื่อแสวงหาวิโมกติสุข) ถึงเวลาต่อมาในพรรษาที่ 12 ท่านก็ได้แตกฉากบาลี จนสอบเปรียญธรรมสนามหลวงเป็น "พระมหา" ได้สำเร็จ และในปีเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสที่วัดศรีหมากหญ้า อ.เมือง จ.อุดรฯ ด้วย
    **แต่เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้เพียง 4 ปี หลวงปู่มหาโส ก็สละตำแหน่งเจ้าอาวาส และออกธุดงค์ต่อเพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า"พ้นจากวัฏสงสาร"อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาต่อไป



    ประวัติอื่นๆ
    **หลวงปู่พระมหาโส กัสสโป เป็นศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น และเป็นศิษย์ผู้พี่ของหลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต (ผู้คนส่วนใหญ่จะคิดว่าท่านเป็นศิษย์หรือสหธรรมิกของหลวงปู่ผาง จิตตคุตโต แต่ที่จริงไม่ใช่เพราะถ้านับพรรษาหลวงปู่มหาโสพรรษามากกว่าหลวงปู่ผางถึง 10 ปี เพราะหลวงปู่ผางท่านอุปสมบทตอนอายุ 40 ปีครับ) ในขณะที่ผู้คนรู้จักชื่อเสียงของหลวงปู่ผาง หลวงปู่มหาโสยังคงธุดงธ์แสวงวิเวกอยู่ในป่าอยู่



    **ท่านนับเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอีกรูปหนึ่งชึ่งผู้คนยังไม่ค่อยรู้จักท่านเท่าใด เพราะปฏิปทาท่านชอบบำเพ็ญหาความสงบทางจิตในป่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นับตั้งแต่อายุ 70 ปี หลวงปู่พระมหาโสก็ไม่เคยออกจากวัดป่าคำแคนเหนือสู่งสังคมทางโลกอีกเลยจนถึงปัจจุบัน สมัยก่อนท่านธุดงค์บำเพ็ญเพียรที่หุบเขาต่างๆ เช่น ภูพาน ภูผาแดง ภูเม็งฯลฯ และตั้งสำนักสงฆ์ที่หุบเขาภูเม็ง แต่ด้วยอุบาสกอุบาสิกาที่ไปถือศีลเป็นไข้ป่า ต่อมาเมื่อท่านจึงตัดสินใจย้ายลงมาอยู่ที่เชิงเขาภูเม็งจนถึงปัจจุบันท่านก็ได้มาปักหลักสร้างวัดวัดป่าคีรีวันอรัญเขต (วัดป่าคำแคนเหนือ) ต.คำแคน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น



    **หลวงปู่มหาโส กัสสโป แห่งวัดคำแคนเหนือ อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ไม่เคยพบกับหลวงปู่มั่นโดยตรง แต่ก็มีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์(จูม) วัดป่าโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐาน และเป็นพระอุปัฌชาย์ผู้ญัติเป็นธรรมยุติให้หลวงปู่ด้วย และท่านก็ยังมีท่านพระอาจารย์มหาสีทน กาญจโน พระวิปัสสนากรรมฐานผู้เป็นเสาหลักใหญ่ของจังหวัดขอนแก่นในขณะนั้น คอยสอนกรรมฐานให้หลวงปู่มหาโส เมื่อครั้งพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พาหมู่คณะพระกรรมฐานมาจำพรรษาเพื่อเผยแผ่ธรรมะในจังหวัดขอนแก่น ระยะประมาณ พ.ศ.2472 -2475 พระอาจารย์มหาสีทน ก็ได้ฝากหลวงปู่มหาโส และ หลวงปู่สิงห์ สุขปัญโญ (พระวิจิตรธรรมภาณี) อดีตเจ้าคณะ จ.อุบลฯ เป็นศิษย์พระอาจารย์สิงห์ด้วย



    **หลวงปู่มหาโส ขณะนี้อายุได้ 94 กว่าปีแล้ว นับเป็นพระเถราจารย์ชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดขอนแก่น มีพระฝากตัวเป็นศิษย์ผู้สืบทอดปฏิปทาจากท่านมากมาย เช่น หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม จซ.ขอนแก่น , เจ้าคุณพระธรรมดิลก (หลวงพ่อสมาน สุเมโธ) เจ้าคณะภาค 9 ธรรมยุติ วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น , หลวงปู่เขี่ยม โสรโย อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร , หลวงพ่อนงค์ ปคุโณ วัดอุดมคงคาคีรีเขต(หลวงปู่ผาง) จ.ขอนแก่น , หลวงปู่สมาน ถาวโร เจ้าคณะ อ.มัญจาคีรี(ธรรมยุต) วัดป่าโนนสำนัก จ.ขอนแก่น ฯลฯ หลวงปู่มหาโสชราภาพมาก ๆ แต่สุขภาพแข็งแรงดี ความจำดีอยู่ และท่านยังปฏิบัติศาสนกิจของท่านอยู่เสมอต้นเสมอปลาย ทั้งการอบรมธรรมะแก่พระเณร อุบาสก อุบาสิกา การพัฒนาวัด การต้อนรับศรัทธาญาติโยมที่มากราบเยี่ยมที่วัด ซึ่งมีมาไม่เคยขาดสายเลยแม้แต่วันเดียว ไม่ว่าจะอยู่ไกลขนาดไหนก็มา ด้วยบารมีแห่งแสงธรรมขององคืหลวงปู่เอง



    วัตถุมงคล
    **ที่จริงแล้วหลวงปู่ไม่เคยดำริให้สร้างวัตถุมงคลเลย แต่จะมีศิษยานุศิษย์ขออนุญาติจัดสร้างเพื่อหาทุนทรัพย์สร้างสาธารณะกุศล หลวงปู่ก็มีเมตตาให้จัดสร้างและอธิฐานจิตให้ โดยวัตถุมงคลที่หลวงปู่อธิฐานจิตให้ล้วนมีพุทธคุณวิเศษ มีประสบการณ์แก่ผู้บูชาทั้งสิ้น
    [​IMG]
     
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 124 หลวงพ่อจำเนียร วัดถ้ำเสือ

    [​IMG]

    ถ่ายกับขุนพันธ์


    หลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ ปีชวด แม่ชื่อต้า พ่อชื่อเพชร ชลสาคร บ้านเกิดอยู่ที่บ้านปากนคร ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช มีพี่น้อง ๗ คน เมื่ออายุได้ ๕ ขวบ แม่และพ่อซึ่งเคยเป็นพระธุดงค์ที่เก่างทางสมถกรรมฐาน มีวิชาอาคมแก่กล้าได้บังคับให้นั่งสมาธิอยู่เสมอ เมื่ออายุได้ ๖ ขวบก็กำพร้าแม่ นึกอยากจะบวชแต่พ่อไม่อนุญาติเนื่อจากสุขภาพของพ่อไม่ค่อยแข็งแรงจึงต้องรับภาระในการเลี้ยงดูครอบครัว อายุ ๘ ขวบได้เรียนโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์และพุทธศาสตร์ อายุ ๙ ขวบเรียนพระไตรปิฏกทีวัดมหาธาติวรวิหาร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และเรียนเพิ่มเติมที่วัดนารีประดิษฐ์อีก

    ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าจากหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ เกี่ยวกับประวัติของท่านและความเป็นมาของวัดถ้ำเสือ จ.กระบี่ ซึ่งเรียบเรียงมาจากหนังสือทิพย์ ชุดผู้มีญาณวิเศษ ๑

    พออาตมาอายุสิบกว่าปีเรียนวิทยาศาสตร์ เอาทุกรูปแบบคนนับถือกันมากก็ตอนอายุ ๘-๑๐ ขวบนี่เองจับโจรก็เคยจับ ต่อสู้กับอัธพาลมาก็มากมาย สมัยเป็นเด็กเคยทำมาหลายอย่างที่ทำให้คนรู้จัก แต่ทั้งหมดก็ได้มาจากความรู้ที่ได้เรียนมา

    รอดตาย ๓ ครั้ง
    ช่างที่อาตมาเป็นชาวประมงนั้นอยู่ในระหว่างอายุ ๑๐-๑๘ ปี ก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่แทบจะเอาชีวิตไม่รอด คือรับได้อับปางจมลงทะเลถึง ๓ ครั้งด้วยกัน ครั้งแรกอาตนมรู้ตัวว่าเรือจะต้องจมเพราะว่าลมแรงดูคลื่นก็รู้ มดบ้าง แมลงบ้างบอกเหตุให้ก่อน ในขณะที่อาตมารุ้ว่าเรือต้องจมแน่นั้นบอกเพื่อนก็ไม่เชื่อ อาตมาจึงเอาเชือกมาผูกไว้กับเรือ และกระเป๋าข้าวของบางอย่างก็ต้องผูกให้เรียบร้อยหมด ได้เตรียมทุกอย่างแล้วก็มีธงทุ่นลอยเตรียมไว้พร้อม ทั้งก้อนหินเพื่อที่จะได้ทิ้งเครื่องหมายไว้เมื่อเรือจม จะได้กลับมาเอาของได้ หลังจากนั้นก็เกิดลมแรงคลื่นใหญ่พาเรือจมจริง ๆ พอจะจมอาตมาก็ผูกตัวเองด้วยเชือกไว้กับเรือแล้วก็ผูกให้เพื่อนด้วย เพื่อนก็พลอยรอดตามไปด้วยทั้ง ๓ ครั้ง ครั้งแรกต้องลอยคออยู่กลางทะเล ๕ ชั่วโมง ได้มีเรือมาช่วยชีวิตไว้ ครั้งสองได้กู้เรือขึ้นเองโดยมีเพื่อนอีก ๓ คนช่วยกันวิดน้ำออกจากเรือ ครั้งที่สามต้องลอยคออยู่ในทะเลท่ามกลางพายุใหญ่ทีพัดกระหน่ำรุนแรงตลอดทั้งคืนจึงถึงเที่ยงวันอีกครึ่งวันจึงกู้เรือขึ้นได้เพราะมีเรืออื่นมาช่วย อาตมาไม่ประมาทตั้งแต่เล็ก ๆ ไม่ไว้ใจเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเสมอ

    ให้พรบวชไม่สึก
    ต่อมาอาตมาได้ทราบกิตติศัพท์เกี่ยวกับศีลาจารวัตรอันงดงามของ พ่อท่านคล้าย จันทสุวัณโณ ( วัดพระธาตุน้อย ตำบลช้างกลาง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ) หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ ครั้งนั้นอาตมารู้ข่าวว่าพ่อท่านคล้ายมาที่บ้านเขาธง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อกิจในการสงเคราะห์ญาติโยม อาตมาก็ดีใจเป็นอย่างมาก ได้ตระเตรียมและเรี่ยไรเครื่องบริโภคต่างๆ มีกะปิ ปลา กุ้ง เป็นอันมาก รวบรวมเอาไปถวายท่านให้เป็นทาน เมื่ออาตมาไปถึงก็ได้ถวายของไทยทานแก่ท่าน แล้วขอพร แล้วก็ขอชานหมากมา ซึ่งได้ขอพรจากท่านว่า " หลวงพ่อครับ…ให้พรผมบวชไม่สึกนะ ให้มีธรรมะชั้นสูง " แล้วท่านก็ให้พร และให้ชานหมากมาแจกกัน ปรากฏว่าช่วงระยะไม่ถึงปี ชานหมากนั้นกลับกลายเป็นเหล็ก ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งยังมีความแข็งแกร่งมาก จนสามารถขีดหินเป็นร่องรอยได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะตามธรรมดาแล้วชานหมากนั้น หากทิ้งไว้นานก็จะแห้งกรอบและอ่อน ไม่น่าจะแข็งและกลายสี กลายสภาพเป็นธาตุเหล็กได้เลย นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดเหนือธรรมชาติอย่างหนึ่ง จากเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อาตมาศรัทธาหลวงพ่อคล้ายตั้งแต่อายุยังน้อยเรื่อยมา

    พ่อตายจึงได้บวช
    ต่อมาเมื่ออาตมาอายุได้ ๑๙ ปี พ่อก็ตายไปด้วยโรคเจ็บออด ๆ แอด ๆ มีหลายโรคแทรกซ้อนตามวัยชรา พอปีต่อมาตรงกับ พ.ศ.๒๕๐๐ อาตมาก็ไปเกณฑ์ทหาร แต่ไม่ถูกเกณฑ์ก็ได้โอกาสจะบวชเพราะอายุ ๒๐ ปีแล้ว และประกอบกับพ่อตายตายแล้วจึงมีสิทธิ์จะชวชได้ตามที่พ่อเคยบอกไว้ ก่อนที่อาตมาจได้บวชนั้น หากรู้ว่ามีพระธุดงค์มาก็เข้าไปหาทันทีเพื่อสอบถามเรื่องการเดินธุดงค์และวิธีปฏิบัติ ทั้งยังถามเรื่องของขลัง ถามเรื่องวิธีปัดกวาด ทำให้อาตมาได้ธรรมะและแนววิธีการต่าง ๆ มาและได้จำมาปฎิบัติในภายหลังเมื่อมีโอกาส เมื่อตั้งใจจะบวชแน่นอนแล้วได้ตั้งความคิดไว้ว่า เงินได้เท่าไหร่ก็จ่ายแจกให้หมดไม่เอาความร่ำรวยไว้ มีเรือ ๒๓ ลำ ลูกน้องทั้งหมด ๒๐ คน ได้เท่าไหร่ก็จ่ายแจกคนจนให้อะไรเขาหมดเลยไม่มีเหลืออะไรสักอย่าง เราไม่อยู่เป็นฆราวาสแล้ว ไม่สึกเด็ดขาด อาตมาบวชที่วัดนารีประดิษฐ์ ต.ท่าไร่ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ท่านพระครูกาเดิม วัดบูรณาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูประดิษฐ์สุวรรณวัตร เป็นพระกรรมวาจารย์

    พบพระอาจารย์ธัมมธโรภิกขุ
    เมื่ออยู่วัดนารีประดิษฐ์ครบ ๗ ปี ตามที่ได้อธิษฐานไว้ก็กราบลาจากวัดนารีประดิษฐ์ไปอยู่วัดท้าวโคตร ซึ่งต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น วัดชายนา ตอนนั้นเป็นสำนักวิปัสนากรรมฐาน พระอาจารย์ใหญ่ผู้ทำการอบรมสั่งสอนสำนักนี้คือ ท่านพระอาจารย์ธัมมธโรภิกขุ (แป้น ชาวเวียง) ในระยะนั้นท่านธัมมธโรเพิ่งจะสร้างวัดร้างชายนาให้สำเร็จเป็นวัดขึ้นมาใหม่ ๆ (ขณะนี้ท่านธัมมธโรมาสร้างวัดไทรงามอันโด่งดังอยู่ที่ จ.สุพรรณบุรี)
    ที่สำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดท้าวโคตรนี้ ท่านพระอาจารย์ธัมมธโรสอนแบบมหาสติปัฎฐาน๔ สายสุขวิปัสสโกตัดทิ้งเรื่องนิมิตในสมาธิ เรื่องโอภาสแสงสว่าง เรื่องอะไรต่ออะไรที่เป็นวิปัสสนูกิเลสทิ้งหมดเลย ไม่เอาอภิญญาฤทธิ์เดชอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องเอาการเห็นผีสางเทวดา เอามรรคผลนิพพานล้วน ๆ บริสุทธิ์อย่างเดียวเรียกว่าการปฏิบัติแบบ ปัญญาวิมุตติ "ท่านจำเนียรปฎิบัติกรรมฐานมาบ้างแล้วหรือยัง" พระอาจารย์ธัมมธโรถามอาตมาก็กราบเรียนให้ท่านทราบว่าตั้งแต่บวชมา ๗ ปีแล้ว ก็เจริญกรรมฐานมาเรื่อย ทำทั้งแบบสมถวิธีเจือปนกับวิปัสสนา และทำแบบยุบหนอพองหนอ ตามแนววัดมหาธาตุฯ ท่าพระจันทร์ "ท่านจำเนียรมีความรู้ทางด้านไสยศาสตร์บ้างหรือเปล่า?" ท่านอาจารย์ธัมมธโรซักอีก อาตมาก็กราบเรียนให้ท่านทราบตามตรงไม่ปิดบังเลยว่าเคยศึกษาไสยศาสตร์ตั้งแต่อายุ ๖ ขวบเศษ ฝึกนั่งสมาธิเรียนโหราศาสตร์และแพทย์แผนโบราณโดยมีพ่อสอนให้เพราะพ่อเคยเป็นพระธุดงค์ อาตมาเปิดเผยอย่างละเอียดละออหมดทำให้ท่านธัมมธโรภิกขุพอใจมาก แล้วท่านก็เล่าให้ฟังว่าสมัยที่ท่านเป็นฆราวาสหนุ่มก็ไปเรียนวิชาอาคมกับเพื่อนๆ ด้วยเหมือนกัน มีการลงอักขระยันต์ตามเนื้อตัว และเรียกคาถาอาคมต่าง ๆ การสักยันต์ทางหนังเหนียวอยู่ยง เมื่อท่านสักยันต์เสร็จก็มีการลองของกันทันทีสด ๆ ร้อน ๆ ต่อหน้าอาจารย์เลย คือฟันด้วยมีดดาบบ้าง แทงบ้าง มีดแหลมบ้าง เชือดเฉือนด้วยมีด จนกระทั่งอายุ ๑๘ ปีเศษ ได้บวชเป็นสามเณร เมื่อบวชเรียนแล้วก็เลิกทางไสยศาสตร์ หันมาปฎิบัติทางพุทธศาสนา "วิชาทางอาคมไสยเวทย์หนังเหนียว อยู่ยงคงประพัน เป็นวิชาของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งขัดขวางการปฎิบัติวิปัสสนา ถ้าท่านจำเนียรจะอยู่ปฎิบัติวิปัสสนาที่สำนักของผมจะต้องปล่อยวางเรื่องไสยเวทย์วิทยาคมให้หมดจึงจะเรียนปฎิบัติปัสสนาได้ผล ท่านจำเนียรเลิกได้ใหมละ? อาตมานั่งคิดอยู่นานเพราะถ้าทิ้งหมดเลยก็แปลว่าเลิกสงเคราะห์ช่วยเหลือศรัทธาญาติโยม คือไสยศาสตร์เป็นวิชที่สงเคราะห์ชาวบ้านได้ตามที่รู้ ๆ กันอยู่แล้ว นั่งคิดอยู่นาน ในที่สุดก็ตัดสินใจกราบเรียนท่านไปว่า "ผมคงเลิกวิชาไสยศาสตร์ไม่ได้ครับท่าน" ท่านพระอาจารย์ธัมมธโรพอใจ ท่านสอนมหาสติปัฎฐาน๔ อธิบายละเอียดมาก มรรค๔ ก็สอนละเอียดลึกซึ้งน่าอัศจรรย์ อาตมาศรัทธามากยกให้ท่านเก่งจริง ๆ อาตมาเรียนทั้งภาควิชาการและการปฎิบัติควบคู่กันไป แต่หนักไปทางปฎิบัติ
    พรรษาแรกที่วัดชายนา อาตมาปฎิบัติสติปัฎฐานอย่างเอาจริงเอาจรัง อาศัยมีพื้นฐานทางสมาธิมาแล้ว จิตใจจึงควบคุมง่ายไม่ฟุ้งซ่าน ครั้นเมื่อมาเจริญสติก็สามารถใช้สติคุมจิตได้ตามแนวมหาสติปัฎฐานได้ง่ายขึ้น การเจริญสติปัฎฐานในพรรษานี้ได้ผลดีมาก
    ในขณะนั้น พระอาจารย์วิชัย เขมิโย แห่งวัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย ได้ธุดงค์ไปหาความรู้ทางภาคใต้ ได้ฟังอาตมาบรรยายสติปัฎฐาน๔ ในคืนนั้นจนหมดที่วัดชายนา ก็ซึ้งในธรรมะนั้นมาก พระอาจารย์วิชัยได้นำไปปฎิบัติอย่างเคร่งครัดนานถึง ๒ ปีเศษที่วัดนี้ จึงได้ออกไปธุดงค์ต่อไปทางภาคอีสานและภาคเหนือ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๑๖ ได้อยู่ปฎิบัติที่ถ้ำผาจม และสร้างวัดขึ้นที่นั่นจนปัจจุบัน

    ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือทิพย์ ชุดผู้มีญาณวิเศษ ๑

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 125 หลวงปู่รอด หลวงปู่เอี่ยม

    [​IMG]
    วัดโคนอน แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังนาม "หลวงปู่รอด" เป็นวัดที่เกี่ยวเนื่องกับประวัติชีวิตของ 2 พระเกจิอาจารย์ดัง คือ หลวงปู่รอด และหลวงปู่เอี่ยม สุวัณณสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหนัง บางขุนเทียน กรุงเทพฯ

    เมื่อครั้งที่หลวงปู่รอด ถูกถอดสมณศักดิ์ "พระภาวนาโกศล" เพราะไม่ยอมถวายอดิเรกรัชกาลที่ 4 ในคราวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ท่านได้ย้ายไปอยู่วัดโคนอน พร้อมกับหลวงปู่เอี่ยมผู้เป็นศิษย์เอก และเมื่อหลวงปู่รอดมรณภาพแล้ว หลวงปู่เอี่ยมก็เป็นเจ้าอาวาส "วัดโคนอน" รูปต่อมา

    กล่าวสำหรับอัตโนประวัติของหลวงปู่รอด อาจจะไม่ค่อยชัดเจน เพราะท่านเป็นเกจิอาจารย์ยุคเก่า แต่เท่าที่ปรากฏหลักฐาน ท่านมีภูมิลำเนาอยู่คลองบางขวาง ตำบลคุ้งถ่าน อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี (ในสมัยนั้น) เดิมท่านเป็นฐานานุกรมในพระนิโรธรังสี เจ้าอาวาสวัดหนัง บางขุนเทียน

    หลวงปู่รอดเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อพระนิโรธรังสีมรณภาพ ได้รักษาการอยู่ช่วงหนึ่ง ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดนางนอง และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระภาวนาโกศลเถร"

    ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชทานกฐินวัดนางนอง หลวงปู่รอดไม่ยอมถวายอดิเรก ทางราชการจึงปลดออกจากตำแหน่ง และริบสมณศักดิ์คืน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความคิดที่ท่านไม่เห็นด้วย ในการที่รัชกาลที่ 4 ทรงตั้ง "ธรรมยุติกนิกาย" ขึ้นมา ทำให้สงฆ์ต้องแตกแยกกันนั่นเอง ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้ใดไม่เห็นด้วยก็ไม่ควรเป็น "พระราชาคณะ" อีกต่อไป เมื่อหลวงปู่รอดถูกถอดจากสมณศักดิ์แล้ว ก็ออกจากวัดนางนอง กลับไปยังวัดบ้านเกิดที่ห่างไกลจากความเจริญ คือ "วัดโคนอน" และได้มรณภาพที่วัดนั้น <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลวงปู่รอด ได้ชื่อว่าเป็นพระผู้ทรงวิทยาคม พุทธคุณขลัง ได้ถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆ ให้หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ประวัติกล่าวถึงด้านปาฏิหาริย์เป็นที่เล่าขานกันมาก เป็นที่ฮือฮาในยุคนั้น เช่น ความสามารถในเรื่องการถอนคุณไสย การเดินธุดงค์ตามป่าเขา ได้ผจญกับสัตว์ร้ายนานาชนิด โดยเฉพาะโขลงช้างที่ดุร้าย แต่สัตว์เหล่านั้นก็ไม่สามารถทำอันตรายท่านได้ หรือบางครั้งก็ถูกลองดีจากพวกที่มีวิชาอาคมต่างๆ เช่น พวกกะเหรี่ยง เขมรก็สามารถสยบได้หมด

    อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องกล่าวถึงคือ หลวงปู่รอดเดินบนใบบัว เมื่อครั้งที่ได้ออกเดินธุดงค์พร้อมด้วยสามเณรลูกศิษย์รูปหนึ่ง พอถึงห้วยกระบอก จังหวัดกาญจนบุรี ด้านหน้าที่จะเดินต่อไปเป็นบึงกว้าง ด้านข้างเป็นเขาสูงชันลำบากต่อการปีนป่ายข้ามไป หลวงปู่รอดจึงหันมาถามสามเณรว่า จะข้ามน้ำกลางบึงไปด้วยกันไหม สามเณรตอบว่า ถ้าหลวงปู่ข้ามไปได้ ผมก็จะข้ามไปด้วย หลังจากนั้นหลวงปู่รอดก็เจริญอาโปกสิณครู่หนึ่ง แล้วจึงก้าวไปบนใบบัวอย่างช้าๆ จนถึงฝั่ง <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ส่วนสามเณรก็เดินตามหลวงปู่ไปทุกฝีก้าว สุดท้ายไม่เหยียบตามท่าน จึงตกไปในน้ำ หลวงปู่รอดจึงกล่าวกับสามเณรว่า "เห็นไหม กำชับไว้แล้วยังพลาดจนได้ ถ้าเป็นกลางบึงอาจจมน้ำได้ การทำเช่นนี้ต้องมีสมาธิจิตใจแน่วแน่" นอกจากนี้ยังมีเรื่องปาฏิหาริย์ของหลวงปู่รอดอีกมากมายหลายเรื่อง

    เมื่อครั้งอยู่ที่วัดโคนอนนั้น ทั้งหลวงปู่รอดและหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้ที่วัดนี้ในรูปลักษณ์ที่คล้ายๆ กันในรูปแบบของพระภควัมบดี หรือพระปิดตา

    หลวงปู่รอดท่านได้สร้างพระปิดตาขึ้นแจกลูกศิษย์ลูกหาไปใช้กัน จนปรากฏความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นิยมมาจนทุกวันนี้ โดยพระปิดตาของท่านสร้างด้วยไม้แกะหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งล้วนเป็นไม้มงคลตามตำรา โดยแกะเป็นรูปพระปิดตาแบบลอยองค์ มือยกขึ้นปิดหน้าเพียงคู่เดียว ใต้ฐานมีการเจาะเป็นช่องว่างแล้วเอากระดาษสาที่จารึกพระนามของพระอรหันตสาวก 3 องค์คือ พระสิวลี-พระสังกัจจายน์-พระภควัมบดี บรรจุเข้าไป ปิดทับด้วย "ชันโรง" อีกที แล้วเอารักหรือยางไม้ทาทับผิวชั้นนอกเพื่อรักษาสภาพพระให้อยู่ได้นาน รักที่ทาผิวชั้นนอกจะออกสีดำอมแดง เพราะเก่าได้อายุที่นานถึงร้อยกว่าปีแล้ว ต่อมาท่านได้ถ่ายทอดวิชาการสร้างพระปิดตานี้ให้กับหลวงปู่เอี่ยมด้วย แต่หลวงปู่เอี่ยมท่านสร้างไว้จำนวนไม่มาก ท่านมักสร้างด้วยเนื้อโลหะมากกว่า เนื่องจากสามารถสร้างได้คราวละหลายๆองค์ เพื่อแจกคนที่มาขอกันเป็นจำนวนมากได้อย่างเพียงพอ

    สำหรับพระปิดตาไม้แกะหลวงปู่รอด ท่านสร้างไว้ไม่มากเช่นกัน จึงไม่ค่อยพบเห็นในสนาม ที่สำคัญ ใครมีต่างก็เก็บไว้บูชา เพราะเชื่อในคุณวิเศษที่กล่าวกันว่า "รอบด้าน" ที่น่าแปลกก็คือ พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยมกลับได้รับความนิยมมากกว่าของผู้เป็นอาจารย์

    แต่ไม่ว่าจะเป็นพระปิดตาขององค์ไหน หากได้ "ของแท้" ที่ผ่านการปลุกเสกจากท่านไว้ครอบครอง ก็นับว่า "อุ่นใจ" แล้ว ส่วนสนนราคา เช่าหาก็ว่ากันตามสภาพและความพึงพอใจ แต่ยังไงก็ "แพง" เพราะของมีน้อยและหายากเข้า ไปทุกวัน ประสบการณ์ยิ่งหายห่วง

    เพราะเชื่อมั่นกันมากในเรื่องของความเหนียว


    คอลัมน์ : มุมพระเก่า

    โดย : อภิญญา

    [​IMG]

    [​IMG]

    รูปตอนที่ถายตอนไปวัดโคนอนครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 126 หลวงปู่อ่อนสา วัดป่าประชาชุมพลพัฒนาราม

    [​IMG]

    ภาพพระมหาเถระประวัติศาสตร์ภาพนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพธรรมศิษย์ผู้ใหญ่ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    แถวหลังหลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่ขาว อนาลโย เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    แถวกลางพระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
    แถวหน้า หลวงปู่บัว สิริปุณโณ หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร

    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร มีนามเดิมว่า อ่อนสา เมืองศรีจันทร์ เกิดที่บ้านโนนทัน (ปัจจุบันได้รวมเป็นบ้านหนองใหญ่) ต.บ้านจั่น (แต่ก่อนขึ้นกับ ต.บ้านตาด) อ.เมือง จ.อุดรฯ เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2457 ปีขาล วันศุกร์ โยมบิดานามว่า มา มารดา โม้ เมืองศรีจันทร์ มีพี่น้องทั้งหมด 10 คน เป็นชาย 5 คน หญิง 5 คน ท่านเป็นคนโต หลวงปูอ่อนสา ท่านเป็นพระพูดน้อย สงบเสงี่ยมชอบสันโดษ สมัยเด็กเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล (โรงเรียนเสนาบำรุง ในค่ายทหารบก) ปัจจุบันก็คือโรงเรียนค่ายประจักษ์ศิลปาคม จบชั้นประถม 4 จากนั้นก็มาช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา และเมืออายุได้ 21 ปี บิดามารดาได้ตกลงที่จะให้ลูกชายบวชถวายเป็นพุทธบูชาสืบต่อพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ณ วัดโยธานิมิต ปี พ.ศ.2478 โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล)
    สมัยที่เป็นพระราชกวี เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่จันทร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูสาธารณูปกรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า " สุขกาโร ภิกขุ " ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว หลวงปู่อ่อนสา ได้ปฏิบัติรับใช้ครูบาอาจารย์ เช่น ถวายน้ำร้อน น้ำชา ทำความสะอาดปัดกวาดเช็ดถู กุฏิ ลานวัด ศาลา อุโบสถ เป็นต้น แต่ไม่มีความคิดที่จะเรียนพระปริยัติธรรม เพราะคิดว่าบวชเพียงเป็นพิธีเท่านั้น หากพ้นพรรษาแล้วก็จะสึก แต่พอได้อยู่ๆไป จิตใจก็ไม่มีอะไรให้กังวล พอออกพรรษาแล้วก็ไม่คิดจะสึก เลยต้องเข้าเรียนปริยัติธรรม พรรษาที่ 2 สอบได้นักธรรมตรี ทีนี้ใครๆก็สนับสนุนให้ศึกษาเล่าเรียนต่อไป และได้นักธรรมเอกในพรรษาที่ 5 ช่วงที่เรียนนั้นมีโอกาสได้พบกับ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แล้วเพราะท่านพระครูที่วัดโยธานิมิตก็เป็นศิษย์ของท่าน พอสอบนักธรรมเอกได้ก็หนีเข้าป่าไปภาวนาตามหมู่พวกในเขต อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม บังเอิญไปพบ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน จึงติดสอยห้อยตามพากันไปภาวนาทำความเพียรที่ภูลังกาและอีกหลายแห่ง โดยความจริงแล้วหลวงปู่อ่อนสากับหลวงตามหาบัวนั้นเป็นญาติกัน การพบกันครั้งนั้นหลวงปู่อ่อนสา บวชได้ 10 พรรษา หลวงตามหาบัว บวชได้ 11 พรรษา มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน ครั้นเมื่อถึงกาลเข้าพรรษาก็มีโอกาสจำพรรษากับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนให้บริกรรมพุทโธอย่างเดียวก่อน คือให้มีสมาธิ มีศีลที่บริสุทธิ์ก่อน พอได้อุบายแล้วก็ออกไปบำเพ็ญในป่าบ้าง ถ้ำบ้าง ไม่ให้ประจำอยู่กับที่ พอภาวนาติดขัดก็เข้าไปกราบเรียนถามท่านแล้วก็จากไปภาวนาต่อ บางทีท่านจะสั่งให้อยู่อบรม 2-3 วัน ระหว่างนั้นท่านก็จะเทศน์แสดงธรรมโวหารอันวิเศษซึ่งจะหาฟังจากที่อื่นไม่ได้


    ผสมอังคารหลวงปู่อ่อนสาในมวลสารล็อกเกต...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02405.JPG
      DSC02405.JPG
      ขนาดไฟล์:
      253.1 KB
      เปิดดู:
      86
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 127 หลวงปู่อ่อนแสง อินทปัญโญ

    [​IMG]

    หลวงปู่อ่อนแสงถือกำเนิดในประเทศลาว เป็นบุตรเชื้อสายเจ้าอุปราชลาว สาย เจ้าสุวรรณภูมา ออก
    บวชที่วเมืองหลวงพระบาง สืบกรรมฐานจากเมืองหลวงพระบางและสายหลวงปู่มั่น โดยหลวงปุ่อ่อนแสง
    นั้นมีฐานะเป็น เจ้าคณะแขวงหลวงพระบาง (เทียบเท่าเจ้าคณะจังหวัด) ผู้สืบทอดวัตรปฏิปทากรรมฐาทั้งสายหลวงปู่มั่น
    สาย วัดทรายงาม จังหวัดสุพรรณบุรี สายวัดมหาธาตุกรุงเทพฯ มหานครหลวงปู่อ่อนแสง ยังมีตำแหน่งเป็นสมเด็จพระสังฆราช แห่งสิบสองปันนาด้วยครับ
    พร้อมด้วยเป็นผู้สืบสายพระกรรมฐานแห่งสติปัฏฐาน4อีกทั้งหลวงปู่ยังอยู่ปฏิบัติธรรมสนิทสนมคุ้นเคยกับ สาธุคำจัน วัดแสน
    พระ สังฆราชองค์สุดท้ายอรัญวาสีแห่งหลวงพระบาง นอกจากนี้ท่านยังสนิทกับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภด้วยท่านมีโอกาสพบหลวงปู่เหรียญที่ห้องกรรมฐาน หลวงปู่เหรียญได้บอกท่านว่า ถ้าไม่สว่างไม่ต้องออกนะ ท่านได้อยู่ที่ห้องกรรมฐาน 3- 4 ปี และนอกจากนี้ มีศิษยานุศิษย์สายครูบาชัยยะวงศา ได้เล่าว่า ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ครูบาชัยวงศาได้มีโอกาสพบหลวงปู่อ่อนแสง ท่านได้ขอดูมือหลวงปู่อ่อนแสง เสร็จแล้วท่านบอกลูกศิษย์ ของท่านว่า พระองค์นี้หมดทุกข์ว่ายทวนกระแสแห่งทุกข์ได้แล้วไม่ตกค้างในโลก มีโอกาสให้ตามพระองค์นี้ให้ดี (ข้อมูล คุณสมฤทธิ์ ธีรชาติ)

    ปัจจุบันตั้งศพบำเพ็ญกุศพที่ วัดบ้านเขี๊ยะ ตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
    มีเกร็ดเรื่องเล่าหลวงปู่อ่อนแสง ดังนี้
    ครั้งนั้นผมก็ได้พบหลวงปู่ วาระแรกที่พบ หลวงปู่แสดงอาเทศนาปาฏิหาริย์ คือเทศน์รู้ใจคนฟัง ทำให้บิดาผมสนทนาธรรมกับท่าน
    ด้วย ความเคารพ แล้วบิดาผมกล่าวว่าท่านคือ พระขีณาสพผู้ละอาสวะหมด อย่างไม่ต้องสงสัย ครั้งต่อมาก็มีเพื่อนของคุณแม่ผมที่ทุกข์ร้อนได้ไปกราบขอใบบุญหลวงปู่หวัง ให้หลวง ปู่ช่วยด้วยอิทธิฤทธิื์
    แต่หลวงปู่ใช้ธรรมฤทธิ์ชโลมใจจนท่านผู้ นั้น ปลงตกในเรื่องของโลกต่าง แต่ก่อนจะกลับหลวงปู่ท่านได้ให้พรว่าความดีทั้งหลายใดโลกจะชนะอธรรมทั้งปวง เป็นกฏธรรมดาของโลก ท่านผู้นั้นฉุกคิดขึ้นมาก็กลับมาทาน ศีล ภาวนา ปัญหาต่างๆๆก็สลายมลายไปเอง และต่อมาผมก็ได้นำพาเว็บพุทธคุณไปกราบหลวงปู่ เป็นครั้งที่ผมปลื้มใจที่สุดคือหลวงปู่อวยพรให้แบบไม่ต้องขอ ให้ข้ออรรถธรรม แถมไขปัญหาธรรมต่างๆๆได้ สมดังพุทธภาษิตที่ว่า รสแห่งธรรมชนะรสทั้งปวง เป็นครั้งที่ผมอิ่มเอมใจที่สุด หลวงปู่อ่อนแสงนั้นเป็นพระอรหันต์อย่างไม่ต้องสงสัย เพราะครั้งหนึ่ง หลวงพี่เล่าว่าท่านได้เอาหัวใจเณร(อายุ90กว่าปีปีแต่เป็นเณรทราบว่าคือหลวง ปู่เณรสุใจ)ซึ่งครูบาอาจารย์ทั้ง หลาย ทั้งล้านนา และสยาม ต่างยกว่าเณรองค์นี้เป็นพระอนาคามี เมื่อเผาสรีระท่าน หัวใจท่านกลับแข็งเป็นพระธาตุ หลวงพี่ได้เอาใส่พานห่อผ้าไปอย่างดี เมื่อคำร่ำลือถึง วัตรปฏิบัติคุณานุคุณแห่ง หลวงปู่อ่อนแสงแพร่ไป หลวงพี่ของผมท่านเจตน์จำนงจะไปกราบครูบาอาจารย์ที่ท่านพ้นโลก จึงไปแต่มีเครื่องทดสอบคือหัวใจพระธาตุนั้น พอดีท่านวางไว้ ที่พื้น หลวงปู่อ่อนแสงเห็นท่านจึงว่า ผู้ใดเอาดวงใจพระอนาคามีมาวางไว้ต่ำไม่สมควรเลย ซึ่งผุ้ที่จะรู้ว่าเป็นดวงใจพระอนาคามีได้จะต้องเป็นพระอรหันต์ที่ภูมิธรรม สูงกว่าพระอนาคามีเท่านั้น นั่นคือครั้งแรก ต่อมาเรื่องนี้กำนันบ้านเ:pยะเล่าให้ผมฟังว่า ครั้งหนึ่งแกมานอน ดูแลหลวงปู่ปรากฏว่า กลางคืน ในห้องที่หลวงปู่จำวัด มีแสงสว่างอย่างประหลาดตลอดทั้งคืน แกก็แอบไปเปิดดูแกเห็นหลวงปู่นั่งเทศนาแต่ไม่เห็นมีใคร นอกจากแสงสว่างเจิดจ้าในห้องของหลวงปู่ รุ่งเช้าแกจึงได้ถามว่า หลวงพ่อเมื่อคืนหลวงพ่อคุยกับใครมีแต่แสงสว่างไปหมด ท่านตอบว่าเทวดามาขอพระไตรสรณคมน์์ ทำให้หลวงปู่เป็นที่เคารพของชาวบ้านเ:p๊ยะเและชาวล้านนาเป็นอย่างมาก เล่ากันว่า ทั้งเกศา และเล็บ ของหลวงปู่นั้นเวลาที่ปลงจะมีคนคอยรอเก็บกันมากมาย เพราะทุกคนหอมในศีลในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่นั่นเอง



    มวลสารอังคารและผงอัฐิหลวงปู่อ่อนแสง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02407.JPG
      DSC02407.JPG
      ขนาดไฟล์:
      309.9 KB
      เปิดดู:
      112
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 128 หลวงปู่ฟัก วัดเขาน้อยสามผาน

    คืนวันวิสาขบูชาที่ 24 พ.ค. 2499 พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีร์เมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธัมมธโร) ได้ประกาศหลังแสดงพระธรรมเทศนาจบลงว่า “เราจะจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษในปี 2500 ที่วัดอโศการาม...”

    ท่านย้ำเหตุที่จะทำงานนี้ว่า 1.ช่วยหมู่คณะ 2.เพื่อเกียรติพระศาสนา 3.เพื่อรักษาข้อปฏิบัติให้ไปสู่จุดหมายคือ พระนิพพาน

    แผนงานเบื้องต้นของท่านในครั้งนั้นมี 4 ประการ คือ 1.สร้างพระ 1 ล้านองค์เพื่อแจกผู้มาร่วมงานและบรรจุลงเจดีย์ 2.สร้างพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย 3.อุปสมบทพระภิกษุ 80 รูป บรรพชาสามเณร 80 รูป บวชนุ่งขาวถือศีล 8 (อุบาสก) 80 คน อุบาสิกา 80 คน ถ้ามีจำนวนเกินจากที่กำหนดไว้ยิ่งดี การบวชมีกำหนด 7 วันเป็นอย่างต่ำ 4.สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นที่ระลึกในงานสำคัญนี้


    [​IMG]

    ด้วยกำลังทรัพย์ที่มีตอนเริ่มแรกเพียง 200 บาท ท่านได้นำคณะศรัทธาจัดงานงานเฉลิมฉลองขึ้นได้อย่างยิ่งใหญ่เกรียงไกร ยิ่งใกล้วันคณะศรัทธายิ่งหลั่งไหลมาตามลำดับ พ่อแม่ครูอาจารย์นำโดยพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้นำทัพพระกรรมฐานจำนวนมากมาช่วยงาน อาทิ พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์หลุย จันทสาโร พระอาจารย์จันทร์ เขมปัตโต พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์สาม อกิญจโน พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท พระอาจารย์เฟื่อง โชติโก พระอาจารย์ถวิล จิณณธัมโม พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร พระอาจารย์พุธ ฐานิโย ฯลฯ ขณะที่ฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ โดย สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) ก็ได้นำกำลังมาสมทบ

    ไม่เพียงสร้างเสนาสนะ ศาลา และอาคารโรงครัว ฯลฯ ขนาดใหญ่ มีกิจกรรมต่างๆ รวม 19 วัน มีพุทธบริษัทจากจังหวัดต่างๆ มาร่วมถึง 54 จังหวัด กิจกรรมเกี่ยวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทุกอย่างล้วนบรรลุผลสำเร็จอย่างตั้งใจ

    ในเรื่องการ “สร้างพระ” นั้น ไม่เพียงแต่สร้างพิมพ์โพธิจักรดินเผาขึ้น 1 ล้าน 1 แสนองค์ขึ้นแจกจ่าย พร้อมนำบางส่วน รวมทั้งสร้างพระทองคำ เงิน นาก และทองเหลือง บรรจุลงเจดีย์ไว้เพื่อประโยชน์ของกุลบุตรในภายภาคหน้า แต่มีผู้หลั่งไหลมาขออุปสมบท บรรพชา บวชอุบาสก บวชพราหมณี บวชตาปะขาว บวชพราหมณ์ รวมถึง 2,470 คน

    ผลของการจัดงานครั้งนั้นยังส่งผลสะเทือนและมีคุณูปการอย่างใหญ่หลวงมาจนถึงทุกวันนี้

    หนึ่งในผลสะเทือนและคุณูปการอันใหญ่หลวงที่เกิดขึ้นจาก “การสร้างพระ” ครั้งนั้นคือ ได้ให้กำเนิดพระสุปฏิบันโน อุชุปฏิปันโน ญายปฏิปันโน สามีจิปฏิปันโน พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อความรู้ยิ่ง ปฏิบัติชอบขึ้นด้วย

    หนึ่งในนั้นคือ พระอาจารย์ฟัก สันติธัมโม เป็นพระอาจารย์ฟัก หรือหลวงปู่ฟัก ซึ่งกาลต่อมาได้ยังประโยชน์ให้พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนอย่างอเนกอนันต์

    หนุ่มฟักในวัย 22 ปี เป็นหนึ่งใน 637 ชายหนุ่มที่อุปสมบทในงานฉลองกึ่งพุทธกาล ณ วัดอโศการาม มีการประกอบพิธีในอุทกสีมา หรือสีมากลางน้ำวัดอโศการาม เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2500 มี พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร วัดป่าอิสระธรรม จ.สกลนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระประจักษ์ โอภาโส วัดป่าดาราภิรมย์ จ.เชียงใหม่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    เป็นการบวชโดยมีความตั้งใจว่าจะบวชเอาบุญให้พ่อให้แม่เพียงแค่ 7 วัน เพราะใจไม่อยากบวช เพียงแต่โยมบิดาขอร้อง สุดท้ายท่านเลยตัดบทว่า “บวชก็ได้ แต่บวชแค่ 7 วันนะ สึกแล้วอย่ามาว่ากันนะ” ซึ่งโยมบิดาก็รับปากรับคำอย่างดี

    “บวชเพราะโยมพ่อโยมแม่ปรารภอยากให้บวชหนึ่ง และเพราะเลื่อมใสในองค์ท่านพ่อลีอีกหนึ่ง” ท่านว่า

    ความเลื่อมใสนี้เพาะบ่มมาตั้งแต่ท่านยังเยาว์วัย เพราะก่อนที่พระอาจารย์ลีจะสร้างวัดป่าคลองกุ้งใน พ.ศ. 2497 นั้น ท่านได้ทำประทีปธรรมไปสู่ จ.จันทบุรี มาก่อนแล้วราว 20 ปี เวลาพระอาจารย์ลีมาที่เขาน้อยซึ่งตอนนั้นยังไม่เป็นวัด คุณพ่อสังข์มักจะพาบุตรชายมาคอยดูแลอุปัฏฐากพระอาจารย์ลีอยู่เป็นประจำตั้งแต่ตัวเล็กๆ เหตุนี้จึงมีส่วนทำให้ท่านรักและเคารพพระอาจารย์ลีมาก
    ศรัทธาอันเหนียวแน่นนี้ไม่ได้เกิดแต่กับหนุ่มฟักและครอบครัวพูลกสิเท่านั้น แต่รวมถึงชาวบ้านร้านถิ่นในแถบที่อยู่ใกล้เขาน้อยสามผานทั้งหมดด้วย เพราะครอบครัวพูลกสิและชุมชนแห่งนั้นล้วนส่วนช่วยสร้างและค้ำจุนวัดแห่งนี้มาตลอด ตั้งแต่เป็นสถานที่วิเวกของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์ลีธัมมธโร พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ฯลฯ จากนั้นพ่อแม่ครูอาจารย์สายพระกรรมฐานก็ผลัดกันจาริกมาอยู่จำพรรษา ณ สถานที่แห่งนี้เรื่อยมา

    ศรัทธาต่อพระกรรมฐานของโยมสังข์ บิดาของพระอาจารย์ฟักเป็นอย่างไรนั้น สะท้อนได้จากคำบอกเล่าของ พระญาณวิศิษฏ์ (ทอง จันทสิริ) ผู้เป็นหลานพระอาจารย์ลีและเป็นเจ้าอาวาสวัดอโศการามในปัจจุบัน

    “บิดาของท่านฟักศรัทธาและผูกพันกับพ่อท่านลีมาก ถ้าทราบว่าท่านพ่อลีมา โยมสังข์จะทิ้งงานทิ้งการที่ทำอยู่ไปต้อนรับทันที...”

    เมื่อพระอาจารย์ลีจัดงานฉลองกึ่งพุทธกาลที่วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ชาวจันทบุรีซึ่งเป็นคณะศรัทธาเดิมอยู่แล้วจึงได้พากันมาช่วยงานและร่วมอุปสมบทในครั้งนี้ด้วย

    พระอาจารย์ทองเล่าถึงบรรยากาศในงานอุปสมบทครั้งนั้นว่า “งานนี้มีผู้บวชพระจำนวนมากหมายร้อย ในช่วง 7 วันแรกจะจัดให้พวกข้าราชการได้บวชก่อน เพราะลางานได้จำกัด บวชแล้วต้องรีบกลับไปทำงาน ส่วนพวกอื่นทยอยบวชตาม ท่านพระอาจารย์สีลา ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านพระอาจารย์ฟักนั้น บวชพระจำนวนมากจนสัญญาไม่ทำงาน ต้องเปิดอุปสมบทวิธีดูแล้วทำตามไป...”

    แม้หวังใจว่าจะบวชแค่ 7 วัน แต่บวชได้วันเดียวก็ทุกข์เสียจนอยากจะสึกเสียแล้ว

    ทุกข์นั้นเกิดจากเพราะบาตรหาย ต้องฉันโดยใช้กะละมังเป็นภาชนะบรรจุอาหารแทนบาตรตั้งแต่วันแรก

    หายทั้งๆ ที่เขียนชื่อติดไว้ทั้งบาตรและฝาบาตร แต่ความที่คนเยอะ เกิดการสับสนบาตรที่ได้รับจากพระอุปัชฌาย์กลับอันตรธานหายไปเสียอย่างนั้น
    ความทุกข์องพระใหม่นั้นทับทวีคูณเข้าไปอีก เมื่อมีพระรูปหนึ่งมาพูดให้ได้ยินว่า “บาตรและบริขารที่อุปัชฌาย์มอบให้นั้น ถ้าหากหายไปย่อมไม่เป็นมงคล จะอดจะอยาก...”
    ความคิดที่จะสึกมีอันล้มพับไปเมื่อโยมพ่อพูดขึ้นว่า “ถ้าท่านหนูสึก ผมเสียใจ” (โยมบิดามารดาเรียกท่านว่า ท่านหนู)

    พระอาจารย์ฟักว่า ตอนนั้นได้ยินโยมบิดาพูดแล้ว ทำให้นึกถึงพระคุณและความหวังดีของท่าน จึงเลิกความคิดที่จะสึกเสียตั้งแต่วันนั้นไปเสีย

    แม้จะล้มความคิดไปแล้ว แต่เพื่อขจัดเงาในใจไม่ให้เหลือ โยมพ่อได้พาพระใหม่ไปกราบ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งท่านทั้งสองรู้จักมาก่อนแล้ว

    รู้จักเพราะก่อนบวชก็เคยพาโยมมารดาไปกราบพระอาจารย์มหาบัวที่วัดใกล้สถานีทดลองการเกษตร สี่แยกน้ำตกพลิ้ว จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นวัดที่ญาติพี่น้อง พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนโท เป็นผู้ถวายที่ดินสร้างวัด และพระอาจารย์เจี๊ยะได้นิมนต์พระอาจารย์มหาบัวมาพำนัก ณ สถานที่แห่งนี้ใน พ.ศ. 2498 ซึ่งปีนั้นมีพ่อแม่ครูอาจารย์ที่ตามพระอาจารย์มหาบัวมาพำนักอยู่ ณ วัดแห่งนี้หลายรูป อาทิ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร พระอาจารย์เพียร วิริโย พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระอาจารย์ลี กุสลธโร เป็นต้น

    รู้จักเพราะในคราวเป็นฆราวาส พระภิกษุฟักเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมลงแรงย้ายสำนักสงฆ์ชั่วคราว ซึ่งอยู่ห่างจากเขาน้อยสามผานไปประมาณ 1 กิโลเมตร ให้ขยับขึ้นไปอยู่บนเขาน้อยสามผาน ซึ่งงานครั้งนั้นมีนายบิ๋น วินิจจิตร์ เป็นหัวหน้าอุบาสก นอกจากได้ก่อสร้างกุฏิหลังคามุงจากให้พระกรรมฐานที่จาริกมาจำพรรษาแล้ว หนุ่มฟักเวลานั้นยังเป็นผู้ตามนายบิ๋นไปนิมนต์พระอาจารย์มหาบัวขึ้นมาจำพรรษาบนเขาน้อยสามผาน โดยเป็นผู้ถือบริขารของพระอาจารย์มหาบัวมาเองด้วย ซึ่งพระอาจารย์มหาบัวก็ได้นำคณะ รวมทั้งโยมมารดาของท่านขึ้นมาพำนัก ณ สถานที่นี้ระยะหนึ่งก่อนกลับ จ.อุดรธานี

    รู้จักเพราะระยะนั้นหนุ่มฟักยังเป็นผู้ติดตามท่านไปบิณฑบาต เพราะเป็นผู้รู้ช่องรู้ทางเป็นอย่างดี

    พระอาจารย์มหาบัวเทศน์เพื่อขจัดเงาในใจให้มลายไป โดยมีความตอนหนึ่งว่า “...แค่บาตร บริขารหาย สามารถซื้อหาใหม่ได้ แต่การที่พระจะสึกอะไรสำคัญกว่ากัน..บาตรหายก็ให้คิดเสียว่า ทำทานบารมีเพิ่ม”

    หลังฟังเทศนากัณฑ์นั้นแล้ว พระอาจารย์ฟักไม่ได้หันหลังกลับมาสู่ทางโลกอีกเลย
    .........................................................................


    มวลสารอังคารหลวงปู่ฟัก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC02406.JPG
      DSC02406.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.8 KB
      เปิดดู:
      68
  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    หนึ่งในมวลสารที่ซ้ำกันของล็อกเกตพระแก้วมรกต และสมเด็จองค์ปฐม คือ

    ผงไม้บุษบกที่ใช้ประดิษฐานองค์พระพุทธมณีมหาปฏิมากรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    โยงสายสิญจน์ผ่านพิธีพุทธาภิเษกไม่ต่ำกว่า 2000 พิธี ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2011
  14. radien

    radien เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 เมษายน 2010
    โพสต์:
    902
    ค่าพลัง:
    +1,057
    ขออนุโมทนาและขอเป็นกำลังใจให้กับคุณสุรเชษฐ์และทีมงานทุกท่านนะครับ
    และขอจองฉากเขียวเพิ่มเผื่อมีผู้สละสิทธิ์นะครับ
     
  15. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    พิธีพุทธาภิเษกและสมโภชน์พระเจ้าใหญ่องค์หลวง-พระแก้สไพรฑูรย์ วัดหลวง

    เอารูปพิธีตอนเช้ามาโชว์ก่อนนะครับ หลวงปู่คำบุ มาเจิมเทียนและอธิษฐานให้ตอนเช้าเวลา 9 โมงกว่าๆ วันนี้ท่านรับกิจนิมนต์ที่สระแก้วครับ เลยมาอธิษฐานให้ก่อนแล้วท่านก็เดินทางไปสระแก้ว ท่านนำพระเกศเจดีย์ศรีชมภูของท่านเข้าร่วมพิธีที่วัดหลวงด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0962.JPG
      IMG_0962.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      72
    • IMG_0963.JPG
      IMG_0963.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      66
    • IMG_0964.JPG
      IMG_0964.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      75
    • IMG_0972.JPG
      IMG_0972.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      59
    • IMG_0979.JPG
      IMG_0979.JPG
      ขนาดไฟล์:
      953.5 KB
      เปิดดู:
      73
    • IMG_0981.JPG
      IMG_0981.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      67
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2011
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    คุณฟาเรน sms แจ้งข่าวด่วนว่า

    สมเด็จพระสังฆราชา ของประเทศเมียร์มาร์ ได้เมตตาอธิษฐานจิต โดยเหนือความคาดหมาย เนื่องจากท่านเดินทางมารับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์ พร้อมกับพระที่สามารถจดจำพระไตรปิฏกได้ทั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ 1 ใน 7 องค์ของโลก
     
  17. TSKing

    TSKing Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2010
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +39
    พิธีพุทธาภิเษกและสมโภชน์พระเจ้าใหญ่องค์หลวง(ต่อ)

    หลังจากที่หลวงปู่คำบุเจิมเทียนชัยและอธิษฐานจิตในตอนเช้าแล้ว

    หลวงปู่อ่อง-เส็งได้อธิษฐานจิตต่อในตอนบ่ายของวันนี้

    ตอนเย็น

    งานเริ่มเจริญพระพุทธมนต์ โดยพระภิกขุผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ได้แก่ เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีทั้งฝ่ายธรรมยุตและมหานิกาย คือพระราชธรรมโกศล (สวัสดิ์) วัดพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ และ พระราชธีราจารย์ (ศรีพร ป.ธ.๙) วัดมณีวนาราม และคณาจารย์อีกหลายท่าน

    หลังจากนั้น สังฆนายกประเทศพม่า (ตำแน่งสมเด็จพระสังฆราชของพม่า)(ในรูปจีวรสีแดง) ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่สำคัญมากของประเทศพม่าเพราะท่านจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่รักษาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของประเทศพม่า ชาวพม่าถือว่าในชีวิตครั้งหนึ่งควรที่จะได้มากราบท่านสักครั้งหนึ่ง ท่านได้มาเมตตาอธิษฐานจิตและสวดมนต์ในทำนองของพม่าเพื่อการสมโภชน์เป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง (ผมรู้สึกว่าเป็นบุญหูยิ่งนักที่ได้ฟังการสวดมนต์ในครั้งนี้)

    และพระมหาเถระอีกรูปหนึ่งของพม่ามาด้วยคือ พระไตรปิฎกธร (พระผู้ทรงพระไตรปิฎก) ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ วังสะ ปาละ ลังการะ ตริปิฏกะ ตรีปิฎกโกวิทะ ตรีปิฎกะธรรมภัณฑาคาริกะ ซึ่งเป็นผู้จดจำพระไตรปิฎกได้มากที่สุดในโลกต้องจำพระไตรปิฎกทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์และบทขยายความอีก 80 เล่ม ให้ครบโดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยจดจำนอกจากสมอง ซึ่งมีเพียงแค่ 7 รูปเท่านั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และรูปที่มาในงานวันนี้เป็นประธานของผู้ทรงพระไตรปิฎกทั้งหมด ซึ่งท่านได้มาเป็นผู้จุดเทียนชัย อธิษฐานจิตและสวดมนต์ในค่ำคืนนี้ (ว่ากันว่าตำแหน่งของท่านเป็นตำแหน่งที่อยู่สูงสุดในพระพุทธศาสนาของประเทศพม่า)
    พระอาจารย์ภัททันตะ วังสะ ปาละ ลังการะตรีปิฏกะธร ตรีปิฎกโกวิทะ ตรีปิฎกะธรรมภัณฑาคาริกะ อายุ ๕๐ ปี ๓๐ พรรษา เป็นชาวเมืองมินหมู่ ฐานะยากจน บรรพชาตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ อุปสมบทศึกษาพระไตรปิฏก ณ วัดเมงกุนธรรมนาถ ตั้งแต่อายุ ๒๐ปี สำเร็จการศึกษาพระไตรปิฎก เมื่ออายุ ๓๔ ปี ปัจจุบันเป็นประธานวัดตรีปิฎกนิกายมหาวิหาร

    หลังจากนั้นได้มีการแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณ พระราชโมลี เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาสวรวิหาร รองเจ้าคณะภาค 10


    และก็เป็นพิธีพุทธาภิเษกนั่งปรกโดยครูบาอาจารย์ดังนี้

    1.
    พระครูสถิตธรรมมงคล หลวงปู่อ่อง วัดเทพสิงหาญ
    2.พระครูสุนทรพัฒนวิธาน หลวงปู่หนู วัดบ้านหนองหว้า
    3.พระครูอินทสารโสภณ หลวงปู่อำคา วัดบ้านตำแย
    4.พระครูวิสุทธิสีลา หลวงปู่เส็ง วัดปราสาทเยอร์ใต้
    5.พระครูสารธรรมประคุณ หลวงปู่บุญรอด วัดกุดคูณ
    6.
    พระสมุห์วิศิษฐ์ศักดิ์ กลฺยาโณ วัดบูรพา(ธ) วัดหลวงปู่เสาร์
    7.พระครูเกษมธรรมานุวัตร ญาท่านเกษม หลวงพ่อบุญชู วัดเกษมสำราญ
    ฯลฯ




     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0989.JPG
      IMG_0989.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      72
    • IMG_0993.JPG
      IMG_0993.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      64
    • IMG_0994.JPG
      IMG_0994.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.6 MB
      เปิดดู:
      68
    • IMG_0996.JPG
      IMG_0996.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      98
    • IMG_0998.JPG
      IMG_0998.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      72
    • IMG_0999.JPG
      IMG_0999.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.4 MB
      เปิดดู:
      73
    • IMG_1000.JPG
      IMG_1000.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.5 MB
      เปิดดู:
      72
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 เมษายน 2011
  18. สายครูบา

    สายครูบา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    4,224
    ค่าพลัง:
    +22,130
    สลิปที่โอนไปนะพี่ อนุโมทนาบุญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF9057.JPG
      DSCF9057.JPG
      ขนาดไฟล์:
      121.8 KB
      เปิดดู:
      80
  19. pei

    pei เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    778
    ค่าพลัง:
    +2,853
    ขอแจ้งการโอนเงินร่วมทำบุญล็อคเก็ตที่เพิ่ม 2 องค์
    เป็นเงินจำนวน 3000 บาท จากบัญชี KTBA0034793
    เข้าบัญชี KBNK 6302125730 เวลา 7.42 น.
     
  20. อภิญญา8

    อภิญญา8 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1,864
    ค่าพลัง:
    +6,799
    วันนี้ได้โอน ร่วมบุญล็อกเก็ต สีดำ 1 องค์
    Ref. KBank Locat S1A4577 Seq.no. 5979 Date 25/04/11 Time 20.20
    ยอดโอน 1,500.15 บาท ช่วยตรวจสอบอีกครั้งนะครับ

    ขอบคุณครับ
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...