เปิดตำนาน พระกริ่ง ศรีนคร

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ศรทอง, 12 พฤษภาคม 2012.

  1. ศรทอง

    ศรทอง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +63
    พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ศรีนคร
    เนื่องในโอกาสที่ คุณอุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้ก่อตั้งธนาคารศรีนคร จำกัด ได้มีอายุเวียนมาบรรจบ 5 รอบ ในปี พ.ศ.2516 คณะกรรมการและพนักงานของธนาคารศรีนคร จึงได้ร่วมใจกันจัดงานทำบุญอายุ โดยมีมติให้สร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ขึ้นชุดหนึ่งเป็นที่ระลึกโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ
    1.เพื่อเป็นอุเทสิกะเจดีย์ หรือ เป็นเครื่องรำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย
    2.เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้มีโอกาสร่วมกุศลตามกำลังศรัทธา อันไม่เป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
    3.เพื่อเป็นอนุสรณ์และสิริมงคลในโอกาสที่ คุณอุเทน เตชะไพบูลย์ มีอายุครบ 60 ปี
    [​IMG]

    เพื่อให้พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ที่จัดสร้างนี้ เป็นพระเครื่องวัตถุมงคลที่ดีเลิศทั้งนอกและใน อันได้แก่ พิธีสร้างและรูปแบบของพระดี ทางคณะกรรมการจึงได้ของความเมตตา พระอาจารย์ไสวสุมโน วัดราชนัดดา เป็นที่ปรึกษาและเจ้าพิธี นับตั้งแต่การจัดหาวัสดุมงคลต่างๆที่จะใช้ในการหล่อพระครั้งนี้ ส่วนในด้านรูปแบบพิมพ์ทรงพระนั้น ได้ให้ นายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นผู้ออกแบบและแกะพิมพ์ขึ้น โดยจะนำรายได้จากการออกแบบให้ประชาชนเช่าบูชา นำไปมอบให้ วัดเลา บางขุนเทียนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสินและขนานนามพระกริ่ง – พระชัยวัฒน์ดังกล่าวว่า พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ศรีนคร
    พระเครื่องวัตถุมงคลที่นำมาจัดสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ศรีนครนี้ เท่าที่พอจะค้นคว้าได้แก่
    1.ตะกรุดโทนทองคำ 9 ดอก หนักดอกละ 1 บาท ซึ่งได้รับการลงอักขระและปลุกเสกโดยพระคณาจารย์ 9 รูป คือ หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันตก จ.พัทลุง , หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา , หลวงพ่อนาค วัดทัศนารุณสุนทริการาม กทม. , หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดา กทม. , หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม. , หลวงพ่อลำยอง วัดบางระกำ จ.พิษณุโลก , หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง , พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา
    2.ตะกรุดสามกษัตริย์ หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ จ.อยุธยา
    3.ตะกรุดลูกอมทองคำ หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    4. ตะกรุดโทน หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม
    5. ตะกรุดโทนเงิน หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    6.ตะกรุดทองคำ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จ.กาญจนบุรี
    7.แผ่นยันต์พิชัยสงคราม 108 ดวง
    8.ยันต์ นะปถมัง 14 นะ
    9. ชนวนพระกริ่ง สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์
    10.ทองกันเบ้า พระกริ่งนเรศวร มหาราช ปี 2507 จ.พิษณุโลก
    11.ทองก้นเบ้า พระกริ่งพระพุทธสิหิงส์ จ.ชลบุรี
    12.ทองก้นเบ้า พระกริ่งนเรศวร เมืองงาย
    13.ชนวนพระกริ่งตากสินมหาราช จ.สระบุรี
    14.ชนวนพระกริ่งเอกาทศรถ
    15.ชนวนพระกริ่งวัดราชนัดดา ทุกรุ่น
    [​IMG]
    พิธีพุทธาภิเษก พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ศรีนคร มีขึ้น ณ.พระอุโบสถวัดเลา ต.ท่าข้าม อ.บางขุนเทียน กทม. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2516 พระอาจารย์ไสว สุมโน ประกอบพิธีบูชาครู พราหมณ์ ประกอบพิธีบวงสรวงสักการบูชาประกาศแด่เทพยดา บัณฑิตบวงสรวงบูชาฤกษ์ เมื่อถึงเวลา 19.30 น.ได้ฤกษ์พิธีพุทธาภิเษกและเจริญภาวนาปลุกเสกพระสงฆ์ 4 รูป เจริญพระพุทธมนต์พระเถราจารย์นั่งปรกเจริญภาวนา
    พระเถราจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสกมีด้วยกัน 2 ชุด ได้แก่
    ชุดที่ 1 เวลา 19.30 น.-24.30 น.
    1.พระราชมุนี วัดปทุมวนาราม
    2.พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม
    3.หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา
    4.หลวงพ่อเล็ก วัดหนองดินแดง
    5.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
    6.หลวงพ่อจ้อน วัดเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร
    7.หลวงพ่อนาค วัดทัศนาฯ
    8.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
    9.หลวงพ่อมิ่ง วัดกก
    10.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    11.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช จ.อยุธยา
    12.ครูบาไฝ วัดพันอ้น จ.เชียงใหม่
    ชุดที่ 2 เวลา 01.30-05.20 น.
    1.พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา
    2.หลวงพ่อลำยอง วัดบางระกำ จ.พิษณุโลก
    3.หลวงพ่อละมัย จ.พิษณุโลก
    4.หลวงพ่อสมวงษ์ วัดวังแดงเหนือ จ.อยุธยา
    5.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดาราม
    6.หลวงพ่อบุรัชต์ วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
    7.หลวงพ่อลำเจียก วัดศาลาตึก จ.นครปฐม
    8.หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์ จ.สมุทรสงคราม
    9.หลวงพ่อชุนห์ วัดเขาชายธง จ.นครสวรรค์
    10.หลวงพ่อประจวบ วัดบางใหญ่ จ.สุพรรณบุรี
    11.หลวงพ่อประเดิม วัดเพลงวิปัสสนา
    12.หลวงพ่อสีทัศน์ วัดพระธาตุหนองสามหมื่น จ.ชัยภูมิ
    นอกจากนี้ ยังได้รับความเมตตาจากพระเถราจารย์รูปอื่นที่ไม่ได้มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก นั่งปรกปลุกเสก ณ.วัดของท่านมากมายหลายรูป อาทิ พระอาจารย์ฟั่น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร , หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล จ.อุดรธานี ,หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคารีเขต จ.ขอนแก่น เป็นต้น
    พุทธลักษณะของพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ศรีนคร จัดได้ว่ามีความงดงามมาก กระแสเนื้อออกเป็นนวโลหะ องค์พระกริ่งถอดแบบมาจากพระกริ่งโบราณแต่ตกแต่งให้มีความคมชัดและงดงามขึ้น ขนาดองค์พระกริ่งสูงประมาณ 3.8 ซม. กว้างประมาณ 2 ซม. ที่ฐานด้านหลังประดับด้วยรูปดอกบัวหลวงที่ใต้ฐานใช้แผ่นเงินบริสุทธิ์ปิดเม็ดกริ่ง บนแผ่นเงินเป็นรูปนกห่านฟ้าคู่ อันแสดงถึงความรัก ความเสียสละและความสามัคคี ส่วนพระชัยวัฒน์ มีขนาดความสูงประมาณ 1.8 ซม. กว้าง 1.1 ซม. ถอดเค้ามาจากพระพุทธรูปเชียงแสนยุคต้นแต่เป็นปางสมาธิ
    พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ศรีนครเป็นพระเครื่องพระกริ่งที่จัดได้ว่า ดีเยี่ยม ทั้งพิธีสร้างและการปลุกเสกจึงได้รับความนิยมในวงการพระโดยทั่วไป แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ามีจำนวนการสร้างน้อย การหาเช่าบูชาจึงยากพอสมควร
    ที่มา:พระเครื่องพลาซ่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...