เปิดประวัติ-ภาพเก่า “พระที่นั่งอนันตสมาคม”

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    b8a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0.jpg

    จากหนังสือพจนานุกรมวิสามานยนามไทย วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม ของนางสาวกนกวลี ชูชัยยะ พิมพ์โดยราชบัณฑิตยสถาน ได้เล่าถึงพระที่นั่งอนันตสมาคม พอสรุปได้ว่า พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นพระที่นั่งในพระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในบริเวณสวนดุสิตแทนพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์เดิมในพระบรมมหาราชวังที่ทรุดโทรมลง โดยมีพระราชประสงค์สร้างเพื่อเป็นที่รับรองแขกเมือง และใช้สำหรับประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน

    a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-1.jpg

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง ให้นายมาริโอ ตามานโญ สถาปนิกชาวอิตาลีเป็นนายช่างออกแบบ ให้ศาสตราจารย์แกลิเลโอ คินี และ นายซี. ริกุลี เป็นช่างเขียนภาพ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพิธีทรงวางศิลาพระฤกษ์สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมใน พ.ศ. 2451

    a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-2.jpg

    การก่อสร้างพระที่นั่งอนัตสมาคมองค์ใหม่ใช้งบประมาณการก่อสร้างตามราคาสมัยนั้นคิดเป็นเงิน 15 ล้านบาท 7 ปี ใช้เวลาก่อสร้าง 7 ปี ก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6) ในปลาย พ.ศ.2458 และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรพระที่นั่งองค์ใหม่ในวันที่ 7-12 มกราคม พ.ศ.2459

    a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-3.jpg

    สถาปัตยกรรมของพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นรูปแบบอิตาเลียนเรอเนซองซ์ ก่อสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวสั่งตรงมาจากอิตาลี องค์พระที่นั่งเป็นอาคารหินอ่อน 2 ชั้น มีโดมอยู่ตรงกลาง มีโดมเล็ก ๆ โดยรอบ 6 โดม

    ชั้นบนเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ แบ่งเป็นท้องพระโรงหน้าและท้องพระโรงหลัง บนเพดานโดมของพระที่นั่ง มีภาพเขียนสีปูนเปียกขนาดใหญ่ที่สวยงามจำนวน 6 ภาพ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพระบรมราชจักรีวงศ์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 6 โดยฝีมือเขียนภาพของศาสตราจารย์แกลิเลโอ คินี และนายซี.ริกุลี

    a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-4.jpg a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-5.jpg

    a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-6.jpg

    ความสำคัญของพระที่นั่งอนันตสมาคม คือ เป็นสถานที่ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ชาติไทยเกิดขึ้นหลายเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 จากนั้นได้ใช้เป็นสถานที่ประชุมรัฐสภาเรื่อยมา แต่ต่อมาได้ย้ายไปจัดประชุมรัฐสภาที่อาคารสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาแทน แต่รัฐสภาก็ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมในการรัฐพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา และพระราชพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในวันที่ 10 ธันวาคมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

    a3e0b8b0e0b8a7e0b8b1e0b895e0b8b4-e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b980e0b881e0b988e0b8b2-e0b89ee0b8a3e0b8b0-7.jpg

    เมื่อปี 2549 เป็นสถานที่จัดงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมีพระราชอาคันตุกะจาก 25 ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเข้าร่วมงาน พระราชพิธีครั้งนั้นนับเป็นการชุมนุมของพระประมุขจากประเทศต่าง ๆ มากที่สุดในโลก

    เหตุการณ์สำคัญล่าสุดที่เกิดขึ้น ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมคือ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560

    *ภาพการก่อสร้างพระที่นั่งฯ จากหนังสือ “วังสวนดุสิต” สำนักพิมพ์มติชน

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/spinoff/culture/news-38292
     

แชร์หน้านี้

Loading...