เพจ คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง, 17 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    เรื่อง วิปัสนาญานที่ต้องผ่านให้ได้

    “กรรมฐานนี่สอนเฉพาะในร่างกายเท่านั้น ให้มีความเบื่อหน่ายในร่างกายว่าความเกิดมันเป็นทุกข์ เกิดแล้วมีแก่ มีเจ็บไข้ มีการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ มีความปรารถนาไม่สมหวัง มี
    ความตายในที่สุด ถ้าเอาจิตไปเกาะจิตมันก็เป็นทุกข์ เอาจิตไปเกาะอยู่ในร่างกายก็แสดงว่าเราไม่พ้นจากโลกธรรม ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ ถ้าเรารักดีเกลียดโง่ก็ต้องทิ้งวัฏฏะ การทิ้งวัฏฏะคือ การทิ้งขันธ์ ๕ คือร่างกายเท่านั้น การพิจารณาร่างกายนั้น พระอรหันต์ทุกองค์จะต้องผ่าน ถ้าไม่ผ่านกายคตานุสสติกรรมฐาน จะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้”

    คำสอน … หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    10334331_534210450024036_7544896381795707661_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  2. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    สมาธินี่ถ้าทำเฉยๆ ก็ไปไม่ได้น๊ะ ณาน ถึงณานหรือเปล่าก็ไม่รู้น่ากลัวจะไม่ถึงณาน น่ากลัว ตะเกียตตะกายอยู่ข้างณาน
    มันขึ้นณานไม่ไหว ไต่บันไดเเกร็กๆ แต่ความจริงถ้าเรื่องสมาธิจริงๆ นะ ถ้าได้จริงๆ ก็อยู่แค่ณาน 4 ณาน 4 แล้วไปไหนหละก็ทรงตัวบ้าง เดินหน้าบ้างถอยหลังบ้าง ไปข้างหน้า 1 ก้าว ถอยหลัง 5 ก้าว ทีนี้ผลการปฏิบัติจริงๆ เขาไม่ได้มุ่งสมาธิ ต้องมุ่งหวังตัดสังคโยชน์ ถ้าจะบอกว่า
    วิปัสสนาญานก็จะมากเกินไป ความจริงถ้ามุ่งตัดยังโยชน์ ก็ต้องดูใจตัวเองไม่ใช่ดูสมาธิ
    ความโลภ ยังมีหรือเปล่า ความโกรธ ยังมีหรือเปล่า ความหลงยังมีหรือเปล่า เบาลงไปหรือเปล่า แล้ว
    1 ลืมความตายหรือเปล่า
    2 เคารพพระไตรสรณคมน์จริงจังไหม
    3 มีศีล 5 บริสุทธิ์ไหม
    4 หวังนิพานจริงจังหรือเปล่า

    10446008_534937129951368_6772295137780068850_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  3. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    คำสอน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    อนิจจังนี่มันเป็นของ ไม่เที่ยง จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมดในโลกนี้
    ถ้าไม่เที่ยงเราไปยึดมันเข้าแล้วมันเป็นทุกข์ ต้องปล่อยตามมัน ๆ จะเป็น อย่างไรก็
    ช่างมัน
    แล้วในที่สุดมันก็เป็นอนัตตา พังสลายตัวหมด อย่าไปยึดไปถือมัน อย่าไปยึดว่าจะ
    มีอะไรเป็นเราเป็นของเราต่อไป แม้แต่ร่างกายเรายังพัง
    ในเมื่อร่างกายเรายังพังแล้วจะมีอะไรทรงอยู่ อะไรมันทรงอยู่แล้วก็ตาม
    ถ้าหากร่างกายเราพังแล้ว เราก็ไม่มีสิทธิ์จะมายึดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา
    ท่านบอกว่าต้องทำอย่างนี้จริง ๆ จัง ๆ ปล่อยไม่ได้
    แล้วก็ต่อมาจงปล่อยความยึดมั่นจากรูปที่เห็นทางตา
    จงอย่ายึดว่ารูปนั้นเป็นเราเป็นของเรา
    ปล่อยเสียงที่ได้ยินทางหู
    ปล่อยกลิ่นที่ได้รับทราบทางจมูก
    ปล่อยรสที่รับทราบทางลิ้น
    ปล่อยสัมผัสที่รับทราบทางกาย
    ปล่อยอารมณ์ใจที่เป็นกุศล อย่าเอาเข้ามายุ่ง
    ฟังแล้วก็จำนะ นี่เราเรียนกันมาแล้ว นี่ท่านย่อมา ผมเห็นว่าไม่ยาก ผมก็ย่อไป
    ท่านก็บอกว่าปล่อยใจว่าเป็นเชื้อของเดิมมาเพราะอารมณ์ทั้งหมดเนื่องจากรูป
    ท่านบอกว่า ที่ต้องมาเกิดอย่างนี้ ต้องมาเป็นทุกข์อย่างนี้ เชื้อเดิมมา
    เพราะอาศัยรูปเป็นสำคัญ คือ
    อาศัยรูปทางตา
    อาศัยเสียงทางหู
    อาศัยกลิ่นทางจมูก
    อาศัยรสทางลิ้น
    อาศัยสัมผัสทางกาย
    อาศัยอารมณ์ใจที่เกลือกกลั้วในอารมณ์
    นี่ที่ต้องมาเกิดมาเป็นอย่างนี้
    อาศัยตัณหาเป็นเจ้าเรือน ตัณหาก็คือความอยาก อยากได้รูปสวย ๆ อยากได้เสียง
    หวาน ๆ อยากได้กลิ่นหอม ๆ อยากได้รสอร่อย ๆ อยากได้รับการสัมผัสที่พอใจ
    อยากได้อารมณ์ที่พึงปรารถนา
    ท่านบอกว่า นี่พวกนี้เป็นเจ้าเรือน ต้องทำลายไปเสียให้หมด
    ต้องทำให้ได้ แล้วจะรู้ผลภายในสิบวัน จำไว้นะ ใครอยากจะได้บรรลุมรรคผลเร็ว ๆ
    ละก็ปล่อยตามที่ท่านบอก จะรู้ผลภายในสิบวัน ดูซิท่านผู้เฒ่าจะทำได้ไหม
    ท่านบอกว่า ธรรมะของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมได้ผลแก่ผู้ขยัน
    แล้วก็ไม่มีใครอาจจะกำหนดพยากรณ์เวลาที่จะสำเร็จมรรคผลได้
    ท่านให้มั่นใจขนาดนี้ ขยันนี่ต้องขยันถูกด้วย ไม่ใช่ขยันผิด ขยันตามท่านว่านี้
    ถ้าขยันจริง ๆ เวลาจะทำ ทรงสมาธิให้เต็มที่ ให้จิตมันทรงตัว
    แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณา
    เห็นรูปทางตาไม่เป็นเรื่อง
    เสียงทางหูไม่ได้ความ
    กลิ่นทางจมูกไม่เป็นรส ว่ากันจิปาถะไปก็แล้วกัน
    ว่าให้เห็นว่ามันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ยึดถือปล่อยมันเสียให้หมด
    เสียงดีหรือเสียงเลวก็ช่าง
    รูปดีรูปเลวก็ช่าง
    กลิ่นดีกลิ่นเลวก็ช่าง
    รสดีรสเลวก็ช่าง
    สัมผัสดีสัมผัสเลวก็ช่าง
    อารมณ์ใจทรงไว้เฉพาะในด้านอารมณ์ที่เป็นกุศลเพียงอย่างเดียว
    คือตั้งไว้ในด้านสักกายทิฏฐิทำลายอสมิมานะที่ถือตัวถือตนว่าเป็นเราเป็น
    ของเรา อย่างนี้สิบวันได้แน่
    (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๙๐-๙๑)
    จากหนังสือ พ่อรักลูก (พิเศษ ) หน้าที่ ๔๙ (โดย…หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)

    10447520_535504836561264_4707771351262720425_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  4. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    อย่าสนใจร่างกาย

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    “เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจร่างกายของตนเอง จงอย่าสนใจในร่างกายของคนอื่น จงอย่าสนใจในทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เพราะว่าสิ่งทั้งหลายในโลกนี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ร่างกายถ้าเป็นเราจริง มันก็ทรงสภาพอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย แต่ทว่าร่างกายของเราเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่ทรงสภาพ ในที่สุดมันก็เข้าขั้นสลายตัว เมื่อเราจะต้องตาย ทรัพย์สมบัติของเราทั้งหลายในโลก มันก็ไม่ตามเราไป แม้แต่ร่างกายที่เรารักที่สุดมันก็ไม่ตามเราไป มันคงจมอยู่ในพื้นปฐพีเป็นปรกติ”

    อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้คิดไว้อยู่เสมอ อย่าเผลอไปในด้านความโลภ อย่าเผลอไปในด้านความทะเยอทะยาน อย่าเผลอให้จิตใจมีความโกรธ ความพยาบาท อย่าเผลอให้ความนึกคิดว่านั่นเป็นเราเป็นของเรา อารมณ์อย่างนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการ ฉะนั้น ขอทุกท่านจงรักษากำลังใจอย่างนี้ไว้เป็นปกติ

    ถ้าหากว่าใจของท่านกระสับกระส่าย
    จงรักษาอานาปานสติกรรมฐาน มีกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกให้ทรงตัว ยังไม่ต้องคิดอะไรทั้งหมด กำหนดจิตรู้เฉพาะลมหายใจเข้าหายใจออกเท่านั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นรู้อยู่ถ้าทำอย่างนี้อารมณ์จิตของท่านจะไม่ฟุ้งซ่าน

    (ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า หน้า ๘)

    10388072_535508059894275_3814500533364032955_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  5. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    สร้างรูปเหมือนพ่อกันครับ ใหญ่ที่สุดในโลกครับ
    เซฟภาพนี้ไว้ แล้วไปที่เคาท์เตอร์ 7-11 ครับ สแกนบาร์โค๊ด แจ้งเบอร์โทร แจ้งยอดเงิน ขั้นต่ำ 20 บาทครับ ทำบุญได้ทุกวัน ทุกเวลา ถ้าคิดถึงพ่อนะครับ สาธุครับ
    ( ฝากแชร์ต่อๆกันไปครับ )

    10407004_537159436395804_1432329960328337027_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  6. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง

    ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง จงจำไว้ให้ถึงที่สุด เมื่อจำไว้ทุกวัน ลืมตาขึ้นมาเช้ามีความรู้สึกไว้เสมอว่า

    เราอาจจะไม่ได้กินข้าวเช้า อาจจะตายก่อนก็ได้ ความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย ถ้าเราตายเลว ก็ดูตัวอย่างสัตว์ในอบายภูมิ มีนรกและเปรตเป็นต้น ก่อนจะตายถ้าเราทำความดี นั่นก็เป็นเรื่องที่เราจะฟังต่อไปข้างหน้าในเรื่องวิมานวัตถุ จะเห็นผลมีความสุข

    ถ้าเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยทรัพย์มีความสุข ถ้าเป็นเทวดาก็เป็นเทวดาที่มีความสุขสมบูรณ์ ไม่ต้องเป็นเปรตไปก่อนแล้วจึงเป็นเทวดา

    พ่อรักลูก (พิเศษ)

    (หลวงพ่อฤาษี ลิงดำ)

    10455221_537259946385753_2290437123027437914_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  7. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    เรื่อง หน้าที่

    “ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ถ้าเราเกิดอีก เราก็ลำบากอีก อย่าเกิดเลยดีกว่า งานที่ทำขอให้คิดว่าทำเพียงหน้าที่ คือ หน้าที่ ๆ จะต้องเลี้ยงตัวเอง เลี้ยงครอบครัว ทำไป และอย่าติดหน้าที่ คิดวางคิดปล่อย คลายความเมา ปล่อยให้เป็นเรื่องของกรรม แต่อย่าบกพร่องในหน้าที่พระพุทธพยากรณ์ เมื่อไม่ช้านี้ พ่อดีใจ ท่านตรัสว่า ความยาวของชีวิตพ่อ มีประโยชน์กับลูกและหลานลูกทุกคนจะไม่มีโอกาสได้เกิดอีก พ่อดีใจ ถ้าต้องทรมานกายเพื่อความถึงที่สุดของลูกและหลานพ่อทนได้เสมอ”

    คำสอน … หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    10421443_539502199494861_8891954527616907385_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  8. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    คำสอนพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ………………………………………………
    การที่จะได้ดีหรือไม่ได้ดี มันอยู่ที่ความจริงใจของเราเท่านั้น การเจริญพระกรรมฐานที่บอกว่าทำแล้วไม่ได้ดี ก็เพราะคนเราหาความจริงไม่ได้นั่นเอง ไม่ใช่มีอะไรยากลำบากที่ไหน เป็นของธรรมดา

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงหาอะไรมาสอนเรา นอกจากนำกฎธรรมดาที่เรามีอยู่ ให้เรามาใช้ปฏิบัติให้ถูกทางเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาธิจิต เราก็ใช้กันอยู่เป็นปกติ แต่ว่าองค์สมเด็จพระชินศรีเห็นว่า สมาธิแบบนั้นเป็นโลกียสมาธิ ไม่เป็นทางหมดทุกข์

    องค์สมเด็จพระบรมครูต้องการให้เรามีความสุข จึงให้ใช้สมาธิด้านกุศลจิต คิดหากุศลเข้าใส่ใจไว้เป็นประจำ ให้จิตมันจำไว้เฉพาะด้านกุศลอย่างเดียวจนเป็นเอกัคตารมณ์

    เมื่อจิตทรงสมาธิได้ดีแล้ว องค์สมเด็จพระประทีปแก้วก็สอนวิปัสนาญาน มีอริยสัจ เป็นต้น ให้พิจารณาเห็นทุกข์ เหตุแห่งความทุกข์ที่มันจะมีขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยตัณหา มีความผูกพันในร่างกาย ซึ่งมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราก็วางร่างกายเสีย เพื่อพระนิพพาน.
    ………………………………………………

    10372042_544301242348290_8353052599379603576_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  9. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    อารมณ์พระโสดาบันและพระสกิทาคามีมรรค (ต่อ)
    โดยพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง) จ.อุทัยธานี
    จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

    การอภัยทาน
    โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว สำหรับวันนี้ก็จะพูดต่อเมื่อวันวาน แต่การเริ่มต้นก็ขอให้ทุกคนพยายามฝึกฝนอารมณ์ไว้ วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกนี่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกนี่เป็นการระงับอาการฟุ้งซ่านของจิต เราอธิบายกันมามาก พูดกันมามาก ไม่อยากอธิบายซ้ำ ไม่อยากพูดซ้ำ

    สำหรับวันนี้ก็จะได้ปรารภเรื่องพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีต่อไป เพราะว่าท่านโสดาบันกับสกิทาคามีละสังโยชน์ได้เสมอกัน แต่ทว่ามีอาการระงับต่างกัน หมายถึงว่าพระสกิทาคามี มีการระงับ หรือการทำโลภะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง สำหรับพระสกิทาคามีเบื้องต้น เรียกว่า สกิทาคามีมรรค นั่นก็ได้แก่ถือ อภัยทานเป็นสำคัญ อภัยทานที่จะเกิดขึ้นมาได้ก็ อาศัยพรหมวิหาร 4 ถ้ามีอยู่ในใจ ก็มีแต่ความรักความสงสาร ตัดความอิจฉาริษยา มีอารมณ์วางเฉยหรือว่าเฉยในอารมณ์ต่าง ๆ ที่เป็นเหตุให้ทำลายอารมณ์จิตของเรา วางไว้ถือว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา อันนี้ต้องจำ

    ที่ว่าต้องจำก็เพราะว่าบางทีพวกเราก็มักจะลืมกันเหมือนกัน มักจะไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น อันนี้เป็นการไม่สมควร พูดกันมาทุกวัน ระวังให้ดี อย่าไปยุ่ง ความเป็นพระให้มันเป็นพระ อย่าทำตนเป็นพะ เป็นเณรจงเป็นเณร อย่าทำตนเป็นโจร คำว่าโจร หมายความว่า ปล้นความดีของพระพุทธศาสนา ปรับปรุงใจของตนเองเป็นสำคัญ

    ถ้าทุกคนปรับปรุงใจของตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องไปยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อน ในการที่จะเพ่งโทษคนอื่นต้องรู้ตัวว่าเราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่าเรามันเลว เลวมากจนกระทั่งขังอยู่ในใจไม่ได้ มันจึงอุตสาห์ไหลมาทางวาจา ไหลมาทางกาย นี่แสดงว่าความเลวมันล้นออกมาจากจิต ในข้อนี้ต้องคิดไว้เป็นประจำ อย่าทนงตนว่าเป็นคนดี ถ้าดีแล้วปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้นมีความดีไม่ได้

    ทีนี้สิ่งที่เราจะกันความเลวไม่ให้มันล้นออกมา ก็ต้องอาศัยพรหมวิหาร 4 คือ มีจิตเมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร มีจิตอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร เห็นใครได้ดีพลอยยินดีด้วยและมีอารมณ์วางเฉย ยอมรับนับถือกฎของกรรม และพยายามเพ่งโทษโจทก์ความชั่วของตัวอยู่เสมอ อย่าไปโทษโจทก์ความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าใจมันยังโทษโจทก์ความชั่วของบุคคลอื่น แสดงว่ายังเลวอยู่ ยังมีความอิจฉาริษยาคนอื่น ยังเลวอยู่ พูดเสียดสีค่อนแคะบุคคลอื่น ยังเลวอยู่ สร้างกรรมชั่ว ทำชั่ว ทำผิดวินัย มันยังเลวอยู่ นี่พยายามมองความเลวในใจของเราเป็นสำคัญ ถ้าใจของเราไม่เลว เราก็ไม่มีการเพ่งโทษบุคคลอื่น ไม่เสียดสีบุคคลอื่น และอารมณ์แห่งพรหมวิหาร 4 มีอยู่

    เมื่อพรหมวิหาร 4 มีความละเอียดทรงตัวดี มีอารมณ์ละเอียด จึงจะให้อภัยทานได้ อภัยทานนี่มันมีกำลังหนัก คือว่าหนักกว่า พรหมวิหาร 4 ธรรมดา พรหมวิหาร 4 ธรรมดานี่เรามีจิต เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แล้วมีรัก มีสงสาร ไม่อิจฉาริษยาเขา

    สำหรับอภัยทานนี้ต้องใช้อารมณ์สูงไปกว่านั้น เพราะว่าเราต้องให้อภัยกับคนที่สร้างความชั่วให้เกิดขึ้นกับเรา แทนที่เราจะโกรธแทนที่เราจะพยาบาท เรามีจิตคิดให้อภัยในความเลวของเขา โดยมีความรู้สึกนึกคิดว่าบุคคลนี้มีสภาพเป็นทาส ไม่มีความเป็นไท

    คำว่า ทาส เป็นคนชั้นต่ำ เป็นพระนักบวช ก็เป็นนักบวชชั้นต่ำ เป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นต่ำ เพราะว่ายังมีจิตเป็นทาสอยู่ ยังไม่เป็นไท อยู่ในเกณฑ์ถูกบังคับบัญชาให้ทำอยู่เสมอ

    ทาสคนยังดี ยังมีโอกาสหาความดีมาใส่ตนได้ ถึงแม้ว่าเป็นทาส นี่ทาสของคน ดูตัวอย่าง นางบุญทาสี เป็นทาสของคหบดี รับใช้เจ้านายอยู่ตลอดเวลา ไม่มีค่าจ้างรางวัล เพราะเป็นทาส แต่ว่านางบุญทาสีก็ยังมีจิตเป็นกุศล ยอมรับนับถือความดีขององค์สมเด็จพระทศพล นายใช้ให้ไปธุระในกิจทางไกล นางก็ทำแป้งจี่ด้วยรำกับปลายข้าว ปิ้งแล้วห่อชายพกไป หวังจะไปกินตามทางในเวลานั้น ปรากฏว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระอานนท์เดินผ่านมาพอดี นางบุญทาสีมาคิดในใจว่าเราเป็นทาสเขา บางครั้งเราก็มีศรัทธาเห็นพระแต่ไม่มีอะไรจะถวาย บางครั้งเรามีของจะถวายพระ ก็ไม่เจอพระหาพระยาก วันนี้เราเจอองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากับพระอานนท์ เรามีแป้งจี่ทำด้วยรำกับปลายข้าวผสมกัน ห่อชายพกมา เราจะเอาของอันนี้ถวายองค์สมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามาใกล้ นางก็นิมนต์ให้หยุด แล้วก็แก้ชายพกเอาแป้งจี่มาใส่ลงไปในบาตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใส่ลงไปแล้วนางก็คิดว่าตามธรรมดาพระพุทธเจ้าย่อมไปฉันในสำนักของพระราชาบ้าง ในสำนักของมหาเศรษฐีบ้าง ฉันแต่ของดี ไอ้ของ ๆ เราน่ะเป็นของเลว พระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน แต่ทว่าอาศัยที่เรามีความตั้งใจเป็นกุศลองค์สมเด็จพระทศพลจะฉันหรือไม่ฉันก็ช่าง เราหวังถวายท่านเอาบุญเท่านั้น

    เมื่อนางคิดแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงมองดูหน้าพระอานนท์ นี่เขาคิดน่ะ เขาไม่ได้พูด พระอานนท์รู้ท่าจึงได้ปูผ้าสังฆาฏิลง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประทับที่ตรงนั้น ฉันแป้งจี่ของนางบุญทาสีในขณะนั้น กลางทางนั่นเอง นางบุญทาสีดีใจเกือบตาย นั่งลงยกมือไหว้พนมตลอดเวลาด้วยความปลื้มใจยิ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จก็โมทนา เมื่อโมทนาจบ นางบุญทาสีก็สำเร็จเป็นพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น

    นี่แสดงว่า ความเป็นทาสของคน คนเป็นทาสคน ถึงแม้ว่าจะไม่มีอิสรภาพเป็นตัวของตัวเองก็จริงแหล่ แต่ทว่าใจเป็นอิสระ สามารถจะประกอบความดี จะคิดถึงความดีได้

    แล้วเราก็คิดใหม่ว่า สำหรับคนที่เขามาสร้างความชั่วให้สะเทือนใจเรา นั่นเขาเป็นทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม ทาสของกิเลส ตัณหา อุปาทาน และอกุศลกรรม นี่ไม่มีทางจะคืนตัวได้ ความเป็นอยู่ของเขาในปัจจุบันในชาติที่เป็นมนุษย์ เขาก็มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความเศร้าหมองจิต เพราะกิเลสมันทำจิตใจให้เศร้าหมอง ตัณหาสร้างจิตใจให้เร่าร้อน อุปาทานมีอาการเกาะความชั่วเป็นปกติ อกุศลกรรมทำความชั่วตลอดเวลา คนที่เป็นทาสของกิเลสตายแล้วไม่มีโอกาสจะเกิดเป็นคน แม้จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยังเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดในอบายภูมิ

    นี่ถ้าบุคคลผู้ใดทำใจของเราให้เร่าร้อนด้วยกายกรรม ทำด้วยกายก็ดี ด้วยวจีกรรม ทำด้วยวาจาก็ดี เราจงคิดว่าคนประเภทนี้เขาไม่ใช่คน เขาคือสัตว์นรกในอบายภูมินั่นเอง เราก็คิดว่าถ้าเราจะไปต่อล้อต่อเถียง จะกระทำตอบ เราก็จะเลวตามเขา เวลานี้จิตใจของเขาจมลงไปแล้วในนรก ถ้าเราทำตามแบบเขาบ้าง เราก็จะจมลงนรกเหมือนกัน มันไม่มีประโยชน์ จิตเราก็ระงับความโกรธด้วยอำนาจขันติหรืออุเบกขา นี่อุเบกขาเราใช้กันตรงนี้เลย เฉย เขาเลวก็ปล่อยให้เขาเลวไปแต่ผู้เดียว เราไม่ยอมเลวด้วย

    นอกจากนั้นก็มาคิดปลงอนิจจังว่า พุทโธ่เอ๋ย นี่ตัวเขาเองกว่าจะมาเกิดเป็นคนได้น่ะมันยากแสนยาก คนที่มีจิตใจประเภทนี้ คนที่มีจิตประเภทนี้มาจากนรกก่อน เดิมทีมาจากนรก ตกนรกสิ้นระยะเวลามาหลายแสนกัป กว่าจะผ่านนรกขึ้นมาได้ แล้วก็ต้องมาเป็นเปรต มีทุกขเวทนาอย่างหนัก แล้วก็มาเป็นอสุรกาย มีแต่ความหิวโหย แล้วก็ต้องมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานซึ่งไม่มีอิสรภาพ ใช้เวลานานแสนนานจึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เขาน่าจะรู้สึกตัวว่ากรรมชั่วเก่าของเขาที่ทำไว้ให้โทษอย่างหนัก น่าจะเป็นคนที่มีการกลับใจได้ดี สร้างความดีจากความเป็นคนให้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม แต่ว่าเขามากลับหวนลงนรกอีก แบบนี้เป็นบุคคลที่น่าสงสาร ควรให้อภัย เพราะอะไร เพราะว่าใจของเขาไม่ใช่ใจของคนเสียแล้ว เป็นใจของสัตว์นรก ควรให้อภัยเขา ถ้าเราไปต่อสู้กับเขาต่อล้อต่อเถียงตอบแทนเขาด้วยอาการเช่นเดียวกัน อารมณ์ของเราก็จะทรามเกินไป นี่การให้อภัยทาน เขาให้อภัยกันอย่างนี้

    แล้วก็จำได้ด้วยว่าถ้าบุคคลใด หรือพระองค์ใด เณรองค์ใดปฏิบัติอย่างนั้น ก็พึงรู้ตัวว่า เราจะมานั่งเจริญสมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐานสักกี่แสนปี มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย กลับจะมีโทษหนัก เพราะการเจริญพระกรรมฐานถ้ามีใจเลวมันกลายเป็น มารยา ล่อลวงบุคคลอื่นให้หลงผิดคิดว่าเราเป็นคนเคร่งครัดมัธยัสถ์ คิดว่าเราเป็นคนดี

    ในอารมณ์ของพระสกิทาคามีเบื้องต้น ถ้าจะกล่าวกันไปอีกทีเรียกว่าสกิทาคามีมรรค ยังไม่ใช่สกิทาคาผล เป็นอันว่าเรากำลังเดินเข้าไปหาความเป็นพระสกิทาคามี อย่าลืม อาการอย่างนี้เป็นพระสกิทาคามีมรรค

    ทวนต้นสักนิดว่า สกิทาคามีมรรคปฏิบัติมาเช่นเดียวกับ พระโสดาบัน คือ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ที่เรียกว่า มรณานุสสติกรรมฐาน เมื่อรู้ตัวว่าจะตาย ก็มีความไม่ประมาท คิดว่าตายคราวนี้ต้องดีกว่าการเกิดมาคราวนี้ ทั้งนี้เพราะอะไรก็เพราะว่าเราเกิดมาเป็นคนแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นคนอีกก็ต้องเป็นคนที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่มีสภาวะอย่างนี้ หรือมิฉะนั้นเราก็ควรเป็นเทวดาหรือพรหม

    ฉะนั้นเมื่ออารมณ์ของพระโสดาบัน หรือ โสดาปัตติมรรค คิดอย่างนี้แล้วจึงพยายามรวบรวมกำลังใจ นึกถึงคุณความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ มั่นคงอยู่ในคุณทั้ง 3 ประการ คิดว่าเรามั่นอยู่ในคุณทั้ง 3 ประการนี้ เราตายไม่ลงนรกแน่ แต่ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ เราจะต้องปิดอบายภูมิ ด้วยการรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ อย่างนี้เป็นอารมณ์พระโสดาปัตติมรรค ยังไม่ใช่อารมณ์ของพระโสดาปัตติผล

    พอถึงพระโสดาปัตติผล อันดับแรกพอจิตเข้าสู่ โคตรภูญาณ ในตอนนี้อารมณ์จะเริ่มเข้าจุดยอมรับนับถือกฎของธรรมดา มันจะแก่ มันจะป่วย มันจะตาย ใจจะรู้สึกว่าเป็นของะรรมดา ไม่มีความหนักใจ ใครเขาจะกล่าวนินทาว่าสรรเสริญ จะเสียดสีอะไรก็ตามรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา แต่ไม่ใช่จะไม่มีความไม่พอใจ ความไม่พอใจมีขึ้นเหมือนกัน แต่ระงับได้เร็ว ไม่โต้ไม่ตอบ เมื่อไม่โต้ไม่ตอบเขา เราก็ไม่ทำด้วยอาการอย่างนั้น เราไม่ทำ เห็นว่าเป็นอาการเลว เมื่ออารมณ์จับธรรมดาเป็นปกติอย่างนี้เรียกว่า โคตรภูญาณ เมื่ออารมณ์จับธรรมดาอย่างนี้แล้ว อารมณ์อีกส่วนหนึ่งก็จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ นี่เป็นโคตรภูญาณเบื้องปลาย

    เมื่ออารมณ์จับพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ถอยหน้าถอยหลังพิจารณาว่า ความตายเป็นของเที่ยง ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง เราจะต้องยึดคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดศีลเป็นกำลังสำคัญเพื่อป้องกันอบายภูมิ แล้วจิตใจของเราก็มีความมั่นคงในพระนิพพาน ศีล 5 ประการจะไม่ด่างพร้อย สำหรับฆราวาส สำหรับเณร ศีล 10 ไม่ด่างไม่พร้อย มีอารมณ์รักษาศีลเป็นปกติจนกระทั่งมีอารมณ์ชุ่มชื่นแจ่มใส การปฏิบัติอยู่ในศีลในธรรมไม่ต้องระมัดระวัง มันมีอารทรงอารมณ์ของมันเอง มีอารมณ์รักษาพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ อย่างนี้เรียกว่า พระโสดาปัตติผล ยังมีความรัก ยังมีความโลภ ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงแต่ทว่าไม่ทำ ไม่ละเมิดศีล รักอยู่ในขอบเขตของศีล รวยอยู่ในขอบเขตของศีล โกรธไม่ทำร้ายเขา ไม่ฆ่าเขา เพราะกลัวศีลขาด หลงก็จริงแหล่แต่ทว่าไม่ลืมความตาย ใจมั่นคงอยู่อย่างนี้เรียกว่าพระโสดาปัตติผล

    ทีนี้การเข้าถึงพระสกิทาคามีมรรคก็ยึดพรหมวิหาร 4 เป็นสำคัญ เพราะพรหมวิหาร 4 นี่ต้องมีมาจากพระโสดาบันแล้ว ถ้าไม่มีพรหมวิหาร 4 ศีลไม่บริสุทธิ์ ทีนี้พอมาถึงพระสกิทาคามีมรรค เราก็มาจับอภัยทานเป็นสำคัญ คิดแล้วมาอย่างเมื่อกี้นี้ ถ้าใจเราเลว คิดถึงใจอยู่เสมอ ใจเรา อย่าไปดูใจคนอื่น ไม่ต้องไปช่วยใครเขาขัดเกลาจิตใจของเขา ช่วยตัวเราให้มันรอดก็แล้วกัน ถ้าหากว่าเราดีจริง ๆ แล้ว เราก็ไม่มีการทำให้บุคคลอื่นให้เร่าร้อน คนดีนี่มันไม่มีชั่ว

    เมื่อใจของเราดี ใจทรงพรหมวิหาร 4 ใจมีอภัยทาน มันมีอะไรบ้างในจิตที่เราจะไปคิดประทุษร้ายบุคคลอื่น ทั้งทางกายและวาจาทำเขาให้เร่าร้อน มันก็ไม่มี อาการอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นสกิทาคามีมรรค ยังไม่ถึงสกิทาคามีผล แล้วเรื่องสกิทาคามีผลนี่จะพูดกันวันหลัง

    ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา

    10351397_544885035623244_4194501424218895968_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  10. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    หลวงพ่อ : ฝึกกรรมฐานต้องการให้จิตนิ่งคือเราเป็นรูปปั้นเสีย ถ้าไม่ปั้นไม่หล่อจิตมันไม่นิ่ง
    ไอ่คำว่า “จิตนิ่ง” นี่มันไม่มี อย่าลืมนะ จิตของปุถุชน คนที่ทรงฌานจิตเข้าถึงฌาน ๔ ก็ไม่นิ่ง อารมณ์มันทรงตัว

    คำว่า “อารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์” นี่มันไม่นิ่งนะ มันจับอารมณ์อย่างเดียว เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ก็ไม่นิ่ง เพราะจิตมันอิ่มด้านกุศลอย่างเดียว เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่นิ่ง จิตอยู่ในมหากรุณาธิคุณ

    คำว่า “นิ่ง” หมายความว่า จิตนิ่งจากอกุศล คือไม่คิดชั่ว คิดดีอย่างเดียว เข้าใจไหม นิ่งจากอกุศล คือไม่นิ่งในเรื่องของกุศล.
    ทำกรรมฐานให้จิตนิ่ง
    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)

    10408041_545673092211105_3267369857270790082_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  11. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    จงอย่าหวั่นไหวต่อความเป็นไปของโลก

    จงอย่าหวั่นไหวต่อความเป็นไปของโลก โลกต่อไปจะเป็นไฟ เราจงทำใจเป็นน้ำ ใช้คำว่าช่างมัน ช่างมันตลอดไป เขาให้ทำ-เราทำ เขาสั่งหยุด-เราหยุด นี่เป็นภาวะของโลก แต่เรื่องทำใจให้เป็น ต้องทำตลอดไป รักษาอารมณ์รู้จักตาย รู้ว่าโลกเป็นของสลายตัว เท่านี้พอ แล้วก็จะเข้าถึงพระนิพพานได้

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤษี)

    10360787_549760995135648_6847176220178646407_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  12. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    อย่าคิด อย่ามองคนอื่นในแง่ไม่ดีเด็ดขาด
    อย่าคิด อย่ามองคนอื่นในแง่ไม่ดีเด็ดขาด เขาจะดีจะชั่วก็เป็นเรื่องของเขา ต่างก็มีกรรมเวรเป็นของตน ไม่ต้องสนใจใคร หากสนใจความไม่ดีของคนอื่น ระวังตัวเราเองอาจจะต้องลงอเวจี ปฏิบัติมาถึงป่านนี้แล้ว ใครทำไม่ดีกฎของกรรมลงโทษเอง ระวังจิตของเราให้ดีที่สุด ทำจิตให้สะอาด เอาจิตที่ดียกไปไว้บนพระนิพพาน มีพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในใจตลอดเวลาที่มีลมหายใจเข้าออก
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษี)

    10527529_549761461802268_7576685976573080960_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  13. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    วันนี้วันพระตรงกับวันเสาร์ แรม ๘ ค่ำ เดือนแปด(๘) ปีมะเมีย
    ขอให้ทุกท่านมีความสุขในธรรม
    “….การนึกถึงเทวตานุสสติ การนึกถึงเทวดาเป็นอารมณ์ คือจับเอาหัวใจของเทวดามาใช้ เพื่อเราจะได้เป็นเทวดาไปด้วย หัวใจของเทวดานี้มีอยู่ ๒ อย่าง เป็นธรรมะ ท่านเรียกว่า หิริ และ โอตตัปปะ ที่ท่านกล่าวว่าเป็น “เทวธรรม” คือ ธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา
    ธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดามี ๒ จุด คือ:-
    หิริอย่างหนึ่ง
    โอตตัปปะอย่างหนึ่ง
    หิริ แปลว่า ความละอายต่อบาป
    โอตตัปปะ ความกลัวผลของบาปจะให้ผลเป็นเครื่องเดือดร้อน
    นี่คนที่ทรงคุณธรรมความดี ๒ ประการ เป็นเทวดาได้อย่างสบาย และเป็นเทวดาชั้นสูง ที่พระพุทธเจ้าให้เรารู้จักหัวใจของเทวดาหรือธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ให้นึกถึงเทวดา แม้แต่ภุมเทวดาก็ตาม ที่เราพากันยกศาลพระภูมิเจ้าที่ ความจริงเราก็เลยนึกว่าท่านเป็นเจ้าของพื้นที่ดิน แต่ความจริงไม่ใช่ พระภูมิเจ้าที่ท่านเรียกว่า “ภุมเทวดา” ซึ่งแปลว่าเป็นเทวดาผู้มีบุญน้อยวาสนาบารมีน้อย วิมานอยู่กับพื้นดิน
    การยกศาลพระภูมิก็ไม่ใช่ว่าจะให้เทวดามาอยู่บนศาลพระภูมิ เป็นแต่ว่าเรายอมรับนับถือเทวดา การยกศาลพระภูมิ ถ้าเราจะไหว้พระภูมิหรือไหว้ภุมเทวดา อย่างชนิดเรียกว่าท่านมาเป็นยามรักษาบ้าน
    อันนี้ก็ไม่เข้าถึงจุดความจริง ถ้าเราเห็นศาลของภุมเทวดาเมื่อไรก็นึกว่า ที่ท่านเกิดมาเป็นเทวดา ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่ปวด ไม่เมื่อย ไม่มีภาระ ไม่ต้องหุงข้าวหุงปลา ไม่ต้องทำนา ค้าขาย ไม่ต้องรับราชการ รับจ้าง ความเสื่อมโทรมของร่างกายไม่มี มีแต่ความสุข ความร้อนเกินไป ความหนาวเกินไปสำหรับเทวดาไม่มี มีแต่ความเยือกเย็น มองไปเห็นศาลของเทวดาหรือภุมเทวดาละก็คิดอย่างนี้ แล้วก็คิดต่อไปว่าความดีที่เป็นเทวดา
    แม้แต่เทวดาหางแถวก็ยังดีกว่าเราซึ่งเป็นคนหัวแถว คนหัวแถวของคนก็ได้แก่กษัตริย์ หรือว่าประธานาธิบดี เรียกว่าเป็นใหญ่กว่าคนทั้งหมดในชาตินั้น ก็มีความแก่ ความป่วย ความตาย ความกระหาย ความกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่างๆ พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง มีความทุกข์ตลอดเวลา มีความทรุดโทรม มีความกระสับกระส่าย มีความตายไปในที่สุด แต่เทวดาไม่มี จะมีก็เพียงแต่ว่าจุติเวลาหมดบุญวาสนาบารมี ยามปกติเทวดามีความสุข นี่การยกศาลพระภูมิ ถ้าไหว้พระภูมิเป็นละก็เขาไหว้แบบนี้
    เราก็ดูกันต่อไปว่าท่านเป็นเทวดาได้ยังไง ความสำคัญจริงๆ ที่เป็นเทวดาได้แบบเทวดาชั้นดี ก็มี หิริ ความละอายต่อความชั่ว ลองนึกดู ขึ้นชื่อว่าความชั่วทั้งหมดเราอาย โอตตัปปะ เกรงกลัวผลของความชั่วจะเข้ามาทับใจให้เกิดความทุกข์ ความชั่วนี่มันเข้าที่ไหนมันก็สร้างความทุกข์ที่นั่น มันหาความสุขกายสุขใจอะไรไม่ได้เลย นี่สองจุดนี่ อายความชั่ว แล้วก็เกรงกลัวผลของความชั่ว เมื่อเราทั้งอายทั้งกลัวความชั่ว เราก็ทำชั่วไม่ได้ ไม่ว่าในที่ลับหรือในที่แจ้ง เราทำไม่ได้แน่ อายแล้ว อายไม่พอแถมกลัวด้วย นี่คนอายชั่วกลัวชั่ว ไม่กล้าทำความชั่วมันเหลืออะไร ในเมื่อเราไม่ทำความชั่ว มันก็เหลือแต่ความดี อารมณ์จิตของเรามันมี ๒ อย่างเท่านั้น รับอารมณ์ ๒ อย่าง ไม่รับชั่วมันก็รับดี
    ทีนี้อารมณ์จิตของเราไม่รับชั่ว เหลือแต่ความดีโดยเฉพาะ เข้าในพระบาลีที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า
    สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง ว่าท่านทั้งหลายจงอย่าทำความชั่วทั้งหมด นี่การเจริญเทวตานุสสติเข้าในพระพุทธฎีกา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตั้งเป็นธรรมนูญของพระศาสนาเข้าไว้ว่า
    สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง จงอย่าทำความชั่วทั้งหมด
    กุสะลัสสูปะสัมปะทา จงทำแต่ความดี
    การเจริญเทวตานุสสติตามแบบของอนุสสติเดิม เรามานั่งใคร่ครวญ นั่งคิดถึงอยู่ตลอดเวลาว่า อันดับอย่างตํ่าของความดีขั้นมีความสุขก็คือเทวดา สูงขึ้นไปอีกนิดก็คือพรหม สูงที่สุดก็คือพระนิพพาน เวลานี้เราตั้งใจว่าเราจะไปนิพพาน แต่ว่าเรามีความดีถึงระดับของเทวดาแล้วหรือยัง นี่เป็นเครื่องวัดใจของเรา ต้องวัดไว้เสมอนะ
    พระพุทธเจ้ากล่าวว่า “อัตตนา โจทยัตตานัง” จงเตือนตนด้วยตนเอง แล้วจะมานั่งนึกว่า เอ๊ะ! นี่เราดีเท่าเทวดาแล้วหรือยัง เราจะไปนิพพาน เทวดาท่านดีตรงไหนล่ะ เทวดาท่านดีตรงที่ท่านไม่ทำความชั่ว เพราะอาย เป็นคนขี้อาย อายชั่วแล้วเกรงกลัวชั่ว เป็นคนขี้ขลาดไม่อยากจะทำชั่ว กลัวความชั่ว
    นี่เวลานี้ใจของเราเท่าใจของเทวดาแล้วหรือยัง ความชั่วทั้งหมด ทั้งในด้านศีล เป็นพระ เป็นเณร ฆราวาสก็เหมือนกัน อยู่ในขอบเขตของศีลของตัวโดยเฉพาะตามหน้าที่ ขึ้นชื่อว่าความชั่วเฉพาะศีลนี่เป็นขอบเขตของพระพุทธศาสนา เราไม่ละเมิด แล้วก็ไม่ละเมิดระเบียบประเพณีของแต่ละชาติ แต่ละภาษา แต่ละหมู่ แต่ะละคณะที่เราอยู่ ไม่ละเมิดต่อกฎหมายของบ้านเมือง คือไม่ทำด้วยความเต็มใจ
    ถ้าเรารู้สึกว่าจะละเมิดกฎหมายบ้านเมืองระเบียบประเพณีหรือศีลเมื่อไร ความอายนี่มันปรากฏ รู้สึกสั่นสะท้านเกรงกลัวผลของศีล ผลของการละเมิดศีล ประเพณี และกฎหมายของบ้านเมือง นี่อย่างนี้เรียกว่าเราก้าวเข้าไปสู่ความเป็นเทวดา เราอายแล้วเราก็กลัว ไม่ยอมปฏิบัติตามนั้น คือไม่ยอมละเมิด
    นี่ที่ใจของเราปักอยู่อย่างนี้โดยเฉพาะ แล้วเราก็คิดไว้ว่านี่เราทำอย่างนี้เราเป็นเทวดาได้ ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายทำได้อย่างดีก็ไม่ใช่ภุมเทวดา ลงอายความชั่วจริงๆ เกรงกลัวผลของความชั่วจริงๆ เอาจิตจับจิตไว้อยู่เสมอ เรียกว่า “จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน” ถ้าเราเจริญในด้านนี้ เช้าเราก็มองดูจิตว่า เอ..ตั้งแต่เช้าเมื่อวานถึงเช้าวันนี้น่ะเราหน้าด้านใจด้านบ้างหรือเปล่า คือหมายความว่าละเมิดหิริและโอตตัปปะ เวลาไหนที่เราไม่อายชั่ว เวลาไหนที่เราไม่เกรงกลัวผลของความชั่ว มีบ้างไหม นั่งจับอารมณ์ใจให้รู้
    ถ้าบังเอิญมันจะมีขึ้นละก็ตั้งใจไว้เสียใหม่ว่า วันนี้ตลอดวันเราจะไม่ยอมให้ความชั่วเข้ามาสิงใจ เพราะมันจะเป็นปัจจัยให้ไปสู่อบายภูมิ นี่ใคร่ครวญจิตอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา เรียกว่าเจริญ “เทวตานุสสติกรรมฐาน”…”

    10553626_550478811730533_4741385301969080207_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  14. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    อารมณ์หยั่งถึงพระนิพพานมีบ้างหรือเปล่า……..
    คิดถึงพระนิพพานวันละกี่ครั้ง นี่เป็นการทบทวนกำลังจิตอันดับต่ำ ถ้าทำได้อย่างนี้ถือว่าต่ำที่สุดในของเขตของพระพุทธศาสนา เรานึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอริยสงฆ์ มีศีล 5 บริสุทธิ์ ทรงพรหมวิหาร 4 เป็นปกติ มีหิริโอตตัปปะประจำใจ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเราอารมณ์ทรงได้ขนาดนี้เป็นปกติ ท่านเรียกว่า พระโสดาปัตติผล เป็นอารมณ์ที่มีอารมณ์ต่ำที่สุดในด้านของความดีในเขตของพระพุทธศาสนา

    10513509_552871091491305_1627077849384998068_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  15. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    บุญจากการอนุโมทนา

    ผลของบุญนั้นมีความมหัศจรรย์มากเพราะบุคคลบางคนไม่ได้สละทรัพย์เป็นเจ้าของวัตถุทานและไม่ได้เป็นผู้ถวายทานนั้นด้วยมือแต่เป็นผู้มีความยินดีเลื่อมใสในการทำบุญของบุคคลอื่นบุคคลนั้นก็จะได้รับผลของบุญประหนึ่งเป็นเจ้าของวัตถุทานหรือเป็นผู้ถวายทานนั้นเองดังเช่นผลบุญที่เกิดกับเพื่อนของนางวิสาขามหาอุบาสิกา

    ครั้งหนึ่งพระอนุรุทธะเถระจาริกไปในดาวดึงส์เทวโลก เห็นทิพย์วิมานหลังใหญ่ กว้างยาวและสูง ๑๖โยชน์ แวดล้อมด้วยอุทยานและสระโบกขรณี ล่องลอยอยู่ในอากาศแผ่รัศมีไปไกลถึงร้อยโยชน์ เจ้าของวิมานนั้นเป็นเทพธิดาวรรณะงามมีรัศมีสว่างไปทั่วทุกทิศ มีกลิ่นทิพย์หอมยวนใจฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่เมื่อยามเยื้องกรายหรือร่ายรำก็มีเสียงทิพย์อันไพเราะ น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ พระอนุรุทธะเถระจึงถามเทพธิดานั้นว่าเธอทำบุญด้วยอะไรทิพย์สมบัตินี้จึงเกิดขึ้นแก่เธอ
    นางเทพธิดาตอบพระเถระว่าข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเป็นเพื่อนของนางวิสาขามหาอุบาสิกาเมื่อเพื่อนของดิฉันสละทรัพย์ถึง ๒๗ โกฏิ สร้างบุพพารามมหาวิหารเธอชวนดิฉันและสหายอีก ๕๐๐ คน ไปเที่ยวชมปราสาทดิฉันได้เห็นสมบัติปราสาทที่เธอสร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ดิฉันเคารพ ดิฉันเลื่อมใสจึงอนุโมทนาบุญกับเธอว่า สาธุ สาธุ
    ด้วยอานิสงส์ของการอนุโมทนาบุญนี้ทิพย์สมบัติทั้งหลายเหล่านี้จึงบังเกิดแก่ดิฉัน

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤษี วัดท่าซุง)

    10469734_563419420436472_1011760558421095380_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ภิกขเว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กฏธรรมดาของโลกที่มีมานี้ก็คือ หนึ่งทุกข์ โลกทั้งโลกนี้ เราจะหาความสุขอะไรไม่ได้ เธอทั้งหลายจะเห็นว่า คนในโลกทั้งหมด เขาคิดว่าสุขเกิดจากทรัพย์สิน สุขเกิดจากอำนาจวาสนาบารมีที่มีมาก ปกครองคนมาก สามารถมีทรัพย์มาก สามารถจะบังคับใครต่อใคร แต่ว่าคนทั้งหลายเหล่านั้นเนื้อแท้จริง ๆ มีแต่ความทุกข์ หาความสุขอะไรไม่ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร ก็เพราะว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกข์ภายนอกก็มีอยู่ แต่ทุกข์ที่เป็นศัตรูติดตามเราตลอดเวลาก็คือร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ร่างกายนี้มันมีสภาวะแห่งความทุกข์ ทุกข์จาก หนึ่ง ความร้อนเกินไป เราไม่ชอบใจ ร้อนมันก็ร้อน เมื่อความร้อนเราไม่ปรารถนาในความร้อน ความร้อนมันเกิดขึ้น กำลังใจก็เป็นทุกข์ เพราะกายมันร้อน เย็นเกินไป หนาวเกินไป เราไม่ชอบใจ แต่เราไม่สามารถจะหนีความหนาวได้ ใจมันก็เป็นทุกข์
    แต่ความจริงกายมันไม่บ่น ใจมันบ่น ความหิวก็เป็นปัจจัยของความทุกข์ ความกระหายก็เป็นปัจจัยของความทุกข์ ความปรารถนาไม่สมหวัง คือเราเกิดแล้วเป็นหนุ่ม ไม่อยากแก่ มันก็จะแก่ ไม่อยากป่วย มันก็จะป่วย เราไม่อยากตายมันก็จะตาย เมื่อความปรารถนามันไม่สมหวัง อย่างนี้ก็เป็นทุกข์ อยู่คนเดียวก็ทุกข์ มีคู่ครองมากเท่าไรก็ทุกข์มากเท่านั้น มีภาระกิจมากเท่าไร ก็ทุกข์มากเท่านั้น คนจนทุกข์อย่างคนจน คือทุกข์น้อย ทุกข์เพราะกลัวไม่พอกิน คนที่ร่ำรวยทุกข์อย่างร่ำรวย พอมีเท่านี้ อยากจะได้เท่าโน้น มีเท่าโน้นอยากจะได้เท่านั้น ตะเกียกตะกายมากเกินไป ใจก็มีแต่ความทุกข์ เกรงว่า ความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ไม่สมหวัง บางคนมีเงินมีทองมากมาย อยากจะรวยใหญ่ยิ่งไปกว่านั้น ลงทุนทุ่มเทไปในที่สุดตายแล้วเอาอะไรไปไม่ได้ เป็นอันว่าเขาอยู่เขาก็เป็นทุกข์ ทุกข์เพราะติดทรัพย์สิน ติดสมบัติภายนอก ติดอารมณ์ความโก้ ความเก๋ การมีอำนาจวาสนาบารมี แต่เนื้อแท้จริงๆ คนทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีใครเป็นสุข ทุกข์มันเกิดได้ เพราะอำนาจของตัณหาหรือความทะยานอยากที่ไม่รู้จบ
    อ้างอิง จากหนังสือโอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๓

    10524742_563419877103093_1684528765133748652_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  17. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    การเจริญมหาสติปัฏฐาน
    ผู้ถาม : “แล้วเรื่องมหาสติปัฎฐานสูตร หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องเจริญอยู่เป็นนิจใช่ไหมครับ…?”
    หลวงพ่อ : “อ๋อ..ใช่ๆ มหาสติปัฎฐานสูตร หมายความว่าเป็นทางตรงแน่วไปนิพพาน ถ้าเราจะอ่านทั้งหมดมันก็พัง จำไม่ได้ เขาต้องดูจุดสุดท้าย คือ ใช้อารมณ์ตัดจริงๆ เขาใช้อารมณ์ไม่หนัก เบาๆ ถ้าเราไม่เข้าใจก็มาอ่านหนังสือทุกตัว ไปไม่รอด ในมหาสติปัฎฐานทั้งหมดแหละ ลงท้ายตัวเดียว พอลงท้าย ก่อนจะสอนว่า
    เธอทั้งหลายจงอย่าสนใจกายในกาย คือ กายของเราเอง
    คำว่า ไม่สนใจ นี่เวลามีชีวิตอยู่เราสนใจ เราเลี้ยงมัน เรากินยา หาอาหาร มันหนาวมันร้อนเราก็ต้องประคับประคองอีก ถือว่าเป็นของธรรมดา
    แต่ไอ้คำว่า ไม่สนใจ ในที่นี้หมายความว่า ถ้ามันสิ้นลมปราณแล้วเมื่อไหร่ เราไม่สนใจมันอีก ถือว่ามันมีโทษ เวลานี้เราถือว่าเรามาเกิด เรามาเกิดเพราะถูกขัง เพราะทำความผิดมา แล้วไอ้ความผิดเช่นนี้ การตัดสินใจผิด มันจะไม่มีข้างหน้า เรายอมรับโทษที่เราหลงผิดมาในกาลก่อนแต่ชาติเดียว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ตัดสินใจแค่นี้ และต้องการพระนิพพาน
    ความจริงเขาดูตัวสุดท้าย พระพุทธเจ้าสอนต้องดูตัวลง บางทีท่านเทศน์ชาดก เทศน์เสียยาวเหยียด อ่านเสียหลายวันก็ไม่จบ แต่เนื้อหาจริงๆ ท่านลงท้ายด้วย อริยสัจ ทุกเรื่อง ความมุ่งหมายจริงๆของท่านคือ ต้องการอริยสัจ
    อริยสัจ สัจจะ คือความจริง ความจริงที่ทำให้บุคคลเป็นพระพุทธเจ้า ให้เป็นพระอริยเจ้า ก็ได้แก่ ทุกข์ ร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ มันผสมกันเป็นเรือนร่าง ด้วยกำลังของตัณหาเป็นผู้สร้างขึ้นมา เพราะอารมณ์ชั่วเดิม คือจิตเราไม่สะอาด จึงต้องมีร่างกายแบบนี้
    ทีนี้เรารู้ว่า ชาตินี้เรามีร่างกายนี้มันเป็นทุกข์ มันเป็นทุกข์ก็จริงแหล่ แต่ให้มันทรงตัวตลอดก็ยังดี แต่มันก็ไม่ทรงตัว มันเคลื่อนไหว มันทรุดตัวลงทุกวัน และในที่สุดมันก็ตาย ถ้าเราต้องการร่างกายประเภทนี้อีก กี่ชาติก็ตามเราก็มีสภาพแบบนี้ เราก็ไม่หมดทุกข์ และไอ้แดนที่หมดทุกข์ มันมีอยู่แดนหนึ่งคือนิพพาน
    และการจะไปนิพพาน ไปได้ยังไง ถ้าตัดตัวยอดจริงๆ การจะไปนิพพาน คือไม่ห่วงร่างกายตัวเดียว คือ ตัดสักกายทิฏฐิ มันตัดตัวเดียว
    ทีนี้ใน มหาสติปัฏฐานสูตร ตัดตัวท้ายตัวเดียว คือ ไม่สนใจกับร่างกาย เห็นว่าร่างกายเราก็ไม่ดี ร่างกายของคนอื่นก็ไม่ดี วัตถุธาตุทั้งหมดในโลกก็ไม่มีอะไรดี แต่ว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ เราต้องอาศัยมัน เราต้องประคับประคอง ถ้าร่างกายนี้พังเมื่อไร เราก็ไม่ห่วงกัน เท่านี้ง่ายๆไม่ยากนะ”
    เห็นทุกข์ตัวเดียว
    หลวงพ่อ : “แต่ไอ้คำว่า “ไม่ยาก” น่ะมันพูดได้นะ แต่ว่าการจะปลดจะเปลื้องต้องค่อยๆทำ อย่าหักโหม ดูเหตุดูผล เห็นทุกข์เสียตัวเดียวเท่านั้นแหละพอ เห็นทุกข์ จงอย่าเมาในทุกข์ อย่าตกใจในทุกข์ เห็นว่ามันเป็นทุกข์จริง โลกนี้มันเป็นทุกข์
    แต่ที่เราอยู่ในโลกนี้ เราจำเป็นจะสนองความต้องการของมัน แต่จิตตัวหนึ่งเราหวังตัดทุกข์ คือไม่ต้องการมันอีก ไอ้ตัวนี้มันทุกข์อยู่แล้วเราไม่กลุ้ม
    สมมติว่าเราถูกไปจับขัง เรามีโทษถูกขัง ไอ้โทษประเภทนี้เราถูกขัง เราจะไม่ทำอย่างนี้ต่อไป เราก็จะไม่ถูกขัง เมื่อพ้นมาแล้ว
    นี้ก็เหมือนกัน ที่เรามาเกิดได้ เดิมทีเดียวมันมีเหตุ ๔ ประการ ที่นำให้เรามาเกิดได้แก่ กิเลส ตัณหา อุปาทาน และ อกุศลกรรม
    กิเลส คืออารมณ์ชั่วของจิต ที่เราเศร้าหมองเพราะจิตมันชั่ว มันจึงปรากฏ นี่เป็นมิจฉาทิฎฐิ ไอ้ตัวมิจฉาทิฎฐิทำให้เห็นดีเป็นชั่ว เห็นชั่วเป็นดี ถ้าเราเข้าใจว่าของชั่วเป็นของดี ของดีเป็นของชั่ว ของชั่วเป็นของดี อุปาทาน ก็เลยจับยึดมั่นว่าไอ้ของชั่วที่เราคิดว่าดีน่ะ ทำมันไปตามนั้น เกาะมันว่าดี
    ตัณหา ตัวอยาก เมื่อมันเห็นว่าชั่วเป็นดี ดีเป็นชั่ว เราต้องการชั่ว มันก็อยากได้ อยากได้ก็ทำ ทำตามนั้น ตัวยึดมั่นเข้าไว้ พอยึดมั่นแล้วก็ปฏิบัติตาม ปฏิบัติตามเป็นเหตุให้เราเกิด”
    พรหมวิหาร ๔
    หลวงพ่อ : “ทีนี้มาชาตินี้ เมื่อเรามีความเข้าใจว่า ไอ้กิเลสเป็นความเศร้าหมอง เป็นความชั่วของจิตว่ามันไม่ดี ก็ควรจะทำจิตให้ผ่องใส จิตผ่องใสตัวแรกที่มีความสำคัญ ถ้าตัวนี้ทรงกำลังใจ มันจะได้ทั้ง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นก็คือมี พรหมวิหาร ๔
    พรหมวิหาร ๔ นี่ถ้ายืนลงในจิตของใคร คนนั้นลงนรกไม่เป็น ลงไม่ได้แน่นอนเขาไม่ให้ลง ถ้าลงไปเขาขับขึ้นมา ลงไม่ได้ไม่มีสิทธิ์
    คือว่าอารมณ์ของเราให้ทราบอยู่ ให้มี เมตตาจิต เราจะไม่เป็นศัตรูกับใครเลยในโลก ทั้งคนและสัตว์เราจะเป็นมิตรที่ดีของเขา แต่ว่าเขาจะเป็นศัตรูกับเราน่ะเป็นเรื่องของเขา เราหวังดีแต่เขาหวังร้าย อย่างนี้เราต้องใช้ อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ ถ้าเราพูดกับเขา เขาโกรธเราก็หยุดพูด เราใช้อุเบกขาตัวท้าย แต่ว่าเราไม่ได้โกรธ
    กรุณา ความสงสาร จิตคิดไว้เสมอว่าใครเขาทุกข์ยากลำบาก ถ้าไม่เกินวิสัยของเราที่จะช่วยให้เราพร้อมที่จะช่วย ถ้าเราช่วยได้ด้วยทรัพย์สิน เราจะให้ทรัพย์สิน ทรัพย์สินไม่มี เราจะให้กำลังกาย กำลังกายให้ไม่ได้เราให้ด้วยปัญญา แต่ทั้งนี้ถ้าเขารับความช่วยเหลือจากเรา ถ้าเราให้การช่วยเหลือกับเขา เขาโกรธเรา เราต้องวางเฉย เราไม่โกรธตอบ เราไม่ช่วย เพราะช่วยไม่ได้
    ต่อมา มุทิตา ตัวสุดท้าย เราไม่มีจิตคิดอิจฉาริษยาใคร ใครได้ดีเรายินดีด้วย
    ถ้าอารมณ์ ๔ ประการนี้ทรงตัวอยู่จริงๆ ศีลก็บริสุทธิ์ ศีลก็ไม่บกพร่องเลย ถ้าเราจะทำสมาธิ สมาธิก็ทรงตัวอารมณ์แจ่มใส ไม่มีมัวหมอง ถ้าสมาธิไม่มัวหมอง ปัญญา คือวิปัสสนาก็เกิด เท่านี้เอง”
    จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๔ โดย…หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    10641088_585099021601845_1027630448851037213_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  18. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ที่พระพุทธเจ้าให้ปฏิบัติสมาธินี่ เพื่อให้จิตเราทรงตัวในด้านความดี คือฝึกจิตให้ว่างจากกิเลส แม้จะชั่วเวลาเล็กน้อย การทำจิตให้ว่างจากกิเลสแม้จะชั่วเวลาเล็กน้อย ก็ชื่อว่ามีอานิสงส์มาก

    หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    10665172_589684194476661_6668659970717525954_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  19. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    บรรดาลูกรัก วิชาความรู้ดี ไม่ได้ทำให้คนดีได้ คนที่จะดีได้ก็เพราะอาศัยใจดี มีความประพฤติดี จิตประกอบไปด้วยเมตตาปรานี มีพรหมวิหาร ๔ ละอคติ ๔ ตัดความละโมบโลภโมโทสัน ตัดความโกรธ ความพยาบาท ระงับใจให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี มันถึงจะดีได้

    หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    10689621_602890763156004_1011964849955445403_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  20. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโปรดจำไว้ด้วยนะว่า การเจริญพระกรรมฐานเพื่อตัดกิเลสน่ะอย่าสนใจกับกายมากเกินไป กายมันอยากจะนั่งก็เชิญให้มันนั่ง มันอยากจะนั่งท่าไหนก็ตามใจมัน ให้ร่างกายมันสบาย กายมันอยากจะนอนก็เชิญมันนอน กายอยากจะยืนจะเดินก็ให้มันเป็นไปตามนั้นอย่าฝืนกาย เพราะจำให้ดีว่าเราฝึกที่ใจเราไม่ได้ฝึกที่กาย ทำอย่างไรก็ตามถ้าใจบริสุทธิ์ใช้ได้ ตอนต้น ๆ ถ้าทุกคนยังไม่สามารถเป็นผู้ทรงฌานได้ จะฝืนกายไม่ได้เลย ถ้าฝืนกายเมื่อไร ร่างกายของเราจะกลายเป็น อัตตกิลมถานุโยค เป็นการทรมานกาย จะไม่มีผล

    จากหนังสือ โอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๓๓ โดย…หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    1908467_616457848465962_6117038294439088627_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...