เพิ่มปัญญาญาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ยศวดี, 28 มีนาคม 2012.

  1. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    <TABLE style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(206,255,156); TEXT-INDENT: 0px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', sans-serif; ORPHANS: 2; LETTER-SPACING: normal; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" class=blog_center_data><TBODY><TR><TD style="LINE-HEIGHT: 22px; WIDTH: 720px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', sans-serif; WORD-WRAP: break-word; COLOR: rgb(51,51,51); FONT-SIZE: 14px">บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง ปัญญาญาณ






    พระอรหันต์ผู้พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณย่อมสื่อสารธรรมได้ดี



    ปฏิสัมภิทาญาณเป็นความสามารถพิเศษทางการสื่อสาร



    ทำให้สื่อสารได้มีประสิทธิภาพ เทศนาธรรมเข้าใจง่าย



    แต่พระอรหันต์ไม่ใช่จะมีปฏิสัมภิทาญาณกันหมด






    ฝึกการสื่อสารผ่านภาษาต่างๆ ให้ชำนาญ



    หลายภาษาแปลข้ามไปมาหรือภาษาเดียวให้แตกฉาน



    ฝึกการสื่อสารโดยไม่ผ่านภาษา เช่น สื่อทางกริยาท่าทาง



    การสื่อสารทั้งสองนี้ เป็นบาทฐานในการฝึกปฏิสัมภิทาญาณได้






    ฝึกยืดหยุ่น, ประยุกต์, พลิกแพลงข้อธรรมต่างๆ



    ใช้ธรรมะในตำรา กลายเป็นธรรมะในความเข้าใจของคนจริง



    ทำให้เกิดการอธิบาย, ย่อ-ขยายความ, สาวโยงเชื่อมความธรรม



    อ่านมาก, จำมาก, ฟังมาก เป็นพหูสูต คือ บาทฐานของปฏิสัมภิทาญาณ






    ฝึกสนทนาธรรมแก้ไขความเข้าใจที่ผิดให้ถูกต้อง



    ใช้อธรรมสร้างธรรมะ ยิ่งคนมีอธรรมมาก ธรรมะยิ่งมากด้วย



    ต้องอาศัยคู่สนทนา เป้าหมายไม่ใช่เพื่อชนะ แต่เพื่อความเข้าใจร่วมกัน



    แม้เอาชนะผู้อื่นได้ แต่จบลงด้วยความไม่เข้าใจกัน ก็ไม่อาจได้ปฏิสัมภิทาญาณ






    ฝึกการพิจารณาธรรมจากสิ่งต่างๆ ง่ายๆ รอบตัว



    เช่น ฝึกอุปมาเปรียบเปรยสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่งที่พบเห็นบ่อยๆ



    หรือเพ่งพิจารณาธรรมะจากธรรมชาติรอบตัว จนนำมาเป็นธรรมะได้



    ธรรมะพรั่งพรูจากธรรมชาติเช่นนี้ เป็นบาทฐานในการฝึกปฏิสัมภิทาญาณ






    การฝึกทั้งสี่นี้ เป็นเพียงบาทฐานของปฏิสัมภิทาญาณ



    หากไม่ได้อาสวักขยญาณย่อมไม่อาจเกิดปฏิสัมภิทาญาณได้เลย



    เมื่อไม่อาจบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง ย่อมเป็นได้แค่นกแก้วนกขุนทอง



    พูดได้เก่ง, จำได้มาก, อธิบายได้ดี แต่ไม่มีความเข้าใจในสิ่งสื่อสารอย่างแท้จริง






    หัวใจสำคัญอีกประการของปฏิสัมภิทาญาณคือญาณทัศนวิสุทธิ์



    เมื่อมีญาณทัศนวิสุทธิ์แล้ว ย่อมสื่อสารสิ่งที่อ่านมาได้อย่างตรงไปตรงมา



    ไม่ถูกบิดเบือน, ไม่ถูกปรุงแต่ง, ไม่ถูกความเข้าใจผิด ทำให้สื่อสารผิดออกไป



    ญาณทัศนวิสุทธิ์ คือ ญาณใส, เหมือนแก้วใส, เหมือนน้ำสะอาด, เหมือนกระจกใส






    พระอรหันต์บางรูปบรรลุธรรมแล้วไม่อาจอธิบายธรรมได้



    พระอรหันต์ผู้มีปฏิสัมภิทาญาณก็อธิบายธรรมไม่ได้



    แต่ชำนาญในการสื่อสารแสดงความคิดเห็น



    จึงช่วยให้ผู้อื่นบรรลุธรรมตามตนได้






    พระอรหันต์ที่ไม่มีความสามารถทางการสื่อสาร



    สามารถสื่อสารธรรมะผ่านทางจิตสู่จิตได้โดยตรง



    เรียกว่าภาษามคธ ซึ่งสรรพสัตว์ล้วนเข้าใจได้ตรงกัน



    ภาษามคธนี้แท้แล้วไม่อาจพูดได้ แต่สื่อได้ด้วยจิตสู่จิต






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง อภิญญาห้า






    ผู้ปรารถนาจะสำเร็จอภิญญาห้า ถ้าไม่ฝึกจิต มีหรือจะได้?



    อภิญญาห้าย่อมต้องใช้อัปปนาสมาธิเป็นบาทฐาน



    ต่ำกว่าอัปปนาสมาธิก็ไม่ถึงอภิญญาห้าได้



    ดังนี้ อยากได้อภิญญาก็ต้องฝึกจิต






    ถ้าไม่ต้องการอภิญญาห้า ต้องการแค่พ้นทุกข์



    แบบนี้ไม่ต้องฝึกจิตก็ได้อรหันต์ปัญญาวิมุติ



    แต่ถ้าต้องการอภิญญาห้า ต้องฝึกจิตด้วย



    ฝึกจิตให้ถึงอัปปนาสมาธิ คือ ได้ฌาน






    อยากได้ตาทิพย์ ก็ต้องฝึกรูปฌาน



    สร้างนิมิตจากธรรมชาติของจริง



    หยิบเอามาเพ่งให้เกิดนิมิต



    เพ่งจนกว่าตาทิพย์จะเปิด






    อยากได้ญาณหยั่งรู้อดีตชาติ



    ก็ต้องฝึกอรูปฌาน คือ กำหนดความว่างเป็นอารมณ์



    ไร้เวลา ไร้สถานที่ ว่างหมด จากใดๆ ไรๆ ทั้งปวง



    ออกจากภาวะว่างใช้นิมิตลงหยั่งเวลานั้นๆ






    อยากรู้เรื่องยุคพระสุริโยทัย



    เข้าฌานกำหนดความว่างเป็นอารมณ์ก่อน



    พอไม่มีอะไร ใดๆ ขวางกั้นจิตหรือปรุงแต่งจิตแล้ว



    ออกจากภาวะนั้น ให้น้อมจิตถามว่าทำไมท่านจึงต้องไปตาย






    สอบทานกับผู้ที่สำเร็จ อตีตังคญาณ



    ถ้าฝึกแล้วทดสอบบ่อยๆ แม่นยำแค่ไหน



    ไม่ต้องถูกต้อง ๑๐๐% ก็ได้ อย่างน้อยถูกสัก ๗๕%



    ก็สามารถใช้ญาณนี้ในการทำนายอดีตชาติของคนได้เช่นกัน






    ญาณหยั่งรู้อนาคตก็ใช้วิธีเดียวกัน



    ออกจากฌานลึกก็น้อมจิตไปยังเวลาเบื้องหน้า



    ความจริงในอนาคตก็ค่อยปรากฏชัดขึ้นในรูปแบบต่างๆ



    บ้างเป็นนิมิต บ้างเป็นลางสังหรณ์ บ้างคล้ายข้อมูลไหลเข้ามา






    ญาณหยั่งรู้วาระจิตผู้อื่น



    ต้องฝึกสติปัฏฐานสี่ดูจิตตัวเองให้ชำนาญ



    แล้วน้อมจิตเพ่งไปยังผู้อื่นที่เราต้องการทราบวาระจิต



    ก็ได้คำตอบปรากฏออกมาเอง เมื่อสติและสมาธิเท่าทันคนผู้นั้น






    คนที่มีกำลังสติดี ไวต่อความคิดคนที่เปลี่ยนไปแต่ละขณะ



    คนมีสมาธิลึก หยั่งลงลึกก้นบึ้งความคิดคนอื่นได้



    ผลออกมาได้ข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกัน



    ซึ่งนับเป็นอภิญญาหยั่งรู้วาระจิตทั้งสิ้น






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง มโนมยิทธิ






    มโนมยิทธิ แปลว่าฤทธิ์ทางใจ ไม่ใช่การถอดกายทิพย์



    การถอดกายทิพย์หรือถอดจิตวิญญาณยังไม่นับเป็นมโนมยิทธิ



    พวกมารและพราหมณ์ก็ถอดกายทิพย์ได้ แต่ยังไม่ใช่มโนมยิทธิ



    แล้วมโนมยิทธิที่แท้จริงนั้น นับว่าสำเร็จได้อย่างไร






    ใจมีฤทธิ์ แค่คิดก็ได้ดังใจแล้ว ไม่ต้องลงมือกระทำ



    คือจุดเริ่มมโนมยิทธิ ไม่ต้องถอดกายทิพย์ก็ได้



    อธิษฐานแล้วเกิดผลได้จริงคือใจมีฤทธิ์



    นับเป็นมโนมยิทธิเมื่อใจคุมจิตได้






    การฝึกมโนมยิทธิ ฝึกจากอธิษฐานบารมีก็ได้



    อธิษฐานบารมีคือความตั้งใจแน่วแน่ให้สำเร็จผล



    เมื่อตั้งใจแน่วแน่แล้วทำกิจการงานให้สำเร็จผลให้ได้



    อย่าท้อแท้ อย่าปล่อยให้ล้มเหลวโดยไม่ลุกขึ้นสู้จนสำเร็จ






    ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ใจก็มีฤทธิ์เอง แต่ยังไม่ใช่มโนมยิทธิ



    พวกมารและพรหมก็สามารถมีใจที่มีฤทธิ์เช่นนี้ได้



    จนเมื่อถึงระดับกำหนดใจคุมจิตวิญญาณได้



    ใจจึงมีฤทธิ์มากพอเรียกว่ามโนมยิทธิ






    จิตวิญญาณหรือเจตภูตออกจากร่างคนไปได้เอง



    ถ้าควบคุมจิตวิญญาณตนเองยังไม่ได้ ยังไม่สำเร็จมโนมยิทธิ



    ถ้าควบคุมจิตวิญญาณในกายสังขารตนเองได้ระดับหนึ่ง นับว่าสำเร็จ



    เช่น กำหนดให้จิตวิญญาณของตนเอง ไปทำงานที่สวรรค์ ไปทำกิจที่นรกก็ได้






    มโนมยิทธิมีกำลังไม่เท่ากัน ฝึกได้ไม่มีที่สิ้นสุด



    จิตวิญญาณที่แรงและมีกำลังมาก คุมได้ยากจะแทรกเข้ากาย



    และขับดันในร่างกายหลงทาง หรือออกจากร่างกายไปทำกรรมชั่ว



    เมื่อเราควบคุมจิตวิญญาณที่มีกำลังสูงขึ้นได้เรื่อยๆ ก็มีฤทธิ์ทางใจสูงขึ้น






    มนุษย์ทุกคนมีเจตภูตดูแลร่างกายทั้งสิ้น



    เจตภูตคือจิตวิญญาณดวงนอกสุดในกายสังขารนั้น



    สามารถเข้าออกจากกายสังขารได้เสมอเมื่อเราคิดเรื่องนอกตัว



    ในไตรปิฎกก็บันทึกไว้ พระราชาผู้หนึ่งตื่นขึ้นมาพูดคุยกับเจตภูตตนเอง






    ผู้มีมโนมยิทธิขั้นสูง สามารถคุมจิตผู้อื่นได้ด้วย



    เช่น หลวงพ่อฤษีลิงดำ ดึงจิตวิญญาณลูกศิษย์ไปภพภูมิอื่น



    ถ้าสำเร็จตาทิพย์หรือพระอินทร์ให้ยืมตาทิพย์ ก็จะเห็นนรกสวรรค์ได้



    แม้ไม่สำเร็จมโนมยิทธิ แต่ก็เห็นนรกสวรรค์ได้ด้วยกำลังของอาจารย์ช่วย






    แม้ไม่เห็นโลกทิพย์ เพราะไม่มีตาทิพย์



    แต่ก็สำเร็จมโนมยิทธิได้ เพราะเป็นอภิญญาต่างชนิดกัน



    กำหนดที่ใจ ให้จิตวิญญาณไปทำกิจต่างๆ ถ้าสำเร็จผลก็ได้มโนมยิทธิ



    กำหนดใจเข้มแข็งให้กิจการใดๆ สำเร็จ แม้กายสังขารไม่กระทำ ก็บังเกิดผลได้






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง ธรรมกาย






    ธรรมกาย คือ กายทิพย์ที่มีธรรม ใช้สอนธรรมได้



    กายทิพย์ของคนเรามีมากกว่าหนึ่งกายในสังขารหนึ่งๆ



    ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เหมือนสวมเสื้อทับกัน แต่ละชั้นมักมีจิตหนึ่งดวง



    ยกเว้นชั้นนอกสุด อาจไม่มีจิต มีแต่วิญญาณขันธ์ เรียกว่า “ครอบขันธ์”






    คนที่ถูกครอบขันธ์ เช่น คนทรง



    เทพหรือพรหมจะถอดกายทิพย์หรือวิญญาณขันธ์



    มาครอบขันธ์ห้านั้น เพื่อควบคุมหรือขับดันให้ทำกิจการต่างๆ



    คนผู้นั้นจะทำกิจได้เหมือนเทพพรหมองค์นั้นๆ แม้ไม่ใช่เทพพรหมองค์จริง






    วิญญาณขันธ์หรือกายทิพย์ที่ครอบขันธ์ไม่มีจิต



    เมื่อไม่มีจิต วิญญาณขันธ์จะทรงไม่ได้นาน จะค่อยๆ สลายไป



    จากพลังรูปฌานกลายเป็นอรูปฌาน คือ สลายเป็นพลังปราณออกไป



    เมื่อสลายหมดแล้ว อภิญญา, บารมี, ความสามารถ ของเทพพรหม ก็หายไปด้วย






    คนที่ไม่ถูกครอบขันธ์ ก็มีกายทิพย์ได้หลายกายซ้อนกัน



    แต่ละกายทิพย์จะมีจิตหนึ่งดวงประสานอยู่ เรียกว่า “จิตวิญญาณ”



    จิตวิญญาณสามารถจรเข้าออกจากร่างกายได้ ไม่ใช่การถอดกายทิพย์



    แต่จิตวิญญาณดวงในสุดจะไม่จรออกเพราะต้องประจำสังขาร ยกเว้นเมื่อตาย






    จะฝึกธรรมกายแบบเปิดตาทิพย์หรือไม่เปิดตาทิพย์ก็ได้



    ถ้าเปิดตาทิพย์ก่อนจะเพ่งไปในกายในกายตามหลักกายานุสติปัฏฐาน



    คือ “กายในกาย” เพ่งกลางกายทิพย์ จะมีดวงแก้วประจำกายทิพย์นั้นๆ อยู่



    จะพบกายทิพย์อีกกายอยู่ในดวงแก้วนั้น หรืออดีตชาติจะปรากฏออกมาในดวงแก้วนั้น






    ถ้าไม่เปิดตาทิพย์ ก็ฝึกธรรมกายได้



    ใช้หลักสติปัฏฐานสี่ คือ “จิตานุสติปัฏฐาน”



    ฝึกใจสัมผัสจิต ดูจิตในจิต หลายดวงที่ซ้อนกันอยู่



    สติที่ละเอียดจะจำแนกได้ว่ามีจิตกี่ดวง มีลักษณะอย่างไร






    จิตวิญญาณมีลักษณะเฉพาะตัวสังเกตได้



    จิตวิญญาณเทพจะเป็นเทพ ไม่เป็นอย่างอื่น



    แต่สังขารคนเป็นที่รวมของหลายจิตวิญญาณ



    จึงมีการแสดงออกที่ระคนปนเป จึงเรียกว่า “คน”






    ถ้าเข้าใจเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจิตวิญญาณชนิดต่างๆ



    ก็จำแนกจิตวิญญาณที่ซ้อนกันในกายสังขารตนได้



    จากนั้น ก็บำเพ็ญบารมีในแบบนั้นๆ ให้สมบูรณ์



    ก็จะสำเร็จธรรมขั้นสูง ทีละกาย ทีละกาย






    เมื่อบำเพ็ญบารมีในกายโพธิสัตว์ครบสี่ชนิด



    จะได้บารมีมากพอก็สำเร็จกายพุทธะหรือยูไลได้



    มีลักษณะคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ยอดเกศาไม่มีเปลวกนก



    กายทิพย์นี้อยู่ในสุด เป็นพระพุทธะผู้สอนธรรม คือ “ธรรมกาย”






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง อิทธิวิธี






    อิทธิวิธี คือ อภิญญาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้



    มีหลายระดับตามการฝึกคือ จิต, วิญญาณ และสังขาร



    เมื่อฝึกจนสามารถแสดงฤทธิ์ทางกายสังขารเป็นที่ประจักษ์ได้



    จึงนับว่าสำเร็จ “อิทธิวิธี” เช่น เหาะให้คนพิสูจน์ดูได้ด้วยตาเปล่า






    ฤทธิ์ระดับต่ำ มีฤทธิ์แต่ทางจิต



    ฤทธิ์ระดับกลางได้ทั้งจิตและวิญญาณ



    ฤทธิ์ระดับสูง ฝึกจนได้ถึงกายสังขารก็แสดงฤทธิ์ได้



    ทั้งสามระดับนี้ นับว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ แต่ยังไม่ใช่อิทธิวิธีทั้งหมด






    การเหาะเหินเดินอากาศนั้น ไม่จำเป็นต้องเอาทั้งกายสังขารไป



    ถ้าเหาะไปแต่จิตวิญญาณ ก็นับว่ามีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้



    แต่ถ้าจะเอาทั้งกายสังขารไปด้วยต้องฝึกกายด้วย



    ฝึกทั้งจิตวิญญาณและกาย ต้องฝึกถึงขั้นโยคะ






    การฝึกแบบโยคะจะฝึกหนักและยาวนานเหมือนฤษี



    เพื่อหลอมรวมทั้งจิตวิญญาณและกายให้ไปด้วยกันได้



    เมื่อจิตวิญญาณมีฤทธิ์ ก็แสดงออกทางกายสังขารได้ด้วย



    พวกฤษีจึงแสดงฤทธิ์ให้คนทั่วไปเห็นและเรียกศรัทธาคนได้มาก






    พระพุทธเจ้า จึงไม่ทรงสรรเสริญให้ฝึกเพื่อเป้าหมายนี้



    ทรงให้ลัดตัวตรง ทำนิพพานให้แจ้งให้ได้ก่อนจึงไม่หลงทาง



    เพราะการฝึกทั้งจิตวิญญาณและกายสังขารนั้นต้องทุ่มเทเวลามาก



    เพื่อแสดงฤทธิ์ให้ผู้อื่นเห็นเป็นประจักษ์ให้ได้ต้องใช้ฝึกสมาธิอย่างมากมาย






    ทำได้ด้วยการฝึกธาตุและกสิณต่างๆ



    การฝึกกสิณ ทำให้จิตวิญญาณมีฤทธิ์



    การฝึกธาตุสี่ทำให้ร่างกายมีฤทธิ์ได้ด้วย



    หรือฝึกฌานสี่ขึ้นไป แล้วอธิษฐานใช้ฤทธิ์






    “อิทธิวิธี” นั้น เริ่มฝึกจากภายในออกไปสู่ภายนอก



    ยิ่งกำหนดควบคุมธาตุภายนอกได้รัศมียาวไกลยิ่งมีฤทธิ์มาก



    คือ การฝึกกำหนดหรือควบคุมธาตุสี่ในร่างกายของตนเองให้ได้ก่อน



    แล้วจึงขยายขอบเขตการกำหนดด้วยพลังจิตให้ควบคุมธรรมชาติไกลออกไป






    กำหนดธาตุและควบคุมธาตุต่างๆ



    แปรเปลี่ยนจากธาตุหนึ่งไปธาตุหนึ่งได้ดังใจ



    เช่น จากอากาศธาตุกำหนดให้เป็นปฐวีธาตุแล้วเหยียบขึ้นไป



    หรือ จากธาตุน้ำ กำหนดให้เป็นปฐวีธาตุ แล้วเดินบนน้ำไปได้ไม่จม






    นอกจากนี้ยังกำหนดธาตุในสิ่งต่างๆ ได้



    หรือกำหนดธาตุในร่างกายของผู้อื่นได้ด้วย



    เช่น คนไข้มีอาการธาตุไฟกำเริบ เป็นแผลร้อนใน



    เพ่งแล้วกำหนดจิตให้ธาตุไฟลดลง หรือปรับธาตุให้สมดุล






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง สมาธิพรหมโลก






    การฝึกฌานขั้นสูงหรืออัปปนาสมาธิ



    ย่อมยากมากเมื่อจิตไม่ใช่พรหม



    ทำจิตให้ถึงพรหมก่อนค่อยฝึก



    แล้วจะฝึกง่ายได้ดายมาก






    จิตวิญญาณในกายสังขารคนมีหลายชนิด



    ถ้าจิตวิญญาณดวงนอกสุดไม่ใช่พรหม



    ต้องสร้างบุญบารมีให้ถึงพรหมก่อน



    ก็สามารถฝึกสมาธิได้ง่ายดาย






    สร้างบุญบารมีให้ได้พรหมนั้นไม่ยาก



    บูชาเทพเจ้าฮินดูด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง



    องค์ใดองค์หนึ่งเลือกเพียงหนึ่ง



    บูชาจนจิตเกิดเป็นพรหมแล้ว






    อาตมัน ก็ไม่แตกต่างจากปรมาตมัน



    คือ จิตของเรา ก็ไม่ต่างจากจิตเทพเจ้านั้น



    นี่คือ บำเพ็ญบารมีจนจิตเกิดใหม่ได้เป็นพรหม



    พรหมมีหลายแบบ เช่น พรหม, ศิวะ, นาราย เป็นต้น






    เมื่อได้กายแบบชาวพรหม กายใดกายหนึ่งแล้ว



    จึงค่อยฝึกสมาธิ ก็จะฝึกสำเร็จได้ไม่ยากเลย



    ถ้ายังไม่ได้ ไม่ควรฝึก เพราะจะทำให้ท้อ



    แล้วเลิกฝึกไปในที่สุด เพราะล้มเหลว






    การฝึกสมาธิขั้นสูงมีหลายวิธีทั้งรูปฌานและอรูปฌาน



    รูปฌานคือ กำหนดรูปกุศลเป็นอารมณ์เข้าสู่ฌาน



    อรูปฌานคือ กำหนดสิ่งที่ไม่มีรูปเข้าสู่ฌาน



    เช่น ความว่าง, ภาวะเหนือความจำ ฯลฯ






    หากเริ่มฝึกจากรูปฌานไปสู่อรูปฌานเองก็ได้



    ไม่ต้องกำหนด ปล่อยให้จิตดิ่งลงฌานลึกไปเอง



    ฌานก็เดินไปเองโดยไม่ยึดติดขั้นใดขั้นหนึ่ง ไม่ติดขัด



    ยิ่งกำหนดเป็นขั้นๆ ไปยิ่งไปยาก เพราะติดขั้นนั้นๆ ไม่ไปไหน






    ใช้นิมิตหมายต่างๆ เป็นเครื่องรวมจิตเบื้องต้น



    เมื่อถึงฌานขั้นลึกแล้ว ค่อยฝึกสติให้ไวต่อแต่ละขั้น



    เรียกว่าการฝึกวสี ซึ่งต้องเข้าใจลักษณะของฌานแต่ละขั้น



    ฝึกโดยไม่กำหนดจิตจะไปได้ง่ายดาย ฝึกด้วยการกำหนดจะยาก






    เคล็ดลับง่ายๆ คือ “ปล่อยให้ดับไปเอง”



    อะไรก็ช่างที่ปรากฏอยู่ปล่อยให้ดับลงไปเอง



    จิตจะละเอียดลงสู่ฌานลึกขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับไป



    ฝึกให้ถึงฌานลึกที่สุดก่อน แล้วจึงค่อยจำแนกขั้นฌาน






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง สมาธิสุขาวดี






    สมาธิแบบสุขาวดีเป็นสมาธิของพระโพธิสัตว์



    จึงไม่ปรากฏในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาท



    และไม่อยู่ในกรรมฐานทั้งสี่สิบวิธี



    แต่ก็มีบันทึกไว้ในมหายาน






    พระพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิแบบสุขาวดีด้วย



    ครั้งแรกคือ “ธรรมจักร” ให้แก่ท่านอัญญาโกญทัญญะ



    แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีอินทรีย์หรือบารมีแก่กล้าพอที่จะฝึกได้



    ท่านจึงเลือกสมาธิแบบพรหมโลกมาสอน คือ กรรมฐานสี่สิบวิธี






    สมาธิแบบสุขาวดีเป็นสมาธิแบบเร็วลัด



    เช่น การใช้ดอกบัวเพ่งเป็นอารมณ์กรรมฐาน



    น้อมจิตตามดอกบัวบาน คือ เข้าสู่จิตเดิมแท้ประภัสสร



    ย่อมสามารถบรรลุธรรม หลุดพ้นจากอาสวกิเลสได้ฉับพลัน






    สมาธิแบบมหายานช่วยให้บรรลุธรรมได้เร็วลัด



    ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายมหายานเป็นส่วนใหญ่



    ผลลัพธ์ทำให้ได้ทั้งปัญญาและอภิญญา



    ไม่แตกต่างจากกรรมฐานทั้งสี่สิบวิธี






    สมาธิมีสองแบบ มาจากสองแหล่งใหญ่ๆ



    คือ สมาธิแบบสุขาวดีและสมาธิแบบพรหมโลก



    กรรมฐานทั้งสี่สิบวิธีส่วนใหญ่เป็นสมาธิแบบพรหมโลก



    ยกเว้นสติปัฏฐานสี่และอนุสติสิบที่เป็นแบบของพระพุทธเจ้า






    สมาธิแบบพรหมโลก ฝึกแล้วมักได้พรหมโลก



    สมาธิแบบสุขาวดี ฝึกแล้วมักได้สุขาวดี



    ยกเว้นว่าลัดตรงสู่นิพพานจึงนิพาน



    สมาธิสองแบบนี้เป็นบาทฐานได้






    สมาธิแบบสุขาวดีมีหลายแบบ



    มีทั้งแบบที่มุ่งผลให้เกิดการบรรลุธรรม



    และแบบที่กำหนดจิตไปเกิดยังสุขาวดีโลกธาตุ



    สองแบบนี้แตกต่างกัน เป้าหมายต่างกัน ฝึกต่างกัน






    สมาธิแบบเพ่งเสียง เป็นแบบสุขาวดี



    ฝึกได้ด้วยการเพ่งเสียงต่างๆ ขณะหลับตา



    ใช้เสียงที่เรียบนิ่งมีโทนเดียวเป็นอารมณ์ทำให้จิตเรียบนิ่ง



    ฝึกถึงที่สุดเปิดหูทิพย์ ฟังเสียงทิพย์ และสื่อกับพระยูไลที่สุขาดีได้






    สมาธิแบบหมุนจักระหรือสมาธิหมุนหรือธรรมจักร



    เป็นสมาธิแบบสุขาวดี สามารถช่วยให้บรรลุธรรมได้เร็วลัด



    ฝึกได้ด้วยการหมุนวนลมปราณภายในตามจักระสำคัญของร่างกาย



    ทะลวงเปิดจักระให้เปิดโล่ง เชื่อมโยงพลังภายในกับพลังจักรวาลเป็นหนึ่งเดียว






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง วิปัสสนาญาณ






    วิปัสสนาญาณ คือ ญาณที่เกิดจากวิปัสสนากรรมฐาน



    วิปัสสนากรรมฐานคือ การเพ่งพิจารณาไตรลักษณ์



    หรือภาวะจิตรวมศูนย์ตรงสู่ไตรลักษณ์ที่เกิดเอง



    แต่ยังไม่หยั่งรู้ว่าใดๆ อย่างอื่นก็เหมือนกัน






    เมื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่แต่ยังไม่เกิดวิปัสสนาญาณ



    ย่อมเห็นความดับไป แต่ไม่เห็นแจ้งว่าใดๆ ก็เหมือนกัน



    เมื่อเห็นสิ่งนี้ดับไปและใดๆ อย่างอื่นก็ล้วนเป็นเช่นนี้



    คือลักษณะของวิปัสสนาญาณที่เกิดจากกรรมฐาน






    เมื่อไม่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานแต่มีสติเต็มรอบ



    แล้วเห็นสิ่งหนึ่งดับไป จึงพิจารณาว่าใดๆ ย่อมเป็นเช่นนี้



    คือ ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, ไม่ใช่ตัวตนของตน ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้



    คือ ลักษณะของวิปัสสนาญาณ ที่ไม่ได้เกิดจากกรรมฐาน เป็นบาทมูล






    วิปัสสนาญาณย่อมสามารถเกิดได้ทั้งมีและไม่มีกรรมฐานก่อน



    บางท่านเจริญสมถกรรมฐานแล้วลัดตรงสู่วิปัสสนาญาณก็มี



    บางท่านเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้วจึงได้วิปัสสนาญาณ



    แต่บ้างไม่ได้ทำกรรมฐานเลยแต่เกิดวิปัสสนาญาณก็มี






    เซน มีวิธีเข้าถึงธรรมด้วยสมาธิที่เกิดเองดับเองตามธรรมชาติ



    สุญตา คือ ภาวะที่ธรรมารมณ์ต่างๆ ดับหมดตามธรรมชาติ



    เมื่อสุญตาเกิดขึ้นแล้วลัดตัดตรงสู่วิปัสสนาญาณทันที



    ทำนิพพานให้แจ้ง เห็นสัจธรรมอันตรงไปตรงมาได้






    “สุญตา” เป็นธรรมชาติที่เกิดเองดับเองอยู่เนืองๆ



    เมื่อไม่ทุ่มกำลังใจเข้าวิปัสสนาญาณฉับพลัน



    จึงปล่อยโอกาสทองให้ผ่านไปเสียเฉยๆ



    เหมือนศัตรูเปิดช่องโหว่แล้วแต่ไม่ยิง






    หัวใจแห่งการบรรลุธรรมจึงไม่ใช่กรรมฐานใดเลย



    เพราะการบรรลุธรรมก็เกิดได้แม้ไม่มีกรรมฐาน



    ดังนี้หัวใจของการบรรลุธรรมไม่ใช่กรรมฐาน



    แต่เป็นสุญตาและวิปัสสนาญาณฉับพลัน






    “วิปัสสนาญาณ” คือ การหยั่งรู้ถึงไตรลักษณ์ว่าเป็นสากล



    เมื่อจิตเห็นแจ้งในภาวะดับสนิทแล้วเข้าใจว่าเป็นสากล



    คือเข้าใจว่าใดๆ ในโลกล้วนมีสภาพเป็นไตรลักษณ์นี้



    หรืออาจเรียกว่าญาณหยั่งรู้ภาวะสากลของสรรพสิ่ง






    ผู้หญิงและผู้ชายเหมือนกันตรงที่เป็นมนุษย์



    มนุษย์กับอมนุษย์เหมือนกันตรงที่เป็นสิ่งมีชีวิต



    สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตเหมือนกันตรงที่จับต้องได้



    สิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้เหมือนกันตรงไหน?






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง อาสวักขยญาณ






    “อาสวักขยญาณ” คือญาณรู้ว่ากิเลสหมดสิ้นแล้ว



    ไม่ต้องฝึกจิตอะไรเลยสามารถก็บรรลุธรรมได้



    มนุษย์ทุกคนก็สามารถทำได้เท่าเทียมกัน



    บรรลุอรหันต์โดยไม่ได้อภิญญาห้าก็ได้






    ญาณหยั่งรู้ตัวอื่นๆ ที่ต่างไป มักต้องฝึกจิตด้วยสมาธิและสติขั้นสูง



    เช่น สัพพัญญูญาณ, อตีตังคญาณ, อนาคตังสญาณ ฯลฯ



    แต่ อาสวักขยญาณ ไม่ต้องฝึกเหมือนญาณเหล่านี้



    อาสวักขยญาณเหมือนสัญชาติญาณของจิต






    ดังนี้ พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุติ



    จึงบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องฝึกจิตใดเลย



    วิปัสสนาญาณนั้นใช้เพียงขณิกสมาธิก็เพียงพอ



    ซึ่งเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นขณะทำงานของปุถุชนอยู่แล้ว






    ดังนี้ จึงกล่าวว่าสติปัฏฐานสี่นั้นเกิดได้ขณะทอผ้า



    หญิงทอผ้าพิจาณาอนิจจังก็บรรลุธรรมได้



    สิ่งสำคัญไม่ใช่สติมากหรือสมาธิมาก



    แต่อยู่ที่ตรงสู่สัจธรรมอย่างเดียว






    ไม่ต้องไปฝึกจิตให้เป็นไปอย่างอื่น



    จิตโดยธรรมชาติรับรู้สัจธรรมได้อยู่แล้ว



    เพราะสัจธรรมเป็นความจริงที่ปรากฏทุกที่ทุกเวลา



    จริงเสมอ ไม่ต้องหยั่งรู้ไปไกลถึงสวรรค์หรือนรก อดีตหรืออนาคต






    ตรงนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ สัจธรรมก็ปรากฏแสดงตนอยู่แล้ว



    ไม่ต้องไปหาที่ไหน เวลาอื่นใด ภพภูมิใดอีกเลย



    บรรลุธรรมได้เลย ฉับพลัน ปัจจุบันทันด่วน



    บรรลุธรรมแล้วไม่จำเป็นต้องนิพพานด้วย






    บรรลุธรรมแล้วหากวิบากกรรมยังชำระไม่หมด



    วิบากกรรมจะมาตัดรอนขวางกั้น ทำให้ไม่นิพพาน



    เช่น พระอรหันต์ชินปัญจระ ท่านก็จุติไปยังภพพรหมโลก



    บรรลุธรรมแล้ว ยังมีทางแยกไปว่าจะนิพพานหรือยังไม่นิพพาน






    ผู้บรรลุธรรมย่อมเลือกทางเองได้



    หากหมดแรงบำเพ็ญบารมีแล้วก็ลัดตรงนิพพาน



    ถ้ามีกำลังบำเพ็ญต่อไป ก็เวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกได้



    บรรลุธรรมแล้วบำเพ็ญบารมีต่อ นี่คือ วิถีของมหายานที่ไม่ใช่นิกาย






    อาสวักขยญาณ ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นของเรียบง่าย



    ยิ่งฝึกมาก ยิ่งคิดว่ายาก ยิ่งทำให้ยาก กลับยิ่งยากใหญ่



    เพราะกลายเป็นญาณหยั่งรู้อื่นๆ ที่ไม่ใช่อาสวักขยญาณแล้ว



    สรรพสิ่งไม่เที่ยง กิเลสไม่ใช่สรรพสิ่งหรือ? กิเลสต้องทำให้สิ้นหรือ?





    .........................................จบ....................................











    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    Posted by




    physigmund_foid
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 มีนาคม 2012
  2. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0

    บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ยังเกิดได้อีกเหรอ สิ้นอาสวะไปแล้ว
    นิกายอื่นหรือเปล่า
     
  3. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ผู้พิจารณา จึงเห็นว่า อัปมาสมาธิ กับ สติปัฏฐาน4 นั้นสำคัญมาก ในการเดินทาง............
     
  4. Jt Odyssey

    Jt Odyssey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    1,684
    ค่าพลัง:
    +12,591
    อ่านประวัติท่านดูครับ ::
     
  5. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    อ่านแล้ว แต่เนื้อหามันขัดต่อพระไตรปิกฏ แล้้วเนื้อหาที่เจ้าของกระทู้ยกมา
    มันดูมั่วๆ บอกตรงๆนะ

    อย่างอันนี้ด้วย ถ้าเป็นไปได้ลบได้เถอะ เป็นภัยต่อศาสนาอย่างแรง
     
  6. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ตามแต่ศรัทธาคะ ขอบคุณคะ กลับไปท่องพระไตรปิฏกต่อเถอะคะ โมทนาบุญด้วยนะคะ
    ขอให้เจริญในธรรม
     
  7. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    เราเตือนแล้ว การเผยแพร่ ธรรมที่ไม่ใช่สัจจะธรรม
    กรรมหนัก และเร็วด้วย หากไม่เชื่อรอดูนะ
    เหมือนที่เจ้าของกระทู้เคยตั้ง คนเกิด ปี 2518 เหมือนกัน
    อาศัยศรัทธา แต่ปัญญาไม่มี ต่อมาเหมือนเจ้าของกระทู้จะเปลี่ยนได้
    แต่ก็กลับมาทางเดิมอีก
     
  8. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    ขอบคุณ อย่างมากมายเลย
     
  9. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    อันว่าข้อวามด้านบน ที่หยิบยกมาอ้างอิงนั้น ก็เป็นการปฏิบัติ และบทสรุป ของบุคคลหนึ่งคน ที่สามารถ หยิบยกมาต่อยอด ความรู้แก่คนที่เขายังไม่เห็นหนทางเพิ่มเติมเท่านั้น เลือกให้ถูกกับจริตตนเท่านั้นเอง ไอ้ครั้นจะเอาบทความเขามาวิจัยนั้น ก็รบกวนไปถามผู้ที่เขาเอาบทสรุปนี้มาแจ้งให้ทราบ ก็โปรดจงเข้าไปตามเว็บด้านล่าง ที่เราไปอ้างอิงมา
    และถ้าขัดหลักพระไตรปิฏกนั้นก็กรุณา นำความรู้ในประไตรปิฏกมาให้ผู้ที่ยังด้อยความรู้นั้นได้รู้เพิ่มเติมมิใช่หรอกหรือ ผู้อ้างพระไตรปิฏก ก็ข้อใหนนั้น ก็นำมาให้รู้ให้ได้รู้ได้จ่างเลยดีใหมท่าน นำมาเลย เราจะได้รู้เพิ่มเติม
     
  10. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    แล้วธรรมที่ไม่ใช่ สัจธรรมเป็นเป็นเช่นไร ท่านผู้เจริญโปรดอธิบาย โปรดใขความกระจ่างให้กับสมองที่ยังทึบและหนานี้ด้วยเถิด ท่านผู้เจริญ
     
  11. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    อ่านให้หมดแล้วค่อยมาสนทนากัน
    นะ คุณนายชอบลบข้อความ :cool:
     
  12. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    ดีแล้ว ต้องยอมรับความสามารถตน เห็นไหม อ่านยังไม่จบเลย
    สรุปแล้ว คุณนายอิ่มสบาย อย่าประมาท
     
  13. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    อันนี้ก็เป็นทางของท่านใช่ม๊า เหมือนกันเลย กับเรา แต่เรา ยอมรับนะ ว่า เป็นทางของท่าน ท่านเลือกแล้วเหมือนกัน ที่จะทำกับเราอยางนั้นและตลอดไปปป
    ยินดีๆๆ

    ดีใจนะ ว่าผู้มีปัญญา อย่างท่าน ยังได้อาศัยปัญญาของเรา ทำให้ตัวเองได้ออกมาจากซอกที่แอบขอให้เจริญในธรรมเร็วๆนะท่าน

    จะได้ช่วยผู้ที่ไม่มีปัญญาอย่างเราใง ต้องขอบคุณ ความบกพร่อง ที่ทำให้เห็นความไม่บกพร่อง อิอิ
    ปล........จัดมาเต็มๆเลยนะท่าน เพลานี้ ข้าน้อย ต้องขอตัว.....ไปทำงานก่อนละ
     
  14. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    เห็นผิดก็ช่วยกันแก้สิครับ เอ้า
    จะเป็นพรหม ก็ทำเหตุของการเป็นพรหมคือ เจริญพรหมวิหาร4 เจริญฌาน
    ไม่ใช่บูชาพรหม
     
  15. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,456
    หากรู้ว่าตนผิดก็ควรยอมรับในสิ่งที่ผิด
    และพึงรีบพิจารณาแก้ไข
    นั่นคือสิ่งที่พึงสรรเสริญครับ

    หากคิดว่าถูกก็ควรมั่นตรวจสอบความถูก
    อย่าให้อะไรผ่านไปได้ง่าย ๆ
    จะเข้าประเภทสุกเอาเผากินครับ
     
  16. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    สรรพสิ่งไม่เที่ยง กิเลสไม่ใช่สรรพสิ่งหรือ? กิเลสต้องทำให้สิ้นหรือ?

    สรรพสิ่งไม่เที่ยง
    -ก็ถูก
    กิเลสไม่เที่ยง
    -ก็ถูก
    กิเลสต้องทำให้สิ้นหรือ?
    -กิเลสเป็นเครื่องทำให้เกิดความเป็น ผู้ไม่รู้ ผู้หลับใหล ผู้เศร้าหมอง
    ด้วยเหตุนี้จึงต้องกำจัดกิเลส

    ผู้กล่าวแบบนั้นย่อมไม่เห็นกิเลสไม่เที่ยง ยังเป็นผู้แจกจ่ายความเห็นผิด แสดงธรรมอย่างประมาทนะครับ
     
  17. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    <CENTER>พระไตรปิฏก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕
    มหาวรรค ภาค ๒
    </CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER>พรรณนาคุณของพระขีณาสพ</CENTER> [๓] ครั้งนั้น ท่านพระโสณะบรรลุพระอรหัตแล้ว ได้คิดว่า ถ้ากระไรเราพึงพยากรณ์อรหัตผลในสำนักพระผู้มีพระภาค แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถวายบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นแล้วได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค ว่าดังนี้:- พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุใด เป็นพระอรหันต์มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วมีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว มีประโยชน์ของตนได้ถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุนั้นย่อมน้อมใจ ไปสู่เหตุ ๖ สถาน คือ ๑. น้อมใจไปสู่บรรพชา ๒. น้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด ๓. น้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๔. น้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน ๕. น้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา และ ๖. น้อมใจไปสู่ความไม่หลงไหล พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้อาศัยคุณแต่เพียงศรัทธาอย่างเดียวเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ก็ข้อนี้ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะจึงน้อมใจไปสู่บรรพชา โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้ปรารถนาลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมใจไปในความเงียบสงัด ดังนี้ พระพุทธ-*เจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความเงียบสงัด โดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ พระพุทธเจ้าข้า ก็บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ สำคัญเห็นเช่นนี้ว่า ท่านผู้นี้เชื่อถือสีลัพพตปรามาส โดยความเป็นแก่นสารเป็นแน่ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน ดังนี้พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้นเลย ภิกษุขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตนยังมีกิจที่จำจะต้องทำ หรือจะต้องกลับสะสมทำกิจที่ได้ทำแล้วจึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่เบียดเบียนโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ ... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทาน โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นอุปาทานโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ ... จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหา โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความสิ้นตัณหาโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ ... จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากราคะ เพราะสิ้นราคะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหล โดยที่ตนปราศจากโทสะ เพราะสิ้นโทสะ จึงน้อมใจไปสู่ความไม่หลงใหลโดยที่ตนปราศจากโมหะ เพราะสิ้นโมหะ พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต .... แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยฆานะ .... แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยชิวหา .... แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย .... แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาล้วนแล้วด้วยศิลา ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกันแม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันออก ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านไม่ได้เลย แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศตะวันตก .... แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศเหนือ .... แม้หากลมฝนอย่างแรง พัดมาแต่ทิศใต้ ก็ยังภูเขานั้นให้หวั่นไหว สะเทือนสะท้านไม่ได้เลย แม้ฉันใด. พระพุทธเจ้าข้า แม้หากรูปารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยจักษุ ผ่านมาสู่คลองจักษุของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น. แม้หากสัททารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยโสต .... แม้หากคันธารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยฆานะ .... แม้หากรสารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบด้วยชิวหา .... แม้หากโผฏฐัพพารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยกาย .... แม้หากธรรมารมณ์ที่หยาบ ซึ่งจะพึงทราบชัดด้วยมโน ผ่านมาสู่คลองใจของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นอันอารมณ์ไม่ทำให้เจือติดอยู่ได้ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว และภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.<CENTER>นิคมคาถา</CENTER> [๔] ภิกษุน้อมไปสู่บรรพชา ๑ ผู้น้อมไปสู่ความเงียบสงัด แห่งใจ ๑ ผู้น้อมไปสู่ความไม่เบียดเบียน ๑ ผู้น้อมไปสู่ ความสิ้นอุปาทาน ๑ ผู้น้อมไปสู่ความสิ้นตัณหา ๑ ผู้น้อม ไปสู่ความไม่หลงไหลแห่งใจ ๑ ย่อมมีจิตหลุดพ้นโดย ชอบ เพราะเห็นความเกิด และความดับแห่งอายตนะ ภิกษุมีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบ มีจิตสงบนั้น ไม่ต้องกลับ สะสมทำกิจที่ได้ทำแล้ว กิจที่จำจะต้องทำก็ไม่มี เปรียบ เหมือนภูเขาที่ล้วนแล้วด้วยศิลาเป็นแท่งทึบอันเดียวกัน ย่อมไม่สะเทือนด้วยลม ฉันใด รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ และธรรมารมณ์ ทั้งที่น่าปรารถนา และไม่น่า ปรารถนาทั้งสิ้น ย่อมทำท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่ได้ ฉัน นั้น จิตของท่านตั้งมั่น หลุดพ้นแล้ว ท่านย่อมพิจารณา เห็นความเกิด และความดับของจิตนั้นด้วย.<CENTER></CENTER>
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๑๓๖ - ๒๒๓. หน้าที่ ๖ - ๑๐.http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=136&Z=223&pagebreak=0
    </PRE>
     
  18. NOMO

    NOMO สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +0
    ในสมัยพุทธกาล หากมีการแสดงธรรมเกิดขึ้น พระสาวกจะถามก่อนว่าเป็นธรรมของตถาคตหรือไม่ หากไม่ จะไม่มีการยอมรับ หรือกรณีพระตถาคตไม่ได้แสดงไว้อย่างละเอียดแต่หากมีพระอรหันต์ที่เป็นสาวกทีมีปัญญามากได้แสดงไว้อย่างละเอียด และมีพระศาสดา ตรัสยืนยันถือว่า ธรรมนั้นคืออมตะธรรม ให้ถือนำมาปฏิบัติได้


    หากเทียบกับปัจจุบัน ก็ต้องมีการเซ็นอนุมัติ ก่อน
     
  19. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เนื้อหาที่ เรายกมานั้น คุณดูว่ามันมั่ว เพราะคุณ มีจิตใจที่มั่วกับเจ้าของกระทู้เอง หาใช่เนื้อหาไม่ อันนี้ต้องขออภัยจริงๆ
    แต่เนื้อหาที่เอามานี้ เจ้าของกระทู้ไม่ได้แต่งขึ้นมาเอง และ น่าจะเป็นประโยชน์ จึงนำมาลงให้ได้อ่านกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าไม่เข้าใจสิ่งใด ก็ แจ้งผู้ลงไปเลยคะ จะได้หายข้องใจ เพราะ บอกตรงๆว่า ยังไม่ถึงเหมือนกัน
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]



    วันพฤหัสบดี ที่ 16 กันยายน 2553
    รวมบทกลอนปริศนาธรรม ชุด ปัญญาญาณ
    Posted by physigmund_foid , ผู้อ่าน : 732 , 09:18:48 น.
    หมวด : ส่งการบ้านครู
    [​IMG] พิมพ์หน้านี้ [​IMG] [​IMG] โหวต 0 คน



    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD style="LINE-HEIGHT: 22px; WIDTH: 720px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', sans-serif; WORD-WRAP: break-word; COLOR: rgb(51,51,51); FONT-SIZE: 14px">
    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง ปัญญาญาณ






    พระอรหันต์ผู้พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณย่อมสื่อสารธรรมได้ดี



    ปฏิสัมภิทาญาณเป็นความสามารถพิเศษทางการสื่อสาร



    ทำให้สื่อสารได้มีประสิทธิภาพ เทศนาธรรมเข้าใจง่าย



    แต่พระอรหันต์ไม่ใช่จะมีปฏิสัมภิทาญาณกันหมด






    ฝึกการสื่อสารผ่านภาษาต่างๆ ให้ชำนาญ



    หลายภาษาแปลข้ามไปมาหรือภาษาเดียวให้แตกฉาน



    ฝึกการสื่อสารโดยไม่ผ่านภาษา เช่น สื่อทางกริยาท่าทาง



    การสื่อสารทั้งสองนี้ เป็นบาทฐานในการฝึกปฏิสัมภิทาญาณได้






    ฝึกยืดหยุ่น, ประยุกต์, พลิกแพลงข้อธรรมต่างๆ



    ใช้ธรรมะในตำรา กลายเป็นธรรมะในความเข้าใจของคนจริง



    ทำให้เกิดการอธิบาย, ย่อ-ขยายความ, สาวโยงเชื่อมความธรรม



    อ่านมาก, จำมาก, ฟังมาก เป็นพหูสูต คือ บาทฐานของปฏิสัมภิทาญาณ






    ฝึกสนทนาธรรมแก้ไขความเข้าใจที่ผิดให้ถูกต้อง



    ใช้อธรรมสร้างธรรมะ ยิ่งคนมีอธรรมมาก ธรรมะยิ่งมากด้วย



    ต้องอาศัยคู่สนทนา เป้าหมายไม่ใช่เพื่อชนะ แต่เพื่อความเข้าใจร่วมกัน



    แม้เอาชนะผู้อื่นได้ แต่จบลงด้วยความไม่เข้าใจกัน ก็ไม่อาจได้ปฏิสัมภิทาญาณ






    ฝึกการพิจารณาธรรมจากสิ่งต่างๆ ง่ายๆ รอบตัว



    เช่น ฝึกอุปมาเปรียบเปรยสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่งที่พบเห็นบ่อยๆ



    หรือเพ่งพิจารณาธรรมะจากธรรมชาติรอบตัว จนนำมาเป็นธรรมะได้



    ธรรมะพรั่งพรูจากธรรมชาติเช่นนี้ เป็นบาทฐานในการฝึกปฏิสัมภิทาญาณ






    การฝึกทั้งสี่นี้ เป็นเพียงบาทฐานของปฏิสัมภิทาญาณ



    หากไม่ได้อาสวักขยญาณย่อมไม่อาจเกิดปฏิสัมภิทาญาณได้เลย



    เมื่อไม่อาจบรรลุธรรมได้อย่างแท้จริง ย่อมเป็นได้แค่นกแก้วนกขุนทอง



    พูดได้เก่ง, จำได้มาก, อธิบายได้ดี แต่ไม่มีความเข้าใจในสิ่งสื่อสารอย่างแท้จริง






    หัวใจสำคัญอีกประการของปฏิสัมภิทาญาณคือญาณทัศนวิสุทธิ์



    เมื่อมีญาณทัศนวิสุทธิ์แล้ว ย่อมสื่อสารสิ่งที่อ่านมาได้อย่างตรงไปตรงมา



    ไม่ถูกบิดเบือน, ไม่ถูกปรุงแต่ง, ไม่ถูกความเข้าใจผิด ทำให้สื่อสารผิดออกไป



    ญาณทัศนวิสุทธิ์ คือ ญาณใส, เหมือนแก้วใส, เหมือนน้ำสะอาด, เหมือนกระจกใส






    พระอรหันต์บางรูปบรรลุธรรมแล้วไม่อาจอธิบายธรรมได้



    พระอรหันต์ผู้มีปฏิสัมภิทาญาณก็อธิบายธรรมไม่ได้



    แต่ชำนาญในการสื่อสารแสดงความคิดเห็น



    จึงช่วยให้ผู้อื่นบรรลุธรรมตามตนได้






    พระอรหันต์ที่ไม่มีความสามารถทางการสื่อสาร



    สามารถสื่อสารธรรมะผ่านทางจิตสู่จิตได้โดยตรง



    เรียกว่าภาษามคธ ซึ่งสรรพสัตว์ล้วนเข้าใจได้ตรงกัน



    ภาษามคธนี้แท้แล้วไม่อาจพูดได้ แต่สื่อได้ด้วยจิตสู่จิต






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง อภิญญาห้า






    ผู้ปรารถนาจะสำเร็จอภิญญาห้า ถ้าไม่ฝึกจิต มีหรือจะได้?



    อภิญญาห้าย่อมต้องใช้อัปปนาสมาธิเป็นบาทฐาน



    ต่ำกว่าอัปปนาสมาธิก็ไม่ถึงอภิญญาห้าได้



    ดังนี้ อยากได้อภิญญาก็ต้องฝึกจิต






    ถ้าไม่ต้องการอภิญญาห้า ต้องการแค่พ้นทุกข์



    แบบนี้ไม่ต้องฝึกจิตก็ได้อรหันต์ปัญญาวิมุติ



    แต่ถ้าต้องการอภิญญาห้า ต้องฝึกจิตด้วย



    ฝึกจิตให้ถึงอัปปนาสมาธิ คือ ได้ฌาน






    อยากได้ตาทิพย์ ก็ต้องฝึกรูปฌาน



    สร้างนิมิตจากธรรมชาติของจริง



    หยิบเอามาเพ่งให้เกิดนิมิต



    เพ่งจนกว่าตาทิพย์จะเปิด






    อยากได้ญาณหยั่งรู้อดีตชาติ



    ก็ต้องฝึกอรูปฌาน คือ กำหนดความว่างเป็นอารมณ์



    ไร้เวลา ไร้สถานที่ ว่างหมด จากใดๆ ไรๆ ทั้งปวง



    ออกจากภาวะว่างใช้นิมิตลงหยั่งเวลานั้นๆ






    อยากรู้เรื่องยุคพระสุริโยทัย



    เข้าฌานกำหนดความว่างเป็นอารมณ์ก่อน



    พอไม่มีอะไร ใดๆ ขวางกั้นจิตหรือปรุงแต่งจิตแล้ว



    ออกจากภาวะนั้น ให้น้อมจิตถามว่าทำไมท่านจึงต้องไปตาย






    สอบทานกับผู้ที่สำเร็จ อตีตังคญาณ



    ถ้าฝึกแล้วทดสอบบ่อยๆ แม่นยำแค่ไหน



    ไม่ต้องถูกต้อง ๑๐๐% ก็ได้ อย่างน้อยถูกสัก ๗๕%



    ก็สามารถใช้ญาณนี้ในการทำนายอดีตชาติของคนได้เช่นกัน






    ญาณหยั่งรู้อนาคตก็ใช้วิธีเดียวกัน



    ออกจากฌานลึกก็น้อมจิตไปยังเวลาเบื้องหน้า



    ความจริงในอนาคตก็ค่อยปรากฏชัดขึ้นในรูปแบบต่างๆ



    บ้างเป็นนิมิต บ้างเป็นลางสังหรณ์ บ้างคล้ายข้อมูลไหลเข้ามา






    ญาณหยั่งรู้วาระจิตผู้อื่น



    ต้องฝึกสติปัฏฐานสี่ดูจิตตัวเองให้ชำนาญ



    แล้วน้อมจิตเพ่งไปยังผู้อื่นที่เราต้องการทราบวาระจิต



    ก็ได้คำตอบปรากฏออกมาเอง เมื่อสติและสมาธิเท่าทันคนผู้นั้น






    คนที่มีกำลังสติดี ไวต่อความคิดคนที่เปลี่ยนไปแต่ละขณะ



    คนมีสมาธิลึก หยั่งลงลึกก้นบึ้งความคิดคนอื่นได้



    ผลออกมาได้ข้อมูลในรูปแบบที่แตกต่างกัน



    ซึ่งนับเป็นอภิญญาหยั่งรู้วาระจิตทั้งสิ้น






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง มโนมยิทธิ






    มโนมยิทธิ แปลว่าฤทธิ์ทางใจ ไม่ใช่การถอดกายทิพย์



    การถอดกายทิพย์หรือถอดจิตวิญญาณยังไม่นับเป็นมโนมยิทธิ



    พวกมารและพราหมณ์ก็ถอดกายทิพย์ได้ แต่ยังไม่ใช่มโนมยิทธิ



    แล้วมโนมยิทธิที่แท้จริงนั้น นับว่าสำเร็จได้อย่างไร






    ใจมีฤทธิ์ แค่คิดก็ได้ดังใจแล้ว ไม่ต้องลงมือกระทำ



    คือจุดเริ่มมโนมยิทธิ ไม่ต้องถอดกายทิพย์ก็ได้



    อธิษฐานแล้วเกิดผลได้จริงคือใจมีฤทธิ์



    นับเป็นมโนมยิทธิเมื่อใจคุมจิตได้






    การฝึกมโนมยิทธิ ฝึกจากอธิษฐานบารมีก็ได้



    อธิษฐานบารมีคือความตั้งใจแน่วแน่ให้สำเร็จผล



    เมื่อตั้งใจแน่วแน่แล้วทำกิจการงานให้สำเร็จผลให้ได้



    อย่าท้อแท้ อย่าปล่อยให้ล้มเหลวโดยไม่ลุกขึ้นสู้จนสำเร็จ






    ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ใจก็มีฤทธิ์เอง แต่ยังไม่ใช่มโนมยิทธิ



    พวกมารและพรหมก็สามารถมีใจที่มีฤทธิ์เช่นนี้ได้



    จนเมื่อถึงระดับกำหนดใจคุมจิตวิญญาณได้



    ใจจึงมีฤทธิ์มากพอเรียกว่ามโนมยิทธิ






    จิตวิญญาณหรือเจตภูตออกจากร่างคนไปได้เอง



    ถ้าควบคุมจิตวิญญาณตนเองยังไม่ได้ ยังไม่สำเร็จมโนมยิทธิ



    ถ้าควบคุมจิตวิญญาณในกายสังขารตนเองได้ระดับหนึ่ง นับว่าสำเร็จ



    เช่น กำหนดให้จิตวิญญาณของตนเอง ไปทำงานที่สวรรค์ ไปทำกิจที่นรกก็ได้






    มโนมยิทธิมีกำลังไม่เท่ากัน ฝึกได้ไม่มีที่สิ้นสุด



    จิตวิญญาณที่แรงและมีกำลังมาก คุมได้ยากจะแทรกเข้ากาย



    และขับดันในร่างกายหลงทาง หรือออกจากร่างกายไปทำกรรมชั่ว



    เมื่อเราควบคุมจิตวิญญาณที่มีกำลังสูงขึ้นได้เรื่อยๆ ก็มีฤทธิ์ทางใจสูงขึ้น






    มนุษย์ทุกคนมีเจตภูตดูแลร่างกายทั้งสิ้น



    เจตภูตคือจิตวิญญาณดวงนอกสุดในกายสังขารนั้น



    สามารถเข้าออกจากกายสังขารได้เสมอเมื่อเราคิดเรื่องนอกตัว



    ในไตรปิฎกก็บันทึกไว้ พระราชาผู้หนึ่งตื่นขึ้นมาพูดคุยกับเจตภูตตนเอง






    ผู้มีมโนมยิทธิขั้นสูง สามารถคุมจิตผู้อื่นได้ด้วย



    เช่น หลวงพ่อฤษีลิงดำ ดึงจิตวิญญาณลูกศิษย์ไปภพภูมิอื่น



    ถ้าสำเร็จตาทิพย์หรือพระอินทร์ให้ยืมตาทิพย์ ก็จะเห็นนรกสวรรค์ได้



    แม้ไม่สำเร็จมโนมยิทธิ แต่ก็เห็นนรกสวรรค์ได้ด้วยกำลังของอาจารย์ช่วย






    แม้ไม่เห็นโลกทิพย์ เพราะไม่มีตาทิพย์



    แต่ก็สำเร็จมโนมยิทธิได้ เพราะเป็นอภิญญาต่างชนิดกัน



    กำหนดที่ใจ ให้จิตวิญญาณไปทำกิจต่างๆ ถ้าสำเร็จผลก็ได้มโนมยิทธิ



    กำหนดใจเข้มแข็งให้กิจการใดๆ สำเร็จ แม้กายสังขารไม่กระทำ ก็บังเกิดผลได้






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง ธรรมกาย






    ธรรมกาย คือ กายทิพย์ที่มีธรรม ใช้สอนธรรมได้



    กายทิพย์ของคนเรามีมากกว่าหนึ่งกายในสังขารหนึ่งๆ



    ซ้อนกันเป็นชั้นๆ เหมือนสวมเสื้อทับกัน แต่ละชั้นมักมีจิตหนึ่งดวง



    ยกเว้นชั้นนอกสุด อาจไม่มีจิต มีแต่วิญญาณขันธ์ เรียกว่า “ครอบขันธ์”






    คนที่ถูกครอบขันธ์ เช่น คนทรง



    เทพหรือพรหมจะถอดกายทิพย์หรือวิญญาณขันธ์



    มาครอบขันธ์ห้านั้น เพื่อควบคุมหรือขับดันให้ทำกิจการต่างๆ



    คนผู้นั้นจะทำกิจได้เหมือนเทพพรหมองค์นั้นๆ แม้ไม่ใช่เทพพรหมองค์จริง






    วิญญาณขันธ์หรือกายทิพย์ที่ครอบขันธ์ไม่มีจิต



    เมื่อไม่มีจิต วิญญาณขันธ์จะทรงไม่ได้นาน จะค่อยๆ สลายไป



    จากพลังรูปฌานกลายเป็นอรูปฌาน คือ สลายเป็นพลังปราณออกไป



    เมื่อสลายหมดแล้ว อภิญญา, บารมี, ความสามารถ ของเทพพรหม ก็หายไปด้วย






    คนที่ไม่ถูกครอบขันธ์ ก็มีกายทิพย์ได้หลายกายซ้อนกัน



    แต่ละกายทิพย์จะมีจิตหนึ่งดวงประสานอยู่ เรียกว่า “จิตวิญญาณ”



    จิตวิญญาณสามารถจรเข้าออกจากร่างกายได้ ไม่ใช่การถอดกายทิพย์



    แต่จิตวิญญาณดวงในสุดจะไม่จรออกเพราะต้องประจำสังขาร ยกเว้นเมื่อตาย






    จะฝึกธรรมกายแบบเปิดตาทิพย์หรือไม่เปิดตาทิพย์ก็ได้



    ถ้าเปิดตาทิพย์ก่อนจะเพ่งไปในกายในกายตามหลักกายานุสติปัฏฐาน



    คือ “กายในกาย” เพ่งกลางกายทิพย์ จะมีดวงแก้วประจำกายทิพย์นั้นๆ อยู่



    จะพบกายทิพย์อีกกายอยู่ในดวงแก้วนั้น หรืออดีตชาติจะปรากฏออกมาในดวงแก้วนั้น






    ถ้าไม่เปิดตาทิพย์ ก็ฝึกธรรมกายได้



    ใช้หลักสติปัฏฐานสี่ คือ “จิตานุสติปัฏฐาน”



    ฝึกใจสัมผัสจิต ดูจิตในจิต หลายดวงที่ซ้อนกันอยู่



    สติที่ละเอียดจะจำแนกได้ว่ามีจิตกี่ดวง มีลักษณะอย่างไร






    จิตวิญญาณมีลักษณะเฉพาะตัวสังเกตได้



    จิตวิญญาณเทพจะเป็นเทพ ไม่เป็นอย่างอื่น



    แต่สังขารคนเป็นที่รวมของหลายจิตวิญญาณ



    จึงมีการแสดงออกที่ระคนปนเป จึงเรียกว่า “คน”






    ถ้าเข้าใจเอกลักษณ์เฉพาะตัวของจิตวิญญาณชนิดต่างๆ



    ก็จำแนกจิตวิญญาณที่ซ้อนกันในกายสังขารตนได้



    จากนั้น ก็บำเพ็ญบารมีในแบบนั้นๆ ให้สมบูรณ์



    ก็จะสำเร็จธรรมขั้นสูง ทีละกาย ทีละกาย






    เมื่อบำเพ็ญบารมีในกายโพธิสัตว์ครบสี่ชนิด



    จะได้บารมีมากพอก็สำเร็จกายพุทธะหรือยูไลได้



    มีลักษณะคล้ายพระพุทธเจ้า แต่ยอดเกศาไม่มีเปลวกนก



    กายทิพย์นี้อยู่ในสุด เป็นพระพุทธะผู้สอนธรรม คือ “ธรรมกาย”






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง อิทธิวิธี






    อิทธิวิธี คือ อภิญญาที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้



    มีหลายระดับตามการฝึกคือ จิต, วิญญาณ และสังขาร



    เมื่อฝึกจนสามารถแสดงฤทธิ์ทางกายสังขารเป็นที่ประจักษ์ได้



    จึงนับว่าสำเร็จ “อิทธิวิธี” เช่น เหาะให้คนพิสูจน์ดูได้ด้วยตาเปล่า






    ฤทธิ์ระดับต่ำ มีฤทธิ์แต่ทางจิต



    ฤทธิ์ระดับกลางได้ทั้งจิตและวิญญาณ



    ฤทธิ์ระดับสูง ฝึกจนได้ถึงกายสังขารก็แสดงฤทธิ์ได้



    ทั้งสามระดับนี้ นับว่าเป็นอิทธิฤทธิ์ แต่ยังไม่ใช่อิทธิวิธีทั้งหมด






    การเหาะเหินเดินอากาศนั้น ไม่จำเป็นต้องเอาทั้งกายสังขารไป



    ถ้าเหาะไปแต่จิตวิญญาณ ก็นับว่ามีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้



    แต่ถ้าจะเอาทั้งกายสังขารไปด้วยต้องฝึกกายด้วย



    ฝึกทั้งจิตวิญญาณและกาย ต้องฝึกถึงขั้นโยคะ






    การฝึกแบบโยคะจะฝึกหนักและยาวนานเหมือนฤษี



    เพื่อหลอมรวมทั้งจิตวิญญาณและกายให้ไปด้วยกันได้



    เมื่อจิตวิญญาณมีฤทธิ์ ก็แสดงออกทางกายสังขารได้ด้วย



    พวกฤษีจึงแสดงฤทธิ์ให้คนทั่วไปเห็นและเรียกศรัทธาคนได้มาก






    พระพุทธเจ้า จึงไม่ทรงสรรเสริญให้ฝึกเพื่อเป้าหมายนี้



    ทรงให้ลัดตัวตรง ทำนิพพานให้แจ้งให้ได้ก่อนจึงไม่หลงทาง



    เพราะการฝึกทั้งจิตวิญญาณและกายสังขารนั้นต้องทุ่มเทเวลามาก



    เพื่อแสดงฤทธิ์ให้ผู้อื่นเห็นเป็นประจักษ์ให้ได้ต้องใช้ฝึกสมาธิอย่างมากมาย






    ทำได้ด้วยการฝึกธาตุและกสิณต่างๆ



    การฝึกกสิณ ทำให้จิตวิญญาณมีฤทธิ์



    การฝึกธาตุสี่ทำให้ร่างกายมีฤทธิ์ได้ด้วย



    หรือฝึกฌานสี่ขึ้นไป แล้วอธิษฐานใช้ฤทธิ์






    “อิทธิวิธี” นั้น เริ่มฝึกจากภายในออกไปสู่ภายนอก



    ยิ่งกำหนดควบคุมธาตุภายนอกได้รัศมียาวไกลยิ่งมีฤทธิ์มาก



    คือ การฝึกกำหนดหรือควบคุมธาตุสี่ในร่างกายของตนเองให้ได้ก่อน



    แล้วจึงขยายขอบเขตการกำหนดด้วยพลังจิตให้ควบคุมธรรมชาติไกลออกไป






    กำหนดธาตุและควบคุมธาตุต่างๆ



    แปรเปลี่ยนจากธาตุหนึ่งไปธาตุหนึ่งได้ดังใจ



    เช่น จากอากาศธาตุกำหนดให้เป็นปฐวีธาตุแล้วเหยียบขึ้นไป



    หรือ จากธาตุน้ำ กำหนดให้เป็นปฐวีธาตุ แล้วเดินบนน้ำไปได้ไม่จม






    นอกจากนี้ยังกำหนดธาตุในสิ่งต่างๆ ได้



    หรือกำหนดธาตุในร่างกายของผู้อื่นได้ด้วย



    เช่น คนไข้มีอาการธาตุไฟกำเริบ เป็นแผลร้อนใน



    เพ่งแล้วกำหนดจิตให้ธาตุไฟลดลง หรือปรับธาตุให้สมดุล






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง สมาธิพรหมโลก






    การฝึกฌานขั้นสูงหรืออัปปนาสมาธิ



    ย่อมยากมากเมื่อจิตไม่ใช่พรหม



    ทำจิตให้ถึงพรหมก่อนค่อยฝึก



    แล้วจะฝึกง่ายได้ดายมาก






    จิตวิญญาณในกายสังขารคนมีหลายชนิด



    ถ้าจิตวิญญาณดวงนอกสุดไม่ใช่พรหม



    ต้องสร้างบุญบารมีให้ถึงพรหมก่อน



    ก็สามารถฝึกสมาธิได้ง่ายดาย






    สร้างบุญบารมีให้ได้พรหมนั้นไม่ยาก



    บูชาเทพเจ้าฮินดูด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง



    องค์ใดองค์หนึ่งเลือกเพียงหนึ่ง



    บูชาจนจิตเกิดเป็นพรหมแล้ว






    อาตมัน ก็ไม่แตกต่างจากปรมาตมัน



    คือ จิตของเรา ก็ไม่ต่างจากจิตเทพเจ้านั้น



    นี่คือ บำเพ็ญบารมีจนจิตเกิดใหม่ได้เป็นพรหม



    พรหมมีหลายแบบ เช่น พรหม, ศิวะ, นาราย เป็นต้น






    เมื่อได้กายแบบชาวพรหม กายใดกายหนึ่งแล้ว



    จึงค่อยฝึกสมาธิ ก็จะฝึกสำเร็จได้ไม่ยากเลย



    ถ้ายังไม่ได้ ไม่ควรฝึก เพราะจะทำให้ท้อ



    แล้วเลิกฝึกไปในที่สุด เพราะล้มเหลว






    การฝึกสมาธิขั้นสูงมีหลายวิธีทั้งรูปฌานและอรูปฌาน



    รูปฌานคือ กำหนดรูปกุศลเป็นอารมณ์เข้าสู่ฌาน



    อรูปฌานคือ กำหนดสิ่งที่ไม่มีรูปเข้าสู่ฌาน



    เช่น ความว่าง, ภาวะเหนือความจำ ฯลฯ






    หากเริ่มฝึกจากรูปฌานไปสู่อรูปฌานเองก็ได้



    ไม่ต้องกำหนด ปล่อยให้จิตดิ่งลงฌานลึกไปเอง



    ฌานก็เดินไปเองโดยไม่ยึดติดขั้นใดขั้นหนึ่ง ไม่ติดขัด



    ยิ่งกำหนดเป็นขั้นๆ ไปยิ่งไปยาก เพราะติดขั้นนั้นๆ ไม่ไปไหน






    ใช้นิมิตหมายต่างๆ เป็นเครื่องรวมจิตเบื้องต้น



    เมื่อถึงฌานขั้นลึกแล้ว ค่อยฝึกสติให้ไวต่อแต่ละขั้น



    เรียกว่าการฝึกวสี ซึ่งต้องเข้าใจลักษณะของฌานแต่ละขั้น



    ฝึกโดยไม่กำหนดจิตจะไปได้ง่ายดาย ฝึกด้วยการกำหนดจะยาก






    เคล็ดลับง่ายๆ คือ “ปล่อยให้ดับไปเอง”



    อะไรก็ช่างที่ปรากฏอยู่ปล่อยให้ดับลงไปเอง



    จิตจะละเอียดลงสู่ฌานลึกขึ้นเรื่อยๆ เป็นลำดับไป



    ฝึกให้ถึงฌานลึกที่สุดก่อน แล้วจึงค่อยจำแนกขั้นฌาน






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง สมาธิสุขาวดี






    สมาธิแบบสุขาวดีเป็นสมาธิของพระโพธิสัตว์



    จึงไม่ปรากฏในคัมภีร์ของฝ่ายเถรวาท



    และไม่อยู่ในกรรมฐานทั้งสี่สิบวิธี



    แต่ก็มีบันทึกไว้ในมหายาน






    พระพุทธเจ้าทรงสอนสมาธิแบบสุขาวดีด้วย



    ครั้งแรกคือ “ธรรมจักร” ให้แก่ท่านอัญญาโกญทัญญะ



    แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีอินทรีย์หรือบารมีแก่กล้าพอที่จะฝึกได้



    ท่านจึงเลือกสมาธิแบบพรหมโลกมาสอน คือ กรรมฐานสี่สิบวิธี






    สมาธิแบบสุขาวดีเป็นสมาธิแบบเร็วลัด



    เช่น การใช้ดอกบัวเพ่งเป็นอารมณ์กรรมฐาน



    น้อมจิตตามดอกบัวบาน คือ เข้าสู่จิตเดิมแท้ประภัสสร



    ย่อมสามารถบรรลุธรรม หลุดพ้นจากอาสวกิเลสได้ฉับพลัน






    สมาธิแบบมหายานช่วยให้บรรลุธรรมได้เร็วลัด



    ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายมหายานเป็นส่วนใหญ่



    ผลลัพธ์ทำให้ได้ทั้งปัญญาและอภิญญา



    ไม่แตกต่างจากกรรมฐานทั้งสี่สิบวิธี






    สมาธิมีสองแบบ มาจากสองแหล่งใหญ่ๆ



    คือ สมาธิแบบสุขาวดีและสมาธิแบบพรหมโลก



    กรรมฐานทั้งสี่สิบวิธีส่วนใหญ่เป็นสมาธิแบบพรหมโลก



    ยกเว้นสติปัฏฐานสี่และอนุสติสิบที่เป็นแบบของพระพุทธเจ้า






    สมาธิแบบพรหมโลก ฝึกแล้วมักได้พรหมโลก



    สมาธิแบบสุขาวดี ฝึกแล้วมักได้สุขาวดี



    ยกเว้นว่าลัดตรงสู่นิพพานจึงนิพาน



    สมาธิสองแบบนี้เป็นบาทฐานได้






    สมาธิแบบสุขาวดีมีหลายแบบ



    มีทั้งแบบที่มุ่งผลให้เกิดการบรรลุธรรม



    และแบบที่กำหนดจิตไปเกิดยังสุขาวดีโลกธาตุ



    สองแบบนี้แตกต่างกัน เป้าหมายต่างกัน ฝึกต่างกัน






    สมาธิแบบเพ่งเสียง เป็นแบบสุขาวดี



    ฝึกได้ด้วยการเพ่งเสียงต่างๆ ขณะหลับตา



    ใช้เสียงที่เรียบนิ่งมีโทนเดียวเป็นอารมณ์ทำให้จิตเรียบนิ่ง



    ฝึกถึงที่สุดเปิดหูทิพย์ ฟังเสียงทิพย์ และสื่อกับพระยูไลที่สุขาดีได้






    สมาธิแบบหมุนจักระหรือสมาธิหมุนหรือธรรมจักร



    เป็นสมาธิแบบสุขาวดี สามารถช่วยให้บรรลุธรรมได้เร็วลัด



    ฝึกได้ด้วยการหมุนวนลมปราณภายในตามจักระสำคัญของร่างกาย



    ทะลวงเปิดจักระให้เปิดโล่ง เชื่อมโยงพลังภายในกับพลังจักรวาลเป็นหนึ่งเดียว






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง วิปัสสนาญาณ






    วิปัสสนาญาณ คือ ญาณที่เกิดจากวิปัสสนากรรมฐาน



    วิปัสสนากรรมฐานคือ การเพ่งพิจารณาไตรลักษณ์



    หรือภาวะจิตรวมศูนย์ตรงสู่ไตรลักษณ์ที่เกิดเอง



    แต่ยังไม่หยั่งรู้ว่าใดๆ อย่างอื่นก็เหมือนกัน






    เมื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่แต่ยังไม่เกิดวิปัสสนาญาณ



    ย่อมเห็นความดับไป แต่ไม่เห็นแจ้งว่าใดๆ ก็เหมือนกัน



    เมื่อเห็นสิ่งนี้ดับไปและใดๆ อย่างอื่นก็ล้วนเป็นเช่นนี้



    คือลักษณะของวิปัสสนาญาณที่เกิดจากกรรมฐาน






    เมื่อไม่ได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานแต่มีสติเต็มรอบ



    แล้วเห็นสิ่งหนึ่งดับไป จึงพิจารณาว่าใดๆ ย่อมเป็นเช่นนี้



    คือ ไม่เที่ยง, เป็นทุกข์, ไม่ใช่ตัวตนของตน ไม่อาจยึดมั่นถือมั่นได้



    คือ ลักษณะของวิปัสสนาญาณ ที่ไม่ได้เกิดจากกรรมฐาน เป็นบาทมูล






    วิปัสสนาญาณย่อมสามารถเกิดได้ทั้งมีและไม่มีกรรมฐานก่อน



    บางท่านเจริญสมถกรรมฐานแล้วลัดตรงสู่วิปัสสนาญาณก็มี



    บางท่านเจริญวิปัสสนากรรมฐานแล้วจึงได้วิปัสสนาญาณ



    แต่บ้างไม่ได้ทำกรรมฐานเลยแต่เกิดวิปัสสนาญาณก็มี






    เซน มีวิธีเข้าถึงธรรมด้วยสมาธิที่เกิดเองดับเองตามธรรมชาติ



    สุญตา คือ ภาวะที่ธรรมารมณ์ต่างๆ ดับหมดตามธรรมชาติ



    เมื่อสุญตาเกิดขึ้นแล้วลัดตัดตรงสู่วิปัสสนาญาณทันที



    ทำนิพพานให้แจ้ง เห็นสัจธรรมอันตรงไปตรงมาได้






    “สุญตา” เป็นธรรมชาติที่เกิดเองดับเองอยู่เนืองๆ



    เมื่อไม่ทุ่มกำลังใจเข้าวิปัสสนาญาณฉับพลัน



    จึงปล่อยโอกาสทองให้ผ่านไปเสียเฉยๆ



    เหมือนศัตรูเปิดช่องโหว่แล้วแต่ไม่ยิง






    หัวใจแห่งการบรรลุธรรมจึงไม่ใช่กรรมฐานใดเลย



    เพราะการบรรลุธรรมก็เกิดได้แม้ไม่มีกรรมฐาน



    ดังนี้หัวใจของการบรรลุธรรมไม่ใช่กรรมฐาน



    แต่เป็นสุญตาและวิปัสสนาญาณฉับพลัน






    “วิปัสสนาญาณ” คือ การหยั่งรู้ถึงไตรลักษณ์ว่าเป็นสากล



    เมื่อจิตเห็นแจ้งในภาวะดับสนิทแล้วเข้าใจว่าเป็นสากล



    คือเข้าใจว่าใดๆ ในโลกล้วนมีสภาพเป็นไตรลักษณ์นี้



    หรืออาจเรียกว่าญาณหยั่งรู้ภาวะสากลของสรรพสิ่ง






    ผู้หญิงและผู้ชายเหมือนกันตรงที่เป็นมนุษย์



    มนุษย์กับอมนุษย์เหมือนกันตรงที่เป็นสิ่งมีชีวิต



    สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตเหมือนกันตรงที่จับต้องได้



    สิ่งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้เหมือนกันตรงไหน?






    .................................................................................



    บทกลอนปริศนาธรรม เรื่อง อาสวักขยญาณ






    “อาสวักขยญาณ” คือญาณรู้ว่ากิเลสหมดสิ้นแล้ว



    ไม่ต้องฝึกจิตอะไรเลยสามารถก็บรรลุธรรมได้



    มนุษย์ทุกคนก็สามารถทำได้เท่าเทียมกัน



    บรรลุอรหันต์โดยไม่ได้อภิญญาห้าก็ได้






    ญาณหยั่งรู้ตัวอื่นๆ ที่ต่างไป มักต้องฝึกจิตด้วยสมาธิและสติขั้นสูง



    เช่น สัพพัญญูญาณ, อตีตังคญาณ, อนาคตังสญาณ ฯลฯ



    แต่ อาสวักขยญาณ ไม่ต้องฝึกเหมือนญาณเหล่านี้



    อาสวักขยญาณเหมือนสัญชาติญาณของจิต






    ดังนี้ พระอรหันต์ประเภทปัญญาวิมุติ



    จึงบรรลุธรรมได้โดยไม่ต้องฝึกจิตใดเลย



    วิปัสสนาญาณนั้นใช้เพียงขณิกสมาธิก็เพียงพอ



    ซึ่งเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นขณะทำงานของปุถุชนอยู่แล้ว






    ดังนี้ จึงกล่าวว่าสติปัฏฐานสี่นั้นเกิดได้ขณะทอผ้า



    หญิงทอผ้าพิจาณาอนิจจังก็บรรลุธรรมได้



    สิ่งสำคัญไม่ใช่สติมากหรือสมาธิมาก



    แต่อยู่ที่ตรงสู่สัจธรรมอย่างเดียว






    ไม่ต้องไปฝึกจิตให้เป็นไปอย่างอื่น



    จิตโดยธรรมชาติรับรู้สัจธรรมได้อยู่แล้ว



    เพราะสัจธรรมเป็นความจริงที่ปรากฏทุกที่ทุกเวลา



    จริงเสมอ ไม่ต้องหยั่งรู้ไปไกลถึงสวรรค์หรือนรก อดีตหรืออนาคต






    ตรงนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ สัจธรรมก็ปรากฏแสดงตนอยู่แล้ว



    ไม่ต้องไปหาที่ไหน เวลาอื่นใด ภพภูมิใดอีกเลย



    บรรลุธรรมได้เลย ฉับพลัน ปัจจุบันทันด่วน



    บรรลุธรรมแล้วไม่จำเป็นต้องนิพพานด้วย






    บรรลุธรรมแล้วหากวิบากกรรมยังชำระไม่หมด



    วิบากกรรมจะมาตัดรอนขวางกั้น ทำให้ไม่นิพพาน



    เช่น พระอรหันต์ชินปัญจระ ท่านก็จุติไปยังภพพรหมโลก



    บรรลุธรรมแล้ว ยังมีทางแยกไปว่าจะนิพพานหรือยังไม่นิพพาน






    ผู้บรรลุธรรมย่อมเลือกทางเองได้



    หากหมดแรงบำเพ็ญบารมีแล้วก็ลัดตรงนิพพาน



    ถ้ามีกำลังบำเพ็ญต่อไป ก็เวียนว่ายตายเกิดต่อไปอีกได้



    บรรลุธรรมแล้วบำเพ็ญบารมีต่อ นี่คือ วิถีของมหายานที่ไม่ใช่นิกาย






    อาสวักขยญาณ ไม่ใช่เรื่องยาก เป็นของเรียบง่าย



    ยิ่งฝึกมาก ยิ่งคิดว่ายาก ยิ่งทำให้ยาก กลับยิ่งยากใหญ่



    เพราะกลายเป็นญาณหยั่งรู้อื่นๆ ที่ไม่ใช่อาสวักขยญาณแล้ว



    สรรพสิ่งไม่เที่ยง กิเลสไม่ใช่สรรพสิ่งหรือ? กิเลสต้องทำให้สิ้นหรือ?





    .........................................จบ....................................

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    จากทั้งหมดนี้ จขก ก็มีแค่ บทสรุปของ ตัวเองว่า การปฏิบัติ อัปมาสมาธิ กับ สติปัฏฐาน4 นั้นสำคัญ เพราะทำตรงนี้อยู่คะ ขอบคุณที่ติดตามคะ
     
  20. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    เพิ่มเติมคะ

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    • physigmund_foid
    • ranking : สมาชิกทั่วไป
    • วันที่สร้าง : 2009-03-05
    • จำนวนเรื่อง : 33
    • จำนวนผู้ชม : 14142
    • จำนวนผู้โหวต : 15
    • ส่ง msg : [​IMG]
    • [​IMG] โหวต 15 ค


    • เหนือเหตุ พ้นผล
      สรรพสิ่งเกิดและดับตามเหตุปัจจัย แต่บางอย่างที่ไม่เกิดและไม่ดับ อยู่เหนือเหตุปัจจัย ก็ยังมีอยู่
      Permalink : ����͹��ʹҸ��� (���ૹ)



      วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2555


      <FORM style="MARGIN: 0px" action=http://www.oknation.net/blog/search_blog.php>ค้นหา: <INPUT style="FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', sans-serif; FONT-SIZE: 12px" name=keyword> <SELECT style="WIDTH: 177px; FONT-FAMILY: Tahoma, 'MS Sans Serif', 'Microsoft Sans Serif', sans-serif; FONT-SIZE: 12px" name=cate_id> <OPTION selected value=0>เลือกกลุ่ม</OPTION> <OPTION value=1>กฎหมาย</OPTION> <OPTION value=2>กล้อง/ถ่ายภาพ</OPTION> <OPTION value=3>การ์ตูน</OPTION> <OPTION value=4>การเมือง</OPTION> <OPTION value=5>กีฬา</OPTION> <OPTION value=6>เกมส์</OPTION> <OPTION value=7>การศึกษา</OPTION> <OPTION value=8>งานอดิเรก</OPTION> <OPTION value=9>ดนตรี</OPTION> <OPTION value=10>ดารา/นักร้อง/คนดัง</OPTION> <OPTION value=11>ไดอารี่</OPTION> <OPTION value=12>ต่างจังหวัด</OPTION> <OPTION value=13>ต่างประเทศ</OPTION> <OPTION value=14>ตำรวจ-อาชญกรรม</OPTION> <OPTION value=15>ท่องเที่ยว</OPTION> <OPTION value=16>ทั่วไป</OPTION> <OPTION value=17>นักข่าวอาสา</OPTION> <OPTION value=18>บ้านและสวน</OPTION> <OPTION value=19>แฟชั่น</OPTION> <OPTION value=20>ภาพยนตร์/ละคร</OPTION> <OPTION value=21>รถยนต์</OPTION> <OPTION value=22>วรรณกรรม/กาพย์กลอน</OPTION> <OPTION value=23>วิทยาศาสตร์/ไอที</OPTION> <OPTION value=24>ศาสนา</OPTION> <OPTION value=25>เศรษฐกิจ</OPTION> <OPTION value=26>สัตว์เลี้ยง</OPTION> <OPTION value=27>สุขภาพความงาม</OPTION> <OPTION value=28>อาหาร</OPTION> <OPTION value=29>ศิลปะ/วัฒนธรรม</OPTION> <OPTION value=30>เรื่องขำขัน</OPTION> <OPTION value=31>ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</OPTION> <OPTION value=32>Blog Kids</OPTION> <OPTION value=33>ส่งการบ้านครู</OPTION> <OPTION value=34>เกษตรกรรม</OPTION> <OPTION value=35>นักเรียน/นักศึกษา</OPTION></SELECT>
      <INPUT target="_blank" search-button.png);? oknature_template images
     

แชร์หน้านี้

Loading...