วันนี้รู้สึกน้อยใจหลวงพ่อฤาษีหลวงพ่อไม่เห็นมาสงเคราะห์เหมือนกับคนอื่นเลย
สงสัยผมคงไม่ใช่ลูกหลานหลวงพ่อมั้งผมงอนหลวงพ่อแล้วนะประมาณนี้
ตอนเที่ยงกว่าๆนอนกลางวันจับภาพพระภาวนาปกติเรื่องอัศจรรย์ก็เกิดขึ้น
เกิดฝันว่าลงบันไดจากสถานที่หนึ่งหลวงพ่อเดินเข้ามาในรูปของพระสงฆ์แล้วถามว่า
เจ้าเป็นใครมาที่นี่ได้ยังไงผมเลยตอบไปว่าผมมาด้วยอภิญญาผมขอกราบหลวงพ่อ
หน่อยได้ไหมครับเลยก้มกราบพอครั้งที่3รู้สึกมีไม้เท้าเเตะมาที่หัวแล้วหลวงพ่อพูดว่า
ว่าตามนะ อิทธิ ฤิทธิ พุทธะนิมิตรตัง ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่มะอะอุนี้เถิด
แล้วก็ตื่นผมดีใจมากครับหลวงพ่อมาสงเคราะห์แล้ว
เมื่อพระยามัจจุราชมาทวงชีวิตข้าพเจ้า
ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย tjs, 14 มิถุนายน 2013.
หน้า 19 ของ 140
-
อิทธิ ฤิทธิ พุทธะนิมิตรตัง ขอเดชะเดชัง ขอเดชเดชะ จงมาเป็นที่พึ่งแก่มะอะอุนี้เถิด
ที่กล่าวมาเป็นคาถาฝึกอิทธิฤทธิ ครับ ขออนุโมทนาครับ หลวงพ่อท่านมาสอนคุณในสมาธิแล้วครับ ขอให้ฝึกภาวนาอย่างนี้ก่อนเดินมโนมยิทธิ นะครับ จะทำได้สำเร็จก้าวหน้ายิ่งขึ้นครับ -
ขอบคุณครับยังดีใจอยู่เลยครับดีใจมาก
รบกวนพี่นิดนึงครับวันที่2เดือนพ.ยที่บ้านจะจัดงานบุญ100วันให้พ่อผมนิมนต์
พระ9รูปและจะถวายสังฆทาน9ชุดรบกวนสื่อกับพ่อผมให้ทีนะครับอยากให้ท่านมาโมทนา
มาเที่ยวที่บ้านบ้างมีข้อสงสัยที่จะฝากคำถามถึงพ่อผมด้วยครับ
1.พ่อเปลี่ยนภพภูมิมาอยู่สวรรค์ชั้นจาตุด้วยบุญอะไร
2.พ่ออยู่สวรรค์ชั้นนี้นานเท่าไหร่อายุสวรรค์ชั้นนี้500ปีทิพย์1วัน=50ปีมนุษย์
ด้วยผลบุญที่ผมทำและอุทิศให้พ่อนั้นผมคิดว่าน่าจะอยู่เกินอายุสวรรค์ประมาณว่าจุติแล้วจุติ
อีกระยะเวลากี่กัปครับ
รบกวนด้วยครับขอบคุณครับ
ขอให้เจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปครับ -
เราจะสู้กับเวทนาที่เกิดในขณะทำสมาธิได้อย่างไร
ขออธิบายว่ามีสองวิธีตามกำลังของสมาธิและจริตท่านดังนี้คือ
1ให้กำหนดสมาธิแน่วแน่ตัดละปล่อยวางเวทนาที่เกิด ให้กำหนดสมาธิและจิตรวมลงเป็นหนึ่งเดียวเอกคตารมณ์เข้าสู่ระดับฌาณ เมื่อจิตไม่วิ่งไปรับเวทนา เวทนาที่รบกวนจิตเรา เวทนาก็ดับไป แต่เวทนาที่เกิดกระทำกับร่างกายในจุดต่างๆนั้นยังเกิดอยู่เช่น ลมที่ขาพับเดนไม่สะดวก ลมก็ยังคงเดินไม่สะดวกระบบประสาทก็ยังคงทำงานผิดปกติ และเกิดต่อเนื่องเพียงแต่ จิตเราไม่วิ่งมารับอารมณ์จึงไม่รับรู้ว่ายังปวดเหน็บชาอยู่เท่านั้นเอง เมื่อเรากำหนดสมาธิต่อเนื่องเป็นหนึ่งเดียวยาวนานมากๆเลยจุดนี้ไป เวทนาที่เกิดก็จะหายไปเองเพราะร่างกายมันปรับสภาพของมันเองได้เอง หรือหากมันปรับไม่ได้ พอออกจากสมาธิก็จะไม่มีความรู้สึกขยับขาไม่ได้ เพราะลมไม่เดิน แต่เมื่อยืดขาออก รอสักพักลมจะเริ่มวิ่งได้สะดวก อาการปวดชาจะเกิดขึ้นทันทีจนหนักหน่วงและที่สุดก็จะขยับขาได้ใช้งานได้ตามปกติครับ
2คือการเปลี่ยนมาเป็นตามดูเวทนา เข้าสู่วิธีการสติปัฏฐาน4 ข้อเวทนานุปัสสติ ตามดูว่าเวทนาเกิดอย่างไร เกิดที่ไหนเวลาใดเกิดแล้วเป็นอย่างไร เกิดแล้วจะดับลงอย่างไรไล่เป็นจุดๆไปตามแล้วแต่มันจะเกิดของมัน แบบนี้่ในขณะที่ตามดูต้องอดทนต่อเวทนาที่เกิดด้วยว่ามีทุกขสภาพเป็นอย่างๆไร ในที่สุดก็จะเกิดปัญญารู้จริงรู้แจ้งในเวทนาที่เกิดทั้งหมด จนในที่สุดเวทนาที่เกิดก็ดับลงไป เกิดปัญญาปล่อยวางลงเองได้ในที่สุด วางเวทนาลงเพราะ เหตุแห่งกาย คือจิตเกิดปัญญาในรู้แจ้งแล้วในกายก็วางกายลง
เมื่อกายวางลง เวทนาก็ดับทันที แม้สัญญาเวทนาส่วนหนึ่งก็ดับลงเช่นกันครับ
สุดท้ายก็แล้วแต่ว่าท่านจะชอบแบบไหนก็ลองเลือกทำได้ครับ แต่ควรฝึกทั้งสองข้อนะครับจะได้เกิดปัญญามากครับ จะได้เป็นผู้ที่รู้แจ้งในเวทนา เป็นผู้ดับแล้วในเวทนาที่ปรากฏแก่จิตท่านครับ
ดังคำปรารภที่ว่า
เวทนาปรากฏตามเหตุปัจจัยแห่งกาย เวทนาจึงเสมือนคมมีดที่ทำร้ายกาย ก็ให้เป็นเรื่องของกาย พึงรักษาจิตไว้ อย่าให้เวทนานั้นกลายเป็นคมมีดที่คอยกรีดทำร้ายจิตของตนครับ สาธุ -
วันนี้ช่วงบ่ายอยากทำบุญผมก็คิดงานบุญไรดีหนอคิดไปคิดมาผมยังไม่ได้
บวชพระนี่นาทำบุญร่วมเป็นเจ้าภาพอุปสมบทหมู่ดีกว่าเลยโอนเงิน
ไปทำบุญ2งาน
http://palungjit.org/threads/โครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุ-101-รูป-วิศวฯ-จุฬาฯ-12-27-ต-ค-56-a.509843/
http://palungjit.org/threads/กำหนดก...วัดท่าขนุน-บวชจำพรรษา-๑๔-กรกฎาคม-๒๕๕๖.356704/
เพื่อถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
งานบุญละ200บาทอุทิศให้พ่อและผู้มีคุณทุกท่าน
ร่วมโมทนากันครับพี่และสหายธรรมที่เข้ามาอ่านทุกท่าน -
ขออนุญาตครับเห็นว่ามีประโยชน์
... สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าจึงเทศนาว่า ดูกรมหาบพิตร นรชนหญิงชายทั้งหลายมีใจเลื่อมใสศรัทธา
มาก่อสร้างสัพพาทานหลาย ๆ ชนิดเป็นต้นว่า
สร้างพระพุทธรูปก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
สร้างพระไตรปิฏกธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ได้อานิสงส์ ๑๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชตนเป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๒ กัลป
ผู้ไดได้บวชตนเป็นพระภิกษุ ก็จักได้ อานิสงส์ ๒๔ กัลป
ผู้ใดได้สร้างพระธาตุเจดีย์ก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดได้ปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ ก็จักได้อานิสงส์ ๙ กัลป
ผู้ใดให้โภชะนังยังข้าวน้ำ โภชนะอาหารให้เป็นทานแก่ภิกษุสามเณร ก็จักได้บริวารแสนหนึ่ง
ผู้ใดได้สร้างเจดีย์ทรายก็จักได้อานิสงส์ ๖๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกุฏีให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอุโบสถให้เป็น ทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐ กัลป
ผู้ใดสร้างกฐินให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๘๐ กัลป
ผู้ใดสร้างอารามให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๔๐กัลป
ผู้ใดสร้างพัทธสีมาให้เป็นทานก็จักได้อานิสงส์ ๑๐๐ กัลป
ผู้ใดได้บวชบุรุษผู้อื่นให้เป็นพระภิกษุก็จักได้อานิสงส์ ๘ กัลป
บวชบุตรตนเองให้เป็นภิกษุ ก็จะได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นสามเณร ก็จักได้อานิสงส์ ๑๖ กัลป
ภรรยาบวชสามีของตนให้เป็นพระภิกษุ ก็จักได้อานิสงส์ ๓๒ กัลป
สามีบวชภรรยาให้เป็นภิกษุณี ก็จักได้อานิสงส์ ๖๔ กัลป ฯลฯ
อานิสงส์การเป็นเจ้าภาพงานบวช (พระหรือสามเณร)
1. ย่อมได้เกิดเป็นมนุษย์ มีชาติตระกูลสูง
2. ย่อมได้เกิดในสถานที่รุ่งเรืองด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
3. ย่อมเป็นผู้มีศรัทธามั่นคง เป็นสัมมาทิฎฐิบุคคล
4. ย่อมเป็นผู้ทรงจำดี มีปฏิภาณว่องไว มีปัญญาดี
5. ย่อมมีอาชีพและกิจการเป็นหลักฐานมั่นคงตลอดไป
6. ย่อมเป็นผู้มีเสน่ห์ เป็นที่รักนับถือของมนุษย์และเทวดา
7. ย่อมปลอดภัยจากศัตรูหมู่พาลทั้งหลาย
8. ย่อมเป็นผู้มีร่างกายแข็งแรง สมส่วน สง่างาม
9. ย่อมมีอิสระเสรี มีอำนาจมาก
10. เมื่อยังไม่หมดกิเลส เมื่อตายไปย่อมไปเกิดในสวรรค์เป็นเทวดาหรือพรหม ดังนี้
- ให้ทาสบรรพาชาเป็นสามเณรได้ผลานิสงส์ 4 กัปป์ อุปสมบทเป็นภิกษุได้ผลานิสงส์ 8 กัปป์
- ให้บุตรบรรพชาเป็นสามเณรได้ผลานิสงส์ 8 กัปป์ อุปสมบทเป็นภิกษุได้ผลานิสงส์ 16 กัปป์
- ให้ภรรยาบรรพชาเป็นสามเณรี หรือให้สามีบรรพชาเป็นสามเณรได้ผลานิสงส์ 16 กัปป์
อุปสมบทเป็นภิกษุณีหรือภิกษุได้ผลานิสงส์ 32 กัปป์
บางท่านว่าไว้ดังนี้ : -
"สำหรับบิดามารดา (ให้ลูกบวชเป็นพระ) จะได้อานิสงส์คนละ 30 กัปป์
สำหรับคนที่ไม่ใช่พ่อแม่ เป็นเจ้าภาพบวชให้จะได้อานิสงส์คนละ 12 กัปป์ต่อ 1 รูป
สำหรับท่านที่ช่วยเขาคนละบาทสองบาทหรือช่วยด้วยกำลัง แรงอย่างนี้ มีอานิสงส์รูปละ 8 กัปป์"
11. ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุมรรคผล นิพพาน ได้ง่าย -
หลังจากที่ได้ตรวจสอบ พบสัจจะธรรมความจริงที่สำคัญมากเรื่องการจุติกาลเปลี่ยนภพภูมิ ซึ่งมี3ประเภทดังนี้คือ
1 การจุติกาลของจิตวิญญาณทั้งหลาย เป็นไปตามอายุไข วาระและวิบากกรรมเฉพาะของตนที่ตนได้กระทำไว้ในอดีต เมื่อวิบากรรมปัจจุบันเหล่านั้นหมดลง อันวิบากกรรมใหม่ที่จ่อรอให้ผลได้เวลา วิบากกรรมเหล่านั้นให้ผลก็จะเกิดจุติกาล ของตน เกิดขึ้น เกิดการไปจุติเปลี่ยนภพภูมิใหม่ กรณีนี้จะเกิดขึ้นกับจิตทั่วไปเป็นปรกติประมาณ90%ของการจุติเปลี่ยนภพภูมิ
2 การจุติกาล จะเกิดได้กรณีด้วยอาศัยกำลังบุญ จากผู้ทรงศีลหรือพระอริยะจะมีกำลังมากสามารถทำให้จิตเกิดดวงตาเห็นธรรม เกิดปัญญามากจิตสว่างมากทำให้หลุดพ้นจากวิบากกรรมชั่วขณะ ในสภาวะนี้เองหากบุญวาสนาเก่าที่ดีงามให้ผล ก็จะได้เปลี่ยนภพภูมิมีจุติกาลไปเกิดใหม่ทันที กรณีนี้จะเกิดขึ้นน้อยและเกิดขึ้นได้ยาก
3การจุติกาล จะเกิดได้กรณีเพราะอาศัย กำลังบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้และบุญนั้นมีกำลังมาก แต่กำลังที่มีมากดังกล่าวก็ยังไม่มากพอ[น้อยกว่าข้อ2]ที่จะหลีกหนีวิบากกรรมเก่าที่ตนกำลังรับใช้อยู่ แต่บุญดังกล่าวนี้สามารถช่วยชะลอกรรมและช่วยให้จิตมีสภาพที่สงบลงไม่ทุกข์ทรมานมาก จนที่สุดด้วยจิตที่สงบลงนั้น หากบุญกุศลที่อุทิศมาให้มีกำลังมากขึ้นเรื่อยๆสม่ำเสมอ พร้อมบุญกุศลเก่าได้จังหวะให้ผล เกื้อหนุน จึงเกิดจุติกาลของจิตเปลี่ยนภพภูมิใหม่ได้ทันที กรณีนี้จะเกิดขึ้นน้อยและเกิดขึ้นได้ยากมากครับ
ดังนั้นกรณีของคุณพ่อของคุณท่านอาศัยวิธีการในข้อที่3ครับเพราะบุญกุศลหลายอย่างที่คุณอุทิศให้สม่ำเสมอและวิบากกรรมเก่าให้ผลบรรจบพอดีกันครับ
ส่วนเรื่องอายุไข นั้นแม้ว่าชั้นจาตุ จะมีอายุไข500ปีทิพย์ แต่การเสวยอายุไขให้เต็ม500ปีทิพย์นั้นหาได้ยาก หากไม่เคยทำความดีไว้มากมายขั้นเต็มกำลัง เฉกเช่นท่านท้าวมหาราชทั้ง4 ตรงนี้กระผมได้ตรวจดูให้แล้วคุณพ่อคุณจะมีอายุไขอยู่ที่ประมาณ50ปีทิพย์เท่านั้น เพราะบุญเก่าเดิมสั่งสมไว้ไม่มากนัก นั่นเองครับ
ส่วนบุญกุศลใหม่ที่เราจะทำให้ท่านอย่างสม่ำเสมอนั้นก็มีอานิสงค์มากหากคุณได้บวชและปฏิบัติดี ตรงนี้จะช่วยเพิ่มอายุไขของคุณพ่อคุณได้ครับ แต่จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับกำลังความดีกำลังบุญที่อุทิศให้ท่านครับ สาธุ
-
ขอบคุณครับพี่ขออนุญาตถามเพิ่มเติมครับ
1.บุญสังฆทาน วิหารทาน บุญสร้างพระ งานบุญทุกอย่างเกี่ยวกับพระศาสนาที่ผมทำแล้วอุทิศให้ช่วยเพิ่มอายุไขให้พ่อได้อยู่นานขึ้นใช่ไหมครับ
2.บุญที่ผมกระทำมาทั้งหลายทั้งปวงด้วยความศรัทธาในพุทธศาสนาและตั้งใจอุทิศให้พ่อนั้นบุญที่ท่านได้โมทนาจะได้เท่ากับผมที่ตั้งใจทำด้วยความศรัทธาหรือไม่ครับ
3.บุญที่ใหญ่ที่สุดสำหรับลูกที่จะตอบแทนพระคุณพ่อนั่นคือการบวชพระและปฏิบัติดี ใช่ไหมครับ
4.บุญที่เกิดจากการภาวนาปฎิบัติตามแนวหลวงพ่อฤาษีก็มีอานิสงค์มากใช่ไหมครับ
5.หากครบ50ปีทิพย์แล้วจะจุติเป็นไรต่อครับหากไม่มีบุญมาสนับสนุน
ผมอยากช่วยพ่อให้ถึงที่สุดบุญอะไรที่ทำให้พ่ออยู่นานๆพี่ช่วยแนะนำผมด้วยครับ
หากหมดภพหมดชาตินี้ผมก็คงจะไม่ได้ช่วยอีกสมัยท่านยังไม่เสียท่านไม่ธรรมดาจริงๆครับท่านสร้างบุญไว้น้อยจิงๆครับ
ผมห่วงคนตายมากกว่าคนเป็นเพราะหากจุติหมดบุญจากนี้แล้วหากโชคไม่ดีไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์เกิดพุ่งหลาวลงนรกก็แย่เลยก็เลยคิดว่าให้ท่านตุนไว้เยอะๆก่อนครับ
ผมทั้งภูมิใจและดีใจปลาบปลื้มใจที่กันพ่อจากนรกได้ครับ
จากคำถามที่ผมถามมีเจตนาเดียวครับต้องการช่วยพ่อท่านเท่านั้นกำลังใจผมประมาณว่าชีวิตผมแลกกับการที่พ่อไม่ต้องลงนรกผมก็ยอมครับ
ขอขอบคุณพี่อีกหลายๆครั้งที่คอยช่วยตอบคำถามและคอยแนะนำโดยไม่รำคาญจริตชอบสงสัยของผม
ขอให้พี่เจริญในธรรมครับ -
วิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์ ความหมดจด
ในทางพระพุทธศาสนา มีการกล่าวถึง วิสุทธิ 7 ซึ่งหมายถึง ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นไปตามลำดับ เป็นการทำให้บริสุทธิ์ ด้วยการฝึกฝนตนเองที่เรียกว่าไตรสิกขา ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดมุ่งหมายคือนิพพาน มี 7 ขั้น คือ
ศีลวิสุทธิ หรือ ความหมดจดแห่งศีล คือ การถือศีลอย่างไม่งมงาย ละสีลัพพัตตปรามาส ด้วยการมีศรัทธาพละสมดุลกับปัญญาพละ ไม่ศรัทธาจนถืออย่างไม่เข้าใจ หรือมีปัญญามาก เกิดความลังเลสงสัย ได้แต่ถือแต่ใจกลับไม่มีศรัทธา
เพราะการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ตั้งใจรักษา ทำให้สามารถปฏิบัติ สมาธิกับวิปัสสนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้กล่าวถึง ปาริสุทธิศีล 4 ซึ่งหมายถึง ความประพฤติบริสุทธิ์ที่จัดเป็นศีล มีสี่ข้อ ได้แก่
1.ปาฏิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นจากข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต ตลอดจนประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบท (คือ ศีลและมารยาทที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกนั่นเอง)
2.อินทรียสังวรศีล หมายถึง ศีลคือความสำรวมอินทรีย์6 ระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมเกิดขึ้นได้ ในขณะที่รับรู้อินทรีย์ทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
3.อาชีวปาริสุทธิศีล หมายถึง ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีพในทางที่ชอบธรรม
4.ปัจจัยสันนิสิตศีล หมายถึง ศีลที่เกี่ยวกับปัจจัยสี่ คือ การพิจารณาใช้สอยปัจจัย ให้เป็นไปตามประโยชน์ที่แท้ของสิ่งนั้น ไม่บริโภคด้วยตัณหา เช่น ไม่บริโภคด้วยความอยากรับประทาน ไม่บริโภคด้วยความอยากอยากใช้สอย
จิตตวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งจิต คือ จิตที่สมดุล เพราะวิริยะพละเสมอกับสมาธิพละ ทำให้สมาธิก็สมดุล วิริยะก็สมดุล เป็นปัจจัยให้สติกำหนดรู้อยู่ในปัจจุบันขณะได้อย่างพอดี ไม่ไปในอนาคตเพราะวิริยะมีมาก ไม่อยู่ในอดีตเพราะสมาธิมีกำลังมากไป เป็นการฝึกอบรมจิตจนบังเกิดขณิกสมาธิที่ปราศจากนิวรณ์ เพราะสติต่อเนื่องจนนิวรณ์ไม่สามารถเข้าแทรกในจิตได้ อันเป็นปทัฏฐานที่สำคัญ ทำให้เจริญวิปัสสนาได้ง่าย
ทิฏฐิวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง เห็นรูปธาตุและนามธาตุเป็นคนละธาตุกันอย่างชัดเจน เป็นเหตุข่มความเข้าใจผิดว่ารูปขันธ์นี้เป็นเราเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด
กังขาวิตรณวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้แล้วจึงสิ้นสงสัย เห็นปฏิจจสมุปบาท
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องรู้เห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง จิตรับรู้ถึงกระแสแห่งไตรลักษณ์ได้
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน (วิปัสสนาญาณ 9)รู้ทุกขอริยสัจจ์ทั้ง๘ระดับจึงรู้สมุทัยอริยสัจจ์ทั้ง๘ จึงรู้นิโรธอริยสัจจ์ทั้ง๘ จึงรู้มรรคอริยสัจจ์ทั้ง๘ และพิจารณาทั้งสิ้นพร้อมกัน (สามัคคีธรรม)เมื่อถึงสัจจานุโลมมิกญาณ คือหมุนธรรมจักรทั้ง๘ และพิจารณาดุจผู้พิพากษาพิจารณาเหตุทั้งสิ้น
ญาณทัสสนวิสุทธิ หมายถึง ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ คือการปฏิบัติบริบูรณ์จนก้าวผ่านภูมิจิตเดิมคือโคตรภูญาณและวิทานะญาณ ได้ความรู้แจ้งในอริยมรรคหรือมรรคญาณ ความบรรลุเป็นอริยบุคคลหรือผลญาณ พิจารณาธรรมที่ได้บรรลุแล้วคือปัจจเวกขณะญาณ ย่อมเกิดขึ้นในวิสุทธิข้อนี้ เป็นอันบรรลุผลที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ครับ สาธุ
-
ขอคำแนะนำในการนั่งภาวนาหน่อยครับ
เวลานั่งแล้ว ชอบคิดไปเรื่องอื่น ๆ ตลอดเวลา ทำยังไงถึงจะให้ไม่คิดครับ -
-
ขอบคุณครับพี่ก้องผมจะได้วางกำลังใจใหม่ -
ในบางครั้งผมสามารถสู้กับเวทนาได้ บางครั้งก็พ่ายแพ้
จะลองปฏิบัติตามครับ
เจริญในธรรมครับ -
ขออนุโมทนาครับ การสู้ที่มีแพ้บ้างชนะบ้าง ก็ยังดีครับ ทำให้เรามีกำลังใจขึ้นมาก หากเมื่อไหร่ที่เราเริ่มจะชนะได้บ้างแล้ว นั่นย่อมแสดงว่าเรามาถูกทางแล้วครับ ขอให้มีความเพียรพยายามต่อไปจะสำเร็จได้ในที่สุดครับ สาธุ -
Jasmin99999 วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน
คิดเหมือนกันเลยค่ะ
ขอบคุณอย่างยิ่งในธรรมทานที่คุณ tjs เสียสละะวลามาให้ความรู้แก่ทุกๆคนนะคะ -
ถ้านั่งสมาธิแล้ว สมาธิมันไม่เกิดเพราะมันสงบไม่ลง มันฟุ้งซ่าน ควบคุมมันไม่ได้ มีวิธีแก้อุบาย3วิธีคือ
1 ให้สู้กับมันดูก่อน ฉันจะชนะมันหรือไม่ไอ้อารมณ์ฟุ้งซ่านที่ว่า สู้กับมันด้วยการพยายามควบคุมสมาธิ พลาดแล้วก็กลับมาคุมใหม่ ทำอย่างนี้เรื่อยไป คือถ้ารู้ว่าหลุดรู้ว่าล้มเมื่อไหร่ให้รีบดึงกลับมาให้รีบลุกขึ้นแบบนี้ สู้กันแบบถี่ๆไม่ยอมปล่อยดูซิมันจะไหวไหม๊ คือพอมันชำนาญแล้วจะคุมได้เองแล้วอารมณ์ใดๆก็ไม่สามารถเข่้ามากระทบจิตได้ สมาธิจึงเกิดเป็นปรกติครับ
2 ให้เปลี่ยนเป็นทำสมาธิแบบใหม่ อาศัยการเพ่งในสิ่งที่เราชอบ เช่น การเพ่งภาพพระ หรือการฝึกกสิน เป็นต้น เอาสมาธิแบบกสินมาช่วย เช่นชอบเปลวเทียนอันเป็นไฟสว่างเหลืองส้มนวล ก็ให้เปลี่ยนเป็นฝึกเพ่งดี หรือชอบภาพพระพุทธเจ้าก็ดี แล้วหลับตาจำภาพและดูภาพเหล่านั้น ก็จิตมันชอบแบบนั้น ก็ให้มันอยู่อย่างนั้นด้วยสติและจิตจดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น เมื่อทำได้แล้ว เรื่องอื่นๆที่มันเคยฟุ้งซ่านก็ดับไปเองโดยอัตโนมัติ เมื่อฝึกเข้าสมาธิได้ชำนาญ การควบคุมสมาธิในครั้งต่อๆไปก็จะชำนาญและทำได้ง่ายในที่สุด สามารถตัดหรือปล่อยวางเรื่องต่างๆลงได้ง่ายเพราะชำนาญแล้วเป็นต้น สมาธิก็เกิดขึ้นและรวมสมาธิเป็นหนึ่งได้ไม่ยากครับ
3 แก้ไขด้วยการแก้เคล็ดแบบพลิกฝามือหรือแค่เปลี่ยนวิธีคิด คือเราไม่ต้องไปกังวลกับอารมณ์ที่มันวิ่งเข้ามามากมายในระหว่างทำสมาธิ ไม่ต้องไปห้ามหรือควบคุมอะไรอีกต่อไป แต่ให้เปลี่ยนใหม่คือ วันนี้เราจะเดินสมาธิแบบปล่อยวางไม่ควบคุมอะไร แต่เราจะหลับตาลงและนั่งดูว่า คืนนี้มันจะมีอารมณ์อะไรวิ่งเข้ามาบ้าง อะไรวิ่งเข้ามาเราแค่ดูเฉยๆ รู้เฉย ดูมันไป ดูหรือตามรู้ให้หนำใจ ดูมันเยอะๆดูทุกอารมณ์อย่าให้พลาด แต่การตามดูนี้แค่บังคับสติและจิตไว้ให้ไม่ไหลตาม มีสติแค่การดูหรือรู้เฉยๆเท่านั้น ทำอย่างนี้ เมื่อทำได้อย่างนี้ อารมณ์ทั้งหลายมันก็เกิดมีผุดออกมาก็เป็นธรรมดาของมัน เดียวมันก็เกิดๆดับๆเอง พอทำไปก็เกิดปัญญารู้ทันการเกิดดับในอามรณ์ที่มากระทบทั้งหลาย ก็เบื่อหน่าย อารมณ์เหล่านั้นเดี่ยวมันก็ดับสนิทเอง ทีนี้สมาธิก็สงบรวมตัวลงได้เอง เป็นสมาธิระดับฌาณต่อไปได้เอง ครับ สาธุ
-
จะลองทำดูครับ -
วันนี้ขอกล่าวถึง บารมี ที่เรียกว่าขันติบารมี ซึ่ง จัดได้ว่าเป็นบารมีข้อหนึ่งที่ ทำได้ยาก
อันขันติบารมีหรือความอดทนอดกลั้นนั้น เป็นการข่มใจ ข่มวาจา ข่มกายของตนไว้ ไม่ให้กระทำบาปกรรม หรือกระทำผิดศีลธรรม อาการอดทน ข่มใจนั้น หากกิเลสมารมีกำลังมาก ประกอบกับชะตากรรมไม่ดีให้ผลหนักหน่วงมาก ขันติบารมีก็ต้องฝึกฝนอย่างมากเช่นกัน หากไม่สามารถอดทนข่มใจข่มอารมณ์ไว้ได้ ก็จะกลายเป็นระเบิดปะทุออกมา ทำให้จิตขาดสติ ทำร้ายหรือทำลายหรือทำผิดศีลธรรมได้ทันที อย่างนี้คือยังมีขันติยังไม่แก่กล้ามีกำลังมากพอ
การสร้างขันติบารมีนั้น จากที่กระผมได้ฝึกฝนเรื่องนี้ เห็นประโยชน์อัศจรรย์อย่างยิ่งว่า
เมื่อเราอดทนอดกลั้นมีการข่มใจมากขึ้นมากขึ้น จะปรากฏเห็นว่า เมื่อเราสามารถอดทนข่มใจได้ นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่ เป็นส่วนสำคัญในการควบคุมขัดเกลาจิตของตนไม่ให้ทำผิดศีลธรรม ไม่ให้ไหลไปตามอารมณ์ที่มากระทบ ได้นั่นเองครับ
เมื่อเราอดทนอดกลั้นมีการข่มใจมากขึ้นมากขึ้น จิตจะเข้าถึงธรรมอื่นๆประกอบด้วยเสมอได้แก่ อุเบกขา ย่อมเป็นผู้รู้จักปล่อยวางคือทำใจให้เป็นกลาง และจิตเข้าถึง อภัยทาน ไม่คิดพยาบาท มีจิตเมตตากรุณา เป็นต้น
ดังนั้นการฝึกฝนหรือสร้างขันติบารมีจึงมีอานิสงค์มาก ต่อการอบรมควบคุมจิตและขัดเกลาจิตอย่างหนึ่งครับ สาธุ -
สวัสดีค่ะ คุณก้อง ขอคำแนะนำหน่อยนะคะ เพิ่งทำบุญครบร้อยวันให้คุณแม่ไป น้องสาวก็เล่าให้ฟังว่้าฝันเห็นแม่โดนจับมัดเหมือนหมู และดึงเนื้อออกมา เค้าก็ว่าคนที่ทำร้ายแม่ แต่แม่บอกไม่เป็นไร กำลังใช้กรรม ไม่เจ็บหรอก แม่ทำบุญมาเยอะ พี่ก็สวดมนต์ก่อนนอน อุทิศให้แม่ ชื่อนางกิม แซ่เห่ง ค่ะ คือน้องสาวไม่รุว่าสมัยก่อนที่บ้านเคยเลี้ยงหมูค่ะ มีทางใดที่จะช่วยแม่ได้บ้างคะ และพี่เองก็เบื่องานที่ทำมาก ไม่เคยเป็นแบบนี้เลย นั่งสมาธิก็แป๊บเดียว เวทนาเกิด เจ็บขา ชา ทนไม่ได้ ต้องลืมตา ก็ผ่านไปไม่กี่นาทีเอง ขอคำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณในธรรมทานของคุณมากๆๆ อ่านมาตลอดและนำมาปฏิบัติด้วย แต่ยังต้วมเตี้ยม ไม่รู้ว่ายังติดค้างอะไรใครอยู่อีกเท่าไร ตั้งใจขอชดใช้ให้หมดในชาตินี้
-
การให้ทาน ที่มีเจตนาที่ดีที่แตกต่างกัน ย่อมให้ผลไปเสวยทิพยวิมานที่แตกต่างกัน
แต่สิ่งที่สอดคล้องกันและสำคัญมากที่สุดคือการทรงอารมณ์จิตให้มีความดีเกิดขึ้นเป็นปกติอย่างนั้นให้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะแท้จริงแล้วแม้อานิสงค์แห่งทานจะทำให้เราได้ไปเสวยทิพยวิมานตามที่ได้กระทำเหตุไว้แล้วนั้น แต่ทว่าหากภูมิจิตภูมิธรรมของเรายังด้อยอยู่ยังต่ำอยู่ การไปเสวยทิพยวิมานก็จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่สามารถเข้ากับผู้อื่นในชั้นเดียวกันได้ เพราะจิตของตนยังบกพร่องในความดี ยังไม่สามารถเข้าใจและทำหน้าที่ที่ดีของตนได้ แม้ทานที่ทำดีงามส่งเราไปทิพยวิมานแล้ว แต่จิตเรายังต่ำอยู่ก็จะกลายเป็นฝืนจิตใจตนเอง จะเกิดการไม่เข้าใจและต่อต้านความคิดอันดีงามของผู้อื่นนั่นเอง
อุปมาดั่ง ยาจกโชคดีด้วยบุญเก่าให้ผลกลับกลายเป็นเจ้าเมือง แต่ยาจกไม่ได้ฝึกอบรมปัญญาทางจิตมา เมื่อไปปกครองเมืองก็อยู่อย่างไม่มีความสุข ปกครองผู้อื่นไม่ได้ เข้ากับผู้อื่นไม่ได้ สุดท้ายก็ไม่สามารถทนอยู่ได้ ย่อมเป็นทุกข์ต่อไปครับ
ดังนั้นสิ่งสำคัญคือนอกจากทำทานดีงามแล้ว ต้องฝึกอบรมจิตตนให้สูงด้วย เมื่อจิตสูงแล้ว จะไปอยู่ ณทิพยวิมานใด เหล่าทวยเทพก็สาธุการ อนุโมทนาสาธุครับ
สิ่งที่กระผมกล่าวมานี้ คือคำสอนของท่านท้าวมหาพรหมปรเมศวรหรือท่านท้าวมหาพรหมเปิดโลก บรมครูฝ่ายเทพพรหมครับ ท่านกล่าวสอนแก่กระผมไว้อย่างนี้ครับ สาธุ
หน้า 19 ของ 140