เมื่อภรรยาได้เป็นพระอรหันต์

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย คนหลงเงา2, 17 มกราคม 2018.

  1. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    เมื่อภรรยาได้เป็นพระอรหันต์

    ..........................................

    ในเรื่อง “เมื่อภรรยาได้เป็นพระอรหันต์” นี้ ผมอ่านพบในหนังสือ “ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๕” รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน พระธรรมตอนนี้อยู่ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๕ ข้อ ๑๕

    “คุณหมอสมศักดิ์ ท่านได้กล่าวถึงเรื่องของคุณจันทนา วีระผล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อท่านหนึ่ง คุณจันทนา ชอบทำบุญในด้านแสงสว่างมาก เมื่อหลวงพ่อสอน
    มโนมยิทธิ ก็ฝึกได้ทั้งมโนเล็ก และมโนใหญ่คล่องตัวเมื่อร่างกายเจ็บป่วย ก็ใช้มโนใหญ่ออกไปหาพระยายมราช ขอดูบัญชีบุญและบาป ปรากฎว่าบัญชีบาปปิดไปนานแล้ว คือพ้นนรกนานแล้ว
    จึงขอดูบัญชีอายุขัยว่า อีกกี่ปีจึงจะตาย ในบัญชีบอกว่า อีก ๑๒ ปี จะต้องเจ็บ ๆ หาย ๆ อยู่อย่างนี้ไปอีก ๑๒ ปี ท่านก็ตัดสินใจไม่ขอกลับเข้าไปอยู่ในกายเนื้ออีก เพราะออกมาแล้วขอไปพระนิพพานเลย

    ต่อมาสามีของท่านคือ คุณสุวรรณ วีระผล มาฝึกมโนมยิทธิกับหลวงพ่อก็ฝึกได้ดี จึงใช้วิชชามโนมยิทธินี้ไปพบภรรยา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ เท่ากับเป็นสังฆานุสสติ คุณจันทนา สอนสามีให้จงอย่ากลัวตาย เราคือจิตเป็นอมตะไม่เคยตาย ผู้ตายคือร่างกาย (ขันธ์ ๕) มันหาใช่เรา-หาใช่ของเราไม่ ท่านสอนสามี ๒ ครั้ง ย้ำธรรมะจุดนี้ คุณสุวรรณ รักภรรยามาก ก็เชื่อฟังและปฏิบัติตามทุกประการ คือ วางร่างกาย (ขันธ์ ๕ ) ได้ตัวเดียวก็ไปพระนิพพานได้ เพราะสิ่งที่เรารักที่สุดในโลก ก็คือตัวเรา หากวางมันได้ก็จบกิจ หลวงพ่อฤๅษีท่านคงมาบอกว่า คุณสุวรรณไปพระนิพพานได้ เพราะรักเมียมาก”

    รายละเอียดเป็นอย่างไรท่านลองอ่านดูนะครับ

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ

    ......................................

    ๑๕. ภรรยานุสสติ ความโดยย่อมีดังนี้ คุณจันทนา วีระผล ในอดีตชาติเป็นพี่สาวของท่านแม่ศรี ซึ่งขณะนี้อยู่พระนิพพานแล้ว เจ๊จันทนา ท่านทำบุญหนักมาทุกๆ ชาติ โดยเฉพาะท่านชอบทำบุญเรื่องแสงสว่างให้กับพระพุทธศาสนา มีผลทำให้จิตใจท่านสว่าง-ฉลาด-มีปัญญาตัดกิเลสได้คล่องตัว ในชาติสุดท้ายท่านก็ทำบุญแสงสว่าง คือ พวงแก้วเจียรนัย ขนาดใหญ่และเล็กในวิหารแก้ว ๑๐๐ เมตร ของหลวงพ่อท่านเป็นส่วนใหญ่ หากหลวงพ่อไม่ห้ามไว้ เจ๊จันทนา ก็จะขอจองไว้ทั้งหมด เมื่อหลวงพ่อฝึกมโนมยิทธิให้ ก็สามารถปฏิบัติได้ทั้งมโนเล็ก และมโนใหญ่คล่องตัว เมื่อร่างกายเจ็บป่วย เจ๊ก็ใช้มโนใหญ่ออกไปหาลงุพุฒิ หรือเจ้าพระยายมราช ขอดูบัญชีบุญและบาป ปรากฎว่าบัญชีบาปปิดไปนานแล้ว คือพ้นนรกนานแล้ว จึงขอดูบัญชีอายุขัยว่า อีกกี่ปีจึงจะตาย ในบัญชีบอกว่า อีก ๑๒ ปี จะต้องเจ็บ ๆ หาย ๆ อยู่อย่างนี้ไปอีก ๑๒ ปี เจ๊ก็ตัดสินใจว่าหากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ขอกลับเข้าไปอยู่ในกายเนื้ออีก เพราะออกมาแล้วขอไปพระนิพพานเลย

    ท่านมีมรณากับอุปมานุสสติทรงตัว จึงเข้าสู่พระนิพพานได้แบบง่ายๆ สามีของท่านคือ คุณสุวรรณ วีระผล มาฝึกมโนมยิทธิกับหลวงพ่อก็ฝึกได้ดี จึงใช้วิชชามโนมยิทธินี้ไปพบเมีย ซึ่งเป็นพระอรหันต์ เท่ากับเป็นสังฆานุสสติ เมียสอนสามีให้จงอย่ากลัวตาย เราคือจิตเป็นอมตะไม่เคยตาย ผู้ตายคือร่างกาย (ขันธ์ ๕) มันหาใช่เรา-หาใช่ของเราไม่ เจ๊สอนสามี ๒ ครั้ง ย้ำธรรมะจุดนี้ คุณสุวรรณ รักเมียมาก ก็เชื่อฟังเมียและปฏิบัติตามเมียทุกประการ คือ วางร่างกาย (ขันธ์ ๕ ) ได้ตัวเดียวก็ไปพระนิพพานได้ เพราะสิ่งที่เรารักที่สุดในโลก ก็คือตัวเรา หากวางมันได้ก็จบกิจ หลวงพ่อฤๅษีท่านคงมาบอกว่า คุณสุวรรณไปพระนิพพานได้ เพราะรักเมียมาก มีภรรยานุสสติ (ภรรยาเป็นพระอรหันต์ จึงเป็นสังฆานุสสติด้วย และเป็นพระรัตนตรัยด้วย)

    .......................................

    ข้อมูลจาก

    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๕ รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน พระธรรมตอนนี้อยู่ในเดือนธันวาคม ๒๕๔๕ ข้อ ๑๕

    .........................................

    หนังสือ ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑ถึง๑๗

    หาข้อมูลได้จากเวบนี้ครับ.....

    http://www.tangnipparn.com/page_book_all.html

    ถ้าเป็นเสียงตอนนี้มีเล่ม ๗/ ๘/ ๑ /๑๑/๑๔/๑๕ หาได้จาก youtube

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น

    ต้องขอโมทนาทุกท่านที่ช่วยเผยแพร่พระธรรมของพระพุทธเจ้าหรือ

    หลวงพ่อหรือพระอริยะเจ้าทั้งหลายในทุกรูปแบบทั้งทางหนังสือและอินเตอร์เน็ต

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านครับ

    ..........................................
     
  2. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    เพราะเหตุใดพระองค์จึงสอนแต่อริยสัจ



    สมเด็จองค์ปัจจุบัน ทรงมีพระเมตตา ตรัสสอน โดยให้หลักไว้ดังนี้

    ๑. อริยสัจ คือ ความจริงที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเหมือนกันหมด เพราะอริยสัจเป็นตัวปัญญาสูงสุดในพระพุทธศาสนา และมีแต่เฉพาะพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นๆ ไม่มี

    ๒. พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ล้วนแต่ตรัสรู้ด้วยอริยสัจด้วยกันทั้งสิ้น แม้แต่พระสาวกของพระพุทธองค์ทุกท่าน ก็ล้วนจบกิจเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยอริยสัจ มีทางนี้ทางเดียว ทางอื่นไม่มี

    ๓. ที่พวกเจ้าสงสัยว่า เพราะเหตุใดพระองค์จึงสอนอริยสัจกับพรหมและเทวดา ซึ่งไม่มีขันธ์ ๕ ก็เท่ากับท่านไม่มีทุกข์ในขณะนี้ คำตอบก็คือ เพราะพรหม - เทวดา - นางฟ้า ยังมีอารมณ์ไม่ถึงที่จะจบกิจได้ จึงเรียกว่ายังมีทุกข์อยู่

    ๔. ที่พวกเจ้าสงสัยว่าขึ้นมาครั้งใด ก็ทรงเทศน์อยู่เรื่องเดียว คือ อริยสัจ คำตอบก็คือ นอกจากอริยสัจแล้ว ก็ไม่มีอันใดจักสอนอีกในพระพุทธศาสนานี้ เพราะฉะนั้นตถาคตเจ้าจักตรัสสอนกี่แสนครั้ง ก็ย่อมไม่พ้นจากอริยสัจ

    ๕. อริยสัจแปลว่าความจริง หรือของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านพิสูจน์แล้ว ดังนั้น ทุกสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสสอน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จึงล้วนเป็นอริยสัจทั้งหมด หรือเป็นหนทางที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ทั้งสิ้น

    ๖. พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์มีความดีเสมอกันหมด ทรงมี พุทธญานหรือ สัพพัญญูญาณ แต่พระองค์เดียวในโลก จึงสามารถรู้จริต - นิสัย (นิสสัย) และกรรมของแต่ละคนที่เกิดมามีแตกต่างกัน ไม่เสมอกันในแต่ละคน จึงต้องมีคำสั่งสอนให้เหมาะแก่จริต-นิสัยและกรรมของแต่ละคน ซึ่งไม่เสมอกัน ด้วยอุบายมากถึง ๘๔,๐๐๐ วิธี ทุกวิธีก็ล้วนเป็นอริยสัจ

    ๗. ที่พวกเจ้าสงสัยว่า มีพรหม - เทวดา - นางฟ้า บรรลุมรรคผลบ้างไหม คำตอบก็คือ มีอยู่ไม่น้อย และมีอยู่ทุกวันที่บรรลุมรรคผล แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีไม่น้อยที่จุติเคลื่อนไปสู่เบื้องต่ำทุกวันเช่นกัน เพราะธรรมของตถาคตเป็น ปัจจัตตัง ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก ทำได้หรือไม่ได้ก็เรื่องของผู้นั้น

    ๘. อย่าลืม อัปปะมาเทนะ สัมมาเทถะ ผู้เข้าถึงความไม่ประมาทเท่านั้น จึงจักยับยั้งการจุติเคลื่อนไปสู่สภาพเบื้องต่ำได้ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีบารมีธรรมถึงพระอนาคามีผลแล้ว การจุติเคลื่อนไปสู่เบื้องต่ำก็ยังคงมีอยู่ ยกเว้นบุคคลที่ตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ข้อแรกได้แล้วเท่านั้น

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กันยายนตอน ๒

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    -----------------------
     
  3. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    พระพุทธเจ้าท่านความจริงเป็นคนไทย

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    .....................


    ข้อมูลจาก
    จากหนังสือธรรมปฏิบัติ เล่ม ๑๗ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    .....................................

    ในสมัยหนึ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาประทับสำราญอิริยาบถ
    ท่านโกมารภัจจ์ได้ยินข่าวว่า
    เมืองทวาราวดี เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรือง
    มีขนบธรรมเนียมประเพณีดี
    มีภาษาพูดเพราะ ก็อยากจะไปเที่ยว
    เมืองทวาราวดีคือเขตไทยทางด้านนครปฐม
    แต่ว่าทวาราวดีเวลานั้น
    ก็กินเขตแดนเกือบทั้งหมดของเมืองไทยนี่เอง

    เวลานั้นเขาไม่เรียกเมืองไทย
    เขาเรียกตามชื่อเมืองว่า เมืองทวาราวดี
    ท่านหมอชีวกโกมารภัจจ์
    ทูลลาองค์สมเด็จพระชินสีห์
    ไปเที่ยวที่เมืองทวาราวดีอยู่เกือบ ๒ ปี
    ตอนนั้นท่านเป็นพระโสดาบันแล้ว
    คือว่าการเป็นพระโสดาบันนี่เป็นไม่ยาก
    คือ


    ๑. นึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๒. เคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม
    ในพระอริยสงฆ์
    ๓. มีศีล ๕ บริสุทธิ์
    ๔.
    จิตใจต้องการพระนิพพานเป็นอารมณ์


    พระโสดาบันเขาเป็นกันแค่นี้นะ
    ทุกคนก็เป็นได้

    เมื่อมาถึงทวาราวดี อยู่ประมาณเกือบ ๒ ปี
    ท่านก็กลับ กลับแล้วก็ไปเฝ้า
    องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ว่าชาวเมืองทวาราวดีนี่มีภาษาพูดที่เพราะมาก
    เป็นภาษาโดด คือพูดเป็นคำๆ
    อย่างคำว่าไปก็ไป กินก็กิน
    อย่างเวลานั้นภาษาแขกหรือชาวมคธ คำว่า “ไป” เขาก็พูดว่า “คันตวา”


    มันเป็นคู่

    “กิน” เขาก็พูดว่า“ภุญชติ” ภุญชติล่อไป ๓
    คำ กลั้วกัน คันตวาล่อไป ๓ คำ
    ของเราไป ของเรากิน
    มันเป็นคำโดด พอกราบทูลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าภาษาทวาราวดีเขาพูดเพราะ พูดช้าๆ ฟังสบายๆ และก็เป็นภาษาโดด


    พระพุทธเจ้าจึงถามว่า ทวารวดีเขาพูดกันอย่างไร ลองพูดให้ฟังซิ

    ท่านโกมารภัจจ์ก็พูดให้ฟัง


    พระผู้มีพระภาคเจ้าก็พูดภาษาทวาราวดี
    คุยกับท่านโกมารภัจจ์อยู่พักหนึ่ง
    รู้สึกว่าสนุกสนานมาก


    ท่านโกมารภัจจ์ก็สนุก ทว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจะสนุกหรือไม่สนุกก็ไม่ทราบ แต่เวลาคุยกับท่านโกมารภัจจ์ท่านคุยเป็นกันเอง คงจะสนุกเป็นพิเศษ

    คุยกันไปคุยกันมา ท่านโกมารภัจจ์นึกขึ้นมาได้ว่า สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดานี้ เป็นลูกชาวกรุงกบิลพัสด์ อยู่อินเดีย ที่พูดภาษาทวาราวดีนี่ได้เพราะอาศัยปฏิสัมภิทาญาณ หรือความรู้เดิมกันแน่ แล้วความจริงปฏิสัมภิทาญาณนี่เขารู้ภาษาทุกภาษา แม้แต่ภาษาสัตว์ทุกประเภท จึงกราบทูลองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ว่า

    ที่พระองค์ตรัสภาษาทวาราวดีนี่ รู้มาเองหรือว่า รู้ด้วยอำนาจปฏิสัมภิทาญาณ
    หรือว่ารู้ด้วยการพูดได้เป็นภาษาเดิม
    หรือเรียนมาจากไหน

    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาจึงได้ตรัสว่า

    โกมารภัจจ์ ภาษาทวาราวดีนี่
    เป็นภาษาเดียวกับชาวกรุงกบิลพัสด์ใช้เป็นภาษาพื้นเมือง
    ฉะนั้นท่านโกมารภัจจ์ก็ทูลถามว่า
    ถ้าเช่นนั้น ชาวกรุงกบิลพัสด์
    ก็เป็นเชื้อสายเดียวกับทวาราวดีใช่ใหม


    องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาก็ตรัสว่า ใช่ คือชาวกรุงกบิลพัสด์ก็ดี
    ชาวกรุงทวาราวดีก็ดี เป็นเชื้อสายเดียวกัน
    คือ พูดภาษาไทยเหมือนกัน
    นี่ขอบรรดาท่านทั้งหลายได้โปรดทราบว่า


    พระพุทธเจ้าท่านความจริงเป็นคนไทย เขาเรียกว่าไทยอาหม

    ..........................................

    ข้อมูลจาก
    จากหนังสือธรรมปฏิบัติ เล่ม ๑๗ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    .........................................
     
  4. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    หมาที่ยังมีชีวิตอยู่ มันโมทนาได้หรือ

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม / หลวงปู่วัย จัตตาลโย

    ----------------------

    หมายังมีชีวิตอยู่ มันโมทนาได้หรือ

    ที่มาหรือต้นเหตุของธรรมจุดนี้เกิดจากหลวงปู่วัย จัตตาลโย ท่านเตือนแม่ชี ชอ.ช้าง ความว่า

    ๑. จงอย่าประมาทในความตาย หมายความว่าขณะนี้ร่างกายมันเจ็บป่วยอยู่ กายมันจะพังเมื่อไหร่ก็ได้ ทำไมจึงยังไม่เอาจิตเกาะพระธรรม อันเป็นนิพพานสมบัติ

    ๒. ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องเห็นว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรที่มีค่าเหนือยิ่งกว่าพระธรรม หรือนิพพานสมบัติ และนิพพานสมบัตินี้จะไม่เกิดกับผู้มีความประมาทได้เลย

    ๓. อย่าลืม สุดยอดของพระไตรปิฎกก็คือ ความไม่ประมาท ๘๔๐๐๐ บทที่พระองค์ตรัสสอนไว้ ย่อแล้วเหลือประโยคเดียว คือ จงอย่าประมาทนั่นเอง

    ๔. ผู้ที่ร่วมไปกับแม่ชี ชอ.ช้าง เกิดสงสัยว่า หมาที่ยังมีชีวิตอยู่ มันโมทนาได้หรือ หลวงปู่ท่านก็สอนว่า เอ็งนี่มันดูถูกหมาเกินไป อาศัย พุทโธ - ธัมโม - สังโฆ อัปปมาโณ ทำไมมันจะโมทนาไม่ได้ หมาวัดท่าซุงโมทนาได้อย่างไรหมาวัดหลวงปู่ก็โมทนาได้อย่างนั้น

    ในคืนวันนั้น สมเด็จองค์ปฐม ก็ทรงพระเมตตา ตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ดังนี้

    ๑. การที่เจ้าสงสัยว่า สุนัขจักโมทนาผลบุญได้หรือไม่นั้น เท่ากับเจ้าสงสัยในอานุภาพของ พุทโธ - ธัมโม - สังโฆ อัปปมาโณ ด้วย (เพื่อนผมก็กราบขอขมาพระองค์ท่าน) แล้วทรงตรัสว่า อย่างนี้เรียกว่า รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เจ้าดูสภาพกายในของสุนัขเจ้าสุนัขตัวนี้ซิ ทรงเมตตาให้เห็นภาพเทวดาที่มีเครื่องประดับแพรวพราวทั้งตัว ยืนพนมมือซ้อนภาพสุนัขอยู่

    ๒. ทรงตรัสว่าสัตว์เดรัจฉาน มิใช่สัตว์ในมหานรก ถ้าหากผู้ทำบุญทำกุศลมีความฉลาดในการขอพึ่งบารมี พุทโธ - ธัมโม - สังโฆอัปปมาโณ เป็นสื่อการอุทิศผลบุญกุศลนั้นให้แก่สัตว์เดรัจฉาน ก็ย่อมจักทำได้ และมีผลที่สัตว์เดรัจฉานตัวนั้นจักโมทนาได้

    ๓. แม้การสื่อภาษาจิต โดยอาศัย พุทโธ - ธัมโม - สังโฆอัปปมาโณ โดยผ่านภาษาสมมุติในคนและสัตว์เดรัจฉานก็ย่อมทำได้ เพราะภาษาจิตเป็นภาษาหลัก สื่อจิตถึงจิตได้ โดยไม่ติดภาษาสมมุติ และไม่ติดกายสมมุติ อันเป็นกฎของกรรมที่จิตแต่ละดวงไปจุติติดอยู่ตามนั้น

    ๔. การอาศัยพึ่งบารมี พุทโธ - ธัมโม - สังโฆอัปปมาโณ ซึ่งเป็นวิมุติแล้ว ธรรมสมมุติก็ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางได้แต่ประการใด แต่ทุกประการจักต้องไม่พ้น คือ เกินวิสัยกฎของกรรม จึงจักช่วยได้

    ๕. กฎของกรรมนั้นเที่ยงเสมอ และให้ผลไม่ผิดตัวด้วย เมื่อพวกเจ้าเข้ามาในเขตพระพุทธศาสนาแล้ว จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม กฎของกรรมแต่อดีตชาติที่จักส่งผลกระทบร่างกายนี้ มันยังตามมาอีกมาก ไม่ว่าจักเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม กฎของกรรมย่อมเที่ยงอยู่เสมอ เพราะฉะนั้น จงอย่าประมาทในกรรม อย่าสร้างกรรมใหม่อันเป็นอกุศลให้เกิดทางกาย-วาจา-ใจ ให้ระมัดระวังจิต อย่าหวั่นไหวในผลของกรรมเก่าที่จักส่งผลสนองมาในปัจจุบัน

    ๖. โลกธรรม ๘ ที่เกิดขึ้นแก่จิตของพวกเจ้าได้ เพราะเป็นผลกรรมที่พวกเจ้าล้วนกระทำเอาไว้เอง สิ่งเหล่านี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ หนีอย่างไรก็ไม่พ้น ขอให้พวกเจ้าจงทำใจ หรือเตรียมใจเอาไว้เสมอ ให้ยอมรับผลของกฎแห่งกรรมนั้น

    ๗. อย่าโวยวาย มีกรรมอันใดเกิด จงนำมาพิจารณาให้เห็นกรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ทุกอย่างเป็นทุกข์ เพราะการกระทำของเราเองมาแต่อดีตทั้งสิ้น ไม่ว่าทางกาย - วาจา - ใจ นี่เป็นเหตุให้พวกเจ้าได้เข้าใจถึงอริยสัจให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นโดยอาศัยการไตร่ตรองพิจารณาถึงกฎของกรรมนี้

    ๘. แม้แต่การมีร่างกายก็เป็นผลจากกฎของกรรม ต้นเหตุของกรรมมาจากความทะยานอยาก อยากมีร่างกายโดยอาศัยจิตมีตัณหา ๓ ประการ พวกเจ้าจึงต้องทุกข์เพราะกรรมของร่างกาย คือ ธาตุ ๔ พร่องอยู่เป็นนิจ สร้างความไม่สบายกายไม่สบายใจให้แก่จิตที่อาศัยอยู่ตลอดเวลา นี่ก็เป็นอริยสัจ มีทุกข์เพราะการกระทำของจิตที่ติดตัณหา จึงเป็นเหตุให้มีร่างกายที่มีแต่ความทุกข์ คือ ความไม่เที่ยงแฝงเร้นอยู่ตลอดเวลา

    ๙. อยากพ้นไปเสียจากสภาวะกฎแห่งกรรม อยากพ้นทุกข์ของการมีร่างกาย กรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ตถาคตเจ้าทั้งหลายตรัสไว้ดีแล้ว ให้กำหนดรู้ถึงเหตุแห่งกรรมนั้นและดับซึ่งต้นเหตุแห่งกรรมนั้น จึงจักพ้นกฎแห่งกรรมนั้นได้

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๗ กุมภาพันธ์ตอน ๓

    --------------------
     
  5. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    การไม่ปรุงแต่งธรรม คือ การระงับเวทนา

    เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ มิ.ย. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตามาตรัสสอน เรื่องการไม่ปรุงแต่งธรรม คือ การระงับเวทนาให้ มีความสำคัญดังนี้

    ๑. จงทำจิตให้ยอมรับเวทนาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ว่าเป็นของธรรมดา แล้วพยายามลดการยึดเกาะในเวทนานั้น ด้วยการระงับอาการของสังขาร คือ ไม่ปรุงแต่งธรรมนั้น ๆ นี้คือสัจธรรมของการมีร่างกาย เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมมีเจ็บ มีแก่ มีตายเป็นธรรมดา

    ๒. จงวางอารมณ์ให้สงบ ยอมรับธรรมล้วน ๆ ที่ไม่ปรุงแต่งนี้ เพราะเป็นสิ่งที่หลีกหนีกันไม่พ้น เมื่อมีการเกิดของร่างกายแล้ว

    ๓. จงกำหนดรู้เอาไว้ว่า นี่เป็นทุกข์ของการมีร่างกายอยู่เนือง ๆ พยายามทำจิตให้ยอมรับนับถือกฎของธรรมดา แยกจิตออกมาอย่าให้ทุกข์ตามไปด้วย พยายามทรงอารมณ์ของจิตไว้ให้เป็นสังขารุเบกขาญาณ แม้จักเป็นอย่างอ่อน ๆ ก็ควรจักพยายามซักซ้อมกันเอาไว้ อย่าให้จิตมีอารมณ์บ่นแม้แต่ในใจก็ใช้ไม่ได้ เพราะนั่นคือการเกิดอารมณ์ปฏิฆะ และเป็นการคัดค้านสัจธรรมที่ฝืนความเป็นจริงของร่างกาย

    ๔. ตั้งแต่นี้ต่อไป อาการสุขหรือทุกขเวทนาอันเกิดสืบเนื่องมาจากร่างกาย จักเป็นครูเข้ามาทดสอบจิตของเจ้าอยู่เนือง ๆ ขอให้เตรียมใจสอบกันให้ดี ๆ ถ้าลงธรรมดาไม่ได้ก็ถือว่าไม่ผ่านข้อสอบ ดูอารมณ์กระทบให้ดี ๆ จักพอใจหรือไม่พอใจก็ใช้ไม่ได้ ต้องลงอุเบกขาญาณเข้าไว้ อาการสุขหรือทุกขเวทนานี้ ต้องนับเนื่องไปหมดทางอายตนะหก ขอให้ดูอารมณ์ของจิตเข้าไว้ให้ดี ๆ



    ๕. อนึ่งการทบทวนธรรมะ (ธัมมวิจยะหรือธัมมวิจัย) ก็จงทำต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และให้สังเกตอารมณ์ของจิตในขณะทบทวนธรรมะนั้นไปด้วย จักได้รู้จุดที่ทำให้อารมณ์ของจิตนั้นเคลื่อนไหวไปได้อย่างไรบ้าง ทำต่อไปก็แล้วกัน

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๕ เดือนมิถุนายน ๒๕๓๖ ตอน ๑

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่านครับ

    ----------------------
     
  6. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    การไปพระนิพพานจิตติดอะไรแม้แต่อย่างเดียวก็ไปไม่ถึงพระนิพพาน การปฏิบัติจึงต้องเอาจริงเอาจังจึงจักไปได้

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ----------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญดังนี้

    ๕. ให้พิจารณาความไม่เที่ยงเข้าไว้เสมอ ๆ จักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ด้วยประการทั้งปวง แม้จักยังไม่สนิท ก็บรรเทา สักกายทิฏฐิ ลงได้บ้างไม่มากก็น้อย อย่าลืมคำว่า สักกายทิฏฐิ มีเป็นขั้น ๆ หยาบ - กลาง - ละเอียด จากปุถุชนมาสู่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ ก็เนื่องจากการเห็นทุกข์ในความไม่เที่ยงไม่เท่ากัน โดยเฉพาะเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ แล้วในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ ต่างคนต่างปฏิบัติไปก็เข้าสู่อริยสัจตามระดับจิตนั้น ๆ เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นโทษ จึงพิจารณา สักกายทิฏฐิ เพื่อปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นในทุกข์นั้นลงเสีย อย่าลืมละที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จที่ใจ ถ้าหากจิตหรือใจดีเสียอย่างเดียว กาย-วาจา ซึ่งเป็นบ่าวก็จักดีตามไปด้วย เดินมรรคด้วยจิต ทำให้ถูกทาง แล้วจักเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย

    ๖. ให้พิจารณาอายุของร่างกายที่มากขึ้นทุกวัน ความตายก็ใกล้เข้ามาทุกที จงอย่ามีความประมาทในชีวิต และให้เห็นทุกข์ของการมีชีวิตอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อนจากภัยนานาประการ เรื่องเหล่านี้มิใช่ของแปลกหรือของใหม่แต่อย่างไร เป็นภัยที่อยู่คู่กับโลกมานานแล้ว ในทุก ๆ พุทธันดรก็เจอมาอย่างนี้ อย่าไปหวังแก้โลก อย่าไปหลงปรุงแต่งตามโลก ให้เห็นตัณหา ๓ ประการที่ครอบงำโลก ให้วุ่นวายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มองทุกอย่างตามความเป็นจริงแล้วปล่อยวางโลกเสียด้วยความเห็นทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง น่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายินดี ไม่น่ายินร้ายแม้แต่นิดเดียว

    ๗. การปฏิบัติจงอย่าสนใจจริยาผู้อื่น ให้มองอารมณ์จิตตนเองเข้าไว้เป็นสำคัญ เพราะตนเองปรารถนาจักไปพระนิพพาน จึงต้องฝึกจิตให้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลก แม้ในไตรภพให้หมดจด เพราะการไปพระนิพพานจิตติดอะไรแม้แต่อย่างเดียวก็ไปไม่ถึงพระนิพพาน การปฏิบัติจึงต้องเอาจริงเอาจังจึงจักไปได้ แต่ตราบใดที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่ ก็ให้พิจารณาปัจจัย ๔ เป็นสิ่งจำเป็นที่จักต้องยังอัตภาพให้เป็นไป สักแต่ว่าเป็นเครื่องอยู่ สักแต่ว่าเป็นเครื่องอาศัย แล้วอยู่อย่างพิจารณาให้เห็นชัดว่า ร่างกายหรือวัตถุธาตุทั้งหมด มีคำว่าเสื่อมและอนัตตาไปในที่สุด จิตก็คลายความเกาะติด จิตมีความสุขสงบ เมื่อถึงวาระร่างกายจักพัง การตัดทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภายนอกรวมตัวหรือแม้แต่ร่างกายก็ตัดไม่ยาก เนื่องด้วยพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงแล้วด้วยปัญญา และไม่มีความประมาทในชีวิต

    ๘. พิจารณาร่างกาย พิจารณาเวทนา โดยย้อนกลับไปกลับมา ไม่มีร่างกายก็ย่อมไม่มีเวทนา ไม่มีเวทนาก็ย่อมไม่มีร่างกาย แล้วให้เห็นปกติของรูปและนาม ซึ่งอาศัยซึ่งกันและกัน พิจารณาให้ลึกลงไปจักเห็นความไม่มีในเราในรูปและนามได้ชัดเจน เราคือจิตที่ถูกกิเลสห่อหุ้มให้หลงติดอยู่ในรูปในนามอย่างนี้มานานนับอสงไขยกัปไม่ถ้วน หากไม่พิจารณาให้เห็นชัดเจนลงไปในรูปและนาม ก็จักตัดความติดอยู่ไม่ได้ และเมื่อตัดไม่ได้ก็ไปพระนิพพานไม่ได้ ธรรมที่กล่าวมานี้มิใช่สาธารณะ หากตนเองยังทำไม่ได้ก็ไม่พึงพูดออกไปเพื่อแนะนำบุคคลอื่น ตราบจนกว่าตัวเองจักได้จริง นั่นแหละสมควรพูดได้

    ๙. ให้เห็นร่างกายนี้มีปกติธรรมอยู่ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ในความเสื่อม แล้วก็ดับไป ทุกอย่างหาแก่นสารอันใดไม่ได้ การอาศัยร่างกายอยู่ก็เพียงแค่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย ดำริว่าจักไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย แล้วมองร่างกายนี้ให้เป็นเช่นสุสานฝังศพ ฝังเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ เพราะการเกิดมีเท่าไหร่ การตายก็มีเท่านั้น เกิดกับตายจึงเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ถ้าหากจิตติดอยู่กับธาตุอายตนะขันธ์ก็ยังต้องเกิด ต้องตายอยู่กับร่างกายนี้อีกนับชาติไม่ถ้วน ให้ถามแล้วให้จิตตอบ เข็ดจริงหรือ ถ้าหากยังมีความอาลัยในชีวิตหรือในร่างกายนี้ก็ยังเข็ดไม่จริง เรื่องการปล่อยวางการเกาะร่างกาย ขึ้นอยู่กับจิตที่จักพิจารณา ขึ้นอยู่กับสติ - สัมปชัญญะกำหนดรู้อยู่เสมอ ๆ ว่า ธาตุ อายตนะขันธ์นี้ไม่มีในเรา ไม่ใช่เรา จักต้องเอาจริง แต่มิใช่เคร่งเครียด จนเป็นเหตุให้หนักใจ และมีความเบาใจ มีความเข้าใจในบทพระธรรมคำสั่งสอนเพียงพอแล้วสามารถปฏิบัติได้ตามคำสั่งสอนนั้น ๆ

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๔๐

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    -----------------------
     
  7. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    การไปพระนิพพานจิตติดอะไรแม้แต่อย่างเดียวก็ไปไม่ถึงพระนิพพาน การปฏิบัติจึงต้องเอาจริงเอาจังจึงจักไปได้

    พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    ----------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงตรัสสอนไว้มีความสำคัญดังนี้

    ๕. ให้พิจารณาความไม่เที่ยงเข้าไว้เสมอ ๆ จักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นลงได้ด้วยประการทั้งปวง แม้จักยังไม่สนิท ก็บรรเทา สักกายทิฏฐิ ลงได้บ้างไม่มากก็น้อย อย่าลืมคำว่า สักกายทิฏฐิ มีเป็นขั้น ๆ หยาบ - กลาง - ละเอียด จากปุถุชนมาสู่พระโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ ก็เนื่องจากการเห็นทุกข์ในความไม่เที่ยงไม่เท่ากัน โดยเฉพาะเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ พลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์ แล้วในที่สุดความตายเข้ามาถึงก็เป็นทุกข์ ต่างคนต่างปฏิบัติไปก็เข้าสู่อริยสัจตามระดับจิตนั้น ๆ เห็นความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นโทษ จึงพิจารณา สักกายทิฏฐิ เพื่อปลดเปลื้องความยึดมั่นถือมั่นในทุกข์นั้นลงเสีย อย่าลืมละที่จิตอย่างเดียวเท่านั้น ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จที่ใจ ถ้าหากจิตหรือใจดีเสียอย่างเดียว กาย-วาจา ซึ่งเป็นบ่าวก็จักดีตามไปด้วย เดินมรรคด้วยจิต ทำให้ถูกทาง แล้วจักเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้ง่าย

    ๖. ให้พิจารณาอายุของร่างกายที่มากขึ้นทุกวัน ความตายก็ใกล้เข้ามาทุกที จงอย่ามีความประมาทในชีวิต และให้เห็นทุกข์ของการมีชีวิตอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยความเร่าร้อนจากภัยนานาประการ เรื่องเหล่านี้มิใช่ของแปลกหรือของใหม่แต่อย่างไร เป็นภัยที่อยู่คู่กับโลกมานานแล้ว ในทุก ๆ พุทธันดรก็เจอมาอย่างนี้ อย่าไปหวังแก้โลก อย่าไปหลงปรุงแต่งตามโลก ให้เห็นตัณหา ๓ ประการที่ครอบงำโลก ให้วุ่นวายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน มองทุกอย่างตามความเป็นจริงแล้วปล่อยวางโลกเสียด้วยความเห็นทุกข์ เห็นความไม่เที่ยง น่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายินดี ไม่น่ายินร้ายแม้แต่นิดเดียว

    ๗. การปฏิบัติจงอย่าสนใจจริยาผู้อื่น ให้มองอารมณ์จิตตนเองเข้าไว้เป็นสำคัญ เพราะตนเองปรารถนาจักไปพระนิพพาน จึงต้องฝึกจิตให้ปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่างในโลก แม้ในไตรภพให้หมดจด เพราะการไปพระนิพพานจิตติดอะไรแม้แต่อย่างเดียวก็ไปไม่ถึงพระนิพพาน การปฏิบัติจึงต้องเอาจริงเอาจังจึงจักไปได้ แต่ตราบใดที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่ ก็ให้พิจารณาปัจจัย ๔ เป็นสิ่งจำเป็นที่จักต้องยังอัตภาพให้เป็นไป สักแต่ว่าเป็นเครื่องอยู่ สักแต่ว่าเป็นเครื่องอาศัย แล้วอยู่อย่างพิจารณาให้เห็นชัดว่า ร่างกายหรือวัตถุธาตุทั้งหมด มีคำว่าเสื่อมและอนัตตาไปในที่สุด จิตก็คลายความเกาะติด จิตมีความสุขสงบ เมื่อถึงวาระร่างกายจักพัง การตัดทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภายนอกรวมตัวหรือแม้แต่ร่างกายก็ตัดไม่ยาก เนื่องด้วยพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นตามความเป็นจริงแล้วด้วยปัญญา และไม่มีความประมาทในชีวิต

    ๘. พิจารณาร่างกาย พิจารณาเวทนา โดยย้อนกลับไปกลับมา ไม่มีร่างกายก็ย่อมไม่มีเวทนา ไม่มีเวทนาก็ย่อมไม่มีร่างกาย แล้วให้เห็นปกติของรูปและนาม ซึ่งอาศัยซึ่งกันและกัน พิจารณาให้ลึกลงไปจักเห็นความไม่มีในเราในรูปและนามได้ชัดเจน เราคือจิตที่ถูกกิเลสห่อหุ้มให้หลงติดอยู่ในรูปในนามอย่างนี้มานานนับอสงไขยกัปไม่ถ้วน หากไม่พิจารณาให้เห็นชัดเจนลงไปในรูปและนาม ก็จักตัดความติดอยู่ไม่ได้ และเมื่อตัดไม่ได้ก็ไปพระนิพพานไม่ได้ ธรรมที่กล่าวมานี้มิใช่สาธารณะ หากตนเองยังทำไม่ได้ก็ไม่พึงพูดออกไปเพื่อแนะนำบุคคลอื่น ตราบจนกว่าตัวเองจักได้จริง นั่นแหละสมควรพูดได้

    ๙. ให้เห็นร่างกายนี้มีปกติธรรมอยู่ คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ในความเสื่อม แล้วก็ดับไป ทุกอย่างหาแก่นสารอันใดไม่ได้ การอาศัยร่างกายอยู่ก็เพียงแค่ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย ดำริว่าจักไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และ ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย แล้วมองร่างกายนี้ให้เป็นเช่นสุสานฝังศพ ฝังเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักพอ เพราะการเกิดมีเท่าไหร่ การตายก็มีเท่านั้น เกิดกับตายจึงเป็นเรื่องธรรมดาของร่างกาย ถ้าหากจิตติดอยู่กับธาตุอายตนะขันธ์ก็ยังต้องเกิด ต้องตายอยู่กับร่างกายนี้อีกนับชาติไม่ถ้วน ให้ถามแล้วให้จิตตอบ เข็ดจริงหรือ ถ้าหากยังมีความอาลัยในชีวิตหรือในร่างกายนี้ก็ยังเข็ดไม่จริง เรื่องการปล่อยวางการเกาะร่างกาย ขึ้นอยู่กับจิตที่จักพิจารณา ขึ้นอยู่กับสติ - สัมปชัญญะกำหนดรู้อยู่เสมอ ๆ ว่า ธาตุ อายตนะขันธ์นี้ไม่มีในเรา ไม่ใช่เรา จักต้องเอาจริง แต่มิใช่เคร่งเครียด จนเป็นเหตุให้หนักใจ และมีความเบาใจ มีความเข้าใจในบทพระธรรมคำสั่งสอนเพียงพอแล้วสามารถปฏิบัติได้ตามคำสั่งสอนนั้น ๆ

    รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๑๐ เดือนตุลาคม ๒๕๔๐

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    -----------------------
     
  8. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    เรื่องกำลังใจกับอภิญญา พระพุทธเจ้าองค์ปฐม

    -------------------------

    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอน เรื่องกำลังใจกับอภิญญาว่า

    ๑. อยากได้อภิญญาไหม ? (ตอบว่าอยากได้ แต่กำลังใจมันไม่สู้) ทรงตรัสว่า ทุกอย่างต้องอาศัยกำลังใจ การจักได้อภิญญาใหญ่ ก็ต้องอาศัยกำลังใจ การจักมาพระนิพพานก็ต้องอาศัยกำลังใจ แต่เจ้าจงอย่าสนใจอภิญญาให้มากจนเกินไปอย่าเพิ่งคิดเอากายเนื้อไปไหน ๆ จงซักซ้อมเอากายใจมาพระนิพพานในชั่วขณะจิตดีกว่า

    ๒. สนใจกับการชำระจิตให้ปลดสังโยชน์ อันเป็นหนทางพ้นทุกข์ได้ดีกว่า อภิญญาใหญ่จักได้หรือไม่ได้อย่าพึ่งสนใจ

    ๓. เอาความขยันไปตัดสังโยชน์ดีกว่า เพราะเล่นฤทธิ์ก็จักเป็นการถ่วงการบรรลุมรรคผล อย่างวันนี้ที่พิจารณาถึงทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน ก็จัดได้ว่าพอใช้ จงหมั่นทบทวนอยู่เสมอ ๆ พยายามให้จิตทรงตัว พิจารณาจนยอมรับทุกข์นั้นอย่างจริงใจ

    ๔. หลังจากนั้นก็ พิจารณาถึงสมุทัยเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วยค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำจิตจักยอมรับความจริงของกฎธรรมดายิ่งขึ้น พิจารณาให้สม่ำเสมอ อย่าคิดทิ้งคิดขว้าง รวดเร็วเกินไป จิตมันก็ไม่ยอมรับ

    ๕. โทษและทุกข์ของกาม และกามสัญญา ต้องหมั่นคิดทบทวนใคร่ครวญอยู่เสมอ

    ๖. เช่นเดียวกันกับ อารมณ์ปฏิฆะ ทำให้เกิดโทษและทุกข์อย่างไร ก็ต้องหมั่นคิดทบทวนเช่นกัน

    ๗. การตัดราคะและปฏิฆะต้องตัดพร้อมๆ กัน ตัวหนึ่งเบาอีกตัวหนึ่งก็ต้องเบาไปด้วย เพราะทุกข์และโทษของปฏิฆะและราคะ ล้วนทำให้ต้องกลับมาเกิดทั้งสิ้น

    ๘. หมั่นดูอารมณ์จิตให้ดี ๆ ดูด้วยอารมณ์เบา ๆ จิตจักสบาย อย่าดูด้วยอารมณ์หนัก จิตจักกลุ้มเกิดอารมณ์เครียด และมีอารมณ์หดหู่ได้ง่าย ข้อนี้พึงระมัดระวังให้จงหนักด้วย

    ในวันต่อมาพระพุทธองค์ก็ทรงพระเมตตา ช่วยตรัสสอนต่อ เรื่องอารมณ์หนักใจ คือ ความเครียดจากลืมอานาปาว่า

    ๑. จักอยู่ที่ใดก็ตาม จักทำงานประเภทใดก็ตาม ต้องกำหนดจิตจับเป็นกรรมฐานรู้อยู่ตลอดเวลา

    ๒. พยายามทำให้จิตเกิดความเคยชินในอารมณ์ สมถะและวิปัสสนานั้น ๆ

    ๓. รู้ด้วยอารมณ์เบา ๆ ทำจิตให้สบาย ๆ เวลานี้อารมณ์จิตของเจ้ายังค่อนข้างหนักอยู่ เกาะเวทนาของร่างกายมากเกินไป เวทนาเกิดก็ย่อมรู้ แต่รู้แล้วจงหมั่นวางจิตให้สบายอย่าไปยึดเกาะเวทนานั้น ๆ

    ๔. และจงอย่าลืมรู้ลมให้มากๆ เพราะอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ สามารถระงับเวทนาของร่างกายได้อยู่แล้ว อย่าปล่อยจิตให้เกาะเวทนามากเกินไป เพราะอาการเวทนาจักดึงจิตให้ฟุ้งซ่าน ก็พึงยิ่งต้องรู้ลม เพราะอานาปานัสสติระงับความฟุ้งซ่านได้อย่างดี

    ๕. อนึ่ง เป็นปกติของคนเรา เมื่อร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย อารมณ์วิตกจริตมันเกิดขึ้น ก็ต้องหมั่นรู้ลมให้มากขึ้น เพราะอานาปานัสสติแก้วิตกจริตได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

    ๖. อนึ่ง ควรคิดพิจารณาให้จิตยอมรับกฎของธรรมดาว่าสภาพที่แท้จริงของร่างกาย ย่อมเป็นไปเพื่ออาพาธ (ป่วย) เป็นธรรมดา

    ๗. ไม่มีร่างกายของผู้ใดที่เกิดมาแล้ว จักไม่มีโรคภัยเข้าเบียดเบียน ชิคัจฉา ปรมา โรคา แม้ความหิวก็ได้ชื่อว่าเป็นโรคที่เบียดเบียนอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่า มีร่างกายย่อมหนีอาพาธไปไม่พ้น หนีความเบียดเบียนไปไม่พ้น

    ๘. เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จงอย่าหนี ทำจิตให้ยอมรับความเป็นจริงของร่างกาย เบื่อหน่ายร่างกายด้วยเห็นทุกข์ เห็นโทษของร่างกาย ทำจิตให้คลายกำหนัดในการอยากมีร่างกายนี้เสีย ด้วยเห็นสภาพธาตุ ๔ มาประชุมกันเป็นอาการ ๓๒ เป็นของสกปรกและไม่เที่ยง มีความเสื่อม และ สลายตัวไปในที่สุด

    ๙. เมื่อไม่อยากมีร่างกายเกิดขึ้นในอารมณ์จิตแล้ว ก็จงอย่าทำอารมณ์จิตให้เครียด จงปล่อยวางอารมณ์ที่หนักใจนั้นเสีย ทำอารมณ์จิตให้ยอมรับสภาพตามความเป็นจริงของร่างกายนั้นเสีย จิตก็จักเป็นสุข มีอารมณ์เบาได้ (ก็รับคำสั่งสอนนั้น แต่ก็ยังมีความหนักใจ) เพราะวางอารมณ์เบื่อไม่ได้

    ๑๐. ทรงตรัสว่า ที่ยังวางไม่ลง เพราะจิตไร้กำลังตัดสักกายทิฎฐิ การพิจารณายัง ไม่ถึงที่สุด คือจิตยังยึดเกาะร่างกายอยู่ เจ้าก็ต้องอาศัยลมรู้ ทำอานาปานัสสติ ให้จิตมีกำลัง

    ๑๑. การเข้าถึงฌาน จิตจักสงบได้เป็นระยะๆ ตามที่ต้องการตราบนั้นจิตจักมีกำลังพิจารณา ร่างกายนี้ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเราได้จนถึงที่สุด เมื่อนั้นจิตจักยอมรับกฎของธรรมดา และวางอารมณ์หนักใจลงได้

    ๑๒. เจ้าเห็นความสำคัญของอานาปานัสสติหรือยัง เห็นแล้วก็จงหมั่นให้มาก ๆ กรรมฐานทุกกอง จักเป็นผลขึ้นมาได้ ก็ต้องอิงอานาปานัสสตินี้ พยายามรู้ลมให้มากในระยะนี้ จักอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม จักทำงานอะไรอยู่ก็ตาม ให้จิตกำหนดรู้ลมให้มาก ๆ

    พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้นเล่ม ๔

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    ---------------------------
     
  9. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    รำลึกถึงหลวงปู่บุดดา ถาวโร พระอริยเจ้าผู้ไม่เกิด ไม่ตายตลอดกาล ตอน ๔

    โดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    ----------------------------------

    : เรื่องที่ ๗

    “หลวงปู่แสดงธรรมเงียบๆ ให้หมอดู”

    (วัน เวลามีอยู่เพราะบันทึกไว้ แต่ยังหาไม่พบ)

    ที่วัดท่าซุง เดือนเมษายน ๓๖ ผมได้เล่าเรื่องนี้ให้ลูกสาวในอดีตของหลวงปู่ฟัง มีความโดยย่อว่า วันหนึ่งคุณปาน (ดร. ชาลินี เนียมสกุล) โทรศัพท์มาหาผมให้ไปที่บ้านท่าน เพราะท่านนิมนต์หลวงปู่บุดดามา ผมก็รีบไป พบผู้ที่เคารพในองค์หลวงปู่อยู่กันมาก แต่มีกลุ่มหนึ่งกำลังถามปัญหาธรรมกับหลวงปู่อยู่ ผมก็เข้าไปกราบท่าน แล้วร่วมวงสนทนาธรรมด้วย ขณะที่ท่านกำลังสอนธรรมที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ขั้นแรกอยู่ (อารมณ์พระโสดาบัน) แต่ยังอธิบายไม่จบก็มีบุคคลท่านหนึ่ง ซึ่งนั่งอยู่ใกล้ท่านที่สุด สอดถามปัญหาขึ้นมากลางวง ผมได้ยินชัดเจนว่า ปัญหาที่เขาถามนั้นก็คือ ปัญหาที่หลวงปู่ท่านกำลังอธิบายอยู่นั่นเอง

    แสดงว่าที่หลวงปู่ท่านพูดมาตั้งนานนั้น เขามิได้สนใจรับฟังเลย พอท่านอธิบายไปจวนจะจบอยู่แล้ว (เรื่องการตัดสังโยชน์ข้อ ๑-๒ และ ๓) ทุกคนสะดุ้งและหันไปมองผู้ถามกันเป็นจุดเดียว ผมสังเกตดูหลวงปู่ว่าท่านจะทำอย่างไรกับผู้นั้น ท่านเงียบ ไม่พูดไปนานพอสมควร และหันหน้าไปทางอื่นเสีย ผมก็นึกในใจว่า หลวงปู่ท่านเมตตาสูงมาก ที่เห็นแล้วทำเป็นเหมือนไม่เห็น ได้ยินก็ทำเป็นเหมือนไม่ได้ยิน เพื่อไม่ให้ผู้ถามมีบาปอกุศลสูง (ปรามาสพระรัตนตรัย) ท่านจึงแสดงธรรมเงียบ ๆ เรื่องบอดเสียบ้าง-หนวกเสียบ้าง-ใบ้เสียบ้าง แล้วจิตจะเป็นสุข ลูกสาวท่านก็นึกถึงท่าน (หลวงปู่บุดดา) ท่านก็มาสอนมีความว่า

    ๑. “นั่นแหละต้องทำอย่างนั้น ตาเราเห็นรูป รู้ หูได้ยินเสียง รู้ แต่แกล้งทำเป็นไม่เห็น ไม่รู้ หูได้ยินเสียง แต่แกล้งเป็นไม่ได้ยิน จิตมันไวมันรู้ แต่ก็เห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระอยู่ในตัวของมันเสร็จ

    ๒. “จิตของผู้ฝึกดีแล้ว จะรายงานบอกตัวเองเสร็จสรรพ ว่าสิ่งไหนควรรู้ สิ่งไหนไม่ควรรู้ อาการเก็บสิ่งสัมผัสส่งเดช ไม่มีในจิตของท่านผู้รู้ อย่าไปคิดนะว่า จิตของท่านไม่มีความรู้สึก ยิ่งฝึกจิตดีเท่าไหร่ อะไรมากระทบสัมผัส ยิ่งรู้สึกได้ดีและแม่นยำปานนั้น หากแต่จิตของท่านละเอียด สามารถแยกธรรมที่เป็นสาระ ออกจากธรรมที่ไม่เป็นสาระ ออกจากกันได้

    ๓. “เอ็งจงดูและศึกษาปฏิปทาของท่านผู้รู้ว่าเป็นอย่างไร จิตจึงจักเป็นผู้รู้ได้ การสำรวมอายตนะ ๖ จุดสำคัญ คือ สำรวมที่จิต ทำจิตให้สงบด้วยอานาปานัสสติ ระงับนิวรณ์ ๕ ประการ ก็คือระงับความปรุงแต่งของจิต ไม่ให้ไหวไปตามอายตนะสัมผัสทั้งปวง”

    ๔. “การเกิดของนิวรณ์ ๕ บางกรณีก็เกิดจากกิเลสมาร บางกรณีก็เกิดจากขันธมาร นิวรณ์ ๕ เข้ามาได้เพราะอายตนะสัมผัสทั้ง ๖ ประตูนั่นแหละ ท่านผู้รู้ท่านสำรวมอายตนะอย่างนี้ เจ้าก็จงหมั่นสำรวมอายตนะตาม จึงจะเอาดีได้ ต้องตั้งใจจริง ๆ พูดจริง ทำจริง เอาบารมี ๑๐ ยันเข้าไว้ เอาอิทธิบาท ๔ ใคร่ครวญเข้าไว้

    ๕. “อยากจะพ้นจากร่างกาย ที่เต็มไปด้วยความทุกข์แห่งอายตนะสัมผัสนี้ ก็ต้องมีความละอาย คือ มีหิริโอตตัปปะที่จะไม่เที่ยวปล่อยจิตให้ยึดมั่นในอายตนะสัมผัสอย่างไม่มีเหตุผล และสาระของชาวโลกอย่างปกติโลกียวิสัย และจิตต้องกอปรไปด้วยพรหมวิหาร ๔ รักเมตตา กรุณาสงสารตนเอง มุทิตา มีจิตอ่อนโยน ถ้ากระด้างกระเดื่องถือดีในร่างกาย หรือติดในอายตนะสัมผัส ทำอารมณ์ให้เกิดพอใจ-ไม่พอใจ ก็ต้องกลับมาเกิดวนอยู่ในวัฏฏสงสารอีก มีอุเบกขา คือ วางเฉยในอายตนะสัมผัสนั้น ๆ

    ๖. “จิตไหวนั้นต้องไหวแน่ เพราะวิญญาณหรือความรู้สึกของประสาทจะรายงานให้ทราบ แต่เมื่ออารมณ์รู้สึกมันทราบ แล้วก็ต้องลงตัวธรรมดา จิตที่ยังไม่ได้ฝึกมักจะลงตัวธรรมด่า หรือไหวลิงโลดยินดีไปในโลกียสัมผัสนั้น ๆ ต่างกับจิตของผู้ฝึกดีแล้ว อะไรมันกระทบก็พอดีธรรมดาหมด ก็เลยหมดเรื่องกัน”

    ๗. ลูกสาวท่านนึกว่า ฟังหลวงปู่อธิบายแล้วสบายใจ คำสอนของท่านง่ายจริง ๆ ท่านก็ตอบว่า “ง่ายเฉพาะผู้ให้แล้ว ผู้รู้ ฝึกจิตดีแล้ว อย่างเอ็งอย่าเพิ่งนึกว่าง่าย แต่ก็อย่าเพิ่งนึกว่ายาก ให้ลอง ๆ ทำความเพียรไปก่อน อย่าท้อถอย พยายามเข้า ประเดี๋ยวก็เพลิดเพลินสนุกไปเอง ทำการฝึกจิต อย่าทำแบบคนหงอยเหงา ผลมันจะไม่เกิด ต้องทำแบบกระฉับกระเฉง กิเลสมันจะได้กลัว

    เอ็งเคยเห็นหมาที่มันจะถูกฝูงอื่นรุมไหม ถ้ามัวแต่หงอก็จะถูกรุมกัดตาย แต่ถ้ามันไม่หงอ เอาจริงเอาจัง แยกเขี้ยวขู่คำรามแฮ่ ๆ ตัวอื่นก็ชักแหย ไม่กล้าเข้ารุมกัด กิเลสก็เหมือนกัน มันรุมกัดเราอยู่ทุกทิศทุกทางของอายตนะสัมผัสนั้น ๆ ถ้าจิตเรามัวแต่หงอ เหงาหงอย กิเลสมันก็รุมกัดตาย แต่ถ้าจิตเรารู้ ไม่หงอ เอาจริงเอาจัง คอยดูกิเลสเข้าทางไหน คอยฟัดดักกิเลสทางนั้น กิเลสมันก็ไม่กล้าเข้ามายุ่งกับจิตเราเหมือนกัน

    ๘. จิตสดใสร่าเริ่งในธรรม คือ จิตที่มีกำลัง คือ จิตที่ผ่องใส ตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอ็งต้องลงตัวธรรมดาให้ได้ และทำจิตให้เป็นธรรมดาของโลกุตระวิสัยให้ได้ จิตเอ็งถึงจะร่าเริงสดใสในธรรมนั้น ๆ ได้ อย่าลืมเอาจิตอยู่กับกาย เอากายอยู่กับจิตให้มาก ๆ”

    ผมขอจบพระธรรมคำสอนของหลวงปู่บุดดาไว้เพียงแค่นี้ก่อน เพราะกลัวว่ามันจะเกินพอดี หากชีวิตยังอยู่และโอกาสมี ก็อาจจะได้เขียนต่ออีก เพราะอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน หากใครไม่นึกถึงความตายหรือมรณานุสสติ บุคคลผู้นั้นเป็นผู้ประมาทอย่างยิ่ง เพราะพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งมีอยู่มากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทรงย่อสั้น ๆ ให้เหลือเพียงประโยคเดียว คือ จงอย่าประมาท (ในความตายซึ่งเป็นขั้นต้น) ส่วนขั้นสูงทรงหมายถึง จงอย่าประมาทในทุก ๆ กรณี หมายถึงกรรมทั้ง ๓ คือ กายกรรม, วจีกรรม และมโนกรรม

    ส่วนคำสอนของหลวงปู่บุดดา ที่ผมยกมา ๗ เรื่องนี้ ในความรู้สึกของผมว่าท่านสอนลูก-หลานท่าน ในหลักสูตรพระอริยเจ้าเบื้องสูงเลย เพราะหากเราสามารถปฏิบัติได้ตามนั้น ขั้นแรกก็เป็นพระอนาคามีเลย ขั้นสองก็จบกิจเป็นพระอรหันต์ ผ่านพระโสดาบันและพระสกิทาคามี ซึ่งยังเป็นพระอริยเจ้าเบื้องต่ำ อยู่มาเลยเป็นอัตโนมัติ

    ดังนั้น ผู้ใดที่ยังไม่มีพื้นฐานของพระธรรมเบื้องต่ำอยู่ อาจจะต้องใช้วิริยะ-ขันติ-สัจจะบารมี โดยมีปัญญาบารมีคุมหนักหน่อย จึงจะเข้าใจได้ดี บุคคลใดที่มีพื้นฐานของธรรมเบื้องต้นอ่านแล้ว หากคิดว่าง่ายก็เป็นคนประมาท เพราะตัวเองยังทำไม่ได้ ปฏิบัติยังไม่ถึง จะพูด-จะคิดว่าง่ายได้อย่างไร ส่วนบุคคลใดอ่านแล้วยังไม่เข้าใจดี ก็จงอย่าคิดว่ายาก เพราะจะทำให้กำลังใจ (บารมี) ตก แล้วจะมีผลเหมือนกับที่หลวงปู่เปรียบเทียบเหมือนหมาหลงเข้าไปอยู่ในฝูงอื่น ก็จะถูกมัน รุมกัดตาย หากมัวแต่หงอไม่เอาจริงเอาจัง กรุณาย้อนกลับไปอ่านข้อ ๗ ในเรื่องที่ ๗ แล้วจะเข้าใจดีในการปฏิบัติธรรมนั้น ทรงย้ำเรื่องกำลังใจ (บารมี) มาก หากไม่เอาจริงตั้งใจจริง โดยใช้บารมี ๑๐ เป็นหลักในการเสริมกำลังใจ (บารมี) แล้วก็ยากที่จะพ้นทุกข์ได้

    ขอท่านผู้อ่านทุกท่านจงโชคดีในธรรมปฏิบัติที่ท่านปรารถนา หากท่านไม่ยอมละความเพียรเสียอย่างเดียว พระพุทธองค์ทรงรับรองว่า สามารถจบกิจได้ในชาติปัจจุบันนี้ (รับรองเฉพาะผู้เอาจริงเท่านั้น)


    รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    ข้อมูลจาก

    ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๒ ตอนรำลึกถึงหลวงปู่บุดดา ถาวโร

    ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน

    ----------------------
     
  10. คนหลงเงา2

    คนหลงเงา2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2016
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +57
    หลวงพ่อเล่าเรื่องเทวดาฮินดูพระพิฆเนศพระนารายณ์



    ***พบพระพิฆเนศ***



    ผู้ถาม หลวงพ่อเจ้าขา ลูกนั่งสมาธิพบท่านพิฆเนศมีหัวเป็นช้าง ตัวเป็นคน ในสมาธินั้นท่านเอามือของลูกไปแบแล้วรมอะไรไม่รู้...สีแดงแจ๊ด! บอกว่า..."เอ็งจะต้องมีฤทธิ์มีเดชต่อไปข้างหน้า" ลูกปลื้มใจอย่างบอกไม่ถูก ลูกสงสัยว่าในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เทวดามีหัวเป็นช้าง ลูกไม่เคยเจอเลย ไม่รู้ว่าลูกจะทำสมาธิเพี้ยนไปหรือเปล่า...หลวงพ่อช่วยชี้แจงความเพี้ยนของลูกด้วยเถิดเจ้าค่ะ


    หลวงพ่อ มาดีแล้ว ๆ ความจริงไม่เพี้ยน อย่างนี้เขาเรียกว่า..."โรคอุปาทาน" คือว่าตามธรรมดาที่เราเห็นน่ะ หัวเป็นช้างใช่ไหม...นั่นเป็น "ลัทธิของพราหมณ์" ในเมื่อเคยเห็นแบบนั้น ท่านมาท่านก็แสดงแบบนั้นก่อน อย่างเทวดาหรือพรหมนางฟ้าทุกคนน่ะ ความจริงท่านอาจจะตายสมัยแก่นะ คือเทวดา นางฟ้า พรหม...ไม่แก่ สาวหมด! ทีนี้เวลามาหาเราเขาแสดงภาพเดิมที่เราเห็น เขาตายเป็นคนแก่ก็ให้เห็นภาพคนแก่ ท่านพิฆเนศก็เหมือนกัน ท่านมารูปอื่นก็คงจำไม่ได้ ต้องมารูปหัวช้าง (หลังจากหลวงพ่อนำอุทิศส่วนกุศลแล้ว ก็มีเรื่องพระพิฆเนศมาเล่าให้ฟังอีก)


    หลวงพ่อ ตอนอุทิศส่วนกุศล ถามว่าท่านพิฆเนศเป็นพรหมหรือเป็นเทวดาชั้นไหน เพราะเห็นมีทั้งพรหมและเทวดาเยอะแยะ ใสมาก ท่านบอกไม่ใช่พรหม ถามว่าเป็นเทวดาชั้นปรนิมฯ ใช่ไหม...ท่านบอกไม่ใช่ เป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ สวยมาก ท่านบอกว่าคนที่ถามเมื่อกี้นี้ เคยเป็นลูกท่านมา ท่านก็หวังจะสงเคราะห็ ต้องถอยหลังไปหลายชาติหน่อยนะ คือไม่น้อยกว่าพันชาติ (หลวงพ่อยังมีเรื่องพระนารายณ์มาเล่าให้ฟังอีก)


    ***พระนารายณ์***


    หลวงพ่อ เทวดากับสัตว์ เทวดากับมนุษย์มันต่อกันไม่ได้ เพราะมนุษย์ก็ดี สัตว์ก็ดี มันมีธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และเทวดาเขาไม่มีธาตุนี่ มีเหมือนอากาศธาตุ มันต่อกันได้ที่ไหนล่ะ ที่ว่าหัวเป็นช้าง เพราะว่าพราหมณ์แกหาเรื่องคุย อย่างพระนารายณ์นี่ก็เหมือนกัน พระนารายณ์นี่ฉันหาไม่พบ

    ผู้ถาม แล้วมีไม่จริงหรือครับ?

    หลวงพ่อ มี...สักประมาณ ๑๐ ปีมาแล้ว คืนหนึ่งมันว่าง คือไม่ได้ว่างมาก เขาเจริญกรรมฐานแบบนี้ละนะ พอเลิกแล้วประมาณ ๔ ทุ่มกว่า ๆ เวลาไปพักมันยังไม่หลับ ๖ ทุ่มหรือตี ๒ เป็นธรรมดา ถ้าถีง ๖ ทุ่มต้องอยู่ถึงตี ๒ ถ้าขืนหลับ ๖ ทุ่ม อาจจะเลยเวลา เพราะเจริญกรรมฐานตอนตี ๒ เมื่อถึงเวลาว่างก็เที่ยวไปเที่ยวมา เที่ยวมาเที่ยวไป ตามเรื่องตามราว ใช่ไหม...ก็ไปนึกถึงพระนารายณ์ได้ นึกนารายณ์อยู่ชั้นไหน แล้วเทวดาองค์ไหนเป็นนารายณ์ เข้าไปหาในกามาวจรทั้งหมด ไม่พบพระนารายณ์ ถามแต่ละชื่อไม่มีนารายณ์เลย ไอ้ความโง่ของฉันน่ะ ก็ย่องไปพรหมอีก ถามพระนารายณ์ที่พรหมไม่มี กลับมาหาโยม ถามโยม...พระนารายณ์ที่พราหมณ์ตั้งชื่อให้มีตัวจริงไหม ท่านบอกตั้งแต่ฉันเป็นเทวดาไม่เคยมีเลย โยมท่านเป็นเทวดา ๒ รอบ พระอินทร์ ๒ รอบนะ เมื่อสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่หมดอายุไปทีแล้ว ฟังเทศน์แล้วจุติเป็นพระอินทร์ใหม่ ที่พระพุทธเจ้าบอกว่าพระอินทร์หนุ่ม ท่านอยู่ถึง ๒ รอบยังไม่รู้จักนารายณ์ ไล่ไปไล่มา ถาม...ถ้าเขาบนพระนารายณ์ เทวดาองค์ไหนรับ ท่านบอกมีก็มเหสักขาไงล่ะ มเหสักขา แปลว่ามีฤทธิ์มาก ท่านพิฆเนศชื่อ ปิยสิกขะ เพิ่งบอกเดี๋ยวนี้ละนะ มีสิทธิ์ในความรัก แม้แต่เขาให้หัวเป็นช้างยังชอบเลย

    ผู้ถาม ยังงี้เราก็บนได้ซิ

    หลวงพ่อ ถ้าจะบนท่านนะ ตอนให้พรท่านบอกให้หมูต้มชิ้นหนึ่ง ไม่ต้องโต กับข้าวปากหม้อเท่านั้นนะ

    จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญญาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม 7


    ----------------------
     

แชร์หน้านี้

Loading...