เราจะบาปใหม?

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย prosper, 17 กันยายน 2012.

  1. prosper

    prosper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +382
    ถ้าเราเจองูในบ้านเรา เข้าในบ้านไล่ยังไงก็ไม่ไป แผ่เมตตาก็แล้ว สุดท้ายต้องพึ่งคนอื่น มาจัดการ เราบอกเขาว่าไล่เฉยๆนะ ไม่ต้องฆ่า แต่คนที่มาไล่งูให้เราก็ฆ่างูตัวนั้น เขาบอกว่ามันเป็นงูพิษ เราก็ดูไม่เป็น มองไกลๆ ถึงจะเป็นงูอะไรก็กลัว แต่ไม่คิดที่จะเอาชีวิตมัน ทั้งๆที่เราห้ามเขาแล้วว่าอย่าฆ่า เพราะถ้าเราอยากจัดการแบบนั้นเราคงทำเองไปแล้ว แต่สุดท้ายเราก็ ช่วยชีวิตงูตัวนั้นไม่ได้ ได้แต่สงสาร เคสแบบนี้เราจะบาปมากใหมคะ ไม่สบายใจมากๆเลยค่ะ ช่วยตอบที
     
  2. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    ไม่มีเจตนาฆ่า ไม่ได้สั่งให้เขาฆ่า ทั้งยังห้ามปรามเขามิให้ฆ่า เมื่อทราบว่าเขาฆ่าก็ไม่มีจิตยินดี แล้วบาปจะมีมาแต่ใหนเล่าครับ?

    แต่หากยังวิตกกังวลเนืองๆอยู่ บาปทางใจคืออุทธัจจะคือความฟุ้งซ่านย่อมเป็นไป หากปล่อยให้ยืดเยื้อก็ย่อมเป็นทุกข์โทษ พึงระงับเสีย
     
  3. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,572
    ค่าพลัง:
    +4,560
    มันเป็นเศษกรรม เศษบาป
    คนฆ่า รับกรรมหนักไป งูเป็นเจ้ากรรมของเขา
    ส่วนเธอ งูเป็นนายเวรของเธอ
    เพราะเขาตายในบ้านเธอ เธอเอาคนมาไล่แต่ไปฆ่าเขา เขาจึงเป็นนายเวรเธอ
    กรณีแบบนี้ ในปัจจุบันและอนาคต เธอ แม้จะทำบุญอย่างไรก็ตาม แต่จะมีบางครั้งที่เธอจะเจอเคราะห์กรรม"แบบบังเอิญ" เช่น เดินๆอยู่ มีวัยรุ่นตีกัน เราหลบ แต่ดันโดนกระสุนลูกหลงตายหรือเจ็บ
    นี่ นายเวรเขาแก้แค้นกันแบบนี้ ก็ให้ระวังจิตด้วย ทีหลังอย่าไปยืมจมูกคนอื่นหายใจ เจองู
    เราก็หนีเสีย แล้วไปหาคนที่ไว้ใจได้ ว่าเขาไม่ฆ่าแน่ จึงไปขอร้องเขาให้มาจับแล้วนำไปปล่อย ก็จะได้ไม่มีนายเวร....
     
  4. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลายเรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม
    บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจาด้วยใจ ก็เหตุเกิดแห่งกรรมเป็นไฉน คือ
    ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกรรม ก็ความต่างแห่งกรรมเป็นไฉน คือ กรรมที่ให้วิบากในนรกก็มี
    ที่ให้วิบากในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานก็มี ที่ให้วิบากในเปรตวิสัยก็มี ที่ให้วิบากในมนุษย์โลกก็มี
    ที่ให้วิบากในเทวโลกก็มี
    นี้เรียกว่าความต่างแห่งกรรม ก็วิบากแห่งกรรมเป็นไฉน คือ เรา
    ย่อมกล่าววิบากแห่งกรรมว่ามี ๓ ประการ คือ กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน ๑ กรรมที่ให้ผลในภพที่
    เกิด ๑ กรรมที่ให้ผลในภพต่อๆ ไป ๑
    นี้เรียกว่าวิบากแห่งกรรมความดับแห่งกรรมเป็นไฉน
    คือ ความดับแห่งกรรมย่อมเกิดขึ้นเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
    ประการนี้แล คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯสัมมาสมาธิ เป็นปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งกรรม ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดอริยสาวกย่อมทราบชัดกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างแห่งกรรม
    วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น อริยสาวก
    นั้นย่อมทราบชัดพรหมจรรย์อันเป็นไปในส่วนแห่งความชำแรกกิเลสเป็นที่ดับกรรมนี้ ข้อที่เรา
    กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับแห่งกรรม
    ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าว ฯ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๓๖๘/๔๐๗ ข้อที่ ๓๓๔

    (ถ้าไม่เข้าใจเรื่อง กรรม แล้วสำคัญว่าตนบาป นี้ก็บาปแล้ว เมื่อความคิดอย่างนี้เกิดขึ้นให้โยนทิ้ง จำคำของพระพุทธเจ้าให้ได้ว่า เจตนาว่าเป็นกรรม )
     

แชร์หน้านี้

Loading...