เรื่องของ"ฉลองพระบาท"-"นาฬิกาส่วนพระองค์"

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 23 พฤศจิกายน 2007.

  1. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ฉลองพระบาท


    "รอยพระบาท" ที่ร้าน ก.เปรมศิลป์

    จากชายหนุ่มต่างจังหวัดเข้ามาทำงานเป็นลูกจ้างร้านรองเท้าในเมืองกรุง ค่อยๆสะสมประสบการณ์และเก็บหอมรอมริบ จนกระทั่งทุกวันนี้ได้เป็นเถ้าแก่ร้านรองเท้าของตัวเอง ใครเลยจะรู้ว่าวันหนึ่ง "ศรไกร แน่นศรีนิล" หรือ "ช่างไก่" จะได้รับโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งแก่ชีวิต ในการเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาทผู้หนึ่งที่ได้มีโอกาสถวายการรับใช้พ่อของแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    ช่างไก่ยังจำถึงเหตุการณ์วันนั้นได้ไม่ลืม แม้จะผ่านมา 2 ปีกว่าแล้วก็ตาม "เช้าวันนั้นผมก็ทำงานซ่อมรองเท้าอยู่หน้าร้านปกติเหมือนทุกวัน แต่แปลกไปตรงที่มีลูกค้าคนหนึ่งประคองพานรองเท้าเข้ามาวางแล้วก้มลงกราบ ผมก็ตกใจถามเขาว่าเอาอะไรมาให้ผม เขาบอกว่ารองเท้าของพระองค์ท่าน แค่นั้นผมก็ขนลุกเลยครับ ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะมีโอกาสได้รับใช้ตรงนี้"

    ฉลองพระบาทคู่แรกของในหลวงที่นำมาซ่อมนั้นเป็นรองเท้าหนังสีดำทำในเมืองไทย
    ราคาไม่แพง และเท่าที่ช่างไก่สังเกตเห็น เขาเล่าว่ารองเท้าคู่นั้นอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจากการใช้งานมาหลายสิบปี ภายในรองเท้าผุกร่อนหลุดลอกหลายแห่ง ซึ่งถ้าเป็นคนทั่วไปก็อาจจะทิ้งไปแล้ว แต่พระองค์ท่านกลับทรงให้มหาดเล็กนำมาซ่อมเพื่อใช้งานต่อ ช่างไก่ได้ทราบจากมหาดเล็กผู้นั้นว่า รองเท้าหนังสีดำคู่นี้คือฉลองพระบาทคู่โปรดของในหลวง

    เมื่อได้ทราบดังนั้น แม้จะมีความประหม่าเกร็งในการทำงาน แต่ช่างไก่ก็ลงมือซ่อมแซมฉลองพระบาทนั้นอย่างสุดฝีมือ โดยสั่งลูกน้องทุกคนให้ตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด และเก็บชิ้นส่วนวัสดุของฉลองพระบาทไว้ทุกชิ้น แม้แต่เศษธุลี ด้วยตระหนักว่า นับเป็นความโชคดีอย่างหาที่สุดมิได้ ถึงแม้จะไม่มีโอกาสเข้าเฝ้าฯ แต่ก็สามารถนำวิชาชีพช่างทำรองเท้ามารับใช้สนองพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ได้



    "เศษวัสดุทุกชิ้นเป็นสิ่งที่ผมเก็บไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม
    ผมเคยดูข่าวเวลาในหลวงท่านเสด็จพระราชดำเนินก็มีคนเอาผ้าเช็ดหน้ามาให้พระองค์ท่านทรงเหยียบ แต่ผมมีโอกาสได้ใกล้ชิดมากกว่านั้น ก็เลยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จึงเก็บรักษาไว้อย่างดี ให้ดีที่สุดเท่าที่ร้านเล็กๆอย่างเราจะทำได้"

    หลังจากนั้น ช่างไก่มีโอกาสซ่อมฉลองพระบาทอีก 4 คู่ โดยฉลองพระบาทคู่หนึ่งชำรุดเนื่องจากถูก "คุณทองแดง" สุนัขทรงเลี้ยงกัดแทะ ต่อจากนั้น มหาดเล็กได้เชิญฉลองพระบาทของสมเด็จพระเทพฯ มาให้เขาซ่อมอีกหลายคู่ เป็นสิ่งยืนยันว่า เจ้าฟ้าหญิงไทยองค์นี้ทรงดำเนินตามรอยพระบาทของสมเด็จพระราชบิดามากเพียงใด

    นอกจากนี้เขาได้ขอพระราชทานรองฉลองพระบาทคู่เก่าที่พระองค์ท่านไม่ทรงแล้วมาไว้สักการบูชา ซึ่งฉลองพระบาทดังกล่าวเป็นสิ่งตอกย้ำให้เห็นว่า พระจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงเรียบง่าย ประหยัด
    และทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดี ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง ควรอย่างยิ่งที่พสกนิกรน่าจะดำเนินรอยตาม ดังเช่นที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ผู้ซึ่งมีโอกาสถวายงานใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นเวลากว่า 20 ปี กล่าวถึงไว้ในหนังสือ "ใต้เบื้องพระยุคลบาท" ว่า

    "พระองค์ท่านทรงเป็นผู้นำอย่างแท้จริง ดูแค่ฉลองพระบาท เป็นต้น พวกตามเสด็จฯทั้งหลายใส่รองเท้านอก และยิ่งมาจากต่างประเทศใส่แล้วนุ่มเท้าดี พระองค์กลับทรงรองเท้าที่ผลิตในเมืองไทย ...คู่ละร้อยกว่าบาท สีดำ เหมือนอย่างที่นักเรียนใส่กัน ...แม้กระทั่งพวกเรายังไม่ซื้อใส่กันเลย"

    ต่อมา มีนักข่าวหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่มาสัมภาษณ์ช่างไก่ ช่างซ่อมรองเท้าผู้โชคดีที่มีโอกาสถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท
    นับแต่นั้น "ร้าน ก.เปรมศิลป์" ร้านซ่อมรองเท้าเล็กๆบริเวณสี่แยกพิชัย
    ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังสวนจิตรลดา ก็โด่งดังเป็นที่รู้จักในชั่วข้ามคืน พสกนิกรชาวไทยต่างกระหายใคร่จะรู้เรื่องราวอันน่าปลื้มปิติ ซึ่งเปรียบได้ดังหยาดน้ำทิพย์ชโลมใจท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่รุมเร้า

    สองวันแรกหลังเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ช่างไก่จึงแทบไม่มีเวลากินข้าวกินน้ำ เนื่องจากกองทัพสื่อมวลชนทุกแขนงที่แห่กันมาทำข่าวอันน่าชื่นชมยินดีนี้ รวมทั้งประชาชนที่อยากชื่นชมฉลองพระบาท แม้กระทั่งทุกวันนี้ ก็มีประชาชนแวะเวียนเข้ามาชมและกราบไหว้รอยพระบาทของพระองค์ท่านที่ร้านอยู่เรื่อยๆ
    แม้แต่พระอาจารย์วัดแคที่ตั้งอยู่บริเวณไม่ไกลจากร้าน ก็ได้นำแบบอย่างพระจริยวัตรของในหลวงที่ทรงดำเนินชีวิต อย่างประหยัดมัธยัสถ์ไปเป็นแบบอย่างในการสอนเด็กนักเรียนด้วย

    ช่างไก่กล่าวอีกว่า ด้วยพระบารมีของพระองค์ท่านนี่เอง ที่ทำให้มีประชาชนให้ความสนใจร้านรองเท้าเล็กๆแห่งนี้ ทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และประชาชนทั่วไปได้มาสั่งตัดและซ่อมรองเท้าที่ร้านของเขามากขึ้น

    "สังคมไทยรักพระองค์ท่าน ผมก็ถือว่าผมโชคดีนะครับ สังคมทั่วไปที่เห็นผมมีโอกาสอย่างนี้ก็อยากจะมีโอกาสอย่างผมบ้าง ผมว่าทุกคนก็มีโอกาสหมดเพราะว่าทุกคนรักในหลวง
    ทุกคนทำอะไรก็ได้ที่เป็นการทำในสิ่งที่ดี ก็เท่ากับว่าได้รับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทแล้ว แม้จะไม่ได้รับโอกาสแบบที่ผมได้รับ
    แต่ก็ขอให้ทุกคนภูมิใจเมื่อตัวเองทำสิ่งที่ดีๆ เพราะเท่ากับได้สนองพระราชดำริของพระองค์ท่าน ที่ทรงแนะนำพสกนิกรให้ทำแต่สิ่งที่ดีๆ สังคมก็จะดีทั่วๆกัน"

    บางคนอาจจะเมินหรือมองข้ามอาชีพช่างทำรองเท้า แต่สำหรับช่างไก่แล้ว กลับคิดว่าอาชีพของเขามิได้ต่ำต้อย และหากจะเปรียบกับอวัยวะต่างๆของร่างกายแล้ว อาชีพช่างทำ-ซ่อมรองเท้านั้น ก็นับเป็นส่วนประกอบหนึ่งของสังคม
    เช่นดังที่เท้าเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย

    ความมุ่งหวังตั้งใจสูงสุดของช่างซ่อมฉลองพระบาทผู้นี้ คือ ซื่อสัตย์และตั้งใจทำงานของตนต่อไปให้ดีที่สุด

    "ถ้าผมไม่มีกิจการรองเท้า ผมก็ไม่มีโอกาสถวายการรับใช้อย่างใกล้ชิดพระองค์ท่านแบบนี้ แม้จะไม่ร่ำรวย หรือประสบความสำเร็จอะไรมากมาย
    แต่สำหรับผม
     
  2. :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ความภักดีที่เที่ยงตรงของ "อนุลักษณ์ ตาณพันธุ์"

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="21%" border=0><TBODY><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ.ลักษณ์เท็ฆนิคการช่าง คือร้านนาฬิกาชื่อดัง ที่แฝงตัวอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายบนถนนท่าพระจันทร์ ด้วยความเรียบง่ายของการจัดร้าน ที่ดูแล้วไม่แตกต่างจากร้านอื่นๆ ในบริเวณเดียวกันนัก อาจทำให้เผลอเดินผ่านไปง่ายๆ ถ้าจะไม่สังเกตเห็นสัญลักษณ์ "ตราครุฑ" ที่ติดอยู่บริเวณหน้าร้าน

    ตราครุฑดังกล่าวนั้น เป็นตราครุฑที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ร้าน "อ.ลักษณ์เท็ฆนิคการช่าง" ในฐานะที่นายช่าง อ.ลักษณ์ หรือนามเต็มว่า อนุลักษณ์ ตาณพันธุ์ ได้รับพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เป็นช่างหลวงเพื่อแก้นาฬิกาส่วนพระองค์ แต่ตำแหน่งที่ภาคภูมินี้ ไม่ได้ทำให้ อ.ลักษณ์สำคัญตัวว่าใหญ่โตประการใด เขากลับภาคภูมิใจเพียงแค่ว่าได้ใช้วิชาชีพที่ร่ำเรียนมา ถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทเท่านั้นเอง

    ด้วยความที่สนใจในศาสตร์และกลไกนาฬิกามาตั้งแต่แรก อ.ลักษณ์จึงเดินทางไปศึกษาจนได้ปริญญามาสเตอร์ด้านวิศวกรรมการแก้นาฬิกาจากต่างประเทศ
    "การเรียนวิศวฯนาฬิกานั้น ในการเรียนปีแรกเป็นเรื่องของการออกแบบในเบื้องต้น พอปีที่ 2 ต้องรู้ว่าคนที่มีสีผิวต่างกัน ควรจะเลือกใส่นาฬิกาแบบไหนถึงจะสวย พอมาปีที่ 3 แยกมาเรียนการแก้นาฬิกาโดยเฉพาะ ต้องจดจำส่วนประกอบต่างๆ ของนาฬิกาทั้งหมด ซึ่งชิ้นส่วนต่างๆจะมีขนาดเล็ก และมีชื่อเฉพาะตัวหมดทุกชิ้น ซึ่งบอกได้เลยว่าในการแก้นาฬิกานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งที่เจอการแก้แบบยากๆ ถึงกับเป็นไข้เลยก็มี เพราะสาเหตุในการหยุดเดินเกิดขึ้นได้ร้อยแปดพันประการ ไม่มีตำรา หรือทฤษฎีที่ว่าด้วยการแก้นาฬิกา

    ...นาฬิกานี่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมเสียอีก ยิ่งสายใยที่อยู่ข้างใน เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก คนแก้นาฬิกาถ้าไม่รู้จริง ไม่เก่งเรื่องสายใย รับรองได้เลยว่าแก้อย่างไรก็พังหมดทุกเครื่อง คนที่จะเป็นช่างแก้นาฬิกาได้นั้น อย่างแรกต้องมีความพยายามในการเรียนรู้ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าไม่มีทฤษฎีตามตำรา อย่างที่สองคือต้องมีความอดทนสูง และอย่างสุดท้ายต้องมีความละเอียดรอบคอบ เพราะมีชิ้นส่วนมากมายเหลือเกินกว่าจะเป็นนาฬิกาขึ้นมาสักเรือน ทุกวันนี้ผมก็คิดว่าตัวเองยังไม่เก่ง นาฬิกาเก่าเป็นหลายร้อยปีผมก็ยังรู้จักไม่หมด ส่วนนาฬิการุ่นใหม่ๆ ผมก็ยังเห็นไม่ทั่ว ยังคงต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา"

    หลังจากที่ อ.ลักษณ์เรียนจบก็ได้กลับมาเมืองไทย และเข้าทำงานกับบริษัทนาฬิกาฝรั่งชื่อดังในยุคนั้น เป็นระยะเวลาหลายปีทีเดียว ช่วงนี้เองที่ฝีมือการซ่อมนาฬิกาของ อ.ลักษณ์เริ่มเป็นที่รู้จัก และเป็นที่กล่าวขวัญกันในวงกว้าง สมญานาม มือทองของวงการ คงพอจะทำให้นึกภาพออกถึงฝีมือในการแก้นาฬิกาของอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

    "ผมทำอยู่ที่ห้างฝรั่งมานานหลายปีทีเดียว จนกระทั่งเริ่มคิดว่าน่าจะมาเปิดร้านของตัวเอง ซึ่งผมมาเปิดร้านเองในปี 2505 โดยชื่อร้านนั้นย่อมาจากชื่อจริงของผม กลายเป็น อ.ลักษณ์เท็ฆนิคการช่าง ลูกค้าของผมมีทุกระดับเลยก็ว่าได้ ตั้งแต่พ่อค้า เศรษฐี ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักการเมือง ประธานศาลฎีกา ไปจนถึงนายกรัฐมนตรี อย่างเช่น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รวมทั้งนาฬิกาขององค์สมเด็จพระสังฆราช"

    หลังจากเปิดร้าน และเป็นที่รู้จักในเรื่องฝีมือการแก้นาฬิกามือทองมาหลายปี มีอยู่วันหนึ่ง ข้าราชการสำนักพระราชวังผู้หนึ่งได้เชิญนาฬิกาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มายังร้าน เพื่อให้ อ.ลักษณ์ซ่อมแซม

    "ผมจำได้ว่านาฬิกาเรือนแรกที่มีโอกาสถวายการรับใช้ท่านนั้น เป็นนาฬิกาตั้งโต๊ะขนาดเล็ก สามารถเล่นเพลงได้ ซึ่งเป็นนาฬิกาที่ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานให้เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ในหลวงท่านจึงทรงรักนาฬิกาเรือนนี้มาก ซึ่งผมทราบมาว่าเสียมาหลายปีแล้ว แต่เพิ่งมาซ่อมได้เพราะผม ท่านจึงมีพระกระแสรับสั่งชมเชยการแก้นาฬิกาของผม โดยทำเป็นหนังสือส่งมาให้ที่ร้าน"

    จากนั้นมานาฬิกาในพระราชสำนักแทบทุกเรือน นับตั้งแต่นาฬิกาส่วนพระองค์ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระโอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ล้วนทรงให้ อ.ลักษณ์เป็นผู้แก้ให้ทั้งสิ้น จนได้รับพระราชทานพระนาม ภปร. ในคราวที่แก้นาฬิกาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ และพระราชทานเหรียญส่วนพระองค์ ราชรุจิ ทอง - เงิน ในคราวที่ อ.ลักษณ์แก้ไขซ่อมแซมนาฬิกาที่สวนจิตรลดา

    "ต่อมาในช่วงที่กรุงเทพมหานครจัดงานฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปี สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผมรับผิดชอบการแก้ไขนาฬิกาโบราณตามพระที่นั่งต่างๆ อย่างพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ซึ่งนาฬิกาที่เสียมีอยู่มากมาย ประมาณ 30 กว่าเรือนได้

    ...ตอนนั้นผมนั่งแก้นาฬิกาทั้งวันทั้งคืนจนไข้ขึ้น นอนอย่างเร็วก็ตี 1 บางคืนก็ไม่ได้นอนเลย ไม่กล้าหยุดพักเพราะกลัวว่าจะเสร็จไม่ทันวันงาน ยังดีที่ตอนนั้นอายุยังไม่มาก ถ้าเป็นตอนนี้คงจะทำไม่ไหวแล้ว แต่ในที่สุดก็เสร็จทันกำหนดการ จำได้ว่าวันที่แก้นาฬิกาทั้งหมดเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีกระแสรับสั่งลงมาแต่งตั้งให้ผมเป็นช่างหลวงประจำพระองค์มาจนถึงทุกวันนี้ และนั่นก็เป็นที่มาของ 'ตราครุฑ' ที่ติดอยู่หน้าร้าน"

    ช่วงเวลาที่ได้พูดคุยกับ อ.ลักษณ์ เราพบว่าช่างหลวงส่วนพระองค์คนนี้มิได้สำคัญตนว่าเป็นคนเก่งเหนือผู้ใด เขากลับภาคภูมิใจเพียงแค่ว่าได้ใช้วิชาชีพที่ศึกษามาด้วยใจรักให้เป็นประโยชน์ ต่อพ่อหลวงของแผ่นดินเท่านั้นเอง

    "มีคนถามกันเยอะถึงเรื่องทายาทที่จะมาสืบสานงานของผมตรงนี้ ซึ่งต้องบอกก่อนเลยว่าเป็นเรื่องยากมาก เพราะอย่างที่บอกไปแล้ว การแก้นาฬิกาไม่มีตำราบอกไว้เป็นข้อๆ ขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะคน ความพยายาม รวมทั้งความอดทนของคนๆนั้น ที่ไม่สามารถถ่ายทอดกันให้ได้ทั้งหมด ช่างแก้นาฬิกาอาชีพนั้น คุณสมบัติสำคัญที่สุดคือต้องมีความจริงใจ และรักนาฬิกา ถึงจะสามารถทำงานตรงนี้ได้

    ...ทุกวันนี้เวลาตื่นนอนตอนเช้า สิ่งแรกที่ผมทำคือจากยกมือไหว้ไปทางทิศตะวันออก แล้วอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ช่วยปกครองคุ้มครองในหลวง พระราชินี และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ ให้อยู่อย่างร่มเย็น มีพระพลานามัยที่แข็งแรง อายุยืนนานนับร้อยปี นอกเหนือจากการแก้นาฬิกาแล้ว นี่คงเป็นอีกอย่างที่ผมสามารถทำอะไรเพื่อพระองค์ท่านได้บ้าง"

    คำกล่าวสั้นๆข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน และความจงรักภักดีของช่างหลวงประจำพระองค์คนนี้ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

    http://images.google.co.th/imgres?i...9A%E0%B8%B2%E0%B8%97&svnum=10&um=1&hl=th&sa=N
     
  3. noi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    5,120
    ค่าพลัง:
    +47,443
    คนดีๆ และเป็นคนเก่งยังมีมากอยู่ในแผ่นดินไทยนะครับ
     

แชร์หน้านี้