เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    มอเตอร์เวิลด์:อย่าลืมระวังหลัง


    มอเตอร์เวิลด์ : อย่าลืมระวังหลัง

    น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ กรุงเทพมหานครก็ถึงกาลที่จะต้องรับน้ำแบ่งปันความทุกข์กันไป แม้ว่าน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ชั้นในก็คงไม่หนักหนาสาหัสเท่าชั้นนอก ที่ยังพอได้อาศัยรถกระบะรถบรรทุกทั้งของรัฐของเอกชนและคนที่มีจิตอาสาสัญจร ไปมาพอคลายทุกข์ไปได้บ้าง

    ถ้าตามอ่าน "คม ชัด ลึก" มาตลอดผมได้เขียนมาตั้งแต่ การเตรียมรถก่อนลุยน้ำ การขับรถลุยน้ำ มาวันนี้น้ำยังไม่ลด รถก็ยังต้องใช้อยู่ก็ถึงคิวที่ว่าขับไปดูแลรถไปด้วยทั้งก่อนขับและหลังขับ ไม่ว่าจะเป็นรถอะไรลุยแบบลุยหนักลุยเบาสิ่งแรกที่ควรจะตรวจดูทุกๆ เช้าก็คือ แบตเตอรี่ เพราะช่วงลุยน้ำเราจำเป็นที่จะต้องใช้ความเร็วเนียนต่ำๆ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของ ไดชาร์จ ที่ทำหน้าที่สร้างและสะสมกระแสไฟไว้ในแบตเตอรี่ต่ำลงพูดง่ายๆ ก็ชาร์จไฟได้น้อยลง อีกอย่างหนึ่งก็คือในขณะที่ลุยน้ำอยู่นั้น พูเลย์ของไดชาร์จที่ได้รับแรงขับจาก สายพาน อาจจะทำให้สายพานลื่นไดชาร์จก็จะไม่ทำงานเป็นช่วงๆ (เปียกก็ลื่นแห้งก็หมุน) จากแบตเตอรี่ก็ไปที่น้ำมันเครื่องตรวจดูระดับให้ถูกต้อง ถ้าระดับบนก้านไม้วัดสูงกว่าปกติก็เป็นเรื่องที่ต้องกังวลว่าน้ำจะเข้า เครื่องหรือก็ตรวจสอบดู (ตามข้อเขียนย้อนหลังที่ผ่านมา) ถ้าเป็นรถที่ใช้เกียร์ออโต้ก็ตรวจสอบดูระดับน้ำมันเกียร์ เช่นกัน เกียร์แมนนวลหรือเกียร์ธรรมดาก็ปล่อยวางไว้ก่อนรวมถึง น้ำมันเฟืองท้ายในรุ่นขับหลัง ด้วย
    ไม่ว่าน้ำจะท่วมล้อหรือแค่ครึ่งล้อไฟ สปอตไลท์ ที่มักจะติดอยู่ในระดับกันชนหน้า ถ้าถอดออกได้ก็ถอดเก็บไว้ก่อน ถอดไม่ได้ค่ำคืนก็งดใช้กันสักระยะ เพราะไฟพวกนี้มักมีราคาแพง อยู่ในระดับต่ำ น้ำเข้าง่ายประกอบกับกินไฟแรงสูงโคมฉายจะร้อนโดนน้ำเย็นๆ นานๆ ก็จะพังเอาง่ายๆ ตรวจดูเลนส์ไฟหน้าไฟท้ายมีน้ำเข้าไปบ้างไหม ถ้ายังก็อาจจะป้องกันไว้ก่อนด้วยเทปกันน้ำ ซิลิโคนแบบใส ปิดหรือยิงไว้รอบเลนส์ไฟทั้งหน้าและหลัง ถ้ามีน้ำเข้าไปแล้วก็ปิดได้ซีลได้แล้วควรจะเตรียม หลอดไฟสำรอง ทั้งไฟหน้าไฟท้ายเก็บไว้ในรถบ้างรวมทั้งฟิวส์ขนาดต่างๆ
    ถ้าหากที่จอดรถเป็นที่แห้งๆ รถกระบะยุคใหม่วันนี้ระบบบังคับเลี้ยวก็มักจะเป็นแบบ แร็กแอนด์พิเนียน ซึ่งก็ต้องมีปลอกยางกันน้ำกันฝุ่นหุ้มป้องกันฝุ่นหรือน้ำที่ชุดเฟืองสะพาน ทั้งซ้ายขวา จะก้มจะมุดก็ไม่ว่ากันตรวจสอบดูว่ายางหุ้มฉีกขากตรงไหนบ้าง หรือไม่ถ้ามีก็ต้องรีบเปลี่ยนเพราะการฉีกขาดจะทำให้น้ำเข้าไปกัดกร่อนตัว ราวสะพานเสียหายหลายตังและน้ำมันเพาเวอร์จะรั่วไหลออกมาได้ จุดนี้สำคัญมากๆ กับรถเก๋งที่เป็นรถที่มักจะวางต่ำแหน่งของชุดเฟืองสะพานบังคับเลี้ยวนี้ต่ำ กว่ารถกระบะ ในรถเก๋งที่มักจะเป็นรถขับเคลื่อนล้อหน้าก็จะมีเพลาขับซ้ายขวาที่เพลาขับก็ จะมียางหุ้มกันน้ำกันฝุ่นตรวจดูสภาพกันบ่อยๆ รั่วฉีกขาดก็ต้องรีบเปลี่ยน
    ในรถกระบะหลายๆ คันที่เอามาลุยน้ำมักจะต่อ ปลายท่อไอเสีย ยกสูงเพิ่มขึ้นมานัยว่าป้องกันน้ำเข้าท่อไอเสียก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ไม่มี ผลเสียอะไร แต่เท่าที่เห็นดูส่วนมากแล้วระหว่าง ข้อต่อ (ปลาย) ท่อไอเสียเดิมกับท่อใหม่ จะต่อเชื่อมเข้าไปเป็นข้องอ ลอดใต้กันชนแล้วยกสูงขึ้นมา ข้องอหรือคอห่านตัวนี้ถ้าจุดใดจุดหนึ่งของท่อไอเสียรั่ว และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำบนถนน เมื่อเข้าที่จอดคอห่านตัวนี้ก็จะ กักน้ำ เอาไว้จนเต็มคอห่านอาจจะทำให้มีปัญหาในการติดเครื่องใหม่

    ก็แก้ไขง่ายตอนเข้าที่จอดติดเครื่อง ปล่อยเกียร์ว่างเร่งรอบเครื่องสักพันห้าถึงสองพันรอบแรงดันไอเสียก็จะมากพอ ขับไล่น้ำที่ติดค้างที่คอห่านออกไปจนหมด จุดอื่นๆ ก็ต้องว่ากันเมื่อน้ำลด ขอให้รอดและปลอดภัยครับ

    ----------------
    (มอเตอร์เวิลด์ : อย่าลืมระวังหลัง)


    -http://www.komchadluek.net/detail/20111106/113911/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%8C:%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87.html-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เลี่ยงเส้นทางน้ำท่วมขัง-เส้นทางที่ยังใช้
    ข่าวอาชญากรรม วันอาทิตย์ที่ 6 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 07:46 น.



    เส้นทางที่ปิดการจราจร เส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยงจากน้ำท่วมขัง และเส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้ รวมทั้งสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้การได้

    ทิศเหนือ ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 7 แห่ง

    1)ถ.วิภา วดีรังสิต ขาเข้า - ขาออก ปิดการจราจรถึงห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำ 80 - 120 ซ.ม. (หมายเหตุ : เดิมขยายพื้นที่การปิดจราจรมาถึงหน้าการบินไทย (สำนักงานใหญ่) เลื่อนมาปิดห้าแยกลาดพร้าว เนื่องจากมีการสูบน้ำ
    ลงคลองบางซื่อ ทำให้ปริมาณน้ำลดลง)

    2)ถ.รัชดาภิเษก ขาเข้า - ขาออก ปิดการจราจร ตั้งแต่ทางต่างระดับรัชวิภา ถึงแยกรัชดา - ลาดพร้าว ระดับน้ำ 40 - 80 ซ.ม.

    3)ถ.ลาดพร้าว ขาเข้า - ขาออก ขยายพื้นที่ ปิดการจราจร ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ถึง ซ.ภาวนา (ลาดพร้าว 39) ระดับน้ำ 60 ซ.ม.

    4)พหลโยธิน ขาเข้า - ขาออก ปิดการจราจรถึงห้าแยกลาดพร้าว ระดับน้ำ 90 -130 ซ.ม.

    5)ถ.รามอินทรา ขาเข้า - ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจรจากแยกวงเวียนบางเขน ถึง ก.ม.5 ระดับน้ำ 100 - 110 ซ.ม.

    6)ถ.แจ้งวัฒนะ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่วงเวียนบางเขน ถึงแยกคลองประปา ระดับน้ำ 90 - 100 ซ.ม.

    7)ถ.งามวงศ์วาน ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกพงษ์เพชร ถึงแยกเกษตร ระดับน้ำ 100 ซ.ม.



    ทิศเหนือ ถนนสายรองปิดการจราจร จำนวน 17 แห่ง

    1)ถ.พระยาสุเรนทร์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 40 - 80 ซ.ม.
    2)ถ.เทอดราชันย์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    3)ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 5 ปิดการจรารตลอดสาย ระดับน้ำ 80 ซ.ม.
    4)ถ.ช่างอากาศอุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    5)ถ.นวมินทร์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ ซ.นวมินทร์ 163 ถึงรามอินทรา ก.ม.8 ระดับน้ำ 70 ซ.ม.
    6)ถ.กำแพงเพชร 6 (ถ.โลคัลโรด) ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่หน้าหมู่บ้านเมืองเอก ถึงหน้าวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 80 - 150 ซ.ม.
    7)ถ.สรงประภา ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกศรีสมานถึงแยก กสบ. ระดับน้ำ 80 ซ.ม.
    8)ถ.เชิดวุฒากาศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซ.ม.
    9)ถ.โกสุมร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    10)ถ.เดชะตุงคะ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    11)ถ.เวฬุวนาราม( วัดไผ่เขียว) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    12)ถ.แจ้งวัฒนะ ซอย 14 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 150 ซ.ม.
    13)ถ.เลียบคลองสอง ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกพลาธิการกองทัพอากาศ ถึงแยกสะพานปูน ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    14)ถ.จันทรุเบกษา ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยก ร.ร.นายเรืออากาศ (คปอ.) ถึงแยกจันทรุเบกษา ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    15)ถ.วัชรพล ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกตัดถนนเพิ่มสิน ถึงห้าแยกวัชรพล ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    16)ถ.เพิ่มสิน (พหลโยธิน 54/1- ถ.สุขาภิบาล 5) ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    17)ถ.สุขาภิบาล 5 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.


    ทิศตะวันตก ถนนสายหลักปิดการจราจร จำนวน 9 แห่ง

    1)ถ.เพชร เกษม ขาเข้า - ขาออก ขยายพื้นที่ปิดการจราจร จากแยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงสะพานข้ามคลองบางไผ่ (ซ.เพชรเกษม 22)ระดับน้ำ 60 - 120 ซ.ม.
    2)ถ.จรัญสนิทวงศ์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกบางขุนนนท์ ถึง สะพานพระราม 7 ระดับน้ำ 70 - 150 ซ.ม.
    3)ถ.สิรินธร ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกบางพลัด ถึงทางต่างระดับสิรินธร ระดับน้ำ 60 - 150 ซ.ม.
    4)ถ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงแยกบรมราชชนนี ระดับน้ำ 80 - 150 ซ.ม.
    5)ถ.อรุณอมรินทร์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกอรุณอมรินทร์ ถึงแยก ร.พ.ศิริราช ระดับน้ำ 80 - 150 ซ.ม.
    6)ถ.บรมราชชนนี ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกบรมราชชนนี ถึงทางต่างระดับสิรินธร (สายใต้เก่า) ระดับน้ำ 60 - 150
    ซ.ม.
    7)ถ.ทางคู่ขนานลอยฟ้า ปิดการจราจรตลอดสาย ไม่สามารถลงพื้นราบได้
    8)ถ.บรมราชชนนี (ช่วงพุทธมณฑล) ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกพุทธมณฑลสาย 4 ถึงแยก ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60 - 80 ซ.ม.
    9)ถ.กาญจนาภิเษก ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่สะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 60 - 80 ซ.ม.


    ทิศตะวันตก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 14 แห่ง

    1)ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ระดับน้ำ 60 - 70 ซ.ม.
    2)ถ.สวนผัก ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกกาญจนา ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ ระดับน้ำ 70 - 100 ซ.ม.
    3)ถ.บางระมาด ขาเข้า-ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.กาญจนาภิเษก ถึงตัด ถ.ราชพฤกษ์ ระดับน้ำ 60 - 90 ซ.ม.
    4)ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึงตัด ถ.กาญจนาภิเษก ระดับน้ำ 40 - 60 ซ.ม.
    5)ถ.ทวีวัฒนา ขาเข้า-เขาออก ตั้งแต่ ประตูระบายน้ำทวีวัฒนา ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40-60 ซม.
    6)ถ.พุทธมณฑลสาย 1 ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ขนส่งรถไฟสายใต้ ถึงคลองบางไผ่ ระดับน้ำ 40 - 60 ซ.ม.
    7)ถ.ทุ่งมังกร ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัด ถ.สวนผัก ระดับน้ำ 80 - 120 ซ.ม.
    8)ถ.ฉิมพลี ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกทุ่งมังกร ถึงหน้า สน.ตลิ่งชัน ระดับน้ำ 40 - 60 ซ.ม.
    9)ถ.ชัยพฤกษ์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ตัด ถ.บรมราชชนนี ถึงตัดวัดชัยพฤกษ์ ระดับน้ำ 40 - 60 ซ.ม.
    10)ถ.บางแวก ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่คลองทวีวัฒนา ถึง สน.บางเสาธง ระดับน้ำ 40 - 80 ซ.ม.
    11)ถ.พุทธมณฑลสาย 2 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50 - 60 ซ.ม.
    12)ถ.พุทธมณฑล สาย 3 ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50 - 80 ซ.ม.
    13)ถ.อุทยาน ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50 - 70 ซ.ม.
    14)ถ.ศาลาธรรมสพน์ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 80 - 150 ซ.ม.



    ทิศตะวันออก ถนนสายหลัก ปิดการจราจร จำนวน 2 แห่ง

    1)ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ ถึงแยกการไฟฟ้ามีนบุรี ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    2)ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกไปรษณีย์ ถึงตัด ถ.ร่มเกล้า ระดับน้ำ 60 ซ.ม.


    ทิศตะวันออก ถนนสายรอง ปิดการจราจร จำนวน 3 แห่ง

    1)ถ.ราษฎร์อุทิศ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    2)ถ.หทัยราษฎร์ ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกตัด ถ.สุวินทวงศ์ ถึง ซ.หทัยราษฎร์ 1 ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    3)ถ.ประชาร่วมใจ ปิดการจราจรตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซ.ม.


    ทิศเหนือ เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้

    1)ถ.รัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกรัชดา - ลาดพร้าว ถึงอุโมงสุทธิสาร (ปิดทางลงอุโมงค์) ระดับน้ำ 30 - 40 ซ.ม.
    2)ถ.พหลโยธิน ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ห้าแยกลาดพร้าว ถึง กรมการขนส่งทางบก ระดับน้ำ 30 - 40 ซ.ม.
    3)ถ.ลาดปลาเค้า ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกลาดปลาเค้า ถึงหน้าวัดใหม่เสนา ระดับน้ำ 40 - 60 ซ.ม.
    4)ถ.สายไหม มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 40 - 50 ซ.ม.
    5)ถ.เสนานิคม 1 ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่แยกเสนานิคม ถึงแยกวังหิน ระดับน้ำ 40 ซ.ม.
    6)บริเวณแยกวัดเสมียนนารี ระดับน้ำ 60 ซ.ม.
    7)ถ.นาวงประชาพัฒนา มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซ.ม.
    8)ถ.คู้บอน ขาเข้า - ขาออก ตั้งแต่ ซ.คู้บอน 19 ถึงหน้า สน.คันนายาว ระดับน้ำ 30 - 50 ซ.ม.
    9)ถ.บูรพา (ดอนเมือง) มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 50 ซ.ม.


    ทิศตะวันออก เส้นทางควรหลีกเลี่ยง รถยนต์ขนาดเล็กผ่านไม่ได้

    1)ถ.นิมิตรใหม่ ขาเข้า - ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 20 -
    30 ซ.ม.
    2)ถ.ไมยลาภ ขาเข้า - ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 - 50 ซ.ม.
    3)ถ.ประชาร่วมใจ ขาเข้า - ขาออก มีน้ำท่วมขังเป็นระยะตลอดสาย ระดับน้ำ 30 - 50 ซ.ม.



    เส้นทางเลี่ยงที่ใช้การได้

    ทิศเหนือ

    1)ดอนเมืองโทลเวย์ ขึ้นด่านดินแดง - ลงสุดทางบริเวณโรงกษาปณ์
    2)ถ.วิภาวดีรังสิต มุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกสุทธิสาร
    3)ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกสะพานควาย
    4)ถ.ลาดพร้าวมุ่งหน้าห้าแยกลาดพร้าว ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณแยกภาวนา
    5)ถ.รามอินทรา ใช้การได้ตั้งแต่ ก.ม.5 ถึง แยกมีนบุรี
    6)ถ.นวมินทร์มุ่งหน้า ถ.รามอินทรา ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ ถึงบริเวณสะพานข้ามแยกเกษตร - นวมินทร์
    7)ถ.ประเสริฐมนูญกิจ (เกษตร - นวมินทร์) มุ่งหน้าแยกเกษตร ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ถึงแยกลาดปลาเค้า

    ทิศตะวันออก
    1)ถ.เลียบท่างด่วนรามอินทรา ใช้การได้ตลอดสาย
    2)ถ.เสรีไทย ใช้การได้ตลอดสาย
    3)ถ.รามคำแหง ใช้การได้ตลอดสาย
    4)ถ.ศรีนครินทร์ ใช้การได้ตลอดสาย
    5)ถ.สุวินทวงศ์ ขาเข้า - ขาออก จาก จ.ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้ามีนบุรี ใช้การได้ถึงแยกตัด ถ.ราษฎร์อุทิศ
    6)ถ.มอเตอร์เวย์ ใช้การได้ตลอดสาย
    7)ถ.วงแหวนตะวันออก (ใต้) ขาเข้า - ขาออก ใช้การได้ตั้งแต่ทางต่างระดับรามอินทรา ถึงทางขึ้น - ลงสุขสวัสดิ์
    บางขุนเทียน
    8)ถ.บางนาตราด ใช้การได้ตลอดสาย
    9)ถ.บูรพาวิถี ใช้การได้ตลอดสาย
    10)ถ.ลาดกระบัง ใช้การได้ตลอดสาย
    11)ถ.อ่อนนุช ใช้การได้ตลอดสาย
    12)ถ.สุขุมวิท ใช้การได้ตลอดสาย


    ทิศใต้
    1)ถ.พระราม 2 ใช้การได้ตลอดสาย

    ทิศตะวันตก
    1) ถ.ราชพฤกษ์ ขาเข้า - ขาออกใช้การได้ตั้งแต่ถ.เพชรเกษม ถึงเชื่อม ถ.กรุงธนบุรี

    สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใช้การได้

    1)สะพานพระพุทธยอดฟ้า (สะพานพุทธ)
    2)สะพานพระปกเกล้า
    3)สะพานตากสิน (สาธร)
    4)สะพานกรุงเทพ
    5)สะพานพระราม 3
    6)สะพานพระราม 9 (สะพานแขวน)
    7)สะพานภูมิพลฯ (วงแหวนอุตสาหกรรม)
    Link : http://www.innnews.co.th/เลี่ยงเส้นทางน้ำท่วมขัง-เส้นทางที่ยังใช้--319330_05.html

    -http://www.innnews.co.th/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89--319330_05.html-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    สหกรณ์เปิดขายข้าว-ไข่ราคาถูก


    สหกรณ์ จัดโครงการสหกรณ์เอื้ออาทรผู้ประสบภัย จำหน่ายข้าว-ไข่ราคาถูก ตั้งแต่วันนี้ถึง 14 พ.ย. 2554
    นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดโครงการสหกรณ์เอื้ออาทรผู้ประสบภัย จัดจำหน่ายสินค้าราคาถูก เช่น ไข่ไก่ฟองละ 4 บาท ถาดละ120 บาท ข้าวหอมมะลิ 5 กก.ถุงละ175 บาท ข้าวขาว 5 กก.ราคา115 บาท นมสหกรณ์หนองโพขนาด 200 ซีซี แพคละ4 กล่องราคา 32 บาท น้ำดื่มขวด 600 ซีซีโหลละ 66 บาท โดยจะเริ่มจำหน่ายวันนี้ถึง14 พ.ย. ประชาชนสามารถซื้อได้ที่สหกรณ์ 20 แห่งในกทม. เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์กระทรวงศึกษา สหกรณ์เทเวศน์ สหกรณ์กรุงเทพ ที่ทำการเขตคลองสามวา สหกรณ์เครดิตยูเนียน เป็นต้นหรือที่สหกรณ์ข้างพรรคชาติไทยพัฒนา
    ทั้งนี้ การจำหน่ายดังกล่าวกรมตั้งเป้าหมายจำหน่ายไข่ 2 ล้านฟอง เพื่อยืนยันในประเทศยังมีไข่จำหน่ายแต่มีปัญหาเรื่องกานขนส่งซึ่งได้รับการ ช่วยเหลือจากทหารในการขนย้ายให้


    [​IMG]


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88-%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94/120201/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .




    รศ.ดร.เสรี เผยคนกรุงจมน้ำนาน 1 เดือน



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ดู เหมือนว่าสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพยังวิกฤติ หลาย ๆ พื้นที่ได้รับความเดือนร้อน รวมถึงยังมีอีกหลายเขตที่กำลังจะได้รับผลกระทบนี้ ทำให้หลายฝ่ายประเมินว่าคงต้องใช้เวลานานพอสมควร กว่าจะฟื้นฟูกรุงเทพฯ ให้กลับมาเป็นเหมือนเคย

    ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร ได้ประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ กทม. โดยระบุว่าส่วนตัวมองว่า กทม.ต้องประสบกับสภาพน้ำท่วมไปอีก 1 เดือน แต่น้ำจะค่อยลดระดับลงบ้างทางฝั่งดอนเมืองและรังสิต โดยน้ำจะเข้าถึง กทม. ชั้นในบางจุด และบางจุดอาจจะไม่ท่วม เพราะแต่ละพื้นที่มีความสูงต่ำต่างกัน ขณะนี้น้ำกำลังเคลื่อนตัวจากแยกรัชโยธินไปคลองบางซื่อแล้วจะเริ่มเอ่อล้น เข้าสู่ ถนนรัชดาภิเษก เมื่อเข้าสู่ถนนรัชดาภิเษกก็จะไปเจอแยกพระราม 9 จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าเขตราชเทวี เป็นพื้นที่ต่ำ อีกฝั่งจะเลี้ยวซ้ายเข้าเขตบางกะปิ และสะพานสูงต่อไป

    ส่วนน้ำอีกสายหนึ่งแยกมาทางด้าน ถนนวิภาวดี ถนนพหลโยธิน ตลาดนัดสวนจตุจักร ทางฝั่งถนนวิภาวดีน้ำจะเคลื่อนตัวได้ช้า โดยเฉพาะบริเวณดินแดงเนื่องจากมีลักษณะเป็นเนินสูง การระบายน้ำเข้าคลองบางซื่อเป็นเพียงการแก้ไขสถานการณ์เท่านั้น เช่นเดียวกับด้านฝั่งจตุจักร ถนนพหลโยธินก็มีลักษณะเป็นเนินทำให้น้ำเคลื่อนตัวช้าเหมือนกัน

    ดัง นั้น หากน้ำจะเข้าถึงพื้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ น่าจะมาจากฝั่งราชเทวีมากกว่า เพราะมีพื้นที่ต่ำทำให้น้ำเคลื่อนตัวได้เร็ว ขณะนี้ใน กทม. มีมวลน้ำทั้งหมด 150 ล้านลบ.ซม. ต้องไหลลงต่ำไปเรื่อย ๆ เพื่อออกแม่น้ำหรือลงทะเล อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ทั้งหมดต้องดูว่าการทำคันกั้นน้ำของ ศปภ. ได้ผลหรือไม่


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG]


    [​IMG]

    [5 พ.ย.] นครบาลสั่งปิดจราจรรัชดา-ลาดพร้าว เหตุน้ำทะลัก (ไอเอ็นเอ็น)

    พลตำรวจตรี วรศักดิ์ นพสิทธิพร รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล รับผิดชอบงานจราจร กล่าวถึงสถานการณ์จราจรในเช้าวันนี้ (5 พฤศจิกายน) ว่า ด้านทิศเหนือบริเวณถนนวิภาวดี-รังสิต แยกสุทธิสาร ได้ปิดการจราจรแล้ว หลังจากน้ำที่ห้าแยกลาดพร้าวท่วมสูงสัญจรลำบาก โดยล่าสุดเมื่อเวลาประมาณ 06.00 น. น้ำได้เอ่อล้นเพิ่มสูงขึ้น บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว ต่อเนื่องจนถึงศาลอาญา เลยมาจนถึงบริเวณหน้าโรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค น้ำท่วมสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร รถเล็กสัญจรได้ลำบาก จึงต้องปิดการจราจร ตั้งแต่แยกสุทธิสาร-รัชดา

    ส่วน ด้านแยกประชานุกูล มุ่งหน้าถนนรัชดาภิเษก ปิดการจราจรทั้งเส้น โดยให้อ้อมไปทางถนนประชาชื่น ส่วนด้านตะวันออก ตั้งแต่ย่านมีนบุรี ถนนราษฎร์อุทิศ ปิดการจราจร รถเล็กผ่านไม่ได้ ขณะที่ด้านตะวันตกเหลือเพียงเส้นทางถนนพระราม 2 โดยถนนเพชรเกษมขาเข้าและออก ใช้ได้เพียงทางต่างระดับราชพฤกษ์

    ทั้งนี้ ทุกจุดเสี่ยงและพื้นที่มีน้ำท่วมขัง จะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร จากกองบังคับการตำรวจจราจร, สถานีตำรวจท้องที่ และ ตำรวจชุดช่วยเหลือน้ำท่วม คอยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน โดยสามารถสอบถามเส้นทางได้ที่สายด่วน 1197 เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนทุกชั่วโมง

    ล่าสุดจากระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้นบน ถ.วิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก ตั้งแต่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ได้มีการปิดจราจรบนสะพานลอยข้ามแยก ที่จะผ่านไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง ถ.ลาดพร้าวและรัชโยธิน ทำให้มีผู้นำทรายบรรจุถุง ใส่รถบรรทุกขนาดใหญ่ มาเปิดขายเป็นจำนวนมาก ในราคาถุงละ 35 บาท

    ขณะที่ร้านค้าและบริษัทต่างได้มีการทำแนวป้องกันกระสอบทรายไว้โดยส่วนใหญ่แล้ว และมีการติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอย่างใกล้ชิด บน ถ.วิภาวดีรังสิต ในขณะที่ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ภายในซอยต่าง ๆ ก็ได้ให้ความสนใจระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้น และได้มีการเตรียมยกของขึ้นที่สูงไว้แล้ว เพราะเห็นประสบการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพื้นที่อื่น ๆ จึงไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับชุมชนของตนเอง


    [​IMG]ระดับน้ำวิภาฯ หัวน้ำถึงหน้าวอยซ์ทีวี

    สถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กำลังขยายวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ หลายจุดระดับน้ำเพิ่มสูง โดยตลอดทั้งคืน ระดับน้ำในคลองลาดพร้าวและคลองบางซื่อ มีน้ำเอ่อตลิ่งอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้

    - 01.30 น. บริเวณห้าแยกลาดพร้าว บนถนนพหลโยธิน ระดับน้ำสูง 50 ซ.ม. เจ้าหน้าที่ต้องปิดการจราจร ฝั่งขาออก ให้ผ่านเฉพาะรถใหญ่เท่านั้น ขณะที่ น้ำเริ่มท่วมขังถึงหน้ามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นแล้ว นอกจากนี้ รายงานพบว่า น้ำผุดขึ้นตามท่อบริเวณขนส่งหมอชิตเก่า อีกด้วย ขณะที่ ถนนลาดพร้าว ขาออกถึงปากซอยภาวนา ในช่องทางซ้าย ระดับน้ำสูงท่วมเท่าฟุตบาท ส่วนการจราจรช่องทางขวา ยังสามารถใช้การได้อยู่

    - 01.30 น. ถนนรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว ในช่องทางซ้าย ระดับน้ำเท่าฟุตบาท ส่วนที่ถนนรัชดาภิเษก ขาออก บริเวณหน้าศาล การจราจรช่องทางซ้าย ระดับน้ำท่วม ประมาณ 50-60 ซ.ม. ส่วนช่องทางขวารถเล็ก ยังวิ่งได้

    - 03.00 น. บริเวณแยกรัชดา-ลาดพร้าว มีระดับน้ำอยู่ที่ 50 ซ.ม. ส่วนที่ ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่ ซอย 22 , 24 , 26 และ 28 รวมถึง ชุมชนที่อาศัยอยู่ข้างคลองโรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ก็ได้รับผลกระทบจากน้ำที่เอ่อเข้าท่วมแล้ว

    - 04.00 น. บริเวณถนนหลังสวนจตุจักร มีน้ำสูงถึงฟุตบาทแล้ว ส่วนด้านถนนพหลโยธิน ขาเข้า น้ำเอ่อมาถึงหน้าธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่

    - 05.40 น. พื้นที่ใกล้เคียงสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มมีน้ำเอ่อ ขณะที่ บริเวณหน้าทางเข้ารถไฟฟ้า BTS เริ่มมีน้ำท่วมขังแล้ว

    ขณะที่ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ แจ้งสภาวะระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ ประจำวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554 คาดว่า น้ำลงเต็มที่เวลา 07.05 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 1.62 เมตร และน้ำขึ้นเต็มที่เวลา 15.03 น. สูงกว่าระดับทะเลปานกลาง 2.20 เมตร ทั้งนี้ ระดับน้ำที่คาดการณ์ไว้เป็นระดับ ซึ่งรวมระดับน้ำทะเลหนุนและอิทธิพลอื่น ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงการระบายน้ำ หรือ มีปริมาณน้ำฝนที่ผิดปกติ ระดับน้ำอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้

    อย่างไรก็ตาม จากข้อมูล ศปภ.1111 กด 5 ระบุว่า การวางบิ๊กแบ็ค คืบหน้าไป 70-80 % และจนถึงเวลา 05.00 น. ยังไม่มีรายงานเข้ามาว่าแล้วเสร็จ ตามที่ได้คาดการณ์ไว้แต่อย่างใด


    [​IMG] ระดับน้ำวิภาฯหัวน้ำถึงหน้าวอยซ์ทีวี

    สถานการณ์น้ำบน ถ.วิภาวดีรังสิต บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ฝั่งขาออกในขณะนี้ น้ำจากห้าแยกลาดพร้าว ได้ไหลไปตาม ถ.วิภาวดีรังสิต ผ่านด้านหน้า สถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี จนถึง สี่แยกสุทธิสารแล้ว โดยการจราจรบน ถ.วิภาวดีรังสิต ในขณะนี้ รถเล็ก ไม่สามารถสัญจรได้ เนื่องจาก มีระดับน้ำ ตั้งแต่ 20 - 30 ซ.ม. เป็นช่วง ๆ ในขณะที่ ถ.วิภาวดีรังสิต ฝั่งขาเข้า น้ำจากห้าแยกลาดพร้าว ยังคงอยู่ที่บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ขณะที่การจราจร ยังคงเปิดให้สัญจรตามปกติ แต่มีปริมาณรถน้อยมาก เนื่องจากปริมาณน้ำที่เอ่อขึ้นมาจากท่อ เลียบถนนใกล้เต็ม อาจล้นออกมาบนผิวจราจรได้


    [​IMG] น้ำบน ถ.วิภาฯหน้า ศปภ. สูง 80 ซ.ม. แล้ว

    สถานการณ์น้ำบน ถ.วิภาวดีรังสิต หน้าศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ขณะนี้มีน้ำท่วมสูงประมาณ 80 ซ.ม. ทำให้การเดินทางมาบริเวณนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะรถเล็กไม่สามารถผ่านมาได้แล้ว ต้องใช้เส้นทางยกระดับ ดอนเมือง โทลล์เวย์ ที่ได้มีการทำถนนยกระดับไปยัง ศปภ. โดยตรง และขณะนี้ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว น้ำได้ท่วมบริเวณโดยรอบสูงประมาณ 60 ซ.ม.แล้ว แต่บริเวณนี้ยังคงมีรถกระบะ สัญจรอยู่ แต่ก็เป็นไปด้วยความยากลำบาก รวมถึงยังคงมี รถเมล์ บางสาย ให้บริการประชาชน แต่ต้องใช้เวลารอนานกว่าปกติ


    [​IMG] หัวน้ำ กม.8 ทะลุโลตัสนวมินทร์ออกนวลจันทร์แล้ว

    พ.ต.ท.คเณศ ศิริรัตน์ สว.จร.สน.โคกคราม เปิดเผย ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า หัวมวลน้ำที่ทะลักท่วมจาก กม. 8 รามอินทรา ได้ลามเข้าท่วมถนนนวมินทร์ ลึกมาถึง โลตัส สาขานวมินทร์แล้ว ซึ่งมีระดับน้ำท่วมสูง 30-50 ซ.ม. ไม่แนะนำให้รถเล็กขับผ่าน และน้ำจะมาทะลุท่อระบายน้ำอีกครั้งที่แยกเกษตรตัดใหม่ ตัดนวมินทร์ หรือ ซอยนวลจันทร์ โดยมีระดับนำเอ่อท่วมสูง ประมาณ 15-20 ซ.ม.รถเล็กยังผ่านได้อยู่ ซึ่งมวลน้ำมีแนวโน้มท่วมไปเรื่อย ๆ และเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนแล้ว

    [​IMG] นิคมบางชันหารือผู้ประกอบการทิศทางน้ำ

    นายธเนศ วีระศิริ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ว่า กรณีการร้องขอเครื่องสูบน้ำจำนวน 2 ตัว เพื่อนำมาเร่งระบายน้ำออกจากบึงกระเทียม เนื่องจากขณะนี้ บึงกระเทียม มีน้ำเป็นจำนวนมาก และเริ่มเอ่อขึ้นแตะฐานกำแพงของโรงงานที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงนั้น จากที่ได้รับ

    รายงานยืนยันว่า ขณะนี้เครื่องสูบน้ำได้เข้ามายังนิคมอุตสาหกรรมแล้ว ซึ่งในเช้าวันนี้จะมีการหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ร่วมกับศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม นิคมอุตสาหกรรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยต่าง ๆ โดยในวันนี้จะมี นายสมเจตน์ ทิณพงษ์ อดีตผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เข้าร่วมพูดคุยกับ ผู้ประกอบการโรงงาน เพื่อหารือกันในเรื่องของทิศทางของน้ำ ที่จะเข้ามายังตัวนิคมอุตสาหกรรม อีกด้วย

    [​IMG] น้ำทะลักท่วมลาดพร้าว ซ.1-43 แล้วจ่อปิดจราจร

    พ.ต.ท.พิษณุ โกสิยวัฒน์ สว.จร.สน.พหลโยธิน เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า สถานการณ์ล่าสุด น้ำได้ทะลักเข้าท่วมถนนลาดพร้าว ตั้งแต่ปากซอย ลาดพร้าว 1 จนถึง ลาดพร้าว 43 หรือ ซอยภาวนา แล้ว โดยระดับน้ำสูงต่ำไม่เท่ากัน ซึ่งที่สูงสุดขณะนี้ ประมาณ 30 ซ.ม. เสมอฟุตปาธ และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และขยายวงเกือบถึงแยกโชคชัย 4 แล้ว ทำให้รถเล็กผ่านได้ลำบาก ซึ่งทางตำรวจ พยายามตัดรถเล็ก ไม่ให้เข้าเส้นทางแล้ว และคาดว่า ไม่นานนี้คงจะต้องทำการปิดจราจร ตั้งแต่ต้นถนนลาดพร้าว จนถึงแยกโชคชัย 4 เพราะระดับน้ำเพิ่มสูงมากขึ้น อย่างรวดเร็ว

    [​IMG] ปตร.คลองสามวา สงบ หลังน้ำท่วมสูงเท่ากันแล้ว

    พ.ต.อ.สมควร พึ่งทรัพย์ ผกก.สน.นิมิตรใหม่ เปิดเผย ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์ล่าสุดที่ ประตูระบายน้ำคลองสามวา เรียบร้อยดี เนื่องจาก ไม่มีมวลชนมากดดันแล้ว เพราะน้ำได้เข้าท่วมทั้งหลังประตูระบายน้ำ และในประตูในระดับเท่ากันแล้ว จึงไม่มีใครเสียเปรียบ ได้เปรียบแล้ว ส่วนระดับน้ำในพื้นที่โดยรวมนั้น มีน้ำท่วมเพิ่มขึ้น โดยถนนเส้นหลัก คือ ถนนมิตรใหม่ ขณะนี้น้ำเข้าท่วมทางเป็นระยะ ซึ่งรถเล็กไม่แนะนำให้สัญจรแล้ว เพระบางช่วง ระดับน้ำสูงมาก

    [​IMG] 5 แยกลาดพร้าวปิดจราจรสะพานข้ามแยก

    จากระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้นบน ถ.วิภาวดีรังสิต ฝั่งขาออก ตั้งแต่บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ได้มีการปิดจราจรบนสะพานลอยข้ามแยกที่จะผ่านไปยัง ท่าอากาศยานดอนเมือง ถ.ลาดพร้าวและรัชโยธิน ทำให้มีผู้นำทรายบรรจุถุง ใส่รถบรรทุกขนาดใหญ่ มาเปิดขายเป็นจำนวนมาก ในราคาถุงละ 35 บาท ขณะที่ ร้านค้าและบริษัทต่างได้มีการทำแนวป้องกันกระสอบทรายไว้โดยส่วนใหญ่แล้ว และมีการติดตามสถานการณ์ระดับน้ำอย่างใกล้ชิด บน ถ.วิภาวดีรังสิต ในขณะที่ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ภายในซอยต่าง ๆ ก็ได้ให้ความสนใจระดับน้ำที่ท่วมสูงขึ้น และได้มีการเตรียมยกของขึ้นที่สูงไว้แล้ว เพราะเห็นประสบการณ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากพื้นที่อื่น ๆ จึงไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับชุมชนของตนเอง

    [​IMG] น้ำ 5 แยกลาดพร้าวไหลถึง BTS หมอชิตแล้ว

    สถานการณ์น้ำ บริเวณห้าแยกลาดพร้าวที่ท่วมสูง ได้ไหลมาตาม ถ.พหลโยธิน จนถึง สะพานยกระดับข้ามแยกที่จะตรงไปตลาด อ.ต.ก. แล้ว ในขณะที่ ถ.พหลโยธิน มุ่งหน้าสะพานควาย น้ำยังคงอยู่ด้านหน้าสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส หมอชิต และท่วมขังเป็นช่วง ๆ จนถึง สถาบันการบินพลเรือน และกรมการขนส่งทางบก ตรงข้ามตลาดนัดสวนจตุจักร ขณะที่ ตลาดนัดสวนจตุจักร ได้มีการติดป้ายตลาดนัดเปิดทำการตามปกติ แต่มีลูกค้ามาเดินซื้อสินค้าน้อยมาก ในขณะที่ร้านค้าส่วนใหญ่ ก็ปิดร้านรอดูสถานการณ์น้ำ

    [​IMG] น้ำจากศาลอาญาทะลุ รร.เจ้าพระยาปาร์คแล้ว

    พ.ต.อ.ไพศาล วงศ์วัชรมงคล ผกก.สน.สุทธิสาร เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ล่าสุดว่า หัวน้ำที่ไหลบ่ามาจาก หน้าศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ได้เข้าท่วมพื้นที่แล้ว โดยมาถึงหน้า โรงแรมเจ้าพระยาปาร์คแล้ว แต่ระดับน้ำยังไม่สูงมาก รถยังสามารถสัญจรได้อยู่ ส่วนแนวโน้มคาดว่าระดับน้ำ น่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ และขยายพื้นที่ต่อไป

    [​IMG] มวลน้ำทะลุ ร.พ.บางไผ่ จ่อท่วมสี่แยกท่าพระ

    เจ้าหน้าที่ตำรวจ จร.สน.ท่าพระ ที่ประจำป้อมควบคุมสัญญาณไฟ สี่แยกท่าพระ เปิดเผยว่า ขณะนี้ มวลน้ำที่ทะลักมาจาก ถนนเพชรเกษม ได้มาถึง ร.พ.บางไผ่ ฝั่งขาเข้าแล้ว ซึ่งอยู่ห่างจาก สี่แยกท่าพระ เพียง 1 กม. เท่านั้น คาดว่า ไม่นานมวลน้ำจะถึงสี่แยกท่าพระอย่างแน่นอน ส่วนเส้นถนนจรัญสนิทวงศ์ มวลน้ำจากสี่แยกพาต้า ยังมาไม่ถึง

    [​IMG] นิคมบางชัน เอ่อ10 ซ.ม.แล้ว ยังไร้ผลกระทบ

    ความเคลื่อนไหวล่าสุด บริเวณหน้านิคมอุตสาหกรรมบางชัน ระดับน้ำสูง ประมาณ 10 ซ.ม. ได้เอ่อล้นบนถนน 2 ช่องทาง เนื่องจากมีน้ำผุดขึ้นมาจากท่อระบายน้ำเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เมื่อวานนี้แล้ว ทำให้เหลือการจราจรเพียง 1 ช่องทาง อย่างไรก็ตาม การจราจรยังไม่ติดขัด รถยนต์และรถโดยสาร ยังสามารถสัญจรได้ ส่วนทาง บริษัทในกลุ่มสหยูเนี่ยน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการของนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ได้นำกระสอบทรายมาวางเป็นคันกั้นน้ำ บริเวณซอยเสรีไทย 39 ทางเข้าของบริษัท โดยน้ำบางส่วนได้เอ่อล้นเข้ามาในพื้นที่หน้าบริษัทเพียงเล็กน้อย แต่ได้มีการสูบออกตลอดเวลา คาดว่า จะไม่มีผลกระทบต่อบริษัท

    [​IMG] น้ำจาก กม.ทะลุ กม.9 อีก 1 กม. ถึงแฟชั่นแล้ว

    พ.ต.ท.ศุภวัช ปานแดง สว.จร. สน.คันนายาว เปิดเผย ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์ล่าสุด มวลน้ำจากสามแยก กม.8 และจากถนนวัดคู้บอน ได้ไหลทะลุไปถึงบริเวณ ถนนรามอินทรา กม.9 หน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่แล้ว โดยมีระดับความสูงที่ประมาณ 10-20 ซ.ม. รถยังสามารถสัญจรได้อยู่ และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเหลือระยะทางอีก ไม่ถึง 1 กม. น้ำก็จะถึง ห้างสรรพสินค้า แฟชั่นไอส์แลนด์แล้ว ซึ่งถือว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะน้ำจากด้านหลังห้าง ก็ไหลทะลักมาเช่นเดียวกัน ส่วนด้านหน้าก็มาจากถนนรามอินทรา

    [​IMG] น้ำท่วมมีนบุรีไม่ขยายวงกว้าง-รถสัญจรได้

    พ.ต.ท.ถนัด นักธรรม รองผู้กำกับการฝ่ายจราจร สน.มีนบุรี เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า สถานการณ์น้ำล่าสุดในพื้นที่ ยังไม่ขยายวงไปยังพื้นที่ใหม่ ยังคงเป็นจุดเดิมที่มีปัญหา คือแยกพาณิชย์ ต่อเนื่องแยกไฟฟ้า แยกไปรษณีย์ แยกราษฎร์อุทิศ และแยกสุวินทวงศ์ ทั้งขาเข้าและขาออก ขณะนี้ รถเล็กไม่สามารถสัญจรได้ โดยให้เลี่ยงใช้เส้นทาง หากมาจากถนนรามอินทรา ให้ใช้เส้นทางเข้าถนนเสรีไทย เข้าถนนรามคำแหง ถนนร่มเกล้า แล้วออกลาดกระบัง-มอเตอร์เวย์ แต่ยังไม่มีการปิดการจราจรแต่อย่างใด ทั้งนี้ คาด น้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    [​IMG] น้ำแสนแสบติดนิคมบางชันห่างคัน 20 ซ.ม.

    สถานการณ์น้ำ บริเวณนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ระดับน้ำในคลองแสนแสบ ห่างจากคันกั้นน้ำของ กทม. ประมาณ 20 ซ.ม. และห่างจากคันกั้นน้ำของนิคมอุตสาหกรรม ถึง 2 เมตร อย่างไรก็ตาม นิคมอุตสาหกรรมบางชัน ได้มีการเสริมคันกั้นน้ำอยู่ตลอด และมีการสูบน้ำที่ผุดขึ้นมาจากท่อระบายน้ำ ภายในนิคมอุตสาหกรรมออก ส่วนการหยุดกิจการของโรงงาน พนักงานของบริษัทในกลุ่มสหยูเนี่ยน บางส่วน กล่าวว่า ยังไม่มีคำสั่งจากโรงงานให้หยุดทำงาน ต้องรอการประชุมของผู้บริหารภายในวันนี้ก่อน ทั้งนี้ ถ้ามีคำสั่งให้หยุดกิจการ พนักงานบางส่วนจะกลับไปอยู่ต่างจังหวัด หรือ บ้านญาติ ในที่ต่าง ๆ รวมถึงกังวลในเรื่องค่าแรงว่า จะได้รับค่าชดเชยในการหยุดงานครั้งนี้หรือไม่

    [​IMG] ตร.สั่งปิดจราจรลาดพร้าว ซ.1-แยกโชคชัย4

    พ.ต.ท.พิษณุ โกสิยวัฒน์ สารวัตรจราจร สน.พหลโยธิน พหลโยธิน เปิดเผยความคืบหน้าสถานการณ์น้ำท่วม ในเส้นทาง ถนนลาดพราว ซอย 1 ถึง แยกโชคชัย 4 ว่า ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ ตำรวจ จร.สน.พหลโยธิน ได้สั่งปิดเส้นทางไปแล้ว โดยน้ำแผงเหล็ก และตำรวจราจร ยืนอำนวยการจราจร และเบี่ยงรถออกนอกเส้นทาง แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีประชาชนที่ขอนุญาต ขับรถเข้าเส้นทางที่ถูกปิด ซึ่งตำรวจ ก็เปิดให้เข้า เพียงแต่อาจจะทำให้รถเสียได้

    [​IMG] น้ำทะลักลานจอดรถแฟชั่น-เร่งขน 30 คันหนี

    พ.ต.ท.ปราการ ยูวะนิยม สารวัตรจราจร สถานีตำรวจนครบาลบางชัน เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ขณะนี้ ได้มีน้ำรั่วซึมบังเกอร์ ทะลุกระสอบทราย บริเวณลานจอดรถด้านหลังของห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา ซึ่งมีรถยนต์ของประชาชน ที่มาจอดหนีน้ำท่วมประมาณ 30 คัน จอดอยู่ โดยระดับน้ำสูง ประมาณ 10 ซ.ม. ทาง ตำรวจ ร่วมกับ ทางห้าง ได้นำเอารถยกมาขนรถดังกล่าวไปจอดไว้ในที่ปลอดภัยแล้ว ซึ่งมวลน้ำดังกล่าว ไม่เข้าท่วมบริเวณตัวห้าง แต่อย่างใด

    [​IMG] ห้าแยกลาดพร้าวรถเล็กไม่สามารถสัญจรได้

    การจราจรบน ถ.พหลโยธิน ตั้งแต่บริเวณแยกกำแพงเพชร ผ่านกรมการขนส่งทางบก จนถึง สถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส หมอชิต ธนาคารทหารไทย สำนักงานใหญ่ มีน้ำท่วมขังผิวจราจร แต่รถเล็กยังสามารถผ่านได้ โดยใช้ช่องทางขวาซึ่งสุด เนื่องจาก ยังมีระดับน้ำต่ำ ขณะที่ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว รถเล็กทุกชนิดไม่สามารถผ่านได้แล้ว โดยประชาชนที่จะเดินทาง สามารถใช้บริการรถทหาร ซึ่งมีบริการตลอดเวลาได้

    [​IMG] ศอส. สรุปน้ำท่วม 25 จว. ตายแล้ว 446 ราย

    นายบุญส่ง เตชะมณีสถิตย์ รองอธิบดีกรมการปกครอง เป็นประธานการประชุม ศอส. ร่วมกับ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน ยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 25 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สมุทรปราการ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และกรุงเทพมหานคร 148 อาเภอ 1,151 ตาบล 8,352 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,175,264 ครัวเรือน 3,160,417 คน และมีผู้เสียชีวิต 446 ราย สูญหาย 2 ราย



    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/64227-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    “สธ.”เผยพบผู้ประสบภัยในกทม.แผลอักเสบร้อยละ 30 และพบแผลเหยียบสิ่งของมีคมร้อยละ20

    ผู้ ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เผยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในกทม.พบผู้ประสบภัยแผลอักเสบร้อยละ 30 มีแผลจากการเหยียบของมีคมร้อยละ 20 โดยผู้ประสบภัยกว่าร้อยละ 90 เปลือยเท้าลุยน้ำ แนะให้สวมรองเท้าขณะเดินลุยน้ำทุกครั้ง หากเกิดบาดแผล วิธีการดูแลเบื้องต้น ขอให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดทั่วไป เช่นน้ำดื่มบรรจุขวด และปิดแผลให้แน่นด้วยผ้าสะอาดเพื่อห้ามเลือด จากนั้นจึงไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้ที่สุด
    นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากการตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกระทรวงสาธารณสุขที่ออกให้บริการ ร่วมกับกทม.ที่ย่านดอนเมือง กทม. มีปัญหาน่าห่วงพบผู้ประสบภัยที่มีบาดแผลหรือรอยขีดข่วน เริ่มมีการอักเสบมากขึ้น พบได้ประมาณร้อยละ 30 ของผู้เจ็บป่วยที่ไปรับบริการ และพบผู้มีบาดแผลจากการเหยียบสิ่งของมีคมร้อยละ 20 ซึ่งจากการสังเกตพบว่าผู้ประสบภัยที่เดินลุยน้ำออกมาจากซอยต่างๆ กว่าร้อยละ 90 เดินเท้าเปล่า ซึ่งเสี่ยงต่อการเหยียบสิ่งของมีคมใต้น้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ที่น้ำสีดำคล้ำจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งแปลกปลอมใต้น้ำได้ จึงขอให้ผู้ประสบภัยสวมรองเท้าทุกครั้งที่เดินลุยน้ำ เพื่อป้องกันการเกิด บาดแผลที่เท้า

    นายแพทย์ธวัชชัยกล่าวต่อว่า เมื่อเกิดบาดแผล วิธีการดูแลเบื้องต้น ขอให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดทั่วไปเช่นน้ำดื่มบรรจุขวด และปิดแผลให้แน่นด้วยผ้าสะอาดเพื่อห้ามเลือด จากนั้นจึงไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่อยู่ใกล้ที่สุด เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า การดูแลบาดแผลยังไม่ถูกต้อง และอาจมีอันตรายจากการติดเชื้อที่อยู่ในน้ำสกปรก อาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้

    นาย แพทย์ธวัชชัยกล่าวต่อว่า ผู้ที่มีบาดแผลหรือมีรอยขีดข่วนตามผิวหนัง ขอให้หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ เนื่องจากน้ำท่วมขณะนี้มีความสกปรกสูง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าแผล เพราะจะทำให้แผลอักเสบรุนแรง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ หลังลุยน้ำขอให้ล้างให้สะอาดและซับให้แห้ง แผลจะค่อยๆ ดีขึ้น ส่วนผู้ที่มีบาดแผลลึก ขอให้ทำแผลทุกวัน และให้สังเกตอาการผิดปกติ หากแผลอักเสบ บวมแดง มีหนอง หรือเนื้อที่ขอบแผลมีลักษณะซีด ขอให้ไปพบแพทย์ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่



    ****************************** 2 พฤศจิกายน 2554





    แหล่งข่าวโดย » สำนักสารนิเทศ
    [พฤศจิกายน พุธ 2,พ.ศ 2554 00:00:00]



    -http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=42159-


    .


    http://www.moph.go.th/ops/iprg/inclu...dHot_new=42159

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ในกรณี เรื่องของ EM ball มีการออกมาพูดกันเยอะ

    สังคมไทยวุ่นวาย ก็เพราะส่วนหนึ่งของหลายๆกลุ่ม หลายๆนักวิชาเกิน ออกมาพูด สักๆแต่ว่าพูดกันไป ในสิ่งที่พูดนั้น เวลาที่ทำไม่ได้ตามที่พูด หลายๆกลุ่ม หลายๆนักวิชาเกิน ก็หายตัวกันไป

    น่าจะมีมาตรการอะไรสักอย่าง ที่ทำให้คนเหล่านี้ที่ออกมาพูด ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองพูด

    ญี่ปุ่นเอง หากพูดหรือกระทำให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ ต่อสังคม เท่าที่พบเห็นมา จะออกมารับผิดชอบในการกระทำของตนเอง เช่นการลาออกจากตำแหน่งที่ตนเองมีอยู่

    สังคมไทย หากมีคนประเภทนี้เพียง 20 % ผมว่าประเทศไทยจะเจริญทั้งวัตถุและจิตใจมากกว่านี้มากมาย

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ความเชื่อและความจริง: จากคนน้ำท่วมถึงคนที่ยังไม่ท่วม



    ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก เฟชบุ๊ก Roundfinger

    ด้วย สถานการณ์น้ำท่วมที่ถาโถมเข้าใส่หลาย ๆ พื้นที่ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ทำให้ประชาชนเดือนร้อนกันแทบจะทุกย่อมหญ้า บางคนก็มีการเตรียมตัวตั้งรับที่ดี แต่บางคนก็มัวแต่คิดว่าน้ำไม่ท่วมหรอก อาจเพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ยังไม่เคยเห็นน้ำท่วมสักครั้ง จนทำให้เกิดความประมาท วันนี้เราเลยขอนำเอาบทความดี ๆ จากเฟซบุ๊ก Roundfinger ที่เขียนโดยคุณ นิ้วกลม มาบอกเล่าถึงความเชื่อ และความจริง ในภาวะน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นจากคนน้ำท่วมถึงคนที่ยังไม่ท่วม มาฝากกัน...

    ความเชื่อ :"น้ำไม่ท่วมหรอก อยู่มา 60 ปียังไม่เคยท่วมเลยสักครั้ง"

    ความจริง : ดู สนามบินดอนเมืองสิครับ ใครจะไปเคยคิดว่าน้ำจะท่วม แค่จะจินตนาการยังนึกไม่ออกเลย แต่วันนี้น้ำปริ่มถึงท้องเครื่องบินแล้ว และตอนนี้หลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ ก็มีสิ่งที่คนไม่เคยคิดว่าจะเห็นเกิดขึ้นมากมาย เราอาจไม่สามารถคาดการณ์ "อนาคต" โดยใช้ "อดีต" ได้

    ความเชื่อ :"ท่วมไม่เยอะหรอก เดี๋ยวมันก็ลง"

    ความจริง : จาก ที่เห็นมา แยกเกษตร วันแรกน้ำแห้ง วันที่สองน้ำเอ่อ วันที่สามเอว วันที่สี่น้ำยังเท่าเอวโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ถ้ามันลงเร็วก็ดีใจด้วยครับ แต่การคิดเผื่อว่ามันจะท่วมนานกว่านั้นก็น่าจะทำให้เราเตรียมตัวรับมือปัญหา ต่างๆ ที่จะตามมาได้ดีขึ้น

    ความเชื่อ :ความเชื่อ: "หมู่บ้านเราสูบน้ำออกได้"

    ความจริง : การ สูบน้ำออกจากหมู่บ้านอาจพอทำได้ในวันแรก ๆ แต่ถ้าน้ำนอกหมู่บ้านเอ่อขึ้นสูงและมาเยอะมาก เครื่องสูบน้ำในหมู่บ้านอาจสู้ไม่ไหว อาจต้องคิดเผื่อไว้ด้วยครับ

    ความเชื่อ :"บ้านเราสูบน้ำออกได้ ดูสิข้างในยังแห้งอยู่เลย"

    ความจริง : หาก น้ำในบริเวณนั้นไม่ท่วมมากก็อาจจะรอดครับ แต่ถ้าน้ำนอกบ้านท่วมหนัก น้ำจะเริ่มผุดจากท่อในบ้าน และเอ่อล้นบ้าน การสูบน้ำด้วยเครื่องอาจทำให้น้ำในบ้านแห้งได้ แต่ถ้าน้ำขึ้นเยอะอาจต้องระวังอันตรายจากไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องสูบน้ำด้วย เพราะถ้าบ้านแห้งแต่เจ้าของบ้านถูกไฟดูดก็อาจไม่คุ้มกัน และถ้าน้ำสูงขนาดต้องตัดไฟชั้นหนึ่งนั่นแปลว่าระดับน้ำในบ้านก็จะค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องคิดแผนเตรียมไว้ด้วยครับ

    ความเชื่อ :"ถ้าน้ำมา 30-50 ซ.ม. ก็น่าจะอยู่ได้"

    ความจริง: น้ำ ระดับนั้นอาจไม่สูงมากนักเมื่อมองจากตัวเลข แต่มันก็มากพอที่จะทำให้ชีวิตเปลี่ยน เมื่อรถวิ่งไม่ได้ รถเมล์ก็จะไม่มี รถสองแถว วินมอเตอร์ไซค์จะหายไปหมด ในซอยลึกจะออกยากมาก การเดินในน้ำนั้นเมื่อยกว่าที่เราคิดไว้ ถ้าลึกมากเด็กๆ และคนแก่อาจเดินไม่ไหว ถ้าบ้านอยู่ในซอยลึกไกลๆ จะลำบากมาก ไม่ต้องนับว่าการออกมาแต่ละครั้งจะขนของเข้าบ้านได้น้อยมาก เพราะมีแค่สองมือที่ถือไหว หรืออย่างมากก็หนึ่งกะละมังลอยน้ำ ไม่นับน้ำดื่มที่จะซื้อเข้าบ้านซึ่งหนักเกินกว่าจะถือได้เยอะ ออกมาแต่ละครั้งจึงเหนื่อยและใช้เวลานานมาก มิเพียงเท่านั้น อีกสองวันของหมดก็ต้องออกมาอีก

    ความเชื่อ :ความเชื่อ: "ยังไม่ต้องอพยพหรอก รอมันขึ้นถึงระดับที่ไม่ไหวค่อยอพยพ"

    ความจริง : ถ้า ยังเป็นหนุ่มเป็นสาว ไม่มีลูกเล็ก ไม่มีพ่อแม่แก่ชรา ไม่มีหมาแมวหลายตัว ก็น่าจะพอไหวครับ แต่ถ้ามีคนและสัตว์ที่เรารักและห่วงใยที่ดูแลตัวเองไม่ได้ เราอาจต้องเตรียมที่ทางไว้สักหน่อย บ้านญาติมิตรที่ไหนที่พอจะฝากได้ก็น่าจะรีบย้ายออก เพราะถ้าน้ำท่วมถึงระดับที่รถวิ่งไม่ได้ การขนย้ายคนแก่ เด็ก และสัตว์จะทำได้ยากมาก แม้จะมีเจ้าหน้าที่กู้ภัย ทหาร ตำรวจ ฯลฯ มาช่วยเคลื่อนย้ายก็จริง แต่ผู้ประสบภัยมีเยอะมาก จนเจ้าที่เท่าไหร่ก็ไม่พอ เท่าที่ถามเจ้าหน้าที่กู้ภัยมา เขาบอกว่า "ถึงเอวก็ควรอพยพคนแก่ เด็ก และสัตว์แล้วครับ" สำหรับตัวท่านเองที่ยังพอฝ่าน้ำระดับเอวระดับอกออกมาไหว ให้เตรียมเอกสารและของมีค่าเฉพาะที่สำคัญไว้เพียงหนึ่งกระเป๋าเท่านั้น เพราะมากกว่านั้นอาจจะถือไม่ไหวและขนย้ายไม่สะดวก

    ความเชื่อ :"เราอยู่ได้ ก็แค่ซื้อของยากหน่อยเท่านั้นเอง"

    ความจริง : ใน บางพื้นที่ เซเว่นฯ และห้างสรรพสินค้าใกล้บ้านทั้งหลายค่อยๆ ทยอย "ของหมด" กันไปทีละแห่ง การออกมาซื้อของกินของใช้จะลำบากขึ้น และไกลขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายที่ยืนยันตรงกันว่า "ไม่มีคนมาส่งของแล้ว" หากบ้านไหนตุนของไว้เยอะพอก็อาจจะอึดไหว แต่หากบ้านไหนมีของไม่พออาจต้องคิดแผนสองไว้ด้วยก็ดี ว่าถ้าน้ำท่วมอีกเป็นเดือนจะอยู่อย่างไร จะได้เตรียมตัวขั้นต่อไปได้ หรืออย่างน้อยก็เฉลี่ยข้าวของในบ้านในแต่ละวันโดยการกินและใช้ให้ประหยัด ขึ้นได้บ้าง

    ความเชื่อ :"ก็แค่น้ำท่วมจะไปกังวลอะไรมากมาย"

    ความจริง : ก็ จริงครับ มันก็แค่น้ำที่ไหลมาอยู่บนถนน แต่สิ่งที่มาพร้อมน้ำก็คือกลิ่นที่เหม็นเน่า และกองทัพยุงระดับที่จะกินเลือดกินเนื้อ (สิ่งจำเป็นอีกอย่างคือยาทากันยุง) นอกจากตะขาบ งู จระเข้ แล้ว สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างคือ อย่าเดินเข้าใกล้เสาไฟฟ้า และระวังบ้านในซอยเดียวกับท่านที่เขายังไม่ตัดไฟชั้นหนึ่ง ช่วยกันบอกให้ตัดไฟน่าจะปลอดภัยสำหรับทุกฝ่าย และเมื่อออกไปลุยน้ำมาก็รีบขัดถูร่างกายทำลายเชื้อโรคโดยไว หากป่วยตอนนี้จะยิ่งลำบากครับ

    ความเชื่อ :"ท่วมไม่นานหรอก อีกสามสี่วันก็ยุบ"

    ความจริง : อัน นี้เป็นความเชื่อล้วน ๆ ความจริงน้ำจะท่วมนานแค่ไหนไม่มีใครรู้ ถ้าโชคดีมันอาจจะยุบจริง (ผมก็ภาวนาให้เป็นอย่างนั้น) แต่ถ้าเราดูภาพถ่ายดาวเทียมก็จะเห็นว่ามวลน้ำมันมหึมามหาศาลจริงๆ และถ้าดูจากพื้นที่ที่เขาโดนไปก่อนเรา ไม่ว่าจะเป็นอุทัยธานี ลพบุรี อยุธยา ก็ยังท่วมอยู่เป็นเดือน ๆ หรือกระทั่งรังสิต ดอนเมือง ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะลดลงแบบปึบปับ ทุกคนก็อยากให้น้ำลงไวๆ กันทั้งนั้น แต่ในความหวังเราก็ต้องดูความจริงด้วย การตัดสินใจและวางแผนชีวิตจาก "ความเชื่อ" กับการตัดสินใจและวางแผนจาก "ความจริง" นั้นให้ผลต่างกัน หากจะตัดสินใจว่าจะอยู่ต่อไป ย้ายไปอยู่บ้านญาติ อพยพไปอยู่ศูนย์อพยพ หรือไม่อย่างไร เราน่าจะตัดสินใจจาก "ความจริง" มากกว่า "ความเชื่อ" ครับ

    ขอ เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่โดนน้ำท่วมไปแล้ว และขอเอาใจช่วยคนที่ยังไม่ท่วมให้บ้านแห้งจะได้มีเรี่ยวแรงช่วยเหลือคนอื่น ต่อไป บ้านผมท่วมแล้ว และน้ำก็ยังสูงขึ้นเรื่อยๆ ที่เขียนมาทั้งหมดมาจากความหวังดีล้วน ๆ ครับ เพราะเชื่อว่าในวิกฤตแบบนี้ สิ่งที่แต่ละคนพอจะทำได้คือการแชร์ข้อมูลที่มีประโยชน์ให้กัน เป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ

    -http://hilight.kapook.com/view/64440-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม 6 พ.ย. โดย อ.ศศิน


    [​IMG]



    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ศศิน เฉลิมลาภ

    ยังคงฮอตฮิตสำหรับการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำท่วมของ อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร หลังได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยวิธีต่าง ๆ ล่าสุด อาจารย์ศศิน ได้ประเมินสถานการณ์น้ำท่วม เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผ่าน เฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp เนื้อหามีดังนี้…

    เตรียมภาพวิเคราะห์วันนี้ (6 พฤศจิกายน) เสร็จแล้วครับ วันนี้วันอาทิตย์ ผมกำลังจะโพสต์ข้อวิเคราะห์ ยาว ๆ สำหรับวันนี้ และบ่ายแก่ ๆ คงจะต้องเดินทางเข้ากรุงเทพ ทางราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร อีกครั้ง ขอฟังเพลงนี้ นิ่ง ๆ เพื่อทบทวนสิ่งที่สั่งสมมาในชีวิตและสิ่งที่ผ่านพบประสบเจอ ขอฟังบทกวี เติมสีฟ้าอีกนิด...นะทะเล...ในช่วง โซโลขลุ่ย... นิ่ง ๆ ๆ ๆ แล้วเรามาร่วมเร่งทำงานในหน้างานของตัวเอง เป็นกำลังใจให้ทหารกล้า อาสาสมัครผู้เข้มแข็ง นักวิชาการผู้กำลังคิดหาทางโดยเฉพาะท่าน อ.เสรี ที่ทุ่มเทมาตลอด สื่อมวลชนทุก ท่าน และผู้ประสบภัย และผู้กำลังจะประสบภัยทุกท่าน


    [​IMG]

    สถานการณ์ น้ำท่วมในกทม. เป็นธรรมชาติดีครับ คือ เป็นน้ำเอ่อจากถนนและคลอง รวมทั้งท่อ หมายความว่าน้ำจะค่อย ๆ ขึ้นมา ไม่มีกำแพงป้องกันชุมชนที่จะพังโครมเดียวแล้วน้ำทลายมาถล่มบ้าน เหมือนบ้านผมที่อยุธยา น้ำเดินทางมาช้า ๆ ประมาณ 2-3 กม./วัน นั่นคือถ้าเรารู้ว่าน้ำถึงไหน ดูจากไลน์น่าจะประมาณการน้ำที่มาถึงบ้านเราได้ โดยเช็คจากเวบ gamling.org วันนี้น้ำถึงลาดพร้าว 80 กว่า ๆ แล้ว แต่ยังไม่สูง เราต้องรู้ก่อนว่าน้ำไม่สูงถึงไหน แล้วประมาณการมาถึงบ้านเรา ถ้ามาถึงตื้น ๆ ที่บ้านเราแล้วก็จะขึ้นสูงค่อนข้างเร็วในทางลึกขึ้น นะครับ ครึ่งวันอาจจะตาตุ่มมาเข่าได้ แล้วแต่พื้นที่ครับ กระทุ่มแบนล่าง ๆ ไล่มาถึงบางขุนเทียน ดาวคะนอง บางมด บน ๆ พญาไท ดินแดง ห้วยขวาง วังทองหลาง บางกะปิ บึงกุ่ม สะพานสูง บางชัน มีนบุรี ... พื้นที่ที่ยังไม่ถึงน่าจะค่อย ๆ เอ่อ ในเวลาวันสองสามวันนี้


    [​IMG]

    ภาพรวม กทม.แบ่งเป็นสี่วง วงแรก คือ น้ำท่วมฝั่งตะวันตก น้ำกำลังจะข้ามคลองภาษีเจริญ โดยเฉพาะบางแค เข้าต่อจอมทองและบางบอน ถ้าเขาระบายได้มากลงท่าจีนก็จะช่วยได้มาก แต่อย่าลืมว่าทั้งหมดคือการเพิ่มน้ำให้ท่าจีน ทำให้นครชัยศรี สามพราน และกระทุ่มแบน ที่ท่าจีนเต็มที่แล้วไปต่อยาก และขยายเขตน้ำท่วมสองฝั่งน้ำท่าจีนไปถึงสมุทรสาคร ได้ตลอด วงที่สอง คือ สองฝั่งเจ้าพระยา ตอนนี้แนวกั้นน้ำยังเอาอยู่ แต่สาย ๆ ค่ำ น้ำจะขึ้นจากน้ำหนุน วงกรุงเทพชั้นใน มาถึงลาดพร้าว จตุจักร คันนายาว ขยายวงสู่ บางซื่อ พญาไท บางกะปิ บึงกุ่ม อย่าถามเลยว่าน้ำลึกแค่ไหน เพราะมันมาเรื่อย ๆ แข่งกับการระบาย และการใช้ถุงทรายกั้นด้านบน มันมาได้สูงเท่าอก หรือท่วมหัวในที่บ้านต่ำ ๆ และท่วมถนนจนรถวิ่งไม่ได้ ก็แล้วกัน ถ้ามันยังมากกว่าการระบายมาก ๆ

    จากภาพที่แล้วอีกวงคือ นอกคันถนนหทัยราษฎร์-ร่มเกล้า ค่อย ๆ ขึ้นอย่างช้า ๆ เต็มหนองจอก คลองสามวา ถึงมีนบุรีแล้ว กำลังเริ่มที่ลาดกระบัง ผมไม่รู้จริง ๆ ว่า คลองต่าง ๆ ที่ด้านใต้ และถนนมอเตอร์เวย์ เขาเตรียมทำอะไรกับช่วงลอดหรือยัง ปัจจัยความสูงของน้ำยังขึ้นกับถนนต่าง ๆ อีกด้วย เช่น สุวินทวงศ์ และการระบายจากคลองแสนแสบ และประเวศบุรีรมย์ ไปออกนอก กทม.


    [​IMG]

    ขยายภาพสู่กรุงเทพชั้นใน มีสองวง วงบน คือดอนเมือง ลงมาลาดพร้าว บึงกุ่ม คันนายาว ในวงแดง "ไม่รอด" นานแล้ว จะลดหรือไม่ขึ้นกับความสามารถในการระบายลงท่อ อุโมงค์ยักษ์ (ที่ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่) พื้นที่ไม่ท่วมช่วงนี้คือ ปากเกร็ด แคราย ดุสิต เพราะความสามารถในการป้องกัน ระบาย และพื้นที่สูง นอกจากนี้ปริมาณน้ำที่เข้ามาได้เฉพาะ โลคอลโรด เปรมประชากร และวิภาวดี มีไม่พอที่จะข้ามแนวกั้นของคลองประปา วงล่างสีดำ คือเขตที่ตอนบนต้องได้รับน้ำบ้าง และตอนล่าง ๆ ยังน่าจะยังป้องกันไว้ได้ ตั้งแต่แนวใต้คลองสามเสน ต่อแสนแสบลงมา คือ พระนคร ราชเทวี ป้อมปราบ ปทุมวัน วัฒนา สวนหลวง แต่สำหรับ บางกะปิ สะพานสูง เนื่องจากต่ำมาก ดังนั้น น้ำจะมาตามท่อ เพื่อให้ระดับเท่ากับฝั่งเหนือ ไม่น่ารอดนะครับถ้าระบายและสูบออกไม่ได้ ใต้จากนั้นมาว่ากันอีกที ส่วนด้านนอกก็ต้องดูการระบายน้ำทั้งด้านแนวนอน และแนวตั้งตามลูกศรสีส้ม

    บางพลี บางบ่อรอน้ำอีกนาน แต่เข้าใจว่าคลองเยอะ น้ำมาไม่มาก มาช้า น่าจะไม่มีปัญหามากนัก ยกเว้นคนที่ทำนากุ้ง นาปลา ไง ๆ ก็ต้องเตรียมระวังให้ดี อาจจะล้นหรือรับน้ำเสีย


    [​IMG]

    ฝั่งตะวันตก มีห้าวง วงสมุทรสาครฝั่งคลองดำเนินสะดวก ควรระวังน้ำเหนือที่วกลงมาจากนครปฐม น่าจะกระทบกับคนทำนาปลา นากุ้ง แต่พอมาเจอระบบคลองแพรกลำประโดงที่บางยางลงมา น่าจะไม่เท่าไหร่ แต่คุณภาพน้ำและน้ำที่สูงขึ้นไง ๆก็อาจจะกระทบกับสวน และแปลงกล้วยไม้ ตั้งแต่สามพราน คลองจินดา แน่นอน ส่วนล่างลงมา ก็ต้องหาทางลดความเสียหายและระบายน้ำไม่ให้ล้นร่องคลองซอยต่าง ๆ แต่ใกล้ท่าจีนไง ๆ ก็มีเอ่อ ในอาทิตย์นี้จนท่วมออกมาตามที่ต่ำแน่ เมืองนครปฐม น่าจะ ไม่มาก ยกเว้นคลองเจดีย์บูชา รวมถึงคลองอื่น ๆ ที่เชื่อมท่าจีน วงสีแดง ๆ ใต้เมืองนครปฐม ต้องระวังน้ำลงบ่อปลาครับ

    จาก รูปที่ผ่านมา วงสีขาวฝั่งกระทุ่มแบนตะวันออก และมหาชัย เป็นพื้นที่รับน้ำแน่ ๆ ถ้า ข้ามภาษีเจริญ ผมยังคิดว่าน้ำจะมาถึงในอาทิตย์นี้ น้ำที่ว่าหากมีหน้าตัดมวลน้ำ สิบกิโลเมตร ในอัตราเร็ว 2.5 กม./วัน ก็จะมีน้ำมาถึงหน้าถนนพระรามสองเพียง 20-30 ล้าน ลบ.ม./วัน ถ้าหาทาง "รอด+ข้าม" พระรามสองได้ เราอาจจะมีถนนลงใต้ และหากหาทางระบายลงคลองแนวตั้ง และพื้นที่แก้มลิงสองฝั่งคลองมหาชัย ที่ว่า ๆ กันได้ในปริมาณใกล้เคียงนี้ เมืองสมุทรสาคร จะไม่ท่วม แต่ต้องลุยกันไปสองเดือนนะครับ วงสีดำเป็นวงกรุงเทพชายทะเล น้ำกำลังหาทางล้นคลองภาษีเจริญ จอมทอง ฝั่งตะวันตกขอบ ๆ ของราษฎร์บูรณะ และบางขุนเทียนด้านเหนือ มาจรดพระรามสอง ช่วยกันระบายลงท่อ เพื่อรักษาพระรามสองกันครับ พอลงชายทะเล ก็ต้องระวังนากุ้ง บ่อปลาอาครับ ส่วนวงเหลืองถัดมาผมว่ามีลุ้น "รอด" แต่อาจจะมีน้ำขึ้นจากเจ้าพระยาช่วงน้ำขึ้นครับ


    [​IMG]

    ในภาพรวมของน้ำท่วมภาคกลางวันนี้ เราเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นดังที่ว่ามา ยกเว้น "มีเหตุคันหลักหก คันลำลูกกา และแนวกั้นเจ้าพระยามีปัญหา" พื้นที่ที่ผมไม่กล้าวิเคราะห์มากคือ ฝั่งธนชั้นใน ไม่รู้ว่าน้ำจะมาจากทางฝั่งตลิ่งชันและบางพลัดถึงบางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ฝั่งธน คลองสาน ต้องระวังไว้ครับ แนวน้ำน่าจะมาทางลูกศรสีส้มที่วงไว้ ส่วนจะข้ามท่าจีน ไปแม่กลองหรือไม่ ขึ้นกับว่ากรมชลเขาจะผันต่อจากท่าจีนไปหรือเปล่า ช่วงนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ ส่วนรวมการวิเคราะห์สักครู่ ค่อยว่ากัน ช่วยกันผลักให้ภาครัฐเร่งดำเนินการผันลงทะเล ตามแนวคิดที่ภาคประชาชนว่า ๆ กันครับ พอเห็นวันนี้แล้วเสียดาย แจ้งวัฒนะ-รามอินทรา จังครับ ถ้าเราใช้ถนนใหญ่เส้นนี้ทำอะไรสักอย่างเราน่าจะคุมน้ำได้ดีกว่านี้ วันนี้เลยต้องมาใช้ถนนลาดพร้าวกั้นทั้ง ๆ ที่ตำกว่า ใต้กว่าตั้งเยอะ แค่นี้ครับ



    -http://hilight.kapook.com/view/64461-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คำขอร้องจากทหาร...ในยามน้ำท่วม ฉบับที่ 2





    หลังจากที่คำขอร้องจากทหาร ฉบับที่ 1 ได้รับการเผยแพร่ไปสู่พี่น้องประชาชนแล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะได้รับความร่วมมือจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ด้วยเนื่องจากเห็นอกเห็นใจทหารที่เหน็ดเหนื่อยจากการปฏิบัติภารกิจ ที่ยากลำบากอย่างอดทนในช่วงวิกฤติน้ำท่วมแบบนี้

    อย่าง ไรก็ตาม ล่าสุดหนึ่งในทหารที่ลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วม ก็ได้ออกมาวอนขอความร่วมมือจากประชาชนอีกครั้ง เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ผ่าน เฟซบุ๊ก นที พรวัฒนา เช่นเคย โดยมีข้อความ ดังนี้...

    สืบเนื่องจากการที่ผมเขียน "คำขอร้องจากทหาร" ในครั้งแรก หลายๆท่านได้ให้ความกรุณา ให้ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับทหารมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้ทางทหาร และเจ้าหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ ทำงานได้สะดวกขึ้น แต่ยังมีข้อติดขัดที่ยังเหลือหลักๆอีก 2 ข้อที่จะขอความกรุณาท่านอีกครั้ง คือ

    [​IMG] 1.เรื่องการอพยพ ผมมองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะ เป็นเหตุการณ์ที่ได้เจอมากับตัวเอง ซึ่งผมได้รับภารกิจที่จะต้องนำผู้ป่วยที่ถูกตะปูตำไปส่งที่โรงพยาบาลเพื่อ ล้างแผลเนื่องจากไม่ได้ล้างแผลมา 3 วัน แต่ในเวลานั้นเป็นช่วงเย็นโรงพยาบาลในพื้นที่ปิดทั้งหมด จึงต้องนำส่งไปที่ ร.พ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ซึ่งตอนแรกทางผู้ป่วยไม่อยากไปล้างแผลเพราะต้องนอนค้างที่ ร.พ. เพราะบ้านของผู้ป่วยอยู่ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา ซึ่งไกลจากโรงพยาบาลค่อนข้างมากจึงทำให้เขาเป็นห่วงบ้านและทรัพย์สินของเขา ผมจึงได้พูดเกลี้ยกล่อมเขาจนยอมมา ร.พ.

    ซึ่งพอถึง ร.พ.โดยทางแพทย์ได้แจ้งมาว่าถ้ามาช้ากว่านี้อีกแค่วันหรือ 2 วัน จำเป็นต้องตัดขาทิ้ง เนื่องจากแผลได้ลามและเน่าถึงกระดูก เพราะการล้างแผลเองนั้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสะอาดจริงหรือไม่ และถ้าหากยิ่งถูกน้ำที่ท่วมขังจะทำให้แผลติดเชื้อและเน่าได้อย่างรวดเร็ว

    ผมจึงอยากฝากทุกท่านไว้ว่า หากท่านได้รับความเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บมีแผล กรุณาออกจากบ้านมาอยู่ที่ ร.พ.เถอะครับ เพราะถ้าหากท่านมีอาการหนักแล้วแจ้งขอความช่วยเหลือไม่ได้ ท่านคิดเอาเองเถิดครับว่าผลจะเป็นอย่างไร

    ส่วนผู้ที่คิดว่าร่างกายแข็งแรงแล้วจะสามารถอยู่เฝ้าบ้านได้ตลอด ผมมองว่าท่านคิดผิด เพราะน้ำที่ท่วมในครั้งนี้ หลายๆส่วนที่เกี่ยวข้องประเมินว่าจะกินระยะเวลาเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น ผมก็คิดเช่นเดียวกันท่านทั้งหลายเหล่านั้น เพราะว่าชัยนาท อ่างทองท่วมมาแล้วตั้งหลายเดือน และในขณะนี้ยังมีน้ำท่วมอยู่ที่จังหวัดเหล่านั้น ซึ่งน้ำเกือบทั้งหมดต้องไหลผ่านกรุงเทพเพื่อลงทะเล ท่านคิดเอาเถิดครับว่าอีกนานเท่าไหร่น้ำจึงจะไหลลงทะเลได้ทั้งหมด และกรุงเทพต้องอยู่ไนสภาพแบบนี้อีกนานแค่ไหน

    หลายท่านคิดว่าอยู่ได้ เพราะตุนน้ำ ตุนอาหารไว้เพียงพอ แต่ท่านเคยคิดหรือไม่ หากระดับน้ำท่วมสูงจนถึงขั้นต้องตัดน้ำตัดไฟ ท่านจะอยู่ได้อย่างไร เนื่องจาก

    - ในส่วนของการขอความช่วยเหลือ ท่านจะไม่สามารถติดต่อกับโลกภายนอกได้อีก เนื่องจากท่านไม่สามารถชาจ์ตแบตมือถือได้ และโทรศัพท์บ้านเมื่อถูกน้ำท่วมคงจะใช้ไม่ได้ หากท่านบาดเจ็บหรือป่วย ท่านจะออกจากบ้านมาเองได้อย่างไร

    - ในส่วนของอาหาร ท่านคิดว่าท่านจะกินมาม่าที่ไม่มีน้ำร้อนต้ม กินข้าวสารที่ไม่ได้หุง ได้หรือไม่ และจะมีกินได้อีกนานแค่ไหนหากไม่ได้รับเพิ่มเติม

    - ในส่วนของถุงยังชีพและอาหารปรุงสุขที่ในขณะนี้ยังมีจ่ายแจกอยู่ ผมพูดได้เลยว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่มีเพียงพอสำหรับทุกท่านแน่นอน เพราะถ้าหากท่านถูกตัดน้ำตัดไฟ ก็แปลว่าน้ำได้ท่วมสูงเกิน 170 ซ.ม. ซื่งรถทหารจะไม่สามารถเข้าพื่นที่เพื่อแจกจ่ายได้ จะต้องพึ่งแต่เรือในการเข้าพื้นที่ ซึ่งเรือแต่ละลำก็ไม่สามารถบรรทุกถุงยังชีพได้มากเท่ารถยนต์ และจำนวนเรือคงไม่เพียงพอที่จะปฏิบัติงานแจกจ่ายสิ่งของ และอพยพท่านได้ทั่วกรุงเทพ ประกอบกับทหารส่วนมากที่มาปฏิบัติงานไม่ใช่คนในเพื้นที่จึงไม่รู้เส้นทาง แล้วท่านคิดว่าในทุกๆวันจะมีอาหารหรือถุงยังชีพไปส่งท่านได้ถึงมือหรือไม่

    ซึ่งในขณะนี้ยังทันที่ท่านจะอพยพได้โดยสะดวก โปรดคิดและพิจารณาให้ดี และผมอยากขอให้ทุกท่านคิดให้ดีว่า "หากท่านมีบ้าน มีทีวี มีตู้เย็น มีทรัพย์สิน และข้าวของเครื่องใช้ทั้งหมดในบ้านอยู่ครบ แต่ท่านไม่มีชีวิตที่จะใช้สิ่งของเหล่านั้น หรือมีร่างกายที่พิการ ท่านจะมีสุขได้อย่างไรหลังน้ำลด" สู้ "เอาชีวิตตัวเองและครอบครัวให้รอด หลังน้ำลดค่อยดิ้นรนหาไหม่" จะดีกว่าไหมครับ

    [​IMG] 2.ในส่วนของถุงยังชีพ อาหาร น้ำดื่ม และสิ่งอื่นๆที่ทางราชการแจก โปรดเข้าใจว่าทางผู้ที่นำไปแจกไม่ได้ทราบถึงจำนวนประชากรที่แท้จริงของ พื้นที่นั้นๆ ซึ่งอาจจะนำไปไม่เพียงพอ และขอความกรุณาท่านรับแค่เพียงพอ โปรดจงเห็นใจผู้อื่นที่เดือดร้อนเหมือนท่าน หรือเดือดร้อนกว่าท่านด้วย และโปรดระลึกเสมอว่าว่ายังมีคนอื่นอีกมากมายที่ต้องการความช่วยเหลือ หากท่านกักตุนไว้คนเดียว คนที่เหลือจะใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างไร

    และโปรดจงเข้าใจว่าผู้ที่นำสิ่งของไปให้นั้นอยากให้ทุกท่านได้รับ แต่ถ้าหากจำนวนไม่เพียงพอก็ขอความกรุณาอย่าบ่นหรืออย่าว่ากันอีกเลยนะครับ

    คงถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องร่วมมือร่วมใจ และมีน้ำใจให้กัน เพื่อผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปพร้อมๆกัน

    ขอขอบพระคุณที่ทุกท่านให้ความร่วมมือ ขอบคุณครับ



    [​IMG]


    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก นที พรวัฒนา, เฟซบุ๊ก มั่นใจคนไทยเกินล้าน ขอบคุณทหารที่ช่วยเหลื<wbr>อประชาชนจากอุทกภัย ปี 54's

    แม้ว่าขณะนี้ประชาชนจะต้องเผชิญกับวิกฤติมหันตภัยน้ำท่วมอย่างหนักหนาสาหัส เช่นไร แต่ขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นความมีน้ำใจของพี่น้องชาวไทย สื่อมวลชน ที่ให้ความช่วยเหลือมาอย่างไม่ขาดสายเช่นเดียวกัน และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ทหาร" ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรี่ยวแรงหลักในการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติน้ำท่วม ครั้งนี้อย่างไม่ย่อท้อ และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเลยทีเดียว

    แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทหารก็ต้องพบกับปัญหาและอุปสรรคที่ยากลำบากเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในทหารที่ลงพื้นที่ช่วยน้ำท่วมได้ออกมาวอนขอความร่วมมือจากประชาชน ผ่าน เฟซบุ๊ก นที พรวัฒนา โดยมีข้อความ ดังนี้

    เนื่องจากผมออกปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยมาหลายที่และเจอปัญหา ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งส่งผลให้การทำงานล่าช้า ผมจึงอยากขอความกรุณาจากพวกท่านดังนี้

    [​IMG]1.หากเห็นรถทหาร กรุณาให้ทางก่อน เพราะบางครั้งต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย หรือประชาชนเร่งด่วน

    [​IMG]2.ทหาร อยากช่วยประชาชนทุกคน แต่บางครั้งเรามีภารกิจด่วนกว่าที่จะต้องปฏิบัติ อาจจะไม่สามารถช่วยคุณได้ทันที กรุณาเห็นใจและอย่าด่าทอกันอีกเลย

    [​IMG]3.บางครั้งรถของทางทหารอาจจะเข้าไม่ถึงทุกซอกซอยเนื่องจากซอยแคบ กรุณาออกมารอหน้าปากซอยนะครับ

    [​IMG]4.หาก น้ำขึ้นเกินระดับเอว (120 ซม.) และมีทีท่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ รีบอพยพเถอะครับ เพราะถ้าหากสูงถึง 180 ซม. รถทหารจะไม่สามารถเข้าได้ และจะเป็นอันตรายต่อตัวท่านเองนะครับ เนื่องจากหากท่านโดนตัดน้ำตัดไฟ ผมพูดได้เลยว่าบางพื้นที่เราอาจจะไม่สามารถเข้าไปดูแลท่านได้อย่างทั่วถึง ได้อีกแล้ว

    [​IMG]5.หาก ทหารบางนายมีคำพูดที่ไม่ถูกใจท่านหรือทำให้ท่านไม่พอใจ โปรดจงอภัยให้ด้วยนะครับ เนื่องจากทหารหลายท่านเป็นทหารที่อยู่แต่หน่วยรบ หน่วยสงคราม มีคำสั่งที่เด็ดขาด อาจจะมีคำพูดห้วน ๆ ออกไปบ้างเนื่องจากไม่ค่อยได้ทำงานด้านมวลชนเท่าไหร่ พวกเค้าจึงไม่สามารถมีคำพูดที่สวยหรูที่จะพูดกล่อมท่านได้

    [​IMG]6.การ โดยสารรถทหารกรุณาเผื่อแผ่ผู้อื่นด้วย เช่น ผู้ชายควรลุกให้เด็ก สตรี คนชรา และผู้ป่วยนั่ง และสัมภาระไม่ควรเยอะหรือใหญ่เกินไป เช่นทีวี ตู้เย็น หรือมอเตอร์ไซค์ ซึ่งส่งผลให้ท่านอื่นไม่สามารถโดยสารไปด้วยได้ และบางครั้งอาจจะมีการจอดรอเพื่อรับผู้ป่วย คนชราเป็นเวลานาน กรุณาเข้าใจและอย่าเร่ง และควรปฏิบัติตามทหารที่ควบคุมรถแจ้ง เพื่อความปลอดภับของท่านเอง

    [​IMG]7.อย่าหยิบฉวยสิ่งของ ๆ ทหารติดมือไป ทั้งเสื้อชูชีพ ไม้พาย ฯลฯ เพราะหากกลับมาที่หน่วยแล้วของที่นำไปกลับมาไม่ครบ พวกผมก็จะมีโทษ

    [​IMG]8.ขอให้ทุกท่านโปรดอภัยหากรถทหารวิ่งผ่านแล้วเกิดคลื่นน้ำ ถูกบ้าน ยานพาหนะหรือสิ่งของต่าง ๆ ท่าน

    [​IMG] 9.พวกผมไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทนในการช่วยเหลือท่านนอกจากคำว่า "ขอบใจ" และ "รอยยิ้ม"ครับ


    ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ครับ ขอให้ทุกท่านปลอดภัยและภัยร้ายนี้จบสิ้นไปได้ด้วยดีและรวดเร็วครับ


    -http://hilight.kapook.com/view/64367-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    กฟผ. แจง 5 ข้อ เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ ไม่ใช่ตัวการน้ำท่วม

    [​IMG]

    เขื่อนภูมิพล

    [​IMG]

    เขื่อนสิริกิติ์




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    กฟฝ. ชี้แจงข้อสงสัยเรื่อง เขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ คือ ต้นเหตุของน้ำท่วมว่า ไม่เป็นความจริง รวม 5 ข้อ

    มหาอุทกภัยในปีนี้ได้สร้างความเสียหายแก่หลายจังหวัดภาคกลางเป็นจำนวนมาก และมีความรุนแรงมากกว่าปี พ.ศ.2538 ทำ ให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า เหตุใดน้ำจึงท่วม ซึ่งหนึ่งในหลายประเด็นที่สังคมพูดถึงนั้น ก็มีเรื่องของการบริหารน้ำเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ด้วย ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ออกมาชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าว โดยระบุไว้ 5 ข้อด้วยกัน ดังนี้

    [​IMG] 1. วิธีการบริหารจัดการน้ำของ กฟฝ. ทำอย่างไร

    เขื่อนในประเทศไทยส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เก็บน้ำเพื่อใช้ในด้านเกษตรกรรม อตุสาหกรรม อุปโภคบริโภค และการบรรเทาอุทกภัย ซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะนำข้อมูลปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำและปริมาณการ ใช้น้ำของพื้นที่ท้ายเขื่อนในรอบ 30 ปีประกอบการจัดทำ โดยใช้หลักเกณฑ์ 2 ข้อด้วยกัน คือ

    - เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวล่าง (Lower Rule Curve) เป็นเกณฑ์วัดว่า ถ้าเก็บน้ำระดับต่ำกว่านี้ จะทำให้มีโอกาสขาดแคลนน้ำในปีหน้า

    - เกณฑ์ควบคุมระดับน้ำตัวบน (Upper Rule Curve) เป็นเกณฑ์วัดว่า ถ้าเก็บน้ำระดับสูงกว่านี้ มีโอกาสทำให้เขื่อนล้น จนต้องเปิดประตูระบายน้ำล้น (Spillway)

    เพราะฉะนั้น การควบคุมระดับน้ำของเขื่อน จึงต้องคุมให้อยู่ระหว่าง 2 เกณฑ์นี้

    ส่วนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จะมีอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน ร่วมกับ 8 หน่วยงานเป็นกรรมการ ได้แก่ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์ สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. ทั้งหมดนี้จะติดตามสถานการณ์น้ำและพิจารณาระดับน้ำที่จะต้องระบายออกจาก เขื่อนทุกวันหรือทุกสัปดาห์

    [​IMG] 2. สาเหตุที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ไม่ระบายน้ำออกมาในช่วงต้นฤดูฝน

    วันที่ 1 พฤษภาคม เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ มีระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก กล่าวคือปริมาณน้ำร้อยละ 45.1 และ 50.3 ของความจุตามลำดับ ดังนั้นจึงต้องกักเก็บน้ำไว้ ทว่าต่อมามีพายุ 5 ลูกเข้าถล่ม ได้แก่ ไหหม่า นกเตน ไหถ่าง เนสาด และนาลแก ทำให้มีฝนตกหนักจนปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบายออกไม่ทัน เพราะเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน

    [​IMG] 3. ทำไมเขื่อนต้องระบายน้ำผ่านประตูเพิ่มขึ้น นอกเหนือการปล่อยน้ำผ่านการผลิตกระแสไฟฟ้า

    เพราะปริมาณน้ำใกล้เต็มความจุของอ่างเก็บน้ำ ทำให้ต้องรีบระบายผ่านประตูระบายน้ำล้นเพิ่ม เพื่อควบคุมไม่ให้น้ำเกินความจุของอ่าง มิเช่นนั้นอาจจะส่งผลด้านความปลอดภัยของเขื่อนได้ ซึ่งในขณะนี้เขื่อนก็ลดปริมาณการปล่อยน้ำลงมากแล้ว

    [​IMG] 4. เขื่อนต้องกักเก็บน้ำไว้จำนวนมากเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือไม่

    ไม่ เพราะการผลิตไฟฟ้าไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของเขื่อน แต่เป็นผลพลอยได้ ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เพราะ กฟผ. ได้รับอัตราไฟฟ้าในรูปแบบผลตอบแทนเงินลงทุน (ROIC)

    [​IMG] 5. เขื่อนลดการปล่อยน้ำลงแล้ว แต่ทำไมน้ำยังท่วมอยู่

    สาเหตุที่น้ำยังท่วมอยู่ เป็นเพราะเขื่อนตั้งอยู่ที่แม่น้ำปิงและน่าน ซึ่งมีการควบคุมการปล่อยน้ำลงใต้เขื่อนในระดับที่พอเหมาะอยู่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของมวลน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ขณะ ที่แม่น้ำวังและยม ไม่มีเขื่อนที่คอยควบคุมการไหลของน้ำ ทำให้มีมวลน้ำมากถึงร้อยละ 83.3 ที่ไหลเข้าสู่จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นก็ไหลเข้าท่วมพื้นที่ภาคกลาง เข้าสู่กรุงเทพฯ

    นอกจากนี้ ทั้งสองเขื่อนยังช่วยกักเก็บน้ำในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ช่วยบรรเทาสภาวะน้ำท่วมใต้เขื่อนอีกด้วย ในตอนนั้นมีมวลน้ำมากถึง 10,940 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ระบายออกมาเพียง 4,915 ล้านลูกบาศก์เมตร เท่านั้น ซึ่งมวลน้ำที่ปล่อยออกมา จะถึงกรุงเทพฯ ภายใน 2 สัปดาห์ และจะไม่มีผลต่อสถานการณ์น้ำที่ท่วมกรุงเทพฯ อยู่ในขณะนี้




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย



    -http://hilight.kapook.com/view/64483-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    .

    พื้นที่ประสบอุทกภัยกับ หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรรู้



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    เนื่องจากสถานการณ์อุทกภัยในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนจำนวนมาก และแม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลืออย่างเต็มกำลังแล้ว ทว่าอาจยังไม่ทั่วถึงในพื้นที่บางจุด หรืออาจเกิดปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ว่าจะมีคนบาดเจ็บ-เสียชีวิต, ติดอยู่ภายในบ้าน ไม่สามารถออกมาได้, ขาดแคลนน้ำ-อาหาร, ต้องการแจ้งตัดไฟในพื้นที่, หรือตรวจสอบเส้นทางการเดินทางในพื้นที่น้ำท่วม ฯลฯ

    ด้วยปัญหานานับประการที่กล่าวมานั้น ทาง ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขอรวบรวมเบอร์โทรศัพท์สำคัญและจำเป็นในยามสถานการณ์น้ำท่วม เพื่อให้ทุกท่านสามารถแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ดังต่อไปนี้



    [​IMG]


    [​IMG] สายด่วนน้ำท่วม

    - สำนักนายกรัฐมนตรี โทร.1111

    - ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1111 กด 5

    - ศูนย์น้ำท่วม กทม. สอบถาม ขอความช่วยเหลือ (24 ชั่วโมง) โทร.1555 หรือ 0-2248-5115

    - สายด่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร.1784

    - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี โทร.1669

    - ศูนย์ความปลอดภัยคมนาคม โทร.1356

    - สายด่วนกรมทางหลวง โทร.1586

    - ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1193

    - ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร.1146

    - สายด่วน บขส. สอบถามเส้นทางเดินรถต่างจังหวัด โทร.1490

    - สายด่วนกรมชลประทาน เช็คปริมาณน้ำขึ้น โทร.1460 หรือ 0-2669-2560

    - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง โทร.0-2354-6551

    - สำนักงานประชาสัมพันธ์ โทร.0-2354-6530, 0-2354-6668-76 ต่อ 2014, 2031

    - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม โทร.1102

    - ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โทร.1129

    - การไฟฟ้านครหลวง โทร.1130

    - กรมสุขภาพจิต โทร.1323

    - การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.1690

    - ท่าอากาศยานไทย โทร. 0-2535-1111

    - ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส โทร.0-2790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

    - ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ โทร.0-2243-6956

    - กรมการแพทย์ แจ้ง รพ.ทุกแห่ง ที่ประสบภัยน้ำท่วมหากจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วย โทร.0-2206-2952, 0-2206-2920, 0-2644-7000 ต่อ 4444

    - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ 4567892 ฟรีทุกเครือข่าย

    - ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม. ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 โทร.02-281-5443

    - สอบถามสถานการณ์น้ำ สมุทรสาคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-2583-4102

    - ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 0-7538-3405, 0-7538-3253

    - ศูนย์อพยพ กทม.ฝั่งตะวันออก เขตมีนบุรี สอบถาม โทร.087-9803681 คุณเฉลิมศรี / เขตหนองจอก โทร.081-6485557 คุณดำรง (ต่อ)

    - สายด่วนแจ้งจับสัตว์พลัดหลง-จระเข้ ทั่วประเทศ โทร.1362 ตลอด 24 ชม.

    - หน่วยงานราชการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม) 1102 ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมทหารราบที่ 11 - แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 08-5254-9559 - แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ 08-9054-4980 - แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน 08-9825-1208, 08-5662-0772

    - กองทัพไทย - สายด่วนเมืองนนท์ (ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่ จ.นนทบุรีเท่านั้น) 1131 - ทบ.-ทอ.-ทร.-สตช. (ช่วยเหลือเฉพาะพื้นที่ จ.นนทบุรีเท่านั้น) 0-2241-1709 - แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ 0-5479-2433

    - กองทัพบก - อ.ลำลูกกา - ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทร.หา พ.ท.ดิตถ์ ชวะนันท์ 08-9888-6421

    - หนองจอก ลาดกระบัง - ต้องการขอความช่วยเหลือจากทหาร โทร.หา 0-2190-3984, 0-2190-3985

    - กทม. ปริมณฑล และภาคกลาง ติดต่อศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 0-2281-1884, 0-2280-3977

    - เขตห้วยขวาง : ร้อยตรี สุรเชษฐ์ แก้วชื่น

    - (กรณี ขนย้าย, อพยพ) 08-3709-8388 - เขตวังทองหลาง : ร.ต.ฉัตรชัย

    - (กรณี ขนย้าย, อพยพ) 08-6089-2112 - เขตตลิ่งชัน (อพยพ ป้องกันน้ำท่วม) พ.ท.อรรถชัย 08-1661-3316 พ.อ.ณัฐพงษ์ 08-1876-7682 จ.ส.อ.กมล 08-5657-0590

    - วัดชลประทาน ศูนย์ปากเกร็ด : ร.อ.วชิระพล แสงอุทัย 08-3229-3939

    - เขตทุ่งครุ/ เขตบางขุนเทียน พ.ท.คึกฤทธิ์ 08-5147-7775 ร.อ.ธนพงษ์ 08-7161-8833 ร.ท.นิรุต 08-6415-9030

    - กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ฟรีทุกเครือข่าย 4567892

    - สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ - เปิดศูนย์ฟอกไตเพื่อผู้ประสบภัยทั่วประเทศ 1330, 1669

    - ผู้ประสบภัยที่เจ็บป่วยฉุกเฉินต้องรักษาเร่งด่วน ติดต่อ 0-2965-9782-4

    - กองทัพเรือ - ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพเรือ จัดชุดเคลื่อนที่เร็ว ติดต่อได้ที่ 1.น.อ.อารักษ์ แก้วเอี่ยม หมายเลขโทรศัพท์ 08-1761-3031 2.น.อ.อาภากร อยู่คงแก้ว หมายเลขโทรศัพท์ 08-9964-0100 3.น.ท.ใจเพชร ทองด้วง หมายเลขโทรศัพท์ 08-9150-1684 4.น.ท.ยุทธศักดิ์ จรูญทรัพย์ หมายเลขโทรศัพท์ 08-2203-8201

    - กรมปศุสัตว์ (พื้นที่ กทม. และปริมณฑล หากต้องการเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงออกจากพื้นที่) 08-3709-8388

    - สำนักการระบายน้ำ (รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม) 0-2248-5115

    - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี (เฉพาะพื้นที่อยุธยา) 08-1701-4858, 08-1825-1343

    - แจ้งเหตุมลพิษจากเหตุการณ์น้ำท่วม โทร.1650

    - รับแจ้งเหตุสนับสนุนช่องทางแจ้งเหตุเพิ่มเติมตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1200

    [​IMG] จ.นนทบุรี

    - เทศบาลบางบัวทอง โทร.0-2571-2777, 0-2571-7679

    - เทศบาลนครปากเกร็ด โทร.0-2583-7788

    - ศูนย์ป้องกันและช่วยเหลือฯ เทศบาลนนทบุรี 02-5890489 (24 ชม.) 081-555-3019 081-484-3850


    [​IMG] จ.ปทุมธานี

    - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี โทร.081-701-4858, 081-825-1343

    - เทศบาลเมืองปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

    - เทศบาลนครรังสิต โทร.0-2567-5999,0-2567-4945,0-2567-4946


    [​IMG] จ.สมุทรปราการ

    - เทศบาลเมืองสมุทรปราการ โทร.0-2382-6040-2


    [​IMG] จ.พระนครศรีอยุธยา

    - หน่วยกู้ภัยสว่างเมตตา รับแจ้งเหตุ-ช่วยเหลือชาว จ.พระนครศรีอยุธยา ในพื้นที่ อ.มหาราช โทร. 081-669-9272

    - ศูนย์ประสานงานภัยพิบัติ จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-55210

    - เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา โทร.0-3525-2168

    - เทศบาลเมืองอโยธยา โทร.0-3588-1571-3

    - อบจ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3579-6447

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3524-1612


    [​IMG] จ.เชียงใหม่

    - ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน โทร.053-202609

    - ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ โทร.053-222-479 ( 24 ชั่วโมง)

    - ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-248925, 053-262683

    [​IMG] จ.น่าน

    - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร.054-792433

    - ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร.054-710-232

    [​IMG] จ.สุราษฎร์ธานี

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร.0-7727-2132

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย โทร.0-7742-0995

    - สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ โทร.082-814-9381,นายประวีณ จุลภักดี โทร. 081-397-7442


    [​IMG] จ.นครศรีธรรมราช

    - เทศบาลนครนครศรีธรรมราช รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.199, 0-7534-8118, 0-7534-2880-3

    - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 0-7535-8440-4

    - รพ.เทศบาลนครนครศรีฯ รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง โทร.0-7535-6438 หรือ 0-7535-6014

    - มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร.0-7534-5599

    - ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา ม.วลัยลักษณ์ โทร.0-7567-4013 ต่อ 4013

    - มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง โทร.0-7534-3602, ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช โทร.0-7535-6044

    - โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช โทร.0-7534-0250

    - คปภ.นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย โทร.0-7534-7322, 081-1748941

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา โทร.0-7552-1180

    - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0-7577-1666, 0-7577-1592

    [​IMG] ทางหลวงจังหวัด: สอบถามเส้นทาง

    - ทางหลวงจังหวัดพิจิตร โทร.056-697-016

    - ทางหลวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทร.035-241-092

    - ทางหลวงจังหวัดพิษณุโลก โทร.055-302-626

    - ทางหลวงจังหวัดสิงห์บุรี โทร.036-532-523

    - ทางหลวงจังหวัดลำปาง โทร.054-228-246

    - ทางหลวงจังหวัดลพบุรี โทร.036-411-602

    - ทางหลวงจังหวัดเชียงใหม่ โทร.053-228-246

    - ทางหลวงจังหวัดชัยนาท โทร.056-411-649

    - ทางหลวงจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร.055-411-005

    - ทางหลวงจังหวัดอุทัยธานี โทร.056-524-542

    - ทางหลวงจังหวัดนครสวรรค์ โทร.056-221-286

    - ทางหลวงจังหวัดปราจีนบุรี โทร.037-211-098



    [​IMG]

    [​IMG] สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี โทร. 0-2591-2471

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี โทร.0-2581-7119-21

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี โทร.0-3641-4480-1, 0-3641-1936

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0-3533-5798, 0-3533-5803

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก โทร.0-3738-6209, 0-3738-6484

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี โทร.0-3553-6066-71

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี โทร.0-3621-2238

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี โทร.0-3652-0041

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง โทร.0-3564-0022

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก โทร.0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ โทร.0-5625-6015

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร โทร.0-5661-5932

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย โทร.0-5561-2415

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท โทร.0-5641-2083

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ โทร.0-5544-4132

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง โทร.0-5426-5072-4

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ โทร.0-5321-2626

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน โทร.0-5356-2963

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก โทร.0-5551-5975

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี โทร.0-4531-2692, 0-4531-3003

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย โทร.0-4286-1579, 0-4296-1581

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร.054-741061

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุราษฎร์ธานี (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7727-5550-1

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กระบี่ (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7561-2639, 0-7561-2649 หรือ 0-7561-2735

    - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.ชุมพร (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-77 50-2257 หรือ 0-7750-3230

    - ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง (ตลอด 24 ชั่วโมง) โทร.0-7462-0300 และ 0-7461-1652

    - สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สงขลา โทร.0-7431-6380-2 โทรสาร 0-7431-6382



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก ไทยโพสต์
    [​IMG]

    และ กองบริการลูกค้าสารสนเทศและสื่อสาร การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค



    -http://hilight.kapook.com/view/63556-

    .
    </td> </tr> </tbody></table>

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    แนะ 3 วิธียืดกล้ามเนื้อคลายเครียด <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 00:52 น.</td> </tr></tbody></table>

    นักวิชาการแนะศูนย์พักพิงฯ จัดกิจกรรมออกกำลังกายคลายเครียดผู้ประสบภัย เปิด 3 วิธียืดกล้ามเนื้อ ผ่อนคลายได้ในพื้นที่จำกัด

    รศ.เจริญ กระบวนรัตน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลให้มีผู้ประสบภัยจำนวนมาก บางส่วนติดน้ำท่วมอยู่ภายในบ้านพัก บางส่วนต้องมาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยต่างๆ โดยบางคนจดจ่ออยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น บางคนยังห่วงบ้าน และทรัพย์สินภายในบ้าน ส่งผลให้คนเหล่านี้ต้องหวั่นวิตก และเกิดความกังวล ซึ่งถือเป็นบ่อเกิดของความเครียดทั้งสิ้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้ความเครียดผ่อนคลายลงได้คือ การออกกำลังกาย เพราะเป็นสิ่งที่ทุกเพศทุกวัยสามารถทำได้ง่าย และไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งยังได้ประโยชน์กับร่างกายในทุกส่วนด้วย จึงอยากแนะนำให้ศูนย์พักพิงฯ ทุกแห่งหันมาให้ความรู้ และเป็นผู้นำในการเริ่มต้นออกกำลังกาย โดยวิธีที่ง่ายที่สุดคือการยืดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เพราะสามารถทำได้ในพื้นที่ที่จำกัด
    “ควรต้องให้ผู้อพยพในศูนย์พักพิงฯ มีการเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ บ้าง เพราะหากมาอยู่ร่วมกันเฉยๆ อาจยิ่งเป็นการสะสมความเครียดให้เพิ่มขึ้น โดยระยะแรกเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ จะต้องเป็นตัวอย่างในการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อให้ผู้อพยพปฏิบัติตาม เริ่มจากวิธีที่ 1.การลุกขึ้นยืน และเหวี่ยงแขนสลับกับการบิดตัวไปทางซ้ายและขวา วิธีที่ 2.ยกแขนเหยียดขึ้นเหนือศรีษะ วางแขนไขว้กันไว้ที่หลังใบหู และเหยียดตรง และวิธีที่ 3.ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าขาวม้ามาเป็นอุปกรณ์ โดยจับปลายผ้าทั้งสองด้าน แยกแขนออกแล้วยกขึ้นลงเหมือนการยกน้ำหนัก ซึ่งวิธีเหล่านี้จะเป็นการยืดกล้ามเนื้อในเบื้องต้นที่ทำได้ง่าย ทุกเพศทุกวัย และทุกสถานที่โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีจำกัดในศูนย์พักพิงฯ เพราะจะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก และช่วยผ่อนคลายความเครียดได้มากขึ้น โดยควรจะเริ่มจากการทำน้อยครั้งก่อน จากนั้นค่อยเพิ่มขึ้นตามความสามารถของตนเอง ทั้งนี้ ในส่วนผู้ประสบภัยที่เลือกจะอาศัยอยู่กับบ้านของตน ก็สามารถใช้วิธีเหล่านี้ในการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายความเครียดได้เช่นกัน” รศ.เจริญ กล่าว


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000141435-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="headline" align="left" valign="baseline">ส.ว.จวกรัฐแก้น้ำท่วมไม่ตรงจุด - เร่งเตือนสมุทรสาครท่วมสูง 2 เมตร</td> <td align="right" valign="baseline" width="102">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">7 พฤศจิกายน 2554 12:29 น.</td> </tr></tbody></table>

    ส.ว.สรรหาอภิปรายติงรัฐช่วยเหยื่อน้ำท่วมซ้ำซ้อน แต่บางจุดกลับไม่ทั่วถึง ทั้งยังแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ประเทศไทยส่งออกปลากระป๋อง สินค้าไม่ขาดแคลน กลับให้นำเข้า แนะเร่งเตือนสมุทรสาคร น้ำท่วมสูง 1-2 เมตร เผยเอกชนเสนอให้ใช้ ถ.ถนนพุทธสาครตัดถนนเศรษฐกิจ 1 เป็นฟลัดเวย์



    วันที่ 7 พ.ย.54 ที่รัฐสภา นายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.สรรหา อภิปรายในการประชุมวุฒิสภาวาระพิจารณาปัญหาสถานการณ์การเกิดอุทกภัยร้ายแรง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและหลายจังหวัดของประเทศไทยว่า การทำงานของรัฐบาลที่ผ่านมา ตนมองว่ามีสิ่งที่ควรปรับปรุงในหลายด้าน อาทิ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับมวลน้ำที่ทันเหตุการณ์และชัดเจนต่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนนำไปประกอบการตัดสินใจในการอพยพ หรือป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน การให้ความช่วยเหลือและการอพยพประชาชนที่พบว่ามีความซ้ำซ้อน และบางพื้นที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือใดๆ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ควรให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข เพื่อป้องกันปัญหามวลชนที่เคยเกิดขึ้น

    นอกจากนั้นแล้ว ตนมองว่าการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลเรื่องเครื่องอุปโภค บริโภคขาดแคลนนั้น ไม่มีความรอบคอบ เช่น การสั่งซื้อปลากระป๋องจากต่างประเทศของรัฐบาล ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ผลิตปลากระป๋องส่งออก และปลากระป๋องยังไม่ขาดแคลน เป็นตัวสะท้อนการทำงานของรัฐบาลที่ไม่รอบคอบ

    นายวิชาญกล่าวอีกว่า ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ที่คาดว่ามวลน้ำจากทางเหนือจะไหลเข้าสู่พื้นที่ 4-6 วันที่จะถึงนี้ เพราะรัฐบาลได้ผันน้ำเข้าสู่พื้นที่ดังกล่าวเพื่อให้ไหลลงสู่ทะเล จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้แจ้งเตือนไปยังประชาชนแล้วหรือไม่ ว่าน้ำจะไหลเข้าสู่พื้นที่สูง 1-2 เมตร และหากน้ำท่วมถนนพระราม 2 สูง 10 ซม.จะทำให้ระดับน้ำในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร สูง 80 ซม. อีกทั้งรัฐบาลมีแผนป้องกันพื้นที่ จ.สมุทรสาครที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญแล้วหรือไม่ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมานั้น ภาคเอกชนและภาคราชการในส่วนจังหวัดได้หารือถึงแนวทางผันน้ำลงสู่ทะเล คือ ให้ ถนนพุทธสาครตัดถนนเศรษฐกิจ 1 ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำท่าจีนเป็นทางระบายน้ำ (ฟลัดเวย์) เพื่อให้มวลน้ำไหลลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว ทั้งนี้ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นมีชุมชนและโรงงานอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นรัฐบาลหรือหน่วยงานราชการส่วนกลางต้องเจรจากับประชาชน

    “หากใช้ถนนเป็นฟลัดเวย์ จำเป็นต้องใช้บิ๊กแบ๊ก มาวางข้างถนน และสูบน้ำลงไปในฟลัดเวย์ด้วย แม้ว่าถนนพุทธสาครตัดกับถนนเศรษฐกิจ 1 จะมีพื้นที่ไม่มาก แต่สามารถทำเป็นพื้นที่เพื่อเปิดให้น้ำไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ซึ่งดีกว่าการปล่อยให้น้ำเอ่อไปทุกหนทุกแห่ง ประชาชนสมุทรสาครยอมให้พื้นที่จังหวัดเป็นทางผ่านของน้ำ แต่รัฐบาลต้องเข้าไปสำรวจพื้นที่ วันนี้ช่วงบ่ายหรือวันพรุ่งนี้ อยากให้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ตรวจดูพื้นที่ หาช่องผ่านน้ำ หากสิ่งเหล่านี้เร่งดำเนินการ จะเป็นการเร่งระบายน้ำเหนือให้ลงสู่ทะเลได้เร็วที่สุด และผมมองว่าการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นความท้าทายต่อ การแก้ไขปัญหาน้ำของรัฐบาล ซึ่งหากรัฐบาลสามารถจัดการปัญหาได้ เชื่อว่าจะเรียกความเชื่อมั่นในตัวรัฐบาลกลับคืนมาได้” นายวิชาญกล่าว

    อนึ่ง ในที่ประชุมวุฒิสภาได้มีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายฐานิสร์ เทียนทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้ารับฟังในฐานะตัวแทนจากรัฐบาลด้วย





    -http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000141784-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    อาจารย์ธรรมศาสตร์ วิเคราะห์บทเรียนโลจิสติกส์ในวิกฤตน้ำท่วม


    ผศ.ดร. สถาพร โอภาสานนท์ ภาควิชาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ และการขนส่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    ...................................

    ปฏิเสธไม่ได้ว่าศาสตร์ด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานได้มี บทบาทสำคัญและถูกนำมาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบ ภัยในช่วงวิกฤตน้ำท่วมที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การทำงานของภาครัฐสะท้อนให้เห็นถึงการขาดการนำความรู้ด้านโลจิสติกส์มาใช้ใน การรับมือกับสถานการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ


    ปัญหาแรกคือการขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นมันสมองในการแก้ไขปัญหาทั้งหมด ดูเหมือนจะขาดการประเมินสถานการณ์แบบ “what-if scenario” ที่พิจารณาความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นทั้งหมด จึงทำให้ไม่มีมาตรการรองรับเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อการปฏิบัติ ภารกิจล้มเหลว และต้องตามแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้า

    การย้ายที่ทำการ ศปภ. ไปยังกระทรวงพลังงาน ที่ผ่านไปไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ก็ถูกน้ำท่วมเช่นกัน เป็นผลมาจากการขาดการประเมินถึงกรณีเลวร้ายที่สุด (worst-case scenario) และไม่ได้พิจารณาประเด็นโลจิสติกส์เรื่องการเลือกทำเลที่ตั้ง ศปภ. ถือเป็นศูนย์บัญชาการหลักที่มีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชน


    ดังนั้น ที่ทำการ ศปภ. จึงควรตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยมากที่สุด โดยหากไม่สามารถหาทำเลที่ไม่ประสบปัญหาอุทกภัยอย่างแน่นอนได้แล้ว ก็ควรจะตั้งอยู่ในบริเวณกรุงเทพชั้นในสุดหรือสถานที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ เช่น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งถือเป็นที่มั่นที่ภาครัฐจำเป็นต้องป้องกันมากที่สุด

    ในส่วนของศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยก็เช่นเดียวกัน ควรจะอยู่ในพื้นที่นอกเขตเสี่ยงต่ออุทกภัยและมีระบบคมนาคมเข้าถึงได้สะดวก โดยจัดเตรียมเสบียงให้เพียงพอตลอดระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ การย้ายผู้ประสบภัยจากศูนย์พักพิงที่ถูกน้ำท่วมไปยังที่แห่งใหม่เป็นการทำ งานที่ซ้ำซ้อนและสร้างความยุ่งยากในการจัดการมากยิ่งขึ้น

    ประสิทธิภาพของระบบกระจายสินค้าก็ส่งผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการ ให้ช่วยเหลือ ปัญหาการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องตลาด รวมถึงภาพสิ่งของบริจาคที่ยังตกค้างอยู่ภายในท่าอากาศยานดอนเมืองหลังจากการ ย้ายออกของ ศปภ. สะท้อนให้เห็นถึงการขาดระบบจัดการโลจิสติกส์ที่ดี


    ทั้งนี้ ในสภาวการณ์ที่มีความต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก สถานที่รับสิ่งของบริจาค (ซึ่งจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกับที่ทำการ ศปภ.) ก็ควรใช้เป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า (Distribution Center) โดยจัดการแบบ Cross-docking ที่ทำการคัดแยก บรรจุหีบห่อ และจัดส่งทันที เพื่อความรวดเร็วในการกระจายถุงยังชีพให้แก่ผู้ประสบภัย และให้มีการถือครองของบริจาคภายในศูนย์ไว้ให้น้อยที่สุด

    เนื่องจากมีสิ่งของบริจาคส่งเข้ามาต่อวันจำนวนมาก นอกจากนี้ ควรมีการเพิ่มจำนวนศูนย์รวบรวมและกระจายสิ่งของบริจาคในลักษณะดังกล่าวให้ มากขึ้นและกระจายตัวไปหลายๆจุด โดยประสานงานกับศูนย์ฯของเอกชนและทำการแบ่งพื้นที่การให้ความช่วยเหลืออย่าง ชัดเจน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการทำงานและสามารถกระจายสิ่งของไปยังศูนย์พักพิงและ แหล่งชุมชนที่ประสบภัยอย่างทั่วถึง


    นอกจากนี้ จำนวนยานพาหนะสำหรับใช้ขนส่งสินค้าและประชาชนที่มีอยู่จำกัด โดยรถทหารต้องแบกรับภาระทั้งหมดก็สร้างปัญหาคอขวดต่อระบบโลจิสติกส์

    แนวทางการบรรเทาปัญหาต้องอาศัยทั้งการระดมยานพาหนะจากหน่วยงานอื่น เช่น รถโดยสารที่วิ่งประจำบนเส้นทางที่ถูกน้ำท่วมลึก ร่วมกับการบริหารกองยานพาหนะและการจัดเส้นทางขนส่งให้มีความเหมาะสมกับระดับ ความลึกของน้ำ โดยนำเรือและรถยกสูงไปวิ่งเฉพาะเส้นทางที่มีระดับน้ำสูง และใช้รถขนาดเล็กลงมาวิ่งเชื่อมโยงในเส้นทางย่อยที่ยังสามารถผ่านได้ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากกองยานพาหนะทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

    ปัจจัยที่ดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในภาวะวิกฤตมากที่สุด คือ ความสามารถในการสื่อสารและจัดการกับข้อมูล สำหรับการจัดการโลจิสติกส์แล้ว ข้อมูลถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีมากจนเกินไป (Information Overload) ความยุ่งยากจึงเป็นเรื่องของการจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่มากมายเหล่านั้น อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งต้องอาศัยการแชร์ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำไปยังหน่วยงานอื่นๆในโซ่อุปทาน เพื่อนำมาใช้วางแผนการทำงานให้เป็นทิศทางเดียวกันและยังเป็นการสร้างความไว้ วางใจระหว่างหน่วยงานอีกด้วย

    ทั้งนี้ การสื่อสารระหว่างภาครัฐกันเองและภาครัฐกับประชาชนเป็นปัญหาที่ต้องได้รับ การปรับปรุง โดยในช่วงแรกจะพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่ภาครัฐสื่อสารออกมาจะเป็นข้อมูลเพียง ด้านเดียว ซึ่งเน้นเฉพาะปัญหาที่ได้ดำเนินการแก้ไขเท่านั้น โดยหลีกเลี่ยงการพูดถึงผลกระทบจากการปฏิบัติงานที่ล้มเหลวและสถานการณ์ทั้ง หมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งอาจกลัวว่าประชาชนจะตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ

    อย่างไรก็ตาม สำหรับกรณีอุทกภัยที่เกิดขึ้น การให้ข้อมูลที่ชัดเจนและรอบด้านเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาชนในการวางแผน ล่วงหน้า รวมทั้งจะไม่มีผลให้เกิดความโกลาหล เนื่องจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นเป็นแบบไม่ฉับพลัน ซึ่งประชาชนมีเวลามากเพียงพอในการเตรียมตัว


    ในทางกลับกัน สื่อมวลชนต่างๆ สามารถนำเสนอข้อมูลที่มีการวิเคราะห์อย่างเป็นหลักการและครบถ้วนมากกว่า จึงทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในข้อมูลที่ภาครัฐนำเสนอ ถึงแม้ในภายหลังภาครัฐได้พยายามที่จะสร้างความน่าเชื่อถือโดยเปลี่ยนทีมโฆษก และเพิ่มความเข้มข้นของข้อมูลมากขึ้นแต่ก็ดูเหมือนว่าจะสายเกินไป ซึ่งเห็นได้จากการที่ประชาชนไม่ให้ความสนใจในการแจ้งเตือนอพยพออกจากพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ จนกว่าจะเห็นน้ำท่วมด้วยตาตนเอง

    เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจในแหล่งที่มาของข้อมูลอีกแล้ว ความล้มเหลวในการควบคุมมวลชนถือเป็นสัญญาณอันตรายที่อาจก่อให้เกิดความสูญ เสียชีวิตและทรัพย์สินในกรณีที่สถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น หากเปรียบกับการทำธุรกิจ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าถือเป็นเรื่องสำคัญ หากพบว่าคุณภาพของสินค้าไม่ตรงกับที่โฆษณาแล้ว ผู้บริโภคก็จะไม่ซื้อสินค้าอื่นๆที่มาจากบริษัทนั้นอีก

    อย่าลืมว่าองค์ประกอบพื้นฐานในการแก้ปัญหาการ จัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานคือ การร่วมมือและประสานงานกันระหว่างหน่วยงานในโซ่อุปทาน หากขาดความไว้วางใจกันแล้ว การคิดที่จะ “บูรณาการการทำงาน” อย่างแท้จริงคงไม่สามารถเกิดขึ้นได้


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1320552036&grpid=&catid=02&subcatid=0207-


    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คาดแบงก์ตุนเงินปล่อยกู้น้ำลด จับตาแข่งดูด"ฝากดอกสูง" เพิ่มเข้มงวดอนุมัติสินเชื่อ


    คาดระบบแบงก์เร่งตุนสภาพคล่องรองรับความต้องการสินเชื่อฟื้นฟูน้ำท่วม จับตาแข่งแคมเปญดอกเบี้ยฝากสูง ดูดเงินเข้าแบงก์ เชื่อเข้มงวดอนุมัติเงินกู้มากขึ้น นำปัญหาน้ำท่วมมาเป็นปัจจัยเสี่ยงในการพิจารณา ธปท.เผยแบงก์คลายอาการแตกตื่น ลดถือเงินสดในมือ นำกลับมาฝาก ธปท.ในระดับใกล้เคียงปกติ

    นายสุภัค ศิวะรักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งทั้งเอกชนและสถาบันเฉพาะกิจของรัฐบาล เริ่มแย่งสภาพคล่องการเงินผ่านการออกแคมเปญเงินฝากอัตราดอกเบี้ยพิเศษมาก ขึ้น เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งต้องการสนับสนุนสินเชื่อถึง 150,000 ล้านบาท

    ทั้งนี้ การแย่งสภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ จะกดดันให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเร่งตัวขึ้นและเป็นต้นทุนของธนาคารด้วย แม้หลายฝ่ายมีการคาดการณ์กันว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3.50% ต่อปีในการประชุมวันที่ 30 พ.ย. ปิดการประชุมสำหรับปีนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์น้ำท่วมก็ตาม

    นายสุภัคกล่าวว่า การพิจารณาสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์หลังผ่านเหตุการณ์น้ำท่วม จะมีการนำความเสี่ยงจากน้ำท่วมเข้ามาในการประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจ ด้วย เพราะถือว่าส่งผลต่อธุรกิจค่อนข้างมาก เพราะประเทศไทยยังเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมในปีถัดไป ขณะที่บริษัทรับประกันภัยที่เริ่มมีปัญหาจะไม่ยอมรับประกันภัยต่อจากกรณีน้ำ ท่วม ดังนั้น รัฐบาลจะต้องมีการจัดทำแผนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้น

    นอกจากนั้น ธนาคารอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจใหม่สำหรับปี 2555 หลังเกิดสถานการณ์น้ำท่วม แต่มองว่าสินเชื่อจะเติบโตได้มากกว่า 20% เนื่องจากหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลาย คาดว่าธุรกิจจะกลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติตั้งแต่เดือน มี.ค.2555 เป็นต้นไป และจะเริ่มเข้าสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจทำให้ช่วงครึ่งปีแรกน่าจะเติบโตได้มาก ภายใต้เศรษฐกิจไทยเติบโตในระดับ 4.5-5.0% โดยมองว่ารัฐบาลน่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างแรง ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 1% จากปีนี้
    นายนพพร ประโมจนีย์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธปท.กล่าวว่า ในสัปดาห์นี้ธนาคารพาณิชย์หลายแหล่งเริ่มนำเงินสดมาฝาก ธปท.มากขึ้น โดยปริมาณธุรกรรมการฝาก-ถอนอยู่ที่ 2,000-3,000 ล้านบาทต่อวัน เกือบเข้าใกล้ระดับปกติ พลิกจากการเร่งเบิกถอนอย่างมากในช่วงสัปดาห์ก่อน โดยเฉพาะวันที่ 28 ต.ค.เพียงวันเดียวมี 20,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6-7 เท่าตัว เนื่องจากธนาคารหลายแห่งลดความกังวลว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมในระดับสูงจนไม่ สามารถเบิกถอนเงินเพื่อสำรองแก่ประชาชนได้ ประกอบกับมีการปิดให้บริการเครื่องเอทีเอ็ม 4,000 กว่าเครื่อง หรือ 10% ทั้งระบบจึงมีเงินเหลือ

    นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทยในปัจจุบันมีสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ซึ่งดูแล้วเพียงพอต่อความต้องการของระบบ ขณะที่เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS) ของธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันก็เฉลี่ยอยู่ที่ 16% สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่ 8.25% ดังนั้น การขยายสินเชื่อใหม่จึงไม่น่าจะมีปัญหา.



    -http://www.thaipost.net/news/051111/47629-

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คำสั่งซื้อสินค้าตกต่ำสุด28เดือนผวาศก.โลกหด-อุทกภัยซ้ำอาหารทะเลเพิ่มผลิตหนีน้ำ


    ธปท.เผยดัชนีคำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ 3 เดือนข้างหน้าวูบหนัก ต่ำสุดรอบ 28 เดือน ผู้ประกอบการห่วงเศรษฐกิจโลก-น้ำท่วม ฉุดความต้องการซื้อ ด้านผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็ง เร่งปั๊มสินค้าเต็มพิกัด หวั่นสมุทรสาครจมน้ำ กระเทือนปีหน้าไทยขาดสินค้าทะเลส่งออก

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา อยู่ที่ 41.5 ซึ่งต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่ 50 และดัชนีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 47 ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่ระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 28 เดือน เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าคำสั่งซื้อจากต่างประเทศในอนาคตจะลดลงจาก ปัจจุบัน จากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรป

    นอกจากนั้น ผู้ประกอบการมองว่าภาวะส่งออกจะลดลงเล็กน้อยทั้งในปัจจุบันและอนาคต สะท้อนจากดัชนีภาวะส่งออกปัจจุบันอยู่ที่ 49.7 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 49.4 ตามลำดับ สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา มีความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจจะเป็นข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 51.4% จากเดือนก่อนอยู่ที่ 46.3%

    “เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ประกอบการยังมีความกังวลเรื่องความต้องการจากตลาดในประเทศต่ำอยู่ที่ 24.8% สะท้อนความกังวลที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากเดือนก่อนอยู่ที่ 19.7% รวมถึงความต้องการจากตลาดต่างประเทศต่ำอยู่ที่ 17.6% สะท้อนความกังวลที่เพิ่มขึ้นชัดเจนจากเดือนก่อนอยู่ที่ 13.7% ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาอุทกภัยในประเทศที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นหลัก” รายงานข่าวระบุ

    นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด และฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (ยูเอฟพี) ผู้ผลิตอาหารทะเลแช่แข็งเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของไทย กล่าวว่า โรงงานผลิตสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งของบริษัท กำลังเร่งเดินเครื่องผลิตสินค้าอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถจัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศได้ทันตามกำหนด

    เนื่องจากโรงงานตั้งอยู่ใน จ.สมุทรสาคร อยู่ในพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม ขณะเดียวกัน โรงงานส่วนใหญ่ใน จ.สมุทรสาคร จะผลิตสินค้าอาหารทะเลแช่แข็ง เพื่อส่งออกไปต่างประเทศจำนวนมาก หากเกิดปัญหาน้ำท่วมขึ้นจริง คาดว่าจะทำให้การส่งออกสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งของไทยเกิดปัญหาได้

    ทั้งนี้ บริษัทได้เร่งผลิตสินค้ากลุ่มกุ้งแช่แช็งเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นเท่าตัว โดยผลิตอยู่ที่ 100-120 ตันต่อวัน และเพิ่มกำลังการผลิตอาหารแช่แข็ง ภายใต้แบรนด์ พรานทะเล 2 เท่าตัว อยู่ที่ 40,000 กล่องต่อวัน จากเดิม 20,000 กล่องต่อวัน

    นายทวี ปิยะพัฒนา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปซิฟิคแปรรูปสัตว์น้ำ จำกัด ผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปครบวงจร ภายใต้แบรนด์ "พีเอฟพี" กล่าวว่า บริษัทไม่มีความกังวลกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากโรงงานผลิตอาหารอยู่ใน จ.สงขลา แต่ขณะนี้กำลังเกิดปัญหาโรงงานที่ส่งบรรจุภัณฑ์ที่ใช้บรรจุสินค้าถูกน้ำ ท่วม จึงต้องปรับแผนไปหาซื้อจากโรงงานในประเทศมาเลเซียแทน พร้อมกับเร่งผลิตสินค้าขึ้นเต็มกำลังการผลิต 100% เนื่องจากมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาจำนวนมาก

    ส่วนเป้าหมายยอดขายรวมในสิ้นปี 2554 คาดว่าจะเติบโตขึ้น 15% จากปีก่อน ที่มียอดขายรวมมากว่า 4,000 ล้านบาท.


    -http://www.thaipost.net/news/071111/47703-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    คลายเครียด..แก้ปัญหาสติแตกเมื่อน้ำท่วม



    คลายเครียด..แก้ปัญหาสติแตกเมื่อน้ำท่วม (ไทยโพสต์)


    ภาวะน้ำท่วมเกาะกินทำร้ายจิตใจของคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย มากบ้างน้อยบ้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ อย่างไรก็ตาม ทุกคนสามารถหลีกพ้นปัญหาความเครียด อันเกิดจากน้ำที่เราไม่อาจจะควบคุมได้ หากตั้งสติและลองดำเนินการตามคำแนะนำของผู้รู้ รวมทั้งนักจิตวิทยาทั้งหลาย เพราะความเครียดของอารมณ์มนุษย์ในเหตุการณ์น้ำท่วม ก็ไม่ได้แตกต่างจากความเครียดอันเกิดจากการทำงานหรือปัญหาชีวิตนั่นเอง

    ทั้งนี้วิธีง่าย ๆ เพื่อคลายเครียดในภาวะปัจจุบัน อาทิ

    [​IMG] จินตนาการแสนสุข อีกทางเลือกในการบรรเทาความเครียด คือ ดึงตัวเองออกจากโลกปัจจุบัน โดยหลับตาแล้วหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ แล้วหยุดไว้ 2 วินาทีก่อนหายใจออก การหยุดช่วงสั้นๆ จะมีผลทำให้ระบบประสาทสงบลง ทำแบบนี้ในที่เงียบ ๆ สัก 5 นาที รับรองว่าจะรู้สึกดีแบบทันตาเห็น จากนั้นก็นึกถึงช่วงเวลาดี ๆ เช่น วันที่ได้รับคำชมจากเจ้านาย วันที่ครอบครัวสนุกสนาน

    [​IMG] หนังสือบำบัด หาหนังสือที่อ่านแล้วสบายใจเล่มบาง ๆ มาไว้ใกล้มือ เครียดเมื่อไหร่หยิบมาพลิกอ่านสักหน้าสองหน้าแก้เครียด หรือหามุมสงบ-ฟังเพลง ฟังเพลงเบา ๆ โดยเฉพาะเพลงแนว Meditation ทั้งเสียงบรรเลงดนตรีและเสียงธรรมชาติ อย่างเสียงคลื่น น้ำตก นกร้อง รับรองว่าจะช่วยสร้างสมาธิให้กลับคืนสู่สมองและจิตใจได้อย่างน่ามหัศจรรย์

    [​IMG] โทร.หาเพื่อนรู้ใจ อย่า คิดว่าตัวเองจะแก้ทุกปัญหาได้ ยกหูโทรศัพท์หาเพื่อนรู้ใจสักคน แล้วระบายความรู้สึกให้เพื่อนได้รับรู้ การมีคนรับฟังและให้คำปรึกษาจะทำให้ชีวิตที่ยุ่งเหยิงเริ่มเข้าที่เข้าทาง มากขึ้น อย่างน้อยก็ยังรู้สึกว่า คุณไม่ได้แบกปัญหาอยู่คนเดียวในโลก หรือจะอาศัยพลังแห่งการสัมผัส ถ้ามีเพื่อนสนิทในที่ทำงานอาจสลับสับเปลี่ยนกันนวดบรรเทาอาการเครียด เพราะการโอบกอดหรือสัมผัสเบา ๆ เวลารู้สึกเหนื่อยล้าจะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ชื่อ ออกซิโทซิน ช่วยลดระดับความเหนื่อยและความเครียด ทำให้ร่างกายที่กำลังอ่อนล้ารู้สึกผ่อนคลายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    [​IMG] ทดลองหลับ บางตำรากล่าวไว้ว่า วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาสมดุลแห่งความเครียด คือ การฝึกจิตง่าย ๆ ครั้งละ 10-15 นาที เช้าและเย็น ด้วยการนั่งท่าสบาย ๆ อยู่ที่โต๊ะทำงานของคุณ หนุนศีรษะบนแขนที่วางไขว้กัน หรือหาที่เหมาะนอนท่าเหยียดยาว หลับตาและปล่อยตัวตามสบาย เพื่อผ่อนคลายง่าย ๆ หรือการคิดในทางบวก ขอให้จำไว้ว่าการมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน คิดถึงประสบการณ์ดี ๆ ที่ผ่านมาในชีวิตให้บ่อยขึ้น รวมถึงคิดถึงความปรารถนาดีของคนอื่นที่มีต่อคุณ ก็จะช่วยให้เป็นคนที่เครียดน้อยลงและมีความสุขมากขึ้นได้

    [​IMG] หนีให้พ้นความจำเจด้วยการไปตากอากาศระยะสั้น เมื่อ ความเครียดรุมเร้า ก็ไม่ควรอุดอู้อยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม ทางที่ดีคุณควรหาเวลาหลบไปสูดอากาศบริสุทธิ์ใกล้ ๆ ธรรมชาติสักพัก อาจเป็นสวนหย่อมในที่ทำงาน หรือคาเฟทีเรียใกล้ ๆ จากนั้นเดินผ่อนคลายและหายใจเข้าลึก ๆ ช้า ๆ ปล่อยสมองให้ว่างที่สุด เพราะบางทีความรู้สึกเหนื่อยล้าและหดหู่มันมาจากชีวิตที่ยุ่งเหยิงจนเกินไป.


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://thaipost.net/x-cite/021111/47463-
    [​IMG]

    -http://health.kapook.com/view32946.html-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...