เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    วิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านอย่างได้ผล-ไม่ใช้กระสอบทราย



    [​IMG]

    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์, คุณ ทองกาญจนา

    น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม ...เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมาไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า...ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!

    สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล จากคุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อกันจ้า...


    วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล by คุณทองกาญจนา

    [​IMG] เตรียมการก่อน

    ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด

    [​IMG] จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้

    [​IMG] (1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน

    [​IMG] (2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ

    [​IMG] (3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว

    [​IMG] (4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน

    [​IMG] น้ำมาแล้ว

    เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ

    เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว

    [​IMG] ภาพบรรยากาศ

    ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน

    [​IMG]

    เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว

    [​IMG]

    ขณะที่ถนนด้าน นอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที

    [​IMG]

    ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้

    [​IMG]

    บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน

    [​IMG]

    อีกภาพหนึ่ง

    [​IMG]

    หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ


    วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านง่าย ๆ แบบไม่ใช้กระสอบทราย by คุณอนันต์


    จากวิกฤติน้ำท่วมอย่างร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยปีนี้ สร้างความสูญเสียให้กับประชาชนผู้ประสบภัยในหลายพื้นที่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และหลังจากที่มีข่าวมาว่า หลายเขื่อนรองรับน้ำอย่างเต็มพิกัดแล้ว ประกอบกับสภาพอากาศที่มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ก็คงทำให้คนในพื้นที่เฝ้าระวังต่าง ๆ รวมถึงคนในกรุงเทพฯ ล้วนตื่นตัว และไม่รอช้าที่จะเตรียมรับมือเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

    ด้วยเหตุนี้ ของที่สำคัญในการป้องกันน้ำท่วมอย่าง "กระสอบทราย" รวมถึงอิฐบล็อกต่าง ๆ จึงขาดตลาด แต่เพื่อน ๆ ก็ไม่ต้องหนักใจไป เพราะในวันนี้เรามีวิธีป้องกันน้ำเข้าบ้าน แนวคิดดี ๆ จาก คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ ที่จะใช้วัสดุง่าย ๆ ในการป้องกันน้ำท่วม แบบไม่ต้องใช้กระสอบทราย มาแนะนำกันค่ะ


    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]




    [​IMG]


    -http://hilight.kapook.com/view/63607-


    .


     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ข้อปฏิบัติในการขับรถเมื่อน้ำท่วม และไอเดียรักษารถที่ใครๆก็ทำได้


    น้ำท่วมปีนี้หนักหนากว่าที่ใครๆคิด ไม่ว่าจะเกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือจากธรรมชาติที่ประทานน้ำให้แก่มนุษย์มากเกินความต้องการ ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเรายังจำเป็นต้องดำรงชีวิตให้รอดท่ามกลางสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยเช่นนี้ต่อ ไป เราจึงมีวิธีการดูแลรถให้แก่ผู้ที่ยังจำเป็นต้องใช้รถเพื่อการประกอบอาชีพ การงาน ให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ได้อย่างตลอดรอดฝั่ง

    [​IMG]

    โดยระดับน้ำที่รถโดยทั่วไปสามารถแล่นผ่านได้คือ น้ำนิ่ง สูงไม่เกิน 6 นิ้ว แต่ถ้าน้ำไหล ต้องสูงไม่เกิน 4 นิ้ว ดังนั้นควรจอดรถลงมาสำรวจ และคุยกับคนขับรถที่ผ่านมาว่าสถานการณ์น้ำเป็นอย่างไร เพื่อประเมินว่าคุณจะขับรถผ่านได้หรือไม่

    หากตัดสินใจที่จะขับผ่าน ต้องขับรถบนส่วนที่ดูสูงที่สุดบนถนน และขับช้าๆ ประมาณ 2-3 กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเกียร์หนึ่งหรือเกียร์ต่ำ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ให้เหยียบคลัชบ่อยๆ แต่ถ้าเป็นเกียร์อัตโนมัติให้เหยียบเบรกบ่อยๆ เพื่อไล่น้ำ อย่าแล่นเร็ว เพราะการเร่งความเร็วแค่ 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความร้อน ใบพัดลมจะทำงาน และปัดน้ำเข้าห้องเครื่อง

    [​IMG]

    นอกจากการขับรถเร็วจะเสี่ยงทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์หรือทำให้เกิดคลื่น น้ำที่จะไปทำลายคันดินหรือกระสอบทรายที่ก่อไว้ ยังเสี่ยงกับการควบคุมรถไม่ได้ด้วย แม้จะเป็นน้ำนิ่งก็ตาม เพราะถ้าแล่นรถเร็ว ยางรถจะไม่สัมผัสพื้นถนน ทำให้รถลอย และเสียการควบคุมในที่สุด ซึ่งหากควบคุมไม่ได้ ให้จับพวงมาลัยหลวมๆ และปล่อยให้รถเคลื่อนไปเรื่อยๆ เพราะหากความเร็วลดลง ยางรถก็จะแตะพื้นถนนเอง

    ส่วนข้อแนะนำอื่นๆ คือ ควรหยุดให้รถคันอื่นผ่านไปก่อนเพื่อลดความรุนแรงของคลื่นน้ำ เมื่อขับรถพ้นน้ำมาได้ให้เช็คระบบเบรกทันที และอย่าขับรถผ่านน้ำที่ไหลแรง เพราะรถอาจถูกพัดไปได้

    _____________


    ขับรถขณะน้ำท่วมควรทำอย่างไร?

    1.ห้ามเปิดแอร์เด็ดขาด เพราะเมื่อเราเปิดแอร์ พัดลมจะทำงาน ทำให้ใบพัดพัดน้ำกระจายไปทั่วห้องเครื่อง แล้วทำให้เครื่องดับ

    2.ใช้ เกียร์ต่ำ สำหรับเกียร์ธรรมดา เราควรใช้ประมาณเกียร์ 2 แต่หากว่าเป็นเกียร์ออโต้ สามารถใช้เกียร์ L ได้ รวมถึงการขับขี่ที่มีความเร็วต่ำสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และควรใช้ความเร็วอย่างสม่ำเสมอ อย่าหยุด หรืออย่าเร่งความเร็วขึ้น

    3.ไม่ ควรเร่งเครื่องให้รอบสูงเกินไป ผู้ขับรถหลายคนมักเร่งเครื่องแรงๆเพราะกลัวเครื่องดับ เนื่องจากน้ำเข้าท่อไอเสีย ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเร่งเครื่องขึ้น ยิ่งจะทำให้รถมีความร้อนสูงยิ่งขึ้น ใบพัดระบายความร้อนก็จะทำงาน และยิ่งทำให้น้ำเข้าเครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น การสตาร์ตรถอยู่โดยที่รอบเดินเบา แม้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำ (แต่ระดับน้ำต้องไม่สูงมากขนาดระดับกะโปรงรถ) แรงดันที่ออกมาเพียงพอที่จะดันน้ำออกมาได้

    4.การลดความเร็วลง โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อกำลังจะขับรถสวนกับรถอีกคันหนึ่ง เพราะยิ่งขับเร็วมากเท่าไหร่ แรงคลื่นที่เกิดจากการปะทะก็จะแรงมากเท่านั้น และกระเด็นเข้าสู่เครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น

    5.หลังจากลุยน้ำที่มีระดับลึกมา สิ่งแรกที่ควรทำคือ พยายามย้ำเบรกเพื่อไล่น้ำ เพราะในช่วงแรกๆจะเบรกไม่อยู่และเป็นอันตรายมาก

    [​IMG]


    ขั้นตอนที่ควรทำทันที เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วม

    1.ล้างรถ รวมถึงการฉีดน้ำเข้าไปในบริเวณใต้ท้องรถและซุ้มล้อ เพื่อล้างเศษดินทรายที่ตกค้างหรือติดอยู่ออกให้หมด ซึ่งอาจมีเศษขยะหรือหญ้าแห้งติดอยู่ ที่อาจก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย เช่นเดียวกับกรณีของรถที่ติดตั้งตัวกรองไอเสีย หรือ CAT ที่ไม่แนะนำให้จอดในที่ที่มีหญ้าขึ้นสูง เนื่องจากอุณหภูมิของ Catalytic Converter ค่อนข้างสูง และอาจทำให้เกิดไฟไหม้ได้ง่าย

    2.พึงเอาไว้ว่าอย่าทำการสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจให้ไฟออนโดยเด็ดขาด จากนั้นเดินไปเปิดฝากระโปรงรถและปลดขั้วแบตเตอรี่ทันที โดยจะปลดขั้วใดขั้วหนึ่งหรือจะปลดทั้ง ขั้วบวกขั้วลบก็ได้ (จริงๆถ้าคุณคาดว่าน้ำจะท่วมสูงถึงห้องเครื่องให้เตรียมปลดขั้วแบตเตอรี่ เอาไว้ล่วงหน้าก่อนจะเป็นการดีที่สุด) เพื่อป้องกันไม่ให้ไฟเข้าไปเลี้ยงระบบต่างๆของรถ รวมถึงเครื่องยนต์

    3.เปิดประตูออกทุกบาน ให้ลมโกรก หรือถ้ามีแดดให้จอดตากแดด จากนั้นถอดเบาะนั่ง พรม ผ้าต่างๆ ที่อยู่ภายในรถออกมาซักทันที เพราะถ้าทิ้งเอาไว้นาน ความเหม็นอับจะมาเยือน และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราและเชื้อโรคต่างๆ

    4.เริ่มเข้าสู่กระบวนการทางเทคนิคที่พอจะทำได้เอง คือ ปลดทุกอย่างที่เป็นขั้วไฟฟ้า ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้หมด ทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

    5.สำรวจน้ำมันเกียร์ ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ คือถ้ามีลักษณะคล้ายสีชาเย็น นั่นแสดงว่ามีน้ำเข้าไปปะปนแล้ว ต้องรีบเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทันที เช่นเดียวกับน้ำมันเกียร์ รวมถึงเปลี่ยนกรองอากาศ ซึ่งประเด็นนี้ใครทำเองได้ก็ทำเลย เพราะยิ่งจัดการเร็วโอกาสที่สนิมจะมาเยือนก็น้อยตามไปด้วย แต่ถ้าไม่ไหวก็ต้องเข้าศูนย์บริการหรืออู่ ซึ่งจะมีขั้นตอนการเปลี่ยนถ่ายที่ถูกต้องและละเอียดมาก

    6.เพลาขับ หากยางหุ้มเพลาขาดน้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป ต้องอัด จารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้ คือลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่แล้วใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตาม ลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด

    7.ในกรณีที่เป็นเครื่องเบนซินให้ใช้ลมเป่าไปที่เบ้าหัวเทียนไล่น้ำออกให้ หมดทุกซอกทุกมุม จากนั้นให้ถอดหัวเทียนออก ตรวจดูแผงฟิวส์ตัวฟิวส์ กล่องรีเลย์ต่างๆรวมทั้งกล่องอีซียูต้องถอดออกให้หมดตากแดดทิ้งไว้ ตรวจดูปลั๊กไฟใช้ลมเป่าทำความสะอาดทั้งหมด หรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้นฉีดทิ้งไว้

    8.โคมไฟหน้าเลนส์ ไฟท้าย เบาะนั่ง พรมปูพื้น ที่ถอดออกมาตากแดดแห้งแล้วยังไม่ต้องรีบใส่ แม้ว่าส่วนประกอบอื่นๆจะแห้งดีแล้ว ให้เอารถออกตากแดดเปิดประตูรถทุกบาน พยายามให้แผงหน้าปัดรถตากแดดแรงๆเพื่อไล่ความชื้นออกจากแผงหน้าปัดให้หมด

    9.เมื่อแน่ใจว่าทุกอย่างแห้งสนิทดีแล้วค่อยใส่ทุกอย่างที่ถอดออกจากใน ห้องเครื่องเข้าที่ให้หมด ยกเว้นหัวเทียนในกรณีของรถเครื่องยนต์เบนซินหรือหัวฉีดในกรณีเครื่องดีเซล ให้ยกแบตเตอรี่เข้าที่ก่อนโดยใส่ขั้วแบตเตอรี่ เสียบกุญแจบิดกุญแจไปจังหวะแรก(จังหวะสำหรับตรวจมาตรวัดต่างๆก่อนสตาร์ทรถ) หากเกจ์วัดไหนยังไม่ทำงานอย่าเพิ่งกังวล ให้เปิดสวิตช์ค้างไว้แล้วลงมาตรวจสอบที่ห้องเครื่องยนต์ว่ามีควันหรือความ ร้อนอะไรเกิดขึ้นจากการใช้ไฟจากแบตเตอรี่หรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีทุกอย่างปกติดีจึงค่อยบิดกุญแจปิดสวิตช์

    10.ตรวจสอบเบ้าหัวเทียนอีกครั้งว่ามีอะไรติดขัดหลงเหลืออยู่อีกหรือไม่ หากดูแล้วว่าเรียบร้อยดีให้ลองสตาร์ทเครื่องใหม่ โดยคนหนึ่งบิดกุญแจส่วนอีกคนหนึ่งคอยเช็คที่รูหัวเทียน เมื่อเครื่องหมุน หากถ้ามีน้ำ น้ำจะถูกพ่นออกมาทางรูหัวเทียน ให้สตาร์ทต่อไปจนแน่ใจว่าน้ำถูกพ่นออกมาจนหมด ต่อไปก็ให้ใส่หัวเทียนเข้าที่ หากทำมาถูกต้องและไม่มีอุปกรณ์อื่นที่เสียหายรุนแรง เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ หากว่าได้ยินเสียงเครื่องยนต์ทำงานดังกระหึ่มขึ้นตามมา แสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติ

    วิธีการยกรถหนีน้ำ ด้วยการนำแม่แรงที่อยู่ภายในรถงัดรถให้สูงขึ้น จากนั้นให้นำก้อนอิฐไปค้ำล้อรถทั้ง 4 ล้อให้สูงเหนือระดับน้ำ ส่วนกรณีที่รถอาจต้องจมน้ำ ข้อแนะนำคือควรปิดกระจกให้แน่น หลังจากนั้นให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ ขั้วบวกหรือขั้วลบออก เพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าภายในรถช็อต

    ภายหลังน้ำท่วมรถ ให้แกะลูกยางที่อยู่ใต้ท้องรถออก เพื่อเป็นการระบายน้ำที่ท่วมขังอยู่ภายในรถ

    [​IMG]


    เมื่อรถยนต์ถูกน้ำท่วมทั้งคันควรทำอย่างไร?

    1.ห้ามเปิดสวิตช์ไฟหรือสตาร์ตเครื่องเด็ดขาด และถอดสายแบตเตอรีออก

    2.ลากรถยนต์ออกจากน้ำให้เร็วที่สุด เพราะถ้าหากทิ้งไว้นานจะก่อให้เกิดความเสียหายบริเวณตัวรถเพิ่มขึ้น
    เมื่อรถจมน้ำทั้งคัน หลายคนเข้าใจว่าไฟฟ้าจะลัดวงจร แต่ในความเป็นจริงไฟฟ้ายังไม่ได้ลัดวงจรเพราะว่าไม่มีไฟฟ้าลงดิน แต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นหลังจากที่ระบบอิเลคทรอนิกส์ต้องจมอยู่ในน้ำ และจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อมอเตอร์ไฟฟ้า กล่องอีซียูซึ่งปัจจุบันใช้ระบบกล่องรวมที่ควบคุมทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นแอร์ ไฟส่องสว่างและเครื่องยนต์

    หลังจากกู้รถขึ้นจากน้ำแล้ว ข้อห้ามอย่างแรกที่สำคัญคือห้ามติดเครื่องยนต์เด็ดขาด จนกว่าจะตรวจสอบจนแน่ใจว่าไม่มีน้ำค้างในเครื่องยนต์ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง รถที่ถูกน้ำท่วมต้องเปลี่ยนถ่ายของเหลวและกรองต่างๆออก เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีฝุ่นหรือดินโคลนค้างอยู่ การซ่อมบำรุงรถน้ำท่วมจะต้องทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญรถยี่ห้อนั้นจริงๆ เพราะแทบจะต้องประกอบใหม่ทั้งคันทีเดียว

    _____________

    วิธีป้องกันรถแบบไทยๆ

    เว็บไซต์ rackmanagerpro.com ได้เสนอไอเดียให้มีการประดิษฐ์ "ถุงคลุมกันน้้ำแบบกลับหัวกลับหาง" ซึ่งเหมาะสมกับฤดูฝนของบ้านเราเป็นอย่างดี แค่นี้ผ้าคลุมรถธรรมดาๆ ก็ป้องกันน้ำท่วมรถยนต์คันงามของคุณได้แล้ว

    มาใช้ผ้าคลุมรถกันน้ำท่วมเพื่อป้องกันรถคุณจากน้ำท่วมกันเถอะ!

    [​IMG]
    ภาพ: Rackmanagerpro.com

    เริ่มใช้ผ้าคลุมรถ โดยเลือกเอาขนาดไซซ์ XL หรือยิ่งใหญ่ยิ่งดี เพราะจะได้สวมใส่กันได้สะดวก และเนื่องจากไอเดียครั้งนี้คือ การเอาผ้าคลุมรถแทนที่จะใส่จากด้านบน ก็เอามาใส่จากด้านล่างแทน ดังนั้น ตอนที่เลือกผ้าคลุมรถ จึงต้องเลือกผ้าหรือเป็นวัสดุที่สามารถกันน้ำได้ด้วยเท่านั้น

    และหากว่าอยากให้ผ้าคลุมดังกล่าวสามารถปกป้องรถได้อย่างเต็มที่ และไม่หลุดรุ่ยง่ายๆ ควรติดขอบยาง เพื่อให้กระชับพอดีกับตัวรถ

    [​IMG]
    ภาพ: Rackmanagerpro.com

    เริ่มต้นให้วางผ้าคลุมรถไว้ ณ ตำแหน่งที่คุณอยากจะจอดรถเอาไว้ แล้วก็ให้คนจับมุมเอาไว้ทั้งสองฝั่ง หลังจากนั้นก็ให้คนขับถอยรถช้าๆ การถอยรถต้องค่อยๆถอย โดยผ่านมุมเข้าผ้าคลุมช้าๆเป็นแนวเดียวกับผ้าคลุมรถ และ ผ้าคลุมควรจะต้องขึงตึงเอาไว้ เพราะ เราไม่อยากจะให้รถเหยียบผ้าคลุมเอาไว้ เดี๋ยวมันจะยกขอบผ้าคลุมไม่ขึ้นครับ

    เมื่อถอยรถได้ตำแหน่งอยู่กลางผ้าคลุมแล้วก็ให้คุณเอาขอบของผ้าคลุมคลุม เอาไว้รอบคัน ทั่วทั้งคันครับ และ สำหรับการป้องกันที่จะทำได้จริง คุณจะต้องติด tape กาวแบบที่เมื่อมีน้ำชะจะต้องไม่หลุดลอกออกมาด้วยครับ แนะนำว่าให้แปะก็แปะทั่วทั้งคันเพื่อความมั่นใจได้ว่า น้ำจะไม่ซัดหรือดึงผ้า หรือไปกร่อนเนื้อกาวเพื่อให้ผ้าคลุมหลุดลอกออกมาได้ง่ายๆ


    หรือปฏิบัติตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้

    1. ซื้อยางรถสิบล้อมา 3 เส้น
    2. นำยางรถที่ยังไม่ได้สูบ สอดไว้ใต้ท้องรถ
    3. สูบลมเข้าไปทั้ง 3 ล้อ ก่อนสูบควรผูกเชือกตำแหน่งต่างๆ เพื่อยึดรถให้อยู่กับล้อ
    4. ผูกเชือกล่ามรถไว้กับเสาบ้าน หรือหลักที่แน่นหนา ป้องกันรถลอยไปตามน้ำ
    5. รถจะปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม และสามารถใช้เป็นที่พักชั่วคราวได้


    [​IMG]
    ภาพ: civicesgroup.com



    ...หรือวิธีเหล่านี้ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด

    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318332863&grpid=&catid=09&subcatid=0903-


    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    รวมเว็บไซต์และเบอร์โทรศัพท์"ช่วยเหลือ-ติดตาม"น้ำท่วมที่สำคัญ


    เว็บไซต์:

    1. แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.)
    http://maintenance.doh.go.th/test.html

    2. ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ
    http://flood.gistda.or.th/

    3. ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม.
    http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/

    4. รายงานสภาพการจราจร
    http://traffic.longdo.com/

    5. ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก
    http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx

    6. ติดตามข่าวสารน้ำท่วม
    http://dds.bangkok.go.th/m/index.php

    7.กรมทรัพยากรน้ำ
    http://www.dwr.go.th/report

    8.กรมทางหลวงชนบท
    http://fms2.drr.go.th/

    9.ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
    http://www.thaiflood.com/

    _____________

    เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ:

    สำนักนายกรัฐมนตรี 1111 กด 5

    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784

    บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี 1669

    ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

    ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193

    การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

    สายด่วน กฟภ. 1129

    ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111

    ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส 02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822

    ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ 0-2243-6956

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี 0-3641-4480-1 , 0-3641-1936

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก 0-5523-0537-8 , 0-5523-0394

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา 0-3533-5798 , 0-3533-5803

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา 035 – 241-612

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก 0-5551-5975

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี 0-3652-0041

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง 0-3564-0022

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์ 0-5625-6015

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี 0-2591-2471

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี 0-2581-7119-21

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร 0-5661-5932

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก 0-3738-6209 , 0-3738-6484

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี 0-3553-6066-71

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี 0-3621-2238

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย 0-5561-2415

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี 0-5652-4461

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์ 0-5544-4132

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง 0-5426-5072-4

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่ 0-5321-2626

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน 0-5356-2963

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี 0-4531-2692 , 0-4531-3003

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย 0-4286-1579 , 0-4296-1581

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท 0-5641-2083

    ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1 02-281-5443

    ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่ 053-248925, 053-262683

    ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน 053-202609

    ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ 053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )

    สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร 034-881175, 034-839037 ต่อ 11

    สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061

    ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433

    ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232

    สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง

    สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)

    ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253

    แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7

    ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183

    เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.

    สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356

    ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146

    การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690

    บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

    ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง

    ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง

    รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013

    มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599

    มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง

    ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111

    บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771

    นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955

    นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325

    นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6

    แอร์เอเชีย 02 515 9999

    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง

    _____________


    สำหรับผู้ใช้ทวิตเตอร์ สามารถติดตามสถานการณ์และดูคำร้องขอความช่วยเหลือผ่านบัญชีทวิตเตอร์ดังนี้:

    @thaiflood - ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
    @Rawangpai -สถานีโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะ การเตือนภัยพิบัติธรรมชาติ
    @BKK_BEST - รับแจ้งและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ท่อตัน ฝาท่อชำรุด น้ำเน่าเสีย
    @floodcenter- ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย
    @thaiflooding - ศูนย์ข่าวรายงานการแจ้งเตือนน้ำท่วมนาที ต่อนาทีโดยอาสาสมัคร-นักศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    @help_thaiflood-สร้างขึ้นเพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม
    @Asa_Thai - อาสาคนไทยช่วยน้ำท่วม
    @PR_RID - กรมชลประทาน สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มประชาสัมพันธ์ฯ โทร.022410965 สายด่วน 1460 สอบถามสถานการณ์น้ำ 026692560(24ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
    @ndwc_Thai - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    @Aormortor - องค์การนศ.ธรรมศาสตร์ (ทวิตเตอร์ประสานงานกลางศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยมธ.)
    @bangkokgovernor - ทวิตเตอร์กทม.
    @BKKFlood - ตามติดสถานการณ์กรุงเทพฯ และรอบนอก
    @SiamArsa - อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย | เครือข่ายอาสาสมัครออนไลน์ | ตลาดนัดกิจกรรมอาสา | ข่าวประชาสัมพันธ์ | ข้อมูลช่วยเหลือ | แหล่งบริจาค | ประกาศรับอาสาสมัคร
    @GCC_1111 - ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน
    @aunonline - Owner of Red Dane Milk
    @Samyarn Chula, Citizen Journalist

    _____________


    นอกจากนั้น ผู้สนใจยังสามารถติดตามผ่านช่องทางหน้าเพจเฟซบุ๊คได้ดังนี้:

    "เกษตรศาสตร์รวมใจ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

    "อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย"

    "อาสาฯคนไทยช่วยน้ำท่วม"

    "The Thai Red Cross Society"

    "ThaiFlood ศูนย์ข้อมูลช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม"

    "น้ำขึ้น ให้รีบบอก"
    "เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม2554"

    _____________


    จุดรับบริจาค

    -จุดบริจาค มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ปทุมวัน โทร 0-2256-4583-4, 0-2256-4427-9, 0-2251-0385 http://www.princess-pa-foundation.or.th/index.html

    -จุดบริจาค อาสาดุสิต 1 ที่ ธ.กรุงไทย สำนักงานใหญ่ ฝั่งเพลินจิต สุขุมวิท ซ.2 9.00-22.00 น. รายละเอียด http://www.facebook.com/ArsaDusit

    -จุดบริจาค อาสาไทยฯ (พรรคประชาธิปัตย์) www.facebook.com/AsaThai แผนที่ พรรคประชาธิปัตย์ : แผนที่พรรค

    -จุดบริจาค กลุ่ม PS-EMC (หน้าโรงแรมดุสิตธานี สีลม) 7 ก.ย.-30 ต.ค. 19:30-22:30 น. รายละเอียด

    -จุดบริจาค โรงแรมไนซ์พาเลซ (5 -15 ต.ค.) ซ. อินทามระ 1/1 ถ.สุทธิสาร ใกล้ BTS สะพานควาย www.nicepalace.com โทร 02-2700514-8 บริจาคของ น้ำดื่ม ถุงดำ อาหารแห้ง ยา เช่น ยาน้ำกัดเท้า แก้ไข้ แก้หวัด แก้ไอ ฯลฯ แพมเพอสผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย กระดาษชำระ

    -จุดบริจาค สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อาหารแห้งและสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ที่ส่วนบริหารงานทั่วไป ชั้น 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี สอบถามโทร 3177, 3781-4 ,0-2329-8110 รายละเอียด

    -จุดบริจาค ด่านทางด่วน "ทางด่วนร่วมใจภัยน้ำท่วม" ทุกด่าน (ข้าวสาร อาหารแห้ง และน้ำดื่ม)

    -จุดบริจาค หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ (สี่แยกปทุมวัน) 1-31 ต.ค.

    -จุดบริจาค 96.75MHz: สิ่งของจำเป็น ข้าวสาร อาหารแห้ง ยารักษาโรค ฯลฯ สอบถาม 0-5581-7716-7

    -จุดบริจาค ร้านแมคโดนัลด์ ทุกสาขาทั่วประเทศ รับบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และน้ำดื่ม

    -จุดบริจาค คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รับบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภค-บริโภคทุกวัน เวลา 08.30-16.30 น. ที่โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ รพ.ศิริราช สอบถามโทร. 0 2419 7646-56


    _____________


    ข้อมูลการบริจาคเงิน

    -มูลนิธิ อาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเทเวศร์ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 020-2-53333-8 หรือ ธ.กสิกรไทย สาขาถนนหลังสวน เลขที่ 082-2-66600-0

    -มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก ที่ Counter Service ของ 7-11 ทุกสาขา

    -มูลนิธิโอเพ่นแคร์ (www.opencare.org): บัญชี กองทุนร้อยนํ้าใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตลอดลำนํ้ายมมูลนิธิโอเพ่นแคร์ ธ.ไทยพาณิชย์ 402-177853-3

    -ArsaThai (พรรคประชาธิปัตย์): มูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ธ.กรุงไทย สาขาย่อยกระทรวงการคลัง เลขที่ 068-0-02-3607

    -อสมท: บัญชี "อสมท รวมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" ธ.กรุงไทย สาขาอโศก บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 015-015-9994-4

    -สำนักนายกรัฐมนตรี: บัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี" ธ.กรุงไทย สาขาทำเนียบรัฐบาล บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 067-0-06895-0 ลดหย่อนภาษีได้

    -ธนาคารไทยพาณิชย์: บัญชี "มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย" สาขา ATM & SCB Easy เลขที่บัญชี 111-3-90911-5

    -กรมการศาสนา: บัญชี "สงเคราะห์พระภิกษุสามเณร และผู้ประสบภัย" ธ.กรุงไทย เลขที่ 059-1-29006-5

    -SpringNews TV: ชื่อบัญชี "ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อผู้ประสบภัย" ธ.กรุงเทพ เลขที่ 196-075084-0

    -ครอบครัวข่าว 3: บัญชี "ครอบครัวข่าว 3 ช่วยผู้ประสบอุทุกภัย 54" บัญชีกระแสรายวัน ธ.กรุงเทพ สาขาอาคารมาลีนนท์ เลขที่ 014-3-00444-8

    -บริจาคช่วยน้ำท่วมทาง SMS: AIS/DTAC/TrueMove พิมพ์ 3 ส่ง 4567899 (10 บ/ครั้ง) มอบครอบครัวข่าว 3

    -ไปรษณีย์: ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เปิดจุดรับบริจาคเงิน ทุกที่ทำการทั่วประเทศกว่า 2,000 แห่ง

    -กทม. : บัญชี "กองทุนกรุงเทพมหานครช่วยเหลือผู้ประสบภัย" ธ.กรุงไทย สาขาถนนข้าวสาร เลขที่ 027-0-17081-2

    -แต้มสะสม KBank Reward Point: ใช้บริจาคช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ ผ่านสภากาชาดไทย (ถึง 31 ต.ค.)

    -มูลนิธิราชประชา: บัญชี "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์" บัญชีออมทรัพย์ ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 401-6-36319-9

    -มูลนิธิวิจัยและพัฒนาระบบยา+กองพลที่ 1 รักษาพระองค์: เพื่อจัดซื้อ "ชุดยาสู้น้ำท่วม"

    -สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง: บัญชี "สถาปัตย์รวมน้ำใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาย่อยเทคโนโลยีฯ เจ้าคุณทหาร เลขที่ 088-251250-8 (แจ้งยอดโอนได้ที่ 02-329-8366 คุณภานิดา ผู้มีโชคชัย หรือ Email ได้ที่: misspanida@yahoo.com

    -วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม บัญชี "วุฒิสภาช่วยน้ำท่วม ธ. กรุงไทย สาขารัฐสภา บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 089-0-22222-3 สอบถาม 0-2244-1777-8, 0-2244-1578 หรือสายด่วนวุฒิสภา 1102

    -ทวิตเตอร์ @POH_Natthawut บัญชี "ทวิตสกิดใจคนไทยรักกัน" ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาโฮมโปร ราชพฤกษ์ เลขที่ 375-212428-9

    -จ.เชียงใหม่ บัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณะภัย" ธ.กรุงไทย สาขาข่วงสิงห์ เลขที่ 547-0-37532-3


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318243910&grpid=&catid=03&subcatid=0305-

    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ท่วมขังระวัง'ปลิง'! เกาะต้องแกะถูกวิธี


    [​IMG]

    เรื่องหนึ่งที่ควรระวังในช่วงที่หลายพื้นที่เผชิญภาวะน้ำท่วม คือ 'ปลิง' สัตว์ที่อยู่ในน้ำ โดยเฉพาะน้ำนิ่งๆ ทั้งหนองน้ำ ลำธาร รวมถึงบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ในประเทศไทยมักพบปลิง 2 ชนิด คือ ปลิงเข็ม ตัวยาวขนาดใกล้เคียงกับก้านไม้ขีดไฟ อีกชนิดเป็นปลิงควาย ตัวยาว 3 นิ้ว ลำตัวกว้าง 1 นิ้ว

    กรณีมีความจำเป็นต้องลงไปในน้ำที่ท่วมขังและนิ่ง เมื่อขึ้นจากน้ำแล้วต้องสังเกตตามเนื้อตัวของตนเองอย่างละเอียด เพราะ หากถูกปลิงเกาะ ตัวของปลิงนั้นเบาจึงไม่ทำให้รู้สึกว่า มีสิ่งแปลกปลอมเกาะติดอยู่ เช่นเดียวกับการดูดเลือดของปลิงก็เป็นไปอย่างแผ่วเบา

    ระหว่าง ที่ปลิงเริ่มกัดและดูดเลือดจะปล่อยสารที่มีฤทธิ์คล้ายยาชาออกมา ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ ทั้งยังมีสารช่วยขยายหลอดเลือดและสารต้านการแข็งตัวของเลือด เพื่อให้ดูดเลือดได้ต่อเนื่อง หากปลิงยังดูดเลือดไม่อิ่มก็ยังจะเกาะอยู่อย่างนั้น โดยจะหลุดออกเมื่ออิ่ม ทว่าถูกรุมเกาะหลายตัวและถูกดูดเลือดมาก ก็จะเกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด

    วิธีแกะปลิงให้หลุดออก ไม่ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นดึงหรือกระชากตัวปลิงออกจากผิวหนังโดยตรง เนื่องจากจะทำให้เกิดแผลฉีกขาด เลือดหยุดยาก แต่วิธีที่ควรทำในเบื้องต้นมีทั้งใช้น้ำมะนาว น้ำมะกรูด น้ำเกลือเข้มข้น หรือน้ำแช่ยาฉุนหรือยาเส้นไส้บุหรี่ อย่างใดอย่างหนึ่งราดใส่ตรงที่ปลิงเกาะ นอกจากนี้ยังอาจเลือกใช้บุหรี่ที่ติดไฟหรือธูปติดไฟ จี้ลงไปที่ตัวปลิง ก็ทำให้ปลิงหลุดออกเอง

    เมื่อปลิงหลุดออก ให้หยดยาฆ่าเชื้อที่คอตตอนบัดและเช็ดเป็นวงรูปก้นหอย เริ่มจากส่วนในของแผลวนออกรอบนอกแผล เช็ดวนรอบเดียวเพื่อไม่ให้แผลสกปรก แล้วเปลี่ยนอตตอนบัดอันใหม่ สัก 2-3 อัน

    หากไม่สามารถเลี่ยงการลงไปในน้ำที่ท่วมขัง ควรป้องกันตนเองจากปลิงและสัตว์มีพิษอื่นๆ เช่น งู ตะขาบ ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดรัดกุมและมัดปลายขากางเกง โชลมเสื้อผ้าส่วนที่ต้องโดนน้ำด้วยน้ำมันก๊าดจะช่วยป้องกันสัตว์มีพิษได้.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
    -takecareDD@gmail.com-

    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=460&contentID=169037-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รับสนองพระราชดำริเร่งระบายน้ำ


    [​IMG]


    “ยิ่งลักษณ์ น้อมรับพระราชดำรัสพระเจ้าอยู่หัว เร่งระบายน้ำป้องกัน กทม. สั่ง ศภป.เร่งขุดลอกคลอง 7 แห่งให้เสร็จทัน 14 ต.ค. ย้ำกรมชลฯระบายน้ำให้สัมพันธ์กับการเปิดปิดประตูระบายน้ำ
    วันนี้ (12 ต.ค.) ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขสถานการณ์อุทกภัยร่วม ประชุมผ่านวีดีโอคอนเฟอร์เรนส์ กับผู้ว่าราชการ 14 จังหวัดทันทีภายหลังเดินทางกลับจากการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยขอพระราชทานคำแนะนำแนวทางในการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ
    น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ กล่าวว่า วันนี้เราจำเป็นต้องกั้นแนวกั้นน้ำขอให้ ส.ส.ในพื้นที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่ จ.ปทุมธานี ต้องป้องกันน้ำไม่ให้กระทบพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน โดยให้กรมชลประทานเร่งหาแนวทางเร่งระบายน้ำลงสู่ทะเล เร่งรัดขุดคลองโดยเร็ว เรามีความจำเป็นต้องแข่งกับน้ำทะเลหนุนสูง โดยเฉพาะกรมชลฯต้องดูแลการปิดเปิดประตูน้ำให้สัมพันธ์กันให้มีเวรยามตลอด 24 ช.ม. รวมทั้งเร่งระบายคลอดลัดโพธิ์และ พื้นที่อื่นๆทั้งการใช้เรือผลักดันน้ำ ใช้เครื่องสูบน้ำ ทุกจุดต้องทำทั้งหมดในเวลาเดียวกัน ส่วนแม่น้ำท่าจีน ไปดูแนวทางระบายน้ำไปด้วย ขุดลอกคูคลองได้อย่างไรเกิดประสิทธิภาพ ร่วมมือฝ่ายทหารด้วย ทั้งนี้ขอให้ กระทรวงสาธารณสุข เข้าสำรวจป้องกันโรคระบาดด้วยในทุกพื้นที่ประสบภัยด้วย
    “ดิฉันรับพระราชทานแนวทางจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ที่ต้องการเร่งระบายน้ำและการเปิดปิดประตูให้สัมพันธ์กัน ซึ่งทุกหน่วยงานพร้อมรับปฏิบัติ พรุ่งนี้ (13 ต.ค.) ดิฉันจะไปสำรวจทั้งหมด การขุดลอกคลอง 7 คลอง เสร็จทันภายใน 14 ตุลาคมนี้ ทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตก รวมทั้งการพยากรณ์อากาศระมัดระวังด้วยว่าพายุลูกใหม่ไม่กระทบต่อประเทศไทย แน่ ส่วนการป้องกันนิคมอุตสาหกรรม มีประสบการณ์แล้วอย่าใช้คันดินเท่านั้นต้องใช้อิฐบล็อกทำกำแพงด้วย”น.ส. ยิ่งลักษณ์ กล่าว.



    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=169335-

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    บอกต่อ ๆ กัน อย่าจอดรถหนีน้ำบนสะพาน-ทางด่วน


    [​IMG]

    [​IMG]



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ภาพเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านสายตาชาวกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลนานนับเดือน ทำให้ชาวเมืองตื่นตัวอยู่ไม่น้อย ยิ่งหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาประกาศเตือนให้พื้นที่จุดเสี่ยในกรุงเทพมหา นคร และปริมณฑล เตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม ก็ยิ่งทำให้หลายคนหวาดผวากลัวว่า บ้านของตัวเองจะจมน้ำในคราวนี้

    และทันทีที่สนามบินดอนเมือง ห้างสรรพสินค้า รวมทั้งสถานที่หลายแห่ง ประกาศเปิดพื้นที่ให้รถยนต์ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมาจอดหนีน้ำได้ คนจำนวนมากต่างพากันนำรถไปจอดยังจุดที่เปิดพื้นที่ให้ ซึ่งในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ที่จอดรถนับพันคัน หมื่นคัน ก็เต็มทั้งหมด และทำให้รถยนต์อีกจำนวนมากยังไม่สามารถหาที่จอดหนีน้ำท่วมได้

    ด้วยความตื่นตระหนกของเจ้าของรถ พวกเขาจึงพากันนำรถไปจอดกันในที่ที่ไม่สมควรจอด ไม่ว่าจะเป็นบนสะพานข้ามแยก สะพานกลับรถเกือกม้า แม้กระทั่งบนทางด่วนที่หลายคนคิดว่า นี่เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยจากน้ำที่สุด แต่ในความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม!!!

    ล่า สุด การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ออกมาประกาศห้ามจอดรถยนต์บนทางพิเศษ หรือทางด่วนทุกสายแล้ว โดยหากพบรถฝ่าฝืนจอด จะทำการเคลื่อนย้ายออกทันที เนื่องจากทางดังกล่าวจะใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุง วัสดุ อุปกรณ์ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามจุดต่าง ๆ

    พูดง่าย ๆ ก็คือ หากสถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานครเข้าขั้นวิกฤต ถนนด้านล่างคงถูกน้ำท่วมเสียหายไม่สามารถสัญจรได้ ทางด่วนจึงเป็นทางหลักที่จะใช้ในการลำเลียงสิ่งของ และความช่วยเหลือต่าง ๆ ไปถึงมือผู้ประสบภัย แต่หากมีการนำรถยนต์มาจอดกีดขวางเส้นทาง การจราจรจะเป็นอัมพาตไปทั่วเมือง การขนส่งทุกอย่างต้องหยุดชะงัก หรือทำให้ความช่วยเหลือไปถึงได้อย่างล่าช้านั่นเอง

    อย่างเช่นกรณีที่ชาวพระนครศรีอยุธยานำรถยนต์ไปจอดหนีน้ำบนสะพานปรีดีธำรงค์ แทบจะเต็มทุกช่องทาง ส่งผลให้รถที่ลำเลียงถุงยังชีพ เรือ และความช่วยเหลือต่าง ๆ ไม่สามารถเข้าไปยังจุดที่ต้องการได้ เพราะมีรถยนต์กีดขวาง สุดท้ายแล้ว ทางการจึงต้องสั่งยกรถลงจากสะพานปรีดีธำรงค์ไปจอดไว้ที่อื่นแทน เพื่อให้ความช่วยเหลือเข้าไปถึงอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้สะพานพังลงมา เพราะแบกรับน้ำหนักที่มากเกินไปเป็นเวลานานนั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม แม้ว่า กทพ.จะไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ไปจอดบนทางด่วน แต่เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ทาง กทพ. จึงได้จัดจุดจอดรถใต้ทางด่วนเพิ่มเติมให้อีกจำนวน 9 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับรถได้ 2,900 คัน ประกอบด้วย

    1. ใต้ทางด่วนด่านฯ งามวงศ์วาน จำนวน 200 คัน
    2. ใต้ทางด่วนด่านฯ รัชดาภิเษก จำนวน 100 คัน
    3. ลานกีฬาใต้ทางด่วนหลังโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 200 คัน
    4. ที่จอดรถใต้ทางด่วนด่านฯ อโศก 1 จำนวน 300 คัน
    5. ใต้ต่างระดับวัชรพล ถนนรามอินทรา (ฝั่งเหนือ) จำนวน 200 คัน
    6. ใต้ทางด่วนรามอินทรา ตั้งแต่จุดกลับรถ จำนวน 1,000 คัน ติดถนนรามอินทราถึงแนวคลอง
    7. ใต้ทางด่วนด่านฯ พระราม 9-1 จำนวน 500 คัน (ศูนย์ฝึกกู้ภัย ศูนย์ควบคุมทางพิเศษฉลองรัช)
    8. ใต้ทางด่วนสาธุประดิษฐ์ จำนวน 100 คัน
    9. ใต้สะพานพระราม 9 ฝั่งธนบุรี จำนวน 300 คัน

    สำหรับผู้ประสบอุทกภัยที่ต้องการนำรถไปจอด สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัยของ กทพ. โทร. 1543 (EXAT Call Center) ตลอด 24 ชั่วโมง

    เช่นเดียวกับบนสะพานข้ามแยก สะพานกลับรถเกือกม้า ที่มีผู้นำรถยนต์ไปจอดเป็นจำนวนมาก ล่าสุด ตำรวจจราจรนครบาลออกประกาศห้ามจอดรถ บริเวณทางด่วนพิเศษฯ ทางยกระดับ จุดกลับรถ สะพานข้ามแยก สะพานข้ามแม่น้ำ สะพานข้ามคลอง สะพานกลับรถ ทั้งหมดแล้ว เนื่องจากเป็นการกีดขวางเส้นทางการจราจร ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้เตรียมจุดจอดรถฉุกเฉินไว้ให้จำนวน 109 จุด รองรับรถได้ 69,959 คัน สามารถตรวจสอบได้ที่ trafficpolice.go.th หรือ โทร.1197

    ขณะเดียวกัน ยังมีจุดอื่น ๆ ที่ไม่ควรนำรถยนต์ไปจอด ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหน้าโรงพยาบาล หน้าสถานีดับเพลิง หรือบริเวณท่อสูบน้ำดับเพลิง เป็นต้น เพื่อที่ว่าเกิดเหตุฉุกเฉินอะไรขึ้น รถยนต์จะได้ไม่กีดขวางเส้นทางจราจรที่จะทำให้การช่วยเหลือเข้าไปถึงอย่างล่า ช้าจนไม่ทันการนั่นเอง

    ทราบแล้วกระจายข่าวบอกต่อกันด้วยค่ะ เพราะหากเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้นมาจริง ๆ อย่างน้อย...ก็อย่าให้รถของคุณ ไปสร้างความเดือดร้อนเพิ่มเติมให้กับคนที่กำลังรอรับความช่วยเหลือจริง ๆ เลยนะคะ


    [​IMG] เปิดจุดจอดรถหนีน้ำท่วม บช.น. - ใต้ทางพิเศษ 9 แห่ง คลิกเลย




    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG], การทางพิเศษแห่งประเทศไทย, กองบังคับการตำรวจจราจร



    -http://hilight.kapook.com/view/63678-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    เปิดเส้นทางผันน้ำ ฝั่งตะวันออก-ตะวันตก <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">13 ตุลาคม 2554 13:44 น.</td> </tr></tbody></table>

    ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ระบุว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำที่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณอยู่ประมาณ 8,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยรัฐบาลได้พยายามผันมวลน้ำดังกล่าวลงทะเลใน 2 ทิศทาง คือ

    ทางตะวันออก จะผันลงทางคลองระพีพัฒน์ คลองแสนแสบ ลงแม่น้ำบางปะกง ผันลงแม่น้ำท่าจีนทางคลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ และลงที่บริเวณคลองลัดโพธิ์ ผันออกไปทาง จ.ฉะเชิงเทรา และสมุทรปราการ ซึ่งจะทำให้เกิดน้ำหลากท่วมเขตสายไหม มีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง

    ทางตะวันตก น้ำจำนวนมหึมาจะไหลเอ่อไปที่ จ.ปทุมธานี และนนทบุรี และเชื่อว่าคงกระทบถึง จ.นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม ปฏิบัติการครั้งนี้จะผันน้ำลงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด เพราะมวลน้ำขนาดใหญ่จาก จ.นครสวรรค์ จะลงมาสมทบอีก คาดว่าจะถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ 15 ต.ค.

    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130610-

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    ขับอย่างไรเมื่อน้ำท่วม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">13 ตุลาคม 2554 17:15 น.</td> </tr></tbody></table>

    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline"> ขณะนี้ ประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการขนย้ายข้าวของและการส่งสิ่งของไปบรรเทาความ เดือนร้อน ใครที่ต้องขับรถขณะสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัว แต่หากหลายท่านไม่รู้จะทำอย่างไร การเตรียมตัวรับมือกับสายฝนและน้ำท่วมนั้นเพียงแต่ผู้ขับขี่ เพิ่มความรอบคอบ และวินัยในการขับมากขึ้น รวมทั้งเทคนิคที่เรานำมาฝากกัน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="650"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="650"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> **การขับรถเมื่อฝนตกหรือถนนลื่น**

    จำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมากขณะฝนตกใหม่ๆ ถนนจะลื่นมาก เพราะน้ำฝนฝุ่นโคลน จะรวมกันกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนนรถจะเกิดการลื่นเสียหลัก เมื่อวิ่งผ่านหากขับรถฝ่าสายฝนต้องลดความเร็วลงให้มากกว่าปกติ ควรใช้เกียร์ต่ำกว่าปกติ1 เกียร์จะทำให้รถเกาะจับถนนไดดีขึ้นขณะขับรถให้เปิดไฟหรี่หรือไฟใหม่ตามแต่ สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราควรหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างรุนแรงและ กะทันหักจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนกลางถนนได้ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ผู้ขับขี่ ถอนคันเร่งจะทำให้รถเกาะขับถนนได้ดีรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ยกเท้าออกจากคันเร่งโดยทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้และก็สามารถควบคุมได้

    *การขับระดับน้ำท่วมผิวถนน**

    คือระดับความลึกของน้ำประมาณ ไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเราส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและ ระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้ โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถโดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถ รีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรงฉีดไปที่ห้องเครื่อง ยนต์ อาจทำให้กระแสไฟจุดระดับลัดวงจร และเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมัน เกียร์เสื่อมสภาพได้

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="650"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="650"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> **การขับระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ**

    ระดับนี้อาจจะมีน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวขณะขับรถจะได้ ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ ความ ลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถที่ใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงอย่างมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จากเบรก หรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด

    **การขับระดับน้ำท่วมเลยท้องรถ**

    ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และ เฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็วเนื่องจากน้ำใต้ท้อง รถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E C U)อยู่ใต้เก้าอี้ซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอยเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติก จึงงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจน สูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายในและจะทำลาย ผนังโคมที่ฉาบปรอทไว้ซึ่งจะทำให้หลุดล่อนในเวลาไม่นาน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="650"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="650"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> **ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า**

    ถือว่าระดับน้ำที่อันตรายที่สุดหากขับหรือจอดอยู่นานน้ำ ท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อนเนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้องและผู้ขับยัง ฝืนขับด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ต้องอาศัยกระแสไฟจุดระเบิด)น้ำจะทะลัก เข้า ทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะ กระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง(ไฮดรอลิกลอค) จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที

    สรุปว่าระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้โดยไม่เกิดความเสียหาย คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนนและระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญกับถนนที่มีน้ำท่วมลึกจำเป็นต้องหลีก เลี่ยง โดยกลับรถเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือหาที่จอดรถซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงไว้ก่อนแทน เป็นการประหยัดค่าซ่อมรถได้มากทีเดียว

    หากมีปัญหาความนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และ น้ำมันเฟือง ท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและให้เจ้าหน้าที่บริการถอดเก้าอี้และตรวจ ด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้าถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้วหากถึงที่หมายหรือรถพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ด ขาดเพราะเมื่อน้ำแห้ง ผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจะทำให้เกิดสนิมจนไม่สามารถเคลื่อนรถออกไปได้


    ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด</td></tr></tbody></table>


    -http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9540000129409-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    บรรเจิด! “ผ้าอนามัยฉุกเฉิน” ยามน้ำท่วม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">13 ตุลาคม 2554 14:58 น.</td> <td align="left" valign="middle">

    Share403

    </td></tr></tbody></table>

    [​IMG] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ช่างเป็นความลำบากของคุณ ผู้หญิงที่ต้องเจอภาวะ “น้ำหลาก” หลายทางท่ามกลางอุทกภัย บางคนมัวแต่เตรียมข้าวของจำเป็นและเสบียงจนลืมวันนั้นของเดือน ในภาวะฉุกเฉินที่ไม่อาจลุยน้ำไปหา “ผ้าอนามัย” มาผลัดเปลี่ยน ลองหยิบของใกล้ตัวมากู้วิกฤตกันก่อน

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="457"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="457"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> อีกหนึ่งแนวคิด “ต้องรอด” กู้วิกฤตยามฉุกเฉินจาก แฟนเพจ Design for Disasters ที่นำแนวคิดชาวญี่ปุ่นมาประดิษฐ์เป็น “ผ้าอนามัยยามฉุกเฉิน” ซึ่งมี
    สิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ เสื้อแขนยาว, กระดาษชำระหรือเศษผ้า, กรรไกร และเทปกาว

    วิธีทำ

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="600"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="600"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    1.สละเสื้อแขนยาว 1 ตัว นำมาตัดแขนให้ยาว 15-20 เซนติเมตร (ความยาวปรับได้ตามความเหมาะสม)



    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="482"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="482"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>

    2.ใช้กระดาษชำระหรือเศษผ้า ซ้อนให้หนาพอประมาณ แล้วสอดเข้าไปในแขนเสื้อที่ตัดออกมา
    3.ใช้เทปสอดเข้าไปใต้เศษผ้า โดยให้ยื่นเทปยาวส่วนหนึ่งออกมาเพื่อแปะกับกางเกงชั้นใน

    เมื่อใช้งานแล้วสามารถนำแขนเสื้อไปซักทำความสะอาด และเปลี่ยนกระดาษชำระหรือเศษผ้าได้

    ขอบคุณแนวคิดดีๆ เพื่อผู้ประสบภัยจากแฟนเพจ Design for Disasters</td></tr></tbody></table>


    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130667-


    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    ฟังเลขาฯ “มูลนิธิสืบ” วิเคราะห์น้ำท่วมกรุง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">12 ตุลาคม 2554 13:13 น.</td> </tr></tbody></table>

    [​IMG] <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="491"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="491"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ศศิน เจริญลาภ วิเคราะห์โอกาสเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ </td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> หลายคนกำลังกังวลต่อ สถานการณ์น้ำที่อาจจะท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งเลขาฯ “มูลนิธิสืบ” ได้ออกมาวิเคราะห์สถานการณ์ผ่านยูทิวบ์ ระบุมีโอกาส 50-50 ที่น้ำจะท่วมเมืองหลวงหรือไม่ก็ได้ โดยต้องลุ้นไปถึงวันลอยกระทง จึงอยากให้เตรียมตัวเผื่อไว้ เก็บข้าวของและเอกสารสำคัญขึ้นที่สูง แต่ไม่ต้องตระหนก หากท่วมจริงเชื่อว่ากรุงเทพฯ มีศักยภาพที่จะแก้สถานการณ์ได้

    คลิปวิเคราะห์โอกาสน้ำท่วมกรุงเทพฯ โดย ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่เผยแพร่ผ่านยูทิวบ์ (YouTube) ได้อธิบายว่า โอกาสที่น้ำจะท่วมกรุงเทพฯ นั้นมีโอกาส 50-50 คือ น้ำอาจจะท่วมหรือไม่ท่วมกรุงเทพฯ ก็ได้ โดยขณะนี้มีน้ำท่วมพื้นที่ราบภาคกลางอยู่ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งต้องใช้เวลาระบายน้ำทั้งหมด 3 เดือน แต่ไม่อยากให้ตื่นตระหนกและก็ไม่ประมาท โดยอยากให้เตรียมพร้อม เก็บทรัพย์สินและเอกสารสำคัญไว้ในที่สูง และเตรียมเสบียงอาหารเท่าที่จำเป็นแต่ไม่ต้องมากนัก

    ศศิน ให้สัมภาษณ์แก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า ทำคลิปดังกล่าวขึ้นมาเล่นๆ ทั้งนี้ โดยส่วนตัวแล้วมีบ้านอยู่อยุธยา จึงติดตามข่าวสารเรื่องน้ำมาโดยตลอด และประเมินสถานการณ์จากตัวเอง เนื่องจากมีข่าวลือ ทั้งเรื่องจะมีการปล่อยน้ำให้ท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งไม่จริง รวมถึงบางคนที่เชื่อว่าน้ำไม่ท่วมกรุงเพทฯ ซึ่งไม่จริง เพราะมีโอกาสที่น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วมก็ได้ จึงอยากให้คิดว่ามีโอกาสที่น้ำจะท่วมได้ทุกวินาที แต่หากน้ำท่วมก็คิดว่ากรุงเทพมหานครมีศักยภาพที่จะซ่อมคันกั้นน้ำและระบาย น้ำออกไปได้ เหมือนที่นครสวรรค์ทำได้

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="500"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ศศินชี้ตำแหน่ง จ.นครสวรรค์ ซึ่งกำลังรับน้ำกว่า 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> สถานการณ์เกิดขึ้นนี้ เลขาฯ มูลนิธิสืบ กล่าวว่า เป็นฤดูกาลปกติ เพียงแต่คนเราห่างไกลธรรมชาติ จึงตกใจต่อสถานการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำที่มากขนาดนี้ทำให้กรุงเทพฯ ต้องลุ้นกันไปจนถึงวันลอยกระทงหรืออีกประมาณเดือนครึ่ง และหากพายุที่กำลังก่อตัวที่ฟิลิปปินส์เคลื่อนตัวขึ้นไปไต้หวันก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเคลื่อนมาเติมน้ำที่นครสววรคค์ก็จะเกิดความยุ่งยาก ทั้งแก่นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา รวมถึงกรุงเทพฯ ด้วย ซึ่งจะบอกได้ว่าพายุที่กำลังก่อตัวนั้นจะส่งผลกระทบหรือไม่ได้ในอีก 3 วันข้างหน้า (นับจากวันที่ 12 ต.ค.54) และเดือน พ.ย.พายุก็จะเริ่มลงใต้ตามฤดูกาลปกติ ซึ่งต้องไปดูเรื่องน้ำท่วมภาคใต้กันต่อ

    ทั้งนี้ ศศิน ศึกษามาทางด้านธรณีสัณฐานวิทยาจึงวิเคราะห์เรื่องนี้ได้โดยตรง เขาอธิบายอีกว่าตอนนี้มีน้ำท่วมที่ราบภาคกลางอยู่ 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร และไหลลงกรุงเทพฯ วินาทีละประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตร (แก้ไขข้อมูลที่ระบุในคลิปยูทิวบ์) คิดเป็นราววันละ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่กรุงเทพฯ มีศักยภาพระบายน้ำได้วันละ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงมีปริมาณน้ำสะสมอยู่วันละ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยคันกั้นน้ำของกรุงเทพฯ สามารถรับปริมาณสูงได้อีกแค่ 50 เซนติเมตร ซึ่งต้องคำนวณต่อว่าความสูงดังกล่าวคิดเป็นปริมาณน้ำเท่าใด

    “อยากให้กรุงเทพฯ เฝ้าระวัง หากฝนตกทางเหนืออีก และเขื่อนภูมิพลปล่อยน้ำเพิ่ม เชื่อว่า น้ำล้นคันกั้นน้ำแน่ ซึ่งมีกรณีที่เป็นไปได้ คือ คันกั้นน้ำพังเป็นจุด ซึ่งเชื่อว่ากรุงเทพฯ มีศักยภาพซ่อมได้ และน้ำจะท่วมไม่มาก แต่ถ้าเขื่อนแตกแบบพังวินาศตั้งแต่ปากเกร็ด นนทบุรี คนกรุงเทพฯ จะแช่น้ำเป็นความสูง 1-2 เมตร แต่ถ้าพังทั้งหมดก็มีข้อดีคือน้ำจะไหลลงทะเลเร็ว และเป็นผลดีต่อพระนครศรีอยุธยา และนครสวรรค์ ธรรมชาติก็มีเหรียญสองด้านเสมอ” ศศิน กล่าว

    ส่วนการจะใช้ชีวิตอยู่กับน้ำต่อไปอย่างไรนั้น ศศิน กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ต้องคุยกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ตั้งแต่เรื่องการวางผังเมือง การออกแบบบ้าน ไปจนถึงระบบระบายน้ำ ดูว่ามีคลองระบายน้ำได้แค่ไหนบ้าง โดยหลังจากน้ำลดแล้วเขาจะไปสำรวจคลองใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ 5-6 คลอง ซึ่งตอนนี้ตื้นเขินมาก และเขาให้ความเห็นอีกว่าปีหน้าเราอาจไม่เจอสถานการณ์เช่นปีนี้ เพราะเชื่อว่าน้ำไม่มามากทุกปี

    พร้อมกันนี้ ทีมข่าววิทยาศาสตร์ฯ ได้สอบถามถึงสถานการณ์น้ำจาก ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก.บอกว่าเรายังต้องอยู่กับสถานการ์ณน้ำท่วมไปอีก 2 เดือน กว่าที่เราจะระบายน้ำได้หมด และต้องดูปริมาณน้ำใหม่ที่กำลังจะมาอีก ซึ่งปีนี้น้ำเยอะกว่าทุกปีจริงๆ ส่วนเทคโนโลยีที่ใช้บริหารจัดการน้ำนั้นยังขาดอยู่เล็กน้อย โดยเทคโนโลยีสำคัญๆ ที่ยังต้องการเพิ่มคือ ระบบโทรมาตรที่ต้องเสริมตามลำน้ำต่างๆ และแผนที่ภาพความสูงของภูมิประเทศ เฉพาะบริเวณน้ำท่วม ซึ่งตอนนี้ยังไม่มี รวมถึงกำลังคนที่ยังต้องการเพิ่ม




    <center>ชมคลิปวิเคราะห์น้ำท่วมกรุงเทพฯ โดย เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธสืบนาคะเสถียร </center>

    <center>

    </center></td></tr></tbody></table>




    -http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130002-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    กปน.เตือนคนกรุงอย่าตื่น น้ำในคลองประปาสีดำคล้ำ เหตุเติมผงถ่านซับกลิ่น
    การประปานครหลวง (กปน.) แจ้งว่า เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ ทำให้น้ำดิบด้อยคุณภาพ กปน.จึงได้เพิ่มการใช้ผงถ่านกัมมันต์ หรือ Activated Carbon เพื่อดูดซับกลิ่น สี และโลหะหนักในน้ำดิบ ซึ่งจะทำให้น้ำในคลองประปามีสีคล้ำลง แต่สามารถกำจัดได้หมดในระบบการผลิตน้ำ ขอให้ประชาชนอย่าได้กังวลใจ และ กปน. ยืนยันว่าสามารถผลิตน้ำประปาได้มาตรฐานองค์การอนามัยโลก และมีกำลังการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการและจ่ายน้ำได้เป็นปกติ ไม่จำเป็นต้องกักตุนน้ำดื่มบรรจุขวดมาตามข่าวลือ หากมีปัญหาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร.1125 ตลอด 24 ชั่วโมง



    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./116144/%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B3-



    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    17 มาตรการ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ช่วงน้ำท่วม




    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ

    ในช่วงที่ประชาชนทั้งหลายต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมเช่นนี้ แน่นอนว่าทุก ๆ คนล้วนประสบปัญหากันอย่างถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขาดแคลนเครื่องอุปโภคและบริโภค ที่อยู่อาศัยพังเสียหาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บซึ่งตามมากับน้ำท่วมมากมาย อาทิ น้ำกัดเท้า อุจจาระร่วง ไข้ฉี่หนู ตาแดง ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก รวมทั้งอันตรายจากภัยอื่น ๆ ทางน้ำ เช่น การตกจมน้ำ ไฟฟ้าช็อต สัตว์มีพิษอันตราย ฯลฯ

    ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินชีวิตในช่วงน้ำท่วมของผู้ประสบภัยและประชาชนที่เดือดร้อนกับภาวะน้ำท่วมเป็นไปด้วยความปลอดภัย เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ ได้แนะนำมาตรการจำเป็น 17 ประการ เพื่อเป็นการป้องกันโรคและภัยจากน้ำท่วมให้กับประชาชน ดังนี้

    [​IMG]1) หากจำเป็นต้องเดินทางหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ควรเตรียมตัวอุปกรณ์ชูชีพให้พร้อม หรือนำอุปกรณ์ประยุกต์ที่หาง่ายติดตัวไปด้วยเสมอ เช่น ถังแกลลอนเปล่าปิดฝา ขวดน้ำพลาสติกเปล่าปิดฝา

    [​IMG]2) ให้ระวังเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวจากกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว เพราะอาจถูกกระแสน้ำพัดพาหรือตกลงในบ่อน้ำลึกได้

    [​IMG]3) อย่าพยามยามวิ่งหรือขับรถผ่านในที่มีน้ำไหลเชี่ยว

    [​IMG]4) ควรงดการดื่มสุรา เนื่องจากทำให้ทรงตัวไม่ดีเพิ่มโอกาสลื่นล้ม พลัดตกจมน้ำ หรืองดตัดสินใจทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเสี่ยงต่อการเสียชีวิต เช่น กระโดดจากสะพานลงเล่นน้ำ เป็นต้น

    [​IMG]5) ให้ตัดสวิตซ์กระแสไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดหรือช็อต ขณะเกิดน้ำท่วมขัง

    [​IMG]6) เก็บของมีค่าและจำเป็นขึ้นที่สูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม

    [​IMG]7) จัดเตรียมของใช้ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น น้ำดื่ม ไฟฉาย ยารักษาโรคพื้นฐาน ยาโรคประจำตัว และสิ่งของที่มีความจำเป็นในการดำรงชีวิตอื่น ๆ

    [​IMG]8) อาหารกล่องที่ได้รับแจก ควรรับประทานทันทีอย่าเก็บไว้ เพราะจะทำให้อาหารบูด เน่าเสีย อาหารเป็นพิษได้ หากมีเหลือควรสิ้งใส่ถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุง

    [​IMG]9) ล้างมือก่อนรับประทานอาหารหรือหลังออกจากห้องน้ำ ห้องห้องส้วมทุกครั้ง

    [​IMG]10) ไม่ควรใช้มือขยี้ตาอาจทำให้ตาติดเชื้อและอาจเสี่ยงเป็นโรคตาแดงได้

    [​IMG]11) ในกรณีที่มีบาดแผล ไม่ควรเดินลุยย่ำน้ำ ย่ำโคลน ควรใส่รองเท้าบูทหรือถุงพลาสติกยาวป้องกันเท้าและสวมทับด้วยถุงเท้าและ รองเท้า แต่หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำ ย่ำน้ำเสร็จแล้วควรทำความสะอาดเท้าและแผลแล้วเช็ดให้แห้ง

    [​IMG]12) กรณีมีสัตว์ป่วยตาย ให้ใส่ถุงพลาสติกแล้วผูกให้มิดชิด หรือนำไปฝัง เผา ไม่ควรนำทิ้งลงน้ำอาจทำให้แพร่เชื้อในกระแสน้ำเกิดโรคระบาดได้

    [​IMG]13) ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงมาอยู่ใกล้ชิดเพราะอาจติดเชื้อโรคจากสัตว์ได้

    [​IMG]14) สำรวจภาชนะที่มีน้ำขังให้คว่ำไว้ เพื่อป้องกันเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายพาหนะโรคไข้เลือดออก

    [​IMG]15) ควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุกเสมอ และดื่มน้ำสะอาด

    [​IMG]16) ทิ้งขยะและเศษอาหารในถุงพลาสติก มัดปากถุงให้มิดชิดห้ามทิ้งลงน้ำ

    [​IMG]17) ให้ระมัดระวังสัตว์มีพิษ กัด ต่อย พร้อมทั้งหมั่นสำรวจตรวจตราบ้าน กองผ้า ถุงใส่ของ เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษหลบเข้าไปอยู่อาศัยใกล้ตัว

    รู้ อย่างนี้แล้ว ก็อย่าลืมดูแลตัวเอง และคนในครอบครัวให้สุขภาพดีอยู่เสมอในช่วงสถานการณ์วิกฤตอุทกภัยกันด้วยนะ จ๊ะ ด้วยความปรารถนาดีจ้าทุก ๆ คน ^ ^


    -http://health.kapook.com/view32338.html-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กรมวิทย์ฯ เตือน!น้ำท่วมระวังมดตะนอยต่อยเสี่ยงตายได้ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 17:32 น.</td></tr></tbody> </table>


    กรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนน้ำท่วมระวังมดตะนอยต่อย หลังพบชาวบ้านที่จังหวัดตรังถูกมดตะนอยต่อยแล้วเกิดอาการแพ้จนเสียชีวิต แนะอย่าเข้าใกล้รังมดตะนอย โดยเฉพาะต้นไม้ใหญ่ หากถูกมดต่อยแล้วรู้สึกว่ามีอาการแพ้ หายใจไม่ค่อยออก ให้รีบไปพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ ให้รักษาแผลบริเวณที่ถูกต่อยให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำ

    นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า ใน ช่วงน้ำท่วมนี้ต้องระมัดระวังสัตว์ แมลงมีพิษต่างๆ ที่หนีน้ำขึ้นไปตามบ้านเรือนประชาชน รวมถึงต้องระมัดระวังมดตะนอยด้วย เพราะเมื่อไม่นานมานี้มีชาวบ้านอำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ได้ปีนขึ้นไปบนต้นไม้แล้วถูกมดตะนอยกัดที่ริมฝีปาก จากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เจ็บปวดตรงแผลที่โดนมดตะนอยกัด และมีอาการรุนแรงขึ้นจนถึงขั้นอาเจียน และเสียชีวิตในที่สุด ต่อมามีชาวบ้านที่จังหวัดนครปฐมถูกมดต่อยมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารักษาตัว ที่โรงพยาบาล และได้มีการส่งตัวอย่างมดมาที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากการตรวจจำแนกชนิดตัวอย่างมดที่ได้รับดังกล่าว พบว่าเป็นมดตะนอยเช่นเดียวกัน

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต</td></tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> สำหรับอันตรายของมดตะนอย เกิดจากการที่มดตะนอยต่อยด้วยเหล็กใน ซึ่งการต่อยของมดจะแตกต่างจากผึ้ง คือมดเมื่อต่อยแล้วจะสามารถดึงเหล็กในกลับ ทำให้สามารถต่อยได้หลายครั้ง ผู้ถูกต่อยจะถูกต่อยซ้ำๆ ด้วยมดตัวเดิม ในขณะที่ผึ้งจะต่อยเพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเหล็กในไว้ที่แผลของผู้ถูกต่อย เหล็กในที่ยื่นออกมาจากปลายท้องมดจะเชื่อมต่อกับต่อมพิษที่อยู่ภายในท้อง ซึ่งต่อมพิษจะผลิตสารประกอบโปรตีนและสารอัลคาลอยด์ และสารที่ทำให้ผู้ถูกต่อยเกิดอาการแพ้คือสารประกอบพวกโปรตีน โดยสารโปรตีนเหล่านี้จะทำให้ผู้ถูกต่อยมีอาการต่างๆ เช่น เจ็บปวดบริเวณแผล แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อาเจียน ซึ่งหากบางรายที่แพ้รุนแรงถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้ และไม่เฉพาะแต่มดตะนอยเท่านั้นที่มีเหล็กในและมีต่อมพิษ มดชนิดอื่นๆ เช่นมดคันไฟก็มีสารพิษที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ได้เช่นกัน

    อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวต่ออีกว่า มดตะนอยมีลักษณะลำตัวยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร ส่วนหัวและส่วนท้องเป็นสีเข้มเกือบดำ ส่วนอกเป็นสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีส้ม รอยต่อระหว่างอกและท้องมีลักษณะเป็นปุ่มนูน 2 ปุ่มมีสีน้ำตาลเหลืองจนถึงสีส้มเช่นกัน หนวดมี 12 ปล้อง กรามมีขนาดใหญ่ ท้องมีลักษณะเป็นรูปไข่ โดยที่ปลายท้องจะมีเหล็กในยื่นออกมาให้เห็นได้เด่นชัด ชอบทำรังอยู่บริเวณบนต้นไม้ใหญ่และต้นไม้ที่ตายแล้ว โดยจะเห็นเป็นโพรงอยู่ภายในต้นไม้ มดตะนอยจะกินซากแมลงเล็กๆ เป็นอาหารและจะออกหากินอยู่บริเวณต้นไม้และพื้นดินใกล้เคียงที่อาศัย ดังนั้น ประชาชนจึงควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีมดตะนอยทำรังอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามต้นไม้ใหญ่ หรือต้นไม้ที่ตายแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้มดต่อย แต่ถ้าถูกมดต่อยแล้วรู้สึกว่ามีอาการแพ้ หายใจไม่ค่อยออก อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการแพ้ ให้รักษาแผลบริเวณที่ถูกกัดและต่อยให้สะอาดเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อซ้ำ



    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131338-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    นครบาล แจงที่จอดรถฟรีของเอกชน จอดได้เฉพาะกรณีฉุกเฉิน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">15 ตุลาคม 2554 08:33 น.</td></tr></tbody></table>
    "พล.ต.ต.ภาณุ" แจงเหตุจอดรถพื้นที่ฟรี 109 จุดแต่เสียเงิน เป็นเพราะปชช.สับสน ระบุเฉพาะพื้นที่ของเอกชนให้จอดในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งทางราชการจะประกาศให้ทราบว่าน้ำท่วมแน่ๆแล้วเท่านั้น ลั่นบนทางด่วนในกรุงเทพฯไม่ให้เอารถขึ้นไปจอดเด็ดขาด ฝ่าฝืนโดนรถยกออกทันที

    วันที่ 15 ต.ค. พล.ต.ต.ภาณุ เกิดลาภผล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ให้สัมภาษสดผ่านรายการยามเช้าริมเจ้าพระยา ถึงกรณีประชาชนออกมาวิจารณ์ เรื่องที่ทางการออกมาประกาศสถานที่จอดรถฟรี 109 แห่ง แต่พอไปจอดจริงๆกับเสียเงิน นั้น ก่อนอื่นขอชี้แจงว่าที่จอดรถที่ประกาศไว้มีทั้งในส่วนที่เป็นสถานที่ราชการ กับ สถานที่ของเอกชน ลำพังเอาไปจอดในสถานที่ราชการคงไม่มีปัญหา ปัญหาที่เกิดเป็นเพราะประชาชนแห่พากันเอารถไปจอดแช่ไว้ตามห้างสรรพสินค้า โรงแรม ที่เป็นของเอกชนเสียก่อนที่ทางเจ้าหน้าที่จะประกาศกรณีฉุกเฉิน ย่อมทำให้เอกชนเสียโอกาสก่อความเสียหายทางธุรกิจ อันเป็นเหตุให้บางสถานที่คิดเงิน

    แท้จริงแล้วเจตนารมณ์ของการให้บริการจอดรถฟรี ใช้ได้เฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ตอนนี้สถานการณ์นำท่วม ทางกทม.ยืนยันสามารถเอาอยู่ ดังนั้นขอฝากบอกประชาชนไว้ตรงนี้ว่า เอาไว้ให้ถึงเวลาจำเป็นค่อยไปจอดซึ่งทางการจะประกาศให้ทราบเมื่อถึงเวลา

    สำหรับในส่วนของประชาชนที่ เอารถไปจอดบนทางด่วนโทรเวย์ ตรงนี้ในส่วนของกรุงเทพไม่มีนโยบายให้จอด หากฝ่าฝืนทางการจะเตือนและเอารถยกไปยกออกทันที อย่างไรก็ดีหากเป็นพื้นที่ในส่วนชาญเมืองที่น้ำท่วมทางขึ้นลง จนไม่สามารถสัญจรได้ ก็อนุโลมให้จอดได้

    พล.ต.ต.ภาณุ กล่าวอีกว่า อยากให้ประชาชนฟังข่าวจากทางราชการอย่างใกล้ชิด อย่าตื่นตระหนกเกินไป ขณะนี้ประชาชนพากันเอารถไปจอดไว้ที่สนามบินเยอะมาก ทำให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เกิดความยากลำบากยิ่งขึ้น หากเป็นไปได้ตอนนี้ทางราชการยังไม่ประกาศ ก็ยังสามารถเอาไปจอดบ้านตัวเองได้อยู่


    -http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131484-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    เปิดเส้นทางน้ำท่วม-เลี่ยงน้ำท่วม ประจำวันที่ 14 ต.ค.



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ​

    สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปยังจังหวัดในเขตภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องตรวจสอบเส้นทางก่อนเดินทางเสียก่อน เพราะอย่างที่ทราบกันว่า ขณะนี้ ได้เกิดเหตุการณ์อุทกภัยครั้งรุนแรงขึ้นในหลายจังหวัด ส่งผลให้น้ำทะลักท่วมถนนทางหลวงหลายสายจนใช้การไม่ได้ และแม้ว่าถนนบางสายยังใช้การได้ แต่ก็ยังมีน้ำท่วมขังสูงอยู่

    ลองมาตรวจสอบเส้นทางการจราจร และเส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม ประจำวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2554 เวลา 16.00 น. จากศูนย์บริหารงานอุบัติภัย กรมทางหลวง ซึ่งรายงานว่า 20 จังหวัด จำนวน 111 สายทาง ( จำนวนรวม 120 แห่ง ผ่านได้ 48 แห่ง, ผ่านไม่ได้ 72 แห่ง ) ดังนี้

    ภาคเหนือ

    1.จังหวัดสุโขทัย

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1293 สุโขทัย-พิษณุโลก ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 8-23 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุโขทัย โทรศัพท์ 055-611-258)

    2.จังหวัดพิจิตร

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 111 สากเหล็ก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 9-16 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 30 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 115 เลี่ยงเมืองพิจิตร แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 113 บึงสามพัน-ตะพานหิน ท้องที่อำเภอตะพานหิน ที่ กม. 0-4 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 113 บางมูลนาก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 14-25 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 40 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทาง ทช. แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 115 สามง่าม-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 89-91 ระดับน้ำสูง 10 ซม. (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1067 บางมูลนาก-โพทะเล ท้องที่อำเภอบางมูลนาก และอำเภอโพทะเล ที่กม. 0-19 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 30 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1070 ตะพานหิน-ดงเสือเหลืองแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1068 วังจิก-ไผ่ท่าโท ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้างที่กม. 7-14 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1068 โพธิ์ประทับช้าง-วังจิก ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่กม.14-15 ระดับน้ำสูง 30 ซม. ใช้เส้นทาง 115 หนองหัวปลวก-ปลวกสูง เข้า จ.พิจิตร แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1070 ตะพานหิน-ไผ่ท่าโพ ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่กม. 0-20 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1118 ตะพานหิน-บางมูลนาก ท้องที่อำเภอตะพานหินที่กม. 0-23 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 20-50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ สาย 11 ทับคล้อ-สากเหล็กแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1221 พิจิตร-พิษณุโลก ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 7-8 ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 11 สากเหล็ก-วังทอง แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1289 วังสำโรง-บางลาย ท้องที่อำเภอบึงนารางที่กม. 9-10 ระดับน้ำสูง 30 ซม.รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1070 ตะพานหิน-ดงเสือเหลือง แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1304 หัวดง-ยางสามต้น ท้องที่อำเภอเมืองที่กม. 2-7 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 111 สากเหล็ก-พิจิตร แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1313 บางมูลนาก-ตะพานหิน ท้องที่อำเภอบางมูลนาก ที่กม. 0-7 ระดับน้ำสูง 30-40 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1118 ตะพานหิน-สากเหล็ก แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิจิตร โทรศัพท์ 056-697-016)


    3.จังหวัดพิษณุโลก

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1055 กงไกรลาศ-หนองตูน ท้องที่อำเภอกงไกรลาศ ที่ กม. 8-9 ระดับน้ำสูง 15 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิษณุโลกที่ โทรศัพท์ 055-302-626)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1065 บ่อทอง-บางระกำ ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่กม. 54-59 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิษณุโลกที่ โทรศัพท์ 055-302-626)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1275 ท่าช้าง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่กม.4-9 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 80 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1086 พรหมพิราม-พิษณุโลก แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิษณุโลกที่ โทรศัพท์ 055-302-626)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1281 บางระกำ-บ่อทอง ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่กม. 0-7 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิษณุโลกที่ โทรศัพท์ 055-302-626)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1293 สุโขทัย-บางระกำ ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่กม. 31-55 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 15-40 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1065 บางระกำ-บ้านหนองอ้อแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางพิษณุโลกที่ โทรศัพท์ 055-302-626)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1310 ทับยายเชียง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิรามที่กม. 6-15 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1086 พิษณุโลก-วัดโบสถ์ แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่ แขวงการทางพิษณุโลกที่ 2 โทรศัพท์ 055-312-390)


    4.จังหวัดกำแพงเพชร

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1280 ทุ่งมหาชัย-ละหาน ท้องที่อำเภอคลองขลุง ที่กม. 28-29 ระดับน้ำสูง 90 ซม. ใช้สาย 115 กำแพงเพชร-พิจิตร แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางกำแพงเพชร โทรศัพท์ 055-840-747)


    ภาคกลาง

    5.จังหวัดนครสวรรค์

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1 สะพานเดชาติวงค์-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 340-343 ระดับน้ำสูง 50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1 ชัยนาท-ตากฟ้า และใช้สาย 11ตากฟ้า-พิจิตร-พิษณุโลก เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ลงภาคเหนือ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 117 นครสวรรค์-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมืองที่กม. 4-16 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทาง ทช.แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 122 ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก ท้องที่อำเภอเมืองที่กม. 0-7 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 100-140 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1 พยุหะคีรี-นครสวรรค์ แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 225 ปากน้ำโพ-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอชุมแสงที่ กม.1-36 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 3004 นครสวรรค์-ท่าตะโก แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1072 ลาดยาว-วังซ่าน ท้องที่อำเภอลาดยาว ที่กม.28-29 ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1073 เจริญผล-ท่างิ้ว-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอบรรพตพิสัย ที่กม. 0-12 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1084 ป่าแดง-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 48-52 ระดับน้ำสูง 135 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1 กำแพงเพชร-นครสวรรค์ แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1182 นครสวรรค์-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-4 ระดับน้ำสูง 70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1 นครสวรรค์-กำแพงเพชร แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3005 ท่าตากุ๋ย-โกรกพระ ท้องที่อำเภอเมืองที่กม. 0-2 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3319 โกรกพระ-อุทัยธานี ท้องที่อำเภอโกรกพระที่กม. 0-3 ระดับน้ำสูง 80 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 3221 อุทัยธานี-ทัพทันแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3522 ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรีที่กม. 2-4 ระดับน้ำสูง 90 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 1 พยุหะคีรี-นครสวรรค์ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทาง นครสวรรค์ที่ 1 โทรศัพท์ 056-221-286)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1118 พิจิตร-ชุมแสง ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่กม. 17-19 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางนครสวรรค์ที่ 2 โทรศัพท์ 056-241-402)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1119 หนองบัว-ท่าตะโก ท้องที่อำเภอท่าตะโก ที่กม. 61-72 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10-25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางนครสวรรค์ที่ 2 โทรศัพท์ 056-241-402)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3475 ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่กม. 0-25 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 40-100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทาง ทช. แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางนครสวรรค์ที่ 2 โทรศัพท์ 056-241-402)

    6.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1 ประตูน้ำพระอินทร์-วังน้อย-หนองแค ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอวังน้อย ที่กม. 55-68 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 30-50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 305 รังสิต-นครนายก-สระบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้น/ล่อง ภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 32 บางปะอิน-นครหลวง ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่กม. 0-26 ระดับน้ำสูง 50-80 ซม. (น้ำไหลเชี่ยวปิดการจราจร) ให้ใช้สาย 340 ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี และสาย 1 พหลโยธิน-สระบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้นภาคเหนือแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 32 นครหลวง-อ่างทอง ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 27-50 ระดับน้ำสูง 50 ซม. (น้ำไหลเชี่ยวปิดการจราจร) ให้ใช้สาย 340 ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี และสาย 1 พหลโยธิน-สระบุรี เป็นเส้นทางเลี่ยงขึ้นภาคเหนือ (สอบถามเส้นทางได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 308 บ้านเลน-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 1-7 ระดับน้ำสูง 80 ซม. รถสามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 309 วังน้อย-อยุธยา ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่กม. 0-19 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 15-150 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 329 บางปะหัน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่กม. 32-43 ระดับน้ำสูง 80 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 347 บางปะอิน-เจ้าปลุก ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอบางปะหัน ที่ กม. 22-50 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 347 เจ้าปลุก-บางปะหัน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่กม. 50-51 ระดับน้ำสูง 65 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 352 แยกต่างระดับวังน้อย-สระบุรี ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่กม. 25-27 ระดับน้ำสูง 80 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 356 บ้านหว้า-ปากกราน ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-5 ระดับน้ำสูง 70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3056 สามเรือน-ภาชี ท้องที่อำเภออุทัย ที่กม. 0-6 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3063 ทางแยกไปอำเภอนครหลวง ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 15-23 ระดับน้ำสูง 95 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3111 สามโคก-เสนา ท้องที่อำเภอบางไทร ที่กม. 24-25 ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3196 มหาราช-บ้านแพรก ท้องที่อำเภอมหาราช ที่กม. 96-105 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 80 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3263 อยุธยา-บ้านสาลี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอเสนา ที่กม. 0-14 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3267 อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอมหาราช ที่กม. 5-17 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์
    035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3412 อยุธยา-บางบาล ท้องที่อำเภอบางบาล ที่กม. 7-8 ระดับน้ำสูง 25 ซม.รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3412 บางบาล-ผักไห่ ท้องที่อำเภอบางบาล ที่กม. 8-15 ระดับน้ำสูง 100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 3501 อ่างทอง-บางบาล แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3454 หน้าโคก-เสนา ท้องที่อำเภอเสนา ที่กม. 92-93 ระดับน้ำสูง 20 ซม.รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3454 โพธิ์ทอง-หน้าโคก ท้องที่อำเภอผักไห่ ที่กม. 81-87 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 35 ซม.รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 3501 ป่าโมก-ในเมือง แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่สน.บท.อ่างทอง-อยุธยา โทรศัพท์ 035-661-747)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3467 นครหลวง-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 0-8 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3469 อยุธยา-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-3 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 45 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3470 ภาชี-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอท่าเรือ ที่กม. 15-16 ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3477 บางปะอิน-อยุธยา ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-14 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 50-100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามได้ที่แขวงการทางอยุธยา โทรศัพท์ 035-241-092)

    7.จังหวัดสิงห์บุรี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 11 อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี ขณะนี้น้ำไหลเชี่ยวมาก คอสะพานขาด ที่กม. 5 รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสิงห์บุรี โทรศัพท์ 036-532-523)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 309 พระงาม-พรหมบุรี ท้องที่อำเภอพรหมบุรี ที่กม.78-82 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 15 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสิงห์บุรี โทรศัพท์ 036-532-523)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 311 สิงห์บุรี-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 6-9 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 35 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสิงห์บุรี โทรศัพท์ 036-532-523)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3030 สิงห์บุรี-บางระจัน ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-1 ระดับน้ำสูง 50 ซม.รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสิงห์บุรี โทรศัพท์ 036-532-523)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3028 บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ที่กม. 1-24 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 40 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 3196 บ้านหมี่-ลพบุรี แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสิงห์บุรี โทรศัพท์ 036-532-523)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3033 บางา-พรหมบุรี ท้องที่อำเภอพรหมบุรี ที่กม. 1-10 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 35 ซม.รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสิงห์บุรี โทรศัพท์ 036-532-523)


    8.จังหวัดลพบุรี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1 โรงเรียนสุธีวิทยา-วงเวียนเทพสตรีลพบุรี-โคกสำโรง ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 147-154 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 205 ม่วงค่อม-ลำนารายณ์ ท้องที่อำเภอชัยบาดาล ที่กม. 232-240 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 311 เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง ที่กม. 8-19 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 35-165 ซม.รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 311 ลพบุรี-สิงห์บุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 159-166 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 55-85 ซม.รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3016 บ้านป่าหวาย-บ้านป่าตาล ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 2-5 ระดับน้ำสูง 75-120 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3019 เขาพระงาม-โคกกระเทียม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-2 ระดับน้ำสูง 70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3024 บ้านหมี่-เขาช่องลม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 6-7 ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3196 ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 76-94 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 45 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางลพบุรีที่ 1 โทรศัพท์ 036-411-602)


    9.จังหวัดชัยนาท

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 1 แยกสายเอเชีย-สวนนก-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ผนังกั้นน้ำด้านซ้าย ทางชำรุด ที่กม. 290+500 น้ำท่วมสูง 35 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 32 เอเชีย แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางชัยนาท โทรศัพท์ 056-411-649)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3183 ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่กม. 25-28 ระดับน้ำสูง 85 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทาง อบต.แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางชัยนาท โทรศัพท์ 056-411-649)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3213 วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่กม. 0-1 ระดับน้ำสูง 85 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทาง อบต. แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางชัยนาท โทรศัพท์ 056-411-649)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3244 ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-2 ระดับน้ำสูง 95 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางชัยนาท โทรศัพท์ 056-411-649)


    10.จังหวัดปทุมธานี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3100 ปทุมธานี-บ้านใหม่ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-5 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่แขวงการทางปทุมธานี โทรศัพท์ 02-529-0678)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3309 ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-สามโคก ท้องที่อำเภอสามโคก ที่กม. 28-34 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม.รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่แขวงการทางปทุมธานี โทรศัพท์ 02-529-0678)


    11.จังหวัดอุทัยธานี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 333 อุทัยธานี-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-14 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 50-100 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอุทัยธานี โทรศัพท์ 056-524-542)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3265 ทางเลี่ยงเมืองอุทัยธานี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 0-2 ระดับน้ำสูง 45 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทางเทศบาลเมืองแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอุทัยธานี โทรศัพท์ 056-524-542)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3265 อุทัยธานี-มโนรมย์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-7 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 50-70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทางเทศบาลเมือง แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางอุทัยธานี โทรศัพท์ 056-524-542)


    12.จังหวัดสระบุรี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3020 พระพุทธบาท-หนองโดน ท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ที่กม. 6-8 ระดับน้ำสูง 65 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่ แขวงการทางสระบุรี โทรศัพท์ 036-211-105)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3022 พระพุทธบาท-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่กม. 12-13 ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน (สอบถามเส้นทางได้ที่ แขวงการทางสระบุรี โทรศัพท์ 036-211-105)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3034 หน้าพระลาน-โรงปูนซิเมนต์ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่กม. 14-16 ระดับน้ำสูง 30-60 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 3022 พระพุทธบาท-บ้านหมอ แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่ แขวงการทางสระบุรี โทรศัพท์ 036-211-105)


    13.จังหวัดสุพรรณบุรี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 340 ทสาลี่-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 83-98 ระดับน้ำสูง 70 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 340 (เส้นทางสายหลัก) แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035-522-940)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 340 สุพรรณบุรี-ศรีประจันต์ (สายเก่า) ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-10 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035-522-940)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 321 ดอนแจง-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 103-104 ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035-522-940)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 329 อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอท่าระหัด ที่กม. 0-1 ระดับน้ำสูง 40 ซม. ใช้สาย 3195 สุพรรณบุรี-อ่างทอง แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035-522-940)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 357 วงแหวนรอบเมืองสุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 44-45 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035-522-940)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3507 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ-โพธิ์พระยา ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม.0-5 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035-522-940)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3216 แหลมข่อย-บึงฉวาก ท้องที่อำเภอเดิมบางนางบวช ที่กม.0-1 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่แขวงการทางสุพรรณบุรี โทรศัพท์ 035-522-940)

    14.จังหวัดนนทบุรี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 9 บางบัวทอง-ปทุมธานี ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 46-50 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 302 บางกระสอ-นนทบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 11-12 ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 304 ปากเกร็ด-แจ้งวัฒนะ ท้องที่อำเภอปารเกร็ด ที่กม. 6-8 ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 306 พระราม 6-แคราย ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-2 ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 340 บางบัวทอง-ลาดบัวหลวง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 25-31 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 345 สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 4-10 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 45 ซม. ใช้ทางของเทศบาล รถไม่สามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3901 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว(ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 42-45 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3902 คลองบางไผ่-ลาดหลุมแก้ว (ทางคู่ขนานวงแหวนตะวันตก) ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 42-44 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3215 บางกรวย-ไทรน้อย ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่กม. 22-25 ระดับน้ำสูง 60 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน(สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.นนทบุรี 02-585-1644)


    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    15.จังหวัดปราจีนบุรี

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 33 ปราจีนบุรี-สี่แยกไปนครราชสีมา (ใหม่) ท้องที่อำเภอเมือง และประจันตคาม ที่กม. 175-178 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 319 ปากพลี-ศรีมหาโพธิ์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 152-153 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3069 ปราจีนบุรี-ศรีมหาโพธิ์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 2-5 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3076 บ้านสร้าง-นครนายก ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 0-5 ระดับน้ำสูง 50 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 33 นครนายก-ปราจีนบุรี แทน (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3078 ประจันตคาม-ศรีมหาโพธิ์ ท้องที่อำเภอประจันตคาม ที่กม. 3-4 ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3293 ปราจีนบุรี-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 0-10 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 40 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 319 ปราจีนบุรี-พนมสารคาม แทน (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3347 ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 15-31 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 40 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 304 ฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม แทน (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3452 ปราจีนบุรี-ห้วยขื่อ ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 7-13 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3481 บางขนาก-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่กม. 26-28 ระดับน้ำสูง 40 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้สาย 304 กบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้างแทน (สอบถามเส้นทาง ได้ที่ แขวงการทางปราจีนบุรี โทรศัพท์ 037-211-098)


    16.จังหวัดมหาสารคาม

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 2367 บ้านม่วง-ลาดพัฒนา ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 13-17 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทาง ได้ที่แขวงการทางมหาสารคาม โทรศัพท์ 043-711-109)


    17.จังหวัดหนองบัวลำภู

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 2146 โนนสัง-เขื่อนอุบลรัตน์ ท้องที่อำเภอโนนสังที่กม. 0-12 เป็นแห่ง ๆ ระดับน้ำสูง 25-35 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ ใช้ทางของ ทช.แทน (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.หนองบัวลำภู โทรศัพท์ 042-378-090)


    กรุงเทพฯ-ปริมณฑล

    18. กรุงเทพมหานคร

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 338 ตลิ่งชัน-พุทธมณฑล ท้องที่เขตตลิ่งชัน ที่กม. 2-30 เป็นแห่งๆ ระดับน้ำสูง 20 ซม. รถสามารถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.ธนบุรี 02-434-1688)

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 341 ตลิ่งชัน-บางบำหรุ ท้องที่เขตตลิ่งชัน ที่กม. 2-3 ระดับน้ำสูง 25 ซม. รถผ่านได้ (สอบถามเส้นทางได้ที่ สน.บท.ธนบุรี 02-434-1688)

    19. สมุทรปราการ

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 34 บางนา-ฉะเชิงเทรา ท้องที่อำเภอบางบ่อ ที่กม. 29-30(ขาออก) ระดับน้ำสูง 10 ซม. รถสามารถผ่านได้ (แขวงฯ สมุทรปราการ 02-312-5118)

    20. อ่างทอง

    [​IMG] ทางหลวงหมายเลข 3064 อ่างทอง-โพธิ์ทอง ท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง ที่กม. 8-9 ระดับน้ำสูง 35 ซม. รถไม่สามารถผ่านได้ และไม่มีเส้นทางทดแทน


    นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจสอบเส้นทางได้จากแผนที่ของ "สำนักบริหารบำรุงทาง" ที่เว็บไซต์ www.maintenance.doh.go.th ซึ่งอัพเดตทุกชั่วโมง โดย...

    [​IMG]


    [​IMG] สีแดง หมายถึง น้ำท่วมทางหลวงจนไม่สามารถสัญจรผ่านได้

    [​IMG] สีเขียว หมายถึง น้ำท่วมทางหลวง แต่รถยังสามารถสัญจรผ่านได้

    [​IMG] สีน้ำเงิน หมายถึง เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม



    ทั้งนี้สามารถสอบถามเส้นทางคมนาคม เส้นทางน้ำท่วม และการเดินรถได้ที่


    - สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690

    - สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490

    - สายด่วนกรมทางหลวง 1586 หรือ เว็บไซต์กรมทางหลวง http://www.doh.go.th/ โดยสามารถสอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    - สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0-2354-6530 , 0-2354-6668-76 ต่อ 2014 ,2031

    - ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0-2354-6551

    - ตำรวจทางหลวง 1193


    - หรือสอบถาม น้ำท่วมถนนมิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24





    [​IMG] ข่าวน้ำท่วม บริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วม คลิกเลย







    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    กรมทางหลวง, สำนักบริหารบำรุงทาง

    -http://hilight.kapook.com/view/52934-


    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    รัฐบรรเทาน้ำท่วม สั่งพักหนี้-งดผ่อนบ้าน 3 เดือน




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

    รัฐบาลเตรียมมาตรการบรรเทาน้ำท่วม สั่งพักหนี้ไม่คิดดอกเบี้ย งดผ่อนบ้าน 3 เดือน ทางออมสินจ่ายเงินชดเชยครอบครัวละ 5,000 บาท

    วานนี้ (13 ตุลาคม) ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.) นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้กล่าวถึง การเตรียม มาตรการช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม อาทิ การพักชำระหนี้ไม่คิดดอกเบี้ย ในส่วนของหนี้สินค่าเช่าซื้อบ้านกับการเคหะรวม 3 เดือน

    ขณะเดียวกัน นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ส่วนเรื่องการเบิกจ่ายงบสำรองจ่ายช่วยเหลือน้ำท่วม ขณะนี้มียอดขอเงินช่วยรวม 5,000 ล้านบาท และยังมีการผ่อนปรนเงื่อนไข ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้จ่ายเงินตามดุลพินิจที่เห็นสมควรได้เลย นอกจากนี้ ธนาคารของรัฐได้เตรียมแนวทางช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยหยุดพักชำระหนี้จนกว่าน้ำจะแห้งและจะปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนและเป็นเงินหมุนเวียนในการประกอบอาชีพใหม่

    ทางด้าน กรมสรรพากร ได้ออกมาตรการภาษี ให้ผู้บริจาคเงินนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า เพื่อกระตุ้นให้มีการบริจาคเงินช่วยคนน้ำท่วมมากขึ้น ส่วนทางธนาคารออมสินได้จ่ายเงินชดเชยให้ครอบครัวละ 5,000 บาท ไปแล้ว 1.5 แสนครอบครัว จากทั้งหมด 1.7 แสนครอบครัว

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ข่าวสด

    [​IMG]

    -http://hilight.kapook.com/view/63695-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เผย 71 ทางหลวงน้ำท่วม รถผ่านไม่ได้ แนะใช้ทางเลี่ยง <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 21:26 น.</td></tr></tbody></table>

    กรมทางหลวงแจ้งเส้นทางน้ำท่วมและทางเลี่ยง เผยทางหลวงถูกน้ำท่วมจนรถไม่สามารถผ่านได้ 71 สายทาง เผยเส้นทางเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมถนนหลายเส้นทาง

    นายวันชัย ภาคลักษณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุทกภัยปัจจุบันยังส่งผลให้เส้นทางการจราจรทางบกบางส่วนถูกน้ำ ทะลักเข้าท่วม จนไม่สามารถใช้สัญจรไปมาตามปกติ ซึ่งจากสรุปรายงานการเกิดอุทกภัย กรมทางหลวง ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2554 เวลา 07.30 น. มีสภาวะน้ำท่วมพื้นที่ 18 จังหวัด 102 สายทาง (รวมจำนวน 111 แห่ง ผ่านได้ 40 แห่ง ผ่านไม่ได้ 71 แห่ง)

    ทั้งนี้ เพื่อให้การเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขต พื้นที่ประสบอุทกภัยคล่องตัว และปลอดภัยยิ่งขึ้น กรมทางหลวง ขอให้ผู้ใช้รถใช้ถนนหลีกเลี่ยงเส้นทาง 71 สายทางที่ผ่านไม่ได้ ในพื้นที่ 16 จังหวัด เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทาง

    จังหวัดพิจิตร
    1. ทางหลวงหมายเลข 111 ตอน สากเหล็ก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม.9-16
    2. ทางหลวงหมายเลข 113 ตอน บางมูลนาก-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 14-25
    3. ทางหลวงหมายเลข 1067 ตอน บางมูลนาก-โพทะเล ท้องที่อำเภอบางมูลนาก และอำเภอโพทะเล ที่ กม. 0-19
    4. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน วังจิก-ไผ่ท่าโท ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม. 7-10
    5. ทางหลวงหมายเลข 1068 ตอน โพธิ์ประทับช้าง-วังจิก ท้องที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ที่ กม.14-15
    6. ทางหลวงหมายเลข 1118 ตอน ตะพานหิน-บางมูลนาก ท้องที่อำเภอตะพานหิน ที่ กม. 4-11
    7. ทางหลวงหมายเลข 1221 ตอน พิจิตร-พิษณุโลก ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-8
    8. ทางหลวงหมายเลข 1289 ตอน วังสำโรง-บางลาย ท้องที่อำเภอบึงนาราง ที่ กม. 9-10
    9. ทางหลวงหมายเลข 1304 ตอน หัวดง-ยางสามต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 2-7
    10. ทางหลวงหมายเลข 1313 ตอน บางมูลนาก-ตะพานหิน ท้องที่อำเภอบางมูลนาก ที่ กม. 11-14

    จังหวัดพิษณุโลก
    1. ทางหลวงหมายเลข 1275 ตอน ท่าช้าง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม.4-9
    2. ทางหลวงหมายเลข 1293 ตอน สุโขทัย-บางระกำ ท้องที่อำเภอบางระกำ ที่ กม. 31-55
    3. ทางหลวงหมายเลข 1310 ตอน ทับยายเชียง-พรหมพิราม ท้องที่อำเภอพรหมพิราม ที่ กม. 8-14
    จังหวัดกำแพงเพชร ทางหลวงหมายเลข 1280 ตอน ทุ่งมหาชัย-ละหาน ท้องที่อำเภอคลองขลุง ที่ กม. 28-29

    จังหวัดนครสวรรค์
    1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน สะพานเดชาติวงศ์ – นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 340 – 343
    2. ทางหลวงหมายเลข 117 ตอน นครสวรรค์-พิจิตร ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 4-16
    3. ทางหลวงหมายเลข 122 ตอน ทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ด้านตะวันตก ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-7
    4. ทางหลวงหมายเลข 225 ตอน ปากน้ำโพ-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอชุมแสง ที่ กม.1-36
    5. ทางหลวงหมายเลข 1084 ตอน ป่าแดง-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 48-52
    6. ทางหลวงหมายเลข 1182 ตอน นครสวรรค์-บรรพตพิสัย ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-4
    7. ทางหลวงหมายเลข 3319 ตอน โกรกพระ-อุทัยธานี ท้องที่อำเภอโกรกพระ ที่ กม. 0-3
    8. ทางหลวงหมายเลข 3522 ตอน ทางแยกเข้าพยุหะคีรี ท้องที่อำเภอพยุหะคีรี ที่ กม. 2-4
    9. ทางหลวงหมายเลข 3475 ตอน ทับกฤช-พนมรอก ท้องที่อำเภอชุมแสง ที่ กม. 0-25

    จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    1. ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน ประตูน้ำพระอินทร์ – วังน้อย – หนองแค และอำเภอวังน้อย ที่ กม.55 – 68
    2. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอน บางปะอิน-นครหลวง ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 3-26
    3. ทางหลวงหมายเลข 32 ตอนนครหลวง-อ่างทอง ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 26-40
    4. ทางหลวงหมายเลข 308 ตอน บ้านเลน-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 1-7
    5. ทางหลวงหมายเลข 309 ตอน วังน้อย-อยุธยา ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 0-19
    6. ทางหลวงหมายเลข 329 ตอน บางปะหัน-สุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 32-43
    7. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน บางปะอิน-เจ้าปลุก ท้องที่อำเภอเมืองและอำเภอบางปะหัน ที่ กม. 22-50
    8. ทางหลวงหมายเลข 347 ตอน เจ้าปลุก-บางปะหัน ท้องที่อำเภอบางปะหัน ที่ กม. 50-51
    9. ทางหลวงหมายเลข 352 ตอน ทางแยกต่างระดับวังน้อย-สระบุรี ท้องที่อำเภอวังน้อย ที่ กม. 25-27
    10.ทางหลวงหมายเลข 356 ตอน บ้านหว้า-ปากกราน ท้องที่อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา ที่ กม. 0-5
    11.ทางหลวงหมายเลข 3063 ตอน ทางแยกไปนครหลวง ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่ กม. 15-23
    12.ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน มหาราช-บ้านแพรก ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 96-105
    13.ทางหลวงหมายเลข 3267 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอมหาราช ที่ กม. 5-17
    14.ทางหลวงหมายเลข 3412 ตอน บางบาล-ผักไห่ ท้องที่อำเภอบางบาล ที่ กม. 8-15
    15.ทางหลวงหมายเลข 3454 ตอน โพธิ์ทอง-หน้าโคก ท้องที่อำเภอผักไห่ ที่ กม. 81-87
    16.ทางหลวงหมายเลข 3467 ตอน นครหลวง-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอนครหลวง ที่กม. 0-8
    17.ทางหลวงหมายเลข 3469 ตอน อยุธยา-บางปะอิน ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-3
    18.ทางหลวงหมายเลข 3477 ตอน บางปะอิน-อยุธยา ท้องที่อำเภอบางปะอิน ที่กม. 0-14

    จังหวัดสิงห์บุรี
    ทางหลวงหมายเลข 11 ตอน อินทร์บุรี-ตากฟ้า ท้องที่อำเภออินทร์บุรี คอสะพานขาด ที่ กม. 5
    ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน สิงห์บุรี-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 6-9
    ทางหลวงหมายเลข 3030 ตอน สิงห์บุรี-บางระจัน ท้องที่อำเภอเมืองที่ กม. 0-1
    ทางหลวงหมายเลข 3028 ตอน บางงา-บ้านหมี่ ท้องที่อำเภอท่าวุ้ง และอำเภอบ้านหมี่ ที่ กม. 1-24
    ทางหลวงหมายเลข 3033 ตอน บางา-พรหมบุรี ท้องที่อำเภอพรหมบุรีที่ กม. 1-10

    จังหวัดลพบุรี
    ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน เลี่ยงเมืองลพบุรี ท้องที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าวุ้ง ที่กม. 8-19
    ทางหลวงหมายเลข 311 ตอน ลพบุรี-สิงห์บุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 159-166
    ทางหลวงหมายเลข 3016 ตอน บ้านป่าหวาย-บ้านป่าตาล ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 2-5
    ทางหลวงหมายเลข 3019 ตอน เขาพระงาม-โคกกระเทียม ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 1-2
    ทางหลวงหมายเลข 3196 ตอน ลพบุรี-โพธิ์เก้าต้น ท้องที่อำเภอเมือง ที่กม. 76-94

    จังหวัดชัยนาท
    ทางหลวงหมายเลข 1 ตอน แยกสายเอเชีย-สวนนก-ชัยนาท ท้องที่อำเภอเมือง
    ทางหลวงหมายเลข 3183 ตอน ชัยนาท-วัดสิงห์ ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 25-28
    ทางหลวงหมายเลข 3213 ตอน วัดสิงห์-หนองมะโมง ท้องที่อำเภอวัดสิงห์ ที่ กม. 0-1
    ทางหลวงหมายเลข 3244 ตอน ชัยนาท-ท่าหาด ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2

    จังหวัดปทุมธานี ทางหลวงหมายเลข 3309 ตอน ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร-สามโคก ท้องที่อำเภอสามโคก ที่ กม. 28-34

    จังหวัดอุทัยธานี ทางหลวงหมายเลข 333 ตอน อุทัยธานี-นครสวรรค์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-14 , ทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน ทางเลี่ยงเมืองอุทัยธานี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-2 และทางหลวงหมายเลข 3265 ตอน อุทัยธานี-มโนรมย์ ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 1-7

    จังหวัดสระบุรี ทางหลวงหมายเลข 3020 ตอน พระพุทธบาท-หนองโดน ท้องที่อำเภอพระพุทธบาท ที่กม. 6-8 , ทางหลวงหมายเลข 3022 ตอน พระพุทธบาท-ท่าเรือ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 12-13 และทางหลวงหมายเลข 3034 ตอน หน้าพระลาน-โรงปูนซิเมนต์ ท้องที่อำเภอบ้านหมอ ที่ กม. 14-16

    จังหวัดสุพรรณบุรี ทางหลวงหมายเลข 340 ตอน ทางแยกเข้าสุพรรณบุรี ท้องที่อำเภอเมือง ที่ กม. 0-1 และทางหลวงหมายเลข 329 ตอน อ่างทอง-อยุธยา ท้องที่อำเภอท่าระหัด ที่ กม. 0-1

    จังหวัดนนทบุรี ทางหลวงหมายเลข 345 ตอน สะพานนนทบุรี-บางบัวทอง ท้องที่อำเภอบางบัวทอง ที่ กม. 4-5
    จังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 3064 ตอน อ่างทอง-โพธิ์ทอง ท้องที่อำเภอโพธิ์ทอง ที่ กม.8-9

    จังหวัดปราจีนบุรี ทางหลวงหมายเลข 3076 ตอน บ้านสร้าง-นครนายก ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-5 , ทางหลวงหมายเลข 3293 ตอน ปราจีนบุรี-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 0-10 , ทางหลวงหมายเลข 3347 ตอน ฉะเชิงเทรา-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 15-31 และทางหลวงหมายเลข 3481 ตอน บางขนาก-บ้านสร้าง ท้องที่อำเภอบ้านสร้าง ที่ กม. 26-28

    จังหวัดมหาสารคาม ทางหลวงหมายเลข 2391 ตอน กู่ทอง-บ้านเขื่อน ท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย ที่ กม. 15-17

    ส่วนผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้องสัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย กรมทางหลวง ขอแนะใช้เส้นทางเลี่ยงน้ำท่วม ดังนี้
    1. ทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ช่วง กม.51-58 เขต อำเภอวังน้อย ทั้งขาเข้า-ขาออก มีน้ำท่วมขังในเส้นทาง โดยเฉพาะ กม.55-57 ระดับน้ำสูง 60 เซนติเมตร ทำให้การจราจรติดขัด แนะนำใช้ทางเลี่ยง ถนนวงแหวนตะวันตก และเส้นทางสายรังสิต-องครักษ์-บ้านนา-นครนายก-สระบุรี หากจะเดินทางไปภาคเหนือสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 21 ไปสู่ภาคเหนือทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ และสามารถใช้ทางหลวงหมายเลข 205 เข้า โคกสำโรง-ตากฟ้า และใช้ทางหลวงหมายเลข 11 ไป อำเภอวังทองได้ และหากจะเดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 2
    2. ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ขาออก ตำบลหันตรา อำเภอพระนครศรีอยุธยา-อำเภอบางปะหัน ระดับน้ำสูง ยังคงปิดสะพานเดชาติวงศ์ และปิดการจราจรถนนพหลโยธิน ไม่ให้เข้าตัวจังหวัดนครสวรรค์ ขอให้ใช้ทางเลี่ยงจังหวัดนครสวรรค์ ขาออกจากกรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปภาคเหนือ

    นอกจากนี้ ควรเลี่ยงเส้นทางพหลโยธิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เส้นทางการเดินทาง ดังนี้
    1. เส้นทางวงแหวนตะวันตก ถึงแยกบางบัวทอง ใช้ถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี ไปถึง จังหวัดสุพรรณบุรี เลี่ยงเมืองอ่างทอง แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ไปอำเภอตาคลี – ตากฟ้า – ไพศาลี – หนองบัว – เขาทราย – พิจิตร – วังทอง – พิษณุโลก ไปภาคเหนือ
    2. ช่วงจังหวัดสุพรรณบุรี – ชัยนาท ยังไปได้ แต่จากจังหวัดชัยนาท – สวนนก – ต่างระดับที่จะออกทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย) ท้องที่อำเภอเมือง ผนังกั้นน้ำด้านซ้ายทางชำรุด ที่กม. 290+500 น้ำท่วมสูง 35 ซม. รถทุกชนิดผ่านไม่ได้ หากจะเดินทางต่อไปยังภาคเหนือ ให้เลี่ยงไปทางจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (สายเอเชีย)

    อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้ใช้รถใช้ถนนที่จำเป็นต้อง สัญจรบนถนนทางหลวงในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ขอให้โปรดใช้ความระมัดระวังในการใช้เส้นทางเพิ่มขึ้นด้วย และให้สอบถามเส้นทางก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือทุกระยะในการเดินทาง สำหรับประชาชนที่ต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง การจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1586 ตำรวจทางหลวง ตลอด 24 ชั่วโมง 1193 สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง 0 2354 6530, 0 2354 6668-76 ต่อ 2014, 2031

    ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง 0 2354 6551 ศูนย์บริการข้อมูลทางหลวงพิเศษ 0 2533 6111 หน่วยกู้ภัย มอเตอร์เวย์ กรุงเทพ – ชลบุรี (สายใหม่) 0 3857 7852 – 3 หน่วยกู้ภัยวงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก (บางปะอิน – บางพลี) 0 2509 6832 ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)1111 กด 5 สายด่วน กรมทางหลวงชนบท 1146


    -http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131420-

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    “เขื่อนลำตะคอง” เสริมสปิลล์เวย์เพิ่มจุ 353 ล้านลบ.ม. – เตือนล้นอีกท่วมโคราชรุนแรง ! <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 19:09 น.</td></tr></tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" valign="baseline">เขื่อน ลำตะคอง เสริมแผ่นเหล็ก STOP LOG หน้าทางระบายน้ำล้น (Service Spillway) เพื่อเพิ่มความจุเขื่อนให้รองรับน้ำได้มากขึ้นจากเดิม 314.49 ล้าน ลบ.ม. เป็น 353 ล้าน ลบ.ม. </td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]


    ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - ปริมาณน้ำเขื่อนใหญ่โคราชล้นเกินความจุสูงไม่หยุด เผย “ลำตะคอง” เสริมแผ่นเหล็กสปิลล์เวย์เพิ่มความจุอีกกว่า 38 ล้าน ลบ.ม.เป็น 353 ล้านลบ.ม. เตือนหากยังล้นอีกท่วมรุนแรงแน่ ล่าสุดจ่ออยู่ที่ 328 ล้านลบ.ม. ส่วน “ลำพระเพลิง” น้ำสูงกว่าปากช่องสปิลล์เวย์ 40 ซม. ขณะฝนตกซ้ำเติมต่อเนื่อง ด้านผอ.ชลประทานที่ 8 ย้ำเขื่อนลำตะคองไม่แตก ชี้ลุ้นหลังวันที่ 16 ต.ค.ฝนลดหนาวมาแทน ฟันธงไม่ตกหนักต่อเนื่อง 2 วัน 2 คืนโคราชพ้นวิกฤตไม่เจอน้ำท่วมใหญ่

    วันนี้ (14 ต.ค.) ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำของ จ.นครราชสีมา ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ของ จ.นครราชสีมา ขณะนี้ปริมาณน้ำในอ่างหรือในเขื่อนทุกแห่งเกินความจุหมดแล้ว และยังเพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ไม่น่าเป็นห่วงเนื่องจากตัวเขื่อนทุกแห่งแข็งแรงสามารถรองรับปริมาณน้ำ ได้อย่างเต็มที่

    โดยเฉพาะเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว นั้นได้ทำการเสริมแผ่นเหล็กที่ช่องระบายน้ำล้นหรือสปิลล์เวย์ เพื่อเพิ่มความจุน้ำอีกกว่า 38 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากเดิมความจุตามแบบเดิม 314.49 ล้านลบ.ม. เป็น 353 ล้าน ลบ.ม. ทำให้สามารถชะลอน้ำหลากไว้ได้มาก และส่งผลให้พื้นที่ใต้เขื่อนปลอดภัยจากน้ำท่วมมากขึ้น และยืนยันว่า เขื่อนลำตะคองสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการกักเก็บสูงสุดถึง 360 ล้าน ลบ.ม. ฉะนั้นจึงขอให้ประชาชนมั่นใจในความแข็งแรงของเขื่อนและไม่มีปัญหาแตกร้าว หรือเขื่อนพังอย่างที่วิตกกันแน่นอน

    สำหรับเขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ล่าสุดระดับน้ำสูงกว่าปากช่องระบายน้ำล้น หรือ สปิลล์เวย์ประมาณ 40 เซนติเมตร (ซม.) ทำให้น้ำล้นออกทางสปิลล์เวย์ตลอดเวลาและทางเขื่อนได้ระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปริมาณน้ำไหลลงเหนืออ่างมีน้อยลงเพราะขณะนี้ส่วนใหญ่ฝนจะตกพื้นที่ ใต้เขื่อน จึงทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

    ม.ล.อนุมาศ กล่าวต่อว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำใน จ.นครราชสีมา ทั้งปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำฯ และน้ำฝนขณะนี้ค่อนข้างสบายใจได้ จากข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ คาดการณ์ตรงกันว่าพื้นที่ จ.นครราชสีมา ปริมาณฝนจะลดลงและหยุดตกหลังวันที่ 16 ต.ค.นี้ จากนั้นมวลอากาศเย็นจะแผ่เข้ามาแทน ซึ่งจากนี้ไปหากไม่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน 2 คืน โคราชก็ไม่มีปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่เกิดขึ้นเหมือนปีที่ผ่านมาแน่นอน แต่ในช่วงนี้อาจมีน้ำมูลเอ่อท่วมพื้นที่ริมตลิ่งบ้าง เนื่องจากปริมาณน้ำในลำน้ำมูลเต็มหมดแล้วและมีฝนตกบริเวณท้ายเขื่อนจึงทำให้ น้ำมูลล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่ม อ.โชคชัย, เฉลิมพระเกียรติ, โนนสูง และ อ.พิมาย ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตร แต่ถือเป็นเรื่องปกติเพราะพื้นที่เหล่านี้ประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีอยู่แล้ว

    “ขอฝากไปยังพี่น้องประชาชนชาวโคราชว่าอย่าตื่นตระหนกและไม่ ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม เพราะเจ้าหน้าที่ชลประทานและทางจังหวัดนครราชสีมาได้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยร่วมกันวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและยังมีการแจ้งเตือนภัยตาม ระดับที่วางไว้ทั้ง 4 ระดับ ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงด้วย” ม.ล.อนุมาศ กล่าว

    ทางด้านโครงการชลประทานนครราชสีมา รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ของ จ.นครราชสีมา ระบุว่า ล่าสุดวันนี้(14 ต.ค.) ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนขนาดใหญ่ 4 โครงการ ของ จ.นครราชสีมา ซึ่งทุกแห่งเกินขนาดความจุได้เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยวันนี้ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวม 1,038.49 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 104.27 % ความจุที่ระดับเก็บกักรวม 995.92 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้ที่มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวม 1,029.61 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103.38 %ความจุรวม

    ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ เขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำ 337.29 ล้านลบ.ม. (รวมน้ำบนอ่างเขายายเที่ยง 8.94 ล้านลบ.ม.) คิดเป็น 107.25 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 314.49 ล้านลบ.ม. อยู่ในขั้นแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมระดับ 3 จาก 4 ระดับ ให้ “เตรียมรับน้ำท่วม” เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้( 13 ต.ค.) ที่มีปริมาณน้ำ 332.67 ล้านลบ.ม. และ เมื่อวานมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 5.780 ล้านลบ.ม. ระบายน้ำลงใต้เขื่อนวันละกว่า 1.1 ล้าน ลบ.ม.

    อย่างไรก็ตามจากที่ทางเขื่อนลำตะคองได้เสริมแผ่นเหล็กสปิลล์เวย์ เพื่อเพิ่มขนาดความจุ เป็น 353 ล้าน ลบ.ม. ประกอบกับอ่างเก็บน้ำบนเขายายเที่ยงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่มี ประมาณน้ำ 8.94 ล้าน ลบ.ม. ได้หยุดสูบและปล่อยน้ำแล้วทำให้ขณะนี้น้ำในเขื่อนลำตะคองมีจำนวนสุทธิ 328.35 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 104.41% ของความจุใหม่ ซึ่งหากปริมาณน้ำเกิน 353 ล้าน ลบ.ม.จะส่งผลให้เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรงบริเวณท้ายเขื่อน หรืออยู่ในระดับ 4 ตามเกณฑ์ระดับการเตือนภัยน้ำท่วมขั้นสูงสุดของ จ.นครราชสีมา โดยน้ำจะล้นสปิลล์เวย์ไหลทะลักเข้าสู่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.เมือง และ อ.เฉลิมพระเกียรติ ก่อนลงสู่แม่น้ำมูล

    สำหรับเขื่อนลำพระเพลิง ต.ตะขบ อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำ 115.99 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 105.80 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 109.63 ล้านลบ.ม. เพิ่มจากเมื่อวานที่มีปริมาณน้ำ 114.37 ล้านลบ.ม. ซึ่งขณะนี้น้ำในอ่างได้ล้นสปิลล์เวย์อย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ต้องเร่งระบายน้ำ 1.14 ล้านลบ.ม. ต่อวันและเมื่อวานนี้เกิดฝนตกพื้นที่เหนือเขื่อนมีน้ำไหลลงอ่าง 2.764 ล้าน ลบ.ม.

    เขื่อนลำมูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 156.27 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 110.83 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 141 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ประมาณ 1.250 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำ 4.8 แสนลบ.ม.ต่อวัน

    และ เขื่อนลำแชะ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 280.72 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 102.08 % ของความจุที่ระดับเก็บกัก 275 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำเท่ากับเมื่อวาน ระบายน้ำ 7 แสน ลบ.ม.ต่อวัน

    ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 18 แห่งของ จ.นครราชสีมา ล่าสุดวันนี้ ( 14 ต.ค.) ปริมาณน้ำในอ่างฯรวม 162.76 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 96.34 %ความจุที่ระดับเก็บกักรวม 168.94 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานที่มีปริมาณน้ำรวม 160.36 ล้านลบ.ม. โดยในจำนวน 18 แห่ง มีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินความจุอยู่กว่า 11 แห่ง

    ขณะที่สภาพอากาศโดยรวมของจ.นครราชสีมาวันนี้ ( 14 ต.ค.) ท้องฟ้ามืดครึ้มปกคลุมไปด้วยก้อนเมฆตลอดทั้งวันและช่วงเย็นได้มีฝนตกลงมา อย่างหนักในหลายพื้นที่


    -http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131351-

    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    [FONT=Tahoma,]ศปภ.เฮ-น้ำเหนือแผ่ว กทม.รอด!

    ประชา-กรมชลฯ ร่วมแถลงยืนยัน แต�อยุธยาหนัก นิคมบางปะอิน เริ่มมิดอีกแห�ง ปลานับแสนช็อก


    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ลุยตรวจ - น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร และม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. สำรวจเเนวคันกั้นน้ำคลองรังสิต จ.ปทุมธานี ขณะที่ศปภ. แถลงยืนยันน้ำไม่ท่วมกทม.แน่นอน

    </td></tr></tbody></table>น้ำ ทะลักเข้านิคมอุตสาหกรรมบางปะอินแล้วสูงกว่า 30 ซ.ม. รองแม่ทัพภาค 1 คุมซ่อมคันดินหวั่นซ้ำรอยโรจนะ-ไฮเทค วังน้อยยังเละ มหาจุฬาฯท่วมเพิ่มสูง 2 เมตร สายเอเชียปิดสนิท "ปทุม"น้ำทะลักเข้าเมือง ท่วมศาลากลางแล้ว ผู้ว่าฯขอ "ปู" ปิดคลอง 1 รังสิตกันน้ำท่วมเมือง ส่วนซ่อมประตูน้ำคลองบ้านพร้าว คืบหน้าด้วยดี ศปภ. มั่วอีกรอบ ศูนย์ปชส.เอาข่าวเก่าประกาศเขตภัยพิบัติ 17 เขตกทม.แจกซ้ำ เล่นเอาแตกตื่นไปทั่ว "ประชา" ต้องแถลงแก้อีก มั่นใจกทม.ปลอดภัยแน่ นอน เผยสถานการณ์ดีขึ้นมาก ระบายน้ำได้วันละ 550 ล้านลบ.ม. ส่วนน้ำเขื่อนและน้ำเหนือลดระดับต่อเนื่อง ย้ำข่าวศปภ.จะแถลงเอง "ปู"ย้ำหากเตือนภัยจะออกทีวีพูลเท่านั้น อย่าฟังข่าวแหล่งอื่น ผู้ว่าฯกทม.เชื่อไม่ท่วม แต่ไม่ประมาทสั่งวอร์รูมประชุมติดตามทุก 6 ชั่วโมง ทบ.เร่งขุด 3 คลองระบายเพิ่ม เชื่อเสร็จใน 5 วัน "ปากน้ำโพ"ยังอ่วม ขาดน้ำ-อาหาร พนังพังเพิ่ม น้ำสูงอีกกว่าเมตร

    "ปู"รับปรับวิธีแจ้งเตือน

    เวลา 09.00 น. เมื่อวันที่ 14 ต.ค. ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงให้ประชาชนรอบชานเมืองกทม.อพยพ จนทำให้เกิดความตื่นตระหนก ว่า นายปลอดประสพ เพียงชี้แจงข้อมูลล่าสุดที่ได้รับรายงานเข้ามา แต่ยังไม่ได้สรุป ไม่ใช่การแถลงอย่างเป็นทางการของศปภ. ถ้าเป็นแถลงเป็นทางการ ต้อง มีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศปภ.ร่วม อยู่ด้วย แต่ยอมรับว่าน้ำเสียงของนายปลอดประสพ อาจทำให้คนวิตกกังวล จึงให้ศปภ. ชี้แจงข้อเท็จจริงอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าไม่มีอะไร ทุกอย่างเป็นปกติ

    เมื่อถามว่าได้ปรามนายปลอดประสพในการให้ข่าวหรือ ไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า นายปลอดประสพมีเจตนาดี เพราะมีโอกาสที่น้ำจะเข้า จึงอยากให้ประชาชนระวัง อย่างไรก็ตามถ้าน้ำจะเข้ามาจริง จะมีเจ้าหน้าที่คอยประสานงานอยู่แล้ว และหลังจากนี้ จะต้องปรับวิธีการแจ้งเตือน เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและข้อมูลคลาดเคลื่อน

    ใช้ทีวีพูลสื่อสารประชาชน

    "เหตุการณ์ นี้เพิ่งเกิดเพียงครั้งเดียว แต่จะไปพูดคุยกันภายในให้ชัดเจน แต่ยืนยันว่าข้อมูลศปภ.เชื่อถือได้ หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจริง หรือมีความจำเป็น ศปภ.จะใช้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยชี้แจงให้ชัดเจน จึงไม่คิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะทำลายความเชื่อมั่นของ ศปภ." น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว

    เมื่อถามถึงกรณีที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตรผู้ว่าฯกทม.ระบุหากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น กทม.จะเป็นผู้ชี้แจงเอง สรุปแล้วเป็นอำนาจของ กทม.หรือ ศปภ. น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่าอำนาจในภาพรวมเป็นของศปภ. ส่วนพื้นที่ด้านในจะส่งต่อให้กทม. ชี้แจง

    เผยขุดเสร็จ 2 คลองระบายน้ำ

    นายกฯ กล่าวถึงสถานการณ์ล่าสุดที่คลองบ้านพร้าว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ว่า ภาพรวมน้ำจากตอนเหนือเริ่มทรงตัว แต่มีปัญหาในช่วงแนวรอยต่อที่กั้นไม่อยู่ จึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปรักษาแนวรอยต่อไว้ แม้ว่าน้ำจะล้นแต่เรามีแนวคลองอยู่ข้างๆ น้ำจะไม่ลามกินพื้นที่บริเวณกว้าง และในกทม.น้ำจะไม่สูงมากนัก เพราะมีคันกั้นน้ำปกป้องกทม. ชั้นในอยู่ ส่วนนอกแนวคันกั้นน้ำมีคลองรองรับ

    นอกจากนี้ความคืบหน้าในการขุด คลองเพื่อระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาเสร็จแล้ว 2 คลอง ซึ่งจะเริ่มระบายน้ำออกไปได้ สถาน การณ์ในภาคกลางจะเริ่มทุเลาลง ผลกระทบที่จะเกิดกับกทม. จะเป็นเฉพาะพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำเท่านั้นและไม่ส่งผลกระทบในวงกว้าง

    ส่วน การทำแนวคันกั้นน้ำชั้นที่สองเพื่อรองรับกรณีแนวคันกั้นน้ำชั้นแรกไม่สามารถ ต้านกระแสน้ำได้ในส่วนของกทม.นั้น ตอนนี้กำลังสำรวจอยู่

    มั่วซ้ำ-"ประชา"แถลงแก้ทันที

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เกิดเหตุโกลาหลในการเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ของศปภ.อีกครั้ง เมื่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ศปภ.นำเอกสารข่าวฉบับที่ 2 ประจำวันที่ 14 ต.ค. ระบุว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้า 17 เขตกทม.เป็นเวลา 3 เดือน โดยเมื่อข่าวเผยแพร่ออกไปทำให้ประชาชนตื่นตระหนกและไม่สบายใจ ทำให้พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. ต้องแถลงแก้ข่าวโดยด่วน โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม.ร่วมแถลงด้วย

    โดยพล.ต.อ.ประชาแถลงว่า ต่อไปนี้ข่าวที่จะออกจากศปภ.ตนจะเป็นคนแถลงด้วยตัวเองรวมถึงการประกาศเตือน ภัยด้วย หาก เป็นเอกสารต้องผ่านการลงนามจากตนก่อน หากเป็นเรื่องสถานการณ์น้ำ ก็จะเป็นรมว. เกษตรฯและอธิบดีกรมชลประทาน เนื่องจากช่วงเช้ามีข่าวเสนอการประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ 17 เขตในกทม. สร้างความตระหนกให้ประชาชน ขอยืนยันว่าไม่ใช่เอกสารของศปภ. และไม่ทราบว่าใครนำมาแจก

    ยันกทม.ปลอดภัยแน่

    พล.ต.อ. ประชากล่าวว่า ขณะนี้ศปภ. พยายามป้องกันเขตเศรษฐกิจกทม. ด้วยการระบายน้ำออกทางซีกตะวันออก และตะวันตกของกทม. โดยระบายทั้งแม่น้ำท่าจีน บางปะกง และเจ้าพระยา โดยระบายได้วันละ 550 ล้านลบ.ม. ถือเป็นผลดี ยืนยันว่ากทม.ไม่ท่วมแน่นอน แต่กระทบบ้างในพื้นที่รอบกทม.ปริมณฑล รวมทั้งคันกั้นน้ำ 3 แนวที่หลักหก เมืองเอก จ.ปทุมธานี และที่ศาลายา จ.นครปฐม ที่ทำเสร็จและเพิ่มความแข็งแรงมากขึ้น รวมทั้งได้สั่งการให้ทำคันกั้นน้ำเพิ่มที่คลองระพีพัฒน์แยกตก จากช่วงประตูน้ำพระอินทร์ถึงคลองระพีพัฒน์ ระยะทาง 24 ก.ม. คาดว่าอีก 2 วันเสร็จ เพื่อให้คันกั้นนี้เป็นคันที่สองซ้อนขึ้นมาอีก

    จากนั้นนาย ชลิตกล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำช่วงวันที่ 13-18 ต.ค. ซึ่งระดับน้ำทะเลจะหนุนสูงและน้ำเหนือไหล จึงต้องตัดยอดน้ำด้านบน ด้วยการลดการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เพื่อให้น้ำลงมาที่จ.นครสวรรค์ น้อยที่สุด และระบายน้ำจากเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนแควน้อยให้น้อยลง จะส่งผลให้น้ำที่จ.นครสวรรค์ จะอยู่ที่ 4,686 ลบ.ม.ต่อวินาที น้ำจากนครสวรรค์มาที่เขื่อนชัยนาท คาดว่าไม่เกิน 3,600 ลบ.ม.ต่อวินาที ดังนั้นน้ำจะมาถึงกทม.วันที่ 15-16 ต.ค.นี้ มีระดับสูง 2.3-2.4 เมตร ในขณะที่คันกั้นน้ำกทม.อยู่ที่ 2.5 เมตร ดังนั้นกทม.รอดแน่นอน

    จวกทีมปชส.-ขอโทษปชช.

    นาย พรเทพกล่าวว่า การบริหารน้ำที่ศปภ. ทำงานร่วมกับกทม.ทำให้ประชาชนอุ่นใจ แต่มีข่าวลือมาก ทำให้เข้าใจผิด ซึ่งผู้ว่าฯกทม. เป็นห่วงมาก จึงสั่งให้เขตออกไปแก้ข่าว ยืนยันว่าเราทำงานอย่างเป็นระบบ ต้องช่วยกันแก้ข่าวลือ

    จากนั้นพล.ต.อ.ประชาได้ตรวจเยี่ยมฝ่ายประชา สัมพันธ์ ศปภ. เพื่อทำความเข้าใจในการจัดทำและเผยแพร่เอกสารข่าวของศปภ. มีนายทินวัฒน์ สัจจาพิทักษ์ ผอ.สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะเลขานุการ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ศปภ.รับฟังคำแนะนำ โดยพล.ต.อ.ประชากำชับเจ้าหน้าที่ที่จัดทำเอกสารข่าวว่า ข่าวใดถ้าเป็นคำสั่งของศปภ. ต้องผ่านการลงนามจากตนเท่านั้น หากเป็นข้อมูลที่ไม่ชัดเจนต้องทำด้วยความรอบคอบ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะสับสน นอกจากนี้เอกสารที่นำมาเผยแพร่ เป็นเอกสารลงวันที่ 10 ต.ค. ซึ่งผ่านมานานแล้ว ดังนั้นต้องขอโทษประชาชนด้วย <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ผ่านไม่ได้ - ถนน พหลโยธินทั้งขาเข้า-ขาออกบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ วังน้อย อยุธยา ถูกน้ำทะลักเข้าท่วมหนักจนรถยนต์ไม่สามารถผ่านได้ ต้องปิดเส้นทางไปโดยปริยาย เมื่อวันที่ 14 ต.ค.







    </td></tr></tbody></table>

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า ต่อมาพล.ต.อ.ประชาได้เข้าไปตักเตือนการจัดทำเอกสารข่าวกับผอ.สถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 โดยมีนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ สมาชิกบ้านเลขที่ 111 และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายวิม รุ่งวัฒนจินดา เข้ามารับฟังด้วยสีหน้าเคร่ง ขรึม จากนั้นพล.ต.อ.ประชาสั่งให้เจ้าหน้าที่เก็บเอกสารข่าวดังกล่าวและเอกสารบาง ส่วนออกไปฝ่ายประชาสัมพันธ์โดยทันที ซึ่งฝ่ายประชาสัมพันธ์ศปภ.ได้ส่งข้อความขอให้หยุดเผยแพร่ข่าวดังกล่าว

    เผยข่าวเก่าวันที่ 10 ต.ค.

    นาย ทินรัตน์กล่าวว่า ยอมรับว่าการนำข้อมูลเก่ามาเสนอ เป็นข้อผิดพลาดของศูนย์ข่าว เพราะบางครั้งอาจเกิดจากความเร่งรีบของเจ้าหน้าที่ไปดึงข้อมูลข่าวมาจาก เว็บไซต์โดยที่ไม่ได้ตรวจสอบวันที่ และเวลา เพราะกลัวจะเสนอข่าวสารให้สื่อนำไปเผยแพร่ไม่ทันการณ์ แต่ขณะนี้ต้องแก้ไข โดยหลังจากนี้ พล.ต.อ.ประชา และนายธีระพงษ์ โสดาศรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ในฐานะผอ.ฝ่ายข่าวศปภ. จะเป็นผู้ลงนามในเอกสาร ที่จะเผยแพร่ข่าวที่อาจส่งผลกระทบรุนแรง ต่อประชาชน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าฝ่ายข่าวนี้ เป็นส่วนหนึ่งของศปภ. โดยมีน.ส.กฤษณา สีหรัตน์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็น ประธาน

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกสารข่าว ดังกล่าว เป็นเอกสารที่ลงนามโดยนายเจริญ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม.ส่งถึงอธิบดีกรม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เมื่อวันที่ 10 ต.ค.54

    สั่งประชุมลับ-กันข่าวมั่ว

    ด้าน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว. กลาโหมกล่าวว่า หากจำเป็นต้องอพยพศปภ. จะสั่งให้กองทัพเตรียมพร้อม โดยจะเตรียมพื้นที่ในหน่วยทหารไว้รองรับ รวมทั้งโรงพยาบาลในสังกัดไว้ตลอดเวลา อาทิ ร.พ. พระมงกุฎฯ ร.พ.ภูมิพล ร.พ.ทหารผ่านศึก ร.พ.ทหารเรือ ส่วนการขุดคูคลองระบายน้ำเพิ่ม ทั้งคลองงิ้วลาย คลองทรงคะนอง และคลองท่าข้าม ทำอยู่อย่างเต็มที่

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีปัญหาการแถลงข่าวที่สับสน ที่ประชุมศปภ.โดยพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม ระบุว่า ขอให้การประชุมศปภ.เป็นการประชุมภายในเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และขอให้เป็นห้องที่ปลอดสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่จึงไม่อนุญาตสื่อเข้ารับฟังการประชุม หลังจากก่อนหน้านี้อนุญาตให้ร่วมรับฟังได้

    ซ่อมประตูบ้านพร้าวได้แน่

    พล.อ.อ. สุกำพล กล่าวถึงการซ่อมแซมประตูระบายน้ำคลองบ้านพร้าว อ.สามโคก จ.ปทุมธานีว่า ตอนนี้ซ่อมแซมประตูระบายน้ำดังกล่าวไปได้ร้อยละ 80 แล้วและจะเสร็จภายในวันที่ 14 ต.ค. ส่วนประตูน้ำจุฬาภรณ์ ต.คลองหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี ยังไม่มีข่าวว่าเกิดเหตุอะไร คงไม่พังกันบ่อยๆ ยืนยันว่าสามารถผลักดันน้ำไม่ให้เข้าพื้นที่กทม.ได้แน่นอน ส่วนพื้นที่บริเวณรังสิต และอ.คลอง หลวง จ.ปทุมธานี ถือว่าควบคุมได้ แต่มีน้ำสูงขึ้นเล็กน้อย

    พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวว่า สำหรับถนนสายเอเชียที่ถูกน้ำท่วมยังกู้สถานการณ์ไม่ได้ เพราะแม้แต่ที่จ.พระนครศรีอยุธยา เรายังกู้ ไม่ได้เพราะมีน้ำท่วมสูงอยู่อย่างนี้ ต้องปล่อยไปก่อน อย่างไรก็ตามยังเดินรถในเส้นทางอื่นๆได้

    ผวจ.ปทุมฯขอปิดคลอง 1

    เวลา 15.00 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วยพล.ต.อ.ประชา เดินทางไปตรวจแนวคันป้องกันน้ำบริเวณเทศบาลตำบลหลักหก อ.เมือง โดยมีนายพีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าฯปทุมธานี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. เข้าร่วมหารือ ถือเป็นครั้งแรกที่ ผู้ว่าฯ กทม. เข้าร่วมงานกับนายกฯและศปภ. โดยทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าต้องกั้นคันน้ำสูงขึ้นอีก เพื่อป้องกันน้ำไหลลงคลองเปรมประชากร

    นอกจากนี้นายพีระศักดิ์ ได้รายงานความคืบหน้าการซ่อมประตูน้ำคลองบ้านพร้าวว่าน่าจะเสร็จภายในเวลา 18.00 น. พร้อมเสนอให้ปิดประตูระบายน้ำคลอง 1 เพื่อไม่ให้น้ำล้นเข้ามาในพื้นที่ชั้นใน โดยพล.ต.อ. ประชารับจะนำไปพิจารณา

    ทั้ง นี้ นายกฯกล่าวว่า การมาตรวจพื้นที่ครั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจกับประชาชนในกทม. และยืนยันว่าภาพใหญ่จะป้องกันจุดสำคัญที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญและพื้นที่ เศรษฐกิจของประเทศเอาไว้ ซึ่งผู้ว่าฯแต่ละจังหวัดมีหน้าที่ปกป้องดูแลจังหวัดของตัวเอง และชะลอน้ำที่จะเข้ามายังพื้นที่ กทม.ถือเป็นด่านสุดท้าย อยากให้ประชาชนสบายใจได้ว่าเรามีแนวป้องกันน้ำหลายชั้นกว่าน้ำจะเข้า กทม. อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าจะไม่สนใจผู้เดือดร้อน

    ทบ.เร่งลอก 3 คลองระบายน้ำ

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. เผยว่า ได้ให้กำลังพลดูแลผู้อพยพที่อยุธยา เนื่องจากมีน้ำสูงขึ้นต่อเนื่อง และยังมีผู้ติดค้างในพื้นที่ห่างไกล ส่วนที่จ.ลพบุรี มีรายงานคันดินพังที่ชัยนาท ทำให้กระทบโดยตรง จึงให้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษเข้าไปดูแล สำหรับที่นครสวรรค์ อันดับแรกจะต้องกู้เส้นทางให้ได้ และนำประชาชนออกไปพื้นที่ปลอดภัยก่อนบล็อกน้ำและสูบออกเพื่อกู้พื้นที่กลับ มา ส่วนขุดลอกคูคลอง 3 แห่งที่สมุทรสาครเพื่อระบายน้ำออกทางฝั่งตะวันตก ได้ให้ทหารช่างนำเครื่องมือลงทำงานแล้ว และจะให้เสร็จภายใน 5 วัน เพื่อระบายลงทะเลให้เร็วที่สุด

    ยงยุทธรับศอส.มือไม่ถึง

    ที่ กระทรวงมหาดไทย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่หลายฝ่ายมองว่ากระทรวงมหาดไทยไม่ค่อยมี บทบาทแก้ไขปัญหาว่า ยอมรับ ไม่ขอแก้ตัวใดๆ ทั้งสิ้นว่ากระทรวงโดยศูนย์สนับสนุนการอำนวยการ และการบริหารสถานการณ์อุทก ภัย วาตภัยและดินโคลนถล่ม(ศอส.) ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตที่ใหญ่หลวงได้เพียงฝ่ายเดียว ปัญหาน้ำท่วมขณะนี้ต้องใช้พลังมหา ศาลมากในการแก้ไข น.ส.ยิ่งลักษณ์เข้ามาบัญชาการด้วยตัวเอง มั่นใจว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

    นาย วิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมปภ. รองผอ.ศอส. เผยว่า ปัจจุบันยังพื้นที่ประสบภัย 26 จังหวัด 188 อำเภอ 1,364 ตำบล 10,443 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 761,044 ครัวเรือน 2,250,469 คน เสียชีวิต 289 ราย สูญหาย 2 คน

    กทม.สั่งประเมินทุก 6 ช.ม.

    ก่อน หน้านี้เวลา 09.00 น. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ พร้อมคณะผู้บริหาร เดินทางมาตรวจคันกั้นน้ำที่เขตสายไหม โดย นายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักการระบายน้ำ กล่าวรายงานสถานการณ์น้ำในกทม. ในวันนี้ว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวัดที่ปากคลองตลาดเมื่อเวลา 08.00 น. สูง 2.13 เมตร ทำลายสถิติระดับน้ำที่สูงสุดในปีนี้และปีที่แล้วที่ 2.10 เมตร จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สำหรับปริมาณน้ำที่ อ.บางไทร 4,250 ลบ.ม. ต่อวินาที ที่เขื่อนพระรามหกและเขื่อนเจ้าพระยารวมกัน 4,430 ลบ.ม.ต่อวินาที

    โดยม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า เมื่อระดับน้ำที่ปากคลองสูงสุด จึงไม่ควรประมาท และให้แจ้งเตือน 27 ชุมชนนอกแนวกั้นน้ำ ให้เตรียมอพยพหากเห็นว่าไม่สามารถพักอาศัยอยู่ต่อไปได้ โดยเฉพาะช่วงระหว่าง วันที่ 15-18 ต.ค. ที่เป็นช่วงเฝ้าระวังสูงสุด และให้ประชุมประเมินสถานการณ์ทุก 6 ชั่วโมง และขอให้ผู้บริหารกทม. และผอ.เขตต้องไม่ตื่นตระหนก อย่าหวั่นไหวต่อสถาน การณ์โดยใช้ภาวะผู้นำ เพราะบ้านเมืองเวลานี้ กำลังเกิดสุญญากาศของภาวะผู้นำ กทม. ต้องเป็นเสาหลักของประชาชนให้ได้ <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ปลาช็อก - ปลานับแสนตัวตายเกลื่อนหาดใน อ.ปราณบุรี จ.ประจวบฯ หลังเกิดปรากฏการณ์"เบียดน้ำ" น้ำฝนจำนวนมากไหลลงสู่ทะเล ทำให้น้ำจืดปะทะน้ำเค็มฉับพลันจนปลาช็อกตาย เมื่อวันที่ 14 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>

    ผอ.สายไหมเผยคนสับสนข่าว

    นาย เจริญรัตน์ ชูติกาญจน์ ปลัดกทม. กล่าวว่า ได้เรียกประชุมผอ.เขต และสั่งการให้สำนักงานเขตทำความเข้าใจกับประชาชน โดยให้เจ้าหน้าที่ใช้ความอดทน นิ่ง ไม่หวั่นไหว เพราะกทม.เป็นที่พึ่งประชาชน

    นางนงพะงา บุญปักษ์ ผอ.เขตสายไหม สรุปสถานการณ์ว่า หลังจากที่ศปภ.แถลงให้อพยพ ส่งผลให้ประชาชนสับสนและตื่นตระหนก เขตต้องจัดเจ้าหน้าที่เทศกิจออกแจ้งประชาชนว่าสถานการณ์ยังปกติ ขณะเดียวกันก็มีประชาชนโทร.เข้ามาสอบถามกับเบอร์โทรศัพท์ของตน อย่างไรก็ตามเราก็ได้เตรียมศูนย์อพยพไว้แล้ว

    "ปทุม"น้ำทะลักเข้าเมือง

    ที่ จ.ปทุมธานี น้ำได้เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ อ.เมือง โดยเฉพาะจวนผู้ว่าฯ ศาลากลางหลังเก่า ที่ว่าการอำเภอ สถานีตำรวจเมืองปทุม ธานี สูงประมาณ 60-80 ซ.ม. แล้ว เจ้าหน้าที่เร่งก่อกระสอบทรายให้สูงขึ้นพร้อมกับติดตั้งปั๊มน้ำเพื่อดูดน้ำ ออก สถานการณ์เข้าขั้นวิกฤต สำหรับถนนพัฒนสัมพันธ์ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจ จมสูงกว่า 1 เมตร รถเล็กสัญจรไม่ได้ ทางจังหวัดต้องสั่งให้อพยพไปยังศูนย์ช่วยเหลือ

    นนท์-บ้านจัดสรรจม-น้ำสูง 1 ม.

    ที่ จ.นนทบุรี น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาได้เอ่อล้นกระสอบทรายที่ตั้งเป็นคันกั้นน้ำไว้ เข้าท่วมวัดตำหนักใต้ หมู่ 4 ถนนนนทบุรี-สนามบินน้ำ ต.ท่าทราย อ.เมือง สูงกว่า 1 เมตร ชาวบ้านต้องระดมนำกระสอบทรายมากั้นตลอดแนวกำแพงวัดไม่ให้น้ำทะลักเข้าท่วม ชุมชนใกล้เคียง

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านในบริเวณคลองบางตะไนย์ เดือดร้อนหนักจากสถาน การณ์น้ำหลากท่วมพื้นที่หมู่บ้าน โดยเพิ่มระดับขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว จากช่วงกลางวันถึงช่วงเย็นเพิ่มขึ้นเป็น 1 เมตรกว่าแล้ว ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวมีหมู่บ้านทาวน์เฮาส์อยู่หลายโครงการ ทำให้ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่พากันอพยพออกไป ขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันไปปิดถนนเส้นทางไปสวนสมเด็จฯ ที่เชื่อมเข้าถนนพระรามที่ 4 หวังไม่ให้น้ำเข้าหมู่บ้าน จนทำให้การจราจรเป็นไปอย่างโกลาหลตลอดทั้งวัน แต่กลับไม่มีเจ้าหน้าที่มาช่วยดูแลแต่อย่างใด

    น.พ.ธวัชชัย วงค์คงสวัสดิ์ ผอ.ร.พ.พระนั่งเกล้า เผยว่า จากสถานการณ์น้ำทะเลหนุน และน้ำจากปทุมธานี จึงได้ทยอยส่งผู้ป่วย หนักไปยังร.พ.บำราศนราดูรแล้ว ยังเหลือ ผู้ป่วยอีกประมาณ 10 รายที่ยังไม่ได้ย้าย

    กรุงเก่า-ท่วมนานน้ำเน่า

    ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ภายในเกาะเมืองระดับน้ำยังคงทรงตัวเริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่นสุนัขและแมวตายลอยน้ำส่งกลิ่นเหม็นปะปนกับน้ำที่เริ่มเน่าและขยะที่ เพิ่มปริมาณมากขึ้น ชาวบ้านอยากให้มีการผันน้ำหรือปั่นน้ำเพิ่มออกซิเจนไม่ให้น้ำเน่าเสียเชื่อ ว่าน้ำจะท่วมนานกว่า 1 เดือนจึงจะลดระดับลง

    ที่ศูนย์ราชการพระนครศรี อยุธยา นายอารี ไกรนรา เลขานุการรมว.มหาดไทย เผยว่า การช่วยเหลือเป็นไปด้วยดี โดยเฉพาะในเกาะเมืองที่ประชาชนอพยพออกไปเกือบหมดแล้ว ส่วนที่เหลือได้พยายามส่งเสบียงอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค ขณะที่รอบเกาะเมือง ทั้ง 16 อำเภอ ได้ตั้งศูนย์อพยพฯทุกจุด โดยมีโรงครัวทุกจุด พร้อมส่งอาหารสำเร็จ รูปเข้าเสริมหากไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปัญหาที่พบคือด้านสุขภาพอนามัย จึงส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เข้าประจำเพื่อให้การดูแล

    สายเอเชียยังขาด-ปิดจราจร

    พ.ต.อ. ภูวดิท ชนะคชภัทร์ รองผบก.ภ. จว.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า น้ำได้ทะลักเข้าท่วมถนนเอเชียช่วงหมวดการทางบาง ปะอิน หรือด่านเก็บเงินบางปะอินเก่า อ.บาง ปะอิน ถึงบริเวณหน้านิคมอุตสาหกรรมไฮเทค มีน้ำท่วมสูงเป็นช่วงๆรถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่าน โดยขสมก.จัดรถรถเมล์ 8 คัน บริการประชาชนจากอยุธยาไปฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต โดยรถจะจอดรับผู้โดยสาร ที่บริเวณหน้าโลตัส อยุธยา ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึงเวลา 19.00 น.

    ไฮเทคจม-กู้ไม่ได้

    สำหรับ การปฏิบัติภารกิจเพื่อกู้นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค ที่ถูกน้ำทะลักเข้าท่วมเมื่อวันที่ 13 ต.ค.ที่ผ่านมา เวลา 07.30 น. พล.ท.อุดมเดช สีตบุตร แม่ทัพภาคที่ 1 ระบุว่า ภารกิจใช้เฮลิคอปเตอร์ชีนุกหย่อนตู้คอนเทนเนอร์ลงอุดรอยรั่วทางทิศใต้จำเป็น ต้องยกเลิก เนื่องจากช่วงเช้ามืดเกิดกระแสน้ำวนอย่างแรง ทำให้แผ่นเหล็กที่นำมาอุดบริเวณดังกล่าวพัง เกิดรอยรั่วยาวกว่า 15 เมตร น้ำทะลักเข้าบริเวณนิคมอย่างต่อเนื่อง จนขณะนี้ระดับอยู่ที่ประมาณ 1.50 เมตร

    พล.ท.อุดมเดช กล่าวว่า ยอมรับว่าภารกิจล้มเหลวแล้ว แต่หลังจากนี้สิ่งที่ทำได้คือ พยายามรักษาระดับน้ำในบริเวณนิคมให้อยู่ในระดับทรงตัว รักษาแนวคันดินที่เหลือไม่ให้พังลงมา เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียเหมือนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ โดยจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติงานอย่างสุดความสามารถ อย่างไรก็ตามยังกังวลน้ำจากภาคเหนือที่จะไหลมาสมทบอีก

    น้ำทะลักนิคมบางปะอิน

    เมื่อ เวลา 05.00 น. ได้เกิดรอยรั่วที่แนวคันดินบริเวณหอพักใกล้นิยม ติดกับนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน โดยเจ้าหน้าที่ได้ระดมซ่อมแซมประมาณ 1 ชั่วโมง แต่เมื่อเวลา 10.00 น. แนวคันดินด้านทิศตะวันออกติดกับหมู่บ้านสีทอง เกิดคันดินพังยาว 20 เมตร น้ำทะลักเข้ามาในนิคม เจ้าหน้าที่พยายามซ่อมแซมโดยใช้แผ่นแหล็กกั้นพร้อมสูบน้ำออก แต่ไม่สามารถกั้นได้ และกระแสน้ำยังทะลักเข้ามาแรงขึ้น พร้อมกันนั้นคันดินก็ได้ทยอยทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนน้ำทะลักเข้ามาในนิคมสูงประมาณ 30 ซ.ม.

    จากนั้นเวลา 18.00 น. พล.ต.วลิต โรจนภักดี รองแม่ทัพภาค 1 เดินทางมาบัญชาการ พร้อมเปิดเผยว่า สถานการณ์ของนิคมอุตสาห กรรมบาง ปะอินใกล้เคียงกับที่นิคมโรจนะ และนิคมไฮเทค จึงเสนอให้ใช้ตู้คอนเทน เนอร์วางเป็นรูปตัวยูบริเวณที่คันดินทรุดตัว เพื่อลดความแรงของน้ำ ก่อนจะนำกระสอบทรายไปกั้นอีกชั้นนึง

    มจร.ท่วมสูง 2 เมตร

    ส่วน ที่ศูนย์ช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมของมูลนิธิชัยพัฒนา ในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) อ.วังน้อย น้ำท่วมสูงขึ้นอยู่ที่ระดับ 2 เมตร ต้องใช้เรือท้องแบนลำเลียงสิ่งของช่วยเหลือจากประชาชน โดยวันนี้พระสงฆ์ สามเณร ประชาชนยังบรรจุถุงกระสอบทรายเพิ่มเติม เพื่อกั้นน้ำและทำทางเดินในบางอาคาร เจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนา ระบุว่า ขณะนี้มีพระสงฆ์สามเณรจำวัด 300 รูป ประชาชน 400 คน และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครอีก 120 คน นอกจากนี้ปริมาณน้ำที่เอ่อท่วมถนนเอเชีย ช่วงวังน้อย-สระบุรี ใกล้มจร. ทำให้เจ้าหน้าที่ปิดกั้นการจราจรตั้งแต่แยกต่างระดับประตูน้ำพระอินทร์

    ปากน้ำโพท่วมเพิ่ม

    ที่ จ.นครสวรรค์ พนังกั้นแม่น้ำพังเพิ่มเติม พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ จนน้ำข้ามถนนสายพหลโยธินตั้งแต่สี่แยกสะพานเดชาติวงศ์ไปจนถึงปั๊มน้ำมันเอส โซ่ ถนนพหลโยธินขาขึ้นเหนือ รถเล็กผ่านไม่ได้ต้องใช้รถยนต์ 6 ล้อของทหารรับส่งประชาชน ส่วนขาล่องน้ำท่วมสูงรถยนต์ทุกชนิดผ่านไม่ได้ที่สัญจรไปได้ใช้ได้เฉพาะเรือ เท่านั้น ทำให้ต้องปิดถนนพหลโยธินมาเป็นวันที่ 4 รถยนต์ที่จะเข้ากรุงเทพฯต้องเลี่ยงไปใช้เส้นทางเข้าที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เพื่อไปออกถนนพหลโยธินที่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์ บุรี หรือเข้าที่หนองเบน ไป อ.ลาดยาว ไป อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี

    นอกจากนี้น้ำจากในตลาดปาก น้ำโพได้ไหลข้ามถนนพหลโยธินเข้าท่วมรอบๆ บริเวณของห้างบิ๊กซี ศาลากลางจังหวัด เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด อัยการจังหวัด อบจ.นครสวรรค์ อุตสาหกรรมจังหวัด สนง.ตรวจเงินแผ่นดิน เรือนจำกลาง ศาลจังหวัด สถานีตำรวจภูธรจังหวัด ม.ราชภัฏ ตลาดศรีนคร หมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดถูกน้ำท่วมทั้งหมด ระดับน้ำได้สูงขึ้นเรื่อยๆ

    ขาดแคลนน้ำ-อาหารหนัก

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีผู้อพยพมากขึ้น ทำให้ต้องเปิดศูนย์ผู้อพยพเพิ่มจากเดิม 6 ศูนย์ เป็น 10 ศูนย์ แต่ละศูนย์นั้นมีประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเข้าไปอยู่กันหนาแน่น บางแห่งมากเกือบ 2 พันคน คาดว่ามีประชาชนอาศัยอยู่ตามศูนย์ผู้อพยพรวมกว่า 2 หมื่น การหาอาหารรองรับไปด้วยความทุลักทุเล ขาดแคลนน้ำอาบน้ำใช้เป็นอย่างมาก ต้องระดมรถน้ำของส่วนราชการต่างๆ เพื่อลำเลียงน้ำจากพื้นที่ที่ไม่ถูกน้ำท่วม เพื่อส่งน้ำไปให้ทุกศูนย์ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ ส่วนค่าเรือจ้างยังแพงมากจากเทศบาลนครนครสวรรค์ไปขนของแถววัดโพธารามไป 3 คน คิดค่าเรือ คนละ 200 บาท

    นอกจากนี้ผู้อพยพตามศูนย์ต่างๆ เริ่มท้องเสียและเจ็บป่วยกันบ้างแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมเริ่มเลวร้ายลงไปเรื่อยๆ เนื่องจากความสะอาดไม่เพียงพอ เกิดความแออัด ความเครียด วิตกกังวล เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ผู้อพยพต้องใช้วิธีการพูดปลอบใจ ส่วนความช่วยเหลือจากทุกสารทิศยังหลั่งไหลไปช่วยเหลือไม่ขาดสาย สำหรับปัญหาอื่นๆ ยังมีเช่นการขับเรือหางยาวที่ทำให้คลื่นซัดกระจกบ้านเรือนแตกเสียหาย นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีผู้จมน้ำเสียชีวิต 2 ราย และถูกไฟฟ้าชอร์ตเสียชีวิต 1 ราย

    ผวจ.-อปท.ระดมกู้

    ด้าน นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าฯนครสวรรค์ และ นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรี ระบุถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาว่า จะต้องบล็อกตามจุดต่างๆ ทั้งหมด แล้วใช้เครื่องสูบน้ำออก ซึ่งก็ต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าน้ำจะแห้งทั้งหมด และจะสอบสวนการพังทลายของพนังที่พังเพิ่มเติม เพราะเชื่อว่าไม่ใช่เหตุสุดวิสัยแน่นอน

    พนังกันน้ำปิงพังกลางดึก

    ก่อน หน้านี้ เมื่อเวลา 22.00 น.วันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา คันกั้นน้ำแม่น้ำปิงบริเวณป้อมหนึ่งพังลงมาทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมชุมชน วัดวรนาถบรรพต และตลาดปากน้ำโพ ทหารต้องจัดเรือออกประกาศเตือนประชาชนให้ทราบว่าน้ำจะสูงขึ้นอีก 1 เมตร แต่น้ำก็ขึ้นเร็วจนไม่สามารถเก็บของหรืออพยพออกจากที่พักได้ทัน ประชาชนส่วนใหญ่จึงต่อว่าทางจังหวัดที่ไม่มีการแจ้งเตือนภัยรวดเร็วกว่านี้ นอกจากนี้ประชาชนยังต้องทนอยู่ในสภาพที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำประปาไม่ไหล

    "อ่างทอง"น้ำทะลักพังพนัง

    สำหรับ สถานการณ์น้ำท่วมในภาคกลาง ที่จ.อ่างทอง ฝายน้ำล้นบริเวณหน้าวัดหลุมไก่ หมู่ที่ 3 ต.ศาลาแดง พังลงกว่า 10 เมตร ทำให้น้ำที่อยู่ในทุ่งลำท่าแดงสูงกว่า 5 เมตร ไหลทะลักเข้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ในเขตอ. เมืองโดยเฉพาะในพื้นที่ ต.ป่างิ้ว ต.ศาลา แดง ประชาชนต่างต้องเก็บของกันอย่างโกลาหล ส่วนที่จ.สุพรรณบุรี น้ำท่าจีนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนพื้นที่การ เกษตรถนนหลายสายถูกน้ำท่วมขัง ถนนมาลัยแมนช่วงประตูเมืองหรือคูเมืองโบราณก็ถูกน้ำล้นจากคูเมืองเข้าท่วม ถนนเป็นระยะทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร ส่วนถนนสาย 340 ทั้งขาขึ้นตั้งแต่ช่วงหน้าวัดลาวทองถูกน้ำท่วมขังกว่า 2 กิโลเมตร เจ้าหน้าที่ตั้งแนวกระสอบทรายและปิดตายถนนคู่ขนาน

    นอกจากนี้ถนนสาย 304 ฉะเชิงเทรา-นครราชสีมา ซึ่งเส้นทางเลี่ยงไปภาคอีสาน ในขณะที่สายเอเชียและพหลโยธินถูกปิดการจราจร มีรถยนต์สะสมเป็นจำนวนมาก การจราจรเริ่มติดขัด โดยเฉพาะช่วงอำเภอนาดี ตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 42-48 ซึ่งเป็นทางขึ้นเขาและลาดชั้น การจราจรสองช่องทางรถยนต์เคลื่อนตัวไปได้ช้า ส่วนสาย 33 สุวรรณศร-นครนายก-สระแก้ว เริ่มถูกน้ำท่วมขังแล้ว

    "ปลอด"เมินคนด่าตื่นตูม

    เวลา 18.00 น. ที่ศปภ. นายปลอดประ สพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ฯ ให้สัมภาษณ์กรณีถูกวิจารณ์ หลังจากแถลงข่าวเตือนเร่งอพยพประชาชนในหลายพื้นที่ จนสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนว่า ใครจะว่ายังไงก็ไม่โกรธ ยังสุขกายสบายใจ เพราะเห็นข้อมูลเองว่าประตูขาด จึงมาแจ้งเตือนเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมตัว ตนถูกด่าไม่เป็นไร คนส่งเอสเอ็มเอสให้กำลังใจก็มี แต่ที่ทำไปเพราะเห็นคุณค่าชีวิตคน นี่ถ้าเป็นเมืองนอกเตือนพลาดไม่เป็นไร ดีกว่าปล่อยให้คนตาย

    ประตูน้ำจุฬาฯวุ่น-ม็อบฮือปิด

    นาย วิม รุ่งวัฒนจินดา โฆษกศปภ. กล่าวถึงปัญหาความขัดแย้งการเปิดประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ เพื่อเร่งระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาว่า ศปภ.ให้กรมชลประทานไปเจรจากับตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อชี้แจงถึงความจำเป็นที่ต้องเปิดประตูระบายน้ำในระดับที่เพียงพอต่อการ ระบายน้ำ แต่ขณะที่ชาวบ้านไม่ต้องการให้เปิดในปริมาณที่กรม ชลประทานต้องการ จึงอยู่ระหว่างการเจรจาต่อรอง ต้องรอฟังผลความคืบหน้าก่อน ส่วนที่เกิดฝนตกหนักในกทม.เมื่อช่วงเย็น ทำให้ประชาชนวิตกกังวลว่าน้ำอาจจะท่วมกทม.ได้นั้น ขอยืนยันว่ายังอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมการระบายน้ำได้



    เร่งผันน้ำ-ปลาหาดปราณฯช็อก

    เมื่อ เวลา 10.00 น. วันที่ 14 ต.ค. ที่บริเวณชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่มีระยะทางนับสิบกิโลเมตร ได้มีชาวบ้านและนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศจำนวนมากได้พากันไปมุงดูปลานานาชนิดจำนวนมากที่ลอย ตัวอยู่เหนือผิวน้ำ คล้ายกับอาการขาดออกซิเจน นอกจากนี้น้ำทะเลยังมีสีออกแดง อันเนื่องมาจากปรากฏการณ์น้ำจืดไหลลงทะเลต่อเนื่องเป็นจำนวนมาก จนทำให้ปลาช็อกน้ำ หรือที่เรียกกันว่าน้ำเบียด

    โดยชาวบ้านและนักท่อง เที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศได้พากันนำเอาตาข่าย อวน แห และอุปกรณ์ ต่างๆ มาจับปลาที่ลอยตัวอยู่เหนือผิวน้ำกันอย่างคับคั่ง บางคนจับได้ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมาและได้จำนวนมากเป็นคันรถ

    สำหรับ ปรากฏการณ์น้ำเบียดเป็นไปตามธรรมชาติ ชาวประมงเรียกว่าน้ำเปลี่ยนสีหรือน้ำเบียด สาเหตุเกิดจากสภาวะน้ำฝนที่ตกจำนวนมากไหลลงสู่ทะเล ทำให้เกิดน้ำจืดปะทะน้ำเค็มอย่างฉับพลัน ออกซิเจนในน้ำไม่เพียงพอ สัตว์ทะเลจึงลอยขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อหายใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นช่วง 2-3 วันก็จะกลับสู่ภาวะปกติ โดยปลาส่วนใหญ่ที่ลอยตัวในแนวน้ำตื้น อาทิ ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาดุกทะเล ปลาจวด ปลาลิ้นหมา กุ้ง และปลาเล็กปลาน้อย
    [/FONT]

    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakUxTVRBMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB4TlE9PQ==-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    พระราโชวาทสมเด็จพระเทพฯ "ทุกคนต้องรู้จักดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง"


    ข่าวในพระราชสำนัก วันพุธที่ 12 ตุลาคม พุทธศักราช 2554


    วันนี้ เวลา 08.32 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีการศึกษา 2553


    ในโอกาสนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาทความว่า

    "คนทุกคนไม่ว่าจะมีฐานะความเป็นอยู่อย่างไร ประกอบอาชีพการงานใด

    ย่อมปรารถนาที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างมั่นคงในสังคมด้วยกันทั้งสิ้น

    แต่การจะทำให้ได้เช่นนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมปัจจุบัน

    ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน

    บัณฑิตผู้จะออกไปใช้ชีวิตและประกอบกิจการงานอยู่ในสังคม

    จึงต้องรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

    ว่าเป็นความเจริญหรือความเสื่อมแล้วตั้งตัวตั้งใจให้มั่นคงหนักแน่น

    ที่จะประพฤติตนปฏิบัติงานเฉพาะแต่ในทางที่ดีที่เจริญ

    ที่เป็นประโยชน์ไม่เป็นโทษเสียหายทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น

    ข้อสำคัญ ทุกคนต้องรู้จักดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

    คือประพฤติปฏิบัติให้พอเหมาะพอสมกับฐานะของตน

    ด้วยความมีสติปัญญา และความไม่ประมาท

    ถ้าทำได้ดังนี้ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและมากน้อยเพียงใด

    แต่ละคนก็จะสามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างมั่นคง

    พร้อมทั้งดำเนินชีวิตและประกอบกิจการงานให้มีความเจริญก้าวหน้าได้เสมอ"


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318435662&grpid=&catid=19&subcatid=1903-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...