เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    รวมสถานที่ติดต่อขอรับถุงยังชีพ


    รวมข้อมูลองค์กรและหน่วยงานที่่บริจาคถุงยังชีพ โดยประชาชนผู้ประสบภัยหรือชุมชนใดที่ต้องการถุงยังชีพ สามารถติดต่อขอรับบริจาคได้ที่่

    [​IMG]

    [​IMG] สำนักงานอาสากาชาด สภากาชาดไทย

    รายละเอียดการติดต่อ :

    ให้แจ้งข้อมูลไปที่มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย

    1. ทำหนังสือบันทึกข้อความถึงมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย

    เรียน รองประธาน นพ.พิชิต สุวรรณประกร

    เรื่อง ขอถุงยังชีพพระราชทาน

    2. ในรายละเอียดให้แจ้งจำนวนที่ต้องการ สถานที่ ชื่อและเบอร์ติดต่อ

    3. ส่ง fax 0-2252-8711 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-256-4427-9,0-81427-1347

    [​IMG]

    [​IMG] สภากาชาดไทย

    รายละเอียดการติดต่อ :

    ให้แจ้งข้อมูลไปที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์

    1. ทำหนังสือบันทึกข้อความถึงสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์

    เรียน ท่านผู้อำนวยการ

    เรื่อง ขอถุงยังชีพ

    2. ในรายละเอียดให้แจ้งจำนวนที่ต้องการ สถานที่ ชื่อและเบอร์ติดต่อ

    3. ส่ง fax 0-2252-7976 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-2251-7853-6,0-2256-4363-4 กด 0


    [​IMG]

    [​IMG] สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3

    รายละเอียดการติดต่อ :

    1. ให้ส่ง fax แจ้งรายละเอียดดังนี้

    เรียนผู้จัดการฝ่ายข่าว แจ้งจำนวนที่ต้องการ ที่อยู่หรือหมู่บ้าน เบอร์ติดต่อกลับ

    2. หลังจากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับเพื่อแจ้งวันเวลาที่จะนำถุงยังชีพไป แจก [กรณีนี้จะเป็นการแจกเป็นจุดใหญ่ๆ เช่น หมู่บ้านหรือชุมชนและให้ตัวแทนนำไปแจกจ่ายกันเอง]

    3. ให้ส่ง fax 0-2262-3344 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0-2262-3333


    [​IMG]

    [​IMG] สถานีวิทยุและโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5

    รายละเอียดการติดต่อ :

    ให้แจ้งผ่านทางหน่วยทหารในพื้นที่หรือศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพบก ในพื้นที่ของท่าน หรือจะประสานมาโดยตรงที่ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 1 โทร 0-2281-5443


    [​IMG]

    [​IMG] สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ (ช่อง 9)

    รายละเอียดการติดต่อ :

    ในกรณีที่มีรถมาขนสามาถเข้ามารับได้ที่ อสมท.โดยตรง ถ้าไม่สามารถเข้ามารับเองได้ให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่คุยกันเป็นเคส ๆ ไปเพื่อจัดส่ง เนื่องจากทาง อสมท. ไม่มีรถขนถุงยังชีพ มีแต่รถทำข่าวซึ่งบรรทุกได้น้อย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร 0-2201-6000


    [​IMG]

    [​IMG] สถานีวิทยุ จ.ส.100

    รายละเอียดการติดต่อ :

    จากข้อมูลที่ทางเจ้าหน้าที่แจ้งมาคือ จำนวนของบริจาคที่ทาง จ.ส.100 ได้มาจะมีจำนวนน้อยมาก ซึ่งถุงยังชีพที่แพ็คได้มากที่สุดคือ 100 ชุด ดังนั้นในกรณีที่ผู้ประสบภัยต้องการถุงยังชีพให้โทรแจ้งเข้ามาที่ 1137 หรือ *1808 (ไม่เสียค่าใช้จ่ายทุกเครือข่าย) ทางเจ้าหน้าที่จะรับเรื่องและตรวจสอบก่อนว่ายังไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปแจก จริง ๆ จึงจะจัดถุงยังชีพไปแจกให้ ถ้าในกรณีที่ไม่มีผู้บริจาคก็จะมีการไปจัดหาซื้อมาให้เอง


    [​IMG]

    [​IMG] มูลนิธิ SCG แจกสุขากระดาษ

    รายละเอียดการติดต่อ :

    กรณีบุคคลสามารถเดินทางมาติดต่อขอรับได้โดยตรงที่ มูลนิธิ SCG 1 อาคาร 10 ถนนปูนซิเมนต์ไทย บางซื่อ กรุงเทพฯ 10800 (ใกล้สถานีรถไฟฟ้าใต้ติดบางซื่อ,สถานีรถไฟบางซื่อ) โทรศัพท์ 0-2586-5506

    1 ชุด/ครัวเรื่อน ประกอบด้วย

    - ถุงดำ 10 ใบ

    - กล่อง 1 ใบ

    - กระดาษชำระ 2 ม้วน

    กรณีหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ให้ทำหนังสือถึงผู้จัดการมูลนิธิ SCG แจ้งรายละเอียดว่ามาจากหน่วยงานใด จำนวนที่ต้องการ จะไปแจกที่ไหน เบอร์ติดต่อกลับ ส่ง fax 0-2586-3910 หลังจากนั้นรออนุมัติ


    [​IMG]

    [​IMG] มูลนิธิป่อเต็กตึ้ง

    รายละเอียดการติดต่อ :

    1. ให้ติดต่อผ่านทางตู้ ปณ.ข่าว 3 โทร 0-2262-3331-3 ติดต่อได้เวลา 06.00-20.00 น.

    2. ส่งรายละเอียดซึ่งสามารถเขียนด้วยลายมือได้ แจ้งชื่อผู้ติดต่อ เบอร์โทร หมู่บ้านหรือชุมชน จำนวนของที่ต้องการ รายละเอียดสิ่งของ เช่น ถุงยังชีพ นม เป็นต้น

    3. ส่ง fax มาที่ 0-2262-3344 แต่ถ้าไม่สามารถส่ง fax ได้ก็ให้โทรแจ้งกับทางเจ้าหน้าที่โดยตรงได้เลย


    [​IMG]

    [​IMG] มูลนิธิสว่างกวนอิมธรรมสถาน [คุณเสกสรร เลิศรังสี]

    รายละเอียดการติดต่อ :

    สามารถโทรติดต่อขอความช่วยเหลือจาก คุณเสกสรร เลิศรังสี เบอร์ 0-814005-565 ได้โดยตรง


    [​IMG]

    [​IMG] บริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง

    กระทิงแดงผลิตน้ำดื่มกว่า 7,000,000 ขวด เพื่อส่งมอบให้กับผู้ประสบอุทกภัย ผ่านกองทัพเรือ โดยโรงเรียนนายเรือและบริษัทเครื่องดื่มกระทิงแดง หน่วยงานไหน หรือกลุ่มจิตอาสาที่ต้องการน้ำไปแจกจ่าย สามารถ ติดต่อได้ที่โรงเรียนนายเรือ 0-2475-7403, 0-2475-3879 (จันทร์-ศุกร์) และ 0-2475-3872 (เสาร์-อาทิตย์)

    รายละเอียดการติดต่อ :

    1. กรณีบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการขอน้ำจำนวนมากกว่า 300 ขวด

    - ให้ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดแจ้ง ชื่อและเบอร์ติดต่อ , จำนวน , และจะนำไปแจกหรือลงพื้นที่ที่ไหน

    - ส่งถึงผู้บัญชาการทหารเรือ ยื่นด้วยตนเอง หรือส่งfax ที่เบอร์ 0-2475-3805

    - หลังจากนั้นรออนุมัติและมารับน้ำ

    2. ในกรณีที่ขอรับจำนวนไม่มากประมาณ 100-300 ขวด

    - ให้ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดแจ้ง ชื่อและเบอร์ติดต่อ , จำนวน , และจะนำไปแจกหรือลงพื้นที่ที่ไหน

    - ส่งถึงผู้บัญชาการทหารเรือ สามารถมายื่นได้ด้วยตนเองและรอรับน้ำได้เลย

    - หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2475-3827



    -http://thaiflood.kapook.com/view33588.html-

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    กฟภ. แนะ 18 วิธีใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างคุ้มค่า-ปลอดภัย

    -http://hilight.kapook.com/view/64880-


    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม


    กฟภ. แนะนำวิธีใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และเป็นการใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดไปในตัวด้วย

    อย่างที่รู้กันว่า ยุคสมัยนี้ เป็นยุคแห่งไฟฟ้าอย่างแท้จริง เห็นได้จาก ถ้าหากวันไหนไฟดับ ปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นทันที เช่น หุงข้าวไม่ได้ รีดผ้าไม่ได้ เป็นต้น จากตัวอย่างที่กล่าวมา ก็พอเห็นได้ว่า ไฟฟ้าได้สร้างประโยชน์มหาศาลจริง ๆ แต่เมื่อมีประโยชน์มาก โทษก็ต้องมีมากเช่นกัน ถ้าหากใช้ไฟฟ้าไม่ถูกวิธี ก็อาจสร้างความเสียหายถึงแก่ชีวิตได้

    ดังนั้น เว็บไซต์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงได้แนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เพื่อให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัยที่สุด และเมื่อใช้ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยที่สุด ก็ส่งผลให้ใช้ปริมาณไฟฟ้าลดลงไปในตัว เป็นการประหยัดไฟฟ้าทางอ้อมอีกด้วย รวม 18 ข้อด้วยกัน ดังนี้

    [​IMG]1. ควรตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนว่าจ้างบริษัทหรือช่างที่จะดำเนินการออกแบบและเดิน สายติดตั้งระบบไฟฟ้าว่าเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความรู้ความชำนาญเท่านั้น

    [​IMG]2. อุปกรณ์การติดตั้งทางไฟฟ้าต้องเป็นชนิดที่ได้รับมาตรฐานต่างๆ เช่น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) UL, VDE, IEC เป็นต้น

    [​IMG]3. การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามกฎการเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า

    [​IMG]4. ก่อนใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องอ่านและศึกษาคู่มือแนะนำการใช้งานให้เข้าใจและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

    [​IMG]5. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเปลือกหุ้มภายนอกทำด้วยโลหะทุกชนิด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อาจมีไฟฟ้ารั่วมากับน้ำจำเป็นต้องมีการต่อสายดินภายใน บ้าน และใช้เต้าเสียบชนิดที่มีขั้วสายดินกับเต้ารับชนิดมีขั้วสายดินที่เป็น มาตรฐานเดียวกันเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ เช่น ตู้เย็น เตารีด หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า หม้อต้มน้ำร้อน กระทะไฟฟ้าเครื่องทำน้ำอุ่น เตาไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

    [​IMG]6. เมื่อร่างกายเปียกชื้น ห้ามแตะต้องส่วนที่มีไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นอันขาดเพราะอาจมีไฟรั่ว และความต้านทานไฟฟ้าของผิวหนังที่เปียกชื้นลดลงอย่างมากทำให้กระแสไฟฟ้า สามารถไหลผ่านร่างกายได้โดยสะดวก อาจทำให้เสียชีวิตได้ เช่น การใช้เครื่องทำน้ำอุ่นในการอาบน้ำ นอกจากจะต้องติดตั้งสายดินแล้ว จะต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วเพื่อเสริมการทำงานของสายดินให้ปลอดภัยยิ่ง ขึ้นด้วย

    [​IMG]7. ในการเดินสายไฟหรือลากสายไฟไปใช้งานนอกอาคารชั่วคราวหรือถาวร เช่น งานก่อสร้าง , ต่อเติม , ปรับปรุงนอกอาคาร นอกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเต้ารับนั้นจะต้องมีเครื่องตัดไฟรั่วด้วย จึงจะปลอดภัย

    [​IMG]8. ควรแยกวงจรไฟฟ้าที่น้ำอาจท่วมถึง เช่น บริเวณชั้นล่างของอาคาร เพื่อให้สามารถปลดไฟออกได้ทันทีเมื่อเกิดน้ำท่วมหรืออาจป้องกันวงจรที่แยก ออกนี้ด้วยเครื่องตัดไฟรั่วก็ได้

    [​IMG]9. หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งทางไฟฟ้าเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

    [​IMG]10. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกตสิ่งผิดปกติจากสี กลิ่น เสียง และการสัมผัสอุณหภูมิ รวมทั้งการใช้เครื่องมือง่ายๆ เช่น ไขควงหลอดไฟ เป็นต้น ตัวอย่างการสังเกต เช่น สีของสายเปลี่ยน มีกลิ่นไหม้ มีรอยเขม่า หรือรอยไหม้ มือจับสวิตช์ไฟหรือปลั๊กไฟแล้วรู้สึกอุ่นๆ เหล่านี้แสดงว่ามีความร้อนผิดปกติเกิดขึ้น อาจเกิดจากจุดต่อต่างๆ ไม่แน่นเต้าเสียบเต้ารับหลวม เป็นต้น

    [​IMG]11. อย่าพยายามใช้ไฟฟ้าหรือเปิดสวิตช์ไฟฟ้า เช่น พัดลมระบายอากาศในบริเวณที่มีไอของสารระเหยหรือก๊าซที่ไวไฟปกคลุมอยู่เต็ม พื้นที่เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ หรือไอน้ำมันเบนซิน

    [​IMG]12. ให้ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าราคาถูกที่ผลิตแบบไม่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีอายุการใช้งานสั้นแล้ว อาจไม่ปลอดภัยในการใช้งานโดยเฉพาะเรื่องอัคคีภัย

    [​IMG]13. อุปกรณ์ที่มีการเสียบปลั๊กทิ้งไว้นานๆโดยที่ไม่มีผู้ดูแล เช่น หลอดไฟทางเดินหรือบันได, หม้อแปลงไฟขนาดเล็ก (ที่เรียกกันว่าอะแดปเตอร์) เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ขนาดเล็ก เป็นต้น หากมีความจำเป็นต้องใช้ให้หลีกเลี่ยงการใช้ในบริเวณที่มีวัสดุติดไฟได้อยู่ ใกล้ๆ

    [​IMG]14. ทุกครั้งที่เลิกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ให้ปิดสวิตซ์เครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนและถอดปลั๊กออกจากเต้ารับทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดง่าย

    [​IMG]15. อย่าพยายามซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตนเองหรือโดยช่างที่ไม่มีความรู้ความ ชำนาญไม่เพียงพอเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภทจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ ตรวจสอบด้านความปลอดภัย เช่น เตาไมโครเวฟ ต้องมีการตรวจสอบของการรัวของคลื่นไมโครเวฟไม่ให้มีมากเกินอันตรายที่กำหนด หรือเครื่องใช้ที่มีสายดินต้องตรวจสอบความต่อเนื่องและฉนวนของสายดินกับสาย ศูนย์ เป็นต้น

    [​IMG]16. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือไฟฟ้าในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรทัศน์ วีดีโอ เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สื่อสาร โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ชำรุดเสียหายเมื่อมีฟ้าผ่าเกิด ขึ้นในบริเวณใกล้เคียง ให้ปิดเครื่องถอดปลั๊กรวมทั้งสายอากาศ และสายโทรศัพท์ออกจากเครื่องทุกครั้ง

    [​IMG]17. เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ควบคุมการปิด-เปิด ด้วยรีโมทคอนโทรล หรือปุ่มสัมผัสอิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ เครื่องเสียงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เมื่อปิดเครื่องจะมีไฟเลี้ยงวงจรควบคุมอยู่ตลอดเวลา จึงมักมีตัวอย่างของการเกิดอุปกรณ์ควบคุมภายในชำรุด และบางครั้งทำให้เกิดไฟลุกไหม้ทรัพย์สินเสียหายอยู่เสมอ ดั้งนั้นจึงควรถอดปลั๊ก หรือติดตั้งวงจรสวิตช์ตัดต่อวงจร เพื่อปลดไฟออกทุกครั้งที่เลิกใช้งาน

    [​IMG]18. ฝึกฝนให้รู้จักวิธีแก้ไขและป้องกันรวมทั้งช่วยเหลือปฐมพยาบาล เมื่อมีอุบัติเหตุทางไฟฟ้าเกิดขึ้น


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

    -http://hilight.kapook.com/view/64880-

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    สื่อนอก ตีข่าวน้ำท่วมไทย ทหารได้ใจประชาชน

    -http://thaiflood.kapook.com/view33626.html-

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส

    เอเอฟพี ตีข่าวทหารไทยได้ใจประชาชน ช่วยน้ำท่วม ชี้ทำวิกฤติเป็นโอกาส ลบภาพลักษณ์ในการชุมนุมเสื้อแดงเมื่อปีที่แล้ว

    วันนี้ (19 พฤศจิกายน) สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากคำพูดของ นายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิจัยจากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาแห่งสิงคโปร์ ว่า จาก เหตุการณ์น้ำท่วมที่กำลัง วิกฤติในขณะนี้ ทำให้คนไทยเห็นด้านดีของกองทัพทหาร เนื่องจากทหารหลายหมื่นนาย ได้ลงมาช่วยเหลือประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเคลียร์ถนนในช่วงน้ำท่วม การขับรถรับส่งประชาชน การเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงกรอกกระสอบทราย หรือว่าช่วยประชาชนขนของอพยพ อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

    ทางสำนักข่าวเอเอฟพียังรายงานต่อว่า ถึงแม้ว่าทหารไทยจะเสียภาพลักษณ์ไปเมื่อการชุมนุมเสื้อแดงปีทีผ่านมา แต่ในครั้งนี้ และถึงแม้ว่าในขณะนี้ จะมีความแตกแยกทางการเมือง แต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ก็สามารถฟื้นภาพลักษณ์ให้กับทหารไทย ด้วยการประนีประนอม

    ส่วนทางด้าน รศ.ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความเห็นที่ตรงกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า พลเอกประยุทธ์ วางบทบาททหารได้อย่างชาญฉลาด เพราะเขาทราบดีว่า วิกฤติน้ำท่วมจะทำให้ภาพลักษณ์ และรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีอ่อนแอลง จึงได้ให้ทหารเข้ามาช่วยเหลือประชาชน และถอยห่างเรื่องการเมืองออกมา และนอกจากนี้ ทหารยังได้รับความเชื่อใจจากประชาชนอีกครั้ง ถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์ให้แก่กองทัพในระยะยาว

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG]


    -http://www.komchadluek.net/detail/20111119/115447/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AF%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%8A%E0%B8%8A..html-





    -http://thaiflood.kapook.com/view33626.html-



    .
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    วิศวฯ มศว แนะวิธีดูแล "เครื่องมือการเกษตร"หลังน้ำลด
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 พฤศจิกายน 2554 10:27 น.

    -http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000147319-



    วิศวกรรม เครื่องกล มศว แนะวิธีดูแลรถไถนาและเครื่องมือการเกษตรหลังน้ำท่วม จังหวัดใดต้องการความช่วยเหลือ พร้อมลงพื้นที่ช่วยเกษตรกรทันที

    ดร.ประชา บุณยวานิชกุล อาจารย์ประจำภาควิชา วิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่าในภาวะอุทกภัยส่งผลกระทบถึงประชาชนทุกกลุ่มในหลายจังหวัด โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ชาวไร่ชาวนาในแถบภาคกลาง


    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="305"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="305"> [​IMG]

    </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    "ประชาชนกลุ่มนี้มีเครื่องมือทางการ เกษตรซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการประกอบอาชีพ บางคนสามารถขนย้ายเครื่องมือเหล่านั้นออกจากพื้นที่น้ำท่วมได้ แต่มีชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนจำนวนไม่น้อยต้องปล่อยให้น้ำท่วมเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านั้น ในช่วงที่น้ำเริ่มรถและสามารถเคลื่อนย้ายรถออกมาดูแลได้จึงขอให้ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนตรวจตรา รถไถเดินตามของตัวเอง ซึ่ง มีอยู่ 2 ระบบ ระบบแรกคือเครื่องยนต์ดีเซล หากน้ำท่วมเกินกว่าระดับท่อไอเสีย หรือท่อไอดีแสดงว่าน้ำเข้าตัวเครื่อง ต้องรีบถ่ายน้ำมันเครื่องและถอดเครื่องยนต์ออกมาทุกชิ้น ตรวจดูห้องเกียร์ สายพานนำมาเช็ดให้สะอาด หากเป็นรถไถเดินตามรุ่นเก่าที่ทำขึ้นนโรงงานในท้องถิ่น จะมีปัญหาบริเวณห้องเกียร์โดยเฉพาะรอยเชื่อมให้รีบเชื่อมใหม่ ถ้าเป็นรถไถเดินตามรุ่นใหม่ๆ จะไม่ค่อยมีปัญหาอย่างไรก็ตามต้องรีบถ่ายน้ำมันเครื่อง สำหรับรถไถนั่งขับขนาดใหญ่ต้องเช็คว่าน้ำเข้าหรือไม่และน้ำท่วมเกินกว่า ระดับท่อไอเสีย และท่อไอดีหรือไม่ ถ้าไม่ถึงท่อไอเสียและท่อไอดีก็ไม่มีปัญหา ประเด็นสำคัญอยู่ที่ระบบไฟฟ้า และระบบไฮโดรริกของเครื่องยนต์ ให้ตรวจดูลูกปืนที่ล้อจะต้องเช็ดทำความสะอาดลูกปืนที่ล้อด้วยจาระบีด้วย"


    ส่วนเครื่องมือทางการเกษตรอื่นๆ ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน อาทิเช่น เครื่องตัดหญ้า เครื่องพ่นยา ถ้าขนย้านไม่ทันให้ดูว่าน้ำท่วมเกินท่อไอเสียและท่อไอดีหรือไม่ และต้องตรวจดูหัวเทียนจุดระเบิด ตรวจดู ตลับลูกปืนใบมีดและต้องอัดจารบีเพื่อกันสนิม หากทางจังหวัดที่ประสบอุทกภัยหรือกลุ่มเกษตรกรกลุ่มใดต้องการให้ภาควิชา วิศวกรรมเครื่องกล มศว ไปช่วยเช็คเครื่องมือทางการเกษตรให้รวมกลุ่มกัน ติดต่อมาได้ที่ ศูนย์สารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ มศว โทร. 0-2649-5000 ต่อ 5666














    -http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9540000147319-

    .
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ขนส่งเตือนป้ายหายน้ำท่วม ต้องทำใหม่ภายใน 15 วัน






    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ชาวบ้านหารายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากน้ำท่วม เก็บป้ายทะเบียนรถรอเจ้าของมารับคืน ขณะที่กรมขนส่ง เตือน หากทำป้ายทะเบียนปลอมโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

    ในสถานการณ์น้ำท่วมเช่นนี้ ส่งผลให้รถจำนวนมากต้องจอดจมอยู่ใต้น้ำ เป็นเหตุให้แผ่นป้ายทะเบียนรถหายไปเป็นจำนวนมาก ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก จึงออกมาระบุว่า หากป้ายทะเบียนรถสูญหายจะต้องมาทำป้ายใหม่ภายใน 15 วัน โดยไม่ต้องแจ้งความกับตำรวจ และสามารถแจ้งโดยตรงกับสำนักงานขนส่งได้ทันที แต่ต้องนำบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน มาดำเนินการ หากมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้โดยมีค่าใช้จ่าย 100 บาท

    นอกจากนี้ กรมการขนส่งยังเตือนว่า หากมีการนำทะเบียนรถยนต์ไปสวมทับรถที่ผิดกฎหมาย ถือเป็นการทำป้ายทะเบียนปลอม จะมีโทษจำคุก 6 เดือนถึง 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

    ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่คลอง 3 ต.บึงยี่โถ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ได้ใช้เวลาว่างในช่วงที่ไม่สามารถประกอบการอาชีพประจำได้ ทำการเก็บรวบรวมป้ายทะเบียนมาวางริมถนนเพื่อรอเจ้าของมารับคืน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะตอบแทนด้วยการให้สินน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ในขณะที่ยังไม่สามารถประกอบอาชีพได้นี้ ก็ถือเป็นการช่วยเหลือกันไป

    ทั้งนี้ ผู้ขับขี่รถยนต์สามารถตรวจสอบป้ายทะเบียนรถที่หล่นหาย ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1197 พร้อมนำเอกสารยืนยันความเป็นเจ้าของรถ โดยนำบัตรประจำตัวประชาชนไปติดต่อได้ที่กองกำกับการ 3 บก.จร.





    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG]

    -http://news.thaipbs.or.th/content/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-



    -http://thaiflood.kapook.com/view33678.html-


    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    คำรณวิทย์ รับ เห็นใจชาวลำลูกกา น้ำท่วมขังนาน


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]


    คำรณวิทย์ รับ เห็นใจชาวลำลูกกา (ไอเอ็นเอ็น)

    รอง ผบช.ภ.1 เผย หลังเจราจาชาวลำลูกกา วานนี้ (19 พ.ย.) สถานการณ์ยังปกติดี ชาวบ้านออกมาสังเกตการณ์วันหยุด ยอมรับ เห็นใจชาวบ้าน เหตุน้ำท่วมขังนาน

    เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาคที่ 1 เปิดเผยความคืบหน้า หลังจากกรุงเทพมหานคร ยอมรับข้อเสนอของชาว อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี เปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง คือ ประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ 1.05 เมตร เปิดประตูระบายน้ำคลองลำหม้อแตก จาก 20 เซนติเมตร เป็น 50 เซนติเมตร และเปิดประตูระบายน้ำคลองสอง จาก 1 เมตร เป็น 1.20 เมตร โดยหลังจากที่ได้มีการตกลงกันแล้ว ขณะนี้สถานการณ์ยังเรียบร้อยดี

    โดย ในเช้าวันนี้ (20 พฤศจิกายน) ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ มีกลุ่มชาวบ้านใน อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี จำนวนไม่มาก เดินทางมาดูสถานการณ์ที่บริเวณประตูระบายน้ำ พร้อมกันนี้ ยังกล่าวด้วยว่า ผลการเจรจาเมื่อวานที่ผ่านมาเป็นไปในแนวทางที่ดี และหลังจากนี้ ทางกรมชลประทาน และ กทม. ต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา และเมื่อมีการยอมรับในข้อเสนอของชาวบ้านแล้วก็ต้องทำให้ได้

    ทั้ง นี้ ส่วนตัวยอมรับว่าเห็นใจชาวบ้าน เนื่องจากในพื้นที่เป็นพื้นที่รับน้ำ และต้องทนอยู่กับน้ำที่ท่วมขังมาเป็นเวลานานนับเดือน จึงเห็นว่าหากรัฐบาลสามารถดำเนินการเยียวยา หรือช่วยเหลือชาวบ้านได้ ก็ขอให้ดำเนินการทันที ขณะเดียวกัน ชาวบ้านในพื้นที่ได้ขอความร่วมมือให้ทางเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกด้าน การเดินทางเข้า - ออก


    [​IMG]



    [19 พฤศจิกายน] ลงตัว! ถกลำลูกกา-สายไหม ศปภ.รับทุกข้อเสนอ

    สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม

    การเจรจา 4 ฝ่าย ลำลูกกา-สายไหม ศปภ. และ กทม. เรียบร้อยดี ศปภ. รับข้อเสนอทุกข้อ เปิดประตูระบายน้ำ 3 จุด

    เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2554 บรรยากาศ ก่อนการเจรจา 2 ฝ่าย ระหว่าง ชาวบ้านเขตสายไหมและชาวบ้านลำลูกกา โดยมี ศปภ. เป็นสื่อกลางในการเจราจร บริเวณบิ๊กซี คลองสี่ ขณะนี้ มวลชนได้เดินทางเข้ามาร่วมฟังการเจรจากันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ชาวบ้านลำลูกกา ได้มีการตั้งโต๊ะ กางแผนที่หารือ ที่จะมีขึ้นในเวลา 12.00 น. โดยจัดการเจรจา นัดแรกกับทาง กทม. ได้มีการทำข้อตกลงไว้ 3 ข้อคือ เปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ การทำฝายน้ำล้น การเยียวยาชาวลำลูกกา ซึ่งทาง กทม. ได้มีการเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์แล้ว 1 เมตร ตามข้อตกลงแล้ว 1 ข้อ แต่การเจรจาในวันนี้ (19 พฤศจิกายน) ชาวบ้านต้องการความชัดเจนใน 2 หลัง คือ การทำฝายน้ำล้น และการเยียวยาชาวลำลูกกา และบรรยากาศล่าสุดในขณะนี้ ก็กำลังรอ เจ้าหน้าที่จาก ศปภ. เดินทางมาเจรจาในส่วนนี้

    ทั้งนี้ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ในฐานะ โฆษก ศปภ. เปิดเผยก่อนการเข้าประชุมเจรจา ระหว่างชาวบ้านลำลูกกา ที่ยื่นข้องเรียกร้อง 3 ข้อ กับชาวบ้านฝั่งเขตสายไหมว่า การเจรจาต้องจบในวันนี้ และมั่นใจว่า จะไม่มีเหตุการณ์ทำลายแนวคันกั้นน้ำเกิดขึ้นอีก โดยในการประชุมวันนี้ มีตัวแทนจาก 4 ฝ่าย คือ ศปภ. , ตำรวจภูธรภาค 1 คือ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 , นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร และตัวแทนชาวบ้านลำลูกกา และเขตสายไหม โดยในขณะนี้มีการเจรจาผ่านไปกว่าเกือบชั่วโมงแล้ว และจะมีการจัดแถลงข่าวถึงผลการเจรจา ส่วนความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบต่อไป

    ต่อมา เวลา 16.00 น. หลังจากมีการร่วมเจรจาเพื่อหาข้อยุติระหว่างชาวบ้านลำลูกกา และชาวบ้านเขตสายไหม โดยมีตัวแทนจาก ศปภ. กทม. ผู้ว่าฯ ปทุมธานี ตำรวจภูธรภาคที่ 1 และตัวแทนจากชาวบ้านลำลูกกา และเขตสายไหม ร่วมกันเจรจา โดยทาง พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โฆษก ศปภ. ได้เปิดแถลงข่าวถึงข้อสรุปว่า วันนี้ทางชาวบ้านทั้ง 2 ฝ่าย ได้ยอมรับผลการเจรจาร่วมกันด้วยดี

    โดยจะเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง คือ ประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เปิด 1 เมตรตลอด ประตูระบายน้ำลำหม้อแตก เปิด 50 ซม. ประตูระบายน้ำคลองสอง เปิด 1.20 เมตร จะทำให้ระดับน้ำลดลงวันละ 3-5 ซ.ม. ส่วนมาตรการเยียวยา ทาง โฆษก ศปภ.จะรับเรื่องไปหารือกับทางรัฐบาลอีกครั้ง แต่ยืนยันว่า เงินเยียวยาครอบครัวละ 5,000 บาท จะดำเนินการและรับเงินชุดแรก ภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน นี้




    [​IMG]

    [17 พฤศจิกายน] ป่วน! มือดีปาวัตถุคล้ายระเบิดใส่ชาวคลองหกวา เจ็บ 6

    [​IMG]


    ป่วน! มือดีปาวัตถุคล้ายระเบิดใส่ ปชช.ที่ คลองหกวา เจ็บ 6 (ไอเอ็นเอ็น)
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก บริษัทแพรคติก้า

    มือป่วนปาวัตถุคล้ายระเบิด ใส่ชาวบ้านคลองหกวา ด้านเจ้าหน้าที่ อปพร ได้รับบาดเจ็บ 6 คน

    วันนี้ (17 พฤศจิกายน) เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. ที่ผ่านมา สถานการณ์ล่าสุด ที่บริเวณแนวคันกั้นน้ำบริเวณริมคลองหกวาสายล่าง เขตสายไหม หลังจากที่มีชาวบ้านสายไหมกว่า 100 คน ได้ช่วยกันซ่อมแนวกระสอบทรายที่พังลงกว่า 100 เมตร เสร็จสิ้น แต่ยังมีการรวมตัวกันอยู่ในบริเวณนี้นั้น ก็ได้มีเสียงดังขึ้นคล้ายเสียงระเบิด ซึ่งภายหลังจากเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.สายไหม ก็ได้เข้าไปตรวจสอบพบว่า เป็นลักษณะของก้อนอิฐที่พันติดกับดินปืน และโยนเข้ามาบนสะพานข้ามคลองหกวา โดยคาดว่า เหตุดังกล่าวเป็นฝีมือของกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่ต้องการสร้างสถานการณ์เท่า นั้น

    ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้กลุ่มชาวบ้านสายไหม และเจ้าหน้าที่ อปพร. ที่ยืนอยู่ในบริเวณใกล้เคียงจำนวน 6 คน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยจากเศษก้อนอิฐที่แตกกระจายออกมาถูกตามแขนและขา อย่างไรก็ตาม หลังจากเกิดเหตุ ได้มีเจ้าหน้าที่ตำรวจกองร้อยควบคุมฝูงชน กองบังคับการตำรวจนครบาล 2 จำนวนหนึ่ง มาคอยดูแล และเฝ้าสังเกตการณ์ในบริเวณนี้อย่างใกล้ชิดแล้ว

    [​IMG] ชาวลำลูกกาบุกรื้อกระสอบทรายคลองหกวา


    ชาว บ้านลำลูกกา กว่า 200 คน บุกรื้อแนวกระสอบทราย ริมคลองหกวา โวย น้ำเริ่มเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็น จี้ เปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ด้วย

    ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณ อ.ลำลูกกา กว่า 200 คน บุกรื้อแนวกระสอบทราย บริเวณคลองหกวา พร้อมกับ เรียกร้องให้มีการเปิดประตูระบายน้ำ ตรงบริเวณประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ขึ้น 20 ซ.ม. และต้องการความชัดเจนในการจัดการบริหารน้ำ พร้อมกับ แนวทางการช่วยเหลือประชาชน เนื่องจากบริเวณดังกล่าว น้ำได้เริ่มมีกลิ่นและเน่าเสีย กระทบกับความเป็นอยู่กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ดังกล่าวกันเป็น จำนวนมาก รวมไปถึง ได้มีการเรียกร้องให้เปลี่ยนจากแนวกระสอบทรายกั้นน้ำ เป็นฝายชะลอน้ำแทน ทั้งนี้ ผู้อำนวยการเขตสายไหม ก็ได้เดินทางเข้าไปเจรจากับชาวบ้านที่มารวมกลุ่มกัน โดยเบื้องต้นนั้นจะมีการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาสุเรนทร์ ขึ้นบางส่วน


    ขณะที่ สถานการณ์เริ่มมีความวุ่นวายมากขึ้น เนื่องจากประชาชน ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ส่วนระดับน้ำที่ไหลผ่านแนวกระสอบทรายนั้น จะไหลลงไปยัง คลองหกวาสายล่าง เข้าท่วมบริเวณตลาดวงศกรและโรงพยาบาลสายไหม

    -http://thaiflood.kapook.com/view33445.html-

    --------------------------------------------------------------------


    บิ๊กคิงส์ บางใหญ่ น้ำลดเหลือ 40-50 ซม. จุดอื่นยังสูง


    บิ๊กคิงส์ บางใหญ่ น้ำลดเหลือ 40-50 ซม. (ไอเอ็นเอ็น)

    นายอำเภอบางใหญ่ เผย หน้าบิ๊กคิงส์ บางใหญ่ น้ำลดเหลือ 40 - 50 ซม. แต่ตามซอยน้ำยังท่วมสูง แม้จะลดแล้ว

    เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร นายอำเภอบางใหญ่ จ.นนทบุรี เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำล่าสุดที่ อ.บางใหญ่ ในขณะนี้ว่า อ.บางใหญ่ น้ำท่วมร่วม 2 เดือนแล้ว โดยระดับน้ำที่ ต.บ้านใหม่ ถือว่าสูงที่สุดของ อ.บางใหญ่ คืออยู่ที่ความสูงประมาณ 2 - 2.50 เมตร ขณะที่บนถนนกาญจนาภิเษก ระดับน้ำมากที่สุดอยู่ที่ 1.50 เมตร

    ส่วนที่บริเวณหน้าบิ๊กคิงส์ บางใหญ่ น้ำลดลงเหลือ 40 - 50 เซนติเมตร ส่วนตามซอยต่าง ๆ ระดับน้ำยังท่วมสูงอยู่ โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 50 - 70 เซนติเมตร ภาพรวมถือว่าระดับน้ำลดลง อันเป็นผลมาจากการเร่งระบายน้ำลงสู่คลองมหาสวัสดิ์ และคลองสาขาต่าง ๆ

    แต่ อย่างไรก็ตาม ภายใน 3 - 4 วันนี้ ถือว่าเป็นช่วงที่น้ำทะเลลงต่ำสุด จึงเป็นโอกาสทองที่ อ.บางใหญ่ ที่จะสูบน้ำที่ท่วมขังลงสู่คลองบางใหญ่ คลองอ้อม คลองบางกอกน้อย แลคลองสาขาต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับคลองมหาสวัสดิ์



    [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view33682.html-

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    เปิดคู่มือ "ทำความสะอาดบ้าน" ฉบับเข้มข้น ขจัดคราบน้ำท่วม "ด้วยตัวเอง"










    ถึงตอนนี้ระดับน้ำในหลายพื้นที่เริ่มลดลง ผู้คนเริ่มทยอยกลับเข้าบ้าน

    บ้านหลังเดิมที่อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สำหรับบ้านที่ไม่ได้ยกข้าวของเครื่องใช้ก่อนเผ่นออกจากบ้าน อาจจะต้องทำใจสักพักหนึ่งก่อนจะก้าวเข้าไปชมผลงานที่น้องน้ำฝากไว้

    น้ำจอมพลังที่อาจจะเคลื่อนย้ายทุกสิ่งทุกอย่างในบ้าน โยกไปคนละทิศละทาง กองระเกะระกะอยู่ทั่วบ้าน สภาพไม่เหมือนเดิมแน่นอน หรืออาจจะแค่ฝากคราบสกปรกไว้ตามพื้น ผนัง และขอบโต๊ะเก้าอี้ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและระยะเวลาที่น้ำคงอยู่

    ฉะนั้น ควรตั้งสติให้มั่นแล้วค่อย ๆ เดินกลับเข้าบ้านอย่างระมัดระวัง

    มีขั้นตอนและวิธีการที่จะเข้าไปจัดการบ้านหรือที่อยู่อาศัย หลังจากที่น้ำท่วมขังมาเป็นเวลานานนับเดือนนั้น ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่ต้องจัดการอย่างระมัดระวัง

    กมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสต์ เพียร์เลส (ไทยแลนด์) 1968 จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการทำความสะอาดแบบครบวงจรมานานกว่า 40 ปี แนะนำวิธีทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลดด้วยตัวเองไว้อย่างน่าสนใจ

    เตรียมพร้อมก่อนเข้าบ้าน

    เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อาทิ แว่นตาช่าง, หน้ากากกรองฝุ่น, ผ้าปิดปากปิดจมูก, ถุงมือยาง, รองเท้าบูต, ไฟฉาย และหมวกนิรภัย

    จากนั้นแต่งกายให้พร้อมก่อนเข้าไปในตัวบ้าน สิ่งสำคัญคือห้ามประมาทและอย่าเข้าไปคนเดียว ต้องมีคนไปเป็นเพื่อน และต้องมีคนรออยู่ด้านนอก เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น

    ขั้นตอนก่อนเข้าไปยังตัวบ้านให้ปฏิบัติดังนี้

    1.ก่อนเข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือน ให้เดินดูบริเวณรอบ ๆ บ้านก่อน โดยสำรวจพิจารณาดูโครงสร้างที่อาจจะเสียหายเป็นอันตรายก่อนตัดสินใจที่จะ เข้าไป

    2.ระวังเรื่องสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวบ้าน

    3.สังเกตดูรอยร้าว หรือการบิดตัวของโครงสร้างก่อนตัดสินใจเข้าไป

    4.ตรวจดูที่จัดเก็บถังแก๊ส มองหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะมีการรั่วซึม

    5.ตรวจสอบการจ่ายไฟให้แน่ใจว่า ไฟฟ้ายังไม่ได้จ่ายกระแสเข้าไปในบ้าน โดยการดูที่คัตเอาต์ว่ายังมีการสับสวิตช์ลงอยู่หรือไม่

    6.เปิดประตูให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อย่าเหยียบเข้าบ้านทันที ให้สังเกตพื้นบ้าน ลองค่อย ๆ ใช้เท้าทิ้งน้ำหนักเพื่อทดสอบก่อน

    7.สังเกตดูเพดานว่ามีการอมน้ำ แอ่นท้องช้าง หรือมีคราบน้ำอยู่หรือไม่ เพราะเพดานอาจพังทลายลงมาได้เมื่อมีการเคลื่อนไหวให้ระมัดระวัง

    ตรวจเช็กเชื้อโรค-ระบบไฟฟ้า

    ขั้นตอนของการทำความสะอาด ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก

    "ต้องคำนึงถึงการกำจัดการฆ่าเชื้อโรคเชื้อราที่เราอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตา เปล่า จากการสัมผัสหรือหายใจเอาเชื้อเหล่านี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัว" กมลพรรณย้ำ

    ดังนั้น ต้องคำนึงถึงการป้องกันตนเอง เช่น การใส่ถุงมือยาง และรองเท้าบูต ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคเชื้อรา, ป้องกันการสัมผัสสารเคมี รวมถึงป้องกันไฟดูด รวมทั้งคาดผ้าปิดจมูกและปากที่ช่วยป้องกันการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราและไอ ระเหยของสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

    ในระหว่างการทำ ความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด โดยอาจเปิดพัดลมเพดานช่วยระบายอากาศ

    ข้อห้ามคือ ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อโรคต่าง ๆ จะถูกดูดเข้าไปอยู่ในระบบปรับอากาศ และจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อราต่อไป ถือเป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น

    จากนั้นก็มาเริ่มที่ระบบไฟฟ้าของทั้งบ้าน ซึ่งจะต้องถูกปิดทันทีที่น้ำท่วมบ้าน ดังนั้นระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะต้องจัดการทันทีที่น้ำลด โดยให้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาตรวจสอบและซ่อมแซมให้หมดก่อนจึงจะสามารถกลับไปใช้ ไฟฟ้าได้

    บางครั้งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด และสายไฟจะต้องแห้งสนิท รวมทั้งสวิตช์ไฟ, เต้าเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะมีโคลนตมและตะกอนที่มากับน้ำเข้าไปอยู่ จึงต้องมีการตรวจเช็กระบบอย่างละเอียด

    ระบบเครื่องปรับอากาศ หลังน้ำลดต้องเรียกช่างแอร์มืออาชีพมาตรวจเช็กระบบเครื่องปรับอากาศภายในบ้านทั้งหมด พร้อมทั้งทำความสะอาดท่อ

    ต่าง ๆ, แผ่นกรองอากาศ เปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำ ฯลฯ เมื่อช่างแก้ไขให้เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ซีลปิดไว้ก่อนจึงจะเริ่มการทำความ สะอาดบ้าน

    อย่าลืมว่าก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศต้องทำความสะอาดบ้านจนเสร็จเรียบร้อยพร้อมกลับเข้าไปอยู่แล้วเท่านั้น

    ถึงเวลาลงมือทำ

    หลังจากตรวจเช็กทุกอย่างจนแน่ใจแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำความสะอาดขนานใหญ่ โดยเริ่มตามโปรแกรมดังนี้

    1.เริ่มด้วยการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อสะดวกในการจัดการกับโคลนตมที่มากับน้ำ ให้ใช้พลั่วตักดินโคลนออกจากพื้นบ้านให้ได้มากที่สุด

    จากนั้นจึงใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (ถ้ามี) หรือสายยางฉีดน้ำเพื่อชะล้างโคลนออกจากพื้นผิว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยผ่อนแรงได้มากคือ ไม้ปาดน้ำ หากไม่มีและพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถใช้ผ้าขนหนูทำเป็นผ้าลากน้ำได้ โดยเน้นการกำจัดดินโคลนออกไปให้หมด

    2.เรื่องของพื้น หากพื้นบ้านของท่านมีการใช้วัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไวนิล, เสื่อน้ำมัน, พรม, ปาร์เกต์ ฯลฯ มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อวัสดุปูพื้นเหล่านั้นออกเพื่อให้พื้นด้านล่างแห้ง ซึ่งกว่าจะแห้งสนิทอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร

    การทำความสะอาดพื้นทุกชนิด ต้องพิจารณาดูตามความเหมาะสมของพื้น โดยทั่วไป ๆ สามารถใช้น้ำผสมคลอรีนในอัตราส่วน 0.1% (1 CC ต่อน้ำ 1,000 CC) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณก่อนแล้วจึงขัดถูพื้นด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ขัดถูให้ทั่วบริเวณแล้วจึงราดด้วยน้ำร้อนเดือด ๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ซึ่งต้องอ่านฉลากวิธีใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

    หากเป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ กำจัดกลิ่น กำจัดคราบไขมันได้

    ข้อดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คือ สารชีวภาพเอนไซม์นั้นจะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่ จากความชื้นต่อไปได้อีกนานประมาณ 3-6 เดือน ตราบที่พื้นยังมีความชื้นอยู่ และที่สำคัญสารชีวภาพเอนไซม์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

    สำหรับพื้นบ้านที่ปูพรม ถ้าพื้นบ้านที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมหรือน้ำเสีย ควรจะตัดใจกำจัดทิ้งไปเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ เพราะพรมเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอย่างดี

    การทำความสะอาดพรมด้วยตัวเองเป็นเรื่องยาก ต้องใช้มืออาชีพที่เชื่อถือได้ว่าจะใช้น้ำยาซักพรมที่ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่น และใช้เครื่องมือซักพรมชนิดพิเศษที่สามารถทำความสะอาดได้ล้ำลึก แต่ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดค่อนข้างสูง ควรพิจารณาให้ดี

    (ที่มา:ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 21-23 พ.ย.2554)



    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1321698292&grpid=&catid=02&subcatid=0202-

    .

    เปิดคู่มือ "ทำความสะอาดบ้าน" ฉบับเข้มข้น ขจัดคราบน้ำท่วม "ด้วยตัวเอง" : มติชนออนไลน์

    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    ใจชื้น! กรมชลฯ ยันคนฝั่งตะวันตกกลับบ้านได้ต้นเดือน ธ.ค.




    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    รมว. เกษตร ลงพื้นที่ติดตามการระบายน้ำฝั่งตะวันตก ลั่นถ้าเป็นไปตามแผน สามารถกลับเข้าบ้านได้ภายในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคมแน่นอน

    วันนี้ (21 พฤศจิกายน) นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ทางฝั่งตะวันตก บริเวณสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ในพื้นที่คลองทวีวัฒนาและคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อติดตามการจัดการน้ำทางฝั่งตะวันตกตามแผนที่วางไว้ โดยจะเริ่มลดการระบายน้ำจากประตูน้ำพลเทพ เพื่อปล่อยน้ำลงแม่น้ำท่าจีน รวมไปถึงการกู้คันกั้นน้ำที่พังเสียหายในฝั่งตะวันตก อีก 1 จุด จากเดิมที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไป 11 จุด

    ทั้งนี้่ นายธีระ ยังกล่าวอีกว่า ต่อจากนี้จะเร่งระดมสูบน้ำลงแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งทางกรมชลคาดว่า ถ้าหากการระบายน้ำเป็นไปตามแผน ประชาชนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกก็สามารถกลับเข้าบ้านได้ ภายในสัปดาห์แรกของเดือนธันวาคม

    อย่างไรก็ตาม จากการเปิดประตูระบายน้ำคลองทวีวัฒนากว้าง 50 เซนติเมตร เพื่อดึงน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์เข้ามานั้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในคลองมหาสวัสดิ์ลดลงประมาณ 30 เซนติเมตร ทำให้ประชาชนในละแวกดังกล่าวต่างพอใจกับการระบายน้ำจากคลองมหาสวัสดิ์เข้า สู่คลองทวีวัฒนาเพิ่มขึ้น

    [​IMG] ผู้ว่าฯ ฟันธง สิ้นปีนี้ กทม.แห้งทุกพื้นที่!


    ผู้ ว่าฯ มั่นใจ ภายในสิ้นปี ทั่วทุกพื้นที่ กทม. จะไม่มีน้ำท่วม ทางด้านชาวบ้านเขตสายไหมพอใจ เปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง ทำให้ระดับน้ำลด

    วาน นี้ (20 พฤศจิกายน) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ลงตรวจพื้นที่ระดับน้ำที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยา สุเรนทร์พบว่า ตลอดถนนสุขาภิบาล 5 ยังคงมีน้ำขังระดับ 30-50 ซม. และมีหน่วยแพทย์ของโรงพยาบาลตำรวจ ออกบริการตรวจรักษาโรคแก่ประชาชน พร้อมเหล่าทหารขับรถให้บริการรับ-ส่ง ประชาชนตลอดเส้นทาง ส่วนทางด้านสะพานเฉลิมพงศ์ ที่เชื่อมต่อระหว่าง อ.ลำลูกกา กับเขตสายไหม พบว่าระดับน้ำที่เขตสายไหมต่ำกว่าพนังกั้นน้ำ และชาวบ้านรู้สึกพอใจที่ระดับน้ำลดลงแล้ว

    ผู้ ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวบ้านลำลูกกา และชาวบ้านสายไหมตกลงกันได้ ในการเปิดประตูระบายน้ำ 3 แห่ง และจากการตรวจสอบวันนี้พบว่า การเปิดประตูระบายน้ำคลองหกวาสายล่างนั้น ยังไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทั้งสองฝั่งมากสักเท่าไร มีเพียงระดับน้ำในคลองพร้าว บางบัว ที่สูงขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบางชันที่หลายคนเป็นกังวล ตอนนี้ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังกล่าวต่อว่า สำหรับข่าวที่ผู้ประสบภัยที่มีข่าวว่าต้องลงทะเบียนภายในวันที่ 23 ธันวาคมนั้น ว่าไม่เป็นความจริง ทางกทม. ยังไม่กำหนดวันหยุดรับเรื่องร้องเรียนแต่อย่างใด ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังคงไม่ปกติ และที่มีการระบุว่า ให้ถ่ายรูปบ้านที่ถูกน้ำท่วม หรือต้องแจ้งความนั้น ก็ไม่เป็นความจริง มีเพียงแต่เรื่องที่ผู้เช่าบ้านถูกน้ำท่วม ต้องหลักฐานยืนยันว่าเช่าบ้านจริงเท่านั้น ที่เป็นข้อมูลจริง

    อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าฯ กทม. ยังกล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมกทม.ว่า ต่อจากนี้ไป สถานการณ์จะคลี่คลายขึ้น และตนมั่นใจว่าภายในวันที่ 31 ทั่วทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ จะไม่มีน้ำขังหลงเหลืออยู่เลย


    [​IMG] กทม.จ่อใช้คลองตาอูฐเป็นเส้นทางระบาย

    ผอ.การระบายน้ำ เผย เตรียมใช้คลองตาอูฐ เป็นเส้นทางระบายหลักอีกช่องทางหนึ่ง ยืนยัน กทม. จะเร่งสูบน้ำตามการเรียกร้องโดยเร็วที่สุด

    นายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักการระบายน้ำ กทม. เปิดเผยว่า ล่าสุด สำนักการระบายน้ำได้ลงพื้นที่สำรวจ และวางแผนการระบายน้ำในพื้นที่เขตดอนเมือง โดยเตรียมใช้คลองตาอูฐ เป็นเส้นทางระบายหลัก อีกช่องทางหนึ่ง โดยเตรียมติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมเพื่อเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่

    อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระดับน้ำบริเวณประตูระบายน้ำคลองดังกล่าว มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก หากสูบน้ำออกไป โดยไม่วางแผนป้องกัน อาจส่งผลทำให้น้ำวนกลับเข้ามาในพื้นที่ได้อีก กทม. จึงจำเป็นต้องวางแผนเตรียมการอย่างรอบคอบ

    ทั้งนี้ กทม. จะเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ ตามที่มีการเรียกร้องโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ขณะเดียวกัน ในส่วนของการเยียวยา เฉพาะหน้านั้น วันนี้ กทม. ยังได้นำถุงยังชีพไปแจกจ่ายให้แก่ประชาชนรวมทั้งสิ้นกว่า 1,500 ชุดแล้ว


    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]



    -http://thaiflood.kapook.com/view33346.html-

    .
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ป้องกันเชื้อโรคเชื้อราขณะล้างบ้านหลังน้ำลด



    หลังจากน้ำลดลง บางพื้นที่เจ้าของบ้านสามารถเดินทางกลับเข้าบ้านอันแสนรักของตนเองได้แล้ว โดยหลังจากสำรวจความเสียหายของโครงสร้างและเฟอร์นิเจอร์ชิ้นน้อยใหญ่แล้ว งานช้างที่ต้องทำก็คือ การทำความสะอาดบ้าน หรือ บิ๊กคลีนนิ่งเดย์

    นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่และโฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ที่จะทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด ควรระวังเชื้อโรค เชื้อรา ที่อาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเชื้อราที่เกาะตามส่วนต่างๆ ของบ้าน อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อหรือมีอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือผู้ที่มีภูมิต้านทานไม่ดี

    ทั้งนี้ หลังน้ำลด อาคารและบ้านจะมีเชื้อราเกาะตามบริเวณที่ชื้นอับ เชื้อราเหล่านี้จะปล่อยละอองสารบางอย่างล่องลอยในอากาศทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา จมูก ภูมิแพ้ หรือโรคระบบทางเดินหายใจในคนได้โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ

    กรมควบคุมโรคจึงแนะนำหลักการทำความสะอาดเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด โดยผู้ที่ร่างกายอ่อนแอหรือมีภูมิต้านทานไม่ดี เช่น ป่วยเบาหวาน กินยาสเตียร์ลอยด์ ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ทานยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยที่รักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือยา หรือมีโรคหอบ หืด ประจำตัว รวมถึงเด็กและผู้สูงอายุ ไม่ควรเข้าไปในบ้านก่อนที่จะมีการทำความสะอาดจนเรียบร้อย

    ก่อนทำควรเปิดหน้าต่างให้มีอากาศถ่ายเทดีอย่างน้อย 30 นาที สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ แว่นตาครอบ รองเท้ายาง เพื่อมิให้สัมผัสกับเชื้อราที่ล่องลอยในอากาศหรือตามพื้น ให้หยุดพักออกมาหายใจอากาศบริสุทธิ์ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง เพื่อลดการสูดดมเชื้อรา

    การทำความสะอาดควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำแรงดันสูงฉีด เพราะจะทำให้เชื้อราฟุ้งกระจาย ควรใช้ผ้าชุบน้ำสบู่เช็ดไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อออกดีแล้วควรเช็ดตามด้วยน้ำผสมคลอรีนหรือน้ำยาฟอกผ้าขาวที่มีขายทั่วไป

    ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำความสะอาดแล้วควรนำมาตากแดดให้แห้งสนิท ควรให้แดดส่องเข้าบ้าน เพื่อไล่ความชื้นให้หมด

    ส่วนเครื่องปรับอากาศไม่ควรเปิดก่อนการทำความสะอาดโดยเด็ดขาด เพราะเชื้อโรคจะถูกดูดเข้าไปในระบบปรับอากาศ และกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อได้ และควรจะเปลี่ยน filter ของเครื่องปรับอากาศด้วย

    ภายหลังกิจกรรมทำความสะอาดหรือเข้าอยู่อาศัยแล้ว หากมีสมาชิกในบ้านโดยเฉพาะเด็ก คนชรา คนที่มีโรคประจำตัว มีอากาศระบบทางเดินหายใจ มีอาการแพ้ไอ หอบ เหนื่อย หรือโรคประจำเดิมกำเริบ ควรปรึกษาสถานบริการสุขภาพใกล้บ้าน.

    ทีมเดลินิวส์ออนไลน์


    -http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=424&contentId=177332-

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    เฮ! รัฐจ่ายช่วยน้ำท่วม 2 เด้ง เพิ่มค่าซ่อมบ้านตามความเสียหาย


    <table class="mainmap" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="100%"><tbody><tr><td width="62%">
    </td> <td width="32%"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" width="33%"> Share2129 </td> <td align="center" width="33%">
    </td> <td align="center" width="33%">
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1000"> <tbody><tr> <td width="660">

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส

    เงิน เยียวยาน้ำท่วมได้ 2 ต่อ ส่วนแรกรับ 5,000 ทุกครัวเรือน ส่วนที่สองรับเงินตามความเสียหายของสภาพบ้าน ไม่รวมเฟอร์นิเจอร์ วงเงินไม่เกิน 30,000 เสียหายทั้งหลังได้ 240,000 บาท

    วานนี้ (24 พฤศจิกายน) นายศุภชัย แสนยุติธรรม ผอ.สำนักงานส่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิภาค ได้เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ที่จะรับเงินเยียวยาผู้ประสบภัยว่า เงินดังกล่าวจะแยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่...

    ส่วนที่ 1 ผู้ประสบภัยจะได้รับการเยียวยาเบื้องต้น 5,000 บาท ซึ่ง กรณีนี้จะได้รับ 1 ครัวเรือนต่อ 1 สิทธิ โดยคนที่เป็นเจ้าของบ้านสามารถเข้าไปยื่นเรื่องได้ด้วยตัวเอง หรือหากไม่สามารถยื่นได้ก็ต้องมอบอำนาจให้คนในครัวเรือนไปดำเนินการแทน ทั้งนี้ ถ้าหากเจ้าของบ้านอยู่ต่างประเทศไม่สะดวกในการดำเนินการ ก็ต้องติดต่อให้ผู้นำท้องถิ่นเซ็นรับรองว่า ใครที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวอยู่ในปัจจุบัน และไปดำเนินการขอเงินช่วยเหลือ ส่วนถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ก็ให้ไปยื่นเรื่องที่สำนักงานเขตประสบภัยแทน สำหรับครที่อยู่ต่างจังหวัดให้ไปยื่นเรื่องที่อำเภอ หรือท้องถิ่นที่ตัวเองมีบ้านพักอยู่จริง

    ส่วนที่ 2 คือ เงินที่ได้นอกเหนือจาก 5,000 บาท เจ้าหน้าที่จะจ่ายตามความเสียหายของตัวบ้านว่าเสียหายมาก หรือน้อย ซึ่งจะต้องไปตรวจสอบสภาพบ้านก่อนที่จะมีการอนุมัติจ่าย โดย การจ่ายเงินนั้นจะไม่เกิน 30,000 บาท โดยจะประเมินตามจริง ในส่วนที่เป็นตัวบ้าน โครงสร้างของบ้าน ไม่เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ และช่วยเหลือกรณีเสียหายทั้งหลัง 240,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิต หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะจ่ายให้รายละ 50,000 บาท บุคคลทั่วไปรายละ 25,000 บาท

    ทั้งนี้ นายศุภชัย ยังกล่าวว่า การจ่ายเงินเพื่อเยียวยานั้นเป็นตามหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 โดยมอบหมายให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้ดูแลในส่วนนี้ และเมื่อตรวจสอบเสร็จจะส่งเรื่องให้กับทางธนาคารออมสิน ซึ่งทางธนาคารออมสินบอกแล้วว่า หากได้อนุมัติแล้วสามารถเบิกจ่ายได้ทันที

    อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ประสบภัยนำบัตรประจำตัวประชาชน ไปเบิกเงินตามธนาคารออมสินได้เลยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดซึ่งอาจจะมีการอำนวยความ สะดวกในการนัดจุดจ่ายเงิน หากไม่ได้ไปรับเงินตามนัดภายใน 1 ปี เงินส่วนนั้นจะถูกส่งเข้าคลังต่อไป


    ข่าวที่เกี่ยวข้อง

    ไขข้อข้องใจขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] , prd.go.th
    </td></tr></tbody></table>

    -http://thaiflood.kapook.com/view34062.html-

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    ไขข้อข้องใจขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000


    -http://thaiflood.kapook.com/view33796.html-




    [​IMG]

    [​IMG]



    ไขข้อข้องใจขอรับเงินช่วยเหลือ 5,000
    ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรุงเทพมหานคร

    ไขข้อข้องใจ การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในเขตกทม. สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0-2223-1835



    ถาม-ตอบเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาท

    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก ดร ธีระชน มโนมัยพิบูลย์

    จากเหตุอุทกภัย 54 ได้สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ขณะที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็นการนำถุงยังชีพไปแจกจ่าย หรือการให้ความช่วยเหลือในการเดินทาง ที่พักพิง และอีกหนึ่งของการให้ความช่วยเหลือนั่นคือ เงินช่วยผู้ประสบภัยจำนวน 5,000 บาท แต่ทั้งนี้ เงินช่วยเหลือดังกล่าวขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ทางรัฐบาลและจังหวัดได้กำหนด ไว้ ซึ่งอาจทำให้หลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินช่วยเหลือ หรือการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือ ... วันนี้ทีมงานกระปุกดอทคอม จึงขอรวมข้อสงสัย และหาคำตอบมาเฉลยค่ะ


    1. ถ้าบ้านน้ำท่วมต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน?

    ตอบ : ผู้ประสบภัยน้ำท่วมสามารถยื่นเอกสารได้ที่สำนักงานเขต ในเขตที่พักอาศัยที่ถูกน้ำท่วมเท่านั้น ไม่สามารถยื่นข้ามเขตได้ ในกรณีอยู่ต่างจังหวัด ให้ยื่นที่ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้วแต่พื้นที่

    2. ในกรณีที่บ้านอยู่ในพื้นที่เขตน้ำท่วม จะต้องไปยื่นเรื่องที่ไหน หรือสามารถรอจนกว่าน้ำจะลดจึงไปขอยื่นเรื่องได้

    ตอบ : ในกรณีที่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมสามารถโทรสอบถามกับสำนักงานเขต ว่าเขตเปิดทำการหรือไม่ ถ้าสำนักงานเขตนั้นน้ำท่วม จะมีการย้ายที่ทำการชั่วคราวไปเขตอื่น โดยสามารถไปยื่นเรื่องตามเขตที่ทำการชั่วคราวได้

    3. มีกำหนดระยะในการยื่นเอกสารหรือไม่ และถ้ามีถึงเมื่อไหร่

    ตอบ : ตอนนี้ยังไม่มีกำหนดปิดการยื่นเอกสาร หรือกำหนดระยะการช่วยเหลือ แต่ทั้งนี้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยงวดแรกจะออกวันที่ 20 ธันวาคม 2554 หากเขตไหนที่มีผู้ยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก อาจจะทำให้จำเป็นต้องจ่ายเงินในงวดถัดไป ซึ่งขึ้นอยู่กับการดำเนินเรื่องของเขตที่อาศัย ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาดำเนินการตรวจสอบข้อมูลและเอกสาร ภายใน 45 วัน

    4. เอกสารและหลักฐานในการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือน้ำท่วม

    ตอบ : 1.สำเนาทะเบียนบ้าน 2.สำเนาบัตรประชาชน 3.รูปถ่ายบ้านที่ถูกน้ำท่วม โดยให้เจ้าบ้านเป็นผู้ไปยื่น ถ้าเจ้าบ้านไม่สะดวกให้เขียนใบมอบอำนาจ ให้ญาติ หรือลูกหลาน ไปยื่นแทนได้ หลักฐานเพิ่มเติมการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือแยกเป็นกรณี ๆ ดังนี้

    1. กรณีบ้านเช่า ให้ใช้สัญญาเช่า หรือหนังสือรับรองการเช่าจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    2. บ้านพักอาศัยที่ประสบอุทกภัยนอกเหนือจากบ้านเช่าและบ้านที่มีทะเบียนบ้าน

    - ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่นร่วมกับผู้นำชุมชนตรวจสอบข้อเท็จจริง

    - ให้ (1) กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน (2) ผู้บริหารท้องถิ่น

    และ (3) ผู้นำชุมชน ลงนามรับรองความเป็นผู้ประสบภัย อย่างน้อย 2 ใน 3

    3. กรณีอื่น ๆ เช่น บ้านพักคนงานให้ดำเนินการและใช้หนังสือรับรอง เช่นเดียวกับข้อ 2 การรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 1 หรือที่อยู่อาศัยตามข้อ 2 และ 3 ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนด จัดเก็บไว้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ

    5. กรณีที่ไม่มีหลักฐาน หรือเอกสารมาแสดง สามารถไปกรอกแบบฟอร์มการรับเงินก่อนได้หรือไม่

    ตอบ : สอบถามรายละเอียดได้ที่เขตที่ท่านอาศัยอยู่ได้โดยตรง ว่าสามารถแก้ไขปัญหาอย่างไรได้บ้าง

    6. ในส่วนของรูปถ่าย ถ้าไม่มีเนื่องจากไม่ได้ทำการถ่ายไว้ก่อนอพยพ หรือในช่วงน้ำท่วม จะได้รับเงินช่วยเหลือหรือไม่

    ตอบ : กรณีที่ไม่มีรูปถ่ายบ้านน้ำท่วม เจ้าบ้านสามารถมากรอกเอกสารที่เขตไว้ก่อน โดยทางเจ้าหน้าที่จากเขตจะลงพื้นที่สำรวจถ่ายรูปความเสียหายเพิ่มเติมให้ ทั้งนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่เขตที่อาศัยของท่านได้โดยตรง

    7. สำนักงานเขตสามารถให้ยื่นเรื่องในเวลาทำการเท่านั้นหรือไม่ หรือสามารถยื่นนอกเวลาทำการได้

    ตอบ : ยื่นในเวลาทำการเท่านั้น

    8. ในกรณีถ้าอยู่หอพัก และพักอยู่ชั้น 1 และน้ำท่วมห้องพัก กรณีนี้จะได้เงินชดเชยหรือไม่

    ตอบ : หอพักที่อาศัยต้องจดสัญญาห้องเช่า หากน้ำท่วมห้องพักไม่ว่าจะอยู่ชั้นใดก็ตาม ก็สามารถรับเงินช่วยเหลือได้ แต่ถ้าในกรณีที่ห้องพัก หรือห้องเช่านั้นไม่ได้จดทะเบียน ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือแค่อาคารนั้น 1 สิทธิ์ เท่านั้น ไม่สามารถแยกขอเป็นกรณีห้องพักได้

    9. กรณีที่หอหัก หรืออพาร์ทเมนท์น้ำท่วม แต่ที่ห้องน้ำไม่ท่วม แต่เดือดร้อนเหมือนกัน จะได้รับเงินชดเชยหรือไม่

    ตอบ : กรณี้นำท่วมหอพัก แต่ไม่ท่วมห้องพัก จะไม่ได้รับเงินชดเชย ต้องน้ำท่วมเท่านั้นถึงสามารถทำเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า หอพักนั้นได้จดสัญญาเป็นห้องเช่าหรือไม่ (ดังข้อ 7 ค่ะ)

    10. พื้นที่น้ำท่วมในแต่ละจังหวัดได้เงินชดเชยเท่ากันหรือไม่ ทั้งนี้เห็น กทม. ได้ 6,500 บาท แล้วกรณีต่างจังหวัดอย่างนครสวรรค์ อยุธยา ปทุมธานี หรือจังหวัดอื่น ๆ จะได้เงินชดเชยเท่าไหร่

    ตอบ : ในกรณีของ กทม. ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็น 6,500 บาท เพราะเงินส่วนต่างที่ได้มากกว่าต่างจังหวัดเป็นงบประมาณของ กทม. เอง ซึ่งจะช่วยผู้ประสบภัยเพิ่มสิทธิ์ละ 1,500 บาท แต่ทั้งนี้ ทาง กทม. เองก็ต้องรอผ่านการประชุมของผู้บริหาร กทม. ว่าจะอนุมัติเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ในส่วนของต่างจังหวัดก็จะได้รับเงินช่วยเหลือตามเกณฑ์ที่ระบุไว้คือ 5,000 บาท

    11. พื้นที่ประสบภัยจังหวัดไหนบ้าง ที่ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท

    ตอบ : บ้านเรือนของราษฎรและทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย ในจังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย ตาก น่าน นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร พะเยา เพชรบูรณ์ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด เลย บึงกาฬ สกลนคร หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี ยโสธร ชัยภูมิ ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง นครปฐม สระบุรี จันทบุรี ระยอง สระแก้ว นครนายก ปราจีนบุรี ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และ กทม.

    12. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมมีอะไรบ้าง

    ตอบ : หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยต้องเป็นบ้านเรือนที่อาศัยอยู่เป็นประจำ ใน 3 กรณี ดังนี้

    1. น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    - บ้านพักอาศัยจะต้องถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน

    - บ้านพักอาศัยจะต้องทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    - บ้านพักอาศัยจะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    2. บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    - บ้านพักอาศัยจะต้องถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน

    - บ้านพักอาศัยจะต้องทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    - บ้านพักอาศัยจะต้องอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    3. บ้านพักอาศัยได้รับความเสียหายจากอุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม

    - บ้านพักอาศัยจะต้องได้รับความเสียหายจากน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม

    - อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    ทั้งนี้ 3 กรณี ต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ท้องถิ่นออกให้เท่านั้น

    หมายเหตุ : กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้าซ้อนทั้ง 3 กรณี ให้ได้รับการช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว

    13. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยเป็นประจำที่จะได้เงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีลักษณะอย่างไร

    ตอบ : ลักษณะของบ้านพักที่ผู้ประสบภัยจะได้รับเงินช่วยเหลือมีดังนี้

    1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วม

    2. บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือ ในกรณีบ้านพักอาศัย / บ้านเช่ามีหลายชั้น ให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงเท่านั้น โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้องหรือเช่าทั้งหลัง มีทะเบียนบ้าน หรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้

    3. อื่น ๆ เช่น ที่พักอาศัยซึ่งประสบอุทกภัยนอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 เช่น ที่อยู่อาศัยที่เป็นสิ่งปลูกสร้างซึ่งมีลักษณะถาวรหรือชั่วคราวที่ครัวเรือน ใช้เป็นที่พักอาศัยอยู่เป็นประจำโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน

    14. รัฐบาลจะจ่ายเงินช่วยเหลือผ่านทางธนาคารออมสิน ในกรณีที่ไม่มีบัญชีที่ธนาคารออมสินผู้ประสบภัยต้องไปทำเรื่องเปิดบัญชีก่อนหรือไม่

    ตอบ : ประชาชนสามารถรับเป็นเงินสดได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชี โดยการยื่นสำเนาบัตรประชาชนแสดงต่อเจ้าหน้าที่ธนาคารในวันรับเงิน

    15. อยากทราบเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยของธนาคารออมสินว่ามีขั้นตอนการจ่ายเงินอย่างไร

    ตอบ : เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินในสาขาจังหวัดใดแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดนั้น ๆ จัดทำแผนการจ่ายเงินให้แล้วเสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงิน และธนาคารออมสินจะทาการจ่ายเงิน ณ ที่ทำการสาขา และจัดหน่วยเคลื่อนที่เพื่อไปจ่ายเงินให้กับผู้มีสิทธิ โดยผู้รับเงินจะต้องนาเอกสารไปแสดง ดังนี้

    1. กรณีมารับด้วยตนเอง ให้นำบัตรประจาตัวประชาชนฉบับจริงไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลง ลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน ประกอบกันด้วย กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง

    2. หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)

    - บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ กรณีบัตรประจำตัวประชาชนสูญหาย ให้ไปขอสำเนารายการบัตรประจำตัวประชาชนที่สำนักทะเบียนทุกแห่ง เพื่อใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน หรือใช้หลักฐานการแจ้งความกรณีบัตรประจำตัวประชาชน สูญหายมาแสดงได้ หากผู้มีสิทธิไม่สามารถมารับเงินช่วยเหลือได้ในวันที่กำหนด ให้ไปยื่นขอรับเงินได้ ณ ที่ทำการธนาคารออมสินทุกสาขาในวันและเวลาเปิดทาการ

    หมายเหตุ : ใน การจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามแผนการจ่ายเงินที่จังหวัดได้ประชุมหารือร่วมกับ ธนาคารออมสินสาขาจังหวัดและตำรวจภูธรจังหวัด และให้ธนาคารออมสินจัดทำรายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อรายงาน คอส. ต่อไป

    16. การจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม มีการสัดสรรหรือแบ่งการให้ความช่วยเหลืออย่างไร แล้วผู้ประสบภัยสามารถติดตามเรื่องการรับเงินช่วยเหลือได้ที่ไหน อย่างไร

    ตอบ : การจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จะมีการจ่ายตามทะเบียนบ้าน โดยสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร การให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านของท่าน

    17. กรณีที่เช่าเปิดเป็นกิจการ หากน้ำไม่ท่วม เเต่ผู้เช่าไม่สามารถเปิดกิจการได้ ทำให้ขาดรายได้ ผู้เช่าจะสามารถยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาทได้หรือไม่?

    ตอบ : กรณีที่เช่าเปิดเป็นกิจการ หากน้ำไม่ท่วม ตอนนี้ทางรัฐบาลยังไม่มีนโยบายช่วยเหลือเรื่องการขาดรายได้จากน้ำท่วม และการที่จะได้รับเงินช่วยเหลือนั้น ภายในบ้าน อาคารจะต้องถูกน้ำท่วม หากตัวอาคารน้ำไม่เข้าก็ไม่สามารถขอเงินช่วยเหลือได้

    18. บริเวณบ้านที่น้ำท่วมถึง ทำให้ทรัพย์สินส่วนนึงของเจ้าของบ้านเสียหาย หากเจ้าของบ้านยื่นขอรับเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม 5,000 บาท ผู้เช่าจะสามารถยื่นเรื่องด้วยได้หรือไม่?

    ตอบ : ถ้าเป็นบ้านเช่า จะให้สิทธิ์ผู้ที่อยู่อาศัยและได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ไม่ว่าอาคารนั้นจะมีกี่ห้องก็ตาม หากมีสัญญาเช่าถูกต้อง โดยเจ้าบ้านที่เป็นผู้ให้เช่า ไม่สามารถขอรับเงินเพิ่มเติม ยกเว้น เจ้าบ้านจะอาศัยอยู่ในบ้านเช่าด้วย ถึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินช่วยเหลือ

    ทั้ง นี้ สามารถสอบถามเกี่ยวกับความช่วยเหลือเงินช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่สายด่วน ศปภ. 1111 กด 5 หรือ สายด่วน มหาดไทย 1567 ตลอด 24 ชั่วโมง



    [​IMG] คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 5,000 บาท
    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2011
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือน ละ 5,000 บาท สำหรับอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 จัดทำโดย ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร วันที่ 9 พฤศจิกายน 2554

    1. เหตุผลความจำเป็นการช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท

    เนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ได้ก่อให้เกิดปริมาณน้ำก้อนใหญ่ไหลบ่าเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครและแผ่ ขยายไปตามพื้นที่เขตต่าง ๆ ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร พิจารณาแล้วเห็นว่า สถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2554 จนถึงปัจจุบันเป็นเหตุให้เกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำเหนือไหลบ่าเข้าในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยเหตุภัยพิบัติในครั้งนี้เป็นสถานการณ์ค่อนข้างรุนแรง มีปริมาณน้ำเหนือสะสมมาก ทำให้ประชาชนในพื้นเขตต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบและทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก บ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำของราษฎรและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ประสบภัยและเป็นการบำบัดทุกข์บำรุง สุขในเบื้องต้นจึงเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือน ผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท เงินช่วยเหลือจำนวนนี้จะเป็นเงินที่ผู้ประสบภัยนำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ยังไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว

    2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ

    2.1 หลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำใน ๒ กรณี ดังนี้

    2.1.1 น้ำท่วมถึงบ้านพักอาศัยโดยฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    2.1.2 บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย

    คำอธิบาย หลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือให้ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยที่มีที่อยู่อาศัยประสบภัยจะต้องเป็น ไปตามกรณี ดังนี้

    กรณีตามข้อ 2.1.1 บ้านพักอาศัยจะต้อง...

    - ถูกน้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน
    - ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
    - อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    กรณีตามข้อ 2.1.2 บ้านพักอาศัยจะต้อง

    - ถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน
    - ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และ
    - อยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัยประจำ

    2.2.1 ทั้ง 2 กรณีต้องเป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยประจำในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและมี
    หนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่สำนักงานเขตออกให้เท่านั้น

    2.2.2 กรณีที่มีผู้ประสบภัยซ้ำซ้อนทั้ง 2 กรณี ให้ได้รับความช่วยเหลือเพียงกรณีเดียว ทั้งนี้การดำเนินการช่วยเหลือทุกขั้นตอนครั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 14 วัน

    3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

    3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้าน

    3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับเงินช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่ามีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือ
    เฉพาะชั้นที่มีน้ำท่วมถึงเท่านั้น

    คำอธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยของครัวเรือนที่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจะต้องเป็น

    1. บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและถูกน้ำท่วมถึง หรือ

    2. เช่าบ้านอยู่อาศัยและอยู่อาศัยในชั้นที่ถูกน้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจจะแบ่งเช่าเป็นห้อง
    หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้านหรือไม่มีทะเบียนบ้านก็ได้

    4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ

    4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจขอหนังสือรับรองจาก
    สำนักงานเขตเพื่อเป็นหลักฐานการใช้สิทธิ

    4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองจากเจ้าของบ้านเพื่อขอหนังสือรับรองจาก
    สำนักงานเขต

    คำอธิบาย หลัก ฐานการแจ้งสิทธิ ได้แก่ หนังสือรับรองจากสำนักงานเขตโดยการรับรองการเช่าบ้านตามข้อ 4.2 ให้พิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่หรือตามข้อเท็จจริง โดยจัดทำเป็นหนังสือและมีผู้รับรองตามที่กำหนดจัดเก็บไว้ที่สำนักงานเขต เพื่อเป็นหลักฐานพร้อมรับการตรวจสอบ

    5. การตรวจสอบที่อยู่อาศัยที่ต้องตามหลักเกณฑ์ตามหลักวิทยาศาสตร์และตามหลักความเป็นจริง

    ให้สำนักงานเขตแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 5 คน ตรวจสอบคำร้องเพื่ออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้มีสิทธิขอรับการช่วยเหลือจริง ในพื้นที่ประสบอุทกภัยและเร่งรัดการจ่ายเงินให้เป็นไปอย่างรวดเร็วเป็นธรรม และทั่วถึง ตลอดจนสร้างความเข้าใจในหลักเกณฑ์และแนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้กับผู้ปฏิบัติในระดับ
    พื้นที่ได้อย่างถูกต้อง

    คำอธิบายใน การตรวจสอบผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(องค์การมหาชน-Gristda) ได้ถ่ายภาพและจัดทำรายละเอียดของพื้นที่ที่ประสบภัยไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่นำมาตรวจสอบความถูกต้องและการตรวจสอบสภาพข้อ เท็จจริงในพื้นที่ที่ขอรับความช่วยเหลือ เพื่อนำมาประกอบหลักฐานการตรวจสอบต่อไป

    6. ขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    6.1 ศปภ.กทม. จัดให้มีการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้อำนวยการเขตและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ
    แนวทางการดำเนินการ

    6.2 ศปภ.กทม. ทำรายละเอียดเป็นคู่มือการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกพื้นที่เขต

    6.3 ให้คณะกรรมการตามข้อ 5 สำรวจข้อมูลรายละเอียดของผู้ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย) ที่มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อออกหนังสือรับรองของ สำนักงานเขต

    6.4 ให้สำ นักงานเขตจัดพิมพ์รายชื่อผู้มีสิทธิตามหนังสือรับรองที่สำ นักงานเขตออกให้ลงในแบบ ข.1 และ ข.2 และให้ผู้อำนวยการเขตลงนามรับรองในแบบฟอร์มข้อมูลก่อนนำส่งให้ศูนย์อำนวยการ เฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผลจะจัดทำรายละเอียดแบบฟอร์มและชี้แจงขั้นตอน การดำเนินการในภายหลัง

    6.5 ศปภ.กทม. ตรวจสอบความถูกต้องแล้วนำเสนอต่อปลัดกรุงเทพมหานครเพื่อลงนามรับรองว่าเป็น ผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือตามมติ ครม. นำส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมกับส่งข้อมูล รายละเอียดจำนวนหลังคาเรือนที่ขอรับการช่วยเหลือทาง E-mail Address : bkk5000@hotmail.comทั้ง นี้ ให้ ศปภ.กทม. ทยอยส่งข้อมูลและเอกสารตัวจริงส่งถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยด่วนที่สุด โดยสำนักงานเขตต้องเก็บเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ไว้เพื่อให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบต่อไป

    6.6 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตรวจสอบข้อมูลรายชื่อที่ได้รับจากกรุงเทพมหา นครแล้วส่งให้ธนาคารออมสินเพื่อจ่ายเงินโดยด่วนที่สุด หลังจากที่ได้รับรายชื่อจากกรุงเทพมหานครและให้ธนาคารออมสินดำเนินการจ่าย เงินให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

    6.7 ในระหว่างที่มีการอนุมัติเพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือนั้น ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) จะมอบหมายให้คณะกรรมการอำ นวยการและกำ กับดูแลการจัดทำ ข้อมูลผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ร่วมด้วยข้าราชการของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จ จริงความถูกต้องของการเสนอรายชื่อครัวเรือนและกระบวนการจ่ายเงินช่วยเหลือ ต่าง ๆ หากพบความผิดปกติประการใด จะดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายต่อไป

    7. การจ่ายเงินของธนาคารออมสิน

    เมื่อมีการโอนเงินให้ธนาคารออมสินสาขาใดแล้ว ให้ ศปภ.กทม. ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขตให้แล้ว เสร็จโดยด่วนที่สุด หลังจากได้รับการโอนเงินขอให้สำนักงานเขตประสานธนาคารออมสินกำหนดรายละเอียด การจ่ายเงินตามที่ กรุงเทพมหานครจะได้แจ้งแนวทางวิธีการจ่ายเงินให้ทราบต่อไป โดยผู้รับเงินจะต้องนำหลักฐานไปแสดง ดังนี้

    7.1 หนังสือที่สำนักงานเขตออกให้

    7.2 บัตรประจำตัวประชาชน

    กรณีมารับด้วยตนเอง

    - ให้นำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่จ่ายเงิน และให้ลงลายมือชื่อรับเงินต่อหน้าเจ้าหน้าที่และให้เจ้าหน้าที่จ่ายเงินลง ลายมือชื่อผู้จ่ายเงิน

    กรณีไม่สามารถมารับได้ด้วยตนเอง

    - หนังสือมอบฉันทะ (ผู้รับมอบฉันทะสามารถรับมอบได้เพียงรายเดียวและครั้งเดียวเท่านั้น
    ไม่สามารถมอบฉันทะต่อได้)

    - บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้มอบและผู้รับมอบฉันทะ

    คำอธิบาย ใน การจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยที่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ ให้ธนาคารออมสินดำเนินการตามแผนการจ่ายเงินที่กรุงเทพมหานครได้ประชุมหารือ ร่วมกับธนาคารออมสิน และให้ธนาคารออมสินจัดทำรายงานการจ่ายเงินที่ได้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ ได้รับความช่วยเหลือไปแล้วในแต่ละวันส่งให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อรายงานต่อไป

    8. แนวทางการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร

    8.1 เร่งรัดการสำรวจ ตรวจสอบ ส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อตรวจสอบส่งให้ธนาคารออมสิน โดยด่วนที่สุด โดยให้ทยอยส่งเป็นรายแขวงและเขตที่มีจำนวนครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมที่จะจ่ายเงิน ได้

    8.2 หลังจากส่งรายชื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแล้ว กรุงเทพมหานครประชุมหารือร่วมกับธนาคารออมสินและกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในการกำหนดแผนการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประสบภัยให้รวดเร็วทั่วถึง โดยเน้นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากที่สุด

    ภาคผนวก

    ขั้นตอนการดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินจากอุทกภัย (หลังคาเรือนละ 5,000.- บาท) ศปภ.กทม.

    • ตรวจสอบข้อมูลและจัดทำแบบ จ.1 (กรุงเทพมหานคร) เสนอผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลงนาม

    • ศปภ.กทม. จัดส่งข้อมูลให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมส่งข้อมูลรายละเอียดทาง e-mail address: bkk5000@hotmail.comโดยเก็บสำเนาคู่ฉบับ เพื่อให้สำนักงานตรวจสอบแผ่นดินตรวจสอบ

    • ศปภ.กทม.ประสานงานและดำเนินการจัดทำแผนการจ่ายเงินแก่ผู้ประสบภัยในแต่ละเขต เพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อได้รับเงินโอนจากธนาคารออมสิน
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

    จัดส่งข้อมูลที่ได้รับจากกรุงเทพมหานครให้ธนาคารออมสิน เพื่อดำเนินการโอนเงินให้กรุงเทพมหานคร ตามที่ทำการสาขาที่ได้แจ้งไว้

    สำนักงานเขต

    • ตั้งคณะกรรมการ (ไม่น้อยกว่า 5 คน) เพื่อตรวจสอบและกลั่นกรองผู้มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ

    • ดำเนินการสำรวจข้อมูลบ้านเรือนที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

    • จัดทำข้อมูลตามแบบ ท.1 (แขวง) และแบบ อ.1 (เขต) โดยให้ ผู้อำนวยการเขตรับรองแบบ อ.1 (เขต) ส่ง ศปภ.กทม. (ทางเอกสาร และ ทาง e-mail address: bma_flood@hotmail.com) *** ให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับมอบหมาย ***

    • ให้สำนักงานเขตแจ้งชื่อสาขาธนาคารออมสินในพื้นที่ เพื่อธนาคารอำนวยความสะดวก ในการจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย

    แนวทางการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ครัวเรือนละ 5,000 บาท

    1. เหตุผลความจำเป็นเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วม และเป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุข

    ในเบื้องต้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 พิจารณาให้ความช่วยเหลือครัวเรือนผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท ซึ่งผู้ประสบภัยจะได้นำมาใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ระหว่างที่กำลังฟื้นฟูสภาพความเสียหาย ไม่สามารถประกอบอาชีพหารายได้เลี้ยงครอบครัว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือโดยเร็ว จำนวน 30 เขต คือ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง เขตดอนเมือง เขตคันนายาว เขตจตุจักร เขตตลิ่งชัน เขตบางเขน เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตลาดพร้าว เขตวังทองหลาง เขตสายไหม เขตหนองแขม เขตหลักสี่ และเขตทวีวัฒนา โดยให้ผู้อำนวยการเขตสำรวจ ตรวจสอบข้อมูล และออกหนังสือรับรองจัดทำแบบ ข 1 ,ข 2 ส่งให้ ศปภ.กทม. เพื่อให้ธนาคารออมสินเป็น ผู้จ่ายเงินให้กับผู้ประสบภัย

    2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ

    2.1 หลักเกณฑ์

    กรณีที่ (1) น้ำท่วมถึงบ้านโดยฉับพลัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมบ้านโดยฉับพลัน ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในเขตพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    กรณีที่ (2) บ้านพักอาศัยถูกน้ำท่วมขังติดต่อกันไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย คือ ถูกน้ำท่วมขังไม่น้อยกว่า ๗ วัน และทรัพย์สินได้รับความเสียหาย และอยู่ในพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ

    2.2 เงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยพิบัติที่มีบ้านเรือนอยู่อาศัย ประจำ ทั้ง ๒ กรณี ต้องมีหนังสือรับรองผู้ประสบภัยที่ผู้อำนวยการเขตออกให้ และให้รับความช่วยเหลือได้เพียงกรณีเดียว

    3. ลักษณะครัวเรือนที่อยู่อาศัยที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์

    3.1 บ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านและน้ำท่วมถึง

    3.2 บ้านเช่า ผู้เช่าเป็นผู้ได้รับความช่วยเหลือในกรณีบ้านพักอาศัย/บ้านเช่า/คอนโด/อพา ร์ทเม้นต์ มีหลายชั้นให้ได้รับเงินช่วยเหลือเฉพาะชั้นที่น้ำท่วมถึงและทรัพย์สินเสีย หาย คือ ครัวเรือนนั้นเช่าบ้านอยู่อาศัย และอยู่ในชั้นที่น้ำท่วมถึง โดยบ้านเช่านั้นอาจแบ่งเช่าเป็นห้อง หรือเช่าทั้งหลังมีทะเบียนบ้าน

    3.3 กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจาก ข้อ 3.1 และ 3.2 เช่น สิ่งปลูกสร้างที่อยู่อาศัยมีลักษณะถาวร หรือชั่วคราวที่ครัวเรือนอาศัยอยู่เป็นประจำโดยไม่มีทะเบียนบ้าน เช่น บ้านพักคนงาน

    4. หลักฐานการแสดงสิทธิขอรับการช่วยเหลือ

    4.1 กรณีบ้านพักอาศัยที่มีทะเบียนบ้านให้เจ้าบ้าน/หัวหน้าครอบครัว/ผู้ได้รับมอบ อำนาจ ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย (กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ ให้ตรวจสอบจากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต (กรณีมอบอำนาจให้มีหนังสือมอบอำนาจและแนบบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ)

    4.2 กรณีบ้านเช่าให้ใช้สัญญาเช่า/หนังสือรับรองการเช่าจากเจ้าของบ้านเช่า พร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนผู้ร้อง และทะเบียนบ้านที่ประสบภัย(กรณีไม่สามารถนำทะเบียนบ้านมาแสดงได้ให้ตรวจสอบ จากสำนักทะเบียนของสำนักงานเขตเอง) เพื่อขอหนังสือรับรองจากสำนักงานเขต

    4.3 หลักฐานอื่น ๆ ตามข้อ 3.3 ให้ใช้พยานบุคคล หรือที่ผู้อำนวยการเขตเห็นสมควร กรณีมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. หมายเลขโทรศัพท์ 0 2223 1835

    หนังสือรับรองผู้ประสบภัย

    หากมีข้อสงสัย/สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศปภ.กทม. โทร. ๐ ๒๒๒๓ ๑๘๓๕
    เลขที่......................./๒๕๕๔ สำนักงานเขต..............................

    หนังสือรับรองผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา

    หนังสือ ฉบับนี้ให้ไว้เพื่อรับรองว่า.......................................... เกิดวันที่..........เดือน....................พ.ศ...............
    เลข ประจำตัวประชาชน / หนังสือเดินทางเลขที่ / อื่น ๆ (ถ้า มี).............................................................................
    ที่ อยู่ที่ประสบสาธารณภัย บ้านเลขที่..................หมู่ที่/หมู่ บ้าน................................ ตรอก/ซอย...................................................
    ถนน................................ แขวง...................................... เขต......................................กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์..................
    โทรศัพท์....................................... ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่...............หมู่ที่/หมู่บ้าน.........................
    ตรอก/ซอย................................................... ถนน................................ แขวง...................................... เขต.....................................
    กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์............................โทรศัพท์..............................................
    เป็นผู้ประสบภัยหรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ อุทกภัย.........................(ระบุประเภทของสาธารณภัยและสถานที่เกิดภัย)
    เมื่อ.............................................................................(วัน เดือน ปี เวลา ที่เกิดภัย)

    ความ เสียหายของผู้ประสบภัย ตามบัญชีความเสียหายแนบท้ายหนังสือรับรองของผู้ประสบภัยประเภทบุคคลธรรมดา ฉบับนี้ผู้ประสบภัยมีสิทธิ์ที่จะได้รับการสงเคราะห์และการฟื้นฟูจากหน่วยงาน ของทางราชการ ด้านใดด้านหนึ่ง
    หรือหลายด้านตามเงื่อนไข หลักเกณฑ์ และแนวทางที่หน่วยงานนั้นกำหนด รายละเอียดตารางแสดงสิทธิที่จะได้รับ
    จากทางราชการปรากฎตามแนบท้าย

    ให้ ไว้ ณ วันที่................... เดือน..................................................... พ.ศ..........................................
    ลงชื่อ ...........................................................................
    (.........................................................................)
    ตำแหน่ง .......................................................................
    ผู้อำนวยการ..................................................................
    (พิมพ์ชื่อเต็ม และตำแหน่ง / ประทับตราส่วนราชการ)

    หมายเหตุ หากมีการขูด ลบ หรือแก้ไขข้อความในหนังสือรับรองและบัญชีแนบท้าย จะต้องลงชื่อผู้มีอำนาจออกหนังสือรับรองและประทับตรากำกับไว้ทุกแห่ง

    คำร้องขอรับการสงเคราะห์ผู้ประสบภัย (น้ำท่วม)

    1. ชื่อผู้ยื่นคำร้อง นาย/นาง/นางสาว..........................................ชื่อ สกุล..............................................................
    เลขประจำตัวประชาชน
    อยู่บ้านที่ประสบอุทกภัยเลขที่.................................. เลขหมายประจำบ้าน
    หมู่ ที่/หมู่บ้าน................................ ตรอก/ซอย................................ ถนน............................... แขวง....................................
    เขต........................................... กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์.....................
    หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ.................................................
    อยู่ ในชุมชน........................................................ ประสบภัยเมื่อ ........................................................................................
    2. กรณีอุทกภัยที่เกิด
    น้ำท่วมฉับพลันและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
    น้ำท่วมขังเป็นเวลา 7 วันขึ้นไปและทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
    3. ประกอบอาชีพ
    รับราชการ รับจ้าง ค้าขาย อื่นๆ.................................
    4. สภาพที่ประสบอุทกภัย (น้ำท่วม)
    ท่วมทั้งหลัง
    ท่วม บางส่วน (ระบุความเสียหาย) ................................................................................
    .................................................................................
    ................................................................................
    .................................................................................
    ................................................................................
    5. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยหรือไม่
    มี ไม่มี
    6. อยู่ในบ้านเลขที่ที่ประสบอุทกภัยในฐานะ
    เจ้าบ้าน ผู้อาศัย ผู้เช่า อื่นๆ (ระบุ)................................................................
    7. บ้านที่ประสบอุทกภัยปลูกสร้างในที่ดิน
    ของตนเอง ที่เช่า ที่สาธารณะ อื่นๆ (ระบุ) ...............................
    8. ลักษณะของบ้านที่ประสบอุทกภัย
    บ้านไม้ บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ตึกแถว คอนโด/อพาร์ทเมนท์ อื่นๆ (ระบุ)...............................
    ขอรับรองว่าเป็นความจริงทุกประการ
    ลงชื่อ....................................................................ผู้ยื่นคำร้อง
    (...................................................................)

    หลักฐานประกอบ

    รูปถ่าย หนังสือรับรองของผู้ให้เช่า/หนังสือรับรองของประธานชุมชน
    สำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้มีสิทธิไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเอง
    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบ
    หนังสือสัญญาเช่า อื่นๆ (ระบุ) ...........................................................
    แขวง............................................
    เขต...............................................
    คำรับรอง
    เขียนที่............................................................
    .......................................................................
    ข้าพเจ้า นาย/นาง/นาง สาว.........................................................................อายุ......................ปี
    ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ ที่/หมู่บ้าน............................. ตรอก/ซอย...........................ถนน.......................แขวง
    ............................ เขต.........................กรุงเทพมหานคร ขอให้คำรับรองต่อสำนักงานเขต.................... ว่า ข้าพเจ้าประธาน
    ชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
    ....................................................................... ขอรับรองว่า นาย/นาง/นาง สาว.............................................................................
    อายุ..........................ปี ที่อยู่บ้านเลขที่.............หมู่ที่/หมู่ บ้าน.............................ตรอก/ซอย...........................ถนน
    ....................... แขวง............................เขต.........................กรุงเทพมหา นคร เป็นผู้ประสบอุทกภัย และได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง
    รับรองไว้ ณ วันที่.................เดือน...................................พ.ศ...................................
    ลงชื่อ..................................................................ประธานชุมชน/เจ้าของบ้านเช่า
    (................................................................)
    ลงชื่อ..................................................................พยาน
    (................................................................)
    ลงชื่อ..................................................................พยาน
    (................................................................)

    หมายเหตุ สิ่งที่ต้องแนบมาพร้อมคำรับรองนี้
    บัตรประจำตัวประธานชุมชนหรือบัตรประชาชนของผู้รับรองพร้อมเซ็นชื่อรับรอง ๑ ชุด



    [​IMG]ไฟล์ขั้นตอนการดำเนินการจ่ายเงิ<wbr>นช่วยเหลือผู้ประสบภัย คลิกที่นี่



    [​IMG]


    ทั้ง นี้นอกจากผู้ประสบภัยจะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 5,000 บาทแล้ว หลังมีเงินอีกส่วนที่จะได้รับด้วย โดยเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน นายศุภชัย แสนยุติธรรม ผอ.สำนักงานส่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยภูมิภาค ได้เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือผู้ที่จะรับเงินเยียวยาผู้ประสบภัยว่า เงินดังกล่าวจะแยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่...

    ส่วนที่ 1 ผู้ประสบภัยจะได้รับการเยียวยาเบื้องต้น 5,000 บาทซึ่ง กรณีนี้จะได้รับ 1 ครัวเรือนต่อ 1 สิทธิ โดยคนที่เป็นเจ้าของบ้านสามารถเข้าไปยื่นเรื่องได้ด้วยตัวเอง หรือหากไม่สามารถยื่นได้ก็ต้องมอบอำนาจให้คนในครัวเรือนไปดำเนินการแทน ทั้งนี้ ถ้าหากเจ้าของบ้านอยู่ต่างประเทศไม่สะดวกในการดำเนินการ ก็ต้องติดต่อให้ผู้นำท้องถิ่นเซ็นรับรองว่า ใครที่เป็นผู้ดูแลครอบครัวอยู่ในปัจจุบัน และไปดำเนินการขอเงินช่วยเหลือ ส่วนถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ก็ให้ไปยื่นเรื่องที่สำนักงานเขตประสบภัยแทน สำหรับครที่อยู่ต่างจังหวัดให้ไปยื่นเรื่องที่อำเภอ หรือท้องถิ่นที่ตัวเองมีบ้านพักอยู่จริง


    ส่วนที่ 2 คือ เงินที่ได้นอกเหนือจาก 5,000 บาท เจ้าหน้าที่จะจ่ายตามความเสียหายของตัวบ้านว่าเสียหายมาก หรือน้อย ซึ่งจะต้องไปตรวจสอบสภาพบ้านก่อนที่จะมีการอนุมัติจ่าย โดย การจ่ายเงินนั้นจะไม่เกิน 30,000 บาท โดยจะประเมินตามจริง ในส่วนที่เป็นตัวบ้าน โครงสร้างของบ้าน ไม่เกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ และช่วยเหลือกรณีเสียหายทั้งหลัง 240,000 บาท ส่วนผู้เสียชีวิต หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะจ่ายให้รายละ 50,000 บาท บุคคลทั่วไปรายละ 25,000 บาท

    ทั้งนี้ นายศุภชัย ยังกล่าวว่า การจ่ายเงินเพื่อเยียวยานั้นเป็นตามหลักเกณฑ์ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 โดยมอบหมายให้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นผู้ดูแลในส่วนนี้ และเมื่อตรวจสอบเสร็จจะส่งเรื่องให้กับทางธนาคารออมสิน ซึ่งทางธนาคารออมสินบอกแล้วว่า หากได้อนุมัติแล้วสามารถเบิกจ่ายได้ทันที

    อย่างไรก็ตาม ให้ผู้ประสบภัยนำบัตรประจำตัวประชาชน ไปเบิกเงินตามธนาคารออมสินได้เลยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดซึ่งอาจจะมีการอำนวยความ สะดวกในการนัดจุดจ่ายเงิน หากไม่ได้ไปรับเงินตามนัดภายใน 1 ปี เงินส่วนนั้นจะถูกส่งเข้าคลังต่อไป



    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] , prd.go.th


    ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร


    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    กรมอนามัยแนะ 5 ทางรอด ปลอดโรคช่วงน้ำท่วม



    [​IMG]


    กรมอนามัยจัดทีมลงพื้นที่ กทม. เติมความรู้ประชาชน แนะ 5 ทางรอดปลอดโรค ควบ รื้อล้างหลังน้ำลด (กรมประชาสัมพันธ์)
    ภาพประกอบโดย Lovingyou2911/Shutterstock.com , khunaspix / Shutterstock.com

    กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดทีมลงพื้นที่กรุงเทพมหานครให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ พร้อมแนะ 5 ทางรอดปลอดโรค ควบคู่การแจกคู่มือ "รื้อ ล้าง หลังน้ำลด" เพื่อให้เข้าใจวิธีการทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลดตามหลักสุขาภิบาล

    ดร.น.พ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการจัดทีมลงพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร เพื่อเร่งสร้างความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งในพื้นที่น้ำท่วม ขังและน้ำลดว่า แม้ว่าขณะนี้หลาย ๆ พื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในเขตกรุงเทพมหานครกำลังกลับคืนสู่ภาวะปกติ แต่ก็มีอีกหลายพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง กรมอนามัยจึงได้เร่งดำเนินการจัดทีมนักวิชาการกระจายลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ ประชาชนในการดูแลสุขภาพตนเองให้ปลอดภัยปลอดโรคอย่างต่อเนื่องโดยการลง พื้นที่แต่ละครั้ง ได้นำสิ่งของที่จำเป็น ไปแจกจ่ายประชาชน อาทิ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ คู่มือประชาชนฉบับพกพาและคู่มือ "รื้อ ล้าง หลังน้ำลด" ซึ่งเน้นข้อปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในช่วงน้ำท่วมและหลังน้ำลด พร้อมแนะ 5 ทางรอดปลอดโรค ประกอบด้วย

    [​IMG] 1.อย่าทิ้งขยะ อุจจาระ เศษอาหารลงในน้ำ ให้ใส่ถุงดำ มัดปากถุงให้แน่น

    [​IMG] 2.อย่าเล่นน้ำเน่าขัง เชื้อโรคอาจเข้าตาปากจมูกและบาดแผลอันตรายถึงตาย

    [​IMG] 3.กินอาหารปรุงสุกใหม่ ดื่มน้ำสะอาด

    [​IMG] 4.หลังน้ำลด ล้างบ้านเรือน ห้องสุขา ภาชนะอุปกรณ์ต่าง ๆ

    [​IMG] และ 5.ช่วยกันล้างตลาด ประปา ชุมชน และสถานที่สาธารณะตามหลักสุขาภิบาล เพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหาร


    [​IMG]


    อธิบดีกรมอนามัยกล่าว ต่อว่า หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลายจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ประชาชนต้องคำนึงถึง การทำความสะอาดบ้านเรือนและดูแลสภาพแวดล้อมในบริเวณบ้านและชุมชน เพราะน้ำท่วมจะพัดพาสิ่งสกปรกมากจากทุกสารทิศ ทั้งโคลนตมขยะมูลฝอย วัสดุ สิ่งของต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดการหมักหมม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการระบาดของโรคได้

    ดังนั้น เพื่อสุขอนามัยที่ดีจึงต้องมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและที่พักอาศัยให้สะอาด ปลอดภัยปราศจากเชื้อโรคและสัตว์มีพิษ รวมถึงอุบัติเหตุด้วยการปรับปรุงที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม โดยศึกษาดูได้จากคู่มือที่ได้รับจากกรมอนามัย อาทิ ตรวจดูระบบไฟฟ้า สำรวจตรวจสอบความเสียหายของตัวบ้านและบริเวณบ้าน เตรียมการก่อนล้างโดยจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับเก็บกวาดทำความสะอาด คัดแยกขยะ ลงมือทำความสะอาดทันทีหลังน้ำลด ดูแลปรับปรุงห้องครัวภาชนะอุปกรณ์ต่าง ๆ ถ้ามีเชื้อราติดอยู่ต้องทิ้งเพื่อป้องกันปนเปื้อนในอาหาร และดูแลปรับปรุงห้องส้วมโดยทำความสะอาดชำระล้างให้ทั่วถึง

    อธิบดี กรมอนามัย กล่าวย้ำในตอนท้ายว่า สุขอนามัยส่วนบุคคลนับเป็นสิ่งสำคัญในขณะล้างทำความสะอาดบ้านเรือน ควรสวมหน้ากากอนามัยหรือผ้าปิดจมูก เพื่อลดการสูดดมกลิ่นที่หมักหมม หรือสารเคมีที่อาจส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อล้างทำความสะอาดห้องส้วม ห้องครัว เพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนเชื้อโรคที่สะสมหลังน้ำลดโดยผ่านทางมือ เมื่อมีการสัมผัสอาหารหรือสัมผัสกับผิวหนัง และหมั่นล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งหลังทำความสะอาด บ้านเรือน เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    [​IMG]



    -http://thaiflood.kapook.com/view34035.html-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    ปภ. เตือน อันตรายจากไฟฟ้าหลังน้ำลด


    [​IMG]





    ปภ.เตือนอันตรายจากไฟฟ้าหลังน้ำลด (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)

    กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนอันตรายจากไฟฟ้าหลังน้ำลด ผู้ประสบภัยที่กลับเข้าไปในบ้าน ควรตรวจสอบว่าภายในบ้านไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล หากไม่แน่ใจควรสวมถุงมือยางชนิดหนา หรือใช้ผ้าแห้งหนาพันมือ รวมถึงสวมรองเท้าบู๊ตยางที่ไม่มีรูรั่ว เพื่อจะได้เข้าไปตัดกระแสไฟฟ้าในบ้านได้อย่างปลอดภัย ห้ามนำอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม มาใช้งานโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดเพลิงไหม้และไฟฟ้าดูด

    นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวเตือนอันตรายจากไฟฟ้าหลังน้ำลด ผู้ประสบภัยที่กลับเข้าไปในบ้านควรตรวจสอบว่าภายในบ้านไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่ว ไหล และได้ทำการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปลดวงจรไฟฟ้า ที่อยู่ชั้นล่างหรือบริเวณที่น้ำท่วมถึงแล้ว หากไม่แน่ใจห้ามสัมผัสถูกวัตถุโลหะทุกชนิดที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า เช่น กลอน ลูกปิดประตู รั้วโลหะ กริ่งหน้าบ้าน ประตูอัตโนมัติ เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยควรสวมถุงมือยางชนิดหนาหรือใช้ผ้าแห้งหนาพันมือ รวมถึงสวมรองเท้าบู๊ตยาง ที่ไม่มีรูรั่ว เพื่อจะได้เข้าไปตัดกระแสไฟฟ้าในบ้านได้อย่างปลอดภัย

    จากนั้นให้ถอดปลั๊กหรือปลดสวิตช์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ชั้นล่าง และได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมออกทั้งหมดเพื่อตัดการจ่ายไฟ และควรทดสอบซ้ำ ด้วยการใช้ไขควงลองไฟเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ในการทำความสะอาดบริเวณที่น้ำท่วม ต้องทำหลังจากที่ได้ตัดการจ่ายไฟทั้งหมดแล้วเท่านั้น รวมถึงระมัดระวังไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับความเสียหายมากขึ้น ที่สำคัญ ควรตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยเฉพาะเต้ารับ สวิตช์ไฟ และสายไฟ หากเปียกชื้นหรือได้รับ ความเสียหายจากน้ำท่วม ห้ามใช้งานโดยเด็ดขาด ควรให้ช่างผู้ชำนาญการมาดำเนินการเปลี่ยนใหม่ เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้เกิดเพลิงไหม้และไฟฟ้าดูด ทั้งนี้ หากไม่แน่ใจในความปลอดภัย ควรติดต่อเจ้าหน้าที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มาดำเนินการตรวจสอบแก้ไขต่อไป




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://www.disaster.go.th/dpm/-
    [​IMG]


    -http://thaiflood.kapook.com/view34018.html-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    อ.ศศิน ชี้น้ำท่วมไม่เท่ากัน มีการเมืองมาเกี่ยวข้อง


    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="1000"><tbody><tr><td width="660">
    [​IMG]

    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ค Sasin Chalermlarp

    จาก สถานการณ์น้ำท่วมตอนนี้ แม้ว่าน้ำจะเริ่มลดลงไปบ้างแล้ว จะกลับเกิดความวุ่นวายขึ้นอีกมากมาย ทั้งนี้ เนื่องจากยังคงมีประชาชนอีกหลายพื้นที่ยังคงประสบกับภาวะน้ำท่วมขัง ชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันก่อม็อบขึ้นมาในพื้นที่ต่าง ๆ มากมาย บ้างก็ขู่ปิดถนน บ้างก็รื้อกระสอบทรายและแนวบิ๊กแบ๊ก จากปัญหานี้จึงส่งผลกระทบในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

    ทั้งนี้ เนื่องจากการทำลายคันกั้นน้ำ ส่งผลให้น้ำกระจายไปยังพื้นที่บริเวณต่าง ๆ จนไม่สามารถควบคุมได้, ปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากการก่อม็อบของชาวบ้าน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรียกได้ว่าวันต่อวัน เลยทีเดียว

    เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ นักวิชาการด้านธรณีวิทยา ผู้ซึ่งเคยประเมินสถานการณ์น้ำท่วม และแนวทางการรับมืออย่างต่อเนื่อง แต่มาวันนี้ อาจารย์ศศิน ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Sasin Chalermlarp โดยได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่นับวันจะยิ่งบานปลาย จนเกิดปัญหาความขัดแย้งของประชาชน เนื่องมาจากมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยมีข้อความดังนี้

    [​IMG]

    "สาม สี่วันนี้ ไม่ได้ดูสถานการณ์น้ำเลยครับ แวบ ๆ ในทีวี เห็นมีม็อบรื้อกระสอบวุ่นวาย หลาย ๆ ที่ เรื่องแบบนี้ สภาพความขัดแย้งที่ปรากฎบนทีวีที่เราเห็นเป็นเพียง "ยอด" ของภูเขาน้ำแข็ง ที่มีรากฐานจมอยู่ในน้ำลึกลงไป หากติดตามก็จะพบว่ารากของการเลือกท่วมเลือกแห้ง ไม่เท่าเทียม เป็นชั้นแรก แต่ลึกกว่านั้นก็มีเรื่องการเมือง เรื่องการช่วยเหลือ เรื่องการจัดการ เรื่องการไม่เตรียมการรับปัญหา หรือรุกไปจัดการปัญหา ลึกไปหาเรื่องการไม่มีแผนระยะยาวในการจัดการน้ำจัดการคน ต่าง ๆ นานา ผมไม่สามารถคาดเดาอะไรได้แล้วในเรื่องน้ำขึ้นน้ำลด เพราะปัจจัยเรื่องนี้ขึ้นกับคน และปริมาณน้ำ เองก็ไม่มีข้อมูลมากพอว่า มันจะทำให้น้ำขึ้นในพื้นที่กรุงเทพ อีกเท่าไหร่ อาจจะขึ้นน้อยมาก หรือกลับมาท่วมยาว ๆ ก็ได้ แต่จากที่น้ำเหนือ มีอีกไม่มาก และเริ่มเข้าเดือนอ้ายแล้วผมคิดว่าในที่สุดธรรมชาติจะนำน้ำลงคลองลงแม่น้ำไป เองในเวลาอันใกล้ (เฉพาะฝั่งตะวันออก และกรุงเทพชั้นใน)"



    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center">
    </td> </tr> </tbody></table> </td> <td valign="top" width="340"> <table class="related" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <table class="related" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <table class="related" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <table class="related" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> <table style="width: 248px; height: 35px;" class="related" border="0" cellpadding="5" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>

    -http://thaiflood.kapook.com/view34088.html-

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท(เพิ่มเติม) ครั้งที่ ๓ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔


    -http://www.disaster.go.th/dpm/index.php?option=com_remository&Itemid=320&func=fileinfo&id=547-


    .........


    คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ


    -http://www.disaster.go.th/dpm/index.php?option=com_remository&Itemid=320&func=fileinfo&id=545-


    .................



    -http://www.disaster.go.th/dpm/-



    .


    http://www.disaster.go.th/dpm/index.php?option=com_remository&Itemid=320&func=fileinfo&id=547


    http://www.disaster.go.th/dpm/index.php?option=com_remository&Itemid=320&func=fileinfo&id=545


    http://www.disaster.go.th/dpm/

    .

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .


    หนังสือราชการ

    การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท (เพิ่มเติม) ครั้งที่ ๓[​IMG]
    การดำเนินการในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย[​IMG]
    การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท(เพิ่มเติม) ครั้งที่ ๓ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
    สรุปสถานการณ์อุทกภัย สาธารณภัย และการช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)
    คู่มือการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ
    การประชุมกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔
    การประชุมชี้แจงเกี่่ยวกับการดำเนินการช่วยเหลือเยียวยา ครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท (ศูนย์เขต ๑-๑๘)



    -http://www.disaster.go.th/dpm/-

    .






    http://www.disaster.go.th/dpm/


    .
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    .

    เปิดคู่มือ "ทำความสะอาดบ้าน" ฉบับเข้มข้น ขจัดคราบน้ำท่วมด้วยตัวเอง

    ถึงตอนนี้ระดับน้ำในหลายพื้นที่เริ่มลดลง ผู้คนเริ่มทยอยกลับเข้าบ้าน

    บ้าน หลังเดิมที่อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สำหรับบ้านที่ไม่ได้ยกข้าวของเครื่องใช้ก่อนเผ่นออกจากบ้าน อาจจะต้องทำใจสักพักหนึ่งก่อนจะก้าวเข้าไปชมผลงานที่น้องน้ำฝากไว้

    น้ำ จอมพลังที่อาจจะเคลื่อนย้ายทุกสิ่งทุกอย่างในบ้าน โยกไปคนละทิศละทาง กองระเกะระกะอยู่ทั่วบ้าน สภาพไม่เหมือนเดิมแน่นอน หรืออาจจะแค่ฝากคราบสกปรกไว้ตามพื้น ผนัง และขอบโต๊ะเก้าอี้ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและระยะเวลาที่น้ำคงอยู่

    ฉะนั้น ควรตั้งสติให้มั่นแล้วค่อย ๆ เดินกลับเข้าบ้านอย่างระมัดระวัง

    มี ขั้นตอนและวิธีการที่จะเข้าไปจัดการบ้านหรือที่อยู่อาศัย หลังจากที่น้ำท่วมขังมาเป็นเวลานานนับเดือนนั้น ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่ต้องจัดการอย่างระมัดระวัง

    กมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสต์ เพียร์เลส (ไทยแลนด์) 1968 จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการทำความสะอาดแบบครบวงจรมานานกว่า 40 ปี แนะนำวิธีทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลดด้วยตัวเองไว้อย่างน่าสนใจ

    เตรียมพร้อมก่อนเข้าบ้าน

    เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อาทิ แว่นตาช่าง, หน้ากากกรองฝุ่น, ผ้าปิดปากปิดจมูก, ถุงมือยาง, รองเท้าบูต, ไฟฉาย และหมวกนิรภัย

    จาก นั้นแต่งกายให้พร้อมก่อนเข้าไปในตัวบ้าน สิ่งสำคัญคือห้ามประมาทและอย่าเข้าไปคนเดียว ต้องมีคนไปเป็นเพื่อน และต้องมีคนรออยู่ด้านนอก เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น

    ขั้นตอนก่อนเข้าไปยังตัวบ้านให้ปฏิบัติดังนี้

    1.ก่อน เข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือน ให้เดินดูบริเวณรอบ ๆ บ้านก่อน โดยสำรวจพิจารณาดูโครงสร้างที่อาจจะเสียหายเป็นอันตรายก่อนตัดสินใจที่จะ เข้าไป

    2.ระวังเรื่องสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวบ้าน

    3.สังเกตดูรอยร้าว หรือการบิดตัวของโครงสร้างก่อนตัดสินใจเข้าไป

    4.ตรวจดูที่จัดเก็บถังแก๊ส มองหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะมีการรั่วซึม

    5.ตรวจสอบการจ่ายไฟให้แน่ใจว่า ไฟฟ้ายังไม่ได้จ่ายกระแสเข้าไปในบ้าน โดยการดูที่คัตเอาต์ว่ายังมีการสับสวิตช์ลงอยู่หรือไม่

    6.เปิดประตูให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อย่าเหยียบเข้าบ้านทันที ให้สังเกตพื้นบ้าน ลองค่อย ๆ ใช้เท้าทิ้งน้ำหนักเพื่อทดสอบก่อน

    7.สังเกตดูเพดานว่ามีการอมน้ำ แอ่นท้องช้าง หรือมีคราบน้ำอยู่หรือไม่ เพราะเพดานอาจพังทลายลงมาได้เมื่อมีการเคลื่อนไหวให้ระมัดระวัง

    ตรวจเช็กเชื้อโรค-ระบบไฟฟ้า

    ขั้นตอนของการทำความสะอาด ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก

    "ต้อง คำนึงถึงการกำจัดการฆ่าเชื้อโรคเชื้อราที่เราอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า จากการสัมผัสหรือหายใจเอาเชื้อเหล่านี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัว" กมลพรรณย้ำ

    ดัง นั้น ต้องคำนึงถึงการป้องกันตนเอง เช่น การใส่ถุงมือยาง และรองเท้าบูต ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคเชื้อรา, ป้องกันการสัมผัสสารเคมี รวมถึงป้องกันไฟดูด รวมทั้งคาดผ้าปิดจมูกและปากที่ช่วยป้องกันการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราและไอ ระเหยของสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

    ในระหว่างการทำ ความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด โดยอาจเปิดพัดลมเพดานช่วยระบายอากาศ

    ข้อ ห้ามคือ ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อโรคต่าง ๆ จะถูกดูดเข้าไปอยู่ในระบบปรับอากาศ และจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อราต่อไป ถือเป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น

    จากนั้นก็มาเริ่มที่ระบบไฟฟ้าของ ทั้งบ้าน ซึ่งจะต้องถูกปิดทันทีที่น้ำท่วมบ้าน ดังนั้นระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะต้องจัดการทันทีที่น้ำลด โดยให้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาตรวจสอบและซ่อมแซมให้หมดก่อนจึงจะสามารถกลับไปใช้ ไฟฟ้าได้

    บางครั้งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด และสายไฟจะต้องแห้งสนิท รวมทั้งสวิตช์ไฟ, เต้าเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะมีโคลนตมและตะกอนที่มากับน้ำเข้าไปอยู่ จึงต้องมีการตรวจเช็กระบบอย่างละเอียด

    ระบบเครื่องปรับอากาศ หลังน้ำลดต้องเรียกช่างแอร์มืออาชีพมาตรวจเช็กระบบเครื่องปรับอากาศภายในบ้านทั้งหมด พร้อมทั้งทำความสะอาดท่อ

    ต่าง ๆ, แผ่นกรองอากาศ เปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำ ฯลฯ เมื่อช่างแก้ไขให้เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ซีลปิดไว้ก่อนจึงจะเริ่มการทำความ สะอาดบ้าน

    อย่าลืมว่าก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศต้องทำความสะอาดบ้านจนเสร็จเรียบร้อยพร้อมกลับเข้าไปอยู่แล้วเท่านั้น

    ถึงเวลาลงมือทำ

    หลังจากตรวจเช็กทุกอย่างจนแน่ใจแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำความสะอาดขนานใหญ่ โดยเริ่มตามโปรแกรมดังนี้

    1.เริ่ม ด้วยการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อสะดวกในการจัดการกับโคลนตมที่มากับน้ำ ให้ใช้พลั่วตักดินโคลนออกจากพื้นบ้านให้ได้มากที่สุด

    จากนั้นจึงใช้ เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (ถ้ามี) หรือสายยางฉีดน้ำเพื่อชะล้างโคลนออกจากพื้นผิว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยผ่อนแรงได้มากคือ ไม้ปาดน้ำ หากไม่มีและพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถใช้ผ้าขนหนูทำเป็นผ้าลากน้ำได้ โดยเน้นการกำจัดดินโคลนออกไปให้หมด

    2.เรื่องของพื้น หากพื้นบ้านของท่านมีการใช้วัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไวนิล, เสื่อน้ำมัน, พรม, ปาร์เกต์ ฯลฯ มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อวัสดุปูพื้นเหล่านั้นออกเพื่อให้พื้นด้านล่างแห้ง ซึ่งกว่าจะแห้งสนิทอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร

    การทำความสะอาดพื้น ทุกชนิด ต้องพิจารณาดูตามความเหมาะสมของพื้น โดยทั่วไป ๆ สามารถใช้น้ำผสมคลอรีนในอัตราส่วน 0.1% (1 CC ต่อน้ำ 1,000 CC) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณก่อนแล้วจึงขัดถูพื้นด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ขัดถูให้ทั่วบริเวณแล้วจึงราดด้วยน้ำร้อนเดือด ๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ซึ่งต้องอ่านฉลากวิธีใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

    หาก ป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ กำจัดกลิ่น กำจัดคราบไขมันได้

    ข้อดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คือ สารชีวภาพเอนไซม์นั้นจะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่ จากความชื้นต่อไปได้อีกนานประมาณ 3-6 เดือน ตราบที่พื้นยังมีความชื้นอยู่ และที่สำคัญสารชีวภาพเอนไซม์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

    สำหรับพื้นบ้านที่ปูพรม...

    คลิกอ่านรายละเอียดต่อที่ : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


    -http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU1qSXlNelk1TWc9PQ==&sectionid=-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,446
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เปิดคู่มือ "ทำความสะอาดบ้าน" ฉบับเข้มข้น ขจัดคราบน้ำท่วม "ด้วยตัวเอง"


    ถึงตอนนี้ระดับน้ำในหลายพื้นที่เริ่มลดลง ผู้คนเริ่มทยอยกลับเข้าบ้าน

    บ้าน หลังเดิมที่อาจจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป สำหรับบ้านที่ไม่ได้ยกข้าวของเครื่องใช้ก่อนเผ่นออกจากบ้าน อาจจะต้องทำใจสักพักหนึ่งก่อนจะก้าวเข้าไปชมผลงานที่น้องน้ำฝากไว้

    น้ำ จอมพลังที่อาจจะเคลื่อนย้ายทุกสิ่งทุกอย่างในบ้าน โยกไปคนละทิศละทาง กองระเกะระกะอยู่ทั่วบ้าน สภาพไม่เหมือนเดิมแน่นอน หรืออาจจะแค่ฝากคราบสกปรกไว้ตามพื้น ผนัง และขอบโต๊ะเก้าอี้ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำและระยะเวลาที่น้ำคงอยู่

    ฉะนั้น ควรตั้งสติให้มั่นแล้วค่อย ๆ เดินกลับเข้าบ้านอย่างระมัดระวัง

    มี ขั้นตอนและวิธีการที่จะเข้าไปจัดการบ้านหรือที่อยู่อาศัย หลังจากที่น้ำท่วมขังมาเป็นเวลานานนับเดือนนั้น ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่ต้องจัดการอย่างระมัดระวัง

    กมลพรรณ (กอวัฒนา) นุชผ่องใส กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท ฟาร์อีสต์ เพียร์เลส (ไทยแลนด์) 1968 จำกัด ผู้เชี่ยวชาญในการทำความสะอาดแบบครบวงจรมานานกว่า 40 ปี แนะนำวิธีทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลดด้วยตัวเองไว้อย่างน่าสนใจ

    เตรียมพร้อมก่อนเข้าบ้าน

    เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม อาทิ แว่นตาช่าง, หน้ากากกรองฝุ่น, ผ้าปิดปากปิดจมูก, ถุงมือยาง, รองเท้าบูต, ไฟฉาย และหมวกนิรภัย

    จาก นั้นแต่งกายให้พร้อมก่อนเข้าไปในตัวบ้าน สิ่งสำคัญคือห้ามประมาทและอย่าเข้าไปคนเดียว ต้องมีคนไปเป็นเพื่อน และต้องมีคนรออยู่ด้านนอก เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่คาดคิดขึ้น

    ขั้นตอนก่อนเข้าไปยังตัวบ้านให้ปฏิบัติดังนี้

    1.ก่อน เข้าไปในตัวอาคารบ้านเรือน ให้เดินดูบริเวณรอบ ๆ บ้านก่อน โดยสำรวจพิจารณาดูโครงสร้างที่อาจจะเสียหายเป็นอันตรายก่อนตัดสินใจที่จะ เข้าไป

    2.ระวังเรื่องสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจหนีน้ำเข้าไปอาศัยอยู่ในตัวบ้าน

    3.สังเกตดูรอยร้าว หรือการบิดตัวของโครงสร้างก่อนตัดสินใจเข้าไป

    4.ตรวจดูที่จัดเก็บถังแก๊ส มองหาสิ่งผิดปกติที่อาจจะมีการรั่วซึม

    5.ตรวจสอบการจ่ายไฟให้แน่ใจว่า ไฟฟ้ายังไม่ได้จ่ายกระแสเข้าไปในบ้าน โดยการดูที่คัตเอาต์ว่ายังมีการสับสวิตช์ลงอยู่หรือไม่

    6.เปิดประตูให้เกิดการถ่ายเทอากาศ อย่าเหยียบเข้าบ้านทันที ให้สังเกตพื้นบ้าน ลองค่อย ๆ ใช้เท้าทิ้งน้ำหนักเพื่อทดสอบก่อน

    7.สังเกตดูเพดานว่ามีการอมน้ำ แอ่นท้องช้าง หรือมีคราบน้ำอยู่หรือไม่ เพราะเพดานอาจพังทลายลงมาได้เมื่อมีการเคลื่อนไหวให้ระมัดระวัง

    ตรวจเช็กเชื้อโรค-ระบบไฟฟ้า

    ขั้นตอนของการทำความสะอาด ต้องใช้เวลาและความอดทนอย่างมาก

    "ต้อง คำนึงถึงการกำจัดการฆ่าเชื้อโรคเชื้อราที่เราอาจมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า จากการสัมผัสหรือหายใจเอาเชื้อเหล่านี้เข้าไปโดยไม่รู้ตัว" กมลพรรณย้ำ

    ดัง นั้น ต้องคำนึงถึงการป้องกันตนเอง เช่น การใส่ถุงมือยาง และรองเท้าบูต ที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อโรคเชื้อรา, ป้องกันการสัมผัสสารเคมี รวมถึงป้องกันไฟดูด รวมทั้งคาดผ้าปิดจมูกและปากที่ช่วยป้องกันการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราและไอ ระเหยของสารเคมีเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ

    ในระหว่างการทำ ความสะอาดควรเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศระบายได้มากที่สุด โดยอาจเปิดพัดลมเพดานช่วยระบายอากาศ

    ข้อ ห้ามคือ ห้ามเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะเชื้อโรคต่าง ๆ จะถูกดูดเข้าไปอยู่ในระบบปรับอากาศ และจะกลายเป็นที่เพาะพันธุ์เชื้อราต่อไป ถือเป็นภัยเงียบที่เรามองไม่เห็น

    จากนั้นก็มาเริ่มที่ระบบไฟฟ้าของ ทั้งบ้าน ซึ่งจะต้องถูกปิดทันทีที่น้ำท่วมบ้าน ดังนั้นระบบไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งแรก ๆ ที่จะต้องจัดการทันทีที่น้ำลด โดยให้ช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาตรวจสอบและซ่อมแซมให้หมดก่อนจึงจะสามารถกลับไปใช้ ไฟฟ้าได้

    บางครั้งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องเดินสายไฟใหม่ทั้งหมด และสายไฟจะต้องแห้งสนิท รวมทั้งสวิตช์ไฟ, เต้าเสียบปลั๊กไฟต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้น้ำอาจจะมีโคลนตมและตะกอนที่มากับน้ำเข้าไปอยู่ จึงต้องมีการตรวจเช็กระบบอย่างละเอียด

    ระบบเครื่องปรับอากาศ หลังน้ำลดต้องเรียกช่างแอร์มืออาชีพมาตรวจเช็กระบบเครื่องปรับอากาศภายในบ้านทั้งหมด พร้อมทั้งทำความสะอาดท่อ

    ต่าง ๆ, แผ่นกรองอากาศ เปลี่ยนฉนวนกันความร้อนที่จมน้ำ ฯลฯ เมื่อช่างแก้ไขให้เสร็จเรียบร้อยแล้วให้ซีลปิดไว้ก่อนจึงจะเริ่มการทำความ สะอาดบ้าน

    อย่าลืมว่าก่อนจะเปิดเครื่องปรับอากาศต้องทำความสะอาดบ้านจนเสร็จเรียบร้อยพร้อมกลับเข้าไปอยู่แล้วเท่านั้น

    ถึงเวลาลงมือทำ

    หลังจากตรวจเช็กทุกอย่างจนแน่ใจแล้ว ก็มาถึงวิธีการทำความสะอาดขนานใหญ่ โดยเริ่มตามโปรแกรมดังนี้

    1.เริ่ม ด้วยการขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ภายในบ้านออกมาให้ได้มากที่สุด เพื่อสะดวกในการจัดการกับโคลนตมที่มากับน้ำ ให้ใช้พลั่วตักดินโคลนออกจากพื้นบ้านให้ได้มากที่สุด

    จากนั้นจึงใช้ เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง (ถ้ามี) หรือสายยางฉีดน้ำเพื่อชะล้างโคลนออกจากพื้นผิว อุปกรณ์อย่างหนึ่งที่จะช่วยผ่อนแรงได้มากคือ ไม้ปาดน้ำ หากไม่มีและพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก สามารถใช้ผ้าขนหนูทำเป็นผ้าลากน้ำได้ โดยเน้นการกำจัดดินโคลนออกไปให้หมด

    2.เรื่องของพื้น หากพื้นบ้านของท่านมีการใช้วัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ไวนิล, เสื่อน้ำมัน, พรม, ปาร์เกต์ ฯลฯ มีความจำเป็นที่จะต้องรื้อวัสดุปูพื้นเหล่านั้นออกเพื่อให้พื้นด้านล่างแห้ง ซึ่งกว่าจะแห้งสนิทอาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร

    การทำความสะอาดพื้น ทุกชนิด ต้องพิจารณาดูตามความเหมาะสมของพื้น โดยทั่วไป ๆ สามารถใช้น้ำผสมคลอรีนในอัตราส่วน 0.1% (1 CC ต่อน้ำ 1,000 CC) ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณก่อนแล้วจึงขัดถูพื้นด้วยน้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก ขัดถูให้ทั่วบริเวณแล้วจึงราดด้วยน้ำร้อนเดือด ๆ หรือใช้ผลิตภัณฑ์น้ำยาเคมีทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อต่าง ๆ ได้ ซึ่งต้องอ่านฉลากวิธีใช้ให้ละเอียดและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

    หาก เป็นไปได้ควรใช้ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่นที่เป็นสารชีวภาพเอนไซม์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ กำจัดกลิ่น กำจัดคราบไขมันได้

    ข้อ ดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คือ สารชีวภาพเอนไซม์นั้นจะยังคงมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อที่จะเกิดขึ้นใหม่ จากความชื้นต่อไปได้อีกนานประมาณ 3-6 เดือน ตราบที่พื้นยังมีความชื้นอยู่ และที่สำคัญสารชีวภาพเอนไซม์นั้นไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

    สำหรับ พื้นบ้านที่ปูพรม ถ้าพื้นบ้านที่ปูพรมจมอยู่ใต้น้ำท่วมหรือน้ำเสีย ควรจะตัดใจกำจัดทิ้งไปเพื่อความปลอดภัยของสุขภาพ เพราะพรมเป็นแหล่งเพาะเชื้อราอย่างดี

    การทำความสะอาดพรมด้วยตัวเอง เป็นเรื่องยาก ต้องใช้มืออาชีพที่เชื่อถือได้ว่าจะใช้น้ำยาซักพรมที่ฆ่าเชื้อกำจัดกลิ่น และใช้เครื่องมือซักพรมชนิดพิเศษที่สามารถทำความสะอาดได้ล้ำลึก แต่ค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดค่อนข้างสูง ควรพิจารณาให้ดี



    -http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1321691710&grpid=09&catid=&subcatid=-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...