เรื่องพิเศษ - รวมรวมบัญชี ช่วยเหลือน้ำท่วมปี 2554 และเรื่องต้องรู้เกี่ยวกับน้ำท่วม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 9 ตุลาคม 2011.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    นาทีที่ต้องพูดความจริง

    (ที่มา : มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 2554 หน้า 10)

    [​IMG]

    [​IMG]



    นาทีนี้ คนกรุงเทพฯโดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร (กทม.) รอบนอกแนวคันกั้นน้ำต่างหวาดผวาไม่เป็นอันหลับนอน เพราะกลัวว่าเมื่อตื่นขึ้นมา บ้านจะเจิ่งนองไปด้วยน้ำ

    เข้าไปคุยกับ อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในฐานะนักธรณีวิทยาคนหนึ่งของเมืองไทย ชี้แนะการจัดการเรื่องน้ำท่วมในเมืองหลวงอย่างน่าสนใจว่า กทม.ทำทุกอย่างเรื่องการจัดการน้ำได้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่ กทม.ยังไม่คิดจะจัดการเรื่องคนที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเลย

    "เวลา นี้คนกรุงเทพฯจะมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่คิดว่าน้ำท่วมแน่ๆ จึงตื่นตระหนก หวาดกลัว ไม่เป็นอันทำอะไร โทรศัพท์หาเพื่อน หาที่พึ่งพิงทางใจ และกักตุนอาหาร กับกลุ่มที่มั่นใจว่าน้ำไม่ท่วมแน่นอน เพราะไม่เคยเห็น และไม่รู้ข้อมูลว่ามันจะท่วมจริงๆ หรือมีโอกาสท่วม สิ่งที่ผมอยากให้ กทม.โดยเฉพาะทีมผู้บริหารดำเนินการคือ ให้ข้อมูลทุกอย่างตามความเป็นจริง ออกแถลงข่าวให้คน กทม.ทราบ" อ.ศศินกล่าว

    ในเรื่องของการจัดการ "คน" ที่จะต้องได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ กทม.จะต้องรีบทำอย่างเร่งด่วน แม้ว่าทำตอนนี้อาจจะช้าไป เพราะในอีกไม่กี่วันข้างหน้าหลายพื้นที่ใน กทม.น้ำต้องท่วม ก็ดีกว่าไม่จัดการอะไรเลย "สร้างเครือข่ายในพื้นที่ ชุมชน เพื่อเตรียมพร้อม หากประชาชนเกิดความเดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือเรื่องอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค หรือการเดินทางสัญจรไปมา"

    อ.ศศินบอกว่า มั่นใจว่าความตื่นตระหนกหรือการเมินเฉยกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นของคน กทม.ที่ผ่านมาเกิดจากการขาดการสื่อสารของคณะผู้บริหารที่มีต่อประชาชนนั่น เอง

    หวังว่าคำเสนอแนะเช่นนี้ ผู้บริหาร กทม.คงจะรับฟังและนำไปพิจารณาปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง

    ขณะ เดียวกัน มีข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ นำมาพิจารณา สำหรับการปฏิบัติตัวของชาว กทม. เป็นข้อมูลการประเมินความเสี่ยงโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของพื้นที่ ที่อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมในเขต กทม.ของบริษัททีม ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา รับดำเนินการสำรวจวิจัย ข้อมูลเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านน้ำ แก่หน่วยงานราชการและภาคเอกชนต่างๆ สำหรับการเตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัยดังนี้ (ดูประกอบแผนที่)

    สี แดง พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 3 หรือเสี่ยงสูงสุด เป็นพื้นที่น้ำท่วมแน่นอน พื้นที่ที่อยู่นอกคันกั้นน้ำพระราชดำริ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร จะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน จำเป็นต้องอยู่กับน้ำให้ได้ หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น

    พื้นที่เสี่ยง ระดับ 3 ทางตะวันออกของกรุงเทพฯนี้ จะเป็นทางที่น้ำจะหลากจากแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสัก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงสู่ทะเลโดยน้ำจะใช้เวลาในการเดินทางมาก ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ ทางตะวันออกของอำเภอธัญบุรี พื้นที่ทางตะวันออกของเขตหนองจอก อำเภอบางน้ำเปรี้ยว และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของคลองพระองค์ไชยานุชิต

    คันป้องกันน้ำท่วม ต่างๆ มีแนวโน้มว่าจะไม่สามารถป้องกันได้ และหากมีน้ำรั่วเข้ามาในพื้นที่ใดก็จะมีระดับน้ำท่วมสูง 1.0-2.0 เมตร แล้วแต่ความสูงต่ำของแต่ละพื้นที่

    พื้นที่เสี่ยงระดับ 3 ด้านตะวันตกของกรุงเทพฯ ได้แก่ อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอบางใหญ่ และพื้นที่ด้านตะวันตกของถนนกาญจนาภิเษก ที่อยู่เหนือคลองมหาสวัสดิ์ขึ้นไป และพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน การเตรียมตัว ให้ขนย้ายทรัพย์ขึ้นที่สูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร จอดรถยนต์ไว้ในที่สูง และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด

    สีเหลืองเข้ม พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ระดับที่ 2 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง เป็นพื้นที่ที่น้ำเคยท่วมเมื่อปี 2538 ซึ่งเป็นปีน้ำท่วมสูงสุด เป็นพื้นที่รัฐบาลพยายามป้องกันไม่ให้น้ำเข้าท่วม หากป้องกันไม่ได้ คันจะพัง น้ำจะมาเร็วและแรง ดังนั้นให้ติดตามข่าวและติดตามระดับน้ำในคลองตลอดเวลา หากมีรั่วเข้ามาท่วมได้ น้ำจะท่วมสูงประมาณ 1-2 เมตร และจะท่วมนานประมาณ 1-2 เดือน

    พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ อ.เมืองปทุมธานี อ.คลองหลวง พื้นที่ที่อยู่เหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์ พื้นที่ที่อยู่เหนือถนนสายไหม และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนหทัยราษฎร์ ถนนร่มเกล้า ถนนกิ่งแก้ว และพื้นที่ด้านตะวันออกของถนนบางบำหรุไปบางพลี

    พื้นที่เสี่ยงระดับ 2 ฝั่งตะวันตกได้แก่ พื้นที่ จ.นนทบุรี ที่อยู่ทางตะวันออกของถนนกาญจนาภิเษก มาถึงแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ อ.สามพราน ที่อยู่ใต้คลองมหาสวัสดิ์ ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน อ.กระทุ่มแบน อ.เมืองสมุทรสาคร ที่อยู่ห่างจากแม่น้ำท่าจีน และพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตจอมทอง การเตรียมตัว ให้เตรียมย้ายของมีค่าขึ้นที่สูง เตรียมวางแผนหาที่จอดรถยนต์ในที่สูงและติดตามข่าวและเฝ้าระวังใกล้ชิด

    สี เหลืองอ่อน พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมระดับที่ 1 เป็นพื้นที่มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ฝั่งตะวันออกของ จ.นนทบุรี กทม. และ จ.สมุทรปราการ ที่ไม่ได้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงระดับ 2 และ 3 ดังกล่าวข้างต้น พื้นที่นี้หากมีการท่วม น้ำจะท่วมสูงประมาณ 0.50 เมตร การเตรียมตัวนั้นขอให้ติดตามข่าวและเฝ้าระวัง

    พิจารณาเอาไว้ เป็นอีก 1 ข้อมูล ไม่เสียหลาย...


    -http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318569273&grpid=01&catid=&subcatid=-

    .

    http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1318569273&grpid=01&catid=&subcatid=#

    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2011
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผ่าแผนป้องกันน้ำท่วมกรุงซ้ำซาก รับมือวิกฤต 3 น้ำ "น้ำฝน-น้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุน"


    ชัยภูมิที่ตั้งของ "มหานครกรุงเทพ" เป็นที่ราบลุ่มตอนปลายของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ในเขตอิทธิพลการขึ้น-ลงของน้ำ ทะเล บวกกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่ขยายตัวไปมาก มีอาคารบ้านเรือน เข้ามาแทนที่ห้วย หนอง คลอง บึง และที่ว่าง ผนวกกับการทรุดตัวของดินเป็นประจำทุกปีด้วยแล้ว

    กลายเป็นต้นตอที่ทำให้ "กรุงเทพฯ" ในวันนี้หนีไม่พ้นจะประสบปัญหาน้ำท่วมได้

    2 ต้นเหตุปัญหา "น้ำท่วมกรุง"

    รายงาน ของสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระบุว่า มี 2 สาเหตุที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ สาเหตุที่ 1 มาจากธรรมชาติที่ยากจะควบคุมได้จาก 4 น้ำคือ "น้ำฝน-น้ำทุ่ง-น้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุน"

    โดย "น้ำฝน" ฤดูกาลจะเริ่มช่วงพฤษภาคม-ตุลาคม มีปริมาณและความถี่สูงสุดกลางสิงหาคม-ตุลาคม เฉลี่ยต่อปี 1,500 มิลลิเมตร ประกอบกับเป็นช่วงที่เกิดพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาในประเทศไทยและใกล้ กรุงเทพฯ

    "น้ำทุ่ง" คือน้ำฝนหรือน้ำเพื่อการกสิกรรมอยู่ด้านเหนือและตะวันออก ของกรุงเทพฯ โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณและระดับน้ำและความลาดเอียงของระดับพื้นดิน ที่ทรุดตัว

    "น้ำเหนือ" เป็นน้ำฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีบางส่วนไหลผ่านกรุงเทพฯ มีผลให้ระดับน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาสูงสุดในช่วงตุลาคม-พฤศจิกายน ขณะที่ขนาดของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพฯสามารถรองรับปริมาณน้ำเหนือได้ 2,500-3,000 ลบ.ม./วินาที

    และ "น้ำทะเลหนุน" จะสูงสุดในช่วงตุลาคม-ธันวาคม

    จาก "มวลน้ำ" ทั้งหมดส่งผล กระทบให้พื้นที่กรุงเทพฯช่วงตุลาคม-พฤศจิกายนมีระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา สูงกว่าปกติมาก จากสถิติปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นปี 2526, 2538, 2539, 2545, 2549 และ 2553 สูงสุดวัดที่ปากคลองตลาดใกล้สะพานพุทธ อยู่ที่ 2.13, 2.27, 2.14, 2.12, 2.22, 2.17 และ 2.10 เมตรตามลำดับ

    จากสถิติในอดีตทำให้ วันนี้ กทม.ค่อนข้างมั่นใจว่าคันกั้นน้ำที่สร้างขึ้นถาวรสูงระดับ 2.50 เมตรจะต้านทานปริมาณน้ำเหนือ-น้ำทะเลหนุนได้ ยกเว้นว่าบรรดาน้ำทั้ง 3 เกลอ "น้ำเหนือ-น้ำฝน-น้ำทะเลหนุน" พร้อมใจมาในเวลาเดียวกันโดยไม่ได้นัดหมาย

    สาเหตุ ที่ 2 เกิดจาก "สภาพทางกายภาพ" มี 3 สาเหตุคือ 1) "ปัญหาผังเมือง" ที่ขาดการกำหนดผังเมืองและการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเพียงพอ ทำให้ที่ว่างรับน้ำต่าง ๆ ถูกแทนที่ด้วยการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและถนนหนทางกระจายทุกหย่อมหญ้า

    บวก กับทางระบายน้ำถูกถม ทำให้การระบายน้ำฝนออกสู่คลองไม่ทัน และระดับพื้นถนนและซอยไม่เท่ากัน หรือบางพื้นที่เป็นแอ่งกระทะเพราะแผ่นดินทรุดตัว ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนและซอยที่ต่ำจนเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้

    2) "ปัญหาการระบายน้ำ" ที่ขาดแผนหลักระบายน้ำที่ถูกต้อง หลังคูคลองถูกถมเป็นถนน และถูกรุกล้ำจนทำให้มีขนาดที่แคบลงยากที่จะขุดลอกได้ และการวางท่อระบายน้ำในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงตามสภาพพื้นที่เมืองที่ ถูกบีบให้เหลือน้อยลงทุกที

    และ 3) "ปัญหาแผ่นดินทรุด" ที่มีการทรุดตัวทุกปี ทำให้การลงทุนระบบต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ผล

    เปิดพื้นที่จุดอ่อน-จุดเสี่ยง

    สำหรับ พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมมี 2 ฝั่งคือ ฝั่งตะวันตก เป็นพื้นที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำใน 13 เขต มี 27 ชุมชนรวม 1,273 ครัวเรือน ปัจจุบันมีการรุกล้ำแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ฝั่ง จะประสบกับปัญหา น้ำท่วมทุกปีเพราะชาวบ้านไม่ยอมให้ กทม.เข้าไปสร้างแนวคันกั้นน้ำ ได้แก่ เขตบางซื่อ ดุสิต พระนคร สัมพันธวงศ์ บางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย บางพลัด บางกอกน้อย ธนบุรี คลองสาน ราษฎร์บูรณะ และทวีวัฒนา

    สำหรับฝั่งตะวันออก พื้นที่ไฮไลต์อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำเช่นกัน มี 4 เขต 191 ชุมชนคือ เขตลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก และคลองสามวา

    ขณะ ที่พื้นที่ "จุดอ่อน" เป็นย่านชั้นในมี 15 จุด ได้แก่ 1) เขตสาทร ย่านถนนจันทน์ เซนต์หลุยส์ สาธุประดิษฐ์ 2) เขตพญาไท ถนนพหลโยธิน ช่วงคลองสามเสน-คลองบางซื่อ 3) เขตพระโขนง ถนนสุขุมวิท จากคลองพระโขนง-ซอยลาซาล 4) เขตวัฒนา ซอยสุขุมวิท 39 และ 49 5) เขตวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว จากคลองลาดพร้าว-ห้างเดอะมอลล์

    6) เขตบึงกุ่ม ถนนนวมินทร์ จากคลองดอนอีกา-แยกถนนประเสริฐมนูกิจทั้งสองฝั่ง 7) เขตดินแดง ถนนรัชดาภิเษก หน้าห้างโรบินสัน 8) เขตจตุจักร ถนนรัชดาภิเษก แยกลาดพร้าว 9) เขตราชเทวี ถนนเพชรบุรี จากถนนบรรทัดทอง-แยกราชเทวี 10) เขตราชเทวี ถนนนิคมมักกะสัน 11) เขตราชเทวี ถนนพระรามที่ 6 หน้าตลาดประแจจีน

    12) เขตบางแค ถนนเพชรเกษม ซอย 63 (ซอยวัดม่วง) 13) เขตยานนาวา ถนนเย็นอากาศ จากถนนนางลิ้นจี่- ซอยศรีบำเพ็ญ 14) เขตประเวศ ถนนศรีนครินทร์ ช่วงคลองตาสาด-คลองตาช้าง และ 15) เขตพระนคร ถนนสนามไชยและถนนมหาราช

    เปิดแผนป้องกัน "น้ำฝน-น้ำหนุน"

    เมื่อ รู้ต้นสายปลายเหตุทำให้ "กรุงเทพฯ" เผชิญกับภาวะน้ำท่วมแทบจะทุกปีอยู่แล้ว วิธีการป้องกันและแก้ไขปัญหา ซึ่งสำนักการระบายน้ำ กทม.ได้เขียนแผนประจำปีไว้ชัดเจนรวมถึง ปี 2554 นี้ด้วยมี 2 ลักษณะคือ ป้องกัน 2 น้ำทั้ง "น้ำฝน-น้ำหนุน"

    เริ่มที่วิธี "ป้องกันน้ำฝน" กทม. จะระดมเครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกจากพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมโดยเร็ว จากเดิมใช้เวลา 5-6 ชั่วโมง เหลือ 2-3 ชั่วโมง มี 15 จุดที่หากฝนตกเกินปริมาณ 60 มิลลิเมตร/ชั่วโมง เสี่ยงเกิดน้ำท่วมขังแน่นอน

    ส่วน การ "ป้องกันน้ำหนุน" มีหลายวิธี ทั้งประตูระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่แนวคันกั้นน้ำตามริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ริมคลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ เพื่อไม่ให้น้ำเอ่อล้นตลิ่ง

    ปัจจุบัน กทม.สร้างแนวคันกั้นน้ำถาวรไว้แล้ว รับน้ำได้สูง 2.50 เมตร รวมระยะทาง 75.80 กิโลเมตร ยังมีพื้นที่เป็น "ฟันหลอ" เหลืออยู่ 1.20 กิโลเมตร จะสร้างเสร็จในปี 2555 ปัจจุบัน กทม.นำกระสอบทรายมาวางเป็นแนวป้องกันชั่วคราวสูงระดับ 2.70 เมตร

    "อุโมงค์ยักษ์" แก้น้ำท่วมยั่งยืน

    อย่าง ไรก็ตาม ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว ทางสำนักการระบายน้ำ กทม.เขียนแผนบูรณาการจากการใช้สิ่งก่อสร้างถาวร ทั้งสถานีสูบน้ำ ระบบป้องกันน้ำท่วม ประตูระบายน้ำ ระบบระบายน้ำ ระบบผันน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำยักษ์ สร้างแนวป้องกันริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองบางกอกน้อย สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กริมคลอง รวมถึงขุดลอกคูคลองปรับปรุงระบบระบายน้ำและอุปกรณ์ต่าง ๆ

    ซึ่งอาจจะ ต้องใช้เงินอีกเป็น 10,000 ล้านบาทในการแก้ปัญหา ขณะที่ในแต่ละปีได้รับงบประมาณอยู่ที่ปีละกว่า 3,000 ล้านบาท ไม่พอกับการดำเนินการ ส่วนหนึ่ง กทม.จะต้องพึ่งพางบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลกลาง เช่น การก่อสร้างอุโมงค์ยักษ์อีก 3 แห่งที่เหลือ วงเงินก่อสร้างรวม 13,400 ล้านบาท

    โดยแต่ละอุโมงค์มีประสิทธิภาพระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้า พระยาได้ 60 ลบ.ม./วินาที ประกอบด้วย 1) อุโมงค์รัชดาภิเษก-สุทธิสาร สร้างใต้คลองบางซื่อจากลาดพร้าวออก เจ้าพระยาบริเวณเกียกกายความยาว 6.40 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 2,500 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 3 ปี อยู่ระหว่างประกวดราคา

    2) อุโมงค์สวนหลวง ร.9 ลอดใต้คลองหนองบอน คลองตาช้าง ถนนอุดมสุข สุขุมวิท 101/1 คลองบางอ้อ ออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริษัทไม้อัดไทยความยาว 9.40 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 4,900 ล้านบาท ออกแบบเสร็จแล้วอยู่ระหว่างของบประมาณจากรัฐบาลใช้เวลาสร้าง 4 ปี

    3) อุโมงค์ดอนเมือง ระบายน้ำจากคลองบางบัวลอดใต้คลองวัดหลักสี่ คลองเปรมประชากร ถนนรัชดาภิเษก ถนนวงศ์สว่าง ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณใต้สะพานพระราม 7 ระยะทาง 13.50 กิโลเมตร ค่าก่อสร้าง 6,000 ล้านบาท กำลังสำรวจออกแบบใช้เวลาสร้าง 4 ปี

    จาก ปัญหา "อุทกภัย" ที่หนักหน่วงในปีนี้ เชื่อว่า "กทม." น่าจะได้บทเรียนเพิ่มขึ้น และอาจจะต้องรีวิวหรือวางแผนระบบป้องกันน้ำท่วมปี 2555 ใหม่ โดยเฉพาะแนวคันกั้นน้ำถาวรริมเจ้าพระยา ที่อาจจะต้องเพิ่มระดับความสูงขึ้นไปอีก เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเมืองกรุงอย่าง ยั่งยืนและแท้จริง

    ไม่ใช่เป็นแค่การ "แก้ผ้าเอาหน้ารอด" แบบปีต่อปีเช่นนี้



    -http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1318648471&grpid=&catid=07&subcatid=-


    .

    http://www.prachachat.net/news_detai...d=07&subcatid=



    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    น้ำท่วม...บริหารจัดการไม่เป็น


    ไม่ใช่ภัยพิบัติลงโทษแต่...บริหารน้ำผิดพลาด
    รุนแรงจนรัฐบาลต้องประกาศเป็น "วาระแห่งชาติ" ระดมความร่วมมือจากทุกสรรพกำลังมาร่วมแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศที่ จนถึงเวลานี้ 26 จังหวัด กำลังจมน้ำ ประชาชนกว่า 2.2 ล้านครัวเรือนกำลังเดือดร้อนอย่างหนัก

    นอกจากบ้านเรือน พื้นที่การเกษตรที่เสียหายไปแล้วกว่า 9.6 ล้านไร่ มวลน้ำก้อนมหึมายังรุกคืบสร้างความเสียหายต่อเนื่องฝ่าปราการป้องกันเบื้อง ต้นรุกล้ำไปยังนิคมอุตสาหกรรม จนมูลค่าความเสียหายพุ่งสูงหลายแสนล้านบาท ยังไม่รวมยอดผู้เสียชีวิตที่สูงถึง 281 ราย

    [​IMG]

    ดร.สมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ในฐานะผู้คร่ำหวอดในแวดวงอุตุนิยมวิทยา มายาวนาน ฟันธงว่าวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ไม่ใช่เป็นผลพวงจาก "ภัยพิบัติ" แต่เป็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำไม่เป็น!!!

    "คือไม่ สามารถจะบริหารน้ำได้ ไม่มีการติดตามข้อมูลตั้งแต่ต้นฤดูฝนว่าจะตกเยอะไหม ควรเก็บน้ำในเขื่อนไว้เท่าไหร่ ปรากฏว่าทุกคนเก็บน้ำไว้ในเขื่อนใหญ่หมด ทั้งกรมชลประทาน การไฟฟ้าฯ ซึ่งกลัวว่าจะไม่มีน้ำใช้ในหน้าแล้งซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ผิด

    ...ถ้า ฝนตกต่อเนื่องทั้งกลางฤดู ปลายฤดู ยังตกอยู่ ปริมาณช่องว่างน้ำในเขื่อนจะไม่สามารถเก็บน้ำฝนกลางฤดูได้ ตอนนี้เขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้วปัญหาคือ เมื่อเขื่อนใหญ่เต็มหมดแล้ว ก็ปล่อยน้ำในเขื่อนออกมาพร้อมกัน ปริมาณน้ำที่ปล่อยมามากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกใส่เขื่อน"

    ดร.สมิ ทธ อธิบายว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ทั้ง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ทำให้น้ำมารวมตัวในภาคกลางตอนบนไล่มาตอนล่าง ขณะที่ภาคกลางก็มีน้ำฝนที่ตกมาอยู่ท้ายเขื่อนอยู่ในที่ลุ่มอยู่แล้ว ดังนั้นน้ำในขณะนี้จึงมหาศาลมาก หลายคนบอกน้ำปล่อยมานิดเดียวแต่เพราะน้ำมีอยู่แล้วในที่ลุ่ม ในนา เมื่อปล่อยมาพร้อมกันปริมาณน้ำจึงมาก ทำให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมพร้อมกัน ตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา

    "เป็น วิกฤตบริหารน้ำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่มีการวางแผนไว้ก่อน อันที่จริงเราควรเก็บน้ำไว้ครึ่งหนึ่ง และถ้ามีฝนกลางฤดูที่แล้วก็สามารถเก็บน้ำไว้อีกได้"


    ทั้ง นี้ ที่ผ่านมานักวิชาการหลายคนบอกว่าน้ำไม่เคยสูงเช่นนี้ บางคนบอกน้ำเยอะแต่ไม่เคยท่วม ทุกคนต่างคนต่างมีข้อมูลของตัวเอง แต่ขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาเถียงกันเรื่องข้อมูล เพราะข้อมูลที่แท้จริงกรมอุตุนิยมวิทยามีอยู่แล้ว เรามีสถานีวัดปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน กว่า 200 แห่งที่วัดปริมาณฝนได้

    สำหรับแนวทางการแก้ไขในเวลานี้ ดร.สมิทธเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนเพราะช่วงนี้ไม่มีปริมาณน้ำฝนที่จะตก เข้าเขื่อนแล้วทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนนี้3 เขื่อนใหญ่ก็จะไม่มีน้ำเข้าแล้ว ดังนั้นถ้าเรายังปล่อยน้ำมหาศาลซ้ำเติมระบบน้ำท่วมที่อยู่ในภาคกลาง น้ำจะท่วมหมด

    "ความเสียหายเป็นแสนล้านบาท ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ดูแลปัญหาเกี่ยวกับน้ำภายใต้สังกัดกระทรวงต่างๆ กว่า 20 หน่วยงาน แต่เราไม่มีดาตาเบส ต่างฝ่ายต่างทำไม่เอาข้อมูลมาแชร์กัน จึงทำให้ขาดผลวิเคราะห์ในการตัดสินใจ

    ...การ บริหารน้ำถ้าไม่มีการประสานงานกันทั้งกรมอุตุฯ กรมชลฯ การไฟฟ้าฯ ว่าควรจะเก็บหรือปล่อยน้ำแค่ไหนมันก็ไม่มีฐานข้อมูลที่นำมาคำนวณปริมาณน้ำ ว่าควรจะปล่อยหรือพร่องน้ำในระดับใดจึงจะทำให้พื้นที่ไม่เดือดร้อน"


    นอก จากนี้ ต้องยอมรับว่าการไม่มีเอกภาพในการทำงาน การที่นักวิชาการทะเลาะกันเอง ไม่มีความรู้อย่างแท้จริงนำไปเสนอรัฐบาล จึงทำให้ระบบรวนทั้งหมด สุดท้ายก็นำไปสู่ปัญหาอุทกภัยทั้งๆ ที่น้ำมวลใหญ่ที่ปล่อยออกมาจากเขื่อนใหญ่ๆนั้นบริหารจัดการได้

    "ฝน ปีนี้อาจจะมากกว่าปีที่แล้ว แต่การบริหารน้ำที่เราเก็บไว้มากไป แล้วปล่อยมาทีเดียว ไม่ปล่อยให้น้ำไหลไปตามธรรมชาติ หากปล่อยมาเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นฤดูตามธรรมชาติ กลางฤดูพอฝนตกก็เก็บบ้างปล่อยบ้างปลายฤดูก็ไม่จำเป็นต้องปล่อยทีเดียวเยอะๆ น้ำก็จะไม่ท่วม ถ้าเราไม่ปล่อยน้ำก้อนใหญ่จากเขื่อน 3 แห่ง รับรองว่าน้ำไม่ท่วม กทม.ปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา และอีกหลายจังหวัดอย่างที่เห็นกันอยู่"

    มาตรการบรรเทา ปัญหาเฉพาะหน้าเวลานี้ ดร.สมิทธ มองว่า อันดับแรกเขื่อนใหญ่ควรหยุดปล่อยน้ำและหาทางระบายน้ำที่อยู่ในแม่น้ำใหญ่ๆ ทั้งแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำบางปะกงให้ลงทะเลเร็วที่สุด ด้วยการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่บริเวณปากแม่น้ำทั้งสามสาย เพราะช่วงนี้น้ำทะเลหนุนสูง น้ำเหนือไหลมาสมทบจะทำให้น้ำนิ่ง ไหลช้าลง ก็ต้องเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลก็จะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม กทม.ได้

    "แต่ เพราะหลายเขื่อนยังปล่อยมาหลาย100 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่แม่น้ำต่างๆระบายต่อวันได้ไม่ถึง 50 ล้านลูกบาศก์เมตรทุกเขื่อนพร้อมใจกันปล่อย มันก็มารวมกันที่ภาคกลาง เหมือนเราเทน้ำลงมาพร้อมกัน น้ำที่เต็มแก้วเมื่อเติมไปอีกมันก็ล้น

    ...เรื่อง นี้ไม่ใช่ภัยพิบัติลงโทษ แต่เป็นเพราะการบริหารน้ำที่ผิดพลาด หากเราบริหารไม่ดีท่วมแน่ ถ้าไม่รู้จักเก็บน้ำในเขื่อนไว้ให้เหมาะสม นอกจากนี้การบริหารในเขื่อนเล็กๆแต่ละเขื่อนไม่สามารถระบายออกทะเลได้รวด เร็วพอ มันก็เอ่อในที่ลุ่มภาคกลาง"

    ประเมินมาตรการแก้ ปัญหาของรัฐบาลที่ออกมาถูกทางหรือไม่นั้น ดร.สมิทธ มองว่าจริงๆ รัฐบาลควรตั้งศูนย์เฉพาะกิจแต่แรกเพราะการบริหารภัยพิบัติใหญ่ๆ ต้องตั้งศูนย์เฉพาะ ต้องมีผู้บริหารใหญ่และผู้ควบคุมศูนย์คนเดียว จะเป็น พล.ต.อ.ประชา พรหมนอกหรือนายกรัฐมนตรี ก็ได้ แต่ต้องตัดสินใจคนเดียว ทว่าตั้งช้าไปหน่อย แม้ตอนนี้จะเริ่มมีการตัดสินใจเดินหน้าแก้ไขหลายเรื่องแล้วแต่มาเริ่มตอน วิกฤตน้ำใกล้ท่วม กทม.ที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและมีประชาชนอยู่มาก ทำให้ผลกระทบเยอะ

    ส่วนความตื่นตระหนกของชาวบ้านที่ไม่มั่น ใจสถานการณ์ และแก้ปัญหาด้วยการสร้างพนังกั้นน้ำหน้าบ้านตนเองจนวัตถุดิบขาดตลาดนั้น ดร.สมิทธ เห็นว่าอาจไม่ถูกต้องตามวิธีการ เพราะเป็นการสร้างที่ไม่มีหลักวิชาการการเอาดินวาง เอากระสอบทรายมาวาง มันสู้แรงดันน้ำไม่ได้

    ทั้งนี้ น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร หนักถึง 1 ตันถ้าสร้างเขื่อนสูง 2 เมตร แสดงว่ามีแรงดันน้ำถึง 2 ตัน ดังนั้นหากเขื่อนสร้างไม่แข็งแรงน้ำจะซึม กระสอบทรายไม่หนักพอก็ทลาย น้ำก็จะไหลอย่างรวดเร็วและแรงจนเอาไม่อยู่

    ดร.สมิทธ อธิบายถึงแนวคิดที่ในอดีตเคยเสนอให้ตั้ง "กระทรวงน้ำ" ขึ้นมารับผิดชอบดูแลเรื่องนี้โดยตรง ว่าเป็นเพียงข้อเสนอของนักการเมืองที่จะทำให้มีตำแหน่งทางการเมืองเพิ่มขึ้น ทั้งรัฐมนตรี ที่ปรึกษาและข้าราชการการเมือง เป็นการสร้างตำแหน่งเปล่าๆ

    "ผม ว่าทำอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันก็เหมาะสมแล้ว คือการตั้งศูนย์เฉพาะแล้วรวมเอานักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญด้านน้ำมารวม กัน แต่ว่าการบริหารต้องการคนที่รู้เรื่องมาคุยกัน อย่าให้มานั่งเถียงกัน และการตัดสินใจก็ให้นายกฯ เป็นผู้ชี้ขาด"

    เขื่อนใหญ่ต้องหยุดปล่อยน้ำ
    ยังต้องลุ้นระทึกกับมวลน้ำก้อนใหญ่ ที่คาดว่าจะถึง กทม.ในวันสองวันนี้ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ยังอดเป็นห่วงฝีมือ กทม. กับการผันน้ำ กทม. หากเกิดน้ำทะลักเข้าพื้นที่เข้ามาจริงๆ

    [​IMG]

    "ผมไม่เชื่อฝีมือ กทม. เพราะไม่เคยศึกษาหรือไปดูเขื่อน เช่น เขื่อน จ.ปทุมธานี ที่เพิ่งแตกไป กทม.ก็ไม่ดูแลบอกว่าท้องถิ่นสร้างขึ้นเอง ทั้งที่จริงแล้ว กทม.ควรมีหน้าที่ไปดูแลพื้นที่ด้วย เพราะน้ำที่จะแตกจากปทุมฯ จะเข้า กทม.กทม.อยู่ติดจังหวัดต้นน้ำ ถ้าเถียงกันอย่างนี้ กทม.จมแน่"

    ทั้ง นี้ ไม่แน่ใจว่าเขื่อนรอบๆ กทม.จะมีความแข็งแรงพอหรือไม่ เพราะเขื่อนกั้นน้ำของ กทม.มีทั้งเขื่อนดินและเขื่อนคอนกรีต กระสอบทรายโดยเฉพาะในพื้นที่รอบนอก ทาง อบต. และอบจ. จะเป็นคนดูแล โดยใช้ผู้รับเหมาก่อสร้าง ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ อาจทำให้มีปัญหาเรื่องความแข็งแรง

    "อันนี้ถือเป็นจุดอ่อน จะทำให้เกิดวิกฤตน้ำในกทม.ได้ ขณะนี้น้ำล็อตใหญ่ที่มาจากเขื่อนภูมิพลสิริกิติ์ ป่าสักชลสิทธิ์ กำลังผ่านเข้ามาใน 3-4 จังหวัดที่ท่วมอยู่แล้ว กทม.จึงต้องระวังเพราะเป็นช่วงน้ำทะเลหนุน ตอนนี้ดูแล้ว กทม.คงรอดยาก"

    ดร.สมิ ทธ ประเมินว่า วิธีการแก้ไขให้ได้ผลเร็วคือ ต้องหยุดปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ จากนั้นตั้งเครื่องสูบน้ำที่ปลายแม่น้ำที่จะลงสู่ทะเลให้มากที่สุดเพื่อสูบ น้ำออกปากอ่าว นี่คือวิธีเดียวที่จะระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    "การ เอาเรือไปดันน้ำจะดันได้เฉพาะผิวน้ำเท่านั้น ไม่สามารถดันน้ำที่อยู่ลึกไปข้างล่างได้พระราชดำรัสของในหลวงเรื่องการสร้าง คลองลัดโพธิ์ การที่เป็นคลองแคบจะทำให้การดันน้ำไหลออกจากคลองได้เร็ว แต่ถ้าเอาเรือหลายลำไปผูกแล้วดันน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กว้าง เป็นการเสียน้ำมันเปล่า เพราะดันได้แค่ผิวน้ำเท่านั้นเรื่องนี้ต้องคิดต้องรู้ลักษณะของน้ำ ดังนั้นที่ถูกต้องคือการตั้งระบบสูบน้ำที่ปลายคลองหรือปลายแม่น้ำออกสู่ทะเล เลย"

    สำหรับแนวคิดที่ กทม.ลงทุนทำอุโมงค์ยักษ์มีการระบายน้ำจากที่ลุ่มของกทม. เช่น รามคำแหงหนองจอก แทนที่จะระบายออกอ่าวไทย แต่กลับเอามาออกที่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไม่ช่วยอะไรเลยเพราะจะทำให้เจ้าพระยาล้นตลิ่งอีก หมุนเวียนถ้าจะลงทุนให้มากหน่อย วางท่อให้ยาวแล้วไปลงที่อ่าวไทยจะดีกว่า และทำให้ กทม.ปลอดภัยจากน้ำท่วมด้วย ไม่รู้ทำไมถึงคิดกันแค่นี้ เห็นว่าผู้ว่าฯกทม.จะทำอีกหลายอุโมงค์แต่ไม่รู้จะไปออกที่ไหน

    ดร.สมิ ทธ ประเมินถึงสถานการณ์พายุบันยันที่วิเคราะห์แล้วเชื่อว่าไม่เข้าไทย แต่การที่นักวิชาการไม่มีความรู้แล้วไปให้ข้อมูลกับ ศปภ.และนายกฯ ว่าพายุจะสร้างผลกระทบต่อประเทศทำให้เกิดความตื่นกลัวกันหมด คนไม่รู้มาพูดทำให้ตกใจและประเมินพลาด

    "พายุลูกนี้จะเข้า ที่อ่าวตังเกี๋ย ประเทศจีนจากนั้นก็จะไปเวียดนามเข้ามาทางเหนือบ้านเราก็จะทำให้มีฝนตกนิด หน่อยที่เชียงใหม่ เชียงรายจากนั้นจะทำให้อากาศหนาวเย็นลง ผมอยากขอให้คนที่ไม่มีความรู้เรื่องอุตุนิยมวิทยา หรืออุทกวิทยา หยุดให้ข้อมูล เพราะจะให้เกิดความตระหนก แตกตื่นกันไปหมด"

    ดร.สมิ ทธ วิเคราะห์ต่อไปว่า หลังจากนี้ทางภาคเหนือ ภาคอีสาน จะเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วหากมีพายุเข้ามาจะไม่ส่งผลให้มีฝนตก หรือถ้าตกก็จะไม่มาก สิ่งที่กรมอุตุฯ และรัฐบาลต้องระวังต่อไป คือ ร่องลมมรสุมที่จะเลื่อนจากภาคกลางตอนล่างไปยังตอนใต้ ผ่านสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ซึ่งปีที่แล้วช่วงเดือนเดียวกันก็มีพายุดีเปรสชันก่อตัวทางทะเลจีนตอนล่าง พัดเข้าสู่อ่าวไทย คลื่นลมที่พัดมาจะทำให้เกิดคลื่นพายุหมุนซัดชายฝั่ง(สตอร์ม เซิร์จ) สูง 4-5 เมตร และจะส่งผลกระทบให้ภาคใต้ เช่น ปัตตานี ยะลา

    ดัง นั้น ข้อมูลในการเตือนภัยพิบัติของกรมอุตุฯ จะต้องแม่น และหากสภาวะลมแรงจะทำให้สตอร์ม เซิร์จ สูงถึง 5-6 เมตร ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณแนวฝั่งและรัฐบาลต้องเตือน ให้เขาอพยพไปอยู่ในจุดที่ปลอดภัย


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9/116413/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99-

    .

    น้ำท่วม...บริหารจัดการไม่เป็น - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์


    . __________________
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เมื่อปีที่แล้ว ประมาณกลางปี (เดือนมิถุนายน 2553) ผมได้แจ้งบริษัทประกันภัย เรื่องที่ผมทำประกันอัคคีภัย ผมต้องการเพิ่มความคุ้มครองในเรื่องของอุทกภัย และ ซึนามิ

    ปรากฎว่า บริษัทประกันภัย ได้ตอบรับเรื่องของการเพิ่มความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย โดยเพิ่มแค่เรื่องของอุทกภัย แต่ทางบริษัทไม่รับเรื่องของซึนามิิครับ


    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • m1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      0 bytes
      เปิดดู:
      190
    • m2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      0 bytes
      เปิดดู:
      176
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2011
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    ประกันสำลักน้ำ จ่ายสินไหมอ่วม


    โดย...ทีมข่าวการเงิน

    แม้ความเสียหายจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้จะยังไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ทั้งหมด เพราะสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่จบ

    แต่ได้มีการคาดการณ์กันแล้วว่าน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศไทยครั้งนี้คง สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าหลายแสนล้านบาทอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบ้านเรือนหรือทรัพย์สินของประชาชน พื้นที่เกษตรกรรมต่างๆ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต่างถูกน้ำทะลุทะลวงเข้าไปยึดได้แล้วในแต่ละพื้นที่

    ส่งผลให้โรงงานที่อยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมต้องหยุดกิจการอย่างไม่มีกำหนด และพนักงานอีกเป็นแสนคนต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ความเสียหายที่เกิดขึ้นครั้งนี้จึงหลีกไม่พ้นที่แต่ละบริษัทประกันต้อง เข้ามารับผิดชอบอย่างเต็มๆ ในฐานะเป็นธุรกิจที่รองรับความเสี่ยงภัยจากเหตุการณ์ต่างๆ รวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นบ่อยในขณะนี้

    จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบ ธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่านิคมอุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัยและอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทค นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบางกะดี และนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ได้ทำประกันภัยและมีจำนวนเงินเอาประกันภัยไว้รวมทั้งสิ้นถึง 410,177 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเพียง 2.6% ของจำนวนเงินเอาประกันภัยการประกันภัยทรัพย์สินของธุรกิจ

    [​IMG]

    อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นคาดว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น โดยเฉพาะนิคมที่ถูกน้ำท่วมแล้วทั้งนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค แต่ความเสียหายจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้อีกหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการท่วมขังของน้ำด้วยว่ากินเวลานานอีกเท่าใด

    ส่วนบริษัทที่รับประกันภัยในนิคมอุตสาหกรรมสูงสุด 2 ลำดับแรก ได้แก่ บริษัท มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันซ์ และบริษัท สมโพธิ์ เจแปน ประกันภัย (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยชั้นนำจากประเทศญี่ปุ่น สอดคล้องกับสัดส่วนของโรงงานที่อยู่ตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ก็มีสัญชาติญี่ปุ่นเช่นกัน
    ทีนี้ดำน้ำลงไปดูความเสียหายของบ้านเรือนประชาชนกันบ้าง เมื่อมีการคาดการณ์ออกมาจาก สุชาติ ธาดาธำรงเวช สส.บัญชีรายชื่อ และทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย ว่า ความเสียหายของทรัพย์สินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและบ้านเรือนประชาชนน่าจะ เสียหายมากถึง 5 แสนล้านบาททีเดียว ซึ่งตัวเลขความเสียหายที่ คปภ.สำรวจได้เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา พบว่าจากผู้เสียชีวิต 269 คน มีคนทำประกันไว้เพียง 29 คน คิดเป็นเงินเอาประกัน 6 ล้านบาท
    มีความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ 818 คัน โดยซ่อมแซมแล้วจำนวน 102 คัน เสียหายอย่างสิ้นเชิงที่ต้องจ่ายค่าสินไหมเต็มวงเงินเอาประกันภัย 8 คัน ขณะที่ความเสียหายต่อทรัพย์สินมีเพียง 1,750 ราย คิดเป็นค่าสินไหมที่ต้องจ่าย 320 ล้านบาท

    ฟากของธนาคารพาณิชย์เองก็ออกมายอมรับถึงความเสียหายเบื้องต้นแล้ว ที่ลูกค้าของแต่ละธนาคารต่างก็ถูกน้ำซัดซวนเซไปตามๆ กัน โดยในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ที่ถูกน้ำท่วมเป็นธุรกิจขนาดใหญ่กว่า 300 ราย คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อ 1.52 หมื่นล้านบาท ธุรกิจเอสเอ็มอี 2,000 ราย คิดเป็นมูลค่าสินเชื่อ 1.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้มีการขอความช่วยเหลือเข้ามาแล้ว 183 ราย หรือ 7,540 ล้านบาท ขณะที่ลูกค้ารายย่อยคาดว่าจะได้รับผลกระทบไม่ต่ำกว่า 3-4 แสนราย จากฐานลูกค้าทั้งหมด 10 ล้านราย ซึ่งไทยพาณิชย์เองก็เตรียมวงเงินสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือลูกค้าไว้เบื้องต้น ถึง 1 หมื่นล้านบาท

    ขณะที่ธนาคารกสิกรไทยมีลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยที่เป็นลูกค้า ธุรกิจรายใหญ่ 400 ราย ธุรกิจเอสเอ็มอี 2.56 หมื่นราย และลูกค้ารายย่อยประมาณ 1 แสนราย ความเสียหายก็คงหลายพันล้านบาทแน่นอน

    อย่างไรก็ตาม ในส่วนลูกค้าสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์นั้นถือว่ายังโชคดีที่จะมีประกันภัย เข้ามาช่วยบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่ ซึ่งเป็นผลจากการถูกธนาคารบังคับให้ทำประกันภัยไว้ตั้งแต่ต้นแล้ว ผู้ที่รับบทหนักในขณะนี้จึงไหลไปสู่บริษัทประกันแทน
    ฉายภาพความเสียหายพอให้เห็นในเบื้องต้นแล้วว่า นี่เป็นเพียงความเสียหายเบื้องต้นที่แต่ละบริษัทประกันต้องมีส่วนเข้าไปรับ ผิดชอบจ่ายค่าสินไหมให้กับลูกค้าที่เป็นภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป

    ดังนั้น ในปีนี้จึงเป็นอีกปีหนึ่งที่ธุรกิจประกันภัยต้องทุกข์ระทมไปกับความเสียหาย ที่เกิดจากน้ำท่วม ทั้งประกันภัยในประเทศและบริษัทประกันต่างประเทศ หรือรีอินชัวรันส์ ที่เจอพิษสึนามิจากญี่ปุ่นกล่มไปแล้วระลอกหนึ่งเมื่อต้นปี

    นี่ถือเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากปีที่แล้วธุรกิจประกันก็ได้รับผลพวงจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิด ขึ้น มีค่าสินไหมที่รอค้างจ่ายอยู่อีกนับหมื่นล้านบาท แต่เรื่องก็ยังไม่ได้ข้อยุติจนถึงปัจจุบัน

    อย่างไรก็ตาม คาดว่าค่าสินไหมที่ธุรกิจประกันต้องจ่ายให้กับเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ หากจะคิดเป็นมูลค่าแล้วก็คงมากที่สุดในรอบหลายปีทีเดียว
    มากกว่าเหตุการณ์สึนามิที่ภาคใต้ และเหตุการณ์น้ำท่วมในแต่ละพื้นที่ที่เกิดขึ้นในช่วงแต่ละปีที่ผ่านมา จึงย่อมส่งผลกระทบถึงผลการดำเนินงานในปีนี้อย่างแน่นอน

    แม้บริษัทประกันหลายแห่งจะออกมายืนยันว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะความเสียหายหลักที่เกิดกับทรัพย์สินนั้น แต่ละบริษัทประกันได้มีการทำประกันภัยต่อไปยังต่างประเทศไว้เรียบร้อยแล้ว บริษัทประกันจึงรับความเสี่ยงไว้กับตัวเองไม่มากนัก เป็นการปลอบใจตัวเองไว้ก่อน

    แต่ถึงบอกว่าไม่มากนัก ก็คาดว่าบริษัทประกันแต่ละแห่งก็ต้องจ่ายค่าสินไหมเป็นหลักร้อยล้านบาทที เดียว ตัวอย่างให้เห็นชัดเจนที่สุดในขณะนี้ก็คงเป็นของบริษัทรับประกันภัยต่อ หรือไทยรี ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยต่อแห่งเดียวของไทย ที่คาดว่าต้องควักเงินจ่ายเป็นค่าสินไหมเองถึง 260 ล้านบาท แม้ว่าความเสียหายส่วนใหญ่ไทยรีได้บริหารความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันความ เสียหายส่วนเกินคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากมหันตภัยส่งไปให้ต่างประเทศ รับผิดชอบแล้วก็ตาม

    แต่เมื่อเทียบกับผลกำไรสุทธิ 587 ล้านบาท เมื่อปี 2553 แล้ว ก็ต้องบอกว่าปีนี้ไทยรีคงจุกอกไปอีกปี หากผลกำไรต้องถูกน้ำซัดหายไปต่อหน้าต่อตาทั้งที่ใกล้จะสิ้นปีอยู่แล้ว

    ดังนั้น เชื่อว่าผลประกอบการของบริษัทประกันในปีนี้ก็คงมีหัวอกไม่ต่างจากไทยรี เมื่อผลกำไรที่สร้างอย่างสวยหรูมาเกือบตลอดทั้งปีต้องถูกละลายไปกับน้ำท่วม และความเสียหายคงเพิ่มขึ้นอีกอย่างมหาศาลหากพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงเทพฯ ถูกน้ำตีแตกจนทะลุเข้ามาสู่พื้นที่ชั้นในที่ส่วนใหญ่เป็นเขตเศรษฐกิจ

    ปีนี้...จึงเป็นอีกปีหนึ่งที่ธุรกิจประกันภัยต้องสำลักน้ำไปกับเขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ m


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/116197/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3-%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1-

    .

    ประกันสำลักน้ำ จ่ายสินไหมอ่วม - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์

    .
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    มหากาพย์...มวลน้ำถล่มสยาม ต่างชาติทุกข์ประเทศไทยเจ๊ง!



    โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ
    “รถยนต์ที่โรงงานใน จ.พระนครศรีอยุธยา ดูเหมือนว่าจะยังลอยน้ำอยู่ในขณะนี้”
    เป็นถ้อยแถลงยืนยันจาก โตโมฮิโร โอกาดะ โฆษกบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ที่ยอมรับสภาพกับอุทกภัยครั้งรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศ เมื่อโรงงานผลิตของบริษัทต้องตกอยู่ในสภาพจมบาดาล หลังจากที่มวลน้ำไหลเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะเมื่อ 3 วันก่อน
    ในขณะนี้ฮอนด้า ค่ายผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่น ก็ยอมรับว่ายังไม่รู้ชะตากรรมได้ว่าจะสามารถกลับมาเดินเครื่องผลิตได้อีก เมื่อไหร่ เพราะน้ำยังไม่มีท่าทีว่าจะลดแม้แต่น้อย
    ขณะที่ค่ายรถยนต์เบอร์หนึ่งของญี่ปุ่นและของโลกอย่าง โตโยต้า มอเตอร์ ก็ตกอยู่ในสภาพไม่ต่างกัน แม้ว่าโรงงานผลิตทั้งสามแห่งในประเทศไทย คือ ที่สำโรง เกตเวย์ ฉะเชิงเทรา และบ้านโพธิ์ ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องระงับการผลิตลง เนื่องจากขาดชิ้นส่วนประกอบรถยนต์จากโรงงานผลิตที่ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์น้ำถล่มเมืองไทยในขณะนี้
    ไม่เพียงแต่ค่ายรถยนต์ 2 บริษัทยักษ์ใหญ่เท่านั้น ฟอร์ด มอเตอร์ส อีซูซุ ตลอดไปจนถึงบริษัท นิคอน ผู้ผลิตกล้องดีเอสแอลอาร์ชื่อดังของโลก โซนี่ คอร์ป ผู้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีรายใหญ่จากญี่ปุ่น ไพโอเนียร์ ผู้ผลิตเครื่องเสียงและสินค้าเทคโนโลยีรถยนต์ ตลอดจนบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อีกหลายแห่งจากหลายสัญชาติ ต่างก็ต้องยอมรับสภาพจากการได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกันไปจากน้ำท่วมครั้ง นี้ หากถึงขั้นเลวร้ายสุดก็ถึงกับหยุดการผลิต และได้แต่ทน “กลืนน้ำลาย” มองกระแสน้ำทะลักเข้าท่วมโรงงานเท่านั้น
    [​IMG]
    ซีเกท เทคโนโลยี บริษัทผู้ผลิตดิสก์ไดรฟ์รายใหญ่ของโลก ยอมรับแล้วว่า ผลกระทบจากน้ำท่วมในไทยครั้งนี้จะทำให้เกิดการสะดุดของการผลิตชิ้นส่วนเป็น ลูกโซ่ต่อเนื่องในไตรมาสนี้ ขณะที่ทางด้าน เวสเทิร์น ดิจิตอล บริษัทผู้ผลิตชิปจากสหรัฐ ก็ยอมรับว่าการผลิตได้รับผลกระทบแล้วจากน้ำท่วมสยามครั้งนี้
    ถือเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ของไทย ที่เหตุอุทกภัยครั้งนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับภาคอุตสาหกรรมในประเทศ อย่างรุนแรง จนขณะนี้ยากที่จะประเมินความเสียหายได้
    ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตของหลายบริษัทระดับโลก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ไทยถึงกับถูกวางตัวให้เป็น “ดีทรอยต์” แห่งเอเชียนั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาน้ำทะลักเข้าสู่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้น ต้องยอมรับว่าไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะภายในประเทศเท่านั้น แต่กระทบไปถึงระดับโลก
    โดยเฉพาะสำหรับบริษัทเอกชนจากญี่ปุ่น ผู้ลงทุนรายใหญ่อันดับ 1 ในประเทศไทย ที่มีฐานการผลิตสำคัญในประเทศไทย ภาวะน้ำท่วมครั้งนี้ถือเป็น “คราวเคราะห์” ซ้ำสอง ที่หลายบริษัทยังมึนกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
    ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 11 มี.ค. เหตุภัยแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการผลิตของหลายบริษัทญี่ปุ่นอย่างหนักที่สุด โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ชื่อดังทั้งหลาย ทำให้ต้องหยุดการผลิตนานหลายสัปดาห์
    เหตุการณ์ในญี่ปุ่นส่งผลกระทบให้เกิดภาวะขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ไป ทั่วโลกต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ ทำให้โรงงานผลิตในหลายประเทศนอกญี่ปุ่นต้องพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย
    ความสูญเสียที่เกิดขึ้นส่งผลให้หลายบริษัทย้ายฐานการผลิตบางส่วนออกไปยัง ต่างประเทศ เช่น ประเทศไทย เพื่อทดแทนโรงงานการผลิตที่ได้รับความเสียหาย และยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ในแผ่นดินบ้านเกิด
    แต่กระนั้น เหตุน้ำท่วมใหญ่ในประเทศที่กินเวลานานกว่า 3 เดือนในไทยครั้งนี้ ถือว่าเป็นฟ้าผ่าซ้ำสอง ทำให้สถานะของบริษัทญี่ปุ่นทรุดลงดับเบิล ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักลงไปอีกอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด
    นอกจากนั้น สิ่งที่น่าหวั่นพรั่นพรึงอย่างยิ่ง คือ สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นนั้น อาจจะกลายเป็นวิกฤตเรื้อรัง กินระยะเวลาอีกนานเท่าไหร่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ไทยคนไหนให้คำตอบได้อย่างชัด ถ้อยชัดคำนัก
    มาซาตากะ คูนูกิโมโตะ นักวิเคราะห์จากธนาคารโนมูระในญี่ปุ่น ยกตัวอย่างค่ายรถยนต์รายใหญ่อย่างฮอนด้า ซึ่งได้รับผลกระทบหนักที่สุดในบรรดาค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ว่ากว่าจะกลับมาเดินหน้าการผลิตได้อีกครั้งนั้นอาจจะต้องใช้เวลาอีกนานที เดียว
    แน่นอนว่า ยิ่งนานความเสียหายก็ยิ่งทวีคูณ มาซาตากะคำนวณว่า หากฮอนด้าหยุดการผลิตถึง 3 เดือน นั่นหมายถึงว่า บริษัทจะสูญเสียการผลิตรถยนต์ไปถึง 6 หมื่นคัน คิดเป็นผลกำไรสูญไปแล้วถึง 2.5 หมื่นล้านเยน หรือประมาณ 232 ล้านเหรียญสหรัฐ
    ดังนั้น ความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นจะเลวร้ายมากน้อยเท่าไหร่ ล้วนขึ้นอยู่กับว่าการผลิตจะต้องหยุดลงไปนานเท่าไหร่
    เคิร์ต ซังเกอร์ นักวิเคราะห์จากดอชต์ ซีเคียวริตี ในกรุงโตเกียว ชี้ว่า ประเทศไทยมีสถานะเป็นฐานการผลิตสำคัญคิดเป็นสัดส่วน 48% ของโลกสำหรับบริษัทหนึ่งๆ ทีเดียว ซึ่งความสูญเสียนั้นอาจจะอยู่ในวงจำกัด ถ้าหากบริษัทนั้นๆ ต้องหยุดการผลิตไปไม่เกิน 1 เดือน
    แต่ถ้าหากหยุดไปนานเกินกว่า 3 เดือน ก็จะเริ่มเห็นผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการขาดแคลนชิ้นส่วนประกอบที่จะกลายเป็นปัญหาลูกโซ่ไปทั่วโลก
    นั่นคือสิ่งที่บริษัทต่างชาติผู้ลงทุนในบ้านเรากำลังหวาดผวา และไม่อยากให้เกิดขึ้นแน่นอน
    แต่ท้ายที่สุดแล้ว สำหรับผู้ที่จะต้องพบกับความสูญเสียมากที่สุดเห็นจะเป็นประเทศไทยเอง
    มหาอุทกภัยครั้งนี้ นอกเหนือจากจะส่งผลกระทบต่อจีดีพีประเทศอย่างรุนแรงถึง 0.9% ตามการคาดการณ์ของ สศช. และความเสียหายจากการประเมินเบื้องต้นของกระทรวงการคลังสูงถึง 6.9 หมื่นล้านบาทแล้ว
    ภาพลักษณ์ของการเป็นศูนย์กลางแห่งแหล่งลงทุนในเอเชีย ก็กำลังถูกน้ำกัดเซาะทำลายอย่างรุนแรงเช่นกัน จากการขาดการจัดการของรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกัน การเตือนภัย ตลอดจนการให้ข้อมูลกับทั้งประชาชนไปจนถึงเอกชนและนักลงทุนต่างชาติ
    ตลอดไปจนถึงความไร้ซึ่งความสามารถที่จะปกป้องกันทรัพย์สินของเหล่าผู้ลงทุนต่างชาติได้
    สุดท้าย หากมาตรการหลังจากนี้ของภาครัฐทั้งการดูแลและการช่วยเหลือยังไม่ดีพอและพอ เพียง มีหวังสถานะของการเป็นแหล่งลงทุนชั้นนำของเอเชียของไทยแลนด์ จะจมหนักยิ่งกว่านิคมอุตสาหกรรมที่จมน้ำอยู่ในทุกวันนี้




    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/116198/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%8A%E0%B8%87--


    .

    มหากาพย์...มวลน้ำถล่มสยาม ต่างชาติทุกข์ประเทศไทยเจ๊ง! - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    กันงบฟื้นน้ำท่วมแสนล้าน จัดการไม่ดีกลายเป็นละเลง


    โดย...ทีมข่าวการเงิน
    หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีมติอนุมัติให้ทุกส่วนราชการ “กัน” งบของแต่ละกระทรวงออกมา 10% เพื่อนำมาวางกองรวมกันเพื่อใช้ในการฟื้นฟูและเยียวยาสถานการณ์น้ำท่วมครั้ง ที่ถือว่ารุนแรงที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ สร้างความเสียหายแล้วนับแสนล้านบาท
    มติ ครม.ระบุชัดว่า หัวหน้าส่วนราชการทุกกระทรวงต้อง “เกลี่ย” งบลงทุนและงบดำเนินการมาไว้เป็น “เงินกองกลาง” เป็นวงเงินอย่างน้อย 1-1.2 แสนล้านบาท
    ก่อนที่รัฐบาลจะส่งผ่าน “เม็ดเงินก้อนมหึมา” ไปให้คณะกรรมการ 3 ชุด ที่ ครม.มีมติแต่งตั้งเพื่อทำหน้าที่ดูแลการฟื้นฟูสถานการณ์หลังน้ำลด
    กรรมการ 3 ชุด จะแยกเป็น กรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจ กรรมการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน และกรรมการฟื้นฟูสังคมและเยียวยาด้านจิตใจ
    ถือว่าเป็นมิติที่ดีที่รัฐบาลจะมีกระบวนการจัดการบริหารงบ ประมาณในการฟื้นฟูประเทศอย่างเป็นระบบ
    [​IMG]

    แต่ประเด็นปัญหาที่ตามมา คือ การกันงบดำเนินการและงบลงทุนออกมา 10% เพื่อฟื้นฟูน้ำท่วม จะส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณปี 2555 ที่เตรียมไว้สำหรับดำเนินการโครงการเร่งด่วน 1 ปีของรัฐบาลกระเทือนเลื่อนลั่นทันที
    โดยเฉพาะเม็ดเงินที่เตรียมการไว้สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ เพื่อรองรับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ “กระชับพื้นที่” เข้ามาใกล้ตัวคนไทยทุกที
    เช่นเดียวกับเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างขีดความสามารถแข่งขันในระยะยาว ที่เปรียบเสมือนการลงเสาเข็มของประเทศในอนาคต ก็จะถูกดึงมาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าจากปัญหาน้ำท่วม ทำให้โครงการลงทุนหลายโครงการจะถูกชะลอออกไป
    บางโครงการที่เสนอแผนงานเพื่อลงทุนให้ได้ในปีนี้ ก็ต้องเลื่อนออกไปเป็นปีหน้า บางโครงการก็ทำได้เพียงแค่การ “ศึกษา” เท่านั้น
    นั่นเป็นเพราะเงินลงทุนร่วมแสนล้านบาท ถูก “พัดพา” ไปพร้อมกับกระแสน้ำ และไม่มีใครให้ความมั่นใจได้ว่า เม็ดเงินที่ใส่เข้าสู่ระบบเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาสถานการณ์น้ำท่วม จะสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมที่ “ถาวร” หรือไม่
    แต่การทุ่มเงินลงไปเพื่อฟื้นฟูเหตุการณ์กลายเป็นสิ่ง “จำเป็น” ที่ต้องทำขณะนี้
    ดังนั้น ประสิทธิภาพการลงทุนระบบน้ำ จึงเป็นสิ่งที่ต้องทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ “ซ้ำรอยเก่า” คือ นักการเมืองถลุงงบกันเพลิน
    ปรากฏการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งล่าสุดเมื่อปี 2552 รัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนหลายหมื่นล้านเพื่อฟื้นฟูโครง สร้างพื้นฐานและเยียวยาความเสียหาย ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “เร่งรีบ” ประชุมวางแผนและขอรับการจัดสรรงบเพื่อลงทุนระบบน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมระยะยาวอย่างแข็งขัน
    สถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในเดือน ต.ค. 2554 เป็น “บทพิสูจน์” ว่า เงินที่รัฐบาล “ทุ่มเท” ลงไป ไม่ได้แก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน แม้หลายหน่วยงานรัฐจะอ้างว่า ปีนี้เป็นปีที่มีปริมาณน้ำมากเกินความคาดหมาย ประสิทธิภาพการจัดการเงินลงทุนด้านน้ำเป็นสิ่งที่สมควรถูกตั้ง “คำถาม” และควรมี “คำตอบ” มาจากฟากฝั่งภาครัฐ
    “ผมไม่รู้ว่าเขาทำอะไรกันอยู่ ไม่ใช่แค่รัฐบาลชุดนี้ แต่เป็นมาทุกๆ รัฐบาล เราเสียหายจากน้ำท่วมมาเท่าไหร่แล้ว ขณะที่เราลงเงินลงทุนด้านน้ำปีละเป็นแสนล้านบาท” พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานสภาหอการค้าไทย ระบุ
    พร้อมย้ำว่า “จะต้องไม่มีน้ำท่วมอีกแล้วไม่ใช่ในอีก 3-5 ปี แต่ต้องเป็นวันนี้ และรัฐบาลจะมาอ้างความผิดพลาดอีกไม่ได้แล้ว เพราะรอบ 3 ปี มีน้ำท่วม 2 ครั้ง อย่างปีนี้ผมคาดว่าเราเสียหายอย่างน้อย 2 แสนล้านบาท”
    พรศิลป์ ยังชี้ผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ว่า จะทำให้บริษัทประกันภัยคิดเบี้ยประกันภัยกับเอกชนในอัตราที่สูงขึ้น เพราะประเทศไทยมีความเสี่ยงจากน้ำท่วม ส่งผลให้ต้นทุนเอกชนเพิ่มขึ้น
    หากย้อนกลับมาพิจารณาเงินงบประมาณที่ถูก “อัดฉีด” เพื่อฟื้นฟูน้ำท่วม แต่ทำให้เงินลงทุนของรัฐบาลหายไปนั้น ตรงนี้รัฐบาลไม่น่าจะเป็นห่วงมากนัก เพราะรัฐบาลมีช่องทางการหาเงินอย่างน้อย 2 ช่องทาง
    1.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ แต่ก็ไม่ง่าย
    2.กู้เงินเพื่อลงทุน หรือตั้งงบประมาณกลางปี ปีงบประมาณ 2555 ซึ่งหมายถึง “หนี้” ที่จะตามติดตัวมา
    แม้ว่ารัฐบาลจะระบุว่า มีเงินเพียงพอที่รัฐบาลจะนำมาใช้การฟื้นฟูเยียวยาน้ำท่วม หากเงินไม่เพียงพอ หรือจะกู้เงินมาลงทุนโครงการต่างๆ ที่ถูกตัดไปฟื้นฟูน้ำท่วม เพราะหนี้สาธารณะของไทยที่อยู่ที่ 42-43% ของจีดีพี
    แต่หากพิจารณาในแง่รายได้แล้วจะพบว่า การลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556 ทำให้รายได้รัฐบาลหายไป 1.5 แสนล้านบาท เป็นอย่างน้อยในระยะ 23 ปีข้างหน้า
    ขณะที่ประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐอยู่ในระดับไม่เกิน 20% ของจีดีพี นั่นหมายความว่า สถานะความพร้อมในการลงทุนของประเทศไทยต้อง “พร่องลง” ไปทันที
    “ผมคิดว่าโครงการที่รัฐบาลประกาศไปแล้ว เช่น รถคันแรกที่ตั้งงบคืนเงิน 3 หมื่นล้านบาท แท็บเล็ตนักเรียน 3,000 ล้านบาท และวงเงินโครงการรับจำนำข้าว 4.35 แสนล้านบาท โครงการเหล่านี้ควรมีการทบทวน เพื่อนำงบมาใช้จ่ายในโครงการลงทุนหรือฟื้นฟูน้ำท่วม และผมคิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจ เพราะเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้เกิดขึ้นอย่างคาดไม่ถึงจริงๆ” กนก วงษ์ตระหง่าน รมว.ศึกษาธิการเงา พรรคประชาธิปัตย์ แนะนำ
    ขณะที่เดียวกันการใช้งบ 8 หมื่นล้านบาท เพื่อฟื้นฟูหลังน้ำท่วมลด ควรระดมกำลังจากทั้งภาครัฐ เอกชน และทหาร เข้ามามีส่วนร่วมฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน และหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการนำระบบการประมูลจัดซื้อจัดจ้างโดยภาคเอกชน เพราะ
    1.เสี่ยงทำให้การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานมีความล่าช้า
    2.เงินที่ลงไปฟื้นฟูความเสียหายจะถูกปันส่วนเป็น “กำไร” ของเอกชน ซึ่งไม่น่าจะเป็นสิ่งสำคัญมากนักในสถานการณ์นี้ รวมทั้งเสี่ยงต่อการทุจริตได้
    เพื่อไม่ให้เงินที่ลงไป “รั่วไหล” จำเป็นต้องมีระบบตรวจสอบระดับพื้นที่ เช่น เปิดให้ สส. นักการเมืองท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ และประชาชนร่วมกันตรวจสอบ
    ขณะที่การจะลงทุนฟื้นฟูโครงการใดก็ตามต้องมีหลักฐานเป็น “รูปถ่าย” เป็นหลักประกันของความรั่วไหล
    “หากทำอย่างนี้ ผมเชื่อว่าเงินที่รัฐบาลทุ่มลงไป 8 หมื่นล้านบาท จะได้ผลการดำเนินงานคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เม็ดเงิน 8 หมื่นล้านบาท จะมีผลเท่ากับการใช้เงินเป็นหลายแสนล้านบาทก็ได้” กนก กล่าว
    นอกจากนี้ การที่รัฐบาล “บีบ” ให้ส่วนราชการลดการใช้จ่ายงบดำเนินการ แน่นอนว่าจะทำให้เกิดความ “อัตคัด ขัดสน” ในการใช้จ่ายเพื่อดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงได้
    เพราะต้องยอมรับว่า วันนี้ระบบราชการเป็น “อุปสรรค” ในการแก้ปัญหาของประเทศ แม้แต่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ ยังบ่นว่า “อึดอัด” กับระบบราชการไทย ขณะที่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า ระบบราชการ “ไม่รู้ร้อนรู้หนาว” หรือไม่ตอบสนองเท่าที่ควรในยามวิกฤต ที่สำคัญ คือ ข้าราชการไม่กล้า “ตัดสินใจ”
    “แทนที่จะทุ่มเทในการทำงาน แต่ข้าราชการวันนี้กลับมุ่งวิ่งเต้นหาตำแหน่งกันมากกว่า” แหล่งข่าวจากทีมเศรษฐกิจรัฐบาล เปิดเผย
    ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กล่าวอย่างมั่นใจ “แม้งบดำเนินงานของภาครัฐจะถูกตัดลงไป 10% แต่ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับหน่วยงานภาครัฐว่า จะทำงานได้เท่าเดิม ในภาวะที่มีงบจำกัดหรือไม่ หน่วยงานราชการจะประหยัดงบจัดซื้อจัดจ้างได้หรือไม่ ผมมองว่ามันเป็นความท้าทาย”
    อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการสร้างระบบป้องกัน “น้ำท่วม น้ำแล้ง” นอกจากความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว “องค์ความรู้” จัดการน้ำเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง
    เช่น มีข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่ง คือ เขื่อนที่สร้างกั้นน้ำในประเทศไทยนั้น หากเป็นเขื่อนที่สร้างโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นจะเขื่อนที่สร้างขึ้นผลิตไฟฟ้า โดยแต่ละเขื่อนต้องสำรองน้ำไว้ในเขื่อนอย่างน้อย 50% เพื่อใช้ในการปั้นกระแสไฟฟ้า ทำให้มีพื้นที่รับน้ำ “ไม่เต็มที่” เวลาที่มีปริมาณน้ำฝนมาก ก็ต้องรีบปล่อย
    ดังนั้น การจัดการสร้างเขื่อนเก็บน้ำหรืออ่างเก็บน้ำบริเวณ “หลังเขื่อน” จึงเป็นประเด็นที่ต้องนำมาพิจารณาและน่าจะมีการสร้างเขื่อนรองเหล่านี้ขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์ในการกั้นน้ำ และบริหารจัดการน้ำได้อย่างเต็มที่
    ขณะที่ปัจจุบันการลงทุนก่อสร้างถนนและแหล่งน้ำในพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นการลงทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) แต่ละพื้นที่ ทำให้ไม่มีบูรณาการการทำงาน บางครั้งถนนที่สร้างขึ้นกลายเป็นสิ่งกีดขวางทางน้ำ และทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม จึงจำเป็นต้องมีการประสานข้อมูลการลงทุนของ อปท.ในภาพรวมด้วย
    การบริหารจัดการน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งที่รอไม่ได้แล้วสำหรับประเทศไทย


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88/115965/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%87-



    .

    กันงบฟื้นน้ำท่วมแสนล้าน จัดการไม่ดีกลายเป็นละเลง - โพสต์ทูเดย์ ข่าววิเคราะห์


    .
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .
    คลองระพีพัฒน์ อีกปราการสำคัญผันน้ำออกสู่ทะเล




    [​IMG]


    [​IMG]


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก [ame="http://www.youtube.com/watch?v=kxwOFCf1VGQ"]Youtube.com โพสต์โดย thaitvclips[/ame]

    ชาว บ้านในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก กำลังเผชิญกับน้ำที่ไหลเข้าท่วมบ้านเรือน หลังจากลำคลองในละแวกนี้มีระดับน้ำสูงขึ้น เนื่องจากถูกใช้เป็นทางระบายน้ำลงสู่ทะเล โดยเฉพาะ "คลองระพีพัฒน์" หนึ่งในช่องทางระบายน้ำสำคัญ ที่จะช่วยผันน้ำจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้ไหลออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น

    โดยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ทางศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หรือ ศปภ. ได้ตัดสินใจทดลองผันน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มาลงยังคลองระพีพัฒน์ ในช่วงจังหวัดปทุมธานี เพื่อผันน้ำให้ไหลลงคลองต่าง ๆ และลงสู่ทะเลต่อไป ซึ่งก็ช่วยให้การระบายน้ำจากลุ่มภาคกลางตอนล่างเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น แต่การผันน้ำลงคลองระพีพัฒน์นี้ ก็ได้ส่งผลให้บ้านเรือนในจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งชุมชนริมคลองรังสิต และพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

    สำหรับคลองระพีพัฒน์นั้น สายใหญ่มีความยาว 32 กิโลเมตร เริ่มต้นจากประตูระบายน้ำพระนารายณ์ ที่ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะไหลลงมาที่อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี และแยกออกเป็นสองสาย คือ คลองระพีพัฒน์แยกใต้ ระบายน้ำผ่านทางประตูน้ำพระศรีเสาวภาค ออกไปยังอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ความยาว 28.7 กิโลเมตร ส่วนอีกสายคือ คลองระพีพัฒน์แยกตะวันตก ระบาย น้ำผ่านทางประตูน้ำพระศรีศิลป์ และไปสิ้นสุดที่ประตูน้ำพระอินทร์ราชา จังหวัดปทุมธานี ความยาว 36.6 กิโลเมตร โดยสามารถรองรับน้ำจากที่ไหลมาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ได้เต็มที่ 210 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งขณะนี้กำลังใกล้เต็มพื้นที่รับน้ำแล้ว แต่ทว่า...ยังคงมีน้ำเหนือที่จะไหลลงมายังคลองระพีพัฒน์อีกเป็นจำนวนมาก


    [​IMG]

    ทั้งนี้ สถานการณ์ปัจจุบัน การระบายน้ำในคลองระพีพัฒน์ที่มาจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์นั้น ยังไม่น่าเป็นห่วงเท่าไหร่นัก แต่ที่น่าห่วงก็คือ มวลน้ำก้อนใหญ่ที่ไหลมาจากนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะทำให้ปริมาณน้ำในคลองระพีพัฒน์สูงขึ้นมาก จนระบายไม่ทัน และส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ตามเส้นทางที่คลองระพีพัฒน์ไหลผ่านได้รับความ เดือดร้อน โดยเฉพาะพื้นที่ทางการเกษตรในละแวกใกล้เคียงตั้งแต่คลอง 13 และรอบ ๆ บริเวณจังหวัดปทุมธานี

    ด้วยเหตุนี้ กรมชลประทานจึงต้องเร่งระบายน้ำจากคลองระพีพัฒน์ฝั่งตะวันตก เข้าสู่คลองรังสิต 1-6 เพื่อให้คลองระพีพัฒน์สามารถรองรับน้ำที่จะไหลบ่ามาเพิ่มเติมได้ แต่นั่นก็จะทำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่คลองรังสิต 1-6 ได้รับผลกระทบจากน้ำล้นคลองเช่นกัน โดยกรมชลประทานคาดว่าระดับน้ำอาจสูงกว่าถนนไม่เกิน 1 เมตร ส่วนพื้นที่ตั้งแต่คลอง 7 เป็นต้นไปเป็นทุ่งนาความเดือดร้อนจะไม่มากเท่าช่วงคลองรังสิต 1-6 พร้อมกับยืนยันว่า น้ำจะไม่ไหลทะลักเข้าเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร

    เช่นนั้นแล้ว ในช่วงนี้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในช่วงคลองรังสิต 1-6 รวมทั้งเส้นทางที่อยู่ใกล้คลองระพีพัฒน์ จึงต้องเผชิญกับน้ำท่วม และคงต้องอดทนกับสถานการณ์เช่นนี้อีกพักหนึ่ง กว่าที่น้ำก้อนมหาศาลจะไหลลงทะเลได้ทั้งหมด ดังนั้น ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เผื่อว่าเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินระดับน้ำเพิ่มขึ้นสูง จะได้เตรียมการป้องกัน หรือร้ายที่สุดคือ จะได้สามารถอพยพออกมาได้ทัน







    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ครอบครัวข่าว 3 , เดลินิวส์ และ kasetorganic.com

    [​IMG] [​IMG] kasetorganic.com
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="headline" align="left" valign="baseline">ผู้ว่าฯ รับกรุงเทพเสี่ยงท่วม หวั่นน้ำนครปฐมตลบหลัง</td> <td align="right" valign="baseline" width="102">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">15 ตุลาคม 2554 12:46 น.</td> </tr></tbody></table>

    "สุขุมพันธุ์" ยอมรับพื้นที่กรุงเทพเสี่ยงน้ำท่วม หลังขึ้นฮ.บินพบน้ำจากนครปฐมปริมาณมาก ทั้งไม่มีทางระบายออก ต้องเร่งสร้างคันกั้นน้ำป้องกันเท่านั้น แจงปภ.ประกาศ 17 เขตกทม.เป็นเขตภัยพิบัติ แค่พื้นที่ที่ควรได้รับการช่วยเหลือ ไม่รุนแรงเช่นอยุธยา

    วันนี้(15 ต.ค.) ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. กล่าวภายหลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินตรวจสถานการณ์น้ำโดยรอบ กทม. โดยยอมรับว่าน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงมีปริมาณมาก ทำให้กทม. ต้องวางแผนตั้งรับให้ดี โดยเฉพาะเขตทวีวัฒนา ที่เป็นรอยต่อกับจังหวัดนครปฐม ซึ่งเสี่ยงกับภาวะน้ำตลบหลังไหลเข้าท่วมพื้นที่ อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์น้ำที่เห็นไม่พบทางระบายน้ำออกจาก กทม. แต่ทางเจ้าหน้าที่พยายามสร้างคันกั้นน้ำเพื่อป้องกันน้ำอย่างดีที่สุด

    ผู้ว่าฯกทม. กล่าวอีกว่า สำหรับ 17 เขต กทม. ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินนั้น ยอมรับว่าจริง แต่ความเห็นส่วนตัวมองว่าควรเป็นเพียงพื้นที่ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ อย่างเร่งด่วนเท่านั้น ไม่ใช่เขตน้ำท่วมที่สร้างผลกระทบให้กับประชาชนอย่างเช่น จ.พระนครศรีอยุธยา แต่ด้วยภาษากฎหมายมักใช้คำที่สร้างความตกใจ อย่างไรก็ตามยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีเขตไหนที่มีสภาพน้ำท่วมขังสูง

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (14 ต.ค.) ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ได้ออกแถลงการณ์แจ้งว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้ออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก และเขตลาดกระบัง เนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวประสบกับเหตุอุทกภัย และได้รับผลกระทบด้านต่างๆ เป็นวงกว้างและภัยพิบัติยังไม่สิ้นสุด

    ด้าน นายสัญญา ชีนิมิต ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวว่า ช่วงนี้ กทม.ดูเหมือนจะปลอดจากปัญหาน้ำทะเลหนุน เหลือเฝ้าระวังอีก 2 วัน ถึงวันที่ 17 ต.ค.แต่สถานการณ์ฝนตกหนักเมื่อคืนที่ผ่านมา กระจายหลายเขต วัดได้สูงสุด กว่า 100 ม.ม.ที่เขตบางรัก และลาดพร้าว ซึ่งเหนือความคาดหมาย ทำให้ กทม.ต้องเร่งแก้ไขภาวะปริมาณน้ำฝนมาก ไปพร้อมกับการเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนด้วย แต่ยังยืนยันว่าจะรับมือได้



    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131564-

    .


    http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9540000131564

    .
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [FONT=Tahoma,]จับโก่งราคาทราย

    มติชนมอบของ ซับน้ำตาลพบุรี


    <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ช่วยเหลือ - นายฐากูร บุนปาน ผู้บริหารมติชน-ข่าวสด พร้อมพันธมิตรธุรกิจมอบสิ่งของให้นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผวจ.ลพบุรีนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เมื่อ14 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>ผู้ บริหาร "มติชน-ข่าวสด-ประชาชาติ" รุดเยียวยาผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่ลพบุรี นำสิ่งของเครื่องใช้แจกจ่ายผู้ประสบภัยพ่อเมืองละโว้เตือนเฝ้าระวังน้ำทะลัก บ้านหมี่-ท่าวุ้งอีกรอบ พณ.ลุยจับร้านค้าโก่งราคากระสอบทราย พบเขตชานเมืองกรุงขายเกินราคาอื้อ เตรียมฟันเอาผิดตามกฎหมาย สคบ.รับร้องเรียนเพียบ ทั้งของแพง-เพิ่มค่าเช่าห้อง ก.แรงงานจัดหาตำแหน่งงานกว่า 9 หมื่นอัตรา หวังรองรับลูกจ้างเหยื่อน้ำท่วม ก.อุตสาหกรรมขอยกเว้นภาษี-ค่าธรรมเนียมโรงงานถูกน้ำซัด "นายกฯ ปู"ควง "ไปค์" แพ็กของช่วยผู้ประสบภัย "สมชาย-เจ๊แดง" บริจาคช่วยน้ำท่วม 10 ล.

    มติชน-ข่าวสดซับน้ำตาที่ลพบุรี

    เมื่อ วันที่ 14 ต.ค. นายฐากูร บุนปาน ผู้จัดการทั่วไปเครือมติชน-ข่าวสด-ประชาชาติ พร้อมตัวแทนเครือข่ายพันธมิตร ประกอบด้วย มูลนิธิ ดร.โกวิท วรพิพัฒน์, มูลนิธิ บรรจง พงศ์ศาสตร์, หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น, บริษัท สิงห์คอร์เปอเรชั่น จำกัด, บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด, บริษัท เอเซีย โกลเด้น ไรซ์ จำกัด, บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด, บริษัทโอสถสภา จำกัด และบริษัท ฮาเลเดียม จำกัด นำเงินสดและสิ่งของเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยใน จ.ลพบุรี โดยมี นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ผวจ.ลพบุรี เป็นผู้รับมอบ เพื่อนำไปแจกจ่ายให้พี่น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่

    ผู้สื่อข่าว รายงานว่า นายฉัตรชัย ทำหนังสือแจ้งถึงนายอำเภอเมือง บ้านหมี่ และท่าวุ้ง ให้แจ้งต่อไปถึงกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณ พื้นที่ 2 ฝั่งคลองชัยนาท-ป่าสัก ให้เฝ้าติดตามน้ำในคลองอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับเหตุอุทกภัยที่อาจรุนแรงขึ้น เนื่องจากจ.ลพบุรีได้รับแจ้งจากสำนักชลประทานที่ 20 ว่าปริมาณน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสักสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนเจาะคันคลองในพื้นที่ ต.อู่ตะเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ทำให้ปริมาณในแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าลงคลองเพิ่มขึ้น

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขังอยู่ใน อ.เมือง บ้านหมี่ และท่าวุ้ง ซึ่งบางพื้นที่มีน้ำท่วมสูงถึง 5-6 เมตร ส่วนในพื้นที่ อ.เมืองยังคงมีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 2-3 เมตร ทำให้ประชาชนได้รับ ความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก นอกจากนี้อีกประมาณ 2-3 วัน เขื่อนชัยนาทจะระบายน้ำออกมา เนื่องจากเจ้าหน้าที่สามารถซ่อมแซมประตูระบายน้ำบางโฉมศรี จ.สิงห์บุรีได้แล้ว ทำให้ต้องผันน้ำมาที่ จ.ลพบุรีแทน โดยในวันนี้เจ้าหน้าที่ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนที่อยู่ใน อ.เมืองและท่าวุ้ง เตรียมอพยพและย้ายออกนอกพื้นที่แล้ว

    "ปู"ควง"ไปค์"แพ็กของช่วยน้ำท่วม

    ที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือน้องไปค์ บุตรชาย และกลุ่มเพื่อนจากโรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์ กรุงเทพฯ มาร่วมบรรจุสิ่งของบริจาคและลำเลียงใส่รถ เพื่อนำไปช่วยผู้ประสบอุทกภัย โดยด.ช.ศุภเสกข์ กล่าวว่า วันนี้ตั้งใจนัดเพื่อน มาช่วยกันบรรจุสิ่งของเพื่อช่วยผู้ประสบอุทกภัย ซึ่งมีหลายอย่างทั้งอาหาร และของใช้จำเป็น อย่างไรก็ตาม ระหว่างการบรรจุสิ่งของและลำเลียง สิ่งของขึ้นรถนั้น มีประชาชนสนใจรุมถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกจำนวนมาก ทำให้การบรรจุสิ่งของตามปกติของอาสาสมัครต้องหยุดชะงักชั่วคราว

    สมชาย-เจ๊แดงบริจาค 10 ล.

    น.ส.ยิ่ง ลักษณ์ยังรับมอบสิ่งของและเงินบริจาค จากทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ นายสมชาย นางเยาวภา และน.ส.ชิณนิชา วงศ์สวัสดิ์ บริจาคเงิน 10 ล้านบาท พร้อมเรือ 2 ลำ นายพานทองแท้ ชินวัตร พร้อมด้วยบริษัทสหฟาร์ม บริจาคอาหาร ประเภทไก่ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร บุตรชายนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองโรงเรียนนานาชาติฮาโรว์ บริจาค 77,310 บาท นักธุรกิจจีนในไทย บริจาคเงิน 5.5 ล้านบาท กลุ่มสหวิริยา บริจาคเรือเหล็กนวัตกรรมใหม่ 100 ล้านบาท บริษัท เมโทร แคท ให้ยืมรถแบ๊กโฮ 30 คัน

    นอกจากนี้บริษัทในกลุ่มอินทัช ประกอบด้วย อินทัช เอไอเอส และไทยคม บริจาคเงิน 30 ล้านบาท พร้อมด้วยพันธมิตรของ เอไอเอส คือบริษัท สิงค์เทล บริจาคอีก 2 ล้านบาท รวม 32 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังบริจาคเป็นสิ่งของ เรือ เครื่องอุปโภคบริโภค โทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมซิมการ์ด พร้อมติดตั้งเครือข่ายไวไฟ ที่ศูนย์ราชการและศูนย์อพยพ ต่างๆ รวมแล้วกว่า 60 ล้านบาท

    คณะทูตเตรียมเยี่ยมชมศปภ.

    นาย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ เปิดเผยว่า มีการประสานงานระหว่างรัฐบาลไทยกับทางการสหรัฐอเมริกา เพื่อส่งทีมเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพราะรูปแบบมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า คณะทูตจากประเทศต่างๆ ที่ประจำในประเทศไทย จะเดินทางมาเยี่ยมชมการทำงานของศปภ. เพื่อใช้ในการเสนอการให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือประเทศไทยต่อไปด้วย

    ญี่ปุ่นมอบสิ่งช่วยเหลือ

    นาย เซอิจิ โคจิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เดินทางเข้าพบพล.ต.อ. ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะผอ.ศปภ. เพื่อมอบสิ่งของจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นให้ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใน พื้นที่ต่างๆ ประกอบด้วย เต็นท์ 150 หลัง ผ้าห่ม 900 ผืน ผ้าใบ 300 ผืน ที่นอน 900 ชุด ถังน้ำพลาสติก 156 ถัง เครื่องกรองน้ำ 45 เครื่อง เครื่องปั่นไฟ 20 ชิ้น และถังน้ำความจุ 3,700 ลิตร 20 ถัง<table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    ช่วยแม่ - "น้องไปค์"บุตรชายนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำเพื่อนนักเรียนโรงเรียนแฮร์โรว์ร่วมทำงานจิตอาสาบรรจุข้าวของเครื่องใช้ ส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ที่ศปภ.ดอนเมือง เมื่อวันที่ 14 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>

    ยกเว้นภาษี-ปล่อยกู้โรงงาน

    น.พ.วรร รณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาห กรรม เปิดเผยว่า ตนในฐานะเป็นคณะกรรมการฟื้นฟูเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้านเศรษฐกิจ จะนำเสนอแนวทางเยียวยาภาคอุตสาห กรรมในการประชุมวันที่ 17 ต.ค. ด้วยการประกาศยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีของโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ ที่ต้องต่ออายุในช่วงนี้ รวมทั้งยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมต่อใบอนุญาต กรณีมีความจำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรใหม่ เพื่อมาทดแทนเครื่องที่เสียหาย อีกทั้งจะยกเว้นภาษีอากรนำเข้าและโรงงานที่ขนย้ายเครื่องจักรหนีน้ำท่วม นอกจากนี้ ยังเสนอในเรื่องของสิทธิประโยชน์ในการขอรับการช่วยเหลือจากภาครัฐ เช่น การจัดตั้งสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาวให้กับผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องใช้ เงินทุนซ่อมแซมปรับปรุงสถานประกอบการและเครื่องจักรกลต่างๆ ให้สามารถดำเนินการได้ตามปกติ

    คลังหวังสร้างความมั่นใจการลงทุน

    นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจ.อยุธยา ประเมินว่าจะหยุดการผลิตนาน 1 เดือน และทำให้ได้รับความเสียหายประมาณ 8-9 หมื่นล้านบาท แต่ตอนนี้ความเสียหายน่าจะมากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีนิคมอุตสาหกรรมประสบปัญหาเพิ่มอีก ซึ่งรัฐบาลให้สถาบันการเงินของรัฐประชุมหารือว่า จะช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการอย่างไร เนื่องจากผู้ประกอบการบางแห่งเป็นลูกหนี้ชั้นดี เราจึงต้องสร้างความมั่นใจในการเข้ามาลงทุน เพราะเหตุ การณ์ครั้งนี้กระทบความน่าเชื่อถือในการลงทุน ซึ่งตนจะติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่า สถาบัน การเงินจะมีจิตสำนึกช่วยแก้ปัญหาอย่างไรให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ

    ประสานร้านขายสินค้าถูก 10 จว.

    นาย ภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมจึงขอความร่วมมือไปยังสมาคมค้าส่งค้าปลีกไทยให้จัดทำ โครงการ "รวมใจร้านค้าไทยช่วยสังคม" เพื่อจัดจำหน่ายสินค้าที่จำเป็นในราคาพิเศษ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำดื่ม ข้าวสารบรรจุถุงและปลากระป๋อง ซึ่งมีร้านค้าเข้าร่วมโครงการ 12 ร้านค้า ใน 10 จังหวัด ได้แก่ กทม. ที่บจก.ส.สรรพกิจค้าส่ง และบจก.บางบอนซุปเปอร์เซ็นเตอร์, นครปฐม ที่บจก.นครปฐมไพศาล, ราชบุรี ที่บจก.พี.พี.ซุปเปอร์เซ็นเตอร์, สมุทรสงคราม ที่บจก.สมรไพบูลย์, สมุทรสาคร ที่บจก.บิ๊กซ้ง ซุปเปอร์สโตร์, สระบุรี ที่หจก.เอกภาพอินเตอร์อิเลคตริค และหจก.เอกภาพซุปเปอร์ซัพพลาย, สุพรรณบุรี ที่บจก.พันธ์กิจการ, ชัยนาท ที่หจก.เอ็น แอนด์ เอ็น เทรดดิ้ง, นนทบุรี ที่บจก.สามัคยานุสรณ์ กรุ๊ป และสิงห์บุรี ที่ไชยแสงดีพาร์ทเม้นท์สโตร์

    สั่งฟันร้านกักตุน-ขายเกินราคา

    นาย ยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์และกรมการค้าภายในสั่งกำชับทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง โดยเฉพาะพาณิชย์จังหวัดให้ตรวจสอบราคาสินค้าและสินค้าให้เพียงพอกับความต้อง การของประชาชน ส่วนปัญหาราคาสินค้าที่ราคาแพงและมีการกักตุน อยากให้ประชาชนช่วยแจ้งเบาะแสเข้ามา เพื่อเข้าไปดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด

    ด้านนางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ขณะนี้รับการร้องเรียนเรื่องทรายบรรจุถุงที่มีราคาแพงและหาซื้อยาก จึงส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในพื้นที่รอบนอกกทม. อาทิ เขตสายไหม ดอนเมือง บางเขน ลาดกระบัง และหนองจอก ซึ่งพบว่าร้านค้ารายใหญ่บางแห่งขายทรายบรรจุถุงขนาด 20 ก.ก. ในราคา 55 บาท เกินกว่าราคาที่กฎหมายกำหนด จึงเตรียมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ หากประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ แจ้งเข้ามาที่สายด่วน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดทั่วประเทศ

    นำสินค้าจำเป็นจำหน่ายราคาถูก

    นาง วัชรี กล่าวอีกว่า สถานการณ์น้ำท่วมส่งผลให้สินค้าบางอย่างเริ่มมีปริมาณลดลง เพราะโรงงานพื้นที่ภาคกลางถูกน้ำท่วมขัง ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน กรมการค้าภายจึงประสานผู้ประกอบการให้นำสินค้าที่มีความต้องการสูง ได้แก่ เนื้อหมู ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และนมพร้อมดื่ม มาจำหน่ายในราคาถูกกว่าท้องตลาด เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าครองชีพและอำนวยความสะดวกในการซื้อหาสินค้าในช่วง นี้ โดยกรมการค้าภายในจัดสถานที่จำหน่ายที่บริเวณหน้าประตู 1 กระทรวงพาณิชย์ และในจังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม โดยจะเริ่มจัดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค.นี้

    ร้องสคบ.ซื้อของแพงอื้อ

    นาย จิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ สคบ.รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากผู้ประสบภัยเข้ามาจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องร้านค้าวัสดุก่อสร้างขึ้นราคาสินค้า รวมทั้งยังรับร้องเรียนเกี่ยวกับผู้ประกอบการหอพักในพื้นที่ประสบภัยที่ปรับ ขึ้นค่าเช่าห้องจากเดิมที่เก็บ 2,500-3,500 บาทต่อเดือน เป็นวันละ 500 บาท ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคเกินความจำเป็น ดังนั้น สคบ.จึงแจ้งเตือนให้ผู้บริโภคที่ถูกเอาเปรียบแจ้งรายละเอียดมายังสคบ. เพื่อประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="5" width="360"><tbody><tr><td align="center" bgcolor="#E0E0E0" valign="top">[​IMG]
    หนีน้ำ - ชาว บ้านในตัวเมืองนครสวรรค์ขนข้าวของลงเรืออพยพหนีน้ำท่วมอย่างทุลักทุเล ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำปิงยังคงเอ่อล้นเข้าท่วมเขตเศรษฐกิจในตัวเมืองเสีย หายเป็นวงกว้าง เมื่อวันที่ 14 ต.ค.

    </td></tr></tbody></table>

    นาย จิรชัยกล่าวอีกว่า สคบ.ยังประสานงานกับสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่เช่าซื้อรถ โดยสมาคมแจ้งว่าจะให้ความช่วยเหลือลูกค้าด้วยการยกเว้นการเรียกเก็บเงินค่า ติดตามทวงถาม, พักชำระค่างวดเช่าซื้อ, ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และกรณีที่ลูกค้าเช่าซื้อหลายคัน เช่น รถแท็กซี่ ซึ่งจะพิจารณาตามความเหมาะสมในการชำระหนี้

    ก.แรงงานเร่งเยียวยาลูกจ้าง

    นาย เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในช่วงวันที่ 1-13 ต.ค.ที่ผ่านมา มีสถานประกอบการได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 8,454 แห่ง และลูกจ้างเดือดร้อน 320,086 คน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงขอความร่วมมือสถานประกอบการ เพื่อขออนุญาตลูกจ้างมาทำงานสายหรือหยุดงาน โดยไม่ถือเป็นวัน ลาและขอให้จัดสวัสดิการเรื่องรถรับส่งและที่อยู่อาศัย ขณะนี้ขอความร่วมมือไปแล้ว 10,154 แห่ง มีลูกจ้างได้รับการดูแลแล้ว 299,362 คน นอกจากนี้ กรมการจัดหางานจะจัดหาตำแหน่งงานว่างรองรับ 86,341 อัตรา รวมทั้งจะจัดหาทรายจาก จ.ชลบุรี มาเป็นแนวป้องกันที่ปทุมธานีรวม 1,400 ตัน และจัดหาสิ่งของไปช่วยเหลือจังหวัดต่างๆ ที่ประสบภัยน้ำท่วม

    คลังหามาตรการช่วยผู้ประกอบการ

    นาย วิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า จากภัยพิบัติครั้งนี้ทำให้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจำนวนมาก แต่กระทรวงการคลังพยายามให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจหยุดนิ่ง และยืนยันว่าจีดีพีน่าจะยังอยู่ที่ร้อยละ 4 โดยกระทรวงจะผ่อนปรนและดูแหล่งเงิน เพื่อช่วยผู้ประกอบการ เช่น ภาษีและมาตรการอื่นๆ รวมทั้งจะมีมาตรการมาช่วยเหลืออีก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ตามที่ตั้งใจไว้ เพราะรัฐบาลมีนโยบายทั้งเรื่องรถยนต์คันแรกและบ้านหลังแรก

    สธ.เผยยอดป่วยน้ำท่วม 5 แสนราย

    น.พ.ไพ จิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธา รณสุข(สธ.) เปิดเผยว่า สธ.จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการผู้ประสบภัยในจังหวัดไปแล้ว 4,905 ครั้ง รวมผู้มาใช้บริการตรวจสุขภาพกาย 516,748 ราย ส่วนใหญ่พบป่วยเป็นโรคน้ำกัดเท้า ปวดกล้ามเนื้อและไข้หวัด ในส่วนผู้ป่วยโรคผิวหนังหรือมีบาดแผลไม่ควรเดินลุยน้ำ สำหรับพื้นที่ใช้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่มากที่สุด คือ จ.พิจิตร 112,524 ราย นนทบุรี 82,182 ราย นครสวรรค์ 60,280 ราย ส่วนยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 289 ราย แบ่งเป็นจมน้ำ 245 ราย น้ำพัด 20 ราย ต้นไม้ล้มทับ 2 ราย ดินสไลด์ทับ 14 ราย และไฟฟ้าชอร์ต 8 ราย

    น.พ.ไพจิตร์กล่าวอีกว่า สธ.ยังคงสำรองยาและเวชภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มที่ โดยขณะนี้ได้กระจายยาชุดน้ำท่วมไปแล้ว 1,510,250 ชุด ซึ่งถือว่าเพียงพอ โดยมีทั้งยาตำราหลวง ยารักษาน้ำกัดเท้าและเซรุ่มแก้พิษงู เนื่องจากน้ำท่วมสัตว์มีพิษจะเข้ามาอาศัยตามน้ำขัง จึงอยากฝากให้ประชาชนเฝ้าระวังสุขภาพให้ดี

    ร.พ.จุฬาฯช่วยผู้ป่วยน้ำท่วม

    น.พ.โศภ ณ นภาธร ผอ.ร.พ.จุฬาลงกรณ์ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการผู้ประสบภัย ที่ม.มหามกุฏราชวิทยาลัย จ.อยุธยา ระหว่างวันที่ 15-21 ต.ค. โดยจัดเวรสลับสับเปลี่ยนต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น รวมทั้งวันที่ 16 ต.ค. จะร่วมกับศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมออกหน่วยแพทย์เคลื่อน ที่ เพื่อให้บริการกับประชาชนใน อ.ดอนพุด จ.สระบุรี นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังรับย้ายผู้ป่วยจากพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยของจังหวัดต่างๆ ซึ่งขณะนี้รับย้ายเข้ามารักษาแล้ว 8 ราย หากโรงพยาบาลใดต้องการย้ายผู้ป่วย ติดต่อโทร.0-2256-4898 และ 0-2256-4899 ตลอด 24 ชั่วโมง

    คู่สมรสครม.ช่วยเข้าฟื้นฟู

    ที่ ทำเนียบรัฐบาล นายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามี น.ส.ยิ่งลักษณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคู่สมรสครม. มีมติจัดกิจกรรมซ่อมแซมสถานที่สาธารณะ เช่น โรงเรียน วัดและสถานีอนามัยที่ประสบอุทกภัยและต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน ให้เสร็จก่อนวันที่ 1 ธ.ค. โดยใช้งบฯ ของคู่สมรสครม.ที่มีอยู่ 3 ส่วน คือ จากเงินบริจาค 20 ล้านบาท เงินส่วนตัวของคู่สมรสครม. และงบประมาณจากรัฐบาล 5 ล้านบาท ส่วนกิจกรรมที่จะสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั้น ทางคู่สมรสครม.จะจัดกิจกรรมด้วยการแบ่งสายเดินทางไปให้กำลังใจและมอบสิ่งของ ให้ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆ โดยวันที่ 17 ต.ค.นี้ จะเดินทางไปจ.นครสวรรค์

    ส.ส.-ส.ว.หักเงินเดือนช่วยน้ำท่วม

    นาย ไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมา ธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ตั้ง "คณะกรรมการสภาร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" ร่วมกับพล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ซึ่งจะประชุมนัดแรกในสัปดาห์หน้า เพื่อหารือถึงแนวทางช่วยเหลือประชาชนที่ประ สบภัยน้ำท่วม โดยจะขอให้ ส.ส. ข้าราชการฝ่ายการเมืองและข้าราชการรัฐสภาเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ความช่วย เหลือ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัย ซึ่งเบื้องต้นจะเป็นรูปแบบการแจ้งความจำนงในการหักเงินเดือนและค่าตอบแทน รวมทั้งจัดตั้งศูนย์รับบริจาคและขอความร่วมมือจากส.ส.เป็นรายบุคคลด้วย

    เพิ่มคู่สาย 1111 รับร้องเรียน

    น.อ.อนุ ดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.สารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีทีเปิดสายด่วน 1111 กด 5 ขึ้น เพื่อให้บริการข้อมูล ตลอดจนรับเรื่องขอความช่วยเหลือจากประชาชน โดยวันแรกมีประชาชนโทรศัพท์เข้ามาถึง 6 หมื่นครั้ง กระทรวงไอซีทีจึงเพิ่มคู่สายเป็น 300 คู่สาย เพื่อรองรับปริมาณการโทร.เข้าศูนย์ของประชาชนที่มีจำนวนมาก

    กทม.เปิดศูนย์ช่วยเหลือ-ให้ข้อมูล

    กทม.เปิด ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยกรุงเทพฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ข้อมูลสถานการณ์น้ำตลอด 24 ช.ม. โดยศูนย์ตั้งอยู่ที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพฯ เสาชิงช้า ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบปัญหาน้ำท่วมรวมถึงขอความช่วยเหลือ โทร. 0-2221 -1212 หรือสายด่วน 1555 พร้อมติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำประจำวัน การรายงานสภาพอากาศที่ พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhistgkok. go.th และตรวจสอบข้อมูลพื้นที่จุดอ่อน-จุดเสี่ยงน้ำท่วม พร้อมแผนที่เดินทาง และหมายเลขติดต่อฉุกเฉินที่ พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhistgkok.go.th

    ขอลดภาษีช่วยบูรณะโบราณสถาน

    นาง สุกุมล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า ตนหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขอใช้มาตรการลดภาษี 1 เท่าให้กับภาคเอกชนที่ร่วมบริจาคเงินให้กับกรมศิลปากรนำมาบูรณะโบราณสถาน เพราะเชื่อว่าวงเงินงบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้วธ.คงไม่เพียงพอ ขณะนี้สั่งการให้กรมศิลปากรจัดทำแผนและสำรวจรายชื่อโบราณสถาน เพื่อเสนอให้ภาคเอกชนช่วยสนับ สนุนงบประมาณบูรณะหลังน้ำลด

    หวั่นมิจฉาชีพฉกโบราณวัตถุ

    นาย อเนก สีหามาตย์ รองอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ขณะนี้มีโบราณสถานได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 2 ส่วนคือ ภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน น่าน พิษณุโลก และสุโขทัย ส่วนภาคกลาง ได้แก่ อยุธยา สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี ปราจีน บุรี อ่างทอง สระบุรี นนทบุรี และปทุมธานี เฉพาะที่อยุธยามีโบราณสถานถูกน้ำท่วมกว่า 90 แห่ง จึงต้องจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลความปลอดภัยโบราณวัตถุล้ำค่า เพราะเกรงว่าอาจถูกมิจฉาชีพลักขโมยไปได้

    ทอท.พร้อมรับผู้อพยพหนีน้ำ

    พล.อ.อ. สุเมธ โพธิ์มณี ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมามีประชาชนเกรงว่าจะประสบภัยน้ำท่วม จึงเข้ามาพักที่ศูนย์อพยพ อาคาร 2 สนามบินดอนเมืองบางส่วน และเมื่อพบว่าน้ำไม่ท่วมที่พักอาศัย จึงเดินทางกลับ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่อพยพดังกล่าว ทอท.เตรียมพร้อมรองรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมตลอด 24 ช.ม.

    โตโยต้าลดค่าอะไหล่ 30%

    นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมยังคงส่งผลกระทบต่อบริษัทผลิตชิ้นส่วน ดังนั้น บริษัทจึงมีความจำเป็นต้องหยุดการผลิตของโรงงานทั้ง 3 แห่ง ระหว่างวันที่ 17-22 ต.ค. แต่เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกค้า ศูนย์บริการโตโยต้าทุกแห่งจึงพร้อมให้ความช่วยเหลือรถยนต์โตโยต้าที่ได้รับ ผลกระทบ ด้วยส่วนลดค่าอะไหล่ 30 เปอร์เซ็นต์ และส่งเจ้าหน้าที่เทคนิคเข้าไปยังพื้นที่ที่ประสบปัญหา เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ประสบภัย

    ต่างจังหวัดแห่บริจาคของช่วย

    ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในจังหวัดต่างๆ ที่จ.ชลบุรี พล.ร.ท.ชัยณรงค์ เจริญรักษ์ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบ นำกำลังพลกองทัพเรือและประชาชน ร่วมบรรจุกระสอบทราย 40,000 กระสอบ เพื่อสนับสนุนปิดกั้นน้ำในพื้นที่กทม. ส่วนที่สระบุรี ศูนย์การทหารม้า ค่ายอดิศร เตรียมรับผู้อพยพจาก จ.อยุธยา โดยจะเปิดให้ใช้กองพันนักเรียนนายสิบ ศูนย์การทหารม้าเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยมีชาวบ้านในจังหวัดเริ่มทยอยนำสิ่งของมาบริจาคช่วยเหลือจำนวนมากเช่นกัน ที่จ.ขอนแก่น นายสมบัติ ตรีวัฒน์สุวรรณ ผวจ.ขอนแก่น เป็นประธานรับมอบถุงกระสอบเปล่า 20,500 ถุง เพื่อนำ ไปมอบให้กับศปภ. ใช้ทำคันกั้นน้ำ ที่ จ.เชียงใหม่ กลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ยังคงเปิดรับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจ.นครสวรรค์ และอยุธยา รวมทั้งยัง ทำส้วมมือถือที่ใช้เก้าอี้มาดัดแปลงเป็น ส้วมชั่วคราว เพื่อนำไปบริจาคในพื้นที่น้ำท่วมด้วย
    [/FONT]

    -http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOakUxTVRBMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB4TlE9PQ==-


    .

    http://www.khaosod.co.th/view_news....nid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHhNQzB4TlE9PQ==


    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การทางพิเศษ จัดที่จอดรถ 9 แห่งหนีน้ำท่วม


    การทางพิเศษ แจ้งจัดสถานที่ที่จอดรถหนีน้ำท่วม ใต้ทางพิเศษ 9 แห่ง จำนวน 2,900 คัน ยัน ไม่อนุญาตให้จอดบนทางด่วน หวังใช้ทางช่วยเหลือผู้ประสบภัย


    การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม จัดที่จอดรถใต้ทางพิเศษไม่กีดขวางการจราจร 9 แห่ง รวม 2900 คัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากการเกิดอุทกภัยตามที่ กทพ.ได้ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจการป้องกันและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของ กทพ. เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ใช้บริการและประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ ท่วม โดยเน้นการช่วยเหลือรถยนต์ที่ใช้ทางพิเศษที่อาจจะมีน้ำท่วมขังและการช่วย เหลือรถที่สัญจรผ่านบริเวณน้ำท่วม

    จากปัญหาภาวะน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและหลายพื้นที่ของ ประเทศไทยและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น จนประชาชนต้องอพยพเคลื่อนย้ายทรัพย์สินและกระแสน้ำตัดขาดการจราจรในบาง พื้นที่ กองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบังคับการตำรวจจราจร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จึงได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สภ.ปากเกร็ด เป็นต้น ในการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการจัดพื้นที่ใต้ทางพิเศษเป็นที่จอดรถชั่วคราวจำนวน 9 แห่งสามารถจอดรถได้ 2900 คัน ดังนี้

    ใต้ทางด่วนด่านงามวงศ์วาน 200 คัน
    ใต้ทางด่วนด่านรัชดาภิเษก 100 คัน
    ลานกีฬาใต้ทางด่านหลังโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 200 คัน
    ที่จอดรถใต้ทางด่วนอโศก 1 300 คัน
    ใต้ต่างระดับวัชรพล ถนนรามอินทราฝั่งเหนือ200 คัน
    ใต้ทางด่วนรามอินทราตั้งแต่จุดกลับรถติดถนนรามอินทราถึงแนวคลอง 1000 คัน
    ใต้ทางด่วนด่านพระราม 9-1 จำนวน 500 คัน
    ใต้ทางด่วนสาธุประดิษฐ์ 100 คัน
    ใต้สะพานพระราม9ฝั่งธนบุรี 300 คัน

    ทั้งนี้ กทพ.ขอสงวนเส้นทางบนทางพิเศษทุกสาย เพื่อใช้เป็นเส้นทางส่งกำลังบำรุงวัสดุอุปกรณ์ในการช่วยเหลือผู้ประสบ อุทกภัย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังคงมีความรุนแรง จนทำให้การจราจรขนส่งอาจต้องหยุดชะงัก ทางพิเศษจึงเป็นเส้นทางหลักสุดท้ายในการขนส่งความช่วยเหลือต่าง ๆ ไปยังพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนได้ จึงห้ามจอดรถทุกชนิดในทางพิเศษ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและอุบัติเหตุที่มีความเสี่ยงสูง โดยจะตรวจสอบจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หากพบมีรถฝ่าฝืนจะดำเนินการเคลื่อนย้ายออกจากทางพิเศษ

    โดยประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน สามารถสอบถามข้อมูลสถานที่ให้บริการจอดรถฟรี สำหรับผู้ประสบเหตุอุทกภัยได้ที่ ศูนย์ประสานงานการปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยของ กทพ.โทร.1543 ตลอด 24 ชั่วโมง


    -http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131648-

    .
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เช็คเบอร์โทรศัพท์ เช็คเว็บไซต์ตรวจสอบข้อมูลน้ำท่วม <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการรายวัน</td> <td class="date" align="left" valign="middle">15 ตุลาคม 2554 06:21 น.</td> </tr></tbody></table>

    ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เบอร์โทรศัพท์ที่สำคัญ

    1.สำนักนายกรัฐมนตรี 1111 กด 5
    2.สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย) 1784
    3.หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669
    4.ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
    5.ตำรวจทางหลวง สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 1193
    6.การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
    7.สายด่วน กฟภ. 1129
    8.ท่าอากาศยานไทย 02-535-1111
    9.สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
    10.สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง
    11.ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
    12.บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490

    เว็บไซต์

    1.แผนที่แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ วันที่ 10 ตุลาคม พศ. 2554 (ขัอมูลอัพเดตทุกวัน เวลา 10.00 และ 19.00 น.) http://maintenance.doh.go.th/test.html
    2.ตรวจพื้นที่น้ำท่วมทั่วประเทศ http://flood.gistda.or.th/
    3.ตรวจน้ำท่วมบนถนนใน กทม. http://dds.bangkok.go.th/Floodmon/
    4.รายงานสภาพการจราจร http://traffic.longdo.com/
    5.ตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก http://dds.bangkok.go.th/Canal/index.aspx
    6.ติดตามข่าวสารน้ำท่วม http://dds.bangkok.go.th/m/index.php
    7.กรมทรัพยากรน้ำ http://www.dwr.go.th/report
    8.กรมทางหลวงชนบท http://fms2.drr.go.th/
    9.ศูนย์ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ http://www.thaiflood.com/

    -http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131425-

    .
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    รพ.เด็กแนะวิธีกันไฟดูดเด็กช่วงน้ำท่วม

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 ตุลาคม 2554 23:43 น.


    ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ จำเป็นในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน แต่ถ้าเราใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ระมัดระวังอาจทำให้เกิดอันตรายได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์น้ำท่วมแบบนี้หลายพื้นที่อยู่ในสภาพน้ำท่วมขัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกไฟดูดมากยิ่งขึ้น

    พญ. พิมพ์ภัค ประชาศิลป์ชัย ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า "จาก การวิจัยพบว่าช่วงอายุที่เสี่ยงต่อการโดนไฟดูดคือกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบเพราะเด็กในวัยดังกล่าว มักจะซุกซน อยากรู้อยากเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และยังไม่รู้ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น เช่น ใช้นิ้วมือ หรือวัตถุใกล้มือแหย่เข้าไปในปลั๊กไฟ การกัดเคี้ยวสายไฟ และการดึงปลั๊กไฟที่กำลังเสียบอยู่ และอีกช่วงอายุคือกลุ่มเด็กโต อายุ 10-14 ปี สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กวัยนี้ถูกไฟดูดก็คือ การพยายามสอยว่าวหรือลูกโป่งที่ไปติดอยู่บนสายไฟแรงสูง และความประมาทเลินเล่อในการใช้ไฟฟ้า"

    <table align="Center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="450"> <tbody><tr> <td align="center" valign="Top" width="450"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> ดังนั้นการป้องกันก่อนที่จะเกิดเหตุจึงสำคัญมากที่สุด และที่สำคัญรองลงมาคือการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุไฟ ดูดขึ้น

    สำหรับวิธีป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้าในเด็ก มีดังนี้

    1. คุณพ่อคุณแม่ควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย โดยติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงจากระดับพื้นประมาณ 1.5 เมตร หากติดตั้งปลั๊กไฟในระดับต่ำที่เด็กเอื้อมมือถึง ควรใช้ที่ครอบปลั๊กไฟ ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านค้า หรือแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ

    2. ไม่วางสายไฟหรือรางปลั๊กไฟกีดขวางทางเดินหรือผนังในจุดที่เด็กสามารถหยิบจับ ได้ เพราะเด็กอาจนำสายไฟหรือรางปลั๊กไฟมาเล่นจนถูกไฟฟ้าดูดได้

    3. ติดตั้งสายดินหรือเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเพื่อป้องกันการถูกไฟดูด นอกจากนี้ยังควรต้องศึกษาคู่มือการใช้ให้ดี จะช่วยให้ปลอดภัยทั้งจากไฟดูดและอัคคีภัย

    4. จัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม หลังจากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสร็จแล้ว ให้ถอดปลั๊กเครื่องไฟฟ้าและจัดเก็บให้พ้นมือเด็ก สำรวจอยู่เสมอว่ามีสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าห้อยลงมาจากโต๊ะ พร้อมที่จะให้เด็กเล็กดึงสายไฟเล่นจนเกิดไฟช็อต หรือดึงสายไฟจนเครื่องใช้ไฟฟ้าตกลงมาใส่ตัว

    5. ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณเปียกชื้น หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีน้ำเกี่ยวข้องกับระบบการทำงาน เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น กระติกน้ำร้อน หม้อหุงข้าว เป็นต้น นอกจากนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำ ควรเช็ดให้แห้งก่อนใช้งาน

    6. ควรดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังบริเวณที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้า

    7. สอนให้เด็กเรียนรู้ถึงอันตรายของไฟฟ้าและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธี เช่น
    · อย่าแตะ สวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ โดยเฉพาะในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือกำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก
    · หากพบเห็นเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าแรงสูงขาดหรือหย่อนลงใกล้พื้น ไม่ควรเข้าใกล้เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และควรรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบเพื่อแจ้งแก่การไฟฟ้าทราบและแก้ไขต่อไป
    · อย่าเสียดายว่าวหรือลูกโป่งที่ติดตามสายไฟ เพราะสายไฟฟ้าแรงสูงนั้นแค่เพียงเข้าใกล้จนเกินไป ก็อาจถูกไฟช็อตอย่างรุนแรงได้

    “ในสถานการณ์น้ำท่วม มีข้อแนะนำเพิ่มเติมคือควรยกคัทเอาท์ลงทันที เมื่อน้ำท่วมเข้าบ้าน เนื่องจากการยกคัทเอาท์ลง ไฟจะตัดทันที ถ้าบ้านไหนมีการแยกคัทเอาท์ไว้เป็นชั้นก็จะทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น และอย่าแตะสวิทช์ไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กำลังเสียบปลั๊กอยู่ในขณะที่ร่างกายเปียกชื้นหรือ กำลังยืนอยู่บนพื้นเปียก”

    สำหรับวิธีช่วยเหลือและปฐมพยาบาลเด็กถูกไฟฟ้าดูด

    กระแสไฟเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไหลผ่านจากทางเข้าลงสู่พื้นดิน หากรุนแรงจะเกิดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ชาทั่วร่างกาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หมดสติ และหยุดหายใจ นอกจากนี้ กระแสไฟและความร้อนจากไฟฟ้าจะทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ทั้งผิวหนัง กล้ามเนื้อ อวัยวะภายใน และเสียชีวิตเนื่องจากหัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลัน

    การช่วยเหลือ และปฐมพยาบาลเด็กถูกไฟฟ้าดูด ให้ถอดปลั๊ก และยกคัทเอาท์ลงเพื่อตัดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า จากนั้นใช้วัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า หรือฉนวนกันไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง ไม้แห้ง เชือก สายยางพลาสติก หรือหนังสือพิมพ์ที่ม้วนเป็นแท่ง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวเด็ก หรือคล้องตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดออกมา

    สำหรับผู้ใหญ่ที่เข้าไปช่วยเหลือร่างกายต้องไม่เปียกชื้น และห้ามสัมผัสถูกตัวเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดโดยตรง เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด หากจะให้ดีผู้ที่ช่วยควรจะยืนอยู่บนฉนวนเช่นกัน เช่น หนังสือพิมพ์ ผ้าห่ม กล่องไม้หรือสวมรองเท้ายาง

    “หากเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูดไม่รู้สึกตัว และหัวใจหยุดเต้น ให้นวดหัวใจ โดยนวดอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที พร้อมทั้งผายปอด โดยถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 1 คน ให้ทำการนวดหัวใจ 30 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง แต่ถ้ามีผู้ช่วยเหลือ 2 คน ให้ทำการนวดหัวใจ 15 ครั้งและผายปอด 2 ครั้ง จากนั้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือตามหน่วยกู้ ถ้าไฟดูดไม่มาก เด็กยังมีสติ พูดโต้ตอบได้ ก็ควรตรวจตามร่างกายว่ามีบาดแผลใดๆหรือไม่ และนำส่งโรงพยาบาลต่อไป”

    พญ. พิมพ์ภัค สรุปทิ้งท้ายไว้ว่า หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลเอาใจใส่บุตรหลานอย่างใกล้ชิด รวมถึงจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงอุบัติภัยจากไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กได้

    กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ


    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000131715-

    .
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    เก็บอาหารปลอดภัยในช่วงน้ำท่วม/Life & Family <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#CCCCCC" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody> </table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr><td class="body" align="left" valign="middle">โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="middle">14 ตุลาคม 2554 07:02 น.</td></tr></tbody> </table>

    ตอนนี้หลายบ้านที่ไม่มั่นใจในคำมั่นของรัฐบาลเกี่ยวกับภาวะน้ำท่วมคง กำลังเตรียมทางหนีทีไล่ให้กับครอบครัวของตนเองอยู่อย่างแน่นอน เพราะน้ำที่ว่าจัดการได้ ๆ สุดท้ายก็เกินกำลัง และกำลังไหลบ่าทะลักเข้ามาในหลายพื้นที่ แน่นอนว่ามีหลายครอบครัวที่รีบเร่งออกไปจับจ่ายซื้อหาอาหาร ของใช้จำเป็นตามดิสเคาน์สโตร์เพื่อสำรองเอาไว้ในยามฉุกเฉิน แต่ก็มีอีกหลายสิ่งที่บางครอบครัวอาจลืมไป และเราขอเก็บมาฝากกัน เช่น

    - อย่าลืมผักผลไม้ ในช่วงน้ำท่วม บางบ้านอาจต้องหนีขึ้นชั้น 2 - 3 ของบ้าน และรับประทานแต่อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง บะหมี่สำเร็จรูป แต่ร่างกายก็ไม่ควรขาดวิตามิน และกากใยที่มีในผักผลไม้ อีกทั้งอาหารแห้งเหล่านั้นก็ไม่ดีต่อสุขภาพของคนสักเท่าใด หรือในบางครอบครัวมีผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรับประทานอาหารสำเร็จรูปติดกันนาน ๆ ได้ การมีผักผลไม้สด หรือผลไม้อบแห้งติดเอาไว้บ้างก็จะดีต่อสุขภาพมากกว่า

    - หากล่องหรือถังที่ปิดฝาได้สนิทสำหรับบรรจุอาหารแห้ง แต่ไม่ควรบรรจุจนเต็ม หรือหนักจนเกินไป ควรเหลือที่ว่างเอาไว้ด้วย เผื่อเวลาน้ำมามันจะได้ลอยตุ๊บป่อง ไม่ต้องเสียเวลาแบกหนีน้ำ หากเป็นถังที่มีหูด้วยก็จะยิ่งดี เพราะสามารถใช้เชือกร้อยเข้าด้วยกัน ลอยหนีน้ำได้ง่าย ๆ คุณจะได้มีเวลาไปยกของส่วนอื่นที่สำคัญกว่า

    - หากมีของสดในตู้เย็น เป็นไปได้ควรล้างให้สะอาด เพราะหลังจากนี้คุณอาจไม่มีน้ำสะอาดให้ล้างมากนัก แล้วก็จัดการปรุงให้อร่อย (เท่าที่เวลายังพอมี) คุณอาจยังพอเก็บไว้รับประทานได้ 1 - 2 วัน ก่อนที่จะต้องหม่ำแต่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือปลากระป๋อง

    - ผักสดบางชนิดเก็บไว้รับประทานได้แม้ไม่อยู่ในตู้เย็น แต่ก็ควรล้างให้สะอาด และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 สัปดาห์

    - หากมีเครื่องกรองน้ำ ควรกรองน้ำเก็บไว้ให้มาก ๆ เพราะมันคือสิ่งจำเป็นสำหรับการเอาชีวิตรอดในช่วงน้ำท่วม

    - อย่าลืมซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือติดบ้านเอาไว้ด้วย สำหรับไว้ทำความสะอาดมือก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่มากับกระแสน้ำ แต่ไม่ควรเลือกชนิดที่มีฤทธิ์รุนแรง เพราะผิวหนังของเรานั้นไม่ได้แข็งแกร่งเหมือนอิฐปูน ชั้นของผิวหนังอาจถูกทำลายได้ง่าย ๆ ยิ่งบ้านที่น้ำท่วม ผิวหนังจะเปื่อยง่ายอยู่เป็นทุนเดิม การซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรงอาจทำลายผิวหนังได้รวดเร็ว และสร้างความเจ็บปวดเพิ่มในช่วงน้ำท่วมได้

    - หากมีถัง หรือคูลเลอร์ที่สามารถเก็บกักความเย็นได้ การซื้อน้ำแข็งมาใส่ แล้วแช่อาหารบางส่วนที่ปรุงไม่ทันก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะมันจะช่วยยืดอายุผักผลไม้สำหรับเก็บไว้บริโภคในยามน้ำท่วมได้นานขึ้น อีกนิด (โดยเฉพาะในบ้านที่ตู้เย็นมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถขนย้ายหนีน้ำได้ไหว หรือไม่มีกระแสไฟ ทำให้ทำความเย็นไม่ได้)

    ทีมงานหวังว่าเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้จะพอมีประโยชน์ และช่วยให้ครอบครัวของท่านผู้อ่านปลอดภัยในยามคับขันนี้นะคะ หรือท่านผู้อ่านท่านใดมีไอเดียดี ๆ จะร่วมแบ่งปันกันเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ทีมงานก็ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ


    -http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9540000130935-

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .

    [​IMG]

    เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

    แม้ว่าทุกภาคส่วน ทุกหน่วยงานจะช่วยกันเฝ้าระวังอย่างเต็มกำลัง แต่สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ไม่อาจคาดเดาได้ง่ายนัก ข่าวคันกั้นน้ำพัง พนังกั้นน้ำแตก มีรายงานต่อเนื่องรายวัน ดังนั้นแล้ว การเตรียมรับมือดูจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในพื้นที่เสี่ยงภัยที่น้ำยังมาไม่ ถึง

    และวันนี้เรามีคำแนะนำรป้องกันน้ำท่วมสำหรับตัวอาคาร จาก สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาฝากกัน....

    เดี่ยวมาต่อด้วยรูปครับ

    -http://hilight.kapook.com/view/63725-

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จุดอ่อน'การบริหารน้ำ' ใครต้องรับผิดชอบ ? : โต๊ะรายงานพิเศษ

    ปัญหาวิกฤติน้ำในเมืองไทยที่สำคัญ คือ “น้ำท่วม” กับ “น้ำแล้ง” มีการตั้งหน่วยงานรัฐขึ้นมาบริหารจัดการ “น้ำ” ไม่ต่ำกว่า 30 แห่งในหลายกระทรวง หากรวมงบประมาณของโครงการต่างๆ คาดว่าไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาทต่อปี แต่ภาพเหตุการณ์เศร้าสลดใจที่ชาวบ้านกว่า 8.5 ล้านคนใน 61 จังหวัดกลายเป็นเหยื่อน้ำท่วม รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งน้ำท่วมสูงปิดหลังคาตึกนั้น

    ทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจคนไทยทุกคนว่า จุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำอยู่ตรงไหน และ ใครต้องรับผิดชอบ ?

    คณะกรรมการอุทกวิทยาแห่งชาติระบุว่า ประเทศไทยมีน้ำท่าตามธรรมชาติร้อยละ 86 หรือปีละกว่า 2.1 แสนล้าน ลบ.ม. น้ำเหล่านี้ไหลมาจากลุ่มน้ำหลัก 25 ลุ่มน้ำ และลุ่มน้ำย่อย 254 ลุ่มน้ำ รวมทั้งหมดประมาณ 5.1 แสนตร.กม. เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน, ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งอันดามัน, ลุ่มน้ำสาละวิน ฯลฯ

    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ปัญหาการจัดการน้ำของไทยมี 3 ประการ คือ

    1.ปัญหาด้านนโยบายหลัก เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐกำหนดนโยบายและแผนงานฝ่ายเดียว จึงไม่เป็นนโยบายแห่งชาติ ทำให้ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน ขาดความเป็นธรรมและการนำไปปฏิบัติไม่มีประสิทธิภาพ

    2.ปัญหาด้านโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการน้ำ หน่วยงานภาครัฐทำงานซ้ำซ้อนกัน ขาดบูรณาการและขาดความเข้าใจในภาพรวมเรื่องน้ำ ที่สำคัญคือไม่มีข้อมูลเรื่องน้ำที่เพียงพอและไม่ทันเหตุการณ์

    3.ปัญหาด้านกฎหมาย ปัจจุบันให้อำนาจเฉพาะแก่หน่วยงานรัฐในการตัดสินใจ ก่อให้เกิดการจัดสรรน้ำที่ไม่เป็นธรรม และไม่สอดคล้องกับระบบนิเวศและวัฒนธรรมการจัดการน้ำในแต่ละท้องถิ่น

    รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ม.มหิดล ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ วิเคราะห์จุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำในประเทศไทย ว่ามี 6 ประการหลัก คือ 1.มาไม่บอก 2.ทายไม่ถูก 3.เตือนไม่เชื่อ 4.ห้ามไม่ฟัง 5.คาดไม่ถึง และ 6.สูญเสีย

    “น้ำท่วมปีนี้ผู้ต้องรับผิดชอบคือ เจ้าหน้าที่รัฐทั้ง 30 กรม เพราะไม่มีการประสานงานกัน ทำให้เกิดความอลหม่าน ต่างคนต่างเห็นเฉพาะปัญหาของตัวเอง เช่น คนดูแลเขื่อนก็เห็นแต่น้ำในเขื่อน คนพยากรณ์พายุเห็นแต่น้ำฝน คนดูแลหมู่บ้านป่าเห็นแต่น้ำในลำคลอง ไม่มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ วิธีเดียวที่จะบริหารจัดการปัญหาน้ำได้อย่างถาวรต้องมีกระทรวงน้ำ ที่สำคัญคือ สภาพแวดล้อมประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เมืองสร้างเพิ่ม พื้นที่ป่าลด ทางไหลของคูคลองน้ำไม่เหมือนเดิม จะใช้ข้อมูลเก่าๆ มาบริหารน้ำไม่ได้”

    ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำอธิบายต่อว่า ปัญหาน้ำเกิดจาก 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เกิดจากสภาพธรรมชาติเอง (water-related natural disaster) เช่น ปริมาณฝนที่ตกลงมากหรือสภาพทางน้ำที่ตื้นเขิน ความลาดชันของพื้นที่ ตลอดจนภาวะดินถล่มที่เกิดจากธรณีพิบัติ ฯลฯ ส่วนที่ 2 เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง เช่น ใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม ทำลายป่าต้นน้ำในพื้นที่สูงชันหรือรุกล้ำทางน้ำ การเข้าตั้งถิ่นฐานในเขตเสี่ยงภัยน้ำท่วม ฯลฯ สำหรับทางอ้อมเช่น สภาพภูมิอากาศแปรปรวนจากภาวะโลกร้อน นโยบายที่ผิดพลาด เช่น ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ลาดชันหรือในพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติ แม้กระทั่งนโยบายจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำที่ผิดพลาด ฯลฯ

    รศ.ดร.กัมปนาท สรุปจุดอ่อนการบริหารจัดการน้ำของไทยว่า มักเป็น "เชิงรับ" มากกว่า "เชิงรุก" ไม่มีการเตรียมพร้อมในภาวะก่อนเกิดภัยน้ำท่วมหรือน้ำแล้ง เช่น การซักซ้อมเส้นทางอพยพหนีภัย การขุดลอกช่องทางระบายน้ำ การเตรียมระบบสำรองไฟฟ้า สำรองน้ำดื่มน้ำใช้ นอกจากนี้ยังไม่มี “การพยากรณ์จุดพิบัติของลุ่มน้ำ” (carrying capacity) ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่ถูกมองข้าม เช่น การทำนายขนาดและสภาพพายุ จุดที่จะเกิดฝน จุดเกิดน้ำท่วม รวม ถึงต้องมีการจำลองจุดเกิดดินถล่ม การทำนายที่ดีต้องแม่นยำ ปัจจุบันมี 30 กรมจากหลายกระทรวง ทำให้ไม่มีผู้รับผิดชอบที่แท้จริง รัฐบาลทำได้แค่บริจาคเงินหลังเกิดน้ำท่วมไปแล้ว

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา เครือข่ายนักวิชาการด้านน้ำร่วมกันจัดประชุมหัวข้อ “ทิศทางการวิจัยเพื่อการจัดการน้ำของชาติ” ได้ผลสรุปว่า ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเพื่อบริหารน้ำให้มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่คิดกันว่าทรัพยากรน้ำเป็นของทุกคน ทำให้ทุกคนใช้น้ำอย่างเสรีและไม่จำกัด ไม่เคยมีนโยบายประหยัดน้ำอย่างชัดเจย หรือการคำนึงถึงสิทธิการใช้น้ำอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

    ปัจจุบัน คณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ นำเสนอ “ร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ” เพื่อเป็นกฎหมายแม่ (Basic Laws) ในการบริหารจัดการน้ำของทุกกระทรวง โดยเฉพาะการบังคับให้หน่วยงานราชการ 30 แห่งเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับสูงสุดพร้อมทำงานประสานกับองค์การบริหารส่วน ตำบล (อบต.) 8,000 แห่งทั่วประเทศให้มากขึ้น ล่าสุดกฎหมายฉบับนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม มีบางกลุ่มต้องการให้ทบทวนเนื้อหาบางส่วนใหม่ เพื่อให้ความสำคัญต่อภาคประชาชนมากขึ้น เนื่องจากกลัวว่าทรัพยากรน้ำจะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือสนับสนุนนายทุน มากเกินไป จนเกษตรกรไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้เหมือนเดิม





    -http://www.komchadluek.net/detail/20111017/111981/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A.html-

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    .


    กทม.ยังไม่ปลอดภัยห่วงสายไหม-ดอนเมือง

    [​IMG]



    ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ระบุกทม.ยังไม่ปลอดภัยวิกฤตน้ำท่วมต้องเฝ้า ระวังต่อเนื่อง ห่วงสายไหม-ดอนเมือง ชาวรังสิตจับตาระดับน้ำประตูจุฬาลงกรณ์ใกล้ชิด
    ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า สถานการณ์เฝ้าระวังน้ำท่วมในพื้นที่ กรุงเทพฯ ขณะนี้ยังถือว่าไม่ปลอดภัยโดยเฉพาะพื้นที่ด้านเหนือของกทม. ในเขตสายไหมและดอนเมือง ยังถือน่าห่วงมากที่สุด เนื่องจากในพื้นที่ติดกันที่ข้ามคลองรังสิตไปยังมีสถานการณ์น้ำเหนือไหลบ่า ลงมา ประกอบกับมีข่าวว่า คันกันน้ำหลายแห่งแตก ซึ่งหากเป็นจริงอาจส่งผลกระทบไปถึงเขตคลองสามวาด้วย
    ส่วนแนวคันกั้นน้ำริมคลองหกวาได้เสริมกระสอบทรายระยะทาง 6 กม.เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เพื่อความไม่ประมาทได้สั่งการให้เพิ่มความสูงเป็น 50ซม.เป็นระยะทางอีก 1กม.
    นอกจากนี้ ได้สั่งการให้สำนักการโยธา ยกระดับถนนเลียบคลอง 2 สูงขึ้นอีก 30 ซม. ระยะทาง 1.25 กิโลเมตร เพื่อเป็นแนวคันกั้นน้ำ รวมถึงยกระดับพื้นซอยสายไหม 85 เพิ่มอีก 30ซม.ระยะทาง 1 กิโลเมตร ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันออก ได้เพิ่มกระสอบทรายอีก 6 แสนใบ
    ทั้งนี้ ประชาชนที่ต้องการจะบริจาคทรายสามารถบริจาคได้ที่ศูนย์รับบริจาค กทม.หรือที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต
    ส่วนสถานการณ์น้ำล่าสุดปริมาณน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนพระราม 6 มีความเร็วการไหลอยู่ที่ 4,238 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดลงจากเมื่อวานนี้(16ต.ค.) 36 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
    ขณะที่ น้ำทะเลหนุนสูงเมื่อเวลา 09.59 น. อยู่ที่ระดับ 1.08 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาวัดได้ที่ปากคลองตลาดเมื่อเวลา 07.00 น. อยู่ที่ 1.56 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งต่ำกว่าคันกั้นน้ำ 1.24 เมตร และขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารจากกรุงเทพมหานครอย่างใกล้ชิดและอย่า ตื่นตระหนก
    <ins>เฝ้าระวังระดับน้ำประตูจุฬาลงกรณ์รังสิตใกล้ชิด</ins>
    เจ้าหน้าที่และประชาชนในย่านชุมชนรังสิต ตลาดรังสิต และห้างฟิวเจอร์พาร์ครังสิต ยังคงเฝ้าระวังระดับน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยระดับน้ำด้านหลังประตูน้ำจุฬาลงกรณ์อยู่ที่ 2.80 เมตร ขึ้นจากวานนี้ 10 ซม. ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงต้องอพยพออกมาเพื่อความปลอดภัย ขณะที่สถานการณ์น้ำท่วมในหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ปีมีบางซอยน้ำท่วมแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้ตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อสูบน้ำออกตลอดเวลา รวมถึงจุดกลับรถใต้สะพานคลอง 1 คลอง 2 ที่มีการนำกระสอบทรายเข้าไปเสริม ด้านประตูน้ำเชียงรากน้อย ด้านหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้เสริมคันกั้นอีก 50 ซม.เพื่อป้องกันน้ำ


    -http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1.-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1./116666/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1-%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...