เรื่องเล่าในพระธรรมบท ตอน ครอบครัวพระอรหันต์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 27 สิงหาคม 2017.

  1. joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    รื่องเล่าในพระธรรมบท ตอน ครอบครัวพระอรหันต์

    พระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระธรรมิกเถระ ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 84 นี้

    อุบาสกคนหนึ่ง ครองเรือนกับภรรยาอยู่ในกรุงสาวัตถี อยู่วันหนึ่งอุบาสกผู้นี้ได้กล่าวกับภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์ว่า ตนต้องการจะบวชเป็นภิกษุ ภรรยาได้ขอร้องว่า ให้รอจกกว่านางจะคลอดบุตรซึ่งอยู่ในท้องก่อน เมื่อทารกนั้นเติบโตพอเดินได้แล้ว เขาก็ได้ไปบอกกับภรรยาอีกครั้งหนึ่งว่าจะขอออกบวช แต่นางได้ขอร้องเหมือนคราวก่อนว่า ให้รอจนกว่าบุตรเจริญวัยพอสมควรแล้วจึงค่อยบวช พอถึงตอนนี้ธรรมิกอุบาสกมาคิดว่า “จะมีประโยชน์อะไรกับการที่เราจะต้องขออนุญาตนางก่อนออกบวช เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตนเอง” เมื่อตัดสินใจแน่วแน่เช่นนี้แล้ว เขาก็หนีออกจากบ้าน ไปบวชเป็นพระภิกษุ ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานจากพระศาสดาแล้วก็ไปปฏิบัติสมณธรรมอย่างมุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง ในไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    ต่อมาพระธรรมิกนี้ก็ได้ไปที่บ้านของท่าน เพื่อแสดงธรรมแก่บุตรชายและภรรยาเก่าของท่าน บุตรชายของท่านได้เข้ามาบวชเป็นสามเณรและได้บรรลุพระอรหัตตผล ภรรยาเก่าของท่านมีความคิดว่า “ทั้งสามีและบุตรของเราต่างก็ออกบวชกันหมดแล้ว เราก็ควรจะบวชบ้าง” จึงออกไปบวชเป็นภิกษุณี ต่อมาไม่นานนางก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันในโรงธรรมเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมิกอุบาสก ออกบวช บรรลุพระอรหัตแล้ว ทั้งได้เป็นที่พึ่งแก่บุตรและภรรยา ก็เพราะความที่ตนตั้งอยู่ในธรรม” พระศาสดาได้ตรัสกับภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าบัณฑิต ไม่พึงปรารถนาความสำเร็จทางด้านความมั่งคั่งและความไพบูลย์ เป็นต้น ไม่ว่าจะเพื่อตนหรือเพื่อคนอื่น แต่พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม มีธรรมเป็นที่พึ่งโดยแท้”

    จากนั้น พระศาสดาได้ตรัส พระธรรมบท พระคาถาที่ 84 ว่า

    น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ
    น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธนํ น รฏฺฐํ
    น อิจเฉยฺย อธมฺเมน สมิทธิมตฺตโน
    น สีลวา ปญฺญวา ธมฺมิโก สิยาฯ

    บัณฑิตไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตน
    หรือเพราะเหตุแห่งคนอื่น
    ไม่ปรารถนาบุตร ทรัพย์ และแว่นแคว้น โดยทางผิด
    ไม่ปรารถนาความสำเร็จแห่งตนโดยไม่เป็นธรรม
    ผู้เช่นนี้เป็นผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม.


    เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น.
     

แชร์หน้านี้