เรื่อง โอกาส

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supanon2011, 5 กันยายน 2012.

  1. supanon2011

    supanon2011 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +84
    เขาว่ากันว่าคนอ่อนแอรอคอยโอกาส<WBR> คนเข้มแข็งสร้างโอกาสให้ตนเอง โอกาสไม่อาจสูญเสีย..เวลาไม่อาจ<WBR>หวนคืน ชีวิตคนเราไม่นานก็ผ่านเลยไป การวิเคราะห์ต้องเฉียบขาด การตัดสินใจต้องเร็วพอ ไม่เช่นนั้นโอกาสก็จะสูญหายไป แล้วจะไปโทษใครได้จริงไหม?

    ความจริงคิดว่าจะเขียนถึงโอกาสซึ่<WBR>งมี8ประเภท แต่ว่าหากไม่เขียนถึงการบริหารจั<WBR>ดการอย่างมีประสิทธิภาพทำให้เกิ<WBR>ดประสิทธิผลก่อน ประโยชน์ที่พึงได้น่าจะไม่มากนั<WBR>ก โดยหลักของสัปปุริสธรรม3ข้อแรกรู้<WBR>จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน นักบริหารที่จะประสบความสำเร็จต้<WBR>องนำมาวิเคราะห์ก่อน คือต้องมีภาพรวมของสิ่งที่จะบริ<WBR>หารก่อนว่ามีการเชื่อมโยงกันอย่<WBR>างไร มีสิ่งใดเป็นเหตุ-เป็นผล-เป็นเห<WBR>ตุ-เป็นผล...ๆๆทั้งหมดที่ว่ามานี้<WBR>ก็คือ"ข้อมูล"ในข้อมูลต่างที่<WBR>มีเข้ามาย่อมประกอบด้วยความเป็น<WBR>จริงโดยแท้พิสูจน์ได้ ความน่าจะเป็นโดยหลักวิชา(ดวงชต<WBR>า ฮวงจุ้ยและอื่นๆ)ความคิด-ความเชื่<WBR>อซึ่งไม่มีอะไรรับรอง อาจจะเป็นจริงตามนั้นหรือไม่เป็<WBR>นก็ได้ การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ต้อง<WBR>จัดระดับความสำคัญและรอบคอบ การที่ใครจะทำอะไรต้องตรวจสอบศั<WBR>กยภาพความสามารถของตนให้ดีว่า ตนเองมีความรู้แบบไหนอย่างไร ความสามารถในการที่จะลงมือกระทำ<WBR>มีมาก-น้อยขนาดไหนอย่างไร ไม่ใช่ฉันอยากจะทำอะไรฉันก็ทำ ถ้าเป็นแบบนี้โดยไม่มีการเตรียม<WBR>พร้อมไว้ก่อน การบริหารจัดการปัญหาจะทำได้โดย<WBR>ยาก โอกาสล้มเหลวมีสูงมาก พอก่อนปวดหัวแล้ว ต่อไปจะพูดถึงหลักของการดำเนินก<WBR>ารโดยไม่ผิดพลาด

    เมื่อวานนี้พูดถึงรู้จักเหตุ-ผล<WBR>-ตน เป็นเรื่องของ"การรู้เรา"ต่อไปก็<WBR>รู้เขาคือรู้จักบุคคลที่การบริ<WBR>หารจัดการของเราเข้าไปเกี่ยวเนื่<WBR>องว่า มีตำแหน่ง-หน้าที่-อัทธยาศัยแบบ<WBR>ไหน อย่างไร รู้จักประชุมชนหมายถึงสังคมสิ่ง<WBR>แวดล้อมหรือกลุ่มลูกค้าว่า มีวัฒนธรรมแบบแผนประเพณีกันอย่า<WBR>งไร เพื่อกำหนดยุทธวิธีที่เหมาะสมแล<WBR>ะทำให้เรารู้จักประมาณได้ว่าควร<WBR>จะขนาดไหนอย่างไร สุดท้ายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคื<WBR>อรู้จักกาลเวลา ว่ากาลไหนเวลาใดควรจะกระทำอย่าง<WBR>ไร ในหลักสัปปุริสธรรม7นี่จะเห็นข้<WBR>อที่เป็นหลักสำคัญ รู้จักเหตุ รู้จักผล ก็คือ"ข้อมูล"ซึ่งต้องชัดเจนว่า<WBR>อะไรที่เป็นจริงอะไรที่ยังไม่ชั<WBR>ด การบริหารจัดการจึงจะมีปัญหาน้อ<WBR>ย..
     

แชร์หน้านี้

Loading...