เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน เชือกปะกำช้างป้องกันคุณไสย์ ลมเพลมพัด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 14 พฤษภาคม 2017.

  1. joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน เชือกปะกำช้างป้องกันคุณไสย์ ลมเพลมพัด

    เชือกปะกำช้าง ถือเป็นทนสิทธิ์เครื่องรางชนิดหนึ่ง ที่มีฤทธิ์ในตัวบวกกับการนำเข้าพิธีมงคล คล้องช้าง และพิธีของพราหมณ์ เพราะการคล้องช้างสมัยโบราณนั้น จะใช้หนังควายเป็นปะกำคล้องช้าง เพราะมีความเหนียว ความทน วัตถุประสงค์ ก็เพื่อนำช้างนั้น มาใช้ในการออกศึก หรือ นำมาใช้ในราชพิธี และงานวััตถุประสงค์ที่จำเป็น ตามคติความเชื่อ ช้างนั้นถือเป็นสัตว์มงคล มาตั้งแต่โบราณกาล จวบจนปัจจุบัน เพราะมีความเกี่ยวพัน กับวิถีการเป็นอยู่ของมนุษย์
    เพราะเหตุนี้ปะกำช้างจึงกลายมาเป็นเครื่องราง ที่มีคุณวิเศษในตัว ทั้งทางด้านการข่มคุณไสย์ คุณผีคุณคน ป้องกันอาถรรพ์ เป็นเมตตามหานิยมต่อผู้ที่ได้ครอบครอง หนังปะกำ หรือ เชือกปะกำ เป็นบ่วงบาศก์ทำด้วยหนังควายที่นำมาตัดเป็นริ้วๆ แล้วตากแห้ง
    จากนั้นปั่นเข้ากันเป็น ๓ เกลียว มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ - ๒ นิ้ว มีความยาวประมาณ
    ๕๐ - ๘๐ เมตร จากนั้นจะมีพิธีอัญเชิญผีปะกำ ซึ่งเป็นวิญญาณบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่
    ชาวกวยเคารพบูชาให้เข้ามาสิงสถิตย์ในเชือกบ่วงบาศก์หรือเชือกปะกำนี้หนังปะกำถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ชาวกูยใช้ในการคล้องช้างป่า
    โดยชาวกูยจะสร้างศาลหรือหอเก็บเชือกปะกำให้แยกออกจากตัวบ้าน และทุกครอบครัวจะต้อง
    เคารพกราบไหว้เป็นประจำ ห้ามล่วงเกิน ห้ามเหยียบ ห้ามสตรีที่ไม่ใช่สายโลหิตแต่ต้องหรือ
    ขึ้นไปบนหอหรือศาลปะกำ ถ้าละเมิดเรียกว่า "ผิดขะลำ" หรือ "ผิดครู" หรือ "ผิดปะกำ" ถ้า
    เป็นเวลาอยู่ที่บ้านอาจทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเป็นระยะออกจับช้างป่า อาจจะเป็นบ้า เสียสติ
    หรืออาจได้รับอันตรายจากช้างป่านอกจากนี้ไม่ว่าจะประกอบกิจการใดๆชาวกูยมักจะมีการเซ่นบวงสรวงผีปะกำก่อนเสมอ โดย
    เซ่นปะกำใหญ่ก่อนแล้วค่อยเซ่นปะกำย่อยอื่นๆตามลำดับ เช่น ก่อนการออกเดินทาง การสู่ขอและแต่งงานกับสาวที่อยู่ในครอบครัวที่ถือปะกำ
    เป็นต้นตามปกติหนังปะกำจะเก็บรักษาไว้บนหอหรือศาล ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวศาลปู่ตา มีเสา ๔ ต้น ยกพื้นสูงประมาณ ๒ เมตร ประกอบด้วยฝาและมุงหลังคาสังกะสี มักสร้างไว้ทางด้านหน้าหรือทิศตะวันออกของตัวบ้าน เช่นเดียวกับการตั้งศาลพระภูมิของคนไทยโดยทั่วไป นอกจากจะเป็นที่เก็บหนังปะกำแล้ว ศาลนี้ยังมีเครื่องเซ่นต่างๆ ตั้งไว้ด้วย และที่ขาดเสียมิได้ก็คือ "สุรา" ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง.ปะกำช้าง ป้องกันคุณไสย์ ลมเพลมพัด เวลาเดินป่า ให้ติดที่เข็มขัดไปด้วย พระธุดงค์ คนเดินป่า ฤาษี จะมีไว้ทุกคนครับ ท่านถือเป็นของมงคลอาถรรย์ ยิ่งนักใครมีไว้ครอบครองจะเกิดโชคลาภมีเสน่ห์หา ผู้คนรักหลง เอาติดตัวไปทำมาค้าขึ้นเป็นของค้ำคูณ มีค่ามากถึงขนาดเจ้าของเดิมที่เลื่อยตัดให้ยังต้องเก็บเอาแม้แต่เศษผง ท่านว่ามีแล้วไม่อดอยากแคล้วคลาดปลอดภัย พกไปไม่ตายโหง มีอำนาจบารมีพ้นคุกพ้นตางราง ถือเป็นเครื่องรางมงคลอาถรรย์ที่หายากยิ่งนักและสมัยนี้ไม่มีการคล้องช้างแล้วจึงนับว่าหายาก ยากที่จะได้มาครอบครอง ถือเป็นเครื่องรางอาถรรพ์ที่ให้โชคลาภสุขสมหวังดังปรารถนาและนับเป็นของแปลกอีกชิ้นที่น่ามีไว้ติดตัว
    โภ สี คะ สา
    บทนี้เรียกว่า หัวใจพระครูปะกำ เป็นของหมอไท ท่าด่าน หรือ อ.คชเมธี ซึ่งเป็นผู้ถอดออกมาจากนามของพระครูปะกำทั้งสี่ท่านดังนี้

    โภ ก็คือ พระโภควันตี
    สี คือ พระแม่นางสีลวาง
    คะ คือ พระคชศาสตร์
    สา คือ พระศาตกรรม
    ภาวนา ๓ จบ เพื่อบูชาพระครูปะกำ หรือ บูชาตะขอช้าง บูชาวัตถุมงคลเกี่ยวกับช้าง หรือแม้กระทั่งก่อนจะขึ้นขี่ช้างภาวนาคาถานี้เพื่อให้เกิดสิริมงคลและเพิ่ม พูนบารมีนานาประการ หรือ เวลาเข้าป่าให้เขียนคาถาหัวใจพระครูปะกำใส่แผ่นทองเหลืองทำเป็นตะกรุดแขวนไป จะป้องกันภยันตรายจากสัตว์ร้ายทั้งปวง แม้กระทั่งภูตผีปีศาจและคุณไสยนานาประการก็มิอาจมากล่ำกรายได้ฯ


     

แชร์หน้านี้