พระครูสุทธิวัตรสุนทร(หลวงปู่บุญ สุสมโณ) วัดบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ชาติภูมิ
นามเดิม บุญ สัตย์ซื่อ สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย นามบิดา นายแอ่ม สัตย์ซื่อ สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย นามมารดา นางซาว สัตย์ซื่อ สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย สถานที่เกิด หมู่ที่๔ ตำบลบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
ชาตะ
วันที่๓๑ มกราคม๒๔๔๗ ตรงกับวันอังคาร แรม๑๑ ค่ำ เดือน๒ ปีมะโรง ซึ่งมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน๕คนคือ
๑. พระครูสุทธิวัตรสุนทร(หลวงปู่บุญ สุสมโณ)
๒.นางอิน สมรสกับนายอิ่ม จริตงาม (ถึงแก่กรรม)
๓. นายปริ่ง สมรสกับนางหลี สัตย์ซื่อ (ถึงแก่กรรม)
๔. นางลอย สมรสกับนายแดง สุทธิสถิตย์ (ถึงแก่กรรม)
๕. นางวิไล สมรสกับนายไม้ จุลเจือ
หลวงปู่บุญ ท่านเคยรับราชการเป็นตำรวจมาก่อน อุปสมบท ท่านอุปสมบท วันที่๑๗ เดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับวันอังคารแรม๑๓ค่ำเดือน๕ปีมะโรงที่วัดบ้านาน ตำบล บ้านนา จังหวัด ระยอง พระอุปัชฌาย์ พระครูสังฆการบูรพทิศ(ปั้น)เจ้าคณะแขวงแกลง วัดราชบัลลังก์ ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง พระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหล่ำ มหาสุวณฺโณ รองเจ้าคณะแขวงแกลง จังหวัด ระยอง (พระราชอริยคุณาธาร(หล่ำ)เจ้าคณะจังหวัดระยอง) พระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์เหลือ วัดราชบัลลังก์ ตำบลทางเกวียน อำเภอ แกลง จังหวัดระยอง
พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๗๕ จำพรรษาอยู่วัดหนองจระเข้ วิทยฐานะ
เมื่อเยาว์วัย ได้รับการศึกษาตามประเพณีนิยมในสมัยนั้นกล่าวคือ เรียนอักษรสมัยในแบบปฐม ก กา ที่วัดบ้านนา จนสามารถอ่านออกเขียนได้
พ.ศ.๒๔๖๐ จบชั้นประถมอ่านออกเขียนได้ ณ.โรงเรียนวัดหนองจระเข้ ตำบล บ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
พ.ศ.๒๔๗๗ สอบได้ น.ธ. ตรี วัดบ้านนา สำนักเรียนคณะจังหวัดระยอง
การศึกษาพิเศษ
- ศึกษาหนังสือขอมจนมีความสามารถอ่านออกเขียนได้เป็นอย่างดี
- ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและวิชาแพทย์แผนโบราณ
งานด้านปกครอง
พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบ้านนา
พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านนา
พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พ.ศ.๒๕๒๔-๒๕๒๕รักษาการแทนเจ้าอาวาส วัดหนองจระเข้ สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูประทวน
พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานเป็นสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรีที่พระครูสุทธิวัตรสุนทร
พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโทในราชทินนามเดิม
มรณภาพ
พระครูสุทธิวัตรสุนทร(หลวงพ่อบุญ สุสมโณ) เป็นพระมหาเถระผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นผู้รักสันโดษ มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายยึดพรมวิหารธรรม และสังควัตถุธรรม เป็นหลักการบำเพ็ญศาสนกิจอันเป็นหิตานุหิตประโยชน์ เพื่อความเจริญรุ่งเรือง เพื่อความมั่นคง เพื่อความวัฒนาสถาพรแก่วัด และการพระศาสนามาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมาพระครูสุทธิวัตรสุนทร(หลวงปู่บุญ)สุขภาพไม่สู้จะแข็งแรงตามวัยนัก เนื่องจากมีการอาพาธด้วยโรคความดันโลหิตและระบบทางเดินหายใจเป็นประจำต้องเข้าพักรักษาตัวที่ตึกคณะสงฆ์อำเภอแกลง โรงพยาบาลแกลง และโรงพยาบาลบางโพหลายครั้ง เมื่ออาการดีขึ้นก็กลับมาอยู่ที่วัดปฏิบัติกิจวัตรไม่เคยขาด จนกระทั่งค่ำของวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๒ หลวงปู่บุญยังคงปฏิบัติกิจของสงฆ์โดยอิริยาบถทั้ง๔ได้ตามปกติ เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๒ ขณะที่หลวงปู่กำลังจำวัดอยู่ เวลาประมาณ ๐๓.๐๐ น. ก็มีอาการสะดุ้งตื่นและเหนื่อยหอบมากศิษย์ผู้อุปัฏฐากอยู่รีบปฐมพยาบาล พร้อมทั้งนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลแกลงแต่มีอาการอ่อนเพลียลงเรื่อยๆต้องใช้เครื่องช่วยหายใจอาการก็ไม่ดีขึ้น รุ่งขึ้น วันที่๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๒ ศิษย์พร้อมด้วย น.พ. บัญญัติ เจตนจันทร์ และพยาบาลโรงพยาบาลแกลง,โรงพยาบาลชลบุรีนำหลวงปู่ส่งโรงพยาบาลบางโพซึ่งคุณประพฤทธิ์ตงพิพัฒน์ แพทย์-พยาบาลโรงพยาบาทแห่งนี้ผู้เป็นศิษย์ที่เคารพนับถือหลวงปู่บุญ และได้ปวารณาไว้ คณะแพทย์ได้ทำการรักษาหลวงปู่จนอาการดีขึ้นตามลำดับ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๔๓ อาการหลวงปู่ก็ทรุดลงอีกครั้งตามสภาพของสังขาร
หลวงปู่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั้งสองแห่งเป็นเวลา๑๐๙วัน ถึงได้มรณภาพโดยอาการอันสงบ ด้วยโรคไตวายเฉียบพลัน ณ. โรงพยาบาลบางโพ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๔๓ เวลา๑๒.๓๐ สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี ๒ เดือน ๑๖ วัน
เหรียญหลวงพ่อบุญวัดบ้านนา รุ่นซ่อมอุโบสถ ปี37 เนื้อทองฝาบาตร
พระครูสุทธิวัตรสุนทร (บุญ สุสฺมโณ) วัดบ้านนา ต.บ้านนา อ.แกลง จ.ระยอง
เกจิเมืองระยอง สายของเกจิอาจารย์ชื่อดัง จะขาดไม่ได้อีกหนึ่งองค์ ขอกราบนมัสการหลวงปู่บุญ สุสมโณ วัดบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อโตวัดเขากะโดน(วัดเขาบ่อทอง)หลวงปู่บุญเป็นพระที่ค่อนข้างจะสมถะ จะไม่นิยมสร้างวัตถุมงคลเพื่อการพาณิชย์ นอกจากจะมีการสร้างเพื่อทำนุบำรุงศาสนา มีคณะผู้จัดทำหนังสือพระชื่อดังไปกราบขออนุญาตหลวงปู่ จะจัดสร้างวัตถุมงคลซึ่งหลวงปู่ไม่อนุญาต
เหรียญหลวงพ่อบุญวัดบ้านนา รุ่นซ่อมอุโบสถ ปี37 เนื้อทองฝาบาตร หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ...หลวงพ่อสิน วัดละหารใหญ่...หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า...ร่วมพิธีปลุกเสกครับ. ใครมีพระรุ่นนี้โชคดีนัก เพราะพระสร้างมาแต่ปี 2537 เมื่อเข้าพรรษาปี 37 ท่านอธิษฐานพระชุดนี้ให้ตลอด 3 เดือน เมื่อล่วงมาถึงปี 2538 ปรากฏว่าพระจำหน่ายไม่หมด หลวงปู่ก็เอาเข้ากุฏิเสกอีกตลอดพรรษาปี 38
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญรุ่นซ่อมโบสถ์หลวงปู่บุญ ให้บูชา ๒ เหรียญคู่ 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
เสกจนเหรียญแตกรุ่นแรกหลวงพ่อไวย์๑ใน๑๖เกจิพิธีจตุรพิธพรขัยเหรียญและพระผงลพ.คลี่ประชาโฆษิตาราม
ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.
หน้า 63 ของ 103
-
-
ประวัติวัดสนามชัย
เรื่องราววัดสนามชัยในครั้งก่อน คนเก่าเล่าไว้ไม่แน่นอน จะตัดตอนเสริมต่อพอเข้าใจ
วัดสนามชัยเป็นวัดเก่าแก่พอสมควรมีพระนอน ปางไสยาสน์ เก่าแก่อยู่กลางแจ้ง 1 องค์ ไม่มีมณฑปครอบ คำว่า สนามชัย คงหมายถึง สนามแข่งขันในสมัยก่อนนานมาแล้ว วัดสนามชัย ยังมีอีกวัดหนึ่ง เป็นวัดที่ สุรพล สมบัติเจริญนำไปร้องเพลง วัดสนามชัยนี้อยู่ห่างที่วัดหลวงพ่อกวย ประมาณ 5 กิโลเมตร ปัจจุบันรอบๆ วัด ชาวบ้านจะมีอาชีพทำนาและทำสวนส้มขาวแตงกวา ที่มีรสหวานยิ่งนัก สรุปคือไม่ได้ที่มาที่ไปที่แน่นอนจากคนเก่าเลย ประกอบกับในสมัยของท่าน ในสรรคบุรีมีเกจีอาจารย์ถึง 2 รูป คือ หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ กับหลวงพ่อกวย ซึ่งเปรียบเสมือนอาจารย์องค์หนึ่งของท่าน ท่านจึงไม่จำเป็นต้องสร้างวัตถุมงคลอะไรขึ้นมาเพื่อความดังหรือเพื่อลาภสักการะ สมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง ครั้งใดที่ท่านดำริก่อสร้างอะไรท่านจะจุดธูปบอกเล่า หลวงพ่อโต วัดวิหารทอง เจ้าอาวาสองค์ก่อน แม้ในใบบอกบุญทอดผ้าป่าท่านก็ให้หลวงพ่อโตเป็นประธาน ท่านสามารถสร้างเมรุ, สะพานแขวน โดยให้หลวงพ่อโตเป็นประธาน และหลวงพ่อโตก็เป็นจริงมรณภาพไปแล้ว ยังสามารถดลจิตคลใจคนให้นำผ้าป่ามาทอดโดยไม่บอกมาก่อน ทั้งเมรุและสะพานแขวนข้ามแม่น้ำน้อย ทำได้สำเร็จ
ประวัติหลวงพ่อพิมพ์
ท่านเกิดที่บ้านวังขรณ์ ต.โพธิ์ชนไก่ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2458 เป็นบุตรของ พ่อขวัญ-แม่พัว อินทอง ที่บ้านวังขรณ์นี้อยู่ไม่ไกลจากวัดสนามชัย แต่อยู่คนละฝั่งแม่น้ำ ชีวิตวัยเรียนจบชั้นประถม 4 ซึ่งถือว่าสมบูรณ์และสูงสุดแล้ว ในวัยหนุ่มท่านเป็นคนใจร้อน พูดน้อย ไม่เกรงกลัวผู้ใด รูปร่างล่ำป้อม ผิวสีค้อนข้างดำ แข็งแรง ทำจริงชอบยิงกระสุน (คล้ายธนู) และเรียนกระบี่กระบองจนจบ พูดจริง ทำจริง และไม่เคยข้องแวะกับสตรีเพศเลย จนกระทั่งบวช มีชื่อเล่นว่า นายพลุ เพราะเป็นคนจริง ลงถ้าโมโหแล้วจะไม่เกรงกลัวผู้ใดเลย นายพิมพ์ได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์หอม ต. เชิงกลัด อ. บางระจัน จ. สิงบุรี เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2479 โดยมีท่านพระครูศรีวิริยะโสภิต (หลวงพ่อสี) วัดพระปรางค์ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีอาจารย์พัน เป็นพระกรรมวาจาจารย์และมหากราด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เป็นพระภิกษุสงฆ์ เวลา 15.00 น. ได้รับฉายาว่า สุวณ۪โณและได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์
หอม 1 พรรษา เพื่อหัด
ศึกษาวิชาอาคม
หลังจากพรรษาที่ 1 ผ่านไป ท่ามเริ่มที่จะศึกษาวิชาอาคมวิปัสสนากรรมฐาน โดยไม่ทิ้งเวลาให้สูญเปล่า ท่านได้เดินทางมาเรียนวิชากับหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค เพราะท่านเคยเป็นลูกศิษย์หาบสำรับให้หลวงพ่อกวย ตอนที่หลวงพ่อกวยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิมถึง 7 ปี (แต่พักจำพรรษาที่วัดบางตาหงาย) เมื่อพระพิมพ์แจ้งความจำนงว่าจะขอเรียนวิปัสสนาและวิชาอาคม หลวงพ่อกวยได้ตอบปฏิเสธ โดยบอกว่าให้ไปเรียนกับอาจารย์ของท่านโดยตรงเลยคือ หลวงพ่อสีวัดพระปรางค์ หลวงพ่อสีองค์นี้แก่กล้าอาคมยิ่งนัก สร้างเหรียญไว้ 1 รุ่น ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เต็มองค์ สวยงามยิ่งนักสนนราคาแพง มีลูกศิษย์หลายองค์ล้วนแต่แก่กล้าอาคม เช่น หลวงพ่อบัว วัดแสวงหา อาจารย์ดำรง วัดเขาขึ้น หลวงพ่อฟุ้ง หลวงพ่อเฟื่อง วัดแหลมคาง หลวงพ่อหร่ำ วัดวังจิก หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์ ที่โด่งดังทะลุฟ้า คือ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง และที่เก่งและรักลูกศิษย์เหมือนหลวงพ่อรักลูก ก็หลวงพ่อกวย วัดบ้านแค (ติดอันดับ 1 ใน 9 ยอดเกจิอาจารย์รัตนโกสินทร์ยุค 4) ขอเงินหมื่นให้เงินหมื่น ขอเงินแสนให้เงินแสน ขอเงินล้านให้เงินล้าน ฯลฯ อันตัวท่านหลวงพ่อสีนี้ สร้างโบสถ์โดยไม่ได้เรื่อไรใคร ท่านสามารถเรียกทรัพย์แผ่นดินได้ เป็นเหรียญเงินเก่าสมัย ร.5, ร.6 โดยไปตักเอาในบ่อเล็กๆ ในวันฌาปนกิจศพท่าน ดาวได้ขึ้นเวลากลางวันซึ่งอัศจรรย์มาก
หลังจากที่หลวงพ่อพิมพ์ได้ศึกษาอาคมจากหลวงพ่อสีระยะหนึ่ง ท่านก็เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ได้พักอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญแต่ท่านไม่ได้เรียนวิชาธรรมกาย คงยึดมั่นในการปฏิบัติตามแนวของหลวงพ่อสีอยู่เหมือนเดิม ท่านมาอยู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ 8 ปี ท่านได้เรียนทางปฏิบัติ คือ นักธรรมตรี, โท และเอก แล้วท่านก็กลับมาวัดสนามชัย การกลับมาครั้งนี้ของท่านปรากฏว่าหลวงพ่อพ่อสี วัดพระปรางค์ องค์อาจารย์ได้มรณภาพแล้ว การกลับมาครั้งนี้ท่านได้ปฏิบัติทางจิตอย่างจริงจัง หลังจากฉันเช้าแล้ว ท่านก็เข้าไปนั่งสมาธิในป่าช้า จนมืดค่ำดึกดื่น จะว่าท่านเรียนวิปัสสนากรรมฐานได้ช้า ไม่เหมือนศิษย์พี่ คือ หลวงพ่อกวย ก็ไม่เชิง เพราะหลวงพ่อกวยมีหลักฐานว่าเรียนวิปัสสนากรรมฐานเพียงปีเดียวสำเร็จ โดยพักที่วัดหนองตาแก้ว ได้ขุดสระศักดิ์สิทธิ์เอาไว้และปลูกต้นสมอเอาไว้ ใครอาบน้ำในสระโดยไม่ตัดไปอาบจะเป็นขี้กลาก ใครปัสสาวะที่ต้นสมอจะชักดิ้นชักงอ แต่หลวงปู่พิมพ์ท่านกลับฝึกทางจิต โดยนั่งสมาธิถ้ามีเวลาว่าง ท่านปฏิบัติทางจิตจนกระทั่งบั้นปลายของชีวิต ในบั้นปลายของชีวิตของท่าน ท่านก็คงแข็งแรง ไม่กินหยุบกินยา ล่ำป้อมดำเหมือนเดิม ถามผมว่า หลวงพ่อกวยสอนมึงอย่างนั้นหรือ ผมบอกว่าเปล่า แต่คาถาของหลวงพ่อกวยกล่าวไว้ว่า พุทโธ คือลมหายใจเข้า -ออกของพระพุทธเจ้า แล้วท่านก็ถามผมต่อ แล้วใครสอนมึง ผมตอบว่า อาจารย์ชา วัดหนองป่า
เป็นอุปัชฌาย์
หลวงปู่พิมพ์ ท่านไม่สนใจลาภยศ ชอบสงบ ชอบปฏิบัติทางจิต แต่พอพรรษาที่ 9 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัด พอพรรษาที่ 10 ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปัชฌาย์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ ชื่อ พระครูสรรคภารวิชิตโดยได้รับคำสั่งจากเจ้าคณะภาคกรุงเทพฯ ท่านถึงกลับนิ่งอึ้งไป เพราะท่านไม่ได้ยินดีในลาภยศตำแหน่งใดๆ การได้มาซึ่งตำแหน่งยิ่งทำให้ท่านทำตัวสมถะ และเพื่อเห็นแก่ศาสนาท่านจึงรับไว้ ท่านปกครองพระภิกษุสงฆ์ในอำเภอสรรคบุรีอย่างจริงจัง ถ้าท่านได้ยินข่าวว่าพระภิกษุยุ่งเกี่ยวกับสีกา ท่านจะเรียกมาพบ โดยมากพระภิกษุที่มีเรื่องแบบนี้ท่านมักจะมีสตางค์ ท่านจะเอาปัจจัยข้าวของมาถวายท่านมากมาย แต่ท่านหลับพูดว่า ท่านเอาของของท่านกลับไปซะ แล้วไปหาที่อยู่ไกลๆ ให้พ้นจากเขตปกครองของจ้า ไม่อย่างนั้นจะหาว่าข้าไม่ดีไม่ได้นะ รีบๆ ไปซะไปให้ไวๆ ไปให้ไกลๆ ด้วย เนื่องจากตบะแล้วความแกกล้าอาคม ความสันโดษ ความไม่เกรงกลัวใครนี่เอง ลูกศิษย์ที่ท่านได้บวชให้ไปได้อนุญาตท่านเปลี่ยนนามสกุล จากนามสกุลเดิม “สรรคภารวิชิต” ได้ขอเปลี่ยนหลายคน
ของคู่บุญ
หลวงพ่อพิมพ์ ท่านชอบปฏิบัติทางจิต แต่ไม่ชอบเรียนวิชา แม้ศิษย์พี่คือหลวงพ่อกวย จะอยู่ไม่ไกล (ตอนที่ท่านเป็นอุปัชฌาย์ ท่านต้องไปจำพรรษาอยู่วัดวิหารทอง ซึ่งอยู่ติดที่ว่าการอำเภอ) แต่มีสิ่งหนึ่งที่ท่านชอบคือคันกระสุน(คล้ายธนู) ใช้ลูกดินยิง คือ ท่านเคยเรียนกระบี่กระบองมาก่อน ท่านได้สั่งศิษย์หาไม่ไผ่ป่าที่ล้มอยู่มีโขลงช้างข้ามและมีผีตายทับ ถ้าได้ช่วยทำให้ท่านสัก 1 อัน อยู่ต่อมาลูกศิษย์ของท่านได้ไปดูเขายิงเสือ (คน) นอนตายทับลำไม้ไผ่เมื่อดูไปดูมา ได้เห็นรอยเท้าของโขลงช้างเดินข้ามไปมานานแล้ว ลูกศิษย์ของท่านเลยตัดเองมา แม้ว่าจะทำได้ 2 อันแต่ลูกศิษย์ของท่านกลับทำเพียงอันเดียว เพื่อให้เป็นของหนึ่งเดียว คันกระสุนนี่ยาวกว่าของหลวงพ่อกวยเกือบ 1 ฟุต แต่ของหลวงพ่อกวยไม้แก่กว่า ไม้แก่มากเกือบเป็นสีแดง แต่ท่านจะยิงกระสุนวิถีคดได้แบบหลวงพ่อกวยหรือเปล่าไม่รู้เพราะครั้งหนึ่งศิษย์รุ่นเก่าไปกราบท่าน เห็นท่านถือคันกระสุนอยู่ จึงแกล้งแหย่ท่านว่า หลวงปู่หันหน้าไปทางโน้น แล้วยิงให้โดนหัวผมที ท่านนิ่งเฉย ท่านพูดว่า กูไม่ใช่หลวงพ่อกวยนี่หว่า ภายหลังคันกระสุนนี้ได้ตกมาอยู่กับศิษย์ใกล้ชิดท่านนึง ปัจจุบันได้มอบให้พิพิธภัณหลวงพ่อกวยไปแล้ว
ผู้สืบทอดอาจารย์ธรรมโชติ
ที่อำเภอสรรค์บุรีนี้ ถ้าพระองค์ใดเป็นเจ้าคณะอำเภอจะต้องจำพรรษา หรือเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้ที่ว่าการอำเภอ ท่านพระครูพิมพ์ก็เช่นกัน เดิมก็เป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง อยู่ๆ ท่านไม่ชอบใจกรรมการวัด ท่านก็มาจำพรรษาที่วัดสนามชัย บ้านเกิดของท่าน เหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นมา 3 ครั้ง ตั้งแต่พระครูปัตร, พระครูปุ่น ซึ่งสืบเชื้อสายเป็นญาติพี่น้องกันมาทั้ง 3 องค์ ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ว่า สืบเชื้อสายมาจากขุนสรรค์ แต่ตัวพระครูพิมพ์นั้นกลับมีปฏิปทา เหมือนหนึ่งเป็นหน่อของท่านอาจารย์ธรรมโชติ คือใครเดือดร้อนของเหรียญรูปท่าน ท่านก็ให้ไป แต้ถ้าเป็นทหาร เป็น ตชด. ท่านต้องแจกตะกรุด เหรียญหันหลังชนกันกับขันสรรค์ ผ้ายันต์ ผ้ายันต์นี้แม้ไม่มีก็จะเขียนให้ จะค้างคือที่วัดก็จะเขียนให้ แม้ผืนขนาดใหญ่ ผู้พันให้ลูกน้องมาขอ เขียนด้วยปลุกด้วย 3 วัน 3 คืน เอาไว้ป้องกันบังเกอร์ก็เขียนให้ เงินไม่สำคัญ ทหารกินข้าววัด
เป็นผู้มีเชื้อสายของคนจริง และเทพสังหาร
พระครูพิมพ์ มีชื่อเล่นว่า นายพลุ มีศักดิ์เป็นน้องปู่ฉุ่น อดีตครูใหญ่คนแรกวัดสนามชัย ภายหลังได้ลาออกและโดนกักบริเวณที่บางขวางเป็นสิบปี และเป็นน้องของสางฉาว สางฉาวนี้ คำว่า สาง หมายถึงคนที่ตายไปแล้วจะเรียกว่าเสือฉาวก็ได้ เป็นที่ไม่กลัวคน ไม่ว่ามีดหรือปืน จะเดี๋ยวหรอหมู่ก็ได้ เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หนังเหนียว ปืนยิงไม่ออก แถมล่ำป้อมแบบพระครูพิมพ์ เป็นเสือบุกเดี่ยว แต่ไม่ปล้นชิงบริเวณบ้าน เคยติดคุกที่บางขวาง ที่เกาะตะรุเตา ก็หนีมาได้ ตอนนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังได้รับจ้างทหารญี่ปุ่นซ่อมสะพานพุทธยอดฟ้าฯ ครั้งสุดท้ายติดคุกที่ชัยนาท พัศดีสั่งตีตัวแดง (สั่งตาย) โดยทั้งไม้ทั้งปืน ยังแหกคุกที่มีลวดไฟฟ้าออกมาได้ ท่านมีหลาน – เหลน อยู่คนสองคน คนแรกเป็นกำนัน ชื่อกำนันใส กำนันใสนี้ถ้าลูกบ้านทะเลาะกันอย่างรุนแรงท่านก็จะเตียน ถ้าเตียนไม่ฟัง แกจะฆ่าคนผิด โดยไม่คิดสตางค์ และไม่แย้มให้ใครรู้เลย
จอมคน
ในสมัยเสือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเสือปล้น เสือที่โด่งดังที่สุดที่ขนาดตั้งเป็นชุมเสือได้คือ เสือฝ้าย โดยมากก็จะมีของดี ทราบว่าเสือที่มีของดีและมีคุณธรรมคือ เสือมเหศวร ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ อยู่บ้านไพรนกยูง อ.หันคา จ.ชัยนาท ครั้งหนึ่งเสือฝ้ายได้มาตั้งชุมเสือที่บ้านล่องใหญ่ บ้านเดิมบางนางบวง สุพรรณบุรี ได้รู้ข่าวว่า บ้านนายยอด เดชมา (พ่อหมอเฉลียว เดชมา) มีปืน ร.ศ.ปืนพระราม อยู่ 5 กระบอก จึงได้ให้ลูกน้องมาเอาปืนที่บ้านโยมยอดโยมยอดได้มาบอกหลวงพ่อกวยให้ช่วย แต่หลวงพ่อกวยได้ไปเรียนวิชาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ โยมยอดเลยวิ่งแจ้นไปบอกพระครูพิมพ์ พระครูพิมพ์ท่านก็รับกิจนิมนต์ทันที ท่ารนเดินลัดตัดทุ่งไปทันทีที่หมู่บ้านสามเอก (ดงเสือ) ขณะที่ชุมเสือฝ้ายได้ตั้งชุมอยู่ ไม่รู้ว่าท่านพูดอย่างไร แล้วท่านก็สะพายปืนยาวรุ่นเก่า 5 กระบอก มาหน้าตาเฉย เรื่องนี้ท่านไม่ยอมเล่าให้ใครฟังถึงที่ไปที่มา ยังมีลูกหลานที่ทำนิสัยแบบนี้อีก คนคนนี้เป็นคนบ้าบิ่น (โหล่) ชื่อเชน (ปิ๊ด) ฉายาแหวนแขนเรดาร์ บ้านเดิมอยู่หัวเด่น ขณะบวชอยู่กับหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค ปรากฏว่ามีพวกเสือได้วิ่งไล่จะปล้ำคุณยายม่าย (เป็นคนจีนเตี่ยเอามาขาย 2 คนพี่น้อง) ยายม่ายได้วิ่งมาหวังพึ่งหลวงพ่อกวย พอดีเจอพระเชนพอดี พระเชนโดดเหน็บมีดหมอหลวงพ่อกวย ห่มผ้าไปส่งยายม่าย พระเชนได้พูดว่า “ถ้ามันกล้าปล้ำผู้หญิงต่อหน้ากู กูก็ขาดจากพระวันนี้แหละวะ”
เกียรติคุณปรากฏ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามได้มีเสือตั้งชุมปล้นสะดมทรัพย์สิน วัวควาย ฯลฯ เอาไปเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านสนามชัยได้รวมตัวกันเข้าไปกราบพระครูพิมพ์ เล่าเรื่องให้ฟัง ท่านได้ถามว่า แล้วพวกมึงจะยอมเขาหรือจะสู้เขา
ผู้สืบทอดอาจารย์ธรรมโชติ
ที่อำเภอสรรค์บุรีนี้ ถ้าพระองค์ใดเป็นเจ้าคณะอำเภอจะต้องจำพรรษา หรือเป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้ที่ว่าการอำเภอ ท่านพระครูพิมพ์ก็เช่นกัน เดิมก็เป็นเจ้าอาวาสวัดวิหารทอง อยู่ๆ ท่านไม่ชอบใจกรรมการวัด ท่านก็มาจำพรรษาที่วัดสนามชัย บ้านเกิดของท่าน เหตุการณ์แบบนี้ได้เกิดขึ้นมา 3 ครั้ง ตั้งแต่พระครูปัตร, พระครูปุ่น ซึ่งสืบเชื้อสายเป็นญาติพี่น้องกันมาทั้ง 3 องค์ ได้มีการจดบันทึกเอาไว้ว่า สืบเชื้อสายมาจากขุนสรรค์ แต่ตัวพระครูพิมพ์นั้นกลับมีปฏิปทา เหมือนหนึ่งเป็นหน่อของท่านอาจารย์ธรรมโชติ คือใครเดือดร้อนของเหรียญรูปท่าน ท่านก็ให้ไป แต้ถ้าเป็นทหาร เป็น ตชด. ท่านต้องแจกตะกรุด เหรียญหันหลังชนกันกับขันสรรค์ ผ้ายันต์ ผ้ายันต์นี้แม้ไม่มีก็จะเขียนให้ จะค้างคือที่วัดก็จะเขียนให้ แม้ผืนขนาดใหญ่ ผู้พันให้ลูกน้องมาขอ เขียนด้วยปลุกด้วย 3 วัน 3 คืน เอาไว้ป้องกันบังเกอร์ก็เขียนให้ เงินไม่สำคัญ ทหารกินข้าววัด
เป็นผู้มีเชื้อสายของคนจริง และเทพสังหาร
พระครูพิมพ์ มีชื่อเล่นว่า นายพลุ มีศักดิ์เป็นน้องปู่ฉุ่น อดีตครูใหญ่คนแรกวัดสนามชัย ภายหลังได้ลาออกและโดนกักบริเวณที่บางขวางเป็นสิบปี และเป็นน้องของสางฉาว สางฉาวนี้ คำว่า สาง หมายถึงคนที่ตายไปแล้วจะเรียกว่าเสือฉาวก็ได้ เป็นที่ไม่กลัวคน ไม่ว่ามีดหรือปืน จะเดี๋ยวหรอหมู่ก็ได้ เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค หนังเหนียว ปืนยิงไม่ออก แถมล่ำป้อมแบบพระครูพิมพ์ เป็นเสือบุกเดี่ยว แต่ไม่ปล้นชิงบริเวณบ้าน เคยติดคุกที่บางขวาง ที่เกาะตะรุเตา ก็หนีมาได้ ตอนนั้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังได้รับจ้างทหารญี่ปุ่นซ่อมสะพานพุทธยอดฟ้าฯ ครั้งสุดท้ายติดคุกที่ชัยนาท พัศดีสั่งตีตัวแดง (สั่งตาย) โดยทั้งไม้ทั้งปืน ยังแหกคุกที่มีลวดไฟฟ้าออกมาได้ ท่านมีหลาน – เหลน อยู่คนสองคน คนแรกเป็นกำนัน ชื่อกำนันใส กำนันใสนี้ถ้าลูกบ้านทะเลาะกันอย่างรุนแรงท่านก็จะเตียน ถ้าเตียนไม่ฟัง แกจะฆ่าคนผิด โดยไม่คิดสตางค์ และไม่แย้มให้ใครรู้เลย
จอมคน
ในสมัยเสือหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเสือปล้น เสือที่โด่งดังที่สุดที่ขนาดตั้งเป็นชุมเสือได้คือ เสือฝ้าย โดยมากก็จะมีของดี ทราบว่าเสือที่มีของดีและมีคุณธรรมคือ เสือมเหศวร ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ อยู่บ้านไพรนกยูง อ.หันคา จ.ชัยนาท ครั้งหนึ่งเสือฝ้ายได้มาตั้งชุมเสือที่บ้านล่องใหญ่ บ้านเดิมบางนางบวง สุพรรณบุรี ได้รู้ข่าวว่า บ้านนายยอด เดชมา (พ่อหมอเฉลียว เดชมา) มีปืน ร.ศ.ปืนพระราม อยู่ 5 กระบอก จึงได้ให้ลูกน้องมาเอาปืนที่บ้านโยมยอดโยมยอดได้มาบอกหลวงพ่อกวยให้ช่วย แต่หลวงพ่อกวยได้ไปเรียนวิชาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ โยมยอดเลยวิ่งแจ้นไปบอกพระครูพิมพ์ พระครูพิมพ์ท่านก็รับกิจนิมนต์ทันที ท่ารนเดินลัดตัดทุ่งไปทันทีที่หมู่บ้านสามเอก (ดงเสือ) ขณะที่ชุมเสือฝ้ายได้ตั้งชุมอยู่ ไม่รู้ว่าท่านพูดอย่างไร แล้วท่านก็สะพายปืนยาวรุ่นเก่า 5 กระบอก มาหน้าตาเฉย เรื่องนี้ท่านไม่ยอมเล่าให้ใครฟังถึงที่ไปที่มา ยังมีลูกหลานที่ทำนิสัยแบบนี้อีก คนคนนี้เป็นคนบ้าบิ่น (โหล่) ชื่อเชน (ปิ๊ด) ฉายาแหวนแขนเรดาร์ บ้านเดิมอยู่หัวเด่น ขณะบวชอยู่กับหลวงพ่อกวย วัดบ้านแค ปรากฏว่ามีพวกเสือได้วิ่งไล่จะปล้ำคุณยายม่าย (เป็นคนจีนเตี่ยเอามาขาย 2 คนพี่น้อง) ยายม่ายได้วิ่งมาหวังพึ่งหลวงพ่อกวย พอดีเจอพระเชนพอดี พระเชนโดดเหน็บมีดหมอหลวงพ่อกวย ห่มผ้าไปส่งยายม่าย พระเชนได้พูดว่า “ถ้ามันกล้าปล้ำผู้หญิงต่อหน้ากู กูก็ขาดจากพระวันนี้แหละวะ”
เกียรติคุณปรากฏ
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังสงครามได้มีเสือตั้งชุมปล้นสะดมทรัพย์สิน วัวควาย ฯลฯ เอาไปเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านสนามชัยได้รวมตัวกันเข้าไปกราบพระครูพิมพ์ เล่าเรื่องให้ฟัง ท่านได้ถามว่า แล้วพวกมึงจะยอมเขาหรือจะสู้เขา ชาวบ้านสนามชัยได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าสู้ พอท่านได้ยินคำว่าสู้ ท่านก็ไปขุดหัวว้านขมิ้นอ้อย ที่ท่านปลูกเอาไว้ เอามาล้างน้ำ เสกและจารโดยฝานตรงยอกบนออก แล้วท่านก็ฝานเป็นแว่นๆ ให้กับชาวบ้านอมใส่ปากไว้ ชาวบ้านสนามชัยมีแค่ปืนแก๊ป ปืนลูกซอง ปืนไทยประดิษฐ์ (เมดอินไทยแลนด์) พร้า ดาบ ฯลฯ แล้วท่านก็ยังสั่งว่า เมื่อตามไปทันให้โห่ร้อง แล้วสู้ประจัญบานกับมัน ผลคือผู้นำชาวบ้านคือนายพวง โดนเสือเล็กยิงแต่ยิงไม่ถูก นายพวงได้ยิงมัน โดนเสือเล็กตัดขั้วหัวใจตายเลย ผลการสู้รบในวันนั้น เสือโดยการนำของเสือเล็กบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก แต่ชาวบ้านสนามชัยแค่บาดเจ็บเล็กน้อย เรื่องนี้โด่งดังมาก เพราะปืนที่ต่อสู้กันเป็นปืนคนละชนิดและพระครูพิมพ์ก็เพิ่งจะอายุไม่มาก อายุประมาณ 30 ปีเศษ เรื่องนี้ผู้เขียนเรื่องราวของหลวงพ่อพิมพ์ คือ คุณสมจิต เทียนวัน หรือคุณเฒ่า สุพรรณ ได้รับคำบอกเล่าและการสั่งเสียจากปู่ฉุน ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของพระครูพิมพ์ ปู่ได้พูด 2-3 ครั้งว่าเมื่โตขึ้น อย่าลืมไปหาพระครูพิมพ์ ไปขอเรียนวิชาขมิ้นจากท่านให้ได้ ตอนนั้นคุณสมจิตยังเรียนอยู่ประถม 4 และย่าฉวนได้นำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อกวยแล้ว ได้รดน้ำมนแล้ว คุณสมจิตได้แต่คิดในใจว่าพระลงเรียนทั้งมหาเปรียญและเรียนอาคมด้วย เป็นพระครูแบบนี้ถึงจะเก่งอย่างไร คิดว่าก็ไม่เท่าไรหรอก ขณะนั้น ครั้งหนึ่งคุณสมจิตไปกราบท่านที่วัดสนามชัย เตรียมขมิ้นอ้อยไปด้วย กะจะไปขอเรียนวิชาตามที่ปู่สั่ง เมื่อท่านเสกให้เสร็จ ได้อ่านดูภาษาขอม ที่ท่านจาร อ่านได้ว่า “นะโมพุทธายะ” จึงถามท่านว่า หลวงปู่ไปเรียนวิชาขมิ้นนี้มาจากไหน ท่านตอบว่า แลกเปลี่ยนวิชากัน ตอนไปอยู่รับใช้หลวงพ่อกวย ตอนที่หลวงพ่อกวยไปเรียนวิชากับหลวงพ่อเดิม คุณสมจิตได้เรียนถามว่า หลวงปู่แลกเปลี่ยนวิชากับใคร ท่านตอบว่า “ท่านอินทร์ วัดเกาะหงษ์”
ผลงานสำคัญ
หลวงพ่อพระครูพิมพ์ เป็นพระที่สมถะ มักน้อย สันโดษ ฉันอาหารมื้อเดียว ชอบภาวนา ไม่ชอบการสร้างวัตถุมงคลเพื่อหวังเงินทอง อายุประมาณ 30 พรรษา ได้สร้างอุโบสถร่วมกับหลวงพ่อเชื้อ น้องชายหลวงปู่เย็น วัดสระเปรียญ โดยได้ทำแหวนนิ้วตามตำราของหลวงพ่อสี วัดพระปรางค์ เพื่อสมนาคุณให้กับผู้ทำบุญพระอุโบสถหลังนี้คือ พระอุโบสถวัดวังขรณ์ ซึ่งที่วัดวังขรณ์นี้เดิมเป็นโรงเรียนปริยัติธรรม แหวนนิ้วที่เหลือนี้ยังได้ฝังไว้ที่วัดวังขรณ์ จำนวน 2 ไห ใต้ท้องวงเขียนว่า “อิ ติ” เป็นภาษาขอม นอกจากอุโบสถที่วัดวังขรณ์แล้ว ที่วัดวิหารทอง ท่านก็สร้างเมรุเผาศพ แลพสะพานแขวน ราคาหลายล้านบาท ภายหลังท่านมาอยู่วัดสนามชัย ท่านก็สร้างกุฏิกรรมฐาน
มรณภาพ
หลวงพ่อพิมพ์ เป็นพระที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน คนในตระกูลนี้ตั้งแต่ ชวด, ปู่ชวด ถ้าเป็นผู้ชายเวลาตายจะตายง่ายๆ เช่น เป็นลมตาย นอนตายเฉยๆ หลวงพ่อพิมพ์ท่านได้ถึงแก่มรณภาพตอนเช้า เวลา 08.00 น. ของวันที่ 4 กรกฎาคม 2536 ก่อนที่ท่านจะไปบาชนาคที่ ต.หัวกรด โดยก่อนไปท่านได้เขียนจดหมายทิ้งไว้บนโต๊ะ ถึงสมุห์แจ่ม เจ้าอาวาส โดยเขียนเป็นทำนอง ให้อยู่ดูแลวัดต่อไป มีงานอะไรก็ให้เร่งทำ เวลาของชีวิตเรานั้นไม่ยาวนัก แล้วท่านก็เอาหินทับไว้ ขณะที่ท่านนั่งรถมาถึงหน้าวัดสกุณาราม ห่างจากวัดสนามชัย ประมาณ 7 กิโลเมตร ศีรษะของท่านก็งุ้มลงไปข้างหน้าผิดสังเกต หลวงพ่อประเทืองซึ่งนั่งรถไปด้วยกับท่านก็ตกใจบอกให้รถหยุด มาจับดูตัวเองจึงได้รู้ว่าท่านมรณภาพ หลวงพ่อประเทืองจึงให้รถวิ่งกลับวัด ได้ตะระฆังบอกให้พระ-เณรและชาวบ้านรู้ แล้วให้คนไปนิมนต์พระอุปัชฌาย์เบิ้ม วัดสระไม้แดง ให้เป็นอุปัชฌาย์บวชแทนหลวงพ่อพิมพ์ จากนั้นก็เก็บศพไว้ 1 ปี จึงได้ขอพระราชทานเพลิงศพ สิริรวมอายุ 78 ปี พรรษา 58 นับเป็นการสูญเสียเกจิอาจารย์เมืองสรรค์ที่เป็นของจริง อาจเป็นองค์สุดท้ายของเมืองสรรค์ก็ได้
อัฐิเป็นพระธาตุ
เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว ทางวัดได้อาบน้ำศพและเปลี่ยนผ้าให้ใหม่ ได้เก็บศพไว้ 1 ปี แต่พอจะขอพระราชทานเพลิงศพก็ได้เปลี่ยนผ้าให้ใหม่ โดยเก็บผ้าที่ท่านครองอยู่ในโลงพับเอาไว้และได้นำไปเผาด้วย ก่อนเผา ท่านอาจารย์สมาน ได้ให้ทางญาติสนิทหักโยกฟันเอาไว้บูชา ผลปรากฏว่า ไม่มีใครโยกหักฟันของท่านได้เลย มีแต่อาจารย์สมาน (เจ้าอาวาสวัดหัวเด่น มีศักดิ์เป็นหลานห่างๆ) ได้โยกฟันมาได้ 2 ซี่ คือ ฟันเขี้ยว 1 ซี่ อีกซี่หนึ่งเล็กมาก ท่านอาจารย์สมานได้กินซี่เล็ก เหลือแต่ฟันเขี้ยวแก้ว (ปัจจุบันเป็นของ คุณศิริชัย ชีรวณิชย์กุล) เมื่อพระราชทานเพลิงศพแล้ว จึงเปิดดูอัฐิของท่าน ผลคือ ผ้าจีวรที่ท่านครองอยู่แล้วนำไปเผาด้วยไม่ไหม้ไฟ เมื่อหยิบดูปรากฏว่าสะเก็ดของอัฐิเป็นเม็ดสีขาว เมื่อส่องดูให้ละเอียดจะเป็นเม็ดใสสีขาวเต็มไปหมด บางท่านว่าเป็นพระธาตุ นับว่าอัศจรรย์มาก
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับเว็บวัดโฆสิตาราม
เหรียญรุ่น ๒ พิมพ์เล็ก หลังขุนสรรค์ วัดสนามชัย และ พระผงรูปเหมือน เนื้อดินเผา สมัยอยู่วัดวิหารทอง
ให้บูชา ๓ องค์ 300 บาทค่าจัดส่ง 30 บาทครับ
-
พระสมเด็จนางพญา
วัดท่ากระแส ชัยนาท
มวลสาร.. ว่าน, เกสรดอกไม้,
ปูนเปลือกหอย,ผงใบลานขอม,
ผงอิฐเจคีย์ 9วัด, ดินท่าน้ำ 9 วัด
ดินสระน้ำ 9 วัด,อิฐเมรุเผาศพ,
ผงธูป มาลัย จากวิหารเกจฯเช่น
ลพ.กวย เป็นต้น
ฝังตะกรุดลพ.เกาะ วัดท่าสมอ.
ปลุกเสก ที่อนุสาวรีย์พ่อขุน
สรรค์ 17 ม.ค.ร1 ลพ.เพี้ยน,
ลพ.ทิม,ลพ.ละเอียด, ลพ.เกาะ,
ลพ.พูน.
จำนวนสร้าง, 700 องค์.
พระนางพญาวัดท่ากระแสให้(ปิดรายการ) บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
หลวงปู่นวยวัดเทพประธานพรถ้ำวัวแดงพระเหนือโลกแห่งถ้ำวัวแดง
พระผู้สมถะยอมตายถวายชีวิตเพื่อการปฏิบัติฉันท์แต่ใบไม้กับน้ำเท่านั้นตลอด๖ปีเต็ม
ท่านกับหลวงปู่กองวัดสระมณฑลร่วมกันนำของสำคัญขึ้นทูลเกล้าถวายในอดีตในหลวงรัชกาลที่๙
ให้ทดสอบยิงเหรียญท่านด้วยปืนเอ็ม๑๖สามนัดไม่ออกสักนัดก่อนนำเหรียญขึ้นทูลเกล้าถวาย สมเด็จพระเทพ เพื่อแจกจ่ายทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดชายแดน
ลูกศิษย์ของท่านส่วนใหญ่เป็นทหารตำรวจที่ต้องอยู่กับความเสี่ยงจากการปฏิบัติหน้าที่
#วัตถุมงคลของท่านทำเพื่อแจกอย่างเดียวไม่ต้องการชื่อเสียงจึงไม่ลงชื่อท่านแต่อย่างใด
บอกลูกศิษย์ไว้ว่าต่อไปเมื่อถึงเวลาพระของท่านจะหายากมีราคาเพราะประสพการณ์ล้วนๆเล่าทั้งคืนไม่จบ
พระของท่านเสกแล้วลูกศิษย์นำไปให้เกจิอาจารย์อื่นเสกเพิ่มไม่เข้า
#ศิษย์ถามพระหลวงปู่กันผีได้มั้ยท่านบอกกันได้ทุกอย่างปืนยังกันได้ผีนะขี้ตีน (คำพูดจากปากท่านเอง)
ท่านมรณะภาพเมื่อ๑๖ปีที่แล้วเมื่ออายุได้๙๒ปีร่างกลายเป็นหินผมเล็บยังงอกยาวถึงทุกวันนี้
#หลวงปู่นวยวัดเทพประธานพรถ้ำวัวแดงชัยภูมิ (คนละวัดกับวัดถ้ำวัวแดง วัดท่านจะอยู่ก่อนถึงวัดถ้ำวัวแดงเล็กน้อย)
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่นวยบล็อกแรกสภาพสวยเดิมๆ ผิวรุ้ง ให้บูชา 400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
-
ลูกอมรวมเกศา ๑๑ ครูบาคาจารย์
เกศาได้รับมอบเกศาจาก
๑.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี
๒.ครูบาสม วัดสาลาโปงกวาว
๓.พระอาจารย์ทองบัว
วัดโรงธรรมสามัคคื
๕.ครูบาควงดี
วัดบ้านฟ้อน
๕.ครูบาอินถา
วัดยั้งเมิน
๖.ครูบาบุญต้น
วัดย่าหาย
๗.ครูป่าตั๋น สำนักสงฆ์บ่อนปุ๊อิน
๘.ครูบาบุญปั่น
วัดป่าแดค
๙.ครูบาอินดาวัดศุาลาน้ำเพร่
๑๐.ครูบาคำฝั่น วัดกอโชค
๑๑.ครูบาออ พระธาตุดอยจอมแวะ
มวลสารประกอบไปด้วย
๑.ผงพระธาตุคอยสุเทพ
๓.ผงยาวาสานาจินคาบณี
๓.ผงถ่าน108
๔.ผงว่านบาดเสน่ห์ต่างๆ
๕.ผงกาฝากไม้ต่างๆรวบกัน
ร.ดิบบ้านอะนาถะพิกกะเศรนฐี
3.ใบโพธิ์ศันตรัสรู้อินเดีย
๘.ผงอิทธิเจ. ปัทมัง
๙.ผงงากะเด็น . งาธรรมดาผง
๑๐.ลูกอม + ชานเมี่ยง + บุหรี่ ครูบา
- อินถา วัดยั้งเมิน
๑๑.พระธาตุข้าวบินฑ์ ครูบาชัยวงศ์
๑๒.ผงข้าวสารหิน
๑๓,น้ำมันมนต์ครูบาสุรินทร์ ขัดหลางศรีเลี้ย
๑๔.น้ำผึ้งผ่านพิธี ( เดือน ๕ )
ㆍ๕.อินชุยปูตามตำราบังคับ
๑๖.พระจากครูบาต่างๆ 30-50
๑๗.พระสมเด็จ พระรอด ที่ชำรุด
๑๘.อตุคาม ประมาณ 20 องค์
๑๔.จีวร คบ.คำผั่นวัดกอโชค
ฯลฯ
ครูมาอาจารย์ที่เมตตาอธิฐานจิต
๑.ครูบาคำฟื้นวัดกอไชค
เมตตาจารตะกรุดไส่ลูก
อมอีก ๓๒ ดอก
๒.ครูบาควงดี
วัดบ้าฟ่อน
๓.ครูบาบุญปั๋น
วัดป่าแดด
๔.ครูบาบุญตัน
วัดย่าพาย ( ปาย )
ให้บูชาลูกละ 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
วันนี้ จัดส่ง
ขอบคุณครับ -
พระนางพญาจุ่มรักหลวงพ่อมาลัยวัดบางหญ้าแพรกยุคต้น ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
เหรียญหล่อพระปฐมเจดีย์ นครปฐม ปี 2537 เนื้อระฆัง ตอกโค้ด จัดสร้างเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 80 ปีสร้างพระวิหารพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ นอกจากพิธีปลุกเสกหมู่ 108 รูปแล้ว จุดเด่นของพระรุ่นนี้คือมวลสาร ก้านชนวนการสร้างพระรุ่นต่างๆของทางวัดพระปฐมเจดีย์ ทองคำที่ได้จากการทำความสะอาดองค์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ และ เนื้อระฆังเก่าที่ชำรุดอายุ 100 ปี ระฆังเก่าแก่พวกนี้อยู่ที่วัดผ่านพิธีกรรมทางสงฆ์มากมาย ย่อมได้รับการปลุกเสกไปภายในตัวด้วย ถึงอายุการสร้างไม่มากนัก แต่เรื่องประสบการณ์เพียบ และได้รับความนิยมมาตั้งแต่ที่ออกบูชาใหม่ๆ
ปี 2537 เป็นปีที่ครบ 80 ปี ในการสร้างวิหารพระร่วง ทางวัดจึงมีดำริบูรณะปฎิสังขรณ์พระร่วง โดยช่างได้ทำการใช้สำลีเช็ดองค์พระร่วงตั้งแต่พระเกศจนถึงพระบาท และนำสำลีที่มีทองติดอยู่มาผ่านกรรมวิธี จนได้ทองคำบริสุทธิ์ 51.5 กรัม ทางวัดจึงนำมาผสมในเหรียญทุกองค์
และทางวัดได้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นมา 2 ชนิด ดังนี้
1. สมเด็จพระร่วง เนื้อทับทิม
2. เหรียญหล่อ รุ่น เสมาคู่บารมี จัดสร้าง 2 แบบ ดังนี้
2.1 เหรียญหล่อเสมารูปองค์พระปฐมเจดีย์
2.2 เหรียญหล่อเสมาพระร่วง
ชนวนในการสร้างเหรียญหล่อทั้ง 2 แบบ มีดังนี้
1 ขนวนเก่าพระคันธารราษฎร์ของพระเดชพระคุณพระธรรมวโรดม
2. ชนวนพระกริ่งทวาพระปฐม รุ่นเทพนิมิต
3.ชนวนพระเจ้าสัวเงินล้าน รุ่นเงินล้าน
4. ชนวนเหรียญหล่อเสมาพระปฐม รุ่นเบญจฤทธิ์
5. ระฆังเก่า อายุประมาณ 100 ปี จำนวนมาก
6. เนื้อทองคำที่ได้จากพระวรกายขององค์พระร่วงโรจนฤทธิ์
7. เนื้อระฆังที่ผ่านการจารของพระเกจิอาจารย์ 16รูป ซึ่งได้จำนวนกำลังโสฬสมงคล
โดยมีเกจิดังนี้
1.หลวงพ่อชุณห์ วัดวังตะกู (ลงแผ่นจาร)
2. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ (ลงแผ่นจาร)
3. หลวงพ่อเทพ วัดพระปฐมเจดีย์ (ลงแผ่นจาร)
4. หลวงพ่อผูก วัดพระปฐมเจดีย์ (ลงแผ่นจาร)
5. หลวงพ่อเจริญ วัดไชยชุมพล (ลงแผ่นจาร)
6. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ (ลงแผ่นจาร)
7. หลวงพ่อพุฒิ วัดกลางบางพระ (ลงแผ่นจาร)
8. หลวงพ่อยะ วัดท่าข้าม (ลงแผ่นจาร)
9. หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า
10. หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม (ลงแผ่นจาร)
11. หลวงพ่ออั๊บ วัดท้องไทร (ลงแผ่นจาร)
12. หลวงพ่อแย้ม วัดสามง่าม (ลงแผ่นจาร)
13. หลวงพ่อพา วัดสองห้อง (ลงแผ่นจาร)
14. หลวงพ่อแกะ วัดลำลูกบัว (ลงแผ่นจาร)
15. หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
16. หลวงพ่อลำเจียก วัดศาลาตึก (ลงแผ่นจาร)
17. หลวงพ่อรอด วัดวังน้ำเขียว (ลงแผ่นจาร)
18. หลวงปู่หลิว วัดไร่แตงทอง (ลงแผ่นจาร)
จำนวนการสร้าง
เหรียญหล่อเสมาทั้งสองรุ่น สร้างจำนวนเท่ากันดังนี้
1. เนื้อทองคำ สร้าง 280 องค์
2. เนื้อเงิน สร้าง 10,000 องค์
3. เนื้อนวะโลหะ สร้าง 10,000 องค์
4. เนื้อระฆัง สร้าง 48,000 องค์
กำหนดการพิธี
24 มีนาคม 2537 โสฬสคณาจารย์ ลงอักขระระฆัง
25 เมษายน 2537 วันจันทร์เพ็ญ พระสงฆ์ 108 รูปเจริญพระพุทธมนต์
30 เมษายน 2537 วันเสาร์ห้า พิธีเททองหล่อ
8 สิงหาคม 2537 วันจันทร์คู่ พิธีมหาพุทธาภิเศก
9 สิงหาคม 2537 วันรับเหรียญที่สั่งจอง
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบททางข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญหล่อพระปฐมเจดีย์ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
ประวัติ ของหลวงปู่คลี่ วัดประชาครับ
พระครูสมุทรวิจารณ์(คลี่) วัดประชาโฆสิตาราม สมุทรสงคราม เป็นอีกหนึ่งพระเกจิเมืองแม่กลอง อายุรุ่นราวคราวเดียวกับหลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณ๊ และ หลวงพ่อสาย วัดจันทร์เจริญสุข แต่ชื่อเสียงในวงการพระเครื่องหลวงพ่อตลี่ อาจจะไม่รู้จักแพร่หลายเหมือนหลวงพ่อเนื่อง แต่คนในพื้นที่และส่วนกลางก็รู้จักท่านพอสมควร หลวงพ่อคลี่ เกิดวันที่ 7 กันยายน ปี2447 เป็นชาวอำเภออัมพวา สมุทรสงคราม ได้บรรพชาเป็นสามเณร ตั้งแต่ปี2462 ที่วัดประชาโฆสิตาราม โดยมีหลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆสิตาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ สำหรับหลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆสิตาราม เป็นพระเกจิร่วมยุคสมัยเดียวกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม หลวงพ่อโต วัดคู้ธรรมสถิตย์ ชาวบ้านในสมัยก่อนก็ให้ความนับถือหลวงพ่อทองอยู่ แม้แต่หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม ยังกล่าวยกย่องในด้านความเก่งกล้าด้านพุทธาคม ในฐานะที่หลวงพ่อคลี่ เป็นญาติกับหลวงพ่อทองอยู่ จึงมิต้องสงสัยเลยว่าวิชาต่างๆหลวงพ่อคลี่ ต้องได้เรียนมาจากหลวงพ่อทองอยู่ แบบเค็มๆไม่มีปิดบัง เมื่ออายุครบบวช หลวงพ่อคลี่ ได้บวชเป็นพระที่วัดประชาโฆสิตาราม ปี2467 โดยมีหลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ อำเภออัมพวา สมุทรสงคราม เป็นพระอุปัชฌาย์ ซึ่งหลวงพ่อช่วง ท่านนี้ก็เป็นพระเกจิที่อาวุโสแก่กว่าหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม อยู่หลายปี หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ เชี่ยวชาญทั้งด้านวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐาน เชื่อว่าหลวงพ่อคลี่ เมื่อบวชเป็นพระก็คงได้รับการถ่ายทอดวิชามาบ้างไม่มากก็น้อย หลวงพ่อคลี่ เป็นพระที่มีความขยันใฝ่เรียนรู้ ท่านได้ศึกษาปริยัติจนสำเร็จนักธรรมเอก ในปี 2477 หลังจากที่หลวงพ่อทองอยู่ ได้มรณภาพลงเมื่อปี 2487 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นทางการปี 2490 หลวงพ่อคลี่ เป็นพระที่มีความเก่งกล้าด้านอาคมมากรูปหนึ่ง แต่ไม่ค่อยมีคนเขียนประวัติลง อาจเป็นเพราะว่าในสมัยมีชีวิตท่านคงจะไม่อยากเปิดเผยตัวเหมือนกับพระเก่งๆในอดีตหลายองค์ ที่ไม่ชอบให้ลูกศิษย์เขียนประวัติเผยแผ่ หลวงพ่อคลี่ ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูสมุทรวิจารณ์ และเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นเอก ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 5 มิย 2533 สิริอายุ 86 ปี สำหรับวัตถุมงคลที่สร้างไว้สมัยท่านมีชีวิต มีจำนวนไม่กี่สิบรุ่น สังเกตได้ว่าไม่ค่อยมีหมุนเวียนออกมาตามสนามบ่อยนัก ส่วนใหญ่คนที่รู้จักจะแอบเก็บกันหมด เหรียญที่สร้างชื่อให้หลวงพ่อคลี่ มากที่สุดก็คือ เหรียญ รุ่น ด.ใหญ่ สร้างปี 2519 เพราะมีคนที่แขวนเหรียญรุ่นนี้ถูกฟันแทงด้วยมีดสปาต้า ผลปรากฏว่าไม่มีแผลให้แมลงวันได้กินเลือดเลยครับ ชาวบ้านในพื้นที่เมื่อทราบต่างตามเก็บกันหมด เหรียญ ด.ใหญ่ หลวงพ่อคลี่ หายากทำให้ตอนหลังๆของเก๊ออกมาร่วมแจมด้วย ใครที่สนใจอยากได้เหรียญสุดยอดประสบการณ์ของหลวงพ่อคลี่ รุ่น ด.ใหญ่ ควรศึกษาให้ดีก่อนครับ
พระของหลวงปู่จะมีครบทุกด้านเเต่ที่เด่นนำออกมาคือลาภเเละเมตตาร่มเย็น ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปกราบหลวงปู่หลายวาระพระองค์ท่านทรงมีพระบรมราชานุญาติให้ใช้ พระปรมาภิไธยย่อ ภปร. บนวัตถุมงคลของหลวงปู่คลี่อีกด้วย
*ครั้งหนึ่งพระอาจารย์บ๊ะเคยพูดว่า “ของพ่อคลี่ใครไม่เก็บกูเก็บหมด ท่านปิดบังความเก่งตัวเอง ทั้งลาภทั้งเมตตาเย็นนำออกมาก่อนเลย” บนโต๊ะพระอาจารย์บ๊ะจะมีวัตถุมงคลของหลวงพ่อคลี่วางอยู่ชิ้นหนึ่ง หลายคนคงเคยเห็นเเต่ไม่รู้จักกัน ท่านบอกว่า”ลาภโคตรดีเลยนะของพ่อคลี่เนี่ย”
#ใครไม่เอาตูเอา
หลวงพ่อเอเคยถามพระอาจารย์บ๊ะว่า ความเมตตาของหลวงปู่คลี่ต่างจากเมตตาของอาจารย์ชุม ไชยคีรีอย่างไร ท่านตอบว่า “ ของหลวงพ่อคลี่ท่านจะเป็นในด้านของผู้ใหญ่ให้ความเมตตา เจ้านายเมตตา เพื่อนร่วมงานเมตตา ไม่มีเรื่องของชู้สาว”
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
พระผงหลวงพ่อคลี่วัดประชาโฆสิตารามให้บูชาองค์ละ 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับมี ๒ องค์เลือกบูชาได้เลยครับ
องค์ที่ ๑
องค์ที่ ๒
-
หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง จ.สระบุรี
ประวัติ หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส วัดดอนทอง
"หลวงพ่อเฮ็น สิริวังโส" หรือ พระครูอรรถธรรมาทร วัดดอนทอง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี เป็นพระเถราจารย์มีเชื้อสายเขมร ที่มีวิทยาคมแก่กล้ารูปหนึ่ง เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนและคณะศิษยานุศิษย์อย่างยิ่ง
อัตโนประวัติ หลวงพ่อเฮ็น เกิดในสกุล ศิริวงษ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2454 ตรงกับปีกุน ที่หมู่บ้านจางคาง เมืองปาดวง กำปงธม ซึ่งเป็นเมืองชายแดนขึ้นอยู่กับไทย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเสียดินแดนแถบนั้นไป โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอยู่และนางเขียว ศิริวงษ์ ซึ่งเป็นชาวกัมพูชาอยู่หมู่บ้านจางคาง
เมื่ออายุครบ 20 ปี ตรงกับ พ.ศ.2474 ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดพรรณราย เมืองกำพงธม มีหลวงพ่อแก้ว วัดพรรณราย เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์กุ่ย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์หมั่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า สิริวังโส
หลังอุปสมบท ได้ศึกษาพุทธาคมและพระธรรมวินัยและไสยาคมกับหลวงพ่อแก้ว เมื่อเรียนวิชาจนสำเร็จแล้ว ท่านได้ออกธุดงค์มายังเมืองไทย
ระหว่างการเดินธุดงค์ตามป่าเขา ได้พบพระธุดงค์ด้วยกันหลายรูป จึงแลกเปลี่ยนวิชากัน อาทิ หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง จ.นครราชสีมา, พระอาจารย์ต่วน วัดกล้วย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น
หลวงพ่อเฮ็น เคยปรารภว่า ได้ออกท่องธุดงค์รอนแรมตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่สงบวิเวกบำเพ็ญสมณธรรม และปฏิบัติวิปัสสนาระหว่างทางในป่าเขาให้ถ้ำบ้าง ขุนเขาบ้างเป็นที่พำนัก รักษาศีล และเจริญวิปัสสนา ได้พบกับความยากลำบากต่างๆ นานา พบกับภัยธรรมชาติก็อาศัยสรรพวิชาที่ได้ร่ำเรียนมากับอาจารย์สามารถปัดเป่าไปได้ ระหว่างทางพบกับความลี้ลับมหัศจรรย์มากมาย
"สมัยเมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว ระหว่างชายแดนด้านประเทศเขมร มีแต่ป่าดงดิบทั้งนั้น ใครไม่แน่จริง เดินเข้าไปก็ไม่สามารถออกมาได้ กลายเป็นผีเฝ้าป่าไปเท่านั้น"
หลวงพ่อเฮ็น เล่าว่า ในป่าดงดิบแถบนั้น การเอาตัวรอดจากภัยธรรมชาติ เป็นเรื่องมิใช่ง่าย นอกจากต้องมีพลังจิตกล้าแข็งแล้ว การผจญกับสัตว์ป่านานาชนิด บางครั้งต้องใช้วิชาไสยศาสตร์แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าไปด้วย
ท่านใช้เวลาธุดงค์ยาวนานหลายปีวนเวียนอยู่ในป่าเขา จนการปฏิบัติวิปัสสนาก้าวหน้ากล้าแข็งดีแล้ว จึงธุดงค์เข้ามาในเขตประเทศไทย ได้พบพระคณาจารย์ต่างๆ ของไทยหลายรูปที่ธุดงควัตรอยู่ในป่า ได้ศึกษาสนทนาธรรมแลกเปลี่ยนกัน และธุดงค์เรื่อยเข้ามาผ่านเข้ามาทาง ทุ่งนาบ้าง บ้านคนบ้าง จนกระทั่งถึงเมืองสระบุรี ท่านเดินทางไปถึงบ้านดงตะงาว กิ่งอำเภอดอนพุด ได้พบวัดดอนทอง เห็นเป็นวัดที่มีความสงบวิเวกดี มีบ้านเรือนชาวบ้านอยู่ไม่มากนัก
จากนั้นจึงได้อยู่จำพรรษาที่ "วัดดอนทอง" เมื่อปี พ.ศ.2479 ระหว่างจำพรรษาอยู่ที่นั่นได้เป็นที่ศรัทธาของชาวบ้านดอนทองมาก ด้วยมีศีลาจารวัตรงดงาม ครั้นเมื่อ หลวงพ่อแพ เจ้าอาวาสวัดดอนทอง มรณภาพ ชาวบ้านได้นิมนต์หลวงพ่อเฮ็น ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมา
พ.ศ.2535 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูอรรถธรรมทร"
ในชีวิตหลวงพ่อเฮ็น ได้สร้างมงคลวัตถุไว้หลายรุ่นหลายแบบ อาทิ ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม มีความเชื่อว่า เมื่อต้องการใช้ก่อนออกจากบ้าน ให้นำผ้ายันต์อุษาสวรรค์ เช็ดหน้าจากซ้ายไปขวาสามครั้ง ท่านจะมีเสน่ห์ไปตลอดทั้งวัน
กล่าวกันว่า ผ้ายันต์อุษาสวรรค์ หลวงพ่อเฮ็นนั้น มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง โดยเฉพาะในทางเมตตามหานิยมเป็นเลิศ มีกิตติคุณกว้างไกล ท่านสร้างขึ้นตามตำรับโบราณ ด้วยพุทธาคมและพลังจิตอันกล้าแข็ง ด้วยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงพ่อแก้ว แห่งวัดพรรณราย
หลวงพ่อเฮ็น เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านดอนทองอย่างยิ่ง แม้กระทั่งทหารนักรบที่อาสาไปรบในสงครามเวียดนาม ต่างมาขอวัตถุมงคลจากท่าน เพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย
หลวงพ่อเฮ็นมรณภาพเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 สิริอายุได้ 89 ปี
แม้วันนี้หลวงพ่อเฮ็นจะละสังขารไปนานแล้ว แต่คุณงามความดียังคงปรากฏอยู่สืบไป
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญอายุ๘๔ปีหลวงพ่อเห็นวัดดอนทอง ให้บูชา 120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
วันนี้จัดส่ง
ขอบคุณครับ -
หลวงปู่บุญมี อัตตรักโข หรือ พระครูนิพัทธปริยัติกิจ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองนครสวรรค์ เป็นพระนักพัฒนาที่ชาวบ้านต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง โดยหลวงปู่บุญมีเป็นชาวนครสวรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2471 ที่บ้านหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ อุปสม บทเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2491 ณ พัทธสีมาวัดหัวงิ้ว อ.พยุหะคีรี จ.นคร สวรรค์ โดยมีพระครูพยุหานุศาสน์ หรือ หลวงพ่อชิต ชิตะจิตโต วัดยางขาว เป็นพระอุปัชฌาย์
อัตโนประวัติ เกิดในสกุล คุ้มสมบัติ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2471 ที่บ้านป่าคลัก เลขที่ 149 หมู่ 6 ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแป้นและนางกลม คุ้มสมบัติ ประกอบอาชีพกสิกรรม ชีวิตในวัยเยาว์ โยมบิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์ที่วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ มีพระครูธรรมพลโสภิต (นิด) สอนภาษาไทยเบื้องต้น
ต่อมาย้ายมาอยู่ที่วัดหนองปลักแรด ต.หนองโพ อ.ตาคลี มีหลวงพ่อคูณ ปัญญาโสภโณ เจ้าอาวาสรูปแรก และพระอาจารย์ช่อ กันเพ็ชร เป็นอาจารย์สอน และเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลวัดหัวกุญแจ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ
ครั้นย่างอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ไม่ถูกเกณฑ์ทหาร จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2491 ณ พัทธสีมาวัดหัวงิ้ว ต.เนินมะกอก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดยมีพระครูพยุหานุศาสน์ (ชิต ชิตะจิตโต) เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี วัดยางขาว ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูนิสิตคุณากร วัดเขาแก้ว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูนิทัศน์ธรรมเวที (หลวงพ่อช้อย ฐิตาโภ) วัดหัวงิ้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อัตตะรักโข” แปลว่า ผู้รักษาไว้ซึ่งตน ภายหลังจากอุปสมบท พำนักอยู่ที่วัดหัวงิ้ว มุมานะศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยจนมีความรู้แตกฉานรวมทั้งศึกษามูลกัจจายน์ บาลี อักษรขอม อักขระโบราณ และยังศึกษาด้านวิทยาคม การบริกรรมจิตให้เป็นสมาธิ การเสกน้ำรักษาโรค คาถาประกาฬ คาถาตวาดป่าหิมพานต์ คาถาแคล้วคลาด คาถาพระเจ้าห้าพระองค์ กับหลวงพ่อช้อย วัดหัวงิ้ว, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อคูณ วัดห้วยดุก, หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงส์, หลวงพ่อโอ วัดหางน้ำหนองแขม และศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ
พ.ศ.2493 ชาวบ้านป่าคลัก หมู่ 6 ตำบลหนองโพ ได้พร้อมใจกันไปขอพระบุญมีจากหลวงพ่อช้อย วัดหัวงิ้วให้มาอยู่จำพรรษา ณ วัดปลักแรต (วัดหัวกุญแจ หรือ วัดวาปีรัตนาราม ในปัจจุบัน)
พ.ศ.2494 ได้ไปจำพรรษา ณ วัดจุฬามณี จ.พิษณุโลก ศึกษาวิชาภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์
พ.ศ.2495 กลับมาจำพรรษาที่วัดวาปีรัตนาราม ศึกษาคาถาเจิมรถ ลงตะกรุด และวิชาเมตตามหานิยม กับหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว และเป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดวาปีรัตนาราม
พ.ศ.2498 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก จากสำนักเรียนวัดหัวงิ้ว
เนื่องจากหลวงปู่บุญมี เป็นผู้ใฝ่ในการศึกษา แสวงหาความรู้ อ่อนน้อมถ่อมตน สนใจฝึกปฏิบัติ ขณะจำพรรษา ณ วัดวาปีรัตนาราม เมื่อมีเวลาอันเหมาะสม ท่านได้เข้าปฏิบัติธรรม ศึกษาอบรมอยู่เป็นประจำ และท่านยังเข้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานที่วัดมหาธาตุ วัดปรินายก วัดสร้อยทอง วัดประดู่ในทรงธรรม เพื่อศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ชุดครูประโยคพิเศษมัธยม (พ.ม.) และถวายตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาอาคม จากหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
งานด้านสาธารณูปการ จัดสร้างอุโบสถ, สร้างวิหารพระพุทธโสธรจำลองเฉลิมพระเกียรติ, ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น, ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ร.9, ศาลาโลกธรรม 8 เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบรมราชินีนาถ, กุฏิสงฆ์, ศาลาแหล่งความรู้เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, สร้างศาลาพระยาปเสนชิตบุนนาคสามัคคี, สร้างอาคารเรียนประถมศึกษา, จัดสร้างประปาวัด โรงเรียน เจาะบ่อบาดาล เป็นต้น
พ.ศ.2530 ได้รับประทานเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพ.ศ.2536 เป็นผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดวาปีรัตนาราม
พ.ศ.2538 ได้รับพระราชทานเสาเสมาธรรมจักร สาขาผู้ทำประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านการศึกษาสงเคราะห์พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2503 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดวาปีรัตนาราม พ.ศ.2528 ได้รับแต่งตั้ง เป็นเจ้าคณะตำบลหนองโพ เขต 2 เป็นประธานโครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง พ.ศ.2529 เป็นพระอุปัชฌาย์
ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2516 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่ พระครูนิพัทธปริยัติกิจ พ.ศ.2526 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
พ.ศ.2543 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
หลวงปู่บุญมี มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นยิ่งนัก พระภิกษุสามเณรต้องทำวัตร สวดมนต์เช้า-เย็น ทุกวันตลอดปี สวดปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ปกครองแบบมีกติกา คำสั่ง และมติมหาเถรสมาคม มีเจ้าอาวาสดูแลฝ่ายปกครอง การศึกษา เผยแผ่พระพุทธศาสนา สาธารณูปการ การพัฒนาวัด ให้พระภิกษุสามเณรร่วมมือทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาด้วยความสามัคคี ต้องย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่ในวัด มีหนังสือสุทธิทุกรูป ต้องเรียนพระธรรมวินัยและอยู่สอบธรรมสนามหลวงทุกรูป หลวงปู่บุญมี เป็นพระที่มีความเมตตา ทำให้ศาสนิกชนต่างเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ท่านเคยปรารภอยู่เสมอว่า “อยากให้ทุกคนมีความเมตตา ด้วยมีเมตตาแล้ว สิ่งดีจะบังเกิดผลตามมา”
ด้านวัตถุมงคลที่ได้จัดสร้าง ล้วนแต่เป็นที่ปรารถนาของบรรดาศิษยานุศิษย์ อาทิ รูปหล่อลอยองค์, เหรียญเจ้าสัว, สมเด็จรุ่นสร้างอุโบสถ, ล็อกเกตรูปไข่ และกริ่งยอดขุนพล เป็นต้น
วัตถุมงคลของหลวงปู่บุญมี ที่มีผู้ได้ไปบูชานั้น ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า โดดเด่นในด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพัน ทำให้ประชาชนชาวจังหวัดนครสวรรค์ และประชาชนต่างจังหวัดมุ่งหน้าเดินทางมาที่วัดวาปีรัตนาราม เพื่อขอพร และให้หลวงปู่เสกเป่ากระหม่อม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
หลวงปู่บุญมี เป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนาธุระ และสืบทอดพุทธาคมจากบุรพาจารย์ที่โด่งดังในอดีต มากด้วยครูบาอาจารย์ บริสุทธิ์ด้วยปฏิปทาศีลาจารวัตร เปี่ยมด้วยเมตตาบารมีธรรม เป็นเนื้อนาบุญของพุทธศาสนิกชน
ข่าวจาก ข่าวสด
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญหลวงพ่อบุญมีวัดวาปีให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
ประวัติ หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน วัดหน้าต่างนอก อ.บางไทร จ. อยุธยา
"หลวงพ่อแม้น อาจารสัมปันโน" หรือพระครูสมบูรณ์จริยธรรม ถือเป็นพระเกจิชื่อดังอีกรูปหนึ่งจังหวัดพระนครศรี อยุธยา มีวัตรปฏิบัติดีเปี่ยมด้วยเมตตาธรรม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไป วัตถุมงคลและเครื่องรางที่ท่านอธิษฐานจิตปลุกเสกโด่งดังไปไกลทั่วประเทศ เป็นทายาทพุทธาคมจากหลวงพ่อจง พุทธสโร อดีตเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก พระเกจิอาจารย์ที่โด่งดัง ปัจจุบัน หลวงพ่อแม้น สิริอายุ 82 ปี พรรษา 55 ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก ต.หน้าไม้ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติหลวงพ่อแม้น เกิดที่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี เมื่อวันที่ 13 เดือนมีนาคม 2481 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายทองหล่อ คานอ่อน และนางกุหลาบ ไตรเวท มีพี่น้องรวมทั้งหมด 11 คน
เติบโตจากครอบครัวที่มีอาชีพทำนาและทำอิฐขายโดยฐานะของครอบครัวค่อนข้างยากจน จึงได้เรียนหนังสือจบแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประกอบกับมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันหลายคน จนเป็นเหตุให้ได้เล่าเรียนหนังสือน้อย
ชีวิตในวัยเยาว์ ชอบการทำบุญตักบาตรมาก เกินกว่าความเป็นเด็กในวัยเดียวกัน
สมัยในวัยหนุ่ม นายแม้นไม่เคยสนใจเรื่องเพศตรงข้ามเลย ทำแต่งานทุกอย่างเวลาว่างก็ไปปฏิบัติธรรม ในช่วงนี้ หลวงพ่อแม้น กลับสนใจเรื่องมนต์คาถา เริ่มศึกษาจากคนเฒ่าคนแก่ในย่านใกล้บ้าน และเที่ยวเสาะหาครูบาอาจารย์ จนได้เป็นศิษย์หลวงปู่แดง วัดบางเตยนอก และฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ว่าน วัดบางเตยใน ท่านเป็นพระ
ต่อมา ท่านเดินทางเข้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อไปเรียนวิชากับหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก โดยหลวงพ่อจง ได้รับท่านเป็นศิษย์ สอนแนวทางปฏิบัติกัมมัฏฐาน เป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งหลวงพ่อจงมรณภาพ ในปี พ.ศ.2508
ครั้นอายุ 27 ปี ท่านตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อพระครูภาวนารังสี เจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์สุนทร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อาจารสัมปันโน"
ภายหลังอุปสมบทได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดกลางคลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี จำพรรษาอยู่ได้หนึ่งพรรษา ก่อนย้ายมาอยู่กับพระครูภาวนารังสี ที่วัดใหญ่ชัยมงคล
ได้ศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอุปัชฌาย์
หลวงพ่อแม้นเริ่มศึกษาธรรมอย่างจริงจัง โดยเริ่มเรียนพระปริยัติธรรม สอบได้นักธรรมตรี ในปี พ.ศ.2510
ต่อมาในปี พ.ศ.2511 ได้ศึกษาเล่าเรียนบาลีที่วัดพระศรีมหาธาตุ ไปจนถึงกาลออกพรรษาครูที่สอนบาลีถึงแก่กรรม จนต้องทำให้หยุดเรียนอย่างกะทันหัน ทำให้หลวงพ่อแม้นกลับมาเรียนนักธรรมโทในปีเดียวกัน แต่ยังสอบไม่ผ่าน หลวงพ่อแม้นก็ได้สอบอีกครั้ง จนได้นักธรรมโทและสอบนักธรรมเอกได้ในปี พ.ศ. 2513
หลังจากนั้นมาหลวงพ่อแม้น ได้เรียนพระปาติโมกข์และท่องพระปาติโมกข์จนจบ
ช่วงปี พ.ศ.2515 ช่วงนั้นวัดหน้าต่างนอก ยังขาดเจ้าอาวาสรูปใหม่ที่จะปกครองวัด หลังจากเจ้าอาวาส วัดหน้าต่างนอกได้ละสังขารไป ทางคณะกรรมการวัดหน้าต่างนอก ได้มีมติให้อาราธนาหลวงพ่อแม้น แห่งวัดกลางคลองสาม อ.คลอง หลวง จ.ปทุมธานี มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสที่วัดหน้าต่างนอก เป็นต้นมา
เมื่อก้าวแรกของหลวงพ่อแม้น ที่เหยียบพื้นวัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อแม้นได้นมัสการบารมีธรรมหลวงพ่อจง พระเถราจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ และได้กล่าวว่ามีความปลื้มปีติเป็นอย่างมากที่ได้เข้ามารับใช้ใต้พระบารมีของหลวงพ่อจงอีกครั้งหนึ่ง
ต่อมา หลวงพ่อแม้นได้ศึกษาวิทยาคมตามตำราที่หลวงพ่อจงได้ทิ้งไว้ให้อย่างแตก ฉาน เป็นพระเถระอีกหนึ่งรูปที่เดินตามรอยปฏิปทาบารมีของหลวงพ่อจงด้วยความสม่ำเสมอมาจนถึงวันนี้เกือบ 40 กว่าปีมาแล้ว ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งทุ่งวัดหน้าต่างนอก
ขณะเดียวกัน ยังมีลูกศิษย์ที่เลื่อมใสในเรื่องของวัตถุมงคล เครื่องรางของขลังด้วยกิตติศัพท์หลวงพ่อแม้น ในฐานะศิษย์เอกพระเกจิดังเมืองอยุธยาหลายรูป ยิ่งทำให้การปลุกเสกวัตถุมงคลเป็นที่ปรารถนาของบรรดาศิษยานุศิษย์
ถือเป็นเนื้อนาบุญของชาวกรุงเก่าอย่างแท้จริง
เหรียญท้าวมหาพรหม รุ่นแรก
ท้าวกบิลพรหม หรือ ท้าวมหาพรหม สถิตอยู่บนพรหมโลกชั้นที่ ๓ มหาพรหมภูมิ มีหน้าที่สอดส่องดูแลมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย มีพระธิดา ๗ องค์ คือ ทุงษเทวี ราโคเทวี รากษสเทวี มณฑาเทวี กิรินีเทวี กมีทาเทวี และมโหธรเทวี ทรงพระสิริโฉมงดงามยิ่งนัก ประวัติของท้าวกบิลพรหมและพระธิดาทั้ง ๗ เกี่ยวเนื่องกับตำนานสงกรานต์ ได้เล่าขานสืบต่อกันมา
ประกอบพิธีพุทธา - เทวาภิเษก ณ วัดหน้าต่างนอก อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๕ โดยมีพระเกจิคณาจารย์ร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสก จำนวน ๒๘ รูป ได้แก่
๑. พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (แม้น อาจารสมฺปนฺโน) เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก
๒. พระภาวนาวิสุทธิโสภณ วิ. (สุรศักดิ์ อติสกฺโข ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดประดู่ พระอารามหลวง เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสงคราม
๓. พระมงคลวโรปการ (ชำนาญ อุตฺตมปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดชินวรารามวรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี
๔. หลวงพ่อขวัญ นาถธมฺโม เจ้าอาวาสวัดบางคูวัดนอก จังหวัดปทุมธานี
ู๕. พระครูวิสุทธิ์สมุทรคุณ (อนันต์ วิสุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดบางพลีน้อย จังหวัดสมุทรปราการ
๖. หลวงปู่ธูป ญาณวโร เจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว จังหวัดสุพรรณบุรี
๗. พระครูปลัดวินัย อุตฺตโม เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน จังหวัดปทุมธานี
๘. พระครูวิมลญาณอุดม (ธรรมนูญ ฐิตวฑฺฒโน) "พระอาจารย์ติ๋ว" เจ้าอาวาสวัดมณีชลขันธ์ พระอารามหลวง
๙. พระครูวิสิฐชัยคุณ (จำรัส อาภากโร) "หลวงพ่อเกาะ" เจ้าอาวาสวัดท่าสมอ และเจ้าคณะอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
๑๐. พระครูอุทัยบวรกิจ (เหลียงเช็ง ปวโร) "หลวงปู่ตี๋" เจ้าอาวาสวัดดอนขวาง จังหวัดชัยนาท
๑๑. พระครูปทุมรัตนาธาร (สมพร ถาวโร) เจ้าอาวาสวัดจันทาราม และเจ้าคณะตำบลลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
๑๒. พระครูปฐมวราจารย์ (อวยพร ฐิติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม และที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดนครปฐม จังหวัดนครปฐม
๑๓. พระครูสิทธิสรคุณ (ธรรมทส ขนฺติพโล) "พระอาจารย์แก้ว" เจ้าอาวาสวัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๔. พระครูโสภณสันติคุณ (วิชาญ อุปสนฺโต) "พระอาจารย์หน่อย" เจ้าอาวาสวัดหัวคุ้ง และเจ้าคณะตำบลดอนหญ้านาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๕. พระครูสันติกัลยาณคุณ (เสงี่ยม กิตฺติภทฺโท) "หลวงพ่อแก่" เจ้าอาวาสวัดใหม่ และเจ้าคณะตำบลกบเจา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๖. พระสมุห์ชิษณุพงศ์ ปญญฺาวุฑโฒ "พระอาจารย์เต๋า" วัดสุวรรณเจดีย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๗. พระครูปลัดสราวุธ ปญฺญาวุโธ "พระครูปืน" ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดลาดชะโด และเลขานุการเจ้าคณะอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๘. พระอธิการสำราญ สนฺตมโน เจ้าอาวาสวัดสง่างาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๑๙. พระครูกันตธรรมาภิรักษ์ (บุญเสริม กนฺตมโน) เจ้าอาวาสวัดศิริสุขาราม (วัดโรงหลวง) เจ้าคณะตำบลบ้านเกาะ
๒๐. พระอาจารย์บุญเลิศ วัดอนุกุญชราราม (วัดช้างน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๑. พระครูอุดมนวการ (ชัย อัตตทโม) เจ้าอาวาสวัดบ้านแดง และเจ้าคณะตำบลพระขาว - น้ำเต้า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๒. พระครูสังฆรักษ์เทอดศักดิ์ อคฺคปุญโญ "พระอาจารย์ต้อม" เจ้าอาวาสวัดโพธ์เผือก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๓. พระญาวิไชยภิกขุ สำนักสงฆ์ห้วยม่วงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
๒๔. พระครูพิศาลอุทัยสาร (นพวรรณ คุณสาโร) เจ้าอาวาสวัดเสนานิมิต และเจ้าคณะตำบลสามบัณฑิต จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๕. พระครูอดุลวิริยกิจ (เอื้อน อตฺตมโน) เจ้าอาวาสวัดวังแดงใต้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๖. พระครูอุดมภาวนาธิมุต (ลำเพย อุตฺตโม) เจ้าอาวาสวัดบึง และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๗. ฤาษีเณรธาตุพุทธคุณ อาศรมฤาษีเณร ธาตุพุทธคุณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
๒๘. อาจารย์วันชัย ตันติสิรินันท์ (ศิษย์สายอาจารย์เฮง ไพรวัลย์)
….พระพิธีธรรมวัดมหาธาตุ พระนคร……..
รายการจัดสร้าง
๑. เนื้อทองคำ จัดสร้าง ๔ เหรียญ (มอบประธานทอดผ้าป่า)
๒. เนื้อเงิน ลงยาสีแดง หน้ากากทองคำ จัดสร้าง ๓๖ เหรียญ
๓. เนื้อเงิน ลงยาสีน้ำเงิน หน้ากากทองคำ จัดสร้าง ๓๖ เหรียญ
๔. เนื้อเงิน ลงยาสีเขียว หน้ากากทองคำ จัดสร้าง ๓๖ เหรียญ
๕. เนื้อเงิน ลงยาสีเหลือง หน้ากากทองคำ จัดสร้าง ๓๖ เหรียญ
๖. เนื้อเงิน ลงยาสีแดง จัดสร้าง ๘๔ เหรียญ
๗. เนื้อเงิน ลงยาสีน้ำเงิน จัดสร้าง ๘๔ เหรียญ
๘. เนื้อเงิน ลงยาสีเขียว จัดสร้าง ๘๔ เหรียญ
๙. เนื้อเงิน ลงยาสีเหลือง จัดสร้าง ๘๔ เหรียญ
๑๐. เนื้อเงิน จัดสร้าง ๑๐๐ เหรียญ
๑๑. เนื้อทองแดงซาติน จัดสร้าง ๑,๐๐๐ เหรียญ
๑๒. เนื้อทองฝาบาตร จัดสร้าง ๘๔,๐๐๐ เหรียญ
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
พระครูปรีชาวุฒิคุณ” หรือ “หลวงพ่อฮวด ปัญญาวุฑโฒ” อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนโพธิ์ทอง ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา วิทยาคม และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เกิดที่บ้านดอนโพธิ์ทอง หมู่ที่ 1 ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมืองสุพรรณบุรี ตรงกับวันศุกร์ที่ 23 มิ.ย.2454 บิดา-มารดา ชื่อ นายเกลี้ยงและนางพุก ปุริสพันธุ์ มีพี่น้องรวม 7 คน
อายุเพียง 3 ขวบ ต้องกำพร้าทั้งบิดามารดา และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของพี่สาวและพี่เขย
พระครูปรีชาวุฒิคุณ” หรือ “หลวงพ่อฮวด ปัญญาวุฑโฒ” อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนโพธิ์ทอง ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองสุพรรณบุรี เชี่ยวชาญด้านการพัฒนา วิทยาคม และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
เกิดที่บ้านดอนโพธิ์ทอง หมู่ที่ 1 ต.ดอนโพธิ์ทอง อ.เมืองสุพรรณบุรี ตรงกับวันศุกร์ที่ 23 มิ.ย.2454 บิดา-มารดา ชื่อ นายเกลี้ยงและนางพุก ปุริสพันธุ์ มีพี่น้องรวม 7 คน
อายุเพียง 3 ขวบ ต้องกำพร้าทั้งบิดามารดา และอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของพี่สาวและพี่เขย
อายุ 15 ปี เป็นศิษย์เจ้าอาวาสวัดโคกโคเฒ่า อ.เมืองสุพรรณบุรี เรียนมูลกัจจายน์ ซึ่งเป็นตำราไวยากรณ์ภาษาบาลี ก่อนกลับมาวัดกุฎีทอง สมัครเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเจิม เรียนมูลกัจจายน์ โดยไปเรียนกับกำนันหยด อินทรมุข (บิดาขุนธานินทร์ สรรพสามิต จ.สุพรรณบุรีในสมัยนั้น)
จากนั้นกลับมาบ้านดอนโพธิ์ทอง ช่วยพี่สาวพี่เขยทำไร่ไถนาและประกอบอาชีพ
อายุ 19 ปี บรรพชาที่วัดวังยายหุ่น เพียง 8 เดือนก็ท่องบ่นสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ภาณต้น ภาณยักษ์ นวโกวาท สูตรนักธรรมตรี ได้อย่างเชี่ยวชาญ
อายุ 20 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดวังพระนอน มีหลวงพ่อสอน เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระใบฎีกาลี วัดป่าเลไลยก์ เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระทองอยู่ วัดแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา ปัญญาวุฑโฒ
ภายหลังอุปสมบทย้ายไปอยู่จำพรรษากับพระมหาต่วน วัดมเหยงคณ์ ต.ท่าระหัด อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
ช่วงนั้นวัดมเหยงคณ์มีสภาพใกล้จะเป็นวัดร้าง ท่านช่วยพัฒนาวัด รวมทั้งศึกษาพระธรรมวินัยจากพระมหาต่วน และเข้าสอบนักธรรมสนามหลวงได้นักธรรมตรี-โท-เอก ตามลำดับ
จากนั้นได้ไปเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณกับพระอาจารย์มั่น แพงพันธุ์ วัดใหม่รัตนเจดีย์ (วัดหัวไม้ซุง) อ.เมืองสุพรรณบุรี และเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานกับพระอาจารย์โอ-พระอาจารย์ขวด วัดเขาดีสลัก อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ราวปี พ.ศ.2480 ชาวบ้านดอนโพธิ์ทองดำริสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมใจและประกอบพิธีทางศาสนา ได้เล็งเห็นความสามารถของหลวงพ่อฮวด จึงอาราธนาท่านมาเป็นผู้สร้าง
ช่วงที่ไปสร้างวัดดอนโพธิ์ทองนั้น หลวงพ่อ ฮวดมีอายุเพียง 20 เศษ แต่ได้ใช้ความสามารถ ช่วยชาวบ้านด้วยความแข็งขัน จนสำเร็จลุล่วง
ด้วยฝีมือและความสามารถ ชาวบ้านจึงให้ความเคารพนับถือ เช่นเดียวกับที่ได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 เป็นเจ้าคณะตำบลสวนแตง พ.ศ.2494 เป็นพระอุปัชฌาย์
ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2500 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ “พระครูปรีชาวุฒิคุณ” พ.ศ.2510 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท และพ.ศ.2523 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกในราชทินนามเดิม
ปฏิปทาของท่าน ดำเนินชีวิตด้วยความเรียบง่าย ไม่มีพิธีรีตอง แต่เป็นคนมีระเบียบ มีสัมมาวาจา พูดช้าชัดถ้อยชัดคำ
ท่านถือเคร่งในวัตรปฏิบัติมาก ตื่นจำวัดเวลาตี 4 ทุกวัน หลังออกบิณฑบาตและเสร็จจากฉันเช้า จะกวาดลานวัดจนสะอาด จากนั้นจะคอยต้อนรับชาวบ้านที่มาพบและให้รักษาไข้
หลังทำวัตรเย็นเสร็จ จะปฏิบัติและเป็นผู้สอน วิปัสสนากัมมัฏฐานให้กับพระภิกษุ-สามเณร
ท่านเน้นย้ำอบรมบ่มนิสัยชาวบ้านให้เป็นคนดีมีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีคุณธรรม สิ่งที่ท่านไม่ชอบ คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และคนดื่มสุรา
สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อฮวด ให้การสนับสนุนและเป็นห่วงมาก คือการศึกษา มักจะให้คำตักเตือนแก่ครูอาจารย์เสมอๆ ว่า “ครูเป็นแม่พิมพ์ของชาติ ขอให้ทำตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก หากแม่พิมพ์บูดๆ เบี้ยวๆ อีกร้อยปีประเทศชาติก็ไม่เจริญ”
ท่านเอาใจใส่อย่างมากกับโรงเรียนประชาบาล ด้วยเห็นว่านี่คือ จุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาบุคคล
อีกทั้งยังตั้งมูลนิธิ นำดอกผลมาช่วยการศึกษาของนักเรียนที่ยากจน
มรณภาพ เมื่อวันที่ 15 ส.ค.2539 สิริอายุ 86 ปี
รวมถึงละแวกจังหวัดใกล้เคียงก็ตาม ด้วยเหตุที่ว่าท่านมีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส ประกอบกับสรรพวิชาพุทธาคมที่ท่านได้ร่ำเรียนมา จึงก่อเกิดคำว่า “ความเข้มขลัง ทางเวทมนต์”
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเป็นที่ศรัทธาของสาธุชน ทำให้ศิษยานุศิษย์พร้อมใจกันบรรจุสรีระสังขารของหลวงพ่อฮวด ในมณฑปพระครูปรีชาวุฒิคุณ และสร้างรูปหล่อหมือนด้วยเนื้อทองเหลือง ขนาดกว้าง ๕ เมตร สูง ๗ เมตร นับว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นสถานที่กราบไหว้สัการะขอพรด้านโชคลาภ รวมไปถึงขอเลื่อนตำแหน่งหน้าที่การงานอีกด้วย
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ฮวดวัดดอนโพธิ์ทองสุพรรณบุรี 5 องค์ 5 พิมพ์ ให้บูชายกชุด 350 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
ประวัติ พระอธิการทองอยู่ จนทสาโร (อดีตเจ้าอาวาสวัดบางเสร่คงคาราม)
หลวงพ่อทองอยู่ นามสกุล บุญเรือง เกิดที่บ้านบางเสร่ บิดาชื่อ ผึ้ง มารดาชื่อ ฮุ่น เกิดเมื่อวันที่
15 มกราคม พ.ศ.2430 ปีชวด วันอังคารขึ้น 14 ค่ำ เดือน 1 มีพี่น้องรวม 8 คน
ในสมัยเด็กครอบครัวของท่านได้อพยพไปทำมาหากินที่ ตำบลบางเหี้ย คลองด่าน เมื่ออายุครบอุปสมบท
ปี พ.ศ.2450 ท่านได้อุปสมบท ณ.วัดโคธาวารี (วัดบางเหี้ย) คลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีพระ
ครูพิพัฒน์นิโรจกิจ (หลวงพ่อปาน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและการศึกษาด้านคาถา
อาคมต่างๆจากหลวงพ่อปาน ตลอดระยะเวลา 8 พรรษา ท่านออกเดินธุดงค์ไปกับหลวงพ่อปานตลอด
เวลา เมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพลงและเสร็จพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อปานแล้ว ท่านได้ลาสิก
ขาบทตามโยมบิดาของท่านมาที่บางเสร่ ช่วยประกอบอาชีพต่างๆช่วยเหลือโยมบิดาตามความสามารถ
และมีครอบครัว ใช้ชีวิตของการเป็นฆราวาสเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 ปี จนในปี พ.ศ.2463 ภรรยาของ
ท่านได้คลอดบุตรคนที่ 3 ภรรยาตายแต่บุตรปลอดภัย ท่านเกิดความสังเวชสลดใจ ยกบุตรให้คนอื่นเลี้ยง
เป็นบุตรบุญธรรมทั้งหมด เมื่อทำศพของภรรยาเรียบร้อยแล้วในปี พ.ศ.2463 ท่านได้เข้ามาอุปสมบทอีกครั้งหนึ่ง ณ.วัดบางเสร่คงคาราม โดยมีท่าน
พระครูวรเวทมุณี (หลวงพ่ออี๋) วัดสัตหีบเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า " จนทสาโร "
เมื่ออุปสมบทแล้วได้อยู่ศึกษาเล่าเรียนพุทธอาคมต่างๆอยู่ระยะหนึ่งจึงได้ออกธุดงค์ไปตามจังหวัดต่างๆ ตลอดภาคใต้ ภาคเหนือ และย้อนมาจังหวัด
ระยองและจังหวัดตราด เป็นเวลาหลายสิบปีและท่านกลับมาที่วัดบางเสร่คงคารามอีกครั้งก็ตรงกับสมัยที่ พระอธิการแฝง โฆสโก(นามสกุล คงซ่าน)
เป็นเจ้าอาวาส เมื่อหลวงพ่อแฝงมรณภาพแล้วท่านจึงได้ปกครองวัดบางเสร่คงคารามสืบมาจนมรณภาพ ในช่วงที่ท่านออกธุดงค์รอนแรมอยู่นั้นท่าน
ได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และวิชาอาคมต่างๆกับอาจารย์หลายรูป
หลวงพ่อทองอยู่ได้ศึกษาวิชาจากพระเกจิอาจารย์หลายท่านดังนี้
1. หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย... ได้ศึกษาการสร้างวัตถุมงคลและการสร้างเครื่องรางของขลังตำรับโบราณจากหลวงพ่อปาน
2. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ... ได้ศึกษาการสมถะวิปัสสนากรรมฐาน และการสร้างปลัดขิก จากหลวงพ่ออี๋
3. หลวงพ่อนิต วัดท่ากง จังหวัดตราด... ได้ศึกษาการทำผ้ายันต์ และตระกรุด เมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์
4. หลวงพ่อโต วัดเขาชากกระโดน จังหวัดระยอง... ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อโต เมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์
และนอกจากนี้หลวงพ่อทองอยู่ยังได้เล่าเรียนวิชาจาก หลวงพ่อดวง และหลวงพ่อพุ่ม เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกด้วย.
เมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางเสร่คงคารามนั้น ท่านตั้งอยู่ในเมตตาธรรม ชอบความมักน้อยและสันโดษ ทุกสิ่งที่ท่านได้รับจากการ
ถวายของญาติโยมที่ศรัทธา ท่านได้นำไปสร้างถาวรวัตถุจนหมดสิ้นเป็นที่เคารพของชาวบ้านและชื่อเสียงของท่านร่ำลือไปจนทั่ว ท่านนั้นชอบสมถ
วิปัสสนากรรมฐาน และมีความแก่กล้ามากองค์หนึ่งแต่ท่านนั้นจะไม่โอ้อวด โดยท่านมักไปนั่งทำสมาธิอยู่เสมอที่คอเขาปากทางเข้าบางเสร่และเป็น
ที่เกิดของวัดสามัคคีบรรพตขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2491 ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ครั้นทางวัดสามัคคีบรรพต สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วและมี
เจ้าอาวาสปกครองเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ได้เริ่มสร้างอุโบสถของวัดบางเสร่คงคาราม ต่อในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2514 ในวันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน
7 ปีกุน ยังไม่ทันแล้วเสร็จได้แค่งานมุงหลังคาโบสถ์ของวัดบางเสร่คงคารามเท่านั้น หลวงพ่อทองอยู่ก็มรณภาพด้วยโรคชรา...
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญหลวงพ่อทองอยู่วัดบางเสร่ให้บูชา 120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พ่อท่านคล้อย ฐานธมฺโม เป็นชาวหลังสวนโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า คล้อย พุ่มเสมียน เป็นบุตรของโยมพ่อพุ่ม และโยมแม่แจ้ม พุ่มเสมียน ในใบสุทธิของท่านระบุว่าพ่อหลวงเกิด วันที่ ๔ มกราคม ๒๔๖๕ ตรงกับวันพุธ แรม ๑๐ ค่ำ เดือนยี่ ปีวอก แต่จากปากคำของพ่อหลวงท่านยืนยันว่าท่านเกิดวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๔๖๓ ที่บ้านปากลา ตำบลขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีพี่น้องด้วยกัน ทั้งหมด ๕ คน
การอุปสมบท
ในวันเยาว์ พ่อท่านคล้อยเป็นเด็กที่อยู่ใกล้ชิดกับพระบวรพุทธศาสนามาโดยตลอด เมื่อจบการศึกษาชั้น ป.๔ ได้ไปศึกษาเรียนนอโมกับอักขระวิธีจากพระอาจารย์ชุบ สุวณฺโณ วัดปากสาก เป็นเวลานานหลายปี ต่อมาท่านเจ้าคุณเทพฯ หรือพระธรรมจารีย์มุณีวงศาจารย์( จันทร์ โกสโล ) วัดขันเงิน อดีตเจ้าคณะจังหวัดชุมพร มาทำธุระที่วัดปากสากเห็นบุคลิกท่าทางของพ่อหลวงแล้วเกิดความประทับใจ จึงได้ชวนให้มาอยู่ที่วัดขันเงิน พ่อหลวงได้ปรนนิบัติรับใช้ท่านเจ้าคุณเทพฯ เป็นเวลานานกว่า ๑๐ ปี ในระหว่างนั้นท่านเจ้าคุณเทพฯ พยายามเกลี้ยกล่อมให้พ่อหลวงอุปสมบทตลอดเวลา แต่ก็ไม่สำเร็จพ่อหลวงบ่ายเบี่ยงขอผัดผ่อนเรื่อยมา จนกระทั่งบั้นปลายชีวิตของเจ้าคุณเทพฯ ท่านได้ขอร้องแกมบังคับให้พ่อหลวงบวชสักที เมื่อบวชแล้วจะไปไหนก็สุดแล้วแต่ พ่อหลวงถามกลับว่าจะบวชไปเพื่ออะไร ท่านเจ้าคุณเทพฯตอบว่า อย่างน้อยๆก็ช่วยดูแลท่านในยามแก่ พ่อหลวงจึงได้ตัดสินใจอุปสมบท ที่อุโบสถวัดขันเงิน ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ เมื่ออายุได้ ๓๕ ปี โดยมีท่านเจ้าคุณเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระสมุห์ชุ่ม ติกฺขปญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ ฐานธมฺโม ” และต่อมา ในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำเขาเงิน
การศึกษาพุทธาคม
พ่อท่านคล้อยเป็นผู้ที่มุ่งมั่นในการปฏิบัติและสนใจในการศึกษาพระเวทวิทยาคม มีพระอาจารย์ดีที่ไหน ท่านจะต้องเดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอเรียนสรรพวิชาต่างๆเสมอ นอกจากการศึกษานอโมและอักขระวิธีจากพระอาจารย์ชุบ วัดปากสาก ท่านยังได้ศึกษาสรรพวิชาการต่างๆ จากยอดพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้ออันเกรียงไกรหลายรูปอาทิเช่น พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา หลวงพ่อคงวัดบ้านสวน พระอาจารย์หมุน วัดเขาแดง จากนั้นได้ไปศึกษาเพิ่มเติมจาก หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ เรียนวิชาประสานกระดูกกับพระครูอาทรธรรมวัตร วัดปากสระ ฯลฯ เมื่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดถ้ำเขาเงิน ได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราของหลวงพ่อแดง พุทฺโธ อดีตเจ้าอาวาสที่เป็นพระเกจิร่วมยุคร่วมสมัยกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ แม้ว่าพ่อหลวงจะเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความสามารถรอบด้าน ไม่ว่าจะเรื่องของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานหรือพระเวทวิทยาคม หากท่านได้ทราบข่าวว่าพระเกจิอาจารย์รูปใดมีวิชาการพิสดารลึกซึ้ง พ่อหลวงก็จะไปขอต่อวิชาด้วย
วิชาเฉพาะตัวที่สร้างชื่อเสียงกิตติคุณให้กับพ่อหลวงมากที่สุดก็คือ " การเป่าทองเข้าตัว " วิชาเป่าทองเข้าตัว เป็นวิชาที่พ่อหลวงได้รับการถ่ายทอดจากอาจารย์คงซึ่งเป็นอาจารย์ของขุนแผน การเป่าทองเข้าตัว ส่วนใหญ่แล้วท่านจะกระทำในเวลากลางคืน โดยพ่อหลวงจะนั่งบนตั่งแล้วให้ผู้ที่ประสงค์จะเป่าทองเข้าตัว นั่งเรียงแถวหน้ากระดานหันหน้าเข้าหาท่าน จากนั้นพ่อหลวงจะเริ่มภาวนาพระคาถาต่างๆ อันเชิญคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาประสิทธิประสาทแก่ผู้ขอรับการเป่าทองเมื่อจบพระคาถา พ่อหลวงจะหยิบเหล็กจารจุ่มลงในขวดน้ำมันมนต์ซึ่งมีกลิ่นหอมมาก แล้วนำมาทาบริเวณหน้าผากลงอักขระบนหน้าผากเสร็จแล้วหยิบทองคำเปลวมาปึกหนึ่งโดยไม่ต้องนับว่ากี่แผ่น วางบนฝ่ามือของผู้ที่รับการเป่าทองแล้วจับมือพร้อมแผ่นทองคำเปลวไปกดที่หน้าผาก ถึงตอนนี้พ่อหลวงก็จะปล่อยให้ผู้รับการเป่าทองเอามือกดหน้าผากไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทำให้คนสุดท้ายแล้วจึงเวียนมาเป่าทองให้กับคนแรก ความรู้สึกในขณะที่ท่านกำลังเป่าทอง หลายคนบอกว่าเหมือนมีอะไรวิ่งเข้าไปในศีรษะ ขั้นตอนนี้สำคัญมากพ่อหลวงบอกว่า ใครปรารถนาหรือประสงค์จะขอสิ่งใด ให้อธิษฐานในเวลานี้ ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงหรือเกินวาสนาบารมีที่สั่งสมมาก็จะได้ตามความปรารถนา แผ่นทองจะเข้ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวาสนาของแต่ละบุคคลเมื่อเป่าเสร็จแล้วพ่อหลวงจะให้ผู้รับการเป่าคลี่แผ่นกระดาษหุ้มทองคำเปลวออก นับดูว่าได้จำนวนกี่แผ่น ส่วนที่เหลือให้แบมือทั้งสองข้างออกวางประกอบให้สันมือชิดกันแล้วท่านจะหยิบเหล็กจารอันเดิมจุ่มลงในขวดน้ำมันมนต์ชโลมน้ำมันมนต์ให้ทั่วฝ่ามือทั้งสองข้าง นำทองคำเปลวที่เหลือแกะออกปิดลงที่ฝ่ามือจนหมดแล้วนำมือมาประกบกันถูไปมาประมาณ ๒-๓ ที เป็นอันเสร็จพิธี
นอกจาการเป่าทองเข้าตัวแล้วพ่อหลวงยังมีสุดยอดวิชาอีกอย่างหนึ่งคือ“ น้ำมนต์ดอกบัวทอง ” ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งที่ใช้ในการเสี่ยงทายโชควาสนา โดยในสมัยก่อนพ่อหลวงมักใช้วิชานี้ควบคู่ไปกับการเป่าทองเข้าตัว โดยให้ไปหาดอกบัวที่ขึ้นตามธรรมชาติ โดยไม่มีการใส่ปุ๋ยหรือสารเคมีกะประมาณว่าอีก ๒-๓ วันจะบาน เมื่อได้มาแล้วให้เขียนชื่อลงบนกลีบบัว อธิษฐานแล้วนำไปปักที่แจกันหน้าพระประธาน จากนั้นพ่อหลวงก็จะนั่งอธิษฐานจิตตามพิธีกรรมต่างๆที่ท่านร่ำเรียนมาถ้าดอกบัวบานเร็วแสดงว่ามีโชคดี พ่อหลวงจะทำนายทายทักไปตามเกณฑ์
พ่อหลวงได้ก่อสร้างอุโบสถและศาลาอเนกประสงค์ของวัดถ้ำเขาเงินสำเร็จลุล่วงไปในเวลาไม่นานนัก ตึกฐานธมฺโม โรงพยาบาลหลังสวนก็ใกล้จะเสร็จสิ้นแล้ว และยังมีสาธารระประโยชน์ต่างๆที่พ่อหลวงตั้งใจกระทำต่อไป แต่ทุกอย่างเมื่อมีจุดเริ่มต้นก็มีที่สิ้นสุดเป็นปกติธรรมดาของโลกมนุษย์ หลังจากงานบูชาครูประจำปี ๒๕๓๙ เป็นต้นมา สุขภาพของพ่อหลวงได้เสื่อมถอยลงตามลำดับ จนกระทั่งรุ่งเช้าของวันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๓๙ พ่อหลวงก็ได้ละสังขารไปในขณะที่ภารกิจต่างๆที่ท่านริเริ่มไว้ยังเหลือเพียงบางส่วนก็จะเสร็จสิ้นตามความประสงค์ของพ่อหลวง และความมหัศจรรย์ต่างๆ เกิดขึ้นจากพลังจิตอันแกร่งกล้าของพ่อหลวงได้กลายเป็นตำนานที่ศิษยานุศิษย์ทั้งหลายไม่อาจลืมได้
หลวงพ่อคล้อย ฐานธัมโม วัดถ้ำเขาเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพระ ท่านเป็นพระเกจิ อาจารย์ที่ได้รับกล่าวขานจากบรรดาลูกศิษย์ลูกหาว่ารอบรู้ในสรรพวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะหลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐานและพุทธเวท เนื่องจากท่านเป็นศิษย์ในสายเขาอ้อ จ.พัทลุง ในปัจจุบันวัตถุมงคลของท่านหลายรุ่น ได้รับความนิยมจากนักสะสมเป็นอย่างมาก เช่น เครื่องรูปเหมือนหลวงพ่อแดง พุทโธ เหรียญกรมหลวงชุมพร ฯ ปี 2511 เหรีนญรุ่นแรกหลวงพ่อคล้อย พระกำแพง นิ้วพิมพ์ใหญ่เนื่อว่าน ปี 2511 พระปิดตามหาลาภองค์จ้อยเนื้อผงเกสร ปี 2533 เป็นต้น
ท่านเป็นชาวหลังสวนโดยกำเนิด มีนามเดิมว่า นายคล้อย ทองเสมียน เป็นบุตรของนายพุ่ม และนางแจ้ม ทองเสมียน เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2463 ที่บ้านปากลา ตำบลขันเงิน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน อุปสมบทที่วัดเขาเงินเมื่อวันที่ 26 กค.2504 ขณะอายุได้ 41 ปี มีหลวงพ่อจันทร์ โกสโล วัดขันเงิน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ซุ่ม ติกจปัญโญ เป็นพระกรรมวาจารย์ ได้รับฉายา ว่า "ฐานธัมโม" ท่านได้มุ่งมั่นในด้านปฎิบัติวิปัสสนา และสนใจศึกษาพระเวทวิทยาคม หากรู้ว่ามีพระอาจารย์ที่เก่ง ๆ อยู่ที่ใดก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์ ทั้งได้ศักษาวิชาจากครูบาอาจารย์ที่สายเขาอ้อ หลายท่าน อาทิพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดง หลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ และพระครูอาทรธรรมวัตร วัดปากสระ ฯลฯ ท่านยังได้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรับตำราของหลวงพ่อแดง พุทโธ อดีตเจ้าอาวาสวัดถ้ำเขาเงิน ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยเดียวกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
หลวงพ่อคล้อยท่านมีชื่อเสียงทางด้านการเป่าทองเข้าตัว โดยท่านเป่าทองคำเปลวหนา 9 แผ่น โดยไม่ต้องแกะแผ่นทองหายไปกลับตา เป็นสิ่งที่หลายคนได้ประจักษ์ในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมมาแล้ว จนกระทั่งเมื่อวัน ศุกร์ ที่ 25 ตค.2539 ท่านก็ละสังขารไปอย่างสงบ ปัจจุบันศพของท่านไม่เน่าเปื่อยตั้งบูชาไว้ที่วัดถ้ำเขาเงิน คงเหลือไว้เพียงคุณงามความดี และวัตถุมงคลอันทรงคุณค่า ซึ่งมากด้วยพุทธคุณสูงส่ง
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญ หลวงพ่อคล้อยวัดถ้ำเขาเงินปลุกเสกอธิษฐานจิตให้บูชา 100 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
หลวงพ่อดาบส ท่านเป็นพระอริยะเจ้า เป็นพระบุญฤทธิ์ และ อิทธิฤทธิ์ เป็นพระสุปฏิปันโนที่ควรแก่การสักการะ กราบไหว้ เมื่อท่านมรณภาพแล้วขนาดหัวใจของท่าน ยังเผาไม่ไหม้ แถมยังแปรสภาพเป็นพระธาตุ สีเขียวมรกตครูบาอาจารย์หลายท่าน ให้ความยกย่อง บางท่านให้ศิษย์ไปกราบไว้ ไปทำบุญ ไปเรียนวิชากับท่าน
“หลวงพ่อดาบส สุมโน
” เดิมชื่อ “สง่า” นามสกุล “เจริญจิตต์”
เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ กัน ยายน ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พ.ศ.๒๔๖๗ ปีชวด ตำบลบางกระไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
เป็นลูกคนที่ ๖ ในจำนวนทั้งหมด ๘ คน
บิดาชื่อ “นายเถียน” มารดาชื่อ “นางเวียง”
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ขณะอายุได้ ๗ ปี มารดาก็ถึงแก่กรรมและต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๘ อายุได้ ๑๑ ปี “เด็กชายสง่า” ก็ต้องสูญเสียบิดาบังเกิดเกล้าไปอีกคน จึงอยู่ภายใต้การดูแลของ “คุณป้า” และเริ่มเรียนหนังสือชั้นประถมศึกษาที่ ๑ โรงเรียนวัดบางกระไชย จบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๘
ครั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๕ อายุได้ ๑๘ ปี “คุณป้า” ได้นำ “เด็กชายสง่า” ไปบรรพชาที่ “วัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี” เพื่อเรียนปริยัติธรรมซึ่งต่อมาสามารถ สอบได้ทั้ง “นักธรรมตรี” และ “นักธรรมโท”
ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ อายุครบ ๒๐ ปี “สามเณรสง่า” จึงอุปสมบทเป็น “พระภิกษุ” โดยมีท่าน “เจ้าคุณอมรโมลี” เป็นอุปัชฌาย์ได้ฉายาว่า “สุมโน” กระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๙ อันเป็นพรรษาที่ ๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” ได้กราบลา “พระอุปัชฌาย์” เพื่อเดินทางไปศึกษา “ภาษาบาลี” กับท่าน “เจ้าคุณรัชมงคลมุณี” วัดหนองบัว จังหวัดระยอง ต่อมาในปี
พ.ศ.๒๔๙๐ ด้วยจิตที่มุ่งมั่นจะปฏิบัติธรรม แสวงหาธรรม จึงออกเดินธุดงค์ไป “จังหวัดเชียงใหม่” ตามเส้นทาง “อำเภอดอยสะเก็ด” สู่ “ถ้ำเชียงดาว” อำเภอเชียงดาวได้ธุดงค์พลัดเข้ามาสู่เขตพื้นที่ของ “อำเภอพร้าว” ในปี ๒๔๙๐ ถึง ๒๔๙๔ จึงพำนักและปฏิบัติธรรมใน “ป่าช้า” ของตำบลเวียง อำเภอพร้าว หรือ “วัดป่าเลไลย์” เป็นเวลาถึง ๔ ปี
ปี พ.ศ.๒๔๙๔ “พระภิกษุสง่า สุมโน” เดินทางมาพำนักที่ “วัดเจดีย์หลวง” จัง หวัดเชียงใหม่ โดยปฏิบัติธรรมกับ “เจ้าคุณวินัยโกศล” (จันทร์ กุสโล) หรือ “พระพุทธพจนวราภรณ์” แล้วจึงออกจาก “วัดเจดีย์หลวง” ธุดงค์ไปตามเส้นทางสู่ “อำเภอดอยสะเก็ด” อีกครั้งพร้อมลัดเลาะไปตามป่าเขาถึง “ดอยพระเจ้าหล่าย” วันนั้นเป็น วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่เวลา ๑๗.๐๐ น. “พระภิกษุสง่า สุมโน” จึงตั้งสัจจะอธิษฐาน ณ ดอยพระเจ้าหล่าย ขอสละเพศบรรพชิตขอลาสิกขาบทจากการเป็น “พระภิกษุสงฆ์” โดยหันมาถือการครองเพศเป็น “ดาบส” ที่มีเพียง ผ้าอังสะและผ้าสบง เพียงสองผืนหุ้มห่อร่างกายไว ้จากนั้นจึงครองเพศเป็น “ดาบส” และปฏิบัติธรรมอยู่บน “ดอยพระเจ้าหล่าย” โดยมิได้ฉันทั้งอาหาร และน้ำถึง “๓ วัน ๓ คืน” จากนั้นจึงเดินทางลงจากดอยเพื่อธุดงค์ไปจังหวัด ต่างๆ ทั้ง แพร่ ลำปาง น่าน ยะลา ชุมพร และท้ายสุดปฏิบัติธรรมที่ “อาศรมไผ่มรกต” ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย จนมรณภาพ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๓สิริอายุได้ ๗๖ ปี
“หลวงพ่อดาบส สุมโน” นับเป็น “ผู้บำเพ็ญเพียร” ด้วยศีลาจารวัตร บริสุทธิ์ผุดผ่องจนได้พบแสงสว่างแห่งธรรมเจิดจ้า และธรรม ที่ท่านแสดงให้บรรดาศิษย์ได้ยังความสุข ความสงบ ความร่มเย็น ให้เกิดขึ้นในจิตใจของผู้ที่เคยฟังธรรมจากท่านจึงนับได้ว่าท่านเป็น “ประทีปธรรม” แห่งภาคเหนือที่ยังคงอยู่ในความทรงจำ และในจิตใจ ของประชาชนตลอดไป
พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์เก้าใบ หลังยันต์จักรแก้วพระพุทธเจ้า หลวงพ่อดาบส สุมโน แห่งอาศรมไผ่มรกต จังหวัดเชียงราย
เนื้อผงวิเศษมหาพุทธคุณ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ปีพ.ศ. 2540 ออกที่อาศรมเวฬุวัน จังหวัดเชียงราย สร้างไว้ก่อนท่านมรณะภาพ 3ปีเศษ
สัญลักษณ์ยันต์ "กงจักร" ด้านหลังพระ ความหมายที่แท้จริง ก็คือ จักรแก้วพระพุทธเจ้า อันเป็นอาวุธของพระพุทธเจ้าที่มี ความสำคัญที่สุด ใช้ปราบมาร ปราบสิ่งชั่วร้าย มีฤทธานุภาพสูงสุด ดวงแก้ว นั้นมีรัตนะเจ็ด คือ แก้ว 7 ประการ ดังนี้ คือ จักรแก้ว 1 ช้างแก้ว 1 ม้าแก้ว 1 ดวงแก้วมณี 1 นางแก้ว 1 คฤหบดี (ขุนคลัง) แก้ว 1 ขุนพล
ให้บูชา 450 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
เหรียญ รุ่น 2 สมเด็จพุทธโฆษาจารย์ ฟื้น หลังไพรีพินาศ วัดสามพระยา ปี 2522
เป็นเหรียญกะไหล่ทอง
ด้านหน้าเป็นรูปสมเด็จพุทธโฆษาจารย์(ฟื้น) วัดสามพระยา
ด้านหลังรูปพระเจ้าพรหมมหาราช
เหรียญ "สร้าง รร.สงเคราะห์คนจน" ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา เข้าพิธีพุทธาภิเษกวันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ 2522 ที่อุโบสถวัดสามพระยา นอกจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, หลวงพ่อฤาษีลิงดำ และหลวงปู่ครูบาธรรมชัยแล้วยังมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสุทัศน์และสมเด็จพระวันรัต วัดโสมนัสวรวิหารมาร่วมพิธีในครั้งนั้นด้วยครับ
เหรียญรุ่น 2 ไพรีพินาศ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ร่วมพิธีพุทธาภิเษก)
พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านจะให้ความเคารพต่อสมเด็จฟื้นเป็นอย่างมาก ทุกครั้งที่ทางวัดมีงานสำคัญๆหรืองานประจำปี หลวงพ่อจะนิมนต์ท่านมาร่วมงานด้วยเสมอๆ
สมัยที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ปรารภถึงสมเด็จฟื้นท่าน ไว้ว่า “ฉันอยู่ได้เพราะหลวงพ่อ วัดสามพระยา และสร้างวัดท่าซุงให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ เพราะอาศัยบุญคุณหลวงพ่อวัดสามพระยา คือเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์องค์ปัจจุบัน ฉะนั้นการทำบุญทำกุศลทุกอย่าง ฉันจะทุ่มเทไปหาวัดสามพระยาหนัก จิตใจฉันทุ่มเทอยู่ที่นั่นมาก ท่านก็มีความเมตตามากถึงแม้จะทำอะไรก็ตามที จะเท่ากับความดีที่ท่านให้ คือ ให้ชีวิตไว้นี้ไม่มีอีกแล้ว บุญคุณครั้งนี้ชำระเท่าไรก็ไม่หมด”
เหรียญสมเด็จฟื้นที่หลวงพ่อได้ร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วย มีอยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ
2) เหรียญสมเด็จฟื้น รุ่น2
เป็นเหรียญที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธาภิเษก ทำบุญกับสมเด็จฟื้นท่าน ด้านหน้าจัดสร้างเป็นรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินทโร) วัดสามพระยา ครึ่งองค์แบบหันข้าง ส่วนด้านหลังเป็นรูปพระเจ้าพรหมทรงช้างประกายแก้ว มีข้อความ “ไพรีพินาศ” อยู่ด้านล่าง หลวงพ่อพุทธาภิเษก เมื่อปี2522
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
-
หลวงพ่อชม หรือ พระ ครูวิสุทธิกิจจาทร วัดนพทองดี ศรีพฤฒาราม (วัดโป่ง) อ.บางละมุง ชลบุรี ท่านเป็นพระเก่งไม่ธรรมดา ขนาดมรณภาพแล้วตอนที่จะฉีดยากันศพเน่า ปรากฏว่าเข็มแทงไม่เข้า ต่อมาร่างกายของท่านแห้งไม่เน่าเปือย ในช่วงประมาณ เมย 2556 มีข่างดังในหนังสือพิมพ์ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่บางละมุง ถูกยิงถล่มด้วยปืนสงครามเข้าลำตัวหลายนัด ปรากฏว่าไม่ละคายผิว ในคอของผู้ใหญ่บ้านนี้มีพระเครื่องของ หลวงพ่อชม วัดโป่ง ห้อยติดอยู่ในพวงพระด้วยครับ จริงๆแล้วในพื้นที่แถวชลบุรี ชื่อเสียงหลวงพ่อชม วัดโป่ง ก็ดังพอสมควร เนื่องจากประวัติของท่านไม่ค่อยมีคนเขียนและเชียร์ ประกอบกับหลวงพ่อชม ไม่ค่อยเน้นสร้างวัตถุมงคลมากนัก ดังนั้นพระของท่านจะมีหมุนเวียนไม่กี่รุ่น หลวงพ่อชม มีวิชาอาคาขลังพอตัว ทราบว่าท่านเรียนวิชามาจากสายหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ หลวงพ่อวงศ์ วัดบ้านค่าย เป็นต้น
ประวัติย่อ
หลวงพ่อชม เป็นชาวบ้านโป่ง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เกิดเมื่อวันที่ 8 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2451 เมื่ออายุครบ 21 ปี ก็ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารเป็นเวลา 2 ปี เมื่อออกจากทหารแล้ว ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาในสังกัดมหานิกายที่ วัดนพทองดีศรีพฤฒาราม (วัดโป่ง) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2474 ได้รับฉายาว่า พระชม กสโร โดยมี พระครูธรรมมาธรโลขณะเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อบัว วัดนพทองดีศรีพฤฒาราม (วัดโป่ง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระอาจารย์ ไว เป็น พระอนุสาวนาจารย์ เมื่อท่านบวชได้ 12 พรรษาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโป่ง ซึ่งท่านก็ทุ่มเทแรงกายแรงใจ และแรงศรัทธา ชักจูงชาวบ้านในละแวกนั้นมาร่วมกันพัฒนาวัด นอกจากนี้หลวงพ่อชม ยังมีความรู้ในด้านสมุนไพรรักษาโรค และได้ช่วยเหลือประชาชนกำจัดปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ รักษาพยาบาลแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากด้วยความเมตตา หลวงพ่อชม เป็นพระสมถะ ไม่สะสมเงินทอง ทำวัตถุมงคลออกมาแต่ละรุ่นก็แบบรู้กันเฉพาะคนแถววัด ในช่วงปลายชีวิตมีนิตยสารพระเครื่องเอาประวัติของท่านมาลงบ้าง พอท่านเริ่มจะดังก็มามรณภาพลงเสียก่อน พวกนักเล่นพระที่เป็นนายทุนสร้างก็เลยอไม่ค่อยมาเกี่ยวข้อง พระเครื่องของท่านแม้ว่าจะยังไม่รู้จักกันกว้างมากนัก แต่คนในพื้นที่เจอจะเก็บกันหมด เพราะประสบการณ์เยี่ยมจิรงๆโดยเฉพาะด้านคงกระพัน แคล้วคลาด หลวง พ่อชม กสโร มรณภาพ เมื่อ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 อายุ 88 ปี นับพรรษาได้ 66 พรรษา
หลวงพ่อชมท่านเป็นพระที่เสกวัตถุมงคลได้เข้มขลังมาก สังเกตได้จากวัตถุมงคลของท่านแต่ละรุ่นล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์เกือบทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็น เหรียญ ผง โดยเฉพาะ ตะกรุดกับชานหมากท่านขลังมาก ขนาด อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร ยังนับถือ บางท่านอาจจะยังไม่รู้ว่าหมอสมสุข คงอุไรคือใคร (ผมจะเล่าประวัติหมอสมสุขให้ฟังย่อๆครับ)
อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร ศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก
คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก เริ่มก่อตั้งโดยอาจารย์หมอสมสุข คงอุไร เมื่อพ.ศ.2515ตอนนั้นยังใช้ชื่อคณะศิษย์รัศมีพรหม โดยตั้งตามคำพูดของหลวงพ่อพรหม ถาวโรวัดช่องแค จ.นครสวรรค์ หลังจากที่ปลุกเสกพระสมเด็จรุ่น ปืนแตก พ.ศ.2515 เมื่อปลุกเสกเสร็จท่านว่าพระรุ่นนี้มีรัศมีสว่างไสวเหมือนรัศมีของพรหม สว่างออกไปข้างละ 9 วา ดังนั้นอาจารย์หมอสมสุข คงอุไร จึงนำคำว่า รัศมีพรหมมาตั้งเป็นชื่อคณะ เมื่อหลวงพ่อพรหมมรณภาพลงในปี 2518 อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร ได้เจออาจารย์องค์ที่ 2 คือครูบาชุ่มโพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน ท่านจึงนำฉายาโพธิโก มาต่อท้ายคำว่า รัศมีพรหม จึงกลายมาเป็น“คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก” ครูบาอาจารย์ของหมอสมสุขคงอุไรคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกที่ถ่ายทอดหลักการปฎิบัติอานาปานสติอันสัมปะยุตต์ด้วยสมาธิ,ฌาน,อรูปฌาน,และวิปัสสนาญาณ ให้แก่อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร มีดังนี้
1.หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
2.ครูบาชุ่มโพธิโก วัดวังมุย จ.ลำพูน
3.ครูบาอินทรจักร อินทจักรโก วัดน้ำบ่อหลวง จ.เชียงใหม่
4.ครูบาพรหมา พรหมจักรโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน
5.ครูบาขันแก้ว อุตตโม วัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน
(ประวัติอาจารย์หมอสมสุข คงอุไรย่อๆครับ)
กลับมาต่อครับ อาจารย์หมอสมสุข คงอุไรท่านนับถือ หลวงพ่อชม มากๆ ถึงขนาดเคยบอกลูกศิษย์ท่านว่า หลวงพ่อชม วัดโป่ง ท่านเป็นพระปัฏิบัติดีและเข้มขลังในวิชาอาคมมาก ท่านสำเร็จธาตุ เสกอะไรก็ขลัง โดยเฉพาะ ตะกรุดและชานหมาก ท่านเข้มขลังมาก........
นอกจาก หลวงพ่อวงศ์ หลวงปู่อี๋ หลวงปู่ศุข หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อแช่ม และอีกหลายๆท่านทั้งฆาราวาสและพระสงฆ์นั้น อาจารย์อีกท่านหนึ่งที่หลวงปู่ชมท่านไปร่ำเรียนด้วย คือ หลวงปู่หิน วัดหนองสนม พระอริยะเจ้าผู้เคร่งครัดวินัยและเข้มขลังในวิชา แห่งจังหวัดระยอง (ผมจะขอเล่าประวัติและอภินิหารของหลวงปู่หินซะหน่อยนะครับ)
หลวงพ่อหิน เป็นพระที่หลวงพ่อสังข์เฒ่า บวชให้ โดยมี หลวงพ่อแอ่ววัดป่าประดู่เป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า “ถาวโร” หลังจากที่บวชแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดทับมาประมาณ พ.ศ. 2449
.......หลวงพ่อหิน ท่านได้เล่าเรียนวิชาอาคมต่างๆ จาก หลวงพ่อสังข์เฒ่า เนื่องจากอุปนิสัยของหลวงพ่อหินนั้นท่านเป็นคนดื้อและแข็งกร้าว เป็นคนอยากลองดี โดยเหตุที่พระอุปัชฌาย์ ของท่านเป็นพระที่ดุมาก มีระเบียบวินัยจัด ใครทำผิดวินัยแล้ว หลวงพ่อสังข์เฒ่าจะต่อว่าและดุด่าทีนที คนไหนที่ท่านดุด่าแล้วไม่รู้จักจำ ท่านจะไล่ออกจากนอกวัดทันทีแต่หลวงพ่อหินท่านไม่กลัวหลวงวพ่อสังข์เฒ่า ดุก็ดุไปถ้าท่านไม่ทำผิดวินัยซะอย่าง
.......เวลาวัดมีงานท่านก็ออกมาช่วยอะไรที่ไม่ดี ท่านก็ทำให้ดีขึ้น คาถาอาคมที่ตนเองเล่าเรียนมา ถ้าไม่รู้ท่านจะรีบถาม “หลวงพ่อสังข์เฒ่า” ทันทีจึงทำให้หลวงพ่อสังข์เฒ่าท่านรักหลวงพ่อหินมาก และก็ได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆ ให้หลวงพ่อหินจนหมด
มีอยู่ครั้งนึง หลวงปู่ทิม ได้เล่าว่า หลวงพ่อหินมีวิชาคงกระพันสูง สามารถปลุกเสกผ้าและหมากพลูให้เป็นสัตว์ต่างๆได้สมัยที่ท่านไปกราบหลวงพ่อหินที่วัดหนองสนม ได้สนทนาธรรมกับหลวงพ่อเคยเอ่ยถามหลวงพ่อหินว่า “เรื่องคาถาอาคมนั้นมีจริงหรือไม่? และท่านพ่อมีความเชื่อในด้านคาถาที่เกี่ยวกับเสกของให้เป็นสัตว์นั้นเป็นจริงหรือ?”
.......หลวงพ่อหิน ได้ฟังเช่นนั้นท่านก็ไม่ตอบได้แต่ยิ้ม สักพักหนึ่งท่านก็กวักมือทำเป็นเรียกตัวอะไรให้ออกมาจากใต้โต๊ะ ปรากฏว่าเป็นลูกหนูตัวหนึ่ง ซึ่งท่านเอามือเคาะที่พื้นเบาๆ ลูกหนูตัวนั้นก็วิ่งไปที่มือของท่านหลวงปู่ทิมเห็นเช่นนั้นก็มองดู สักพักหนึ่งปรากฏว่าลูกหนูที่อยู่ในมือหลวงพ่อหินกลายเป็นเส้นด้ายขดหนึ่ง
.......ท่านมองหลวงปู่ทิมและพูดว่า “คาถาอาคมที่เราถืออยู่ทุกวันนี้ ถ้าคิดว่าเป็นจริงมันก็จริง แต่คนที่จะทำถึงขั้นนี้ได้ ต้องฝึกจิตมาเป็นอย่างดี”
กลับมาต่อเรื่องหลวงปู่ชมนะครับ หลวงปู่ชมท่านได้เรียนวิชาจากหลวงปู่หินไว้พอสมควร แต่วิชาของหลวงปู่หินที่หลวงพ่อชมนำมาใช้อันเป็นที่ร่ำลือ คือวิชาถอนของและไล่ผี ............. ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
พระผงรูปเหมือนและพระสมเด็จเจ็ดชั้นหลังคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า ออกในงานผูกพัทธสีมา เป็นของดีที่น่าเก็บด้วยราคาไม่แพง
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อชมวัดโป่งนาเกลือปี 33 ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
-
เรื่อง หลวงปู่สด พระอรหันต์แห่งทุ่งบางไทร
( คนเล่าอาจารย์เจริญ โชชัยชาญ ปัจจุบันเป็น ข้าราชการบำนาญ เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สด ส่วนดิฉัน เป็นคนฟัง และเห็นว่าดี จึงนำมาถ่ายทอด เผยแผ่ บูชาพระคุณ หลวงปู่สด ธัมมวโร วัดโพธิ์แตงใต้ จังหวัดอยุธยา)
หลวงปู่สด ธัมมวโร วัดโพธิ์แตงใต้ ท่านเป็นพระดีที่ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จ พระสังฆราช วัดบวรนิเวศ ทรงให้ความเคารพนับถือ อย่างมาก อย่างยิ่ง เป็นการส่วนพระองค์ แม้หลวงปู่สด เจ็บป่วยด้วยโรคชรา ก็ทรงมีพระบัญชา ให้ หลวงปู่สด เป็นคนไข้ใน ความอนุเคราะห์ดูแลของ องค์สมเด็จ พระสังฆราชโดยตรง
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
ทรงเป็นพระ ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ ความเคารพนับถือ อย่างมาก อย่างยิ่ง เป็น การส่วนพระองค์ เลยทีเดียว
ในด้านพระปัญญา
ทรงเชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ทั้งฝ่ายเถรวาท( ผู้ปฏิบัติตามคำสอน ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างเคร่งครัด เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ คือ เข้าสู่พระนิพพาน)
และทรงเชี่ยวชาญ ในพระไตรปิฎก ฝ่ายมหายาน( ผู้ปฏิบัติ เพื่อสร้างบารมี เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ในอนาคต)
ในด้านการปฏิบัติ
ทรงเชี่ยวชาญ การเจริญ สมถะภาวนา และ วิปัสสนาภาวนา อย่างเยี่ยมยอด
แม้แต่ ท่าน เทนซิน เกียตโซ องค์ดาไลลามะ เป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 15 ของธิเบต นิกายวัชรยาน ทรงให้ความนับถือในองค์ สมเด็จพระญาณสังวร เป็นอย่างมาก ถึงกับเอ่ยปาก ให้ทุกคนได้ยินว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ท่านเป็นพี่ชายคนโตทางธรรมของข้าพเจ้า
แม้แต่ องค์กร สุดยอดผู้นำทาง พระพุทธศาสนา ทุกนิกาย ทั้งหมด
ทั่วโลกนี้ ตั้งอยู่ใน ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำทั้งหมดเหล่านั้น ทรงยกย่องให้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แห่งประเทศไทย เป็นผู้นำองค์กร สุดยอด ผู้นำ ทางพระพุทธศาสนา ในโลกแห่งนี้
หลวงปู่สด ท่านเกิดปี 2441 และ มรณภาพเมื่อ 2 ธันวาคม 2537 อายุ 96 ปี
ท่านบวชตั้งแต่เป็นเณรอายุ 18ปี
และบวชเป็นพระ ติดต่อกันมาจน ตลอดชีวิต กว่า 76 พรรษา (76 ปีในการเป็นพระ) เป็นผู้เจริญ จิตตภาวนามาตลอดชีวิต
พระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา ทุกนิกายในโลก มีมากมาย นับเป็นหลายๆล้านรูป
เฉพาะเมืองไทย ก็มีพระภิกษุสงฆ์เป็นแสนๆรูปแล้ว
ในจำนวนพระเป็นแสนๆรูป ก็มีพระ เพียงไม่กี่รูป ที่ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ
ทรง ให้ความเคารพนับถือ เป็นการส่วนพระองค์ เป็นอย่างยิ่ง
หนึ่งในนั้น นับรวม
หลวงปู่สด ธัมมวโร วัดโพธิ์แตงใต้ จังหวัดอยุธยา ด้วยรูปหนึ่ง
ถือได้ว่า เป็นประกาศนียบัตร รับรอง ความเป็น พระดี พระแท้ ของ หลวงปู่สด วัดโพธิ์แตงใต้ อย่างแท้จริง
###########
หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี ท่านเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อความเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคต
เคยแสดง ให้คนแถวบางไทร รับรู้ว่า พระอาจารย์สด วัดโพธิ์แตงใต้ พระหลวงปู่ พระหลวงตา พระบ้านนอกองค์นี้ ไม่ใช่พระธรรมดา ที่ใครๆจะมองข้าม ได้ง่ายๆ
ซึ่งแม้แต่หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งมีอายุพรรษา มากกว่า หลวงพ่ออุตตมะ ก็ยังให้ความเคารพนับถือ เรียกหลวงพ่ออุตตมะว่า ท่านอาจารย์
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย อดีตเจ้าอาวาส วัดป่าสาละวัน จังหวัดนครราชสีมา พระอริยสงฆ์องค์เอก ท่านเป็นลูกศิษย์ องค์สุดท้ายของ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งหลวงปู่เสาร์เป็น พระอาจารย์ของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม
ลพ.พุทธได้เคยเข้ากราบนมัสการ สนทนาธรรมกับ พระราชอุดมมงคล (หลวงพ่ออุตตมะ)เป็นการส่วนตัว หลวงพ่อพุธเคยกล่าวกับลูกศิษย์ของ ท่านว่า "หลวงพ่ออุตตมะท่านเป็น พระมหาโพธิสัตว์ผู้มากด้วยบารมี" (ลพ.อุตตมะท่านปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต)
รวมถึงพระผู้ใหญ่ สายท่านอาจารย์มั่น หลายๆท่าน ก็ให้ความนับถือ ในคุณธรรม ของหลวงพ่ออุตตมะ เช่นกัน
แม้แต่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ก็ทรงให้ความนับถือ ในคุณธรรมของ หลวงพ่ออุตตมะเช่นกัน
############
ครั้งหนึ่ง มีพิธีเสกพระใหญ่โต ที่วัดโพธิ์แตงเหนือได้นิมนต์ครูบา อาจารย์ชั้นนำ ที่มีคนรู้จักมาร่วม อธิษฐานจิตหลายท่าน แต่ มีเรื่องแปลก เกิดขึ้น เมื่อหลวงพ่ออุตตมะเข้ามาถึงพิธี ท่านได้ถามหาว่า พระอาจารย์สด วัดโพธิ์แตงใต้ ว่ามาถึงแล้วหรือยัง เมื่อรู้ว่าทางวัด ไม่ได้นิมนต์หลวงปู่สด มาร่วมงาน
หลวงพ่ออุตตมะ ถึงกับไม่ยอมเข้าโบสถ์ และขอให้ชาวบ้านแถวนั้นขับมอเตอร์ไซค์ พาลูกศิษย์ของท่าน มาที่วัดโพธิ์แตงใต้และ ให้กราบเรียนกับหลวงปู่สดว่า พระอุตตมะ ขออนุญาต มาเสกพระที่โบสถ์ วัดโพธิ์แตงเหนือ และกราบขอ นิมนต์ ให้ หลวงปู่สด ส่งจิตมา ร่วมอธิษฐาน เสกพระ ในพิธีครั้งนี้ด้วย
#####฿฿฿฿฿####
จำได้ว่าปีพ. ศ. 2535 ผมทำรูปถ่าย หลวงปู่สดขนาด 4P และรูปถ่าย ครูบาอาจารย ์อื่นๆอีกหลายท่าน นำไปขอบารมีให้ท่าน อธิษฐานจิตให้
ตอนนั้น ผมเชื่อมั่นในพลังจิตของ หลวงปู่สด อย่างมาก ขนาดเสก พระกริ่งจีนใหญ่ และ พระกริ่งชินบัญชร ที่อาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ มูลนิธิ หลวงปู่ทิม อิสริโก สร้างเมื่อปี 2530 ให้กับ หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ เป็นรุ่นแรก ถึงกับ พระกริ่งเคลื่อนไหวขยับตัวได้ พระที่
หลวงปู่สดท่าน เสกแล้ว อธิษฐานตัดรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้าให้ขาด ออกจากกันได้จริงๆ และ ยังมีอื่นๆอีกมาก
ตอนนั้นหนังสือพระเครื่องเกือบทุกเล่มได้มี ลงประวัติของหลวงปู่สด และมัก ใช้คำว่า
หลวงปู่สด วัดโพธิ์แตงใต้ เทพเจ้าแห่งบางไทร.
ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วผมชอบชื่อนี้มาก
ผมจึงเรียนกับท่านว่า หลวงปู่ครับ เวลาผมแจกพระเครื่องของหลวงปู่ ผมจะบอกคนที่ได้รับว่า นี่เป็นพระเครื่องของ
หลวงปู่สด วัดโพธิ์แตงใต ้จังหวัดอยุธยา ท่านคือ เทพเจ้าแห่งบางไทร
ปกติหลวงปู่ ท่านจะ ไม่ค่อยพูด แต่ครั้งนี้ ท่านพูดกับ ทันทีเลยว่า ใครบอกเธอ ปู่ไม่เคยพูด
ปู่บวชเข้ามาในศาสนา ของพระโคดม สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ศึกษา และ ปฏิบัติตาม คำสั่งสอน ของพระโคดม สัมมาสัมพุทธเจ้า การประพฤติ พรหมจรรย์ ของปู่ เพื่อการละขาด เพื่อการทำลาย เพื่อการสิ้นไป แห่งภพชาติ เท่านั้น
การได้บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ และ ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อหวังไปเกิด เป็นเทวดา เป็นเทพ เป็นพรหม ผู้มีฤทธิ์มาก มีศักดามาก แค่ไหนก็ตาม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงสรรเสริญ ถือเป็นการประพฤติพรหมจรรย์ที่ด่างพร้อย
##########
หลวงปู่ ไม่ใช่ เทพเจ้าแห่งบางไทร หลวงปู่เป็นพระหลวงตาแก่ๆ ธรรมดา เป็นพระบ้านนอก เป็นสงฆ์สาวกของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่หลวงปู่เป็นพระดี ดีเพราะ หลวงปู่ คิดดี พูดดี ทำดี หลวงปู่ ไม่ทำความเดือดร้อนให้ตัวเอง
ไม่ทำความเดือดร้อนให้วัด ไม่ทำความเดือดร้อนให้พระศาสนา ไม่ทำความเดือดร้อนให้กับชาติบ้านเมือง
เมื่อเธอได้พระเครื่องของหลวงปู่ไปแล้ว ขอให้เธอคิดว่า เราจะเดินตาม รอยเท้าของหลวงปู่สดไป
เราจะเป็นคนดี
ไม่ทำความเดือดร้อนให้ตัวเอง ไม่ทำความเดือดร้อนให้ครอบครัว ไม่ทำความเดือดร้อนให้ที่ทำงาน
ไม่ทำความเดือดร้อนให้กับชาติบ้านเมือง
เริ่มจาก การรักษาศีล 5 รู้จักให้ทาน ในเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนถึง สัตว์เดรัจฉาน ที่เขาลำบาก ให้เขาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
รู้จักการสวดมนต์ รู้จักการเจริญภาวนา ทำได้อย่างนี้แล้ว
ชีวิตของเธอ ก็จะประสบแต่ความสุข ประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ตามความปรารถนาของเธอ ที่ได้ตั้งใจเอาไว้
##############
ในความรู้สึกของข้าพเจ้าแล้ว (อาจารย์เจริญ) หลวงปู่สด ธัมมวโร วัดโพธิ์แตงใต้
อ. บางไทร จ. อยุธยา
ท่านไม่ใช่เป็น
เทพเจ้าแห่งบางไทร
เพราะการประพฤติพรหมจรรย์ของท่าน เลยสิ่งเหล่านี้ไปแล้ว
แต่ท่านเป็น
หลวงปู่สด ธัมมวโร วัดโพธิ์แตงใต้
พระอรหันต์ แห่งทุ่งบางไทร
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสั่งสอนของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ
“บุญมีอยู่ในบุคคลใด ในที่ใด บุคคลนั้น ที่นั้นก็มีสุข แม้จะขัดข้องบ้าง ก็ไม่นาน เพราะบุญเป็นสิริที่ชักนำโภคสมบัติทั้งปวง
บุญก็คือความดี
บุญกิริยาการทำบุญก็คือทำความดี โดยย่อมี ๓ คือ
(๑) ทาน การให้ การบริจาค เพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ บูชา เพื่อกำจัดความโลภความตระหนี่ในจิตใจ
(๒) ศีล ความประพฤติเป็น ปกติเรียบร้อยดีงามทาง กาย วาจา ด้วยความตั้งใจงดเว้นความประพฤติชั่ว ประพฤติผิดต่าง ๆ เป็นเครื่องกำจัดโทสะในจิตใจ
(๓) ภาวนา ความอบรมใจให้สงบตั้งมั่น อบรมปัญญาให้รู้เห็นถูกต้องตามเป็นจริง เป็นเครื่องกำจัดโมหะความหลงในจิตใจ...”
.
---- โอวาทธรรมของ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
อ่านแล้วพิจารณาดูให้ดี จะเห็นว่า พระธรรมคำสั่งสอนของ
หลวงปู่สด ธรรมวโร กับ สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช
สอนเบื้องต้น แก่บุคคลทั่วไป
ความหมายนัยยะเดียวกันเลยจ้า
สาธุสาธุจ้า
ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
เหรียญแจกแม่ครัวหลวงปู่สดวัดโพธิ์แตงใต้รุ่น๓ ปี๒๕๒๓ ให้บูชา บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
หน้า 63 ของ 103