เสาหิน เมืองในหุบเขาสาละวิน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 18 ธันวาคม 2005.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>เสาหิน เมืองในหุบเขาสาละวิน

    - ประสิทธิ์ ทองหล่อ เครือข่ายเยาวชนสบเมย



    </TD><TD vAlign=top align=right>
    [​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]



    เส้นทางลัดเลาะไปตามลำห้วยแม่แงะ ที่ไหลจากเขตรอยต่อไทยกับพม่า ในต.เสาหิน อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นสายเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชุมชน 26 กว่าหย่อมบ้าน ที่เรียงรายตามสองข้างลำห้วย

    ลำห้วยเล็กๆ ที่คอยเติมปริมาณน้ำไม่ต่ำกว่า 20 ลำห้วย ก่อนลงสู่แม่น้ำสาละวิน ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำไร่ข้าว สวนพริก คนไม่มีสวน ไม่มีนาก็รับจ้างทั่วไป ตลอดการเดินทางตามลำห้วยจะเห็นฝายไม้ ที่ชาวบ้านร่วมแรงกันทำ เพื่อผันน้ำเข้านาเรียงกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามลำห้วย

    ชาวบ้านบอกว่า ถ้านับฝายทั้งหมดทั้งห้วยแม่แงะ และห้วยสาขา มีไม่ต่ำกว่า 60 ฝาย มีลำเหมืองที่ขุดดินเป็นร่องส่งน้ำเข้านา มีตาแหลวปักไว้ตรงหัวฝายแทบทุกฝาย บ่งบอกถึงการขอบคุณผีป่า ผีน้ำ ที่ให้ความสมบูรณ์ในการดำรงชีวิต แสดงถึงภูมิปัญญาความเชื่อของชาวบ้านในการจัดการน้ำ

    ลำห้วยสายเดียวแต่ต้องขับรถข้ามวกไปวกมา 30 กว่ารอบ หลังปิดสัมปทานป่าไม้ ถนน แม่น้ำ และผืนป่าสาละวินแห่งนี้ดูจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติของความเป็นป่าเขา ก่อนที่เคยพลุกพล่านด้วยพ่อค้า รถชักลากไม้

    ปัจจุบันเหลือแต่ตอไม้สัก ซากรถลากไม้ไว้เป็นอุทธาหรณ์ และพื้นที่ป่าแห่งนี้ได้รับประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน มีเพียงพ่อค้าวัวควายจากในเมืองเข้าไปต้อนวัวควายที่ข้ามเขตแดนมาไปสู่โรงฆ่าสัตว์

    การเดินทางจากแม่สะเรียงไปบ้านเสาหิน ระยะทางร่วม 100 กิโลเมตร ใช้เวลาโดยรถยนต์ประมาณ 4 ช.ม.

    ประชากรส่วนใหญ่ เป็นกะเหรี่ยง คนเมือง และไทยใหญ่ ความเป็นวิถีชนเผ่าของผู้คนในต.เสาหินยังคงเอกลักษณ์ ทั้งด้านการแต่งกาย ภาษาพูด ท่ามกลางป่าเขาได้อย่างงดงาม ตำนานอันยาวไกลดั่งการเดินทางของเสาหินที่ตั้งอยู่บนเส้นพรมแดนไทย-พม่า เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทั้งสองแผ่นดิน

    ผู้เฒ่าเล่าตำนานของเสาหินว่า "ผู้ก่อตั้งบ้านเสาหิน เป็นคนเผ่ากะเหรี่ยง และคนเมือง คนเมืองที่มาตั้งรกรากก่อนคือ พ่อเฒ่าแก้ว กับพ่อเฒ่าจันทร์ พ่อค้าวัวมาตั้งบ้านเรือนที่บ้านเสาหินปัจจุบัน ส่วนคนกะเหรี่ยง มี อะพือ (พ่อเฒ่า) เหย่อพอ กับ อะพี (แม่เฒ่า) หน่อชู และอะพือผาแล มาตั้งบ้านเรือนที่หย่อมบ้านใหม่อยู่ติดๆ กัน เรียกว่าบ้านเสาหิน เรียกตามเสาหินที่เกิดจากธรรมชาติ คล้ายๆ ดินที่ทรุดและเหลือเสาโด่ขึ้นมา 6 เสา

    "ชาวบ้านเชื่อว่าแต่ก่อนเป็นบ้านคน แต่แผ่นดินทรุดคนตาย เหลือแต่เสา ทุกวันออกพรรษา จะได้ยินเสียงฆ้องเสียงกลองดังมาจากเสาหิน เสาหินห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 กิโล ก็ยังได้ยินอยู่ 1 ปีได้ยิน 1 ครั้ง เสาหินจึงเป็นที่เคารพสักการบูชา ของชาวบ้านมาตลอด"

    ตามหลักความเชื่อที่สืบทอดกันมา เสาหินไม่ใช่ของแผ่นดินไหน แต่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทั้งสองแผ่นดิน



    ต.เสาหิน เป็นดั่งเมืองลับแลที่รอการค้นพบ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไร้สัญชาติ แต่ประวัติชุมชน หรือหลักฐานของชุมชน แสดงให้เห็นว่าเป็นชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานมายาวนาน และมีความมั่นคงถาวร เฉลี่ยแล้วคนที่ยังไม่มีสัญชาติ ไม่มีสถานะมีทุกบ้าน

    "การเดินทางของชาวบ้านลำบาก ยิ่งหน้าฝนรถวิ่งไม่ได้ ต้องเดินอย่างเดียว สาเหตุที่คนไม่มีสัญชาติ หรือตกหล่น มีบางคนที่เข้าเมืองมาจากพม่า คนกลุ่มนี้ไม่มีสถานะอะไร ไม่ได้รับการสำรวจ แต่เข้ามานานแล้ว พอแต่งงานมีลูก ก็ไม่กล้าไปแจ้งเกิด ลูกก็เลยตกหล่น การเดินทางไปแจ้งเกิดใช้เวลาหลายวัน และยังต้องมีค่าใช้จ่ายอีก

    "แต่ก่อนยังถือว่าดีที่ทางการให้ผู้ใหญ่บ้าน กำนันแจ้งเกิดแทนได้ แต่เดี๋ยวนี้พ่อ แม่ต้องไปแจ้งเอง บ้านเสาหิน หมู่ที่ 1 มี 5 หย่อมบ้าน ประชากรรวม 1,118 คน แบ่งที่มีสัญชาติกับไม่มีสัญชาติ ประมาณครึ่งต่อครึ่ง ที่ผ่านมามีการสำรวจข้อมูลทุกปี สำรวจแล้วก็ส่งอำเภอ" ผู้ใหญ่บ้านเสาหิน เล่าสถานการณ์

    วันนี้เส้นทางที่ทอดยาวไปตามลำห้วยแม่แงะ กลับมาคึกคักขึ้นอีก เสาหินยืนต้อนรับผู้มาเยือน เพื่อเปิดจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าที่สันเขต น้ำมัน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผงชูรส ส่งสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่วัว ควาย งา พริก เดินทางเข้ามาสู่บ้านเรา

    การเจรจาธุรกิจเกิดขึ้นโดยพ่อค้าต่างถิ่นเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านที่อยู่ใกล้จุดผ่อนปรนได้ขายของให้ผู้คนผ่านไปมาบ้าง บางคนรับจ้างขนของขึ้นรถ ลงรถ รับจ้างต้อนวัว ควาย ดูแล้วเป็นลูกจ้างแรงงานที่ได้ค่าแรงน้อยนิดเมื่อเทียบกับธุรกิจทั้งหมด

    สิ่งที่จะตามมาจากความวิตกของเกษตรกรไทยทั่วไป คือการทะลักเข้ามาของพืชผลจากประเทศเพื่อนบ้านมากเกินไป เช่น พริกพืชผลที่เป็นรายได้หลัก ชาวบ้านมีรายได้ครั้งเดียวคือขายพริก ที่ผ่านมายังไม่ได้เปิดจุดผ่อนปรนพริกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามามีราคาถูกกว่า พริกเกษตรกรที่มีต้นทุนสูง ขายไม่ได้ หนี้สินที่พะรุงพะรังจากกองทุนต่างๆ ก็ทับถมมากขึ้นเรื่อยๆ ชาวบ้านยังมืดมนมองไม่เห็นลู่ทางที่ดี

    ต่อไปนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปเที่ยวประเทศเพื่อบ้านคงสะดวกขึ้น สามารถขออนุญาตเข้าออกจากจุดผ่อนปรนนี้ได้ หลังเปิดจุดผ่อนปรน วัวเริ่มออกเดินทางจากสันเขตเป็นชุดแรกแห่งฤดูกาลนี้ สาวกะเหรี่ยงคนต้อนวัว เล่าว่า "มาไล่ต้อนวัวกับพี่ชาย เขาให้ไล่คนละ 8 ตัว 2 คนช่วยกันไล่ก็ 16 ตัว ได้ค่าจ้างเที่ยวละ 1,000 บาท ค่าอาหารคนละ 160 บาท ต้องนอนในป่าระหว่างทาง 3 คืน เอาวัวไปส่งบ้านแม่ต๊อบ ใกล้กับแม่สะเรียง คนที่ต้อนวัวมีหลายคน ต้องมีคิว โดยทหารจะจัดคิวให้ จะได้กี่รอบก็ขึ้นอยู่กับวัว ควาย ว่ามีเยอะมั๊ย"

    การดำเนินธุรกิจยังเดินหน้าต่อไป เสาหินต้องต้อนรับผู้มาเยือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในคืนเดือนเพ็ญวันออกพรรษาจะยังมีเสียงฆ้องเสียงกลองก้องกังวานที่สันเขตแดน น้ำแงะจะยังไหลหล่อเลี้ยงชุมชนอยู่หรือไม่ เมื่อเขื่อนสาละวินเกิดขึ้น

    ชีวิตผู้คนอันหลากหลายในซอกหุบเขา จะเป็นเช่นไรในอนาคต ยังเป็นปริศนาที่ยากจะค้นพบ





    ที่มา : khaosod
     

แชร์หน้านี้

Loading...