เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๗

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 6 มิถุนายน 2024.

  1. iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๗


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    วันนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นวันพระสิ้นเดือน แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อเช้ามืดได้รับอนุญาตจากพระท่าน ให้จัดงานบวงสรวงไหว้ครูเป่ายันต์เกราะเพชรได้ ซึ่งจะมีเสาร์ ๕ อีกครั้งหนึ่งประมาณเดือนกันยายนนี้ แล้วขณะเดียวกันก็ได้ขออนุญาตสร้างเหรียญนาคเกี้ยวกันภัยขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง สำหรับบรรดาท่านทั้งหลายที่จะร่วมบุญกฐินกับวัดท่าขนุน

    คราวนี้ในส่วนหนึ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านเตือนเอาไว้ก็คือว่า ตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป ภาวะสงครามจะรุนแรงขึ้น ก็แปลว่าเราท่านทั้งหลายถ้าเป็นนักบวช หน้าที่ของเราก็คือเจริญพระกรรมฐาน แผ่เมตตา ขอให้สัตว์โลกทั้งหลายอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ส่วนญาติโยมทั้งหลายก็ต้องภาวนาเพื่อตัวเอง ใครมีวัตถุมงคลที่มั่นใจ มีคาถาอาราธนาอย่างไร ก็ว่าเสียให้เต็มที่ไว้ทุกวัน..!

    ส่วนเมื่อเช้านี้มีพระใหม่ลาสิกขา ซึ่งกระผม/อาตมภาพก็แปลกใจว่าไม่มีใครแนะนำท่านเลยหรือว่า วันพระข้างแรมสิ้นเดือน โดยปกติแล้วไม่มีใครเขาทำกิจการงานอะไร ยิ่งโบราณแล้วยิ่งถือสามาก เพราะว่าเป็นวันเดือนขาด เป็นวันเดือนดับ แล้วขณะเดียวกันวันรุ่งขึ้น ก็คือพรุ่งนี้ เป็นวันอมฤตโชค ต้องบอกว่าเป็นฤกษ์ซึ่งดีที่สุด แต่กลับไม่ทนอีกวันหนึ่ง แม้จะทักท้วงไปแล้ว ท่านก็ยังมุ่งมั่นที่จะสึก จึงต้องปล่อยไปตามเวรตามกรรม..!

    ในเรื่องของการบวชนั้น เราจากที่ร้อนมาสู่ที่เย็น ไม่จำเป็นต้องดูฤกษ์ก็ได้ เร็วเท่าไรก็ดีเท่านั้น แต่การสึกหาลาเพศนั้น เราออกจากที่เย็นไปสู่ที่ร้อน ถ้าไม่ลำบากมากนัก ก็ดูฤกษ์ดูยามเสียนิดหนึ่ง

    เนื่องเพราะว่าฤกษ์ยามนั้น กระผม/อาตมภาพเคยเปรียบไว้ว่าเหมือนกับคนข้ามถนน คนเก่ง ๆ สามารถข้ามถนนตอนที่รถมาก ๆ ก็ได้ แต่ถ้าวันไหนพลาดก็สวัสดี ดังนั้น..คนที่ไม่ประมาทก็ต้องเลือกเอาตอนที่ถนนว่างจากรถยนต์แล้วค่อยข้าม ก็คือดูฤกษ์ยามเสียเล็กน้อย
     
  3. iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    โดยเฉพาะฤกษ์ที่กระผม/อาตมภาพใช้อยู่ก็คือฤกษ์พรหมประสิทธิ์ ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งวัน ไม่จำกัดด้วยเวลา หลายท่านที่มาทีหลังอาจจะไม่รู้ ก็คือ

    ถ้าเป็นวันอาทิตย์ ขึ้นหรือแรม ๘ ค่ำเป็นฤกษ์อมฤตโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๔ ค่ำเป็นฤกษ์มหาสิทธิโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๑ ค่ำเป็นฤกษ์สิทธิโชค

    ถ้าเป็นวันจันทร์ ขึ้นหรือแรม ๓ ค่ำเป็นอมฤตโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๒ ค่ำเป็นมหาสิทธิโชค
    ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำเป็นสิทธิโชค

    ถ้าเป็นวันอังคาร ขึ้นหรือแรม ๙ ค่ำเป็นอมฤตโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๓ ค่ำเป็นมหาสิทธิโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๔ ค่ำเป็นสิทธิโชค

    ถ้าเป็นวันพุธ ขึ้นหรือแรม ๒ ค่ำเป็นอมฤตโชค
    ขึ้นหรือแรม ๔ ค่ำเป็นมหาสิทธิโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๐ ค่ำเป็นสิทธิโชค

    สำหรับวันพฤหัสบดี ขึ้นหรือแรม ๔ ค่ำเป็นอมฤตโชค
    ขึ้นหรือแรม ๗ ค่ำเป็นมหาสิทธิโชค
    ขึ้นหรือแรม ๙ ค่ำเป็นสิทธิโชค

    สำหรับศุกร์ ขึ้นหรือแรม ๑ ค่ำเป็นอมฤตโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๐ ค่ำเป็นมหาสิทธิโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๑ ค่ำเป็นสิทธิโชค

    สำหรับวันเสาร์ ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำเป็นอมฤตโชค
    ขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำเป็นมหาสิทธิโชค
    ขึ้นหรือแรม ๔ ค่ำเป็นสิทธิโชค


    เพียงแต่ท่านบอกว่าวันเสาร์ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำไม่ควรทำการมงคลใด ๆ ยกเว้นงานพุทธาภิเษก หรือว่าถ้าจะขึ้นบ้านใหม่ให้เลือกวันศุกร์ อย่าใช้ฤกษ์วันอาทิตย์ ถ้าจะออกรถออกเรือเพื่อทำมาหากิน ออกวันพฤหัสบดี เอาไปประเดิมใช้วันอาทิตย์ หรือว่าออกวันอาทิตย์ ไปประเดิมใช้วันพฤหัสบดี
     
  4. iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    เรื่องพวกนี้ถ้าเราจดจำได้ก็เป็นสมบัติติดตัวเราไปตลอดชีวิต ปกติแล้วฤกษ์พรหมประสิทธิ์นั้น สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษี ฯ วัดท่าซุงท่านได้ให้เอาไว้ มีไม่ครบถ้วนอย่างที่กระผม/อาตมภาพว่ามา ท่านเองไปได้มาก็มีฤกษ์อยู่แค่ใบลานใบเดียว แล้วท่านก็อุตส่าห์เข้าหอสมุดแห่งชาติไปค้นคว้า หามาจนกระทั่งได้ครบ ๗ วัน

    แต่เมื่อญาติโยมหรือพระมาถาม ท่านก็บอกเฉพาะฤกษ์นั้นบ้าง ฤกษ์นี้บ้าง แล้วโดยเฉพาะเมื่อกระผม/อาตมภาพมาศึกษาค้นคว้าจนครบถ้วนแล้ว เห็นท่านให้ฤกษ์บุคคลหนึ่งเป็นฤกษ์สมตน คือ เสมอตัว จึงกราบเรียนถามหลวงพ่อท่านว่า "ทำไมให้แค่ฤกษ์สมตนครับ ?" ท่านบอกว่า "บางคนสร้างบุญมาน้อย ของดีเกินบุญไม่ใช่ว่าจะดีสำหรับเขา ถ้าหากว่าเขาแบกข้าวสารได้ ๕๐ กิโลกรัม เราโยนข้าวสารกระสอบละ ๑๐๐ กิโลกรัมไปให้ก็โดนทับตาย..!"

    ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพก็มาลังเลสงสัย เพราะว่าศึกษาฤกษ์หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ที่เกี่ยวกับ "วันลาภ - วันชัย" เอาไว้ มาสงสัยว่าถ้าคนที่วันลาภหรือว่าวันชัย ตกวันเสาร์ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำ แล้วจะทำอย่างไร ? เพราะท่านบอกว่าห้ามทำการมงคลใด ๆ นอกจากพุทธาภิเษก ?

    เมื่อไปค้นคว้าถึงได้รู้ว่าแต่ละฤกษ์นั้นจะมีทั้ง อมฤตโชค มหาสิทธิโชค สิทธิโชค หรือว่าฤกษ์สมตน ฤกษ์กาลกิณี ฤกษ์มรณะ เป็นต้น ในเมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็เว้นวันเสาร์ขึ้นหรือแรม ๕ ค่ำ ไปใช้วันเสาร์ ขึ้นหรือแรม ๑๕ ค่ำ หรือว่าขึ้นหรือแรม ๔ ค่ำแทนก็ได้ ใหม่ ๆ เมื่อค้นคว้ามาได้และนำไปเผยแพร่ ปรากฏว่าพระพี่พระน้องในวัดอยู่ในลักษณะที่ว่า "แอนตี้" ไม่ยอมรับ พูดง่าย ๆ ว่า "ครูบาอาจารย์ให้เท่าไร กูพอใจแค่นั้น" ซึ่งไม่ใช่สันดานของกระผม/อาตมภาพ

    ถ้าท่านทั้งหลายได้ฟังเสียงธรรมตามสายของวัดท่าขนุนตลอดทุกวัน ก็จะได้ยินที่หลวงพ่อฤๅษี ฯ ท่านเล่าว่า ตอนท่านเรียนนักธรรมชั้นตรี คนอื่นถือหนังสือแค่ ๔ เล่ม แต่ของท่านเองแบกสามแบกยังไม่หมดเลย..! เพราะว่าใน ๔ เล่มนั้น อ้างถึงหนังสือเล่มไหน ท่านก็ไปค้นคว้ามาอ่านทั้งหมด ในเมื่อพ่อมีนิสัยช่างค้นคว้าขนาดนั้น ท่านอาจจะทิ้งปัญหาไว้ให้ ดูว่ามีลูกคนไหนจะค้นคว้าแบบท่านบ้าง ? แล้วก็อาจจะเป็นที่น่าเสียดายว่า มีกระผม/อาตมภาพไปไล่ค้นอยู่คนเดียว..!

    แม้กระทั่งในเรื่องของการภาวนาพระคาถาเงินล้านก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็มาคิดว่าในสมัยหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค มีนายห้างประยงค์ ตั้งตรงจิตร มีนายเฉลิม คงทอง เป็นตัวอย่างให้ท่านยกให้คนอื่นว่า ทำพระคาถาพระปัจเจกโพธิโปรดสัตว์ขึ้น ก็คือทำแล้วร่ำรวย แล้วมายุคนี้สมัยนี้ พระท่านเพิ่มให้จนเป็นพระคาถาเงินล้านไปแล้ว จะไม่มีใครทำเป็นตัวอย่างเลยหรือ ? แล้วก็เกิดมานะขึ้นมาว่า "ในเมื่อไม่มีใครทำ เราก็ทำเสียเอง..!"
     
  5. iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,379
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,528
    ค่าพลัง:
    +26,366
    ตอนช่วงนั้นที่ทำจริงทำจังอยู่ ก็เห็นมีท่านเจ้าคุณหลวงตาวัชรชัย (พระราชภาวนาพัชรญาณ วิ.) เจ้าอาวาสวัดเขาวง (ถ้ำนารายณ์) ท่านเพิ่มจาก ๙ จบมาเป็น ๓๐ จบ เพราะว่าตอนนั้นท่านติดในพระคาถาบารมี ๓๐ ทัศ กระผม/อาตมภาพเพิ่มตาม แล้วก็รู้สึกว่าน้อยไป เนื่องเพราะว่าภาวนาแค่ ๓๐ จบ ยังมีเวลาให้ฟุ้งซ่านอีกมากมาย จึงเพิ่มเป็น ๑๒๐ จบ แต่ก็ยังไม่ตรงกับกำลังใจ เพิ่มเป็น ๓๐๐ จบ เพิ่มเป็น ๖๐๐ จบ เพิ่มเป็น ๙๖๐ จบ ไล่ขึ้นไปเรื่อย

    จนกระทั่งท้ายสุดไปทดสอบที่ ๑,๒๐๐ จบต่อวัน ไม่ใช่การเร่งภาวนาให้ครบ ๆ ไป แต่เป็นการตั้งใจภาวนาตามลมหายใจเข้าออกเลย โดยที่เริ่มตั้งแต่ตี ๓ ไปเลิกเอา ๑ ทุ่มของทุกวัน ได้มากที่สุด ๑,๒๐๐ จบ มากกว่านั้นก็ไม่ไหว การงานไม่ต้องทำกันพอดี..!

    ท้ายสุดปรับไปปรับมาก็มาลงตัวที่ ๓๐๐ จบ ทำอยู่ ๓ ปีเต็ม ๆ นับลูกประคำจนขาดไปนับครั้งไม่ถ้วน จากประคำลูกหวายก็กลายเป็นแก้วไปเลย..! แล้วหลังจากนั้น เมื่อมาแนะนำท่านทั้งหลายว่าให้ภาวนา ๑๐๘ จบ นั่นเป็น "เรื่องจิ๊บ ๆ" สำหรับกระผม/อาตมภาพเลย..!

    ดังนั้น..เรื่องพวกนี้ ถ้าหากว่าเราไม่ช่างค้นคว้าก็ตามรอยครูบาอาจารย์ไป แต่ถ้าช่างค้นคว้าอาจจะได้อะไรดี ๆ ขึ้นมาอีกมาก เนื่องเพราะว่าช่วงนั้นเมื่อภาวนาทั้งวันทั้งคืน โอกาสที่จะฟุ้งซ่านก็ไม่มี บางครั้งสามารถทรงฌานได้ต่อเนื่องได้ ๒ เดือนกว่า ๓ เดือน โดยไม่หลุดเลยทั้งกลางวันกลางคืน จึงเป็นเรื่องที่ท่านทั้งหลายเอาไปพินิจพิจารณาดู ว่าเราควรจะทำเท่าไรจึงเหมาะแก่ตนเอง แต่ขอย้ำว่า เรื่องของคาถานั้น ต้องจริงจังและสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำ ๆ ทิ้ง ๆ

    สำหรับวันนี้ก็บอกกล่าวแก่พระภิกษุ สามเณรของเรา และญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพฤหัสบดีที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     

แชร์หน้านี้