เหตุที่ทำให้อายุสั้น-อายุยืน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย f-35, 18 กันยายน 2011.

  1. f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    พระสูตรที่1​
    [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุสั้น ๕
    ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    บุคคลไม่เป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑
    ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
    บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑
    เป็นผู้เที่ยวในกาลไม่สมควร ๑
    ไม่ประพฤติเพียงดังพรหม(การเจริญเมตตา,กรุณา,มุทิตา,อุเบกขา)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕ ประการ
    เป็นไฉนคือ
    บุคคลเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑
    รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
    บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑
    เป็นผู้เที่ยวในกาลสมควร ๑
    เป็นผู้ประพฤติเพียงดังพรหม(การเจริญเมตตา,กรุณา,มุทิตา,อุเบกขา)
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ประการนี้แลเป็นเหตุให้อายุยืน ฯ
    ความหมายของการเป็นผู้ประพฤติเพียงดังพรหม
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ถึงความเป็นพรหม เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. !
    ภิกษุในกรณีนี้ แผ่จิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา สู่ทิศที่หนึ่งทิศที่สอง ที่สาม และที่สี่ โดยลักษณะอย่างเดียวกันตลอดโลกทั้งสิ้น ในที่ทั้งปวงทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และด้านขวาง, ด้วยจิตอันประกอบด้วยเมตตา, กรุณา,มุทิตา, อุเบกขา อันไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เป็นจิตกว้างขวาง ประกอบด้วยคุณอันใหญ่หลวงหาประมาณมิได้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ผู้ถึงความเป็น
    พรหม ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.

    พระสูตรที่2
    [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุ
    สั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    บุคคลย่อมไม่กระทำความสบายแก่ตนเอง๑
    ไม่รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
    บริโภคสิ่งที่ย่อยยาก ๑
    เป็นคนทุศีล๑
    มีมิตรเลวทราม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุสั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นเหตุให้อายุยืน ๕
    ประการเป็นไฉนคือ
    บุคคลย่อมเป็นผู้ทำความสบายแก่ตนเอง ๑
    รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย ๑
    บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ๑
    เป็นผู้มีศีล ๑
    มีมิตรดีงาม ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุให้อายุยืน ฯ
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๒
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
    หน้าที่ ๑๓๐/๔๐๗หัวข้อที่ ๑๒๕-๑๒๖

     
  2. f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=dlCIndZNmw8]พุทธวจน-วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน - YouTube[/ame]
     
  3. f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    ผลของการมีศีล
    ภิกษุ ท. ! สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้มีกรรมเป็นของตนเป็นทายาท แห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรมใดไว้ ดีก็ตามชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น.
    ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ละปาณาติบาตเว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้ วางศัสตรา มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณาเกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย. เขาไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) กาย ไม่กระเสือกกระสนด้วย(กรรมทาง) วาจา ไม่กระเสือกกระสนด้วย (กรรมทาง) ใจ ;กายกรรมของเขาตรง วจีกรรมของเขาตรง มโนกรรมของเขาตรง : คติของเขาตรงอุปบัติของเขาตรง.
    ภิกษุ ท. ! สำหรับผู้มีคติตรง มีอุปบัติตรงนั้นเรากล่าวคติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาคติสองอย่าง แก่เขาคือเหล่าสัตว์ผู้มีสุขโดยส่วนเดียว หรือว่าตระกูลอันสูงตระกูลขัตติยมหาศาล ตระกูลพราหมณ์มหาศาลหรือตระกูลคหบดีมหาศาลอันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
    มีทองและเงินมาก มีอุปกรณ์แห่งทรัพย์มาก....
    (ในกรณีแห่งบุคคลผู้ไม่กระทำอทินนาทานไม่กระทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ตรัสไว้ด้วยข้อความอย่างเดียวกันกับในกรณีของผู้ไม่กระทำปาณาติบาตดังกล่าวมาแล้วข้างบนทุกประการ)
    ทสก. อํ. ๒๔/๓๑๑/๑๙๓.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    มาณพ ! บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม ละปาณาติบาตแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตราได้ มีความละอายถึงความเอ็นดู อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่ เขาตายไป จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนั้น
    อันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลังจะเป็นคนมีอายุยืน.
    อุปริ. ม. ๑๔/ ๓๗๖ /๕๗๙.
     

แชร์หน้านี้