ตามหลักฐาณทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้า เคยตรัสว่า คนที่ท่องเที่ยวในสังสารวัฏนั้น เคยเกิดเป็นชายเป็นหญิงมาบ้างแล้วอย่างนับไม่ถ้วน บางชาติเป็นชาย บางชาติเป็นหญิง ความสัมพันธุ์ของบุคคลหรือวิญญาณที่ท่องเที่ยวในสังสารวัฏด้วยกันนั้นมีอยู่แทบทุกแบบ คือเคยเป็นสามีภรรยากันบ้าง เคยเป็นบุตรธิดามารดากันบ้าง เคยเป็นมิตรเป็นศัตรูกันบ้าง สายใยชีวิตแห่งมนุษย์จึงดูยุ่งยากที่จะสะสางได้ คนที่เคยรักกันอย่างดูดดื่มก็จะถูกชักนำให้มาพบกันชาติแล้วชาติเล่าในลักษณะต่างๆ เช่น พ่อแม่ พี่น้อง คนรัก ทั้งนี้เพื่อให้ความรักขึ้นสู่ขั้นสมบูรณ์ในทุกๆด้าน
อนึ่ง ที่ต้องเกิดเป็นชายบ้างหญิงบ้าง ก็เพื่อหาประสบการณ์ให้กับวิญญาณ อุปนิสัยของเราจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อ ได้เป็นเพศต่างๆมาแล้วสลับกัน เมื่อใดเราถึงขั้นสูงสุดของวิวัฒนาการของมนุษย์ เมื่อนั้นอุปนิสัยของเราจะเป็นแบบสมบูรณ์ คือมีพร้อมทั้งลักษณะของหญิงและชาย ถ้าสังเกตุจะเห็นว่า คนที่ทำประโยชน์มากๆให้แก่โลกนั้น ล้วนมีลักษณะทั้ง 2 คือ มีลักษณะของหญิงและชายผสมกลมกลืนในคนคนเดียวกัน เช่น ความอ่อนโยน ( ลักษณะของหญิง ) ความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ( ลักษณะของชาย ) ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ( ลักษณะของหญิง ) ความยุติธรรม ( ลักษณะของชาย ) การต้องมีอะไรทำอยู่เสมอ ( ลักษณะของหญิง ) การทำจริง ทำอย่างทุ่มเททนทาน ( ลักษณะของชาย )
ลักษณะเหล่านี้เมื่อแยกกันอยู่จะไม่ให้ประโยชน์มากนัก แต่เมื่ออยู่รวมกันในคนคนเดียว ก็จะได้ส่วนที่พอดี ไม่หย่อนเกิน ไม่ตึงเกิน ทำให้สำเร็จประโยชน์อันยิ่งใหญ่ได้
ยกตัวอย่างเช่นคนที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเพียงอย่างเดียว มักทำอะไรลงไปโดยเสียความยุติธรรม เพราะความเห็นอกเห็นใจจูงให้กระทำ ส่วนคนที่ยึดมั่นในความยุติธรรมอย่างเดียวไม่แลเหลียวถึงสภาพแวดล้อมบ้างเลย ก็จะขาดความเห็นอกเห็นใจ กลายเป็นคนแข็งกร้าวไป มุ่งรักษาแต่หลักการโดยไม่คำนึงถึงความจำเป็นส่วนบุคคลบ้างเลย
แต่เมื่อคุณธรรมทั้งสองมารวมในคนคนเดียว คนนั้นก็จะกลายเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยดีเลิศ คือมีความยุติธรรมโดยไม่ขาดความเห็นอกเห็นใจ หรือมีความยุติธรรมโดยไม่ให้เสียความยุติธรรม
คนที่มีอุปนิสัยดีเลิศ จึงต้องมีลักษณะของชายและลักษณะของหญิงรวมกัน การจะเป็นอย่างนั้นได้ ก็โดยเขาต้องเกิดเป็นชายเพื่อบ่มลักษณะชาย และเคยเกิดเป็นหญิงเพื่อบ่มลักษณะของหญิง หรือเพื่อหาประสบการณ์ในเพศนั้นๆ แล้วกำจัดส่วนเสียออก รักษาและเพิ่มพูนส่วนที่ดีไว้
ที่มา : หนังสือหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด โดย อาจารย์วศิน อินทสระ
เหตุแห่งการเกิดเป็นชาย เป็นหญิง
ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย lionking2512, 16 มีนาคม 2013.
-
-
ด้วยความเคารพ
อ่านแล้วสงสัยว่าอ.วศิน เขียนมาจากข้อมูลพื้นฐานใด
เนื่องด้วยย่อหน้าแรกอ้างอิงถึงพระพุทธเจ้า แต่ที่เหลือได้อ้างอิงถึงพุทธพจน์อื่นไว้บ้างมั้ยครับ -
ขอบคุณที่ท้วงติง ขอกลับไปทำการบ้านเพิ่มนะครับ
-
ผมอ่านดู อ.วศิน ก็อธิบายความหมายของวรรคแรกอ้างอิงถึงพระพุทธเจ้า นิครับ
-
ขอโอกาสนะครับ
สาเหตุที่ได้ความเป็นหญิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ก็หญิงย่อมสนใจสภาพแห่งหญิงในภายใน
กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความ
พอใจเสียง และเครื่องประดับของหญิง
เขาย่อมยินดี พอใจ ในสภาพของตนนั้นๆเขายินดี
พอใจในสภาพของตนนั้นๆ
แล้ว ย่อมสนใจถึงสภาพของชายในภายนอก
กิริยา ท่าทาง ความ
ไว้ตัว ความพอใจ เสียง
และเครื่องประดับของชาย ย่อมยินดี
พอใจในสภาพของชายนั้นๆ
เขายินดี พอใจในสภาพของชายนั้นๆ
แล้ว ย่อมมุ่งหวังการสมาคมกับชาย
และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชายเป็นเหตุ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
สัตว์ผู้พอใจในภาวะแห่งหญิงก็ถึงควาวเกี่ยวข้องในชาย
ด้วยอาการอย่างนี้แล
หญิงจึงไม่ล่วงพ้นภาวะแห่งหญิงไปได้
(พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต)
สาเหตุที่พ้นจากความเป็นหญิง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ส่วนความไม่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
หญิงย่อม ไม่สนใจในสภาพของหญิงในภายใน
กิริยา ท่าทาง ความไว้ตัว ความพอใจ
เสียงและเครื่องประดับของหญิง
เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งหญิง
ย่อมไม่สนใจถึงสภาพแห่งชาย
ในภายนอก กิริยา ท่าทาง
ความไว้ตัว ความพอใจ
เสียงและเครื่องประดับแห่งชาย
เขาไม่ยินดี ไม่พอใจในสภาพแห่งชายนั้นๆ แล้ว
ย่อมไม่มุ่งหวังการสมาคมกับชายในภายนอก
และสุขโสมนัสที่เกิดเพราะการสมาคมกับชาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ผู้ไม่พอใจในสภาพแห่ง
หญิงก็ถึงความไม่เกี่ยวข้องในชาย
ด้วยอาการอย่างนี้แล
หญิงจึงล่วงพ้นสภาพแห่งหญิงไปได้ ฯ
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
ในกรณีของฝ่ายชายพระองค์ก็ทรงตรัสในลักษณะเดียวกันแต่กลับกัน