ที่มา http://dungtrin.com/whatapity/05.htm จากหนังสือ เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
บทที่ ๔ - เหตุใดจึงเป็นผู้มีรูปงาม?<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
<O:p></O:p>
ในบทก่อนเราทราบว่าด้วยอาการทางใจและวิธีคิดทำบุญอย่างไรจึงส่งให้เป็นหญิงชาย แต่หญิงชายมีระดับชั้นวรรณะเป็นต่างๆ เริ่มเห็นได้ตั้งแต่การปรากฏตัวเลยทีเดียว บางคนเห็นแล้วน่าเมิน บางคนเห็นแล้วน่ามอง ความไม่รู้ทำให้เราคิดว่านั่นคือการ ‘ให้มา’ ของธรรมชาติ หรือของผู้สร้างที่ยิ่งใหญ่ แต่ความจริงก็คือเราแต่ละคน ‘ได้มา’ อย่างมีเงื่อนไข และเงื่อนไขนั้นก็คือกรรมเกี่ยวกับทานและศีลนั่นเอง<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
นิยามของความงาม
คนเราเห็นความงามต่างกัน ฉะนั้นจึงต้องตกลงกันให้ดีว่าความสวยคืออะไร ความงามคืออะไร จะได้ไม่ต้องพูดในเชิงปรัชญา เช่นความงามเป็นสิ่งลี้ลับ ความงามเป็นสิ่งฉายให้เห็นเฉพาะคน หรือความงามของที่ฉายออกมาจากจิตใจภายใน ฯลฯ<O:p></O:p>
ต่อไปนี้เมื่อพูดถึงความสวยหรือความงาม ขอให้เข้าใจว่าเราพูดจำเพาะถึงความงามในรูปร่างหน้าตาของมนุษย์<O:p></O:p>
ความสวยงามของมนุษย์คือลักษณะที่ตาคนส่วนใหญ่เห็นแล้วเกิดความยินดี เกิดความสุข เกิดความพึงพอใจ ตลอดจนกระทั่งเกิดความติดใจใหลหลง แน่นอนว่ามีตาของคนส่วนน้อยที่อาจเห็นแย้ง มองแล้ววิจารณ์ว่าไม่เห็นสวยเลย หรือถากถางว่าอย่างนี้เหรอหล่อ? นั่นอาจเป็นอคติหรือพื้นหลังเฉพาะตัวของแต่ละคน เครื่องชี้ที่ชัดคือเจ้าตัวผู้มีรูปร่างหน้าตาเป็นสมบัติเอง ส่วนใหญ่ไปไหนต่อไหนได้รับความชื่นชม ทำให้ปลื้มเปรมกับสมบัติที่ติดตัวมาแต่เกิดหรือไม่<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
สำหรับเราเอง เมื่อเรารู้สึกดีกับการปรากฏตัวในแต่ละครั้ง จะเหมือนมีรัศมีแห่งความเชื่อมั่นฉายออกไปพร้อมกับพลังกระทบด้านดี ซึ่งถ้าดีจริงอย่างที่เรารู้สึก อย่างน้อยก็จะพลอยทำให้คนอื่นรู้สึกดีตามไปด้วย<O:p></O:p>
สำหรับสายตาคนอื่น ผู้มีรูปงามชนิดแลตะลึง หรือที่เรียกว่า ‘สวยจัด’ กับ ‘หล่อจัด’ นั้น เป็นบุคคลประเภทที่ปลุกเร้าให้เกิดความสับสนวุ่นวายใจ ความสวยหล่อจัดๆสามารถกระตุ้นให้เกิดความคิดหลากหลาย หรืออาจเรียกได้ว่ารบกวนให้คนเห็นกระวนกระวายใจผิดปกติ เพราะในหัวเกิดถ้อยคำพิเศษที่ไม่ค่อยปรากฏนักในการเห็นบุคคลทั่วไป เมื่อคนเราไม่สามารถอธิบายสิ่งที่ตัวเองเห็นออกมาเป็นคำพูดได้ถนัด ก็มักนึกถึงคำหรูๆเกินจริงเช่น ‘ความงามที่เหมือนเวทมนต์’ หรือ ‘หยาดฟ้ามาดิน’ เป็นต้น<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
แม้ในความงามแลตะลึงอาจมีความต่าง คือสวยหล่อแต่หน้า รูปร่างเอวองค์ไม่สมส่วน บางคนเตี้ยม่อต้อ บางคนสูงชะลูด บางคนผิวหยาบไม่น่ามอง บางคนโครงกระดูกมีจุดปูดโปนประหลาดๆ บางคนมีรายละเอียดใต้ร่มผ้าน่ารังเกียจ ฯลฯ หาได้น้อยที่สวยหล่อพรั่งพร้อมไปทั้งสรรพางค์กายสมคำว่า ‘สวรรค์เสก’<O:p></O:p>
ความจริงสวรรค์ไม่ได้ทำอะไรกับความมีรูปงามของมนุษย์ แต่ความมีรูปงามของมนุษย์ทำให้คนเรานึกถึงสวรรค์ต่างหาก นั่นแหละคือคุณของความงาม ช่วยปรุงแต่งให้ผู้พบเห็น หรือแม้แต่ผู้ครอบครองความงามเองได้รู้สึกชื่นชมยินดี และเหนี่ยวนำให้เลื่อมใสไปในทางมีจิตคิดเป็นกุศล<O:p></O:p>
น่าเสียดายในปัจจุบันคนสวยหล่อทั้งหลายเอาเครื่องหน้าและรูปร่างของตนไปเป็นสินค้าทางเพศกันมาก ทำให้คนมองเกิดความรู้สึกที่เพี้ยนไป คือเห็นความสวยหล่อมีไว้ขาย มีไว้ทำเงิน มีไว้หาประโยชน์ ไม่ได้มีเอาไว้จูงใจให้เกิดความเลื่อมใสว่าบุญมีจริง สวรรค์มีจริงเหมือนในสมัยโบราณเขามองกัน<O:p></O:p>
สรุปคือสำหรับคนราคะจัดส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ความสวยอาจเป็นเพียงสิ่งที่เอาไว้กระตุ้นความกำหนัด สำหรับศิลปินผู้มีความละเอียดอ่อนในหัวใจ ความสวยสามารถเป็นเครื่องปลุกเร้าจินตนาการสร้างสรรค์ให้บรรเจิดจ้า และสำหรับผู้แสวงบุญ ความสวยเป็นร่องรอยหลักฐานยืนยันว่าผลบุญมีจริงและทำให้มนุษย์ต่างกันได้เพียงใด!<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
กรรมหลักที่ตกแต่งให้รูปงาม
หลักง่ายๆคือคนตามใจกิเลสจะมีรูปทราม ส่วนคนงามจะงามเพราะสละกิเลส กรรมที่ตกแต่งให้รูปงามนั้น เป็นกรรมประเภทที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดความผ่องใส มีความขาวสะอาดสว่างรอบปราศจากมลทิน และกิริยาที่จะก่อให้เกิดลักษณะดังกล่าว ก็ไม่พ้นเรื่องของการสละความตระหนี่ และการรักษาความตั้งใจไม่เกลือกกลั้วกับความชั่ว โดยตีกรอบความประพฤติทางกายและวาจาให้อยู่ในศีลธรรมอันดี นอกจากนี้ยังมีเรื่องของอาการทางใจและวิธีคิดต่างๆประกอบอยู่ด้วย<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๑) ทำทานด้วยศรัทธา<O:p></O:p>
ขอให้ดูเถิด คนส่วนใหญ่แม้ชอบทำทาน ก็มักทำทานด้วยจิตที่แห้งแล้ง ทำแล้วก็ถือว่าแล้วกัน น้อยคนนักจะทราบว่าแม้อาการทางใจในขณะทำทานก็มีผลใหญ่หลวงกับรูปร่างหน้าตาได้ ดังเช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผลของการให้ทานด้วยศรัทธา จะทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงามชวนพิศ น่าเลื่อมใส ผิวพรรณงามยิ่ง<O:p></O:p>
การทำทานด้วยความศรัทธาเป็นประจำ ทำให้เจ้าตัวรู้สึกสวยแพรวออกมาจากภายในตั้งแต่ชาติปัจจุบัน แม้รูปร่างหน้าตาในชาตินี้จะดูไม่ดีเท่าไหร่ แต่ความรู้สึกสวยแพรวที่ออกมาจากภายในนั้น จะดึงดูดให้คนพบเห็นเกิดความทึ่งกว่าเดิม และหาคำตอบไม่ได้ ว่าทำไมไม่สวยไม่หล่อจึงน่ามองขนาดนั้น<O:p></O:p>
และผลของการทำทานด้วยความศรัทธาเป็นประจำ จะทำให้ชาติต่อไปมีใบหน้างดงามชนิดที่ชวนเลื่อมใส ข้อนี้คนของศาสนาที่ปลูกฝังเรื่องศรัทธาเป็นหลักจะได้เปรียบ เพราะเมื่อเกิดการประชุมทำพิธีทางศาสนาแล้วมักเหนี่ยวนำกันให้เกิดจิตศรัทธา เปี่ยมปีติสุขเป็นล้นพ้นกับการคิดให้ คิดเจือจาน คิดเมตตาต่อคนและสัตว์ทั้งโลก<O:p></O:p>
หลายคนคงสงสัยว่าอย่างไรจึงเรียกได้ว่าเป็นศรัทธาแล้ว อันนี้ใช้เกณฑ์ง่ายๆคือเมื่อนึกถึงบุญขณะต่างๆ ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังทำ แล้วมีใจนึกอยากยิ้มสดชื่นออกมาจากภายใน เป็นยิ้มอันบันดาลจากความสุขความอิ่มเอมที่บริสุทธิ์ ปราศจากเงื่อนไขแลกเปลี่ยน ส่วนการฝืนยิ้มไปแกนๆ แต่จิตไม่เป็นสุขนั้นไม่นับ<O:p></O:p>
สภาพแวดล้อมในการทำบุญมีส่วนก่อให้เกิดศรัทธาหรือเสื่อมศรัทธาได้มาก แต่หากเราเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสในบุญอยู่อย่างหนักแน่น เชื่อมั่นว่าบุญมีที่ใจ ผลบุญเช่นความสุขความสว่างไสวก็เกิดทันทีที่ใจ เช่นนี้แม้สภาพแวดล้อมหรือบุคคลอันเป็นผู้รับจะไม่ดีนัก ใจเราก็คงไม่เสื่อมศรัทธาลงสักเท่าใด<O:p></O:p>
หากให้ทานไปแกนๆ ไม่คิดอะไรมาก แต่ก็ไม่ได้ศรัทธาสักเท่าไหร่ อย่างนี้ชาติปัจจุบันแม้ทำทานมากก็ไม่ค่อยอิ่มใจ ไม่ค่อยรู้สึกอบอุ่นอยู่กับตัวเองนัก และชาติถัดไปถึงแม้มีรูปร่างหน้าตาดีก็ไม่ถึงกับดึงดูดให้รู้สึกเลื่อมใสในความงามนั้นๆสักเท่าใด<O:p></O:p>
หากให้ทานด้วยจิตใจคับแคบ เช่นแก่งแย่งชิงดีเอาหน้าเอาเด่น หรือให้ทานแบบกีดกัน ไม่คิดรวมทานกับใคร เช่นมาถวายสังฆทานพร้อมกันกับคนอื่น แต่จะแยกเป็นต่างหากต้องให้พระสวดสองที แบบนี้ชาติปัจจุบันแม้โครงหน้าสวยหล่ออยู่ก่อน เห็นแล้วก็ไม่ชวนให้รู้สึกปลื้ม และชาติหน้ากรรมจะตกแต่งให้หน้าตาออกไปในทางเค็มเสียมาก<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๒) รักษาศีลได้สะอาดครบ<O:p></O:p>
ศีลจะมีส่วนช่วยปรุงแต่งหน้าตาให้ดูดีจริงๆต่อเมื่อสะอาดหมดจดในข้อหนึ่งๆ ต้องจาระไนกันด้วยความรู้สึกยามเมื่อตาเห็น ศีลแต่ละข้อจะก่อให้เกิดความรู้สึกทางใจดังนี้<O:p></O:p>
๑) อยากปกป้องชีวิตสัตว์ ทำให้หน้าตาใจดี เห็นแล้วสงบเย็น<O:p></O:p>
๒) ไม่เพ่งเล็งอยากได้ ทำให้หน้าตาน่าไว้ใจ เห็นแล้วเชื่อถือ<O:p></O:p>
๓) ซื่อสัตย์กับคู่ครอง ทำให้หน้าตามีเสน่ห์ชวนอบอุ่นใจ เห็นแล้วอยากเป็นคู่ด้วย<O:p></O:p>
๔) ไม่คิดปั้นคำลวง ทำให้หน้าตาใสซื่อ เห็นแล้วนึกเอ็นดู<O:p></O:p>
๕) ไม่เกลือกกลั้วสิ่งเสพย์ติดมึนเมา ทำให้หน้าตาดูเป็นคนมีสติปัญญาดี เห็นแล้วเชื่อว่าไม่ใช่พวกคิดอ่านฟุ้งซ่านเหลวไหล<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
ถ้าใครถือศีลได้สะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างสม่ำเสมอ จะมีความสะอาดผุดผ่องออกมาทางผิว ศีลจะตกแต่งให้เนื้อหนังบางส่วนหนาขึ้นหรือบางลง เห็นแล้วดูสมส่วนขึ้น และจิตที่สงบไม่เดือดร้อนกระวนกระวายจะทำให้กล้ามเนื้อทุกส่วนบนใบหน้าผ่อนคลาย จึงดูดีที่สุดเท่าที่โครงหน้าจะอำนวย
ถ้าใครถือศีลได้สะอาดบริสุทธิ์ตลอดชีวิต ชาติใหม่จะมีรูปร่างหน้าตาสมส่วนหมดจด มองจากมุมไหนก็ดูดีไปหมด แบบที่เรียกกันว่างามไร้ที่ตินั่นเอง
หากละเมิดศีลเป็นอาจิณ หน้าตาและผิวพรรณจะดูคล้ำหมอง เว้นแต่อำนาจศีลแต่หนหลังมีพลังแรงมาก ช่วยค้ำพยุงไว้ได้ระยะหนึ่ง หรืออาจใช้วิทยาการทางความงามในปัจจุบันช่วยทำให้ผุดผ่องก็มีสิทธิ์ แต่จะประคับประคองได้ไม่นาน ในที่สุดความเสื่อมโทรมแบบแก่ก่อนวัยต้องถามหาอยู่ดี
และกรรมที่เกิดจากการละเมิดศีลเป็นอาจิณนั้น จะมีผลให้ชาติถัดมามีความไม่สมส่วน แม้ใบหน้าสวยหล่อด้วยการทำทานอย่างมีศรัทธา จุดอื่นในร่างกายก็จะไม่สมส่วน เช่นขาสั้นไปบ้าง หลังยาวไปบ้าง
<O:p></O:p>
๓) อาการทางใจและวิธีคิด<O:p></O:p>
บางคนแม้ทำทานและรักษาศีลมาดีในแบบที่จะทำให้สวยหล่อ แต่เป็นผู้ที่ฉุนเฉียวง่าย เก็บเรื่องเล็กๆน้อยๆมาคิดมากใหญ่โต อย่างนี้ก็มีผลกับรูปร่างหน้าตาและผิวพรรณทั้งในชาตินี้และในชาติต่อๆไปได้มาก ดังเช่นที่พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นคนมักโกรธ มากด้วยความแค้นเคือง ถูกเขาว่าเล็กน้อยก็ขัดใจ โกรธเคือง พยาบาทมาดร้าย ทำความโกรธ ความร้าย และความขึ้งเคียดให้ปรากฏ เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก และเพราะมีความข้องติดอยู่ในกรรมเช่นนั้นแม้ตายไปไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์เกิด ณ ที่ใดๆในภายหลังก็จะเป็นคนมีผิวพรรณทราม
<O:p></O:p>
พูดง่ายๆคือ แม้ให้ทรัพย์เป็นทานด้วยศรัทธาได้เพียงใด แต่ถ้าใจไม่รู้จักให้อภัยเป็นทานเลย ก็ได้ชื่อว่าสร้างส่วนแห่งความเป็นผู้มีรูปทรามเอาไว้<O:p></O:p>
สมมุติว่าเราเป็นผู้ให้ทานด้วยศรัทธายิ่งไปตลอดชีวิต แต่ขณะเดียวกันก็เป็นพวกฉุนเฉียวง่ายไม่รู้จักระงับอารมณ์เลยจนวันตายเช่นกัน อย่างนี้กรรมอาจปรุงแต่งให้มองเสี้ยวหน้าด้านหนึ่งเหมือนสวยหล่อ แต่มองจากอีกมุมหนึ่งกลับดูไม่ได้เอาเลย และผิวพรรณแทนที่จะเลอเลิศจากผลของทาน ก็กลายเป็นแค่ธรรมดาๆ ไม่ถึงกับน่าดู ไม่ถึงกับน่าเกลียดไปหรือไม่บางส่วนของเนื้อหนังดูเหมือนงามละเอียด แต่บางส่วนกลับหยาบกระด้าง ครึ่งๆกลางๆไม่สมบูรณ์เสมอกันทั่ว<O:p></O:p>
ขณะโกรธ ขณะยอมถูกโทสะควบคุมจิตใจ เราจะไม่มีมุมมองอื่นนอกเหนือไปจากความคิดเขม่นเข่นเขี้ยวอยากจองล้างจองผลาญ แต่เมื่อรู้ผลของการเป็นคนเจ้าโทสะแล้วเช่นนี้ ก็อาจฝึกมองไว้ล่วงหน้า ว่าเราจะเสียเวลา เสียรูปในอนาคตให้กับความโกรธเปล่าๆปลี้ๆไปทำไม อย่างไรคู่อริของเราก็ต้องตายจากกันไปเสวยวิบากของแต่ละคน<O:p></O:p>
เพียงเห็นในขณะที่โกรธเป็นขณะแห่งความสูญเปล่า เท่ากับเอาเวลาที่ควรจะทำให้อะไรดีขึ้นสักนิดไปทิ้งเสียอีกนาทีหนึ่ง ชั่วโมงหนึ่ง วันหนึ่ง เดือนหนึ่ง หรือปีหนึ่ง หากเราเห็นทุกวินาทีในโลกนี้มีค่ายิ่งกว่าทอง ก็จะปรับทัศนะได้ใหม่ เห็นว่ายิ่งเสียเวลากับสิ่งไร้ประโยชน์น้อยลงเพียงใด ก็เท่ากับมีเวลาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น เราจะเป็นทาสกิเลสผู้น่าสงสาร ที่มัวหลงเสียเวลาในชีวิตไปหมกมุ่นครุ่นคิดถึงสิ่งไร้สาระโดยแท้<O:p></O:p>
ถ้าหากประกอบพร้อมทั้งการให้ทรัพย์เป็นทานด้วยศรัทธา และการให้อภัยเป็นทานด้วยใจจริง อย่างนี้ความสมบูรณ์พร้อมในเรือนกายย่อมเป็นที่หวังได้<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
และบางคนแม้ทำทานรักษาศีลดี มีจิตใจเบิกบานเป็นนิตย์ แต่ก็แอบคิดเล็กคิดน้อยอยู่ในใจ เช่นเจอใครก็จ้องจับผิดอยู่เงียบๆ นึกด่าเขาอยู่เงียบๆ หรือกระทั่งชอบสาปแช่งอยู่เงียบๆ เพราะคิดว่าคงไม่ทำให้ใครเดือดร้อน จิตมีความโสมนัสอยู่กับความคิดร้ายๆภายในใจ ก็มีผลให้รูปร่างหน้าตาเสียความสมบูรณ์แบบ ลดหลั่นกันไปตามฐานะแห่งกรรม<O:p></O:p>
วิธีคิดของคนนั้น เป็นมโนกรรมสำคัญที่จำแนกสัตว์ออกเป็นต่างๆอย่างแท้จริง เพราะเป็นของที่ตนรู้อยู่กับตัว และเป็นของที่ติดตัว ติดจิตติดวิญญาณเราไปทุกหนทุกแห่ง จึงเป็นใจกลางแห่งความปรุงแต่งรูปร่างหน้าตา ถ้าความคิดมีมลทิน แม้สวยหรือหล่อจากทานและศีลก็เหมือนภาพงามที่มีรอยด่างหรือจุดตำหนิ<O:p></O:p>
กล่าวได้เต็มปากว่าวิธีคิดนั่นเอง ทำให้ความสวยหล่อไม่ได้มีแบบเดียว ถอดพิมพ์กันเป๊ะๆไม่ได้ และรูปร่างหน้าตานั้น จะไม่ผิดแผกแตกต่างจากที่เราเป็นอยู่อย่างนี้มากนักก็เพราะการสืบสายของวิธีคิดนี่เอง หากสามารถยกระดับวิธีคิดได้มาก หน้าตาก็จะเปลี่ยนไปมากแบบแปรผันตรง
<O:p></O:p>
สรุปว่ากรรมหลักๆที่ทำให้สวยหล่อบาดตาบาดใจกันจริงๆ หรือมีรูปงามเกินใจใครต้านทานนั้น มาจากการเป็นคนที่หมั่นทำทานด้วยศรัทธา มีศีลสะอาดบริสุทธิ์หมดจด และมีอาการทางใจกับวิธีคิดที่เป็นบวกอยู่เสมอๆ คือไม่เป็นคนมักโกรธ ไม่คิดอกุศลหรือติดใจความคิดอัปมงคลจนปล่อยใจให้ไหลไปกับเรื่องต่ำๆ<O:p></O:p>
ผู้ทำกรรมในแบบที่จะส่งผลเป็นความสวยหล่อถึงขีดสุดดังกล่าวนี้ จะมีความงามออกมาจากภายในตั้งแต่ชาติปัจจุบัน เห็นแล้วรู้สึกดีด้วยเป็นอย่างยิ่ง และในความเป็นมนุษย์ชาติถัดไป ก็จะเป็นผู้งามวัย วัยเด็กก็น่ารักแบบเด็ก วัยหนุ่มสาวก็หล่อสวยแบบหนุ่มสาวตามค่านิยมของยุคนั้นๆ และถ้าล่วงเข้าวัยชราก็ยังชวนพิศแบบผู้สูงอายุที่ดูไม่จืดตา<O:p></O:p>
การผสมกันระหว่างกรรมประเภทต่างๆที่ก่อให้เกิดรูปร่างหน้าตานั้น ไม่มีกรรมใดกรรมหนึ่งระหว่างทานและศีลเป็นผู้ขึ้นรูป ทุกอย่างผสมกันเบ็ดเสร็จแล้วออกมาเป็นหน้าตาหนึ่งๆเลยทีเดียว แต่รูปทรงอาจถูกกำหนดจากน้ำหนักของทานหรือศีลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นถ้าเคยเป็นผู้มีนิสัยหนักไปทางทำทานด้วยศรัทธามากกว่ารักษาศีลให้สะอาดหมดจด ชาตินี้จะดูรูปงามชวนชมเมื่อมองผาด แต่พอมองพิศแล้วเห็นความไม่ค่อยสมส่วนสักเท่าไหร่ หรือกระทั่งจุดลับต่างๆไม่น่าพิสมัยนัก<O:p></O:p>
ส่วนบางคนเป็นผู้มีนิสัยหนักไปทางรักษาศีลพอประมาณมากกว่าทำทานด้วยศรัทธา หรือบางทีไม่ค่อยได้ทำทานเอาเลย ชาตินี้จะดูสมส่วน เครื่องหน้าทุกชิ้น อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายดูเข้ารูปรับกันไปหมด แต่กลับสวยหล่อแบบเรียบๆ ไม่หวือหวาสะดุดตานัก<O:p></O:p>
และขอให้เข้าใจด้วยว่าสภาพจิตในชาติอันเป็นปัจจุบันก็มีบทบาทสำคัญยิ่ง บางคนรูปร่างหน้าตาดี แต่กลับขาดเสน่ห์ เพราะปล่อยตัวปล่อยใจให้ง่วงเหงาหาวนอน หรือหดหู่ทอดอาลัยตายอยาก จมอยู่กับความเศร้าชั่วนาตาปี อย่างนี้ก็ขาดความชวนชมได้เหมือนกัน เพราะแม้ตาคนเขาจะเห็นรูปโฉมดีๆภายนอก แต่ใจเขาก็จะรู้สึกแย่กับกระแสความหดหู่หรือคลื่นความปั่นป่วนในภายในจนอยากเมินมากกว่าอยากพิศให้นาน<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
กรรมที่ตกแต่งอวัยวะเป็นต่างๆ
ที่ผ่านมาในบทนี้จะกล่าวเพียงรูปลักษณะคร่าวๆว่าสวย หล่อ รูปร่างดี ฯลฯ แต่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดเฉพาะเป็นจุดๆว่าอวัยวะแต่ละส่วนนั้น ‘งาม’ อย่างไร และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘งามเพราะอะไร?’<O:p></O:p>
รายละเอียดความแตกต่างระหว่างรูปพรรณสัณฐานของอวัยวะทั้งหลายนั้น เราเห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน รู้แน่ๆล่ะว่าต่าง แต่ไม่ทราบว่าต่างเพราะอะไร โดยทั่วไปจึงโยนให้กับความบังเอิญทางธรรมชาติ และกลายเป็นที่มาของคำว่า ‘โชคดี’ และ ‘โชคร้าย’ คือใครโชคดีหน้าตาสวยหล่อก็เท่ากับมีใบเบิกทางดีๆให้ชีวิต ใครหน้าตาขี้เหร่แล้วไม่ขยันสร้างเสน่ห์ในทางอื่นก็ต้องใช้ชีวิตอับเฉากันไป ส่วนใหญ่มองเรื่องรูปร่างหน้าตากันเพียงในขอบเขตประมาณนี้<O:p></O:p>
แต่จะมีคนอยู่พวกหนึ่งที่ศึกษาความต่างระหว่างรูปพรรณสัณฐานทั่วองคาพยพของมนุษย์ และค้นพบว่าร่างกายมนุษย์หาได้แสดงความงามหรืออัปลักษณ์กระทบตาคนเห็นอย่างเดียว ทว่ายังมีรายละเอียดน่าสนใจกว่านั้น บอกอะไรได้ยิ่งกว่านั้น อย่างพวกที่ศึกษาศาสตร์เกี่ยวกับโหงวเฮ้งจะพอทราบจากสถิติว่าชีวิตใครเป็นอย่างไรจากภาพรวมและภาพย่อยที่ปรากฏให้เห็นในกายแต่ละคน<O:p></O:p>
ยกตัวอย่างเช่นความยากจนนั้นคล้ายบอกได้ด้วยสัญลักษณ์ทางกายหลายๆจุด ซึ่งบางทีจุดเดียวก็บอกได้แล้วว่าพ่อคนนี้หรือแม่คนนี้ต้องยากจนและรวยยากแน่ๆ แต่บางทีต้องอาศัยอวัยวะมากกว่าหนึ่งจุดขึ้นไปเป็นตัวตัดสิน ขอยกเครื่องหมายของความเป็นคนยากจนข้นแค้นมาพอสังเขปดังนี้<O:p></O:p>
๑) ส่วนหัวสอบแหลม<O:p></O:p>
๒) หัวเล็กประกอบกับคอยาว<O:p></O:p>
๓) คนหน้าอ้วนประกอบกับตัวเล็ก หรือคนหน้าเล็กประกอบกับตัวหยาบ<O:p></O:p>
๔) หูบาง<O:p></O:p>
๕) ตาเหมือนคนง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา<O:p></O:p>
๖) คอเอียง<O:p></O:p>
เหตุใดจึงเป็นผู้มีรูปงาม?
ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 15 พฤศจิกายน 2007.
-
-
ความจริงยังมีลักษณะอื่นๆอีกมาก เช่นหลายครั้งเราบอกได้จากการมองเพียงปราดเดียวว่าคนนี้ไม่ค่อยมีอันจะกินแน่ เพราะท่าทางผอมแห้งแรงน้อย แห้งเหี่ยวไม่มีชีวิตชีวา<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
แต่หลายคนดูยาก บางคนดูน่าจะรวยแต่สืบไปสืบมาไม่เคยมีสตางค์ใช้สบายๆเลยทั้งชีวิต ต้องทำอาชีพที่ใช้แรงกายเหนื่อยยากลำบากเป็นหลัก หรือหลายคนไม่ได้มีเครื่องหมายของความยากจนเด่นชัดนัก เรียกว่าพอมีพอกินได้ หรืออาจจะเงินขาดมือได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอีกหลายๆอย่าง โดยเฉพาะในแง่ของความขยันทำกิน<O:p></O:p>
ศาสตร์เกี่ยวกับโหงวเฮ้งอาจแม่นยำได้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครล่วงรู้ทะลุไปถึงสาเหตุ ว่าทำไมแต่ละคนจึงจำเพาะมีรูปร่างหน้าตาอย่างนี้ๆ ส่วนใหญ่บอกได้ตามตำราเพียงว่าถ้ารูปพรรณสัณฐานอย่างนี้จะมีชะตาอย่างนั้น ถ้าเค้าโครงเป็นอย่างนั้นจะมีชะตาลงเอยอย่างนี้ ซึ่งดูๆแล้วก็ไม่ได้น่าทึ่งอะไรนัก เพราะหากเก็บสถิติกันจริงจัง มีการสืบมรดกความรู้ของสำนักใหญ่ที่มีกำลังคนรวบรวมอย่างเป็นระบบระเบียบ ก็สามารถจำแนกความต่างระหว่างมนุษย์ได้ว่าถ้าเค้าโครงเหมือนๆกัน ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นไปคล้ายกันหรือเหมือนกันดิก<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสแสดงไว้เหมือนกันว่ารูปลักษณ์ของคนเราบ่งบอกถึงความแตกต่าง แต่ท่านจะเน้นแสดงให้เข้าใจ ว่าองคาพยพต่างๆทั่วร่างกายถูก -
๑๘) มีพระมังสะ (เนื้อ) อูมเต็มในที่ ๗ แห่ง คือหลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ หลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสา (บ่า) ทั้ง ๒ กับลำพระศอ (คอ)<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>
ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยวและของที่ควรบริโภคอันประณีตและมีรสอร่อย รวมทั้งให้น้ำที่ควรซด ควรดื่ม<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะได้ของที่ควรเคี้ยวและของที่ควรบริโภคอันประณีต มีรสอร่อย และได้น้ำที่ควรซด ควรดื่ม<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๑๙) มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์ ล่ำพีดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ ๒๐) พระปฤษฎางค์ (ส่วนหลัง) ราบเต็มเสมอกัน ๒๑) มีลำพระศอ (คอ) กลมงามเสมอตลอด<O:p></O:p>
สามข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะ แก่ชนเป็นอันมาก ด้วยความคิดว่าทำอย่างไรชนเหล่านี้พึงเจริญด้วยศรัทธา เจริญด้วยสละออก เจริญด้วยศีล เจริญด้วยการฟังสาระธรรม เจริญด้วยการเป็นผู้รู้แจ้งตื่นจากการหลับไหล เจริญด้วยปัญญา เจริญด้วยโภคทรัพย์ เจริญด้วยบุตรและภรรยา เจริญด้วยทาสและกรรมกร เจริญด้วยญาติ เจริญด้วยมิตร เจริญด้วยพวกพ้อง<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดาจากทรัพย์ บุตรภรรยา ญาติมิตร และบริวาร<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๒๒) มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี มีปลายในเบื้องบนประชุมอยู่ที่ลำพระศอ สำหรับนำรสอาหารแผ่ซ่านไปสม่ำเสมอทั่วพระกาย<O:p></O:p>
ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ หรือศาสตรา<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีพระโรคาพาธน้อย สมบูรณ์ด้วยธาตุไฟ (ความเผาผลาญ) อันยังอาหารให้ย่อยดีไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก <O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๒๓) มีพระหนุ (คาง) ดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)<O:p></O:p>
ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบประโยชน์โดยกาลอันควร<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะไม่มีใครๆที่เป็นข้าศึกศัตรูกำจัดได้<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๒๔) มีพระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) และ ๒๕) พระทนต์ชิดสนิทมิได้ห่าง<O:p></O:p>
สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น ไม่ประสงค์ยุแยงตะแคงรั่วให้คนเขาแตกคอกัน ตรงข้ามพยายามพูดสมานสามัคคี ทำให้คนที่เขาแตกร้าวกันกลับมาคืนดีกัน มีความเพลิดเพลินยินดีในการเห็นผู้คนปรองดองกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้ใครต่อใครปรองดองกัน<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีบริษัทส่วนใหญ่จะไม่แตกคอกัน (คือไม่เป็นฝักเป็นฝ่าย ไม่ตั้งก๊กตั้งป้อมโจมตีกันจนเสียความเป็นปึกแผ่น เสียความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันจนกระทั่งพระราชบัลลังก์คลอนแคลนได้)<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๒๖) พระทนต์เรียบเสมอกัน และ ๒๗) เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์<O:p></O:p>
สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ละอาชีพทุจริตแล้ว สำเร็จความเป็นอยู่ด้วยอาชีพสุจริต เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การโกงด้วยการรับสินบน การหลอกลวง การทำตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่าการจองจำ การตีชิง การปล้นและการกรรโชกขู่เอาทรัพย์ผู้อื่น (ข้อนี้ต้องดูว่าบางชาติอาจยากจนข้นแค้น แต่แม้จนตรอกขนาดไหน มีใครชักชวนอย่างไรก็ห้ามใจไว้ ไม่ประพฤติผิดแม้มีกำลังมากพอที่จะทำได้)<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีบริวารสะอาดปราศจากมลทิน<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๒๘) พระชิวหา (ลิ้น) อ่อนและยาว (อาจแผ่ปกหน้าผากได้) และ ๒๙) พระสุรเสียงยิ่งใหญ่ดุจท้าวมหาพรหม ทว่ายามตรัสมีสำเนียงเพราะพริ้งราวกับนกการเวก<O:p></O:p>
สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เสนาะเพราะโสตจับใจ ชวนให้รัก คนส่วนใหญ่พึงใจ<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะมีพระวาจาอันมหาชนพึงเชื่อถือ<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๓๐) พระเนตร (ตา) ดำสนิท และ ๓๑) ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด<O:p></O:p>
สองข้อนี้คือวิบากจากการเป็นผู้ไม่ถลึงตาดู ไม่ค้อนตาดู ไม่ชำเลืองตาดูใครๆด้วยอำนาจความโกรธ เป็นผู้ตรง มีใจตรงเป็นปรกติ แลดูใครๆตรงๆด้วยดวงตาทอแววรักใคร่เมตตา วิบากของกรรมทำให้เกิดลักษณะของมหาบุรุษคือมีพระเนตร (ตา) สีดำสนิทและงามดุจประกายตาแห่งโค
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะเป็นผู้ที่อันมหาชนเห็นแล้วเคารพรัก<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
๓๒) มีพระเศียร (ศีรษะ) งามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์<O:p></O:p>
ข้อนี้คือวิบากจากการเป็นหัวหน้าของมหาชนในธรรมทั้งหลายที่เป็นฝ่ายกุศล เป็นประธานของมหาชนด้วยกายสุจริต ด้วยวจีสุจริต ด้วยมโนสุจริต ในการบำเพ็ญทาน ในการตั้งใจรักษาศีล ๕ และศีล ๘ ในความเป็นผู้ปฏิบัติดีต่อมารดาและบิดา ในความเป็นผู้ปฏิบัติดีต่อสมณะ ในความปฏิบัติดีต่อพราหมณ์ ในความเคารพต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล รวมทั้งเป็นผู้นำในธรรมเป็นมหากุศลอื่นๆ<O:p></O:p>
กรรมดังกล่าวนอกจากตกแต่งอวัยวะแล้ว ยังส่งผลกับวิถีชีวิตคือเมื่อเป็นพระราชาจะเป็นผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากมหาชนอย่างล้นหลาม<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
จากความรู้เกี่ยวกับลักษณะของมหาบุรุษข้างต้นนี้ เราพอจะอาศัยบางส่วนเป็นตำราทายมนุษย์ได้เล็กๆน้อยๆ เช่นถ้าหากใครมีร่างใหญ่ ส้นเท้ายาว นิ้วมือนิ้วเท้ายาว ก็ประมาณว่าอดีตชาติเคยเป็นผู้เว้นจากการฆ่า และหวังประโยชน์ใหญ่ ทำคุณกับมหาชนมาก่อน เพราะผู้เคยกระทำการอันมุ่งประโยชน์มหาชนจะมีคุณสมบัติข้อนี้อยู่จริงๆ เรียกว่ามีลักษณะเป็นส่วนหนึ่งของมหาบุรุษ แม้จะไม่ใช่มหาบุรุษทั้งตัวก็ตามที<O:p></O:p>
และคงเห็นชัดว่าแม้เราๆท่านๆจะไม่ได้ตั้งความปรารถนาบำเพ็ญบารมีเพื่อให้มีลักษณะมหาบุรุษ แต่ก็สามารถทราบได้ และเกิดแรงบันดาลใจว่าถ้าอยากเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ก็จะต้องพูดเพราะๆและประกอบด้วยคำอันเป็นที่รื่นหู ฟังแล้วสบายใจ เป็นต้น หากปลูกฝัง สั่งสม และประพฤติตนเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวานก็ย่อมได้รับผลเป็นแก้วเสียงคุณภาพสูงในระยะยาว<O:p></O:p>
แต่มีข้อน่าสังเกตว่านอกจากกรรมหลักๆอันเป็นแก่นแล้ว ก็ยังมีกรรมพิเศษที่ปรุงแต่งคุณลักษณ์ซึ่งดีอยู่แล้วให้วิเศษเยี่ยมยอดเป็นทวีคูณ เช่นถ้าใครพูดเพราะ พูดแต่เรื่องดีมีสาระและความจริงรองรับ แล้วบวกเข้าไปอีก เช่นสวดมนต์สรรเสริญพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์องค์เจ้าด้วยใจรู้เนื้อความ มีความยินดีเลื่อมใสในการป่าวประกาศด้วยปากตนให้ญาติพี่น้องตลอดจนมหาชนรับรู้ถึงคุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยกตัวอย่างเช่นในปัจจุบันมีผู้ร้องเพลงออกเทปในแนวที่สามารถโน้มน้าวใจให้คนเกิดศรัทธาในพระรัตนตรัยได้จริง ผลเกี่ยวกับแก้วเสียงในชาติถัดๆไปย่อมเอกอุเกินประมาณได้<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
อีกประการหนึ่ง มีกรรมหลายๆประการที่คนธรรมดาทั่วไปสามารถรับรู้ด้วยจิตว่าจะออกดอกออกผลงอกเงยอย่างไร ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเราคิดพูดดี คิดพูดจาให้เป็นที่รัก เป็นที่รื่นหู เป็นที่สบอารมณ์ของคนฟัง จิตใจเราจะโปร่งใสจนเหมือนสัมผัสประกายใสแพรวจากส่วนลึกของตนเอง และประกายใสแพรวดังกล่าวนั้นก็ปรากฏออกมาในรูปของแก้วเสียงที่เพราะพริ้งขึ้นกว่าปกติ ไม่ว่าคุณภาพแก้วเสียงเดิมของเราจะเป็นอย่างไร เราย่อมเกิดความพึงพอใจในประกายใสแพรวขึ้นกว่าปกตินั้นเสมอ<O:p></O:p>
หรืออย่างเมื่อเราให้ความเคารพผู้หลักผู้ใหญ่ หรือผู้ทรงคุณใดๆ โดยพนมมือด้วยความตั้งใจไหว้สวยๆ มีการค้อมศีรษะลงด้วยจิตที่นบน้อมปราศจากมายาหรือฝืนแสร้ง เราจะรู้สึกถึงรูปศีรษะของตนขึ้นมาในขณะหนึ่ง ว่าเป็นส่วนของเครื่องบูชาอันงามได้ และจิตที่จับเครื่องบูชาอันงามนั้น ย่อมก่อให้เกิดมโนภาพทางใจเป็นนิมิตประเสริฐ มีความมน กลมกลึง ปราศจากปุ่มปมขรุขระ จิตแบบนั้นแหละที่สร้างภพของผู้มีศีรษะมนงามขึ้นมา ยิ่งทำบ่อย ทำเป็นประจำสม่ำเสมอ ภพของผู้มีศีรษะมนงามก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ<O:p></O:p>
<O:p></O:p>
กรรมที่มีอิทธิพลปรุงแต่งรูปร่างหน้าตาให้กระเดียดไปในทางหนึ่งๆ
พวกเราทำกรรมกันมาซับซ้อนหลายหลาก จึงมักเกิดคำถามว่าแล้วมีการเลือกสรรกรรมมาตกแต่งหน้าตาอย่างไร เช่นบางคนเคยร้ายมากและดีมากในชาติเดียวกัน อย่างนี้มิต้องมีหน้าตาพิลึกกึกกือขัดแย้งกันเองแย่หรอกหรือ?<O:p></O:p>
กรรมหลายๆประการทำให้บางคนหน้ากลม บางคนหน้าแหลม บางคนหน้ารูปหัวใจ บางคนหน้ารูปไข่ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ถ้ามีบุญปรุงรูปโฉมให้ดีเสียหน่อย พอรวมเครื่องหน้าทั้งหมดก็ยังดูงามได้ทั้งนั้น ผิดกับบางคน ถึงแม้เค้าโครงหน้าตาจะดูดี เครื่องเคราบนใบหน้าก็ไม่มีชิ้นใดผิดรูปผิดทรง แต่รวมออกมาทั้งหมดกลับจืดๆ เฉยๆ ไม่เห็นเด่นสะดุดตาแต่อย่างใด เหล่านี้ล้วนเป็นเพราะการเสกการบันดาลของกรรมเก่า จะไปคิดคำนวณตีค่าความงามเป็นสัดส่วนตายตัวไม่ได้<O:p></O:p>
กรรมที่ทำเป็นประจำจนคนสนิทใกล้ตัวเอาไปโจษกันว่า -
พุทธลักษณะเป็นสิ่งที่ท่านเพียรสร้างมานานับอสงไขย สาธุ