เหตุใดสติที่ตามทันขณะปัจจุบัน จึงเป็นหลักสำคัญของวิปัสสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Aek9549, 2 พฤศจิกายน 2008.

  1. Aek9549 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    811
    ค่าพลัง:
    +1,031


    <table bordercolordark="#F0B230" bordercolorlight="#8C6C0F" style="line-height: 2;" width="98" align="center" border="1" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="92">
    </td> </tr> </tbody></table>พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต)คัดลอกจากหนังสือ พุทธธรรม หน้า๘๑๙ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๙ กิจกรรมสามัญที่สุดของทุกๆคน ซึ่งเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ก็คือ การรับรู้อารมณ์ต่างๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อมีการรับรู้ ก็มีความรู้สึกพร้อมไปด้วย คือ บ้าง, บ้าง, บ้าง(webmaster - หมายถึงเวทนา ๓ ที่ย่อมเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใดเมื่อมีการผัสสะ) เมื่อมีความรู้สึกสุขทุกข์ ก็มีปฏิกริยาเกิดขึ้นในใจด้วย คือ ถ้าสุขสบายที่สิ่งใด สิ่งนั้น ถ้าไม่สบายได้ทุกข์ในสิ่งใด สิ่งนั้น, เมื่อชอบก็อยากรับรู้อีก อยากเสพซํ้า หรืออยากได้ อยากเอา(webmaster - ตัณหา) เมื่อไม่ชอบ ก็เลี่ยงหนี หรืออยากกำจัด อยากทำลาย(webmaster - ตัณหา หรือจะเรียกวิภวตัณหาก็ได้)กระบวนการนี้ดำเนินไปตลอดเวลา(webmaster - เป็นไปตามหลักเหตุปัจจัยปฏิจจสมุปบันธรรม อันเป็นปรมัตถ์นั่นเอง)มีทั้งที่แผ่วเบา ผ่านไปโดยไม่ได้สังเกตุ และที่แรงเข้ม สังเกตุได้เด่นชัด มีผลต่อจิตใจอย่างชัดเจนและสืบเนื่องไปนาน ส่วน ใดแรงเข้มหรือสะดุดชัด ก็มักชักให้มีการปรุงแต่งยืดเยื้อเยิ่นเย้อออกไป ถ้าไม่สิ้นสุดที่ในใจ ก็ผลักดันให้ออกมาเป็นคำพูด การกระทำต่างๆทั้งน้อยและใหญ่ ชีวิตของบุคคล บทบาทของเขาในโลก และการกระทำต่อกันระหว่างมนุษย์ ย่อมสืบเนื่องออกมาจากกระบวนธรรมน้อยๆที่เป็นไปในการดำเนินชีวิตแต่ละขณะๆ นี้เป็นสำคัญในทางปัญญาการปล่อยจิตให้เป็นไปตามกระบวนธรรมข้างต้นนั้น คือ เมื่อรับรู้แล้วสุขสบายก็ชอบใจ ติดใจ (webmaster - กามตัณหา,ภวตัณหา) เมื่อรับรู้แล้ว รู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ก็ขัดใจ ไม่ชอบใจ (webmaster - วิภวตัณหา) ข้อ นี้จะเป็นเครื่องกีดกั้นปิดบัง ทำให้ไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริงหรือตามสภาวะที่แท้ของมัน ทั้งนี้เพราะจิตใจที่เป็นไปเช่นนั้น จะมีสภาพต่อไปนี้ - ข้องใจอยู่ที่ความชอบใจหรือความขัดใจ ตกอยู่ในอำนาจของความชอบใจ หรือขัดใจนั้น ถูกความชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้นเคลือบคลุม ทำให้มองเห็นเอนเอียงไปอย่างหนึ่งอย่างใด ไม่ตรงตามที่มันเป็นจริง - ตกลงไปในอดีตหรืออนาคต กล่าวคือ เมื่อคนรับรู้แล้ว เกิดความชอบใจหรือไม่ชอบใจ จิตของเขาจะข้องหรือขัดอยู่ ณ ส่วนหรือจุดหรือแง่ ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจของอารมณ์นั้น และจับเอาภาพของอารมณ์นั้น ณ จุดหรือส่วนหรือแง่ที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น เก็บเอาไปทะนุถนอมคิดปรุงแต่งตลอดจนฝันฟ่ามต่อไป การข้องอยู่กับส่วนใดก็ตามซึ่งชอบใจหรือไม่ชอบใจ และการจับอยู่กับภาพของสิ่งนั้นซึ่งปรากฏอยู่ในใจของตนคือ การเลื่อนไหลลงสู่อดีต การคิดปรุงแต่งต่อไปเกี่ยวกับสิ่งนั้นคือ การเลื่อนลอยไปในอนาคต ความ รู้ความเข้าใจของเขาเกี่ยวกับสิ่งนั้น ก็คือภาพของสิ่งนั้น ณ จุดหรือตอนที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจ หรือซึ่งเขาได้คิดปรุงแต่งต่อไปแล้ว ไม่ใช่สิ่งนั้นตามที่มันเป็นของมันเองในขณะนั้นๆ - ตกอยู่ในอำนาจของความคิดปรุงแต่ง จึง แปลความหมายของสิ่งที่รับรู้ หรือประสบการณ์นั้นไปตามแนวทางของภูมิหลังหรือความเคยชินที่ได้สั่งสมไว้ เช่น ค่านิยม ทัศนคติ หรือทิฏฐิที่ตนยึดถือนิยมเชิดชู เรียกว่าจิตตกอยู่ในภาวะถูกปรุงแต่ง ไม่อาจมองอย่างเป็นกลางให้เห็นประสบการณ์ล้วนๆตามที่มันเป็น - นอกจากถูกปรุงแต่งแล้ว ก็จะนำภาพปรุงแต่งของประสบการณ์ใหม่นั้นไปร่วมในการปรุงแต่งต่อไปอีก เป็นการเสริมซํ้า การสั่งสมนิสัยความเคยชินของจิตให้แน่นหนายิ่งขึ้น ความเป็นไปเช่นนี้ มิใช่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องหยาบๆตื้นๆในการดำเนินชีวิตและทำกิจการทั่วไปเท่านั้น แต่ท่านมุ่งเน้นกระบวนของจิตในระดับละเอียดลึกซึ้ง ที่ทำให้ปุถุชนมองเห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของคงที่ เป็นชิ้นเป็นอัน มีสวยงามน่าเกลียด ติดในสมมติต่างๆ ไม่เห็นความเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ดำเนินอยู่ตลอดเวลา อย่าง ไรก็ดี กระบวนธรรมเช่นนี้เป็นความเคยชินหรือนิสัยของจิต ที่คนทั่วไปได้สั่งสมกันมา คนละนานๆ เกือบจะว่าตั้งแต่เกิดทีเดียว ๒๐ - ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ - ๕๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง และไม่เคยหัดตัดวงจรลบกระบวนกันมาเลย การจัดการแก้ไข จึงไม่ใช่เรื่องที่จะกระทำได้ง่ายนัก ในทันทีที่รับรู้อารมณ์หรือมีประสบการณ์ ยังไม่ทันตั้งตัวที่จะยั้งกระบวนการ จิตก็แล่นไปตามความเคยชินของมันเสียก่อน ดัง นั้น การแก้ไขในเรื่องนี้ จึงมิใช่จะเพียงตัดวงจรล้างกระบวนธรรมนั้นลงเท่านั้น แต่จะต้องแก้ไขความเคยชิน หรือนิสัยที่ไหลแรงไปข้างเดียวของจิตอีกด้วย องค์ธรรมสำคัญที่จะใช้เป็นตัวเบิกทางและเป็นหลักรวมพลทั้งสองกรณีนั้น ก็คือสติการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ก็มีวัตถุประสงค์อย่างนี้ กล่าว คือ เมื่อมีสติตามทันขณะปัจจุบัน และมองดูสิ่งนั้นๆ ตามที่มันเป็นอยู่ในขณะนั้นๆตลอดเวลา ย่อมสามารถตัดวงจรทำลายกระบวนธรรมฝ่ายอกุศลลงได้ด้วย ค่อยๆแก้ไขความเคยชินเก่าๆ พร้อมทั้งสร้างแนวนิสัยใหม่ให้แก่จิตได้ด้วย จิตที่มีสติช่วยกำกับให้ตามทันอยู่กับขณะปัจจุบัน จะมีสภาพตรงข้ามกับจิตที่เป็นไปตามกระบวนธรรมข้างต้น คือ - ความชอบใจ หรือขัดใจ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เพราะการที่จะชอบใจหรือขัดใจ จิตจะข้องขัดอยู่ ณ จุดหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง และชงักค้างอยู่คือตกลงในอดีต - ไม่เลื่อนไหลลงไปในอดีต ไม่เลื่อนลอยไปในอนาคต ความชอบใจ ไม่ชอบใจ กับการตกอดีตเป็นอาการที่เป็นไปด้วยกัน เมื่อไม่ข้อง ไม่ค้างอยู่ ตามดูทันอยู่กับสภาวะที่กำลังเป็นไปอยู่ การตกอดีต ลอยอนาคต ก็ไม่มี - ไม่ถูกความคิดปรุงแต่งเนื่องด้วยภูมิหลังที่ได้สั่งสมไว้ ชักจูงให้แปลประสบการณ์หรือสิ่งที่รับรู้ให้เอนเอียงบิดเบือนหรือย้อมสีไปตามอำนาจของมัน พร้อมที่จะมองไปตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ - ไม่ปรุงแต่งเสริมซํ้าหรือเพิ่มกำลังแก่ความเคยชินผิดๆ ที่จิตได้สั่งสมเรื่อยมา - เมื่อตามดูรู้ทันทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบันทุกขณะ ก็ย่อมได้รู้เห็นสภาพจิตนิสัย เป็น ต้นของตนเองที่ไม่พึงปรารถนา หรือที่ตนเองไม่ยอมรับ ปรากฎออกมาด้วย ทำให้ได้รับรู้สู้หน้าเผชิญสภาพที่เป็นจริงของตนเองตามที่มันเป็น ไม่เลี่ยงหนี ไม่หลอกลวงตนเอง และทำให้สามารถชำระล้างกิเลสเหล่านั้น แก้ปัญหาในตนเองได้ด้วย นอก จากนั้น ในด้านคุณภาพจิต ก็จะบริสุทธิ์ ผ่องใส โปร่ง เบิกบาน เป็นอิสระ ไม่ถูกบีบจำกัดให้คับแคบ และไม่ถูกเคลือบคลุมให้มัวหมอง สิ่งทั้งหลายตั้งอยู่ตามสภาพของมัน และเป็นไปตามธรรมดาของมัน พูดเป็นภาพพจน์ว่า ความ จริงเปิดเผยตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา แต่มนุษย์ปิดบังตนเองจากมัน หรือไม่ก็มองภาพของมันบิดเบือนไป หรือไม่ก็ถึงกับหลอกลวงตัวของมนุษย์เอง ตัวการที่ปิดบัง บิดเบือน หรือหลอกลวงก็คือ การตกลงไปในกระบวนธรรมดังกล่าวข้างต้น เครื่องปิดบัง บิดเบือน หรือหลอก ก็มีอยู่แล้ว ยิ่งความเคยชินคอยชักลากให้เขวไปเสียอีก โอกาสที่จะรู้ความจริงก็แทบไม่มี ใน เมื่อความเคยชินหรือติดนิสัยนี้ มนุษย์ได้สั่งสมกันมานานหนักหนา การปฏิบัติเพื่อแก้ไขและสร้างนิสัยใหม่ ก็ควรจะต้องอาศัยเวลามากเช่นเดียวกัน เมื่อ ใดสติตามทันทำงานสมํ่าเสมอต่อเนื่องอย่างชำนาญ คนไม่ปิดบังตัวเอง ไม่บิดเบือนภาพที่มอง และพ้นจากอำนาจความเคยชินหรือนิสัยเก่าของจิตแล้ว เมื่อนั้น ก็พร้อมที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันและรู้เข้าใจความจริง ถึงตอนนี้ ถ้าอินทรีย์อื่นๆโดยเฉพาะ ปัญญา แก่กล้าพร้อมดีอยู่แล้ว ก็จะร่วมทำงานกับสติ หรืออาศัยสติ คอยเปิดทางให้ทำงานอย่างเต็มที่ ทำให้เกิด ความหยั่งรู้หยั่งเห็นตามความเป็นจริง ที่เป็นจุดมุ่งหมายของวิปัสสนาแต่การที่เป็น ต้นจะพร้อมหรือแก่กล้าได้นั้น ย่อมอาศัยการฝึกฝนอบรมเป็นลำดับ รวมทั้งการเล่าเรียนสดับฟังในเบื้องต้นด้วย การเล่าเรียนสดับฟังและการคิดเหตุผล เป็นต้น จึงมีส่วนเกื้อกูลแก่การรู้แจ้งสัจธรรมได้ความจริงนั้น สติ มิใช่ตัววิปัสสนาปัญญา หรือการใช้ปัญญาต่างหากเป็นวิปัสสนา แต่ปัญญาจะได้โอกาสและจะทำงานได้อย่างปลอดโปร่งเต็มที่ก็ต่อเมื่อมีสติ คอยช่วยกำกับหนุนอยู่ ด้วยเหตุผลดังกล่าวแล้วข้างต้น การฝึกสติจึงมีความสำคัญมากในวิปัสสนา พูดอีกอย่างหนึ่งว่า การฝึกสติ ก็เพื่อใช้ปัญญาได้เต็มที่ หรือเป็นการฝึกปัญญาไปด้วยนั่นเอง ในภาษาของการปฎิบัติธรรม เมื่อพูดถึงสติก็เล็งถึงปัญญาที่ควบอยู่ด้วย และสติจะมีกำลังกล้าแข็งหรือชำนาญคล่องแคล่วขึ้นได้ก็เพราะมีปัญญาร่วมทำงานปัญญาที่ทำงานร่วมอยู่กับสติในกิจทั่วๆไปมักมีลักษณาการที่เรียกว่า สัมปชัญญะ ในขั้นนี้ ปัญญายังดูคล้ายเป็นตัวประกอบ คอยร่วมมือและประสานงานกับสติ การพูดจากล่าวขานมักเพ่งเล็งไปที่สติ เอาสติเป็นตัวหลักหรือตัวเด่น แต่ในขั้นที่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาอย่างจริงจัง ความเด่นจะไปอยู่ที่ปัญญา สติจะเป็นเหมือนตัวที่คอยรับใช้ปัญญา ปัญญาที่ทำงานในระดับนี้ เช่นที่เรียกว่า ธรรมวิจัยโพชฌงค์ ๗ ประการ เป็นต้น สัมปชัญญะก็ดี ธรรมวิจัยก็ดี หรือ ปัญญาในชื่ออื่นๆก็ดี ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้ง รู้เข้าใจ สิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละคือวิปัสสนา สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา หากพูดเปรียบเทียบระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับในวิปัสสนา อาจช่วยให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่กล่าวมานั้นชัดเจนขึ้น ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ (webmaster- อารมณ์หมายถึงสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวหรือกำหนด) หรือ ดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทกับอารมณ์นั้น นิ่งสงบ ไม่ส่ายไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นเป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปอย่าง สมํ่าเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงแค่นั้น สมถะก็สำเร็จ ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์กุมไว้กับจิต หรือคุมจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเอาอารมณ์นั้นเสนอให้ปัญญา ตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญา ตรวจดูและวิเคราะห์วินิจฉัย โดยใช้สติ ที่ตั้งมั่นเป็นที่ทำงาน หากจะอุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆก็ไปไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศก็หมอบนิ่งอยู่ที่หลักนั้นเอง จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ อารมณ์เหมือนหลัก สติเหมือนเชือก ส่วนในกรณีวิปัสสนา เปรียบ เหมือนเอาเชือกหรือเครื่องยึดอย่างหนึ่งผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุบางอย่าง ไว้กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดูหรือทำกิจอื่น เช่น ผ่าตัดเป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน เชือกหรือเครื่องยึดคือสติ คน สัตว์ หรือวัตถุที่เกี่ยวข้องคืออารมณ์ แท่นหรือเตียงคือจิตที่เป็นสมาธิ การตรวจหรือผ่าตัดเป็นต้นคือปัญญาที่ กล่าวมานั้นเป็นการพูดถึงหลักทั่วไป ยังมีข้อปลีกย่อยบางอย่างที่ควรกล่าวถึงอีกบ้าง อย่างหนึ่งคือในสมถะ ความมุ่งหมายอยู่ที่ทำจิตใจให้สงบ ดังนั้น เมื่อให้สติกำหนดอารมณ์ใดแล้ว สติก็ยึดตรึงดึงสติกุมไว้กับอารมณ์นั้น ที่ส่วนนั้นอย่างเดียว ให้จิตจดจ่อแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นเท่านั้น ไม่ให้คลาดไปเลย จนในที่สุดจิตน้อมดิ่งแน่วแน่อยู่กับนิมิตหรือมโนภาพของสิ่งที่กำหนด ซึ่งเป็นเพียงสัญญาที่อยู่ในใจผู้กำหนดเอง ส่วน ในวิปัสสนา ความมุ่งหมายอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจสภาวธรรม ดังนั้น สติจึงตามกำหนดอารมณ์เฉพาะตัวจริงของมันตามสภาวะเท่านั้น และเพื่อให้ปัญญารู้เท่าทันครบถ้วนชัดเจนเกี่ยวกับสภาวะของมัน จึง ตามกำหนดอารมณ์นั้นๆตามความเป็นไปของมันโดยตลอด เช่น ดูมันตั้งแต่เกิดขึ้น คลี่คลายตัว จนกระทั่งดับสลายไป นอกจากนั้นยังต้องกำหนดอารมณ์ทุกอย่างที่เข้ามาหรือเข้าไปเกี่ยวข้องซึ่ง ปัญญาจะต้องรู้เข้าใจเพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง จึง เปลี่ยนอารมณ์ที่กำหนดได้เรื่อยๆ และเพื่อให้รู้เท่าทันตรงตามที่สิ่งนั้นเป็นอยู่เป็นไปแท้ๆ จึงต้องตามกำหนดดูให้ทันความเป็นไปในแต่ละขณะนั้นๆทุกขณะ ไม่ยอมให้ติดค้างอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอารมณ์ใดๆ ข้อสังเกตุปลีกย่อยอื่นๆยังมีอีก เช่น ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบจำเพาะซํ้าไปซํ้ามาภายในขอบเขตจำกัด ส่วนในวิปัสสนา สติตามกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นช่วย ให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย ส่วนในวิปัสสนา กำหนดอารมณ์ทุกอย่างได้ไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฎขึ้นให้พิจารณา และอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)ส่วนประกอบสำคัญที่พึงสังเกตุอีกอย่างหนึ่ง ภายในหลักทั่วไปแห่งการปฏิบัตินั้น ซึ่งช่วยให้เห็นลักษณะพิเศษของวิปัสสนา ที่แตกต่างจากสมถะชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือ โยนิโสมนสิการโยนิโสมนสิการเป็นองค์ธรรมที่จะช่วยให้เกิดปัญญา จึงมีความสำคัญมากสำหรับวิปัสสนา ส่วนในฝ่ายสมถะ โยนิโสมนสิการแม้จะช่วยเกื้อกูลได้ในหลายกรณี แต่มีความจำเป็นน้อยลง บางครั้งอาจไม่ต้องใช้เลย หรือเพียงมนสิการเฉยๆก็เพียงพอ ขยายความว่า ในการเจริญสมถะ สาระสำคัญมีเพียงให้ใช้สติกำกับจิตไว้กับอารมณ์หรือคอยนึกถึงอารมณ์นั้นไว้ และเพ่งความสนใจไปที่อารมณ์ ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นจนแน่วแน่ ใน กรณีเช่นนี้ ถ้าผลเกิดขึ้นตามขั้นตอน ก็ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการเลย แต่ในบางกรณีที่จิตไม่ยอมสนใจอารมณ์นั้น ดึงไม่อยู่ คอยจะฟุ้งไป หรือในกรรมฐานบางอย่างที่ต้องใช้ความคิดพิจารณาบ้าง เช่น การเจริญเมตตา เป็นต้น อาจต้องใช้อุบายช่วยนำจิตเข้าสู่เป้าหมาย ในกรณีเช่นนี้ จึงอาจต้องใช้โยนิโสมนสิการช่วย คือ มนสิการโดยอุบาย หรือทำในใจโดยแยบคาย หรือรู้จักเดินความคิดนำจิตไปให้ถูกทางสู่เป้าหมาย เช่น รู้จักคิดด้วยอุบายวิธีที่จะทำให้โทสะระงับและเกิดเมตตาขึ้นมาแทน เป็นต้น แต่จะทำอย่างไรก็ตาม ในฝ่ายสมถะนี้ โยนิโสมนสิการที่อาจต้องใช้ ก็เฉพาะประเภทปลุกเร้ากุศลธรรมเท่านั้น ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการประเภทปลุกความรู้แจ้งสภาวะ ส่วนในฝ่ายวิปัสสนา โยนิโสมนสิการเป็นขั้นตอนที่สำคัญทีเดียวที่จะให้เกิดปัญญา จึงเป็นองค์ธรรมที่จำเป็น โยนิโสมนสิการอยู่ต่อเนื่องกับปัญญา เป็นตัวการทำทางให้ปัญญาเดิน หรือเปิดขยายช่องให้ปัญญางอกงาม มีลักษณะและการทำงานใกล้เคียงกับปัญญามากจนมักพูดคลุมกันไป คือ พูดถึงอย่างหนึ่งก็หมายถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาแยกไม่ค่อยออกว่าอะไรเป็นอย่างไหน อาจกล่าวได้ว่า โยนิโสมนสิการทำงานเชื่อมต่ออยู่ระหว่างสติและปัญญา เป็นตัวนำทางหรือเดินกระแสความคิดในลักษณะที่จะทำให้ปัญญาได้ทำงานและทำงาน ได้ผล พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นตัวให้วิธีแก่ปัญญา หรือเป็นอุบายวิธีของการใช้ปัญญาให้ได้ผล แต่ที่นักศึกษามักสับสนก็เพราะในการพูดทั่วไป เมื่อใช้คำว่าโยนิโสมนสิการก็หมายรวมทั้งการเสนออุบายหรือวิธีแห่งการคิด ที่เป็นตัวโยนิโสมนสิการเอง และการใช้ปัญญาตามแนวทางหรือวิธีการนั้นด้วย หรือเมื่อพูดถึงปัญญาภาค ปฏิบัติการสักอย่างหนึ่ง เช่น คำว่า ธรรมวิจัย ก็ มักละไว้ให้เข้าใจเองว่า เป็นการใช้ปัญญาเฟ้นธรรมให้สำเร็จโดยวิธีโยนิโสมนสิการอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจะพูดให้เห็นเหมือนเป็นลำดับ ก็จะเป็นดังนี้ เมื่อสติระลึกถึงสิ่งที่เกี่ยวข้อง ต้องใช้ ต้องทำ และเอาจิตกำกับสิ่งนั้นไว้แล้ว โยนิโสมนสิการก็จับเอาสิ่งนั้นหมุนหันเอียงตะแครงเป็นต้นอย่างใดอย่าง หนึ่งให้ปัญญาพิจารณาจัดการ ซึ่ง เป็นการกำหนดจุดแง่มุมด้านข้างและทิศทางนั้นๆ ถ้าโยนิโสมนสิการจัดท่าทำทางให้เหมาะดี ปัญญาก็ทำงานได้ผล อุปมาเหมือนคนพายเรือเก็บดอกไม้ใบผักในแม่นํ้าไหลมีคลื่น เอาอะไรผูกหรือยึดเหนี่ยวตรึงเรือให้หยุดอยู่กับที่จ่อตรงตำแหน่งของดอกไม้ หรือใบผักนั้นดีแล้ว มือหนึ่งจับกิ่งก้านกอหรือกระจุกพืชนั้น รวบขึ้นไป รั้งออกมา หรือพลิกตะแครง โก่งหรืองออย่างใดอย่างหนึ่งสุดแต่เหมาะกับเครื่องมือทำงาน อีกมือเอาเครื่องมือที่เตรียมไว้เกี่ยว ตัดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จกิจได้ตามประสงค์ สติเปรียบเสมือนเครื่องยึดตรึงเรือและคนให้ตรงที่กับต้นไม้ เรือหรือคนที่หยุดตรงที่เปรียบเหมือนกับจิต มือจับกิ่งก้านต้นไม้ให้อยู่ในอาการที่จะทำงานได้เหมาะเปรียบเหมือนโยนิโสมนสิการ อีกมือหนึ่งที่เอามีดหรือเครื่องมืออื่นทำงานเกี่ยวตัด เปรียบได้กับปัญญา อย่างไรก็ตาม ในที่ทั่วไป พึงจับเอาง่ายๆเพียงว่า โยนิโสมนสิการหมายคลุมถึงปัญญา คือ มนสิการด้วยปัญญานั่นเอง อนึ่ง เมื่อโยนิโสมนสิการกำลังทำงานอยู่ สติก็จะยังอยู่ด้วยไม่หลงลอยหลุดไป(คิดปรุงแต่งคือฟุ้งซ่าน - webmaster) ดังนั้น สติกับโยนิโสมนสิการจึงเกื้อกูลแก่กันและกันในวิปัสสนา


    ที่มาข้อมูล : http://www.nkgen.com/stitham.htm
     

แชร์หน้านี้