เอหิปัสสิโก ท่านจงมาดูกันเถิด

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 1 มีนาคม 2020.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,323
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +698
    เอหิปัสสิโก ท่านจงมาดูกันเถิด

    โดย…..ดร.พระมหาจรรยา สุทธิญาโณ

    บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณที่ว่า เอหิปัสสิโก แปลว่า ท่านจงมาดูเถิด เป็นบทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ ที่ชี้ชัดว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น สามารถนำมาปฏิบัติได้ทุกเมื่อ ได้ผลทันทีที่ปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติที่พิสูจน์กันได้ด้วย ประสบการณ์จากการปฏิบัติของตนเอง มิใช่สิ่งที่บังคับให้เชื่อกันอย่างหลับหูหลับตาโดยไม่ใช้สติปัญญาไตร่ตรอง

    พระธรรมคุณข้อนี้ เป็นหลักสำคัญที่พุทธบริษัทพึงใช้ในการตรวจสอบ ปรากฏการณ์ทางศาสนาแปลกๆที่พุทธบริษัทหรือ คนทั่วไปสงสัยว่า เป็นหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าแท้จริงหรือไม่ ปัจจุบันนี้ เรื่องที่ชวนให้สงสัยว่า สิ่งที่วัดวาอารามต่างๆ นำมาโฆษณาชวนเชื่อว่า เป็นเรื่องในทางพระพุทธศาสนามีอยู่มากมายก่ายกอง จนบางครั้งพุทธบริษัทพากันสับสนถึงกับถก เถียงกันอย่างรุนแรง จนนำไปสู่การทะเลาะวิวาทแบ่งแยกกลุ่มพุทธบริษัทออกไปตามความเชื่อถือโดยไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ มาตัดสิน

    พุทธบริษัทหลายท่าน เคยนำปัญหาสับสนร่วมสมัยมาถามอยู่เสมอๆว่า ถ้าได้สวดคาถาชินบัญชรเป็นประจำจะทำให้ ผู้สวดมีโชคลาภร่ำรวย หรือ ในเทศกาลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นวันขึ้นปีใหม่หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา หรือวันอาสาฬหบูชา วัดวาอารามต่างๆมักจะจัดสวดอิติปิโส 108 จบ หรือ บางแห่งนั่งสวดกันถึง หนึ่งแสนจบ จะทำให้ผู้สวดร่ำรวย จะเป็นความจริงหรือไม่

    อุบาสกอุบาสิกาบางท่านเคยถามว่า การซื้อเหรียญที่มีชื่อออกไปทางร่ำรวย เช่นพระดูดทรัพย์ พระรวยโคตรๆ ราคา องค์หนึ่งๆ เป็นหมื่นบาท จะทำให้ผู้ซื้อ ร่ำรวยตามที่ผู้ขายได้โฆษณาชวนเชื่อไว้หรือไม่

    ปัญหาทั้งสองปัญหานี้ สรุปลงที่ว่า หากพระสงฆ์แนะนำให้ปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวมานี้ ไม่ว่าจะสวดร้องท่องบ่นนานๆ มากๆ แล้วจะร่ำจะรวยจริงแค่ไหน

    หากนำเอาพระธรรมคุณบทที่ว่า เอหิปัสสิโก เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกับผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด มาเป็นบทพิสูจน์ก็ต้องพิสูจน์ ตามหลักเหตุและผล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่พระพุทธเจ้าและพระอริยสาวกใช้เป็นแกนในการสั่งสอนพระธรรม

    คำตอบที่สามารถฟันธงลงไปได้เลยว่า การสวดอิติปิโส หนึ่งร้อยแปดรอบ หรือหนึ่งแสนรอบ ไม่สามารถทำให้รวยได้ เลยเลย เพราะเหตุกับผลไม่ตรงกัน

    การสวดอิติปิโส หรือสวดชินบัญชรกี่รอบก็ตาม เป็นเหตุ

    ความสงบที่ได้จากการสวดเป็นผลที่ถูกต้อง

    ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปสวดดูได้

    นี่คือเอหิปัสสิโก เหตุและผลต้องตรงกัน

    แต่การสวดอิติปืโส หรือสวดคาถาชินบัญชร ย่อมคอนเฟิร์มได้ว่าไม่ทำให้รวยได้ เพราะไม่เกี่ยวกับความรวยหรือจน เป็น เรื่องของความวุ่นวายกับความสงบล้วนๆ

    ส่วนประเด็นที่ว่า หากไปซื้อเหรียญหรือรูปปั้นที่มีชื่อออกไปทางร่ำรวยมาบูชา จะร่ำรวยไหม

    คำตอบฟันธง หรือ คอเฟิร์มว่า ไม่ทำให้รวยได้ ซ้ำร้ายยังต้องเสียเงินจำนวนมากที่ไม่คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายซื้อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นั้น เพราะเป็นที่ทราบกันว่า เหรียญหรือ รูปปั้นบูชาส่วนใหญ่ ทำด้วยวัสดุที่มีต้นทุนต่ำแต่นำไปขายในราคาที่สูงเป็นร้อยเท่า หรืออาจจะเป็นพันเท่า

    เช่นเหรียญจตุคามรามเทพ ในยุคที่คนคลั่งไคล้ไหลลงกันมาก สามารถขายได้เหรียญละ หนึ่งล้านบาท แล้วค่อยๆ ลด ลงมา เป็นแสนบาท จนกระทั่งสุดท้ายร้านขายพระเครื่องบางแห่งในกรุงเทพฯขายส่งในราคาสามเหรียญห้าบาท อิทธิฤทธิ์ ต่างๆ ของจตุคามรามเทพที่เคยมีครอบจักรวาล ก็ค่อยจางคลายหายไปจนไม่มีใครกล่าวเล่าขานถึงอีกเลย

    มีคำถามเพิ่มเติมเข้ามาว่า ถ้าเช่นนั้นทำไมคนนั้น หรือคนนี้ ได้สวดคาถาดังที่กล่าวมานี้ หรือได้ครอบครองเหรียญ ดังกล่าวจึงร่ำรวย

    คำตอบก็คือ ลองเข้าไปศึกษาให้ใกล้ชิดดูเถิด คนที่กล่าวอ้างว่าร่ำรวยเหล่นั้น มักจะร่ำรวยอยู่ก่อนแล้ว หรือไม่ก็กำลัง จะร่ำรวยด้วยเหตุแห่งความร่ำรวยที่กำลังจะผลิดอกออกผลอยู่พอดี เพราะความรวยหรือความจน ไม่มีเหรียญหรือมนต์ใดดล บันดาลได้ แต่เกิดจากเงื่อนไขของการทำรายได้มากหรือรายได้น้อยและเหตุปัจจัยอื่นๆมาประกอบกันแล้วจะรวยหรือจนเป็น ผลออกมา

    อย่างไรก็ตามหากกลับมาดูหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสจะพบเหตุแห่งการมีทรัพย์ แต่ไม่มีตรงไหนตรัสไว้ว่าจงสวดบท นี้ซิจะรวย แต่พระองค์ตรัสวิธีการที่จะมีทรัพย์ไว้ในทิฏฐธรรมิกัตถประโยชน์สี่อย่างคือ

    1. อุฏฐานสัมปทา แปลว่า ขยันขันแข็งในการทำงาน

    2. อารักขสัมปทา แปลว่า รักษาจัดการทรัพย์ที่หามาได้อย่างเหมาะสม

    3. กัลยาณมิตตา แปลว่า คบมิตรดี

    4. สมชีวิตา แปลว่า ดำรงชีวิตพอเหมาะ จับจ่ายใช้สอยทรัพย์เพื่อตอบสนองความจำเป็นให้เหมาะสมกับรายรับรายได้ หรือหากทำรายจ่ายให้น้อยกว่ารายได้ ต้องมีทรัพย์เหลือเก็บ

    คำว่า รวย หรือ จน ชี้กันด้วยจำนวนทรัพย์ที่เก็บได้ ใครเก็บทรัพย์ได้มาก ก็สมมติเรียกว่า รวย ใครเก็บทรัพย์ได้น้อย สมมติ เรียกว่า จน

    แต่พระพุทธเจ้ามิได้ตัดสินคนที่รวยหรือจน แต่ตัดสินที่คุณค่าของทรัพย์ที่มี หากผู้มีทรัพย์ยินดีในทรัพย์เมื่อไร ทรัพย์นั้นก็ มีความหมายมาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สันตุฎฐิ ปรมัง ธนัง แปลว่า ความยินดี พอใจ ในสิ่งที่ตนมี ตนได้ เป็นทรัพย์อย่างยิ่ง

    พระพุทธเจ้ามิได้ตรัสว่า ใครมีทรัพย์มาก จะเป็นคนมีทรัพย์ยิ่ง แต่ใครที่พอใจในทรัพย์ที่ตนมี ยินดีในสิ่งที่ตนได้และครอบ ครองอยู่ต่างหาก ที่ทรัพย์นั้นจะมีความหมาย

    หากมีทรัพย์และเก็บทรัพย์เพียงอย่างเดียว ทรัพย์นั้นยังไม่มีความหมายมาก แต่ผู้ที่หาทรัพย์ได้ ใช้ทรัพย์เป็น และพอใจ ในทุกขณะต่างหากที่เป็นผู้มีทรัพย์อย่างมีความหมายต่อชีวิต จะมีความสุขกับการมีทรัพย์ มีสุขจากการจับจ่ายใช้สอยในส่วน ที่จำเป็น และเป็นอิสระไม่มีหนี้สินผูกพัน ก็ถือว่าได้เข้าถึงสุขของผู้ครองเรือน

    ใครอ่านบทความนี้แล้ว จะนั่งสวดมนต์ให้ทรัพย์วิ่งมาหา หรือห้อยเหรียญให้ดูดทรัพย์เข้ามาหา หรือจะปฏิบัติธรรมข้อ ทิฎฐธรรมิกัตถประโยชน์ตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้แล้วจึงมีทรัพย์ ก็จงชวนกันปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ดูตามบทพระธรรมคุณที่ว่า เอหิปัสสิโก ท่านจงมาดูเถิด วิธีการไหนได้ผลจริงๆตามที่พิสูจน์แล้วก็จงเลือกดำรงชีวิตด้วยวิธีการนั้นเถิด

    ขอบคุณที่มาครับ
    http://live.siammedia.org/index.php/article/dharma/1776
     

แชร์หน้านี้

Loading...