แก้วมณีศรีอิสาน...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย phuang, 19 สิงหาคม 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    แก้วมณีศรีอิสาน...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


    <CENTER> หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต</CENTER><CENTER>วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร</CENTER>


    <TABLE borderColor=#808080 cellSpacing=3 borderColorDark=#808000 cellPadding=2 width="90%" bgColor=#d9ffd9 borderColorLight=#00ff00 border=2><TBODY><TR><TD width="100%"><CENTER>[size=+1]แก้ให้ตกเด้อ แก้บ่ตกคาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิด ในภพทั้งสามภพทั้งสามเป็นเฮือนเจ้าอยู่</CENTER>[/size]</TD></TR></TBODY></TABLE>​


    [size=+1]ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพียแก่นท้าวเป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดง แข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา คือเรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และมีความขยันหมั่นเพียรชอบการเล่าเรียนศึกษา

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนัก บรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมากเพราะเอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อยเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้

    เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อ ช่วยการงานทางบ้าน ท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานของบิดามารดาเต็มความสามารถ ท่านเล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า "เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก" คำสั่งของยายนี้คอยสะกิดใจอยู่เสมอ

    ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวชท่านทั้งสองก็อนุญาตตามประสงค์ ท่านได้เข้าศึกษาในสำนักท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรมเป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปฌายะ พระครูสีทา ชยเสโนเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะขนานนามมคธ ให้ว่า ภูริทัตโต เสร็จอุปสมบทกรรมแล้วได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กันตศีลเถระ ณ วัดเลียบต่อไป

    เมื่อแรกอุปสมบท ท่านพำนักอยู่วัดเลียบ เมื่ออุบลเป็นปกติออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลเป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้นได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัยคืออาจาระ ความประพฤติ มารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือเดินจงกรมนั่งสมาธิกับสมาทานธุดงควัตรต่างๆ

    ในสมัยต่อไปได้แสวหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม และถ้ำสิงห์โตลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัยสิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสานทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนาแก่สหธรรมิก และอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน

    ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับเจ้าพระคุณอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษา แล้วออกไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆ นานถึง ๑๑ปีจึงได้กลับมาจังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบันคือ อำเภอโคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่านได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

    ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
    ๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
    ๒. บิณฑบาติกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวก บ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
    ๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด
    ๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่ เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ในเสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจนสุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้

    ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติอันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อยๆ เพื่อเป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วยกาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ดังนี้
    ๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นชื่อว่าดีเลิศ
    ๒. ได้สมบัติทั้งปวงไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง เมื่อท่านอธิบายตจปัญจกกรรมฐานจบลงมักจะกล่าวเตือนขึ้นเป็นคำกลอนว่า แก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกเจ้าไว้ แก้บ่ได้แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้นคาก้นย่างยาย คาย่างยายเวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิด ในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่ ดังนี้

    เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุผู้เป็นสานุศิษย์ถือลัทธิฉันเจ ให้เข้าใจถูกและละเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้วได้กล่าวคำเป็นคติขึ้นว่า "เหลือแต่เว้าบ่เห็นบ่อนเบาหนักเดินบ่ไป ตามทางสิถึกดงเสือฮ้าย" ดังนี้แลการบำเพ็ญสมาธิเอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้วส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ถ้าใครกลัวตายเพราะเด็ดเดี่ยวทางความเพียร ผู้นั้นจะกลับมาตายอีกหลายภพ หลายชาติไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตายผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลงถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้น แลจะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาบทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดความแปรปรวนของสังขารประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้าแท้ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ท่านพระอาจารย์มั่นแสดง โดยยึดหลักธรรมชาติของศีลธรรมทางด้านปฏิบัติเพื่อตักเตือนนักปฏิบัติทั้งหลาย ท่านแสดงเอาแต่ใจความว่า... การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศลคือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง.. นี้แลคือคำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า การไม่ทำบาป..ถ้าทางกายไม่ทำแต่ทางวาจาก็ทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำสั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับก็เริ่มสั่งสมบาป ต่อไปจนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้โดยมิได้สนใจว่าตัวทำบาปหรือสั่งสมบาปเลยแม้กระนั้นยังหวังใจอยู่ว่าตนมีศีลธรรม และคอยแต่เอาความบริสุทธิ์จากความมีศีลรรมที่ยังเหลืออยู่แต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้นจึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายภายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะตนแสวงหาสิ่งนั้นก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้นจะให้เจออะไรเล่าเพราะเป็นของที่มีอยู่ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์[/size]

     
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโอวาทธรรมให้ปรากฏไว้ เมื่อครั้งท่านจำพรรษาอยู่ ณ วัดสระปทุม (ปัจจุบันคือ วัด ประทุมวนาราม) กทม. ซึ่งปัจจุบันอาจค้นคว้าหาอ่านได้ไม่ง่ายนัก มีดังนี้ นมัตถุ สุคตัสสะ ปัญจธัมมักขันธานิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมซึ่งพระสุคต บรมศาสดาศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ และพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น บัดนี้ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมขันธ์โดยสังเขปตามสติปัญญาฯ ยังมีท่านคนหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน
    เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน
    นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย
    วันหนึ่งท่านรู้จริงซึ่งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หาย
    เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์คลาย
    แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไปเมินมาอยู่หน้าเขา
    จะกลับไปป่าวร้องพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้า
    เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ
    เดี๋ยวถูกยอถูกติเป็นเรื่องเครื่องรำคาญ ยังมีบุรุษคนหนึ่งคิดกลัวตายน้ำใจฝ่อ
    มาหาแล้วพูดตรงๆ น่าสงสาร ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน
    เห็นธรรมที่จริงแล้วหรือยังที่ใจหวัง เอ๊ะ! ทำไมจึงรู้ใจฉัน
    บุรุษผู้นั้นก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดีดีฉันอนุโมทนา
    จะพาดูเขาใหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มี คือ กายคตาสติภาวนา
    ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน หนทางจรอริยวงศ์
    จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ไปหลอกเล่นบอกความให้ตามจริง
    แล้วกล่าวปริศนาท้าให้ตอบ ปริศนานั้นว่าระวิ่งคืออะไร
    ตอบวิ่งเร็วคือวิญญาณอาการใจ เดินเป็นแถวตามแนวกัน
    สัญญาตรงไม่สงสัย ใจอยู่ในวิ่งไปมา
    สัญญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิต ทำให้จิตวิ่นวายเที่ยวส่ายหา
    หลอกเป็นธรรมต่างๆ อย่างมายา ถามว่าห้าขันธ์ใครพ้นจนทั้งปวง
    แก้ว่าใจซิพ้นอยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติดสิ้นพิศวง
    หมดที่หลงอยู่เดียวดวง สัญญาทะลวงไม่ได้หมายหลงตามไป
    ถามว่าที่ตายใครเขาตายที่ไหนกัน แก้ว่าสังขารเขาตายทำลายผล
    ถามว่าสิ่งใดก่อให้ต่อวน แก้ว่ากลสัญญาพาให้เวียน
    เชื่อสัญญาจึงผิดคิดยินดี ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียน
    เลยลืมจิตจำปิดสนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น
    ถามว่าใครกำหนดใครหมายเป็นธรรม แก้ว่าใจกำหนดใจหมาย
    เรื่องหาเจ้าสัญญานั้นเอง คือว่าดีว่าชั่วผลักจิตติดรักชัง
    ถามว่ากินหนเดียวเที่ยวไม่กิน แก้ว่าสิ้นอยากดูไม่รู้หวัง
    ในเรื่องเห็นต่อไปหายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่งทิ้งอาลัย
    ถามว่าสระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ แก้ว่าธรรมสิ้นอยากจากสงสัย
    ใสสะอาดหมดราคีไม่มีภัย สัญญาในนั้นพรากสังขารขันธ์นั้นไม่ถอน
    ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ไม่มีพร่อง เงียบสงัดดวงจิตไม่คิดตรอง
    เป็นของควรชมชื่นทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน
    หากแม้นเหมือนรู้จริงทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำคัญ
    จำส่วนจำกั้นอยู่ไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้นหายดิ้นรน
    เหมือนอย่างว่ากระจกส่องหน้า ส่องแล้วอย่าคิดติดสัญญา
    เพราะสัญญานั้นดังเงา อย่างได้เมาไปตามเรี่องเครื่องสังขาร
    ใจขยันจับใจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป
    ใจไม่เที่ยวของใจใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตใหว
    แต่ก่อนนั้นหลงสัญญาว่าเป็นใจ สำคัญว่าในว่านอกจึงหลอกลวง
    คราวนี้ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาใดมิได้ห่วง
    เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา
    เหมือนยืนบนยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน แลเห็นสินทุกตัวสัตว์แต่ว่าสูงยิ่งนัก
    แลเห็นเรื่องของตนแต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้นเช่นบันได
    ถามว่านี้ขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือ ตอบว่าสังขารแปรก็ไม่ได้
    ธรรมดากรรมแต่งไม่แกล้งใคร ขึ้นผลักไสจับต้องก็หมองมัว
    ชั่วในจิตไม่ต้องคิดผิดธรรมดา สภาพสิ่งเป็นจริงดีชั่ว
    ตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเป็นการเย็น
    รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารเมื่อผันแปรเมื่อแลเห็น เบื่อแล้วปล่อยได้คล่องไม่ต้องเกณฑ์
    ธรรมก็ใจเย็นใจระงับดับสังขาร รับอาการถามว่าห้าหน้าที่มีครบครัน
    แก้ว่าขันธ์แย่งแยกแจกห้าฐาน เรื่องสังขารต่างกองรับหน้าที่มีกิจการ
    จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญเจริญสุข
    นินทาทุกข์เสื่อมยศหมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเป็นจริง
    ทั้ง ๘ สิ่งใจไม่หันไปพัวพัน เพราะว่ารูปขันธ์ก็ทำแก้ไข้มิได้ถ้วน
    นานก็มิได้พักเหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา
    เรื่องดีถ้าเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุด
    เหมือนไฟจุดจิตหมองไม่ผ่องใส นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไม่โทษใคร
    อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชย
    เช่นไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่งหวังพึ่งเฉย
    จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นครั้งคราว
    ถ้ารู้เท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์ ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราว
    ถ้ารู้ได้ย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิธี
    ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน
    ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมาย
    ในไม่เที่ยวของใจไหววะวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่งเล็กบังใหญ่รู้ไม่ทัน
    ขันธ์บังธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล
    ถามว่า-มี-ไม่มี ไม่มีมีนี้คืออะไร
    ทีนี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปลโปรดแก้เถิด
    ที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน
    นี่ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรง ข้อปลายไม่มีมีนี้เป็นธรรม
    ที่ล้ำลึกใครพบจบประสงค์ ไม่มีสังขารมีธรรมที่มั่นคง
    นั่นแลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่งไม่แปรผันเลิศพบสงบนิ่ง
    เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับยิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ
    ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย
    เรื่องพัวพันขันธ์ห้าชาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง
    ความอยากใหญ่ยิ่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิศวง
    ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจง เชิญเถิดขี้อีกสักอย่างหนทางใจ

     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างใหญ่นัก
    ย่อลงคือความรักบีบใจทำลายขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์
    เป็นเลิศกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต
    ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี
    ใจจากที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต
    จิตคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว
    สร่างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลายหายความร้อน
    พอดักผ่อนสืบแสวงหาทางดี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี
    ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์แน่ประจำ
    ธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์เท่านั้นแล
    คำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแก้
    ส่วนสังขารขันธ์ปราศจากสุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ตายไม่วายวัน
    จิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศจิตก็ถอน จากผิดเครื่องเศร้าหมองของแสลง
    ผิดเป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้งธรรมผิดหมดพิษใจ
    จิตเห็นธรรมดีเลิศที่พ้น พบปะธรรมปลดเปลื้องเครื่องกระสัน
    มีสติอยู่กับตัวบ่พัวพัน เรื่องรักขันธ์หายสิ้นขาดยินดี
    สิ้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงใย ถึงจะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสัย
    เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งยุ่งไป พึงรู้ได้ว่าบาปมีขื้นเพราะขืนจริง
    ตอบว่าบาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยิ่ง
    ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่งย่อมทุกข์ไม่สุขเลย
    แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉย
    ยึดความจำว่าเป็นใจหมายจนเคย เลยเพลินเชยชมจำธรรมมานาน
    ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่นขันธ์ ๕ น่าสงสาร
    ให้ยกตัวออกตนพ้นประมาณ เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไป
    ไม่ได้ผลเที่ยวดูโทษคนอื่นขื่นใจ เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม
    ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา ใจของเราเพียงระวังตั้งถนอม
    อย่าให้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบาย
    เห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ที่มั่นหมาย
    ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย เลยซ้ำร้ายกิเลสเข้ากลุ้มรุมกวน
    เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งหลงนักหนักจิตคิดโทษหวล
    ทั้งอารมณ์การห้าก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่างๆ กัน
    เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ร้ายไปได้เลย
    ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่าช้าเฉย ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย
    คงได้เชยชมธรรมอันเอกวิเวกจิต ไม่เพียงนั้นหมายใจไหวจากจำ
    เห็นแล้วขำดูดูอยู่ไหว อารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม
    เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่
    จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้วิธีจิต
    รู้เท่าที่ไม่เที่ยงจิตต้นฟื้นริเริ่ม คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้
    รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที
    คำที่ว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี จิตหวงนี้ปลายจิตคิดออกไป
    จิตต้นที่เมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย เห็นธรรมอันเกิดเลิศโลกา
    เรื่องจิตค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถอนเปลื้องปลดหมดได้ไปสิ้น
    ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ธรรมดาของจิตต้องคิดนึก
    พอรู้สึกจิตคุ้นพ้นรำคาญ เงียบสงัดจากมารเครื่องรบกวน
    ธรรมดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้นคงไม่มีเลย
    ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด มันจะเบียดให้จิตไปติดเฉย
    ใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย เมื่อถึงเฮยหากรู้เองพลงของจิต
    เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูกิเลสจำแลงเพศ
    เหมือนดังจริงที่แท้ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเองนามว่าความเห็น
    ไม่ใช่เข่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม ทั้งไตรตรองแยกแยะและรูปนาม
    ก็ใช่ความเห็นต้องจงเล็งดู จิตตนพ้นรำคาญ ต้นจิตรู้ตัวว่าสังขาร
    เรื่องแปรปรวนใช่กระบวนไป ดูหรือรู้จริงอะไรรู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่
    จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว จิตรุ้ไหวไหวก็จิตคิดกันไป
    แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน จิตเป็นอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน
    ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมรสหมดสงสัย
    ขาดต้นคว้หาเรื่องเครื่องนอกใน เรื่องจิตอยากก็หยุดให้หายหิว
    พ้นหนักใจทั้งหลายหายอิดโหย เหมือนฝนโปรยใจก็เย็นด้วยเห็นใจ
    ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตค้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว
    ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย เพราะดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง
    อยู่เงียบๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง
    ไม่ต้องวุ่นไม่ต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต
    ท่านชี้มรรคทั้งหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว
    ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดี
    ตอบว่าสมุทัยคืออาลัยรักเพลินยิ่งนัก ทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี
    ว่าอย่างต่ำกามคุณห้าเป็นการดี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน
    ถ้าจะจับตามวิธีมีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร
    เคยทั้งปวงเพลินมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิต
    ไปในส่วนที่ผิดก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน
    สิ่งใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย
    เพลินโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน
    โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรกเสียเลย
    โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก ลงวิบากไปตกนรกแสนสาหัส
    หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้นคงได้เชยชมสุขพ้นทุกข์ภัย
    เมื่อเห็นโทษตนชัดถึงตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้
    เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย เป็นโทษไหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง
    ดีไม่ดีนี้เป็นผิดของจิตนัก เหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง
    กำเริบโรคด้วยพิษผิดสำแดง ธรรมไม่แจ้งเพราะอยากดีนี้เป็นเดิม
    ความอยากดีมีมากมักลากจิต ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิม
    สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม
    ที่จริงชี้สมุทัยนี้ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างฟุ้งทางยุ่งยิ่ง
    เมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งใจสงบจบกันที
    อันนี้ชื่อว่าขันธะวิมุติสมังคีธรรม ประจำอยู่กับที่ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา
    สภาวธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่องจะแวะเวียน
    สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิด


    พระภูริทัตโต (มั่น) วัดสระปทุมวันเป็นผู้แต่ง
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,040
    [size=+1]ปัจฉิมบท ในวัยชรานบแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนครเปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ ณ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง (ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรี สุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ๆ แถวนั้นบ้าง

    ครั้นพ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยุ่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้วให้ชื่อว่า "มุตโตทัย" ครั้นมาถึงปี ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิดก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษา ศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกลต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคมเพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ

    ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาสใกล้เมืองสกลนคร โดยพาหนะรถยนต์ของแขวงการทางมาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐ เศษ ครั้นถึงเวลา ๒.๒๓ น.ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่านก็ได้ถึงมรณภาพด้วยอาการสงบ ในท่างกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา การบำเพ็ญประโยชน์ของท่านหลวงปู่ประมวลลงในหลัก ๒ ประการดังนี้
    ๑. ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศีลธรรมอันดีงามแก่ประชาชน พลเมืองของชาติในทุกๆ ถิ่นที่ท่านได้สัญจรไปคือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกีอบทั่วทุกจังหวัดภาคอีสานเกือบทั่วทุกจังหวัด ไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของประเทศ ทำให้พลเมืองของชาติผู้ได้รับคำสั่งสอนเป็นคนดี มีศีลธรรมดี มีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครองของผู้ปกครอง ชื่อว่าได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติตามควรแก่ชาติตามควรแก่สมณวิสัย
    ๒. ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ได้บรรพชาและอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริงๆ ครั้นบวชแล้วก็ได้เอาธุระศึกษา และปฏิบัติธรรมวินัยด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริงๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญสมณธรรม ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัดถึง ๔ ประการดังกล่าวแล้วเบื้องต้น ได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญ ได้นำหมู่คณะฟื้นฟูปฏิบัติธรรมวินัยได้ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ และพระพุทธโอวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจตามหลักการสมถวิปัสสนา อันสมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้ เป็นผู้มีน้ำใจเด็ดเดี่ยวอดทนไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรมแม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไรก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตาม คงมั่นอยู่ในธรรมวินัยตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมา ทำตนให้เป็นทิฏฐานุคติแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปเพื่อแสวงวิเวกตามที่ต่างๆ คือ บางส่วนของภาคกลางเกือบทั่วทุกจังหวัดในภาคเหนือ เกือบทุกจังหวัดของภาคอิสาน และแถมบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้วท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้นๆ ด้วย ผู้ได้รับสงเคราะห์ด้วยธรรมจากท่านแล้วย่อมกล่าวได้ด้วยความภูมิใจว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ท่านหลวงปู่ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้าในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุกติกาให้เป็นพระอุปัชฌายะในคณะธรรมยุตติกาตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับตั้งเป็นพระครูวินัยธร ฐานานุกรมของเจ้าพระคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันทเถระ จันทร์) ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อยตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้วท่านก็งดหน้าที่นั้น โดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่าท่านได้ทำเต็มกำลังยังศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ให้อาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติตลอดมา นับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษาที่ ๕๙ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน

    อาจกล่าวได้ด้วยความภูมิใจว่าท่านเป็นพระเถระที่มีเกียรติคุณเด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่งในยุคปัจจุบัน... [/size]

     

แชร์หน้านี้

Loading...