การทำฌานนั้นก็คล้ายทำสมาธิ แต่ฌานจะต้องนิ่งแต่รู้ (รู้ในความนิ่ง ทั้งอารมณ์ต่างๆในขณะนิ่งด้วย)
ฌานมีจุดเพ่งตายตัวที่เดียว ที่จุดมโนทวารตรงกลางใบหน้า ระหว่างตาทั้งสองข้าง ที่จุดดั้งจมูกหัก
เมื่อเพ่งที่เดียวก็ถือว่าเจริญมรรค เจริญอินทรีย์ หากทำติดต่อกัน 7 วันหรือ 7 เดือนหรือ 7 ปี ย่อมถึงอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่ง
เจริญในธรรม
แนะนำฌานสมาบัติ
ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 25 กันยายน 2015.
-
ไม่ถึง อริยะ หรอก .....หันไปฟัง ธรรมของท่านพุทธทาส สลับดูบ้าง
ข้อสังเกต "ธรรม"
ธรรมะ นั้นจะต้อง ชี้ให้เห็น ให้เข้าถึง ตรงๆ ไม่ได้ ไม่มี สูตรสำเร็จ
ธรรมะ นั้นจะต้องเป็นเพียง อุบาย เวลาฝึกไป ฝึกไป มัน เอ๊ะ ไปเห็น ไปรู้ ไปแจ้ง
ในธรรม ที่ไม่มีการ บรรยาย หรือ ชี้จากใครตรงๆ มาก่อน
พระพุทธองค์ก็ ไม่สามารถชี้ ธรรม ตรงๆ ได้ ..... คำสอนที่ดี จึงเป็นเพียง อุบาย อบรมจิต
ให้เข้าไป " เอ๊ะใจ (ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง จึงเห็น ธรรมที่ไม่มีทางได้ยินจากใครมาก่อน
--- เห็นสภาวะ ตรัสรู้ชอบ ด้วยตนเองจริงๆ ไม่ใช่ หน่วงตาเหล่ ตามๆกันไป) "
นิพพานอะไร อยู่ที่ ตะหมูก ตั้งบนดิน น้ำ ลม ไฟ -
ทำไมต้องที่จุดมโนทวาร
****เพราะที่เกิดของความคิด
****ฉะนั้นหลวงพ่อโลกอุดรขอยืนยันขอประกาศว่า ความคิดมันเกิดจากการปรุงแต่งอยู่แถวๆกระบอกตา แต่เป็นมโนทวารนะ มันเลยปัจจุบันอารมณ์ไปแล้ว แถวๆกระบอกตานั้นแหละ ตรงดั้งจมูกหักนั้นแล มันคิดวับๆ แวมๆ อยู่ตรงนั้น ส่วนหัวใจด้านซ้ายเขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรทั้งสิ้น เป็นแต่ภาวะมันเกี่ยวโยกันทางร่างกายเท่านั้นสายเลือดสายลม ส่วนความคิดไม่ได้เกิดอยู่ที่หัวใจด้านซ้ายเป็นอันขาด หลวงพ่อโลกอุดรขอยืนยันตามนี้
****จากหนังสือกรรมฐานเฉียบขาด -
ใครที่สงสัยใคร่รู้ยินดีตอบคำถาม ที่เป็นประโยชน์ครับ
ขออนุญาติคำถามที่เกี่ยวกับพระอาจารย์ท่านอื่น จะไม่ขอออกความเห็น -
ดิฉันนั่งสมาธิโดยการจับลมหายใจอยู่ที่ปลายจมูกคะ แต่กลับรู้สึกที่จุดมโนทวารด้วย โดยอาการตึงหน่วง หมุนวนที่ปลายจมูกรวมกับจุดมโนทวาร เป็นตลอดในช่วงระหว่างวันที่ไม่ได้นั่งสมาธิ ยกเว้นเวลาหลับไม่รู้สึกคะ เป็นแบบนี้อยู่นานเหมือนกันคะ จนเชื่อมไปยังกระโหลกศรีษะช่วงบนมีอาอารตึงร่วมด้วย
และปัจจุบันมีความรู้สึกเกือบทั่วทั้งตัว โดยรู้สึกเหมือนมีพลังงานหมุนวนอยู่ตลอดเวลา และรู้สึกอุ่นๆ โดยจุดหลักๆจะมีดังนี้คะ
1.ก้นกก
2.บริเวณท้องน้อย
3.หน้าอก ลิ้นปี่
4.ปลายจมูก
5.จุดมโนทวาร ตรงกลางระหว่างคิ้ว
6.ท้ายทอย
7.กลางศรีษะ
ทั้ง7ที่กล่าวมามีพลังงานหมุนวน และอุ่นๆ ร่วมกับอาการหน่วงๆ
แบบนี้มีส่วนจากการเพ่งจุดมโนทวารแบบหลวงปู่โลกอุดรใหมคะ
ไปอ่านเจอบางข้อมูลก็ว่าเกิดจากการเกร็ง การตึงของเส้น การเพ่งเกร็งอะไรแบบนี้ ยังไงกันแน่คะ
แต่บางครั้งที่ดิฉันนั่งสมาธิ ก็รู้สึกเหมือนมีพลังงานแผ่ออกจากกลางหน้าอกนะคะ เหมือนเป็นคลื่นๆแผ่กระจายออกไป
รบกวนขอความรู้เพิ่มเติมด้วยนะคะ
ขอบพระคุณอย่างยิ่งคะ
-
ตอบ เป็นพลังฌาน(แต่ยังน้อยอยู่)
"และปัจจุบันมีความรู้สึกเกือบทั่วทั้งตัว โดยรู้สึกเหมือนมีพลังงานหมุนวนอยู่ตลอดเวลา และรู้สึกอุ่นๆ โดยจุดหลักๆจะมีดังนี้คะ
1.ก้นกก
2.บริเวณท้องน้อย
3.หน้าอก ลิ้นปี่
4.ปลายจมูก
5.จุดมโนทวาร ตรงกลางระหว่างคิ้ว
6.ท้ายทอย
7.กลางศรีษะ
ทั้ง7ที่กล่าวมามีพลังงานหมุนวน และอุ่นๆ ร่วมกับอาการหน่วงๆ
แบบนี้มีส่วนจากการเพ่งจุดมโนทวารแบบหลวงปู่โลกอุดรใหมคะ
ไปอ่านเจอบางข้อมูลก็ว่าเกิดจากการเกร็ง การตึงของเส้น การเพ่งเกร็งอะไรแบบนี้ ยังไงกันแน่คะ"
ตอบ เกิดเพราะสาเหตุ 2 ประการดั้งนี้
1. เพ่งไม่ถูกจุด หรือหลายจุด
2. ปรับธาตุ ปรับอินทรีย์ ให้เหมาะแก่การปฏิบัติต่อไปยิ่งขึ้น
ของคุณน่าจะเป็นข้อ1.ครับ
เจริญในธรรม -
เข้าฌานนี่ก็มีความสุขดีนะ ผมได้ทั้งสมาธิและฌาน เมื่อก่อนออกภาคปัญญาบ่อย ทุกวันนี้เน้นสมถะฯ วิมุติเหรอ เออขอบอก....
-
ฌานอยู่ในหลักของสติปัฏฐานสูตร กาย เวทนา จิต ธรรม สำหรับตัวเวทนาคือตัวทุกข์ สอดคล้องกับทุกข์ในอริยสัจสี่
เพ่งจี้จุดมโนทวาร ตรงกลางระหว่างตาทั้งสองข้าง มันจะต้องทุกข์ ไม่มากก็น้อย -
ฌานในพระไตรปิฎก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละเป็นผู้ทรงพระอภิธรรมก่อนกว่า เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ทรงแทงตลอดแล้วซึ่งพระอภิธรรมนั้น ก็แลครั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ประทับโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน
ทรงเปล่งอุทานว่า
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
ฯ เป ฯ สูโรว โอภาสยมนูตลิกฺขํ.
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมาทราบชัด
ซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ.
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แล้วซึ่ง
ความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่
ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้
สว่างอยู่ ฉะนั้น.
เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงอภิญญาบารมีแล้ว ฤาษีทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุไม่
เสมอเรา เราไม่มีใครเสมอในอิทธิธรรมได้ความสุขเช่นนี้
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90 -
นี่ก็ในพระไตรปิฎก
บทว่า ปฐมํ คือที่แรก เพราะเป็นลำดับแห่งการคำนวณ.
ฌานนี้ ชื่อว่า ทีแรก เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งแรก.
คุณธรรม ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เผาธรรมที่เป็นข้าศึก (มีนิวรณ์เป็นต้น).
พระโยคีทั้งหลาย ย่อมเผา (ธรรมที่เป็นข้าศึกมีนีวรณ์เป็นต้นนั้น)ด้วยฌานนี้ แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ฌาน.
อธิบายว่า พระโยคีทั้งหลายย่อมเผาธรรมที่เป็นข้าศึก หรือย่อมคิดถึงโคจร (คืออารมณ์สำหรับหน่วงมีกสิณเป็นต้น).
อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เพ่ง คือเข้าไปเพ่งอารมณ์นั้นเสียเอง เพราะเหตุนั้นนั่นแล ฌานนั้น ท่านจึงเรียกว่า มีอันเข้าไปเพ่งเป็นลักษณะ.
พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40 -
พระพุทธองค์ เพ่งฌาณ มาก่อนไหม ก่อนวันตรัสรู้ ...ก็รู้ๆ กันอยู่ว่า ทำ เยอะกว่าใครในโลก
แต่ พอเพ่งได้ฌาณนั้นๆแล้ว กลับกลายเป็นว่า ต้องเอาไปถาม ครู เหมือนไปเปิดหนังสือ
หากครูตายไปแล้ว ต้องไป หาศัพท์มาจับเปรียบเทียบ " คิดเอา " ว่า ทำได้ตรงตามๆกันไป
ว่าเขาให้เพ่ง โดยมีชื่อว่า เพ่งโน้น เพ่งนี้
พระพุทธองค์เลยเห็นชัด แม้นว่า จะเพ่งฌาณ แต่สุดท้าย ต้องไปเทียบเคียงเรียงถามเอาจากครู
ว่าที่เห็นที่ได้ ได้อะไร ....ซึ่งมันชัดว่า โดนความคิดแหกตาเอา เลยรู้ว่า ไม่ใช่ทาง ไม่ใช่
"การตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง"
ท่านจึงภาวนาด้วย อานาปานสติ ไม่ตึง ไม่หย่อน เจริญก็ช่าง เสื่อมก็ช่าง แต่ไม่ละเลิกจนกว่า
จะเห็นธรรมที่เรียกได้เต็มปากว่า " ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง " ซึ่ง คือ ทราบเหตุของธรรมทั้งหลาย
พร้อมทั้งรู้ทั้งการดับของเหตุเหล่านั้น
ไม่ใช่ รู้แต่การตั้งขึ้นของเบ้าตาเหล่ และ การคงที่ในการทำตามๆกันไป ได้ชื่อว่า ทำตามครู
หาอาการ ตรัสรู้เองโดยชอบ เห็นเหตุชองธรรม และ การดับไปของเหตุ เหล่านั้น ไม่เจอสักแอะ
ไม่รู้ว่าบรรลุไหม ก็เอาหละ จับศัพท์ไปกระเดียดเอา เขามีคำว่า "เพ่ง" แล้วก็เอา ความคิดมาหลอกตนว่า "ใช่" -
ฌาณ พุทธศาสนา เกิดอย่างไร
เกิดเพราะ จิตมันปราศจาก มิจฉาทิฏฐิ(นิวรณ์ อุปกิเลสติดดี ฯลฯ) ติดเพ่ง(อัตตกลิมัถาฯ) ติดคิดด้นเด้าเดาเอา(กามสุขขัล)
จิตมันปราศจาก มิจฉาทิฏฐิ เหล่านั้น ก็เพราะ อย่างไรเสีย พอลงมือแล้ว ธรรมสองอย่างนั้นก็
ปรากฏแก่จิตอยู่วันยันค่ำ คือ ไม่เพ่ง(อัตตกลิมัถาฯ) ก็เผลอ(กามสุขขัล)
แต่เพราะ เพียรภาวนา เห็นเดี๋ยวจิตก็เพ่ง เดี๋ยวจิตก็เผลอ จึงเห็น ต้นเหต หรือ สาเหตุ ก็คือ จิต
ทีมันมีธรรมชาติแปรปรวนของมัน (เห็นทุกขสัจจ )
เพราะเห็น ทุกขสัจจ ไม่ใช่ เห็นทุกขติดหน่วงเบ้าตาเหล่ มันคนละเรื่อง และ เพราะเห็น ทุกขสัจจ
คืออะไร จึง เห็นสมุทัย ประจักนิโรธ การก้าวข้ามจิต ไม่ยึดถือจิต จึงรู้ หนทางใดใช่ หนทางใดไม่
ใช่ ก็ด้วยการทำไปอย่างนั้นแหละ ไม่เผลอ ก็เพ่ง หาก พิจารณาแล อยู่ จิตที่อบรมดีแล้ว มันจะเห็น การพ้น
และ เหตุของการเกิด การดับ ของธรรมทั้งปวง
จึงเกิดการปล่อยวาง สลัดคืนจิต เกิด "ฌาณ"ในพุทธศาสนา(ฌาณไม่มีเจือสมุทัย ไม่มีเนื้อติดฟัน) ไปตามกำลัง กลาย
เป็น โคตรภูญาณ โยคาวจร ( คือ ยังต้อง ตามพิจารณา ภาวนา อาตาปี สัมปชาโน ไปเรื่อยๆ จนกว่า จิตจะยอมรับ ทุกขสัจ อริยสัจจ ) -
ไม่เชื่อก็แล้วไป ข้อในพระไตรปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ แสดงไว้ว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละเป็นผู้ทรงพระอภิธรรมก่อนกว่า เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ทรงแทงตลอดแล้วซึ่งพระอภิธรรมนั้น ก็แลครั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ประทับโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วันทรงเปล่งอุทานว่า
ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
ฯ เป ฯ สูโรว โอภาสยมนูตลิกฺขํ.
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายย่อม ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมาทราบชัดซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ.
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย.
ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้สว่างอยู่ ฉะนั้น.
เราเป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงอภิญญาบารมีแล้ว ฤาษีทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุไม่เสมอเรา เราไม่มีใครเสมอในอิทธิธรรมได้ความสุขเช่นนี้
-
ขอรับฟังความรู้ด้วยครับ ชอบเเนวนี้เช่นกัน
-
จะเหมารวบรัดตัดความเอาตามคำพูดเลย แบบนั้นไม่ได้
เพ่งโง่ ขาดสติ ขาดปัญญาพิจารณา ก็ตายเปล่าอยู่ดี
อย่าลืมเรื่องอินทรีย์ ๕ พละ ๕, ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญานะ
ขยันหมั่นประกอบอย่างไรจึงจะเป็นเหตุใกล้มรรคผลนิพพาน อย่าลืม.. -
ผมก็ฝึกเหมือน พี่ฐสิษฐ์929 เปะเลย ใช้ลม หายใจจนจิตละเอียด จนกายหาย ลมหายใจหาย เอาจิตที่เป็นเอกคัตตา วางเฉยไปวางที่ตรงหว่างคิ้ว
-
-
..............พระผู้ สอน ท่าน มีฐาน ความรุ้ ปริยัติ และ อภิธรรม อย่างดี....เป็นที่น่าสังเกตุ ปริยัติ และ ความรุ้ในพระพุทธศาสนา ย่อมเป็นฐาน ของ การภาวนา...[SIZE="5"ย่อมมองข้ามไปไม่ได้อย่างแน่นอน:cool:[/SIZE]ความไฝ่ รู้ ความคงแก่เรียน นั้น แหละ เป็น ฐาน การ ภาวนา อย่างแน่นอน .....คงจะลัด ไม่ได้