เรื่องเด่น แนะศธ.ทำหลักสูตรเอาตัวรอดภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 12 กรกฎาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    e0b8b3e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b8aae0b8b9e0b895e0b8a3e0b980e0b8ade0b8b2e0b895e0b8b1e0b8a7e0b8a3.jpg

    อนุบาล-อุดมศึกษา ใช้กีฬาสร้างวินัย-เน้นอาชีพทำงานเพื่อสังคม


    ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการถอดบทเรียนกรณีการช่วยเหลือเยาวชน 13 ชีวิต จากทีมหมูป่าอะคาเดมี ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้ทักษะการเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยการถอดองค์ความรู้นั้น ควรแบ่งการนำเสนอองค์ความรู้ตามช่วงอายุของเด็ก ได้แก่ ระดับอนุบาล ควรทำหนังสือประเภทตำนาน นิทาน ของดอยนางนอน โดยสอดแทรกการสอนเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความรัก ระดับประถม ควรเรียนรู้เรื่องภาษาอังกฤษในชีวิตผจญภัย โดยดูตัวอย่างการพูดตอบโต้กับนักดำน้ำชาวอังกฤษของนักฟุตบอลเยาวชน จะทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ดีต่อการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ จะไม่กลัวฝรั่ง ระดับมัธยมต้น ควรมีทักษะด้านกีฬาอย่างน้อย 1 ชนิด ปลูกฝังการเล่นกีฬาเป็นทีม ความมีระเบียบวินัย มีสติและสมาธิ ซึ่งเด็กหมูป่า 13 คน เห็นได้ชัดว่า เป็นเด็กที่มีระเบียบวินัยสูง อยู่รวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถเอาชีวิตรอดได้ ที่สำคัญเด็กในวัย ม.ต้น หากได้เล่นกีฬาจะทำให้ห่างไกลยาเสพติด โทรศัพท์มือถือ

    อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวต่อว่า ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ควรเรียนรู้เรื่องการสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอาชีพต่างๆ ที่ทำงานเพื่อผู้อื่น เช่น หน่วยซีล ทหาร หมอ นักนวัตกรอย่างนายอีลอน มัสค์ นักดำน้ำ นักฟุตบอลอาชีพ นักโภชนาการ เป็นต้น ส่วนระดับอุดมศึกษา ควรเน้นการปฏิบัติด้านวิชาชีพต่างๆ และปลูกฝังอย่างเข้มข้นในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม สติ สมาธิ โดยเฉพาะด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ ที่ต้องปลูกฝังด้านจริยธรรมสื่อ สำหรับรูปแบบการนำเสนอนั้น ควรเป็นหนังสือทั้งเป็นรูปเล่ม หนังสือออนไลน์ ห้องสมุดออนไลน์ เป็นต้น ขณะที่หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ก็ควรปรับปรุงหลักสูตรแกนกลาง ให้เน้นการลงมือปฏิบัติ เพิ่มสัดส่วนหลักสูตรท้องถิ่น ให้เด็กๆแต่ละภูมิภาคได้เรียนรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในภาคของตนเอง เช่น ภาคเหนือ เรียนรู้การเอาตัวรอดกรณี น้ำป่า น้ำท่วม ติดถ้ำ ภาคใต้ เรียนรู้เกี่ยวกับวาตภัย สึนามิ การใช้ชูชีพ การลอยคอในทะเล ภาคกลางและกรุงเทพฯ เรียนรู้เกี่ยวกับภัยที่เกิดจากน้ำท่วม การติดอยู่ในรถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้า ติดในลิฟต์ การเอาตัวรอดเมื่อเกิดไฟไหม้ในตึกสูง เป็นต้น

    “กระทรวงศึกษาธิการและคนไทยต้องไม่ให้เหตุการณ์การค้นหา การช่วยชีวิต และการเอาตัวรอดของเด็กในถ้ำหลวง ให้ผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ควรทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง” ศ.ดร.สมพงษ์กล่าว.


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1332665
     

แชร์หน้านี้

Loading...