สำรองพื้นที่
แปลจีนเป็นไทยสไตล์ของฉัน
ในห้อง 'แปลธรรมะเป็นภาษาอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 27 พฤษภาคม 2024.
หน้า 3 ของ 9
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
สารบัญ
หน้า 3 ตัวอักษรจีนที่เขียนคู่กับพยัญชนะสระและวรรณยุกต์ของจีนโบราณแท้ๆที่เรียกตัวเหล่านี้ว่า “จู้อินฝูเฮ่า”
หมายเหตุ
จู้อินฝูเฮ่าหรือพยัญชนะสระวรรณยุกต์จีนโบราณนี้ ปัจจุบัน ค.ศ. 2024 ยังใช้อยู่ในไต้หวัน แต่ผมเคยไปทำการค้าในไต้หวันครั้งละครึ่งเดือน ไปอยู่กับเพื่อนๆที่เป็นคนไต้หวัน พวกเขาเหล่านั้นนอกจากเป็นจู้อินฝูเฮ่าแล้ว เขายังเรียนรู้พินอินคือตัวอักษรโรมันเทียบเคียงเสียง และหลายๆท่านยังเรียนตัวอักษรจีนแผ่นดินใหญ่ด้วย (ตัวย่อ) -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
นอกจากใช้อักษรจีนตัวเต็ม เขียนจู้อินฝูเฮ่าแล้ว ยังอ่านด้วยภาษาไถอวี่ด้วย -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
น้อมถวายคำปรึกษาสำหรับพระภิกษุ สามเณร ที่ต้องการเรียนหรือศึกษาภาษาจีน(ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด) อาจมีคำถามว่า ควรเรียนจีนใหม่ หรือจีนเก่า คือจีนแผ่นดินใหญ่ เราเรียกว่าจีนใหม่ ใช้อักษรจีนตัวย่อ ใช้พินอินตัว a b c d ในการเชื่อมโยงกับคอมพิงเตอร์อินเตอร์เน็ท และคนส่วนมากจำง่ายเพราะการใช้ a b c d และแพร่หลายทั่วโลกมาตั้งแต่ประมาณ ค.ศ. 1956
ส่วนจีนเก่านั้นใช้อักษรตัวเต็ม (อาจเขียนยากกว่าในบางคน แต่บางคนชอบเช่นผมเป็นต้น) ตัวจู้อินฝูเฮ่าก็สามารถเชื่อมกับคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทได้ แต่ต้องใช้ฟ้อนต์ของเขา และไม่เชื่อมต่อในบางลักษณะ เช่น สมมุติว่า มีฝรั่งบางท่านจะหายูทู้ป เขาสามารถพิมพ์พินอินค้นหาได้ทั่วโลก ในขณะที่จู้อินอาจหาได้ในวงแคบกว่ามาก
ดังนั้น อาจมีคำถามว่า ควรเรียนอันไหน ผมตอบได้ว่า ควรเรียนพินอิน กับอักษรจีนใหม่ เพราะเหตุผลต่างๆ แต่ถ้าหากบางท่านอยากศึกษาแบบว่า ไม่ง้อโลก ต้องการเข้าไปค้นหาหลักฐานเก่าดั้งเดิมสมัยราชวงศ์ต่างๆ ก็แนะนำว่า จีนเก่าครับ
หรือจะเรียนทั้งสองก็ดี ไม่ยากนะครับ อย่ากลัวถ้าท่านอยากลิ้มรสความเก่าแก่ของภาษาจีนโบราณครับ -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
ขอนำกลับมาที่การบรรยายบทกวีเอกของจีนหรือของถังต่อนะครับ โดย อ. เจี่ยง ซึ่งต่อจากนี้ผมอาจไม่ขึ้นรูปของท่านมากนัก ผมอธิบายการบรรยายของท่านตามสไตล์ของผม คือรวบรัดไปเลยนะครับ
หมายเหตุ
หากขาดตกบกพร่อง หรือมีส่วนที่หายไป ตกหล่น หรือเพิ่มเติมขึ้นมา จะโดยตั้งใจหรือไม่ ผมขอให้ทุกๆท่านได้โปรดงดโทษให้ผมด้วยครับ -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
อ. เจี่ยง : ……………… . . . .
ผม : ….. . . (ต่อจากนี้ผมขออธิบายแบบรวบรัดแต่มีการตกหล่น และอาจมีส่วนเพิ่มเติมความคิดเห็นส่วนตัว) การเข้าใจถึงบรรยากาศ -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
การเข้าใจถึงบรรยากาศในสมัยก่อนนี้ เราควรต้องรู้ถึงภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การใช้ชีวิตของคนสมัยนั้นๆ รวมทั้งศาสนา ความเชื่อ และอื่นๆของคนยุคนั้นๆ โดยเฉพาะของเจ้าของบทกวี
ทางด้านภูมิศาสตร์ จางยรั่วซวีเป็นชาวหยางโจวที่มีเส้นทางการเดินทางระหว่าง หยางโจว-หนานจิง เส้นทางนี้ในอดีต อาจไม่สะดวกสบายนัก เป็นแผ่นดินที่ห่างจากฝั่งทะเลนับร้อยๆกิโลเมตร ถ้าตามบทกวีนี้ มีการพูดถึงน้ำทะเลขึ้น แล้วมาเชื่อมกับน้ำในคลอง ในแม่น้ำที่ขึ้น มันเป็นไปไม่ได้มี่จางยรั่วซวีจะมองเห็นด้วยตาเปล่า คือมองเห็นทะเล (เพราะทั้งเส้นทางการเดินทางนั้น ห่างทะเลชนิดมองไม่เห็นทะเล) -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
ลักษณะของผู้คนส่วนใหญ่ในแผ่นดินจีน ทางภาคเหนือของจีนผู้คนมักเก่งวิชาบู๊ กำลังภายใน การรบ การทำสงคราม ส่วนที่ค่อนมาทางใต้ ผู้คนมักอ่อนแอกว่า มักไม่ค่อยเก่งเรื่องวิชาการรบ มักเป็นคนนิ่มนวล อ่อนไหว เป็นพวกที่รู้จักเรื่องบทกวี ศาสนา ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ศิลปะต่างๆ แต่ก็มีความรู้เรื่องศิลปการต่อสู้ด้วยเช่นกัน
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
สีฟ้าอ่อนคือภาคเหนือ
สีฟ้าเข้มคือทะเล
สีเนื้อคือภาคใต้
จุดแดงคือหยางโจว และ หนานจิง -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
อันนี้ คหสต (ความคิดเห็นส่วนตัว) คนใต้ที่เก่งบู๊ก็มี และมักดีกรีทางการศึกษาก็ดีกว่า ถึงแม้ปริมาณจะเป็นปฏิภาคกลับกัน คือคนเหนือบู๊ 75% บุ๋น 25% คนใต้บุ๋น 75% บู๊ 25% แต่คนใต้ที่้ป็นบู๊นั้นการศึกษาดีเข้าไปเกือบ 1 ใน 3
ถ้าผิดพลาดขออภัยนะครับ แต่ในปัจจุบันคือบุ๋นกันทั้งหมดทั่วทั้งแผ่นดินแล้วครับ -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
ราชวงศ์ถังเปิดศักราชใหม่ๆ จางยรั่วซวีอยู่ในยุคนั้น ต่อมาอีกประมาณครึ่งศตวรรษ จึงถึงยุคของนักกวีที่เป็นที่รู้จักกันดีมากของคนจีนเช่น หลี่ไป๋ ตู้ฝู่เป็นต้น -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
ผมไม่อธิบายตามลำดับนะครับ นึกได้ตรงไหนก็แปลแบบว่า รวบลัด คือบางอย่างรวบได้ก็รวบ บางอย่างลัดได้ก็ลัดนะครับ แปลถูกบ้างผิดบ้าง อย่าถือโทษนะครับ โปรดงดโทษด้วยครับ
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
อ. เจี่ยงท่านอธิบายอย่างคล่องแคล่วและดูสบายๆเพราะท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ส่วนผมถือว่า ไม่มีความรู้ใดๆในด้านนี้เลย
ท่านอธิบายถึงโคลงกลอนมีหลายชนิด แต่ในที่นี้ท่านเจาะจงถึงเฉพาะบทกวีชุนเจียงฯลฯ ที่ประกอบด้วย 36 ประโยค 4 ช่วง ช่วงละ 9 ประโยค -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
แต่ละประโยคมีจุดสำคัญของโคลงกลอนตามแบบอย่างจีนโบราณ หรือก็คือโครงสร้างของประโยค โดยมีจุดชี้ว่า อักษรตัวที่เท่าไรจะเป็นตัวหักเห ตัวอักษรใดจะเป็นตัวส่งเสริมความหมาย
ในโคลงกลอนของไทยเรามีเสียงสัมผัสนอก สัมผัสใน ไทยเรามีอย่างไร ก็คล้ายของจีน เพียงแต่จีนเขาเน้นสัมผัสความหมายมากกว่า -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
นอกจากการสัมผัสนอกสัมผัสในด้วยเสียง ด้วยความหมายของแต่ละประโยค ยังมีอีกตัวหนึ่งที่นอกจากที่กล่าวมาแล้ว นั่นคือ หัวข้อของชื่อบทกวี
เฉพาะบทกวี “ชุนเจียงฮวาเยวี้ยเอี้ย” นี้ อาจเป็นชื่อที่มีความโดดเด่นที่สุด มี 5 ตัวอักษร 5 พยางค์ 5 สิ่งที่กล่าวถึง เมื่อกล่าว ท่อง อ่าน ร้อง ขับขาน หรือเขียน*
หมายเหตุ
คหสต. (ความคิดเห็นส่วนตัว) ผมเห็นว่า อ. เจี่ยงท่านกล่าวในรายละเอียดได้ดีมากๆ แต่ผมเห็นว่า ยังขาดเรื่องการ “เขียน” ไม่ว่าการเขียนนั้นจะเขียนด้วยปากกาลูกลื่น หมึกซึม หรือภู่กันจีน( 書法 ) ล้วนสามารถซึมซับความหมายของบทกวีเข้าสู่หัวใจได้อีกแง่มุมหนึ่ง -
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
-
glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล
สำรองพื้นที่
หน้า 3 ของ 9