แผ่นดินไหวในอดีต

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สิกขิม, 14 ธันวาคม 2006.

  1. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    ก่อนจะเป็นประเทศไทย แผ่นดินนี้เคยพบหายนะ แผ่นดินไหวมาแล้วหลายคราในหลายภูมิภาค

    เราเชื่อ อีกไม่นานสิ่งที่เคยเกิดจะอุบัติซ้ำ ณ จุดเดิม แต่เหตุการณ์จะสาหัสยิ่งกว่า ด้วยความเสื่อมของสังขารแห่งโลกที่ต้องรองรับการรุกรานทำลายจากมนุษย์บางจำพวกมาช้านาน

    http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/Homep/History.htm


    <TABLE cellSpacing=1 cellPadding=7 width=928 bgColor=#c0c0c0 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width=353><BIG>ปี</BIG>

    </TD><TD vAlign=top width=230><BIG>วัน เวลา</BIG>


    </TD><TD vAlign=top width=176><BIG>ตำแหน่งที่เกิด</BIG>


    </TD><TD vAlign=top width=497><BIG>เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น</BIG>


    </TD><TD vAlign=top width=367><BIG>เอกสารอ้างอิง</BIG>


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=353>ไม่ปรากฎศักราช (เรื่องจากตำนาน)</TD><TD vAlign=top width=230>ไม่ปรากฎ</TD><TD vAlign=top width=176></TD><TD vAlign=top width=497>ดูราชปุริสทั้งหลาย ดังเราจักรู้มามีในกาลเมื่อก่อนเฒ่าเก่าเล่ามาเป็นปรำปราสืบ ๆ มาว่าดังนี้ กาลเมื่อก่อนนั้น ก็เป็นดินเป็นหญ้าเป็นฟ้าเป็นแถน ผีและคนเที่ยว ไปมาหากัน บ่ ขาดเมื่อนั้นยังมีขุนใหญ่ 3 คน ผู้หนึ่งชื่อขุนดาน อยู่สร้างบ้านเมือง ลุ่มกินปลาเฮ็ดนาเมืองลุ่มกินข้าวเมื่อนั้นแถนจึงใช้ให้มากล่าวแก่คนทั้งหลายว่า ในเมืองลุ่มกินข้าวให้บอกให้หมายกินและกินง่ายนี้กินข้าวให้บอกให้ก็ให้บอก แก่แถนได้กินขึ้นก็ให้ส่งขา ได้กินปลาก็ให้ส่งรอยแก่แถน แม้นใช้มาบอกสองทีสามทีก็ บ่ฟังหั่นแล แต่นั่น แถนจึงให้น้ำท่วมเมืองลุ่ม ลีดเลียงท่วมเมืองเพียงละลายคนทั้งหลายก็ฉิบหายมากนักซะแล</TD><TD vAlign=top width=367>​
     
  2. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    ตำนานเวียงหนองล่ม

    http://www.krungsri.com/KrungsriDocumentlary/text30-march46.htm


    ตำนานสิงหนวัติเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมา พบเป็นเอกสารลายลักษณ์อักษรในสมัย ล้านนา เรื่องเล่าประเด็นหลักที่ขาดไม่ได้เลยของตำนานนี้คือ ในสมัยพระมหาไชยชนะ กษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองโยนก ประชาชนชาวเมืองได้ทำผิดทำนองครองธรรม โดยจับปลาไหลเผือกมาแบ่งกันกิน เมืองจึงล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำไป

    มีหนองน้ำขนาดใหญ่กว้างถึงประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร อยู่บริเวณเขตติดต่อระหว่างอำเภอแม่จันและอำเภอเชียงแสน ที่เชื่อกันว่าเป็นเวียงหนองล่ม แหล่งน้ำแห่งนี้น่าจะมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของผู้คนบนที่ราบเชียงแสน พบหลักฐานว่าบริเวณนี้เป็นแนวพาดผ่านของรอยเลื่อนของเปลือกโลกถึงสองแนว ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นสาเหตุให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยครั้ง

    ดังนั้นเหตุการณ์ในตำนานที่กินปลาไหลเผือกแล้วเมืองถล่มลงนั้น จึงเป็นการสร้างตำนานขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของการเกิดขึ้นของหนองน้ำแห่งนี้
     
  3. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    ขอนำข่าวเก่ามาเล่าใหม่เพื่อให้ฉุกใจคิด



    http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9480000095151


    อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีชี้ ภาคเหนือยังไม่กระทบหากเกิดแผ่นดินไหวที่อินโดนีเซีย

    เตรียมสำรวจ "เวียงหนองล่ม" ศึกษาร่องรอยแผ่นดินไหวในอดีต พร้อมจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและรับมือแผ่นดินถล่มในพื้นที่ภูเขา

    ส่วน 6 จังหวัดภาคใต้กำลังมีการแก้กฎกระทรวงเพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการก่อสร้างอาคารสูงหลังเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ

    ( 16 กรกฎาคม 2548 )

    น.ท.รวยลาภ เอี่ยมทอง ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนนายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้เป็นประธานการเปิดสัมมนาเรื่อง เครือข่ายแจ้งเหตุธรณีพิบัติภัย ณ โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จ.เชียงราย โดยมีนายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี และนายนพพร ต้อนรับ รองผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย นำประชาชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายกว่า 1,000 คน เข้ารับฟัง

    ที่ปรึกษา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จ.เชียงรายมีปัญหาเรื่องดินถล่มและแผ่นดินยุบและน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งเป็นภัยธรรมชาติที่บางครั้งป้องกันยาก แต่การเตรียมพร้อมและใช้ภูมิปัญญาของประชาชนมาร่วมกันแจ้งเตือนภัยพิบัติน่าจะช่วยลดความสูญเสียของประชาชนได้ ซึ่งตนจะนำเรื่องทั้งหมดสรุปเพื่อรายงานต่อนายยงยุทธ ติยะไพรัช รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ที่ติดราชการด่วนต้องติดตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไปภาคใต้

    ด้านนายสมศักดิ์ โพธิสัตย์ อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า การสัมมนาในวันนี้เพื่อที่จะให้ความรู้แก่ประชาชนในการเตือนภัยธรรมชาติโดยเฉพาะดินถล่ม ที่มักเกิดขึ้นที่ทางตอนเหนือของ จ.เชียงราย เช่น อ.แม่จัน อ.แม่ฟ้าหลวง อ.แม่สาย

    เนื่องจากพื้นดินบริเวณนี้เป็นหินแกรนิตซึ่งผุพังกลายเป็นดินร่วนได้ง่าย และมีปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย เมื่อมีฝนตกหนักทำให้น้ำฝนที่เคยชะลออยู่ในต้นไม้และใบไม้กว่า 60% ลงถึงผิวดินทันที และมักจะเกิดดินถล่มหรือดินสไลด์จากภูเขาเลื่อน หรือหินถล่มไหลมาทับบ้านเรือนประชาชาชน

    โดยเฉพาะพื้นที่ที่มักจะเกิดเหตุบ่อยๆ ที่บ้านกิ่วสะไต ต.ป่าตึง อ.แม่จัน หรือบ้านแม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตมาแล้ว ทั้งนี้อยากให้ประชาชนติดตามข่าวสารของราชการ แต่ก็ไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินเหตุ

    เนื่องจากเหตุการณ์ดินถล่มมักเกิดขั้นตามเชิงเขา และเป็นชั้นดินหนาร่วนซุย ไม่มีรากไม้ยึดเหนี่ยวเท่านั้น

    สถิติในเดือน ก.ย.2547 มีฝนตกหนักมากใน อ.แม่สาย แม่ฟ้าหลวงและ อ.แม่จัน ติดต่อกัน 17 วัน ปริมาณน้ำฝนมากถึง 440 มิลลิเมตร และมีน้ำฝนสะสมที่รอยเลื่อนแม่จัน จนมีดินไหลทับบ้านชาวไทยภูเขาใน อ.แม่ฟ้าหลวงเสียชีวิต 2 คน และมีดินไหลทับโรงเรียนที่บ้านแสนสุข ต.ป่าตึง อ.แม่จัน แต่โชคดีเกิดเวลาเย็น ทำให้ไม่มีใครบาดเจ็บ

    ดังนั้นหากมีฝนตกหนักวันละ 60 มิลลิเมตร จะทำให้มีการแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังระวังดินถล่ม ถ้าวัดปริมาณน้ำฝนวันละ 100 มิลลิเมตรต่อวัน ให้เตรียมการอพยพ และหากมีการสะสมของน้ำฝนถึง 300 มิลลิเมตร ให้อพยพผู้คนจากพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมีการแจกเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนไปแล้ว และในพื้นที่อำเภออื่นที่ใกล้เคียง เช่น อ.แม่สรวย อ.เมือง ก็ควรจะวัง

    ส่วนแผ่นดินยุบนั้นอาจเกิดขึ้นบ้างและน่าจะเกิดจากใต้ดินมีโพรงหรือถ้ำอยู่ ซึ่งจะมีการสำรวจเรื่องนี้เช่นกัน

    นายสมศักดิ์ กล่าวต่ออีกว่า ในส่วนของการเฝ้าระวังเรื่องแผ่นดินไหวหลังจากเกิดเหตุธรณีพิบัติ หรือคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.47 ทำให้ประชาชนตื่นตัวในการระวังภัยธรรมชาติกันเป็นจำนวนมาก

    โดยเฉพาะรอยเลื่อนแม่จันที่มีแนวผ่านจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ ซึ่งแรงสั่นสะเทือนที่เกาะสุมาตราได้ส่งผลกระทบต่อรอยเลื่อนแม่จันทำให้หลังคาโรงเรียนสันติคีรี อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย พังลงมาด้วย

    อย่างไรก็ตามในพื้นที่ จ.เชียงรายจะมีผลกระทบจากแผ่นดินไหวไม่มากนัก โดยมีการตรวจจับแรงสั่นสะเทือนจากการเกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งที่มีจุดศูนย์กลางในเกาะสุมาตรา หรือในพม่า พบว่ามีการวัดแรงสั่นสะเทือนที่ อ.แม่จันได้ราว 3 ริกเตอร์เท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่มาก

    ส่วนโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศไทยนั้นกำลังจะมีการศึกษา โดยมีการเข้าไปตรวจสอบที่ “เวียงหนองล่ม” อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่มีตำนานเล่ากันว่าเกิดแผ่นดินไหวจนเมืองโบราณทั้งเมืองล่มลงไปเป็นทะเลสาบเชียงแสนในปัจจุบัน

    สำหรับมาตรฐานการก่อสร้างตึกสูงในประเทศไทยนั้น ในรอบหลายสิบปีนี้ส่วนมากมีการใช้มาตรฐานใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา

    แต่อนาคตต่อไปคงจะต้องมีการแจ้งเตือนเรื่องการก่อสร้างให้มีการเพิ่มระดับความแข็งแรงในโครงสร้างเพื่อรับความสั่นสะเทือนได้มากขึ้น เช่นใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่อยู่ใกล้บริเวณเกาะสุมาตราที่เกิดแผ่นดินไหวระดับ 9.3 ริกเตอร์ ควรก่อสร้างตึกให้แข็งแรงมากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อเพิ่มมาตรฐานความแข็งแรงในการสร้างตึกและอาคารสูง

    กรณีศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดแผ่นดินไหวและมีการแจ้งข่าวเตือนระวังคลื่นสึนามิในระยะหลัง แต่กลับไม่เกิดคลื่นสึนามิจริง ทำให้ประชาชนหลายคนไม่เชื่อนั้น อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีให้ข้อคิดว่า การเตือนให้ประชาชนทราบนั้นทำให้ประชาชนทราบแนวโน้มว่าอาจเกิดภัยธรรมชาติร้ายแรง เช่น คลื่นสึนามิ ประชาชนจะระวังหรือหนีได้ทันหากเกิดจริง แต่หากไม่เกิดภัยร้ายแรงขึ้นก็เป็นการดีแล้ว เพราะไม่มีใครอยากให้เกิด ซึ่งการแจ้งเตือนไม่ใช่ว่าจะต้องเกิดขึ้นจริง 100%

    ยกตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นที่มีแผ่นดินไหวบ่อยมาก ประชาชนอาจได้รับคำเตือนวันละนับสิบครั้ง ซึ่งเป็นการระวังไว้ดีกว่า ส่วนอุปกรณ์ในการเตือนภัยในภาคเหนือ เช่น ศูนย์ตรวจวัดแผ่นดินไหวนั้น อนาคตอาจจะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยมากขึ้น

    ด้าน นายวิศิษฐ์ สิทธิสมบัติ นายอำเภอแม่จัน จ.เชียงราย กล่าวว่าที่ผ่านมามีการเข้าไปสำรวจบริเวณดินจากเนินเขาถล่มลงใกล้บริเวณริมถนนแม่จัน-แม่อาย บริเวณบ้านกิ่วสะไต ต.ป่าตึง อ.แม่จัน พร้อมมีการตักดินที่ถล่มออกจากข้างทาง และมีการอพยพประชาชนที่อยู่ในจุดที่เสี่ยงจากดินถล่มซึ่งเป็นชาวไทยภูเขาออกจากพื้นที่แล้ว

    เชื่อว่าหากมีการอบรมให้ความรู้ประชาชนโดยเฉพาะชาวไทยภูเขาให้มาก ก็จะทำให้มีความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินลดลง
     
  4. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,045
    ค่าพลัง:
    +17,915
    ข้อมูลเป็นประโยชน์มากครับคุณสิกขิม...นำมาโพสอีกนะครับ
     
  5. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    เกรงว่าของเก่า อย่างภูเขาไฟที่เขลางค์นครและภูเขาไฟแถบอีสานใต้จะผสมโรงหากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่รอบใหม่
     
  6. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    ข้อเท็จจริงเรื่องแผ่นดินไหว


    http://www.cmmet.com/seismo/seismo.php

    ในโลกนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แผ่นดินไหวเกิดจากธรรมชาติ เนื่องจากพื้นผิวโลกมีลักษณะเป็นแผ่น ๆ เคลื่อนที่ไปมาก็เกิดการชนกันบ้าง มุดตัวกันบ้าง จนทำให้เกิดการเสียดสีและแผ่นเปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงอ มีการสะสมพลังงาน เมื่อถึงจุด ๆ หนึ่งก็จะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว

    ส่วนที่เกิดจากมนุษย์ เช่น การระเบิดต่าง ๆ การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำก็ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้

    อุกกาบาตก็เป็นสาเหตุหนึ่งของแผ่นดินไหว แต่นับว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสาเหตุที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลก และประการสำคัญเกิดจากรอยเลื่อนหรือรอยแตกบนเปลือกโลก

    รอยเลื่อน ก็คือรอยแตกในหินแล้วมีการเคลื่อนตัว เมื่อเคลื่อนตัวครั้งหนึ่งก็จะทำให้เกิดแผ่นดินไหว ในรอยเลื่อนหนึ่ง ๆ อาจจะเกิดการเคลื่อนตัวหลาย ๆ ครั้งได้

    แผนที่ธรณีวิทยาประเทศไทยมีรอยเลื่อนอยู่มาก รอยเลื่อนบางแนวในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ เราเรียกว่า “ รอยเลื่อนมีพลัง ” เป็นบริเวณที่ก่อกำเนิดแผ่นดินไหวได้

    ขนาดแผ่นดินไหวมีหน่วยวัดความสั่นสะเทือนเป็นริกเตอร์ เท่าที่เคยวัดได้ขนาดสูงสุดประมาณ 9.1 ริกเตอร์ ที่ประเทศญี่ปุ่น แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ๆ ขนาดนี้จะเกิดนาน ๆ ครั้ง

    อาจจะช่วงระยะ 1,000 ปีเกิดขึ้น 1 ครั้ง ไม่เหมือนแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง เช่น 4 – 6 ริกเตอร์ จะเกิดบ่อย แต่ถ้าขนาด 1 – 3 ริกเตอร์ อาจจะแทบทุกวัน

    ในประเทศไทยเคยมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สุดเท่าที่บันทึกได้ประมาณ 5.9 ริกเตอร์ เกิดแถวกาญจนบุรี แผ่นดินไหวครั้งนั้นไม่ได้มีอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน

    กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ออกกฏกระทรวง ฉบับที่ 49 โดยบังคับให้จังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบแผ่นดินไหวประมาณ 10 จังหวัด ให้มีการป้องกันเกี่ยวกับการก่อสร้างตึกสูงเอาไว้

    แผ่นดินไหวที่เกิดในบ้านเราค่อนข้างมีขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์ หรือพม่า ซึ่งประเทศเหล่านั้นต้องอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “ แนวแผ่นดินไหว ” จึงเกิดแผ่นดินไหวบ่อย บางครั้งอาจรุนแรงมาก

    เรื่องขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหวนี้ มีหลายคนมักจะใช้สับสนกัน เช่น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศพม่า มีขนาด 6 ริกเตอร์ เครื่องวัดแผ่นดินไหวที่พม่าก็จะวัดได้ 6 ริกเตอร์ ที่เมืองไทยก็จะวัดได้ 6 ริกเตอร์ และที่จีนก็จะวัดได้ 6 ริกเตอร์เหมือนกัน เพราะเป็นการวัดที่จุดศูนย์กลาง

    ฉะนั้น ไม่ว่าจะวัดตรงจุดไหนก็จะมีขนาดเท่ากันหมด แต่ความรุนแรงที่เกิดจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าพื้นที่อยู่ใกล้จุดที่เกิดแผ่นดินไหวแค่ไหน ถ้าใกล้ก็จะมีความรุนแรงมาก และห่างออกไปก็จะมีความรุนแรงน้อยลง แต่ถ้าเกิดใกล้ชุมชนมากก็จะมีความรุนแรงมาก เกิดความเสียหายมากก็จะถือว่ามีความรุนแรงมาก

    แต่บางทีมีแผ่นดินไหวขนาดแค่ 6 หรือ 7 ริกเตอร์ ก็อาจก่อให้เกิดความรุนแรงได้มากดังเช่นที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวเกิดใกล้เมืองโกเบมากเลยก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง มีคนตายเกือบ 6,000 คน บ้านเรือนเสียหายมาก ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย 100,000 คน ถือว่ามีความร้ายแรงมาก

    แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นไม่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย เนื่องจากระยะทางห่างกันมาก

    แต่สิ่งที่เป็นห่วงคือการเกิดแผ่นดินไหวในพม่า และแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อาจมีผลต่อพื้นที่ลาดชันและเขาสูง เช่น บริเวณเชิงเขาลาดชันอาจเกิดดินถล่มลงมาและเป็นอันตรายต่อบ้านเรือนในพื้นที่ใกล้เคียงได้


    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=8 width="100%" border=1><TBODY><TR borderColor=#ffffff><TD colSpan=2>
    ระดับความรุนแรงแผ่นดินไหว ตามมาตราเมอร์คัลลี
    </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD width="30%">ความรุนแรง </TD><TD width="70%">สภาพของแผ่นดินไหวความรุนแรง </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>1</TD><TD>คนธรรมดาจะไม่รู้สึกแต่เครื่องวัดสามารถตรวจจับได้ </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>2 (อ่อน ) </TD><TD>คนที่มีความรู้สึกไวจะรู้สึกว่าแผ่นดินไหวเล็กน้อย </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>3 (เบา ) </TD><TD>คนที่อยู่กับที่รู้สึกว่าพื้นที่สั่น </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>4 (พอประมาณ ) </TD><TD>คนที่สัญจรไปมารู้สึกได้ </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>5 (ค่อนข้างแรง ) </TD><TD>คนที่นอนหลับก็ตกใจตื่น </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>6 (แรง ) </TD><TD>ต้นไม้สั่น บ้านแกว่ง สิ่งปลูกสร้างบางชนิดพัง </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>7 (แรงมาก ) </TD><TD>ฝาห้องแยกร้าว กรุเพดานร่วง </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>8 (ทำลาย ) </TD><TD>ต้องหยุดขับรถยนต์ ตึกร้าว ปล่องไฟพัง </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>9 (ทำลายสูญเสีย ) </TD><TD>บ้านพัง ตามแถบรอยแยกของแผ่นดินท่อน้ำท่อแก๊สขาดเป็นตอน ๆ </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>10 (วินาศภัย ) </TD><TD>แผ่นดินแตกอ้า ตึกแข็งแรงพัง รางรถไฟคดโค้ง ดินลาดเขาเคลื่อนตัวหรือถล่มตอนชัน ๆ </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>11 (วินาศภัยใหญ่ ) </TD><TD>ตึกถล่ม สะพานขาด ทางรถไฟท่อน้ำและสายไฟใต้ดินเสียหาย แผ่นดินถล่ม น้ำท่วม </TD></TR><TR borderColor=#000000><TD>12 (มหาวิบัติ ) </TD><TD>ทุกสิ่งทุกอย่างบนพื้นดินแถบนั้นเสียหายโดยสิ้นเชิง พื้นดินเคลื่อนตัวเป็นลูกคลื่น </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สภาพความรุนแรงของแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น 12 ระดับ เริ่มจากความรุนแรงน้อยสุดคือ ระดับ 1 ไปจนถึงระดับ 12 เป็นระดับความรุนแรงสูงสุด แต่ถ้ารุนแรงระดับ 6 ขึ้นไปจะมีความเสียหายเกิดขึ้น เช่น เมื่อปี 2537 เกิดแผ่นดินไหวที่ อ.พาน จ.เชียงราย ขนาดประมาณ 5.6 ริกเตอร์ แต่มีความรุนแรงระดับ 6 – 7 ทำให้อาคารร้าวใช้การไม่ได้ แต่เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดนาน ๆ ครั้ง
     
  7. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    รอยเลื่อน


    http://www.dmr.go.th/news/13_01_48_12.html

    รอยเลื่อนจะมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่ รอยเลื่อนที่ตายไปแล้ว เช่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะปลอดจากแผ่นดินไหว และในภาคใต้จะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวเล็กน้อย ส่วนรอยเลื่อนที่ยังไม่ตาย (มีพลัง) เป็นรอยเลื่อนที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ เช่น ในภาคเหนือ ภาคตะวันตก ไทยเองก็มีรอยเลื่อนสำคัญๆ อยู่ 12 จุด

    การที่จะรู้ว่ารอยเลื่อนไหนมีพลังหรือไม่เคยเกิดแผ่นดินไหว ณ รอยเลื่อนนั้นๆหรือไม่ สามารถดูได้จากการหาอายุของรอยเลื่อนหากมีอายุมากกว่า 2 ล้านปีขึ้นไปแสดงว่าเป็นรอยเลื่อนที่ตายไปแล้ว รอยเลื่อนแก่ คือ มีอายุมากแต่ยังไม่ถึง 2 ล้านปี มีโอกาสทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ แต่น้อย

    หากเป็นรอยเลื่อนที่เพิ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวไปเมื่อไม่กี่พันปีมานี้ก็จัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลัง<O:p></O:p>
    "
    ถ้ารอยเลื่อนมีขนาดใหญ่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ถ้ารอยเลื่อนสั้นแสดงว่าเป็นรอยเลื่อนไม่อันตราย
    <O:p></O:p>
    รศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย คณะวิศวกรรมโยธา สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (เอไอที) ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว ให้ข้อมูลว่า หากอยากรู้ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่แค่ไหนดูที่ลักษณะของรอยเลื่อน หากรอยเลื่อนเด่นชัด มีความยาวต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ได้ ถ้าจะวิจัยศึกษาให้แน่นอน ต้องขุดเป็นร่องดูชั้นดินหาแนวที่ถูกตัดขาด (เพราะถ้าไหวชั้นดินจะถูกตัดขาด) จากนั้นจึงเก็บตัวอย่างดินมาหาอายุ<O:p></O:p>

    ประวัติการเกิดแผ่นดินไหวของไทยที่ผ่านมา มักเป็นแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรง ส่วนมากเกิดตามแนวของรอยเลื่อนใหญ่ๆ ถ้าดูตามบันทึกทางประวัติศาสตร์จะเห็นว่า มีมาตั้งแต่สมัยโยนกนคร (ประมาณในปี พ.ศ.1558) ที่มีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นทำให้บริเวณโยนกนครยุบจมลงเกิดเป็นหนองน้ำใหญ่

    รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ยอมรับว่า แม้กระทั่งตอนนี้ นักธรณีวิทยา และนักประวัติศาสตร์ก็ยังไม่ทราบเลยว่า จริงๆ โยนกนครตั้งอยู่ตรงไหน จึงไม่สามารถระบุในเรื่องนี้ได้ <O:p></O:p>

    อีกห้าร้อยกว่าปีผ่านมา ใน พ.ศ.2088 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นครเชียงใหม่จนยอดเจดีย์หลวงสูง 86 เมตรหักพังลงมาเหลือ 60 เมตร

    นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 550 ปีมาแล้ว ก็ไม่เคยมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ปรากฏให้เห็นในประเทศไทยอีกเลย<O:p></O:p>

    รศ.ดร.เป็นหนึ่ง เล่าว่า สำหรับประเทศไทยเราเองมีข้อมูลอยู่มากพอสมควร จากข้อมูลจะพบว่าในภาคเหนือเคยมีแผ่นดินไหวขนาด 5-6 ริกเตอร์ เกิดขึ้น 8 ครั้ง ในรอบ 30ปีที่ผ่านมา

    แต่ถ้าพิจารณาข้อมูลจากเครือข่ายต่างประเทศแล้วจะพบว่าเคยมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์ก่อนหน้า 30 ปีที่ผ่านมาแถบภาคเหนือ และอีกหนึ่งที่ก็คือ บริเวณจังหวัดกาญจนบุรีเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดกลาง

    แต่สำหรับการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในแถบนี้จะพบนอกเขตประเทศไทยทั้งสิ้น คือ ในพม่าและทางตอนใต้ของจีน สาเหตุก็เนื่องมาจากมีรอยเลื่อนมีพลัง<O:p></O:p>

    " จริงๆ แล้ว โดยทั่วไปแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ปลายๆ ไปจนถึง 7 ริกเตอร์ก็ทำให้เกิดภัยพิบัติที่รุนแรงได้แล้ว อย่างเช่น ที่โกเบ ญี่ปุ่น เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทำให้อาคารพังไป 7 หมื่นหลัง เสียชีวิตไป 5 พันคน ที่ประเทศตุรกีเคยเกิดประมาณ 7 ริกเตอร์กว่าๆ ทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 14,000 คน

    สิ่งที่เราไม่เข้าใจกัน ก็คือ แผ่นดินไหวขนาดประมาณ 5 ริกเตอร์กว่าๆ ซึ่งเป็นขนาดกลางนั้น คิดกันว่าไม่มีอันตราย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากแผ่นดินไหวจะรุนแรงมาก ณ ศูนย์กลางที่เกิด ถ้าเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลางจะมีรัศมีการทำลาย 10-20 กิโลเมตร และบริเวณใกล้ๆ ศูนย์กลางก็สามารถทำให้อาคารเสียหายได้ " รศ.ดร.เป็นหนึ่ง ระบุ

    อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดแผ่นดินไหว บริเวณที่อยู่ในรัศมีการทำลายจะเกิดในลักษณะสุ่ม และโชคดีที่ไม่เคยเกิดตรงกับบริเวณเมือง ในภาคเหนือ ซึ่งมีการตั้งแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นอย่างเขตเมืองมีลักษณะถิ่นฐานที่กระจัดกระจาย และแผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะเกิดในป่าในเขา จึงไม่เกิดความเสียหายให้เห็นกัน คนจึงไม่ค่อยตระหนักถึงอันตรายที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น

    แต่ที่น่าเป็นห่วงก็คือทางภาคเหนือและจังหวัดกาญจนบุรีมีรอยเลื่อนมีพลังอยู่หลายรอย<O:p></O:p>

    จากงานวิจัยด้านรอยเลื่อนมีพลังของผู้เชี่ยวชาญจากเอไอที ระบุ จากการศึกษารอยเลื่อน 2 กลุ่มในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คือ รอยเลื่อนเถิน บริเวณลำปางและแพร่

    โดยหาตำแหน่ง หาหลักฐานทางธรณีวิทยา ว่า เคยเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหรือไม่ พบว่า เคยเกิดขึ้นแล้วในระดับ 7 ริกเตอร์ ครั้งล่าสุด คือ เมื่อ 2 พันปีก่อน

    ซึ่งรอยเลื่อนที่กลัวกันว่าจะมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขึ้นอีก คือ รอยเลื่อนที่เคยเกิดมาแล้วในระดับพันปี หรือ 2 พันปีก่อน ซึ่งทำให้อาจเกิดซ้ำขึ้นได้ในระดับ 7 ริกเตอร์ขึ้นไป<O:p></O:p>
    ส่วนอีกรอยเลื่อนอีกแห่งที่ศึกษาอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี มี 2 รอยเลื่อนใหญ่ คือ ที่เจดีย์สามองค์ และศรีสวัสดิ์

    ซึ่งตัดผ่านเขื่อนใหญ่ และคาดว่า เป็นรอยเลื่อนมีพลัง เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นชี้ว่าเป็นอย่างนั้น และเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อประมาณ 5 พันปีที่แล้ว <O:p></O:p>

    รอยเลื่อน 2 แห่งที่กล่าวมานี้ ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่านระบุว่ามีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวอยู่มาก โดยที่ รศ.ดร.ปัญญา ชี้ว่า ณ ปัจจุบัน ต้องเพิ่มโอกาสเสี่ยงของจังหวัดทางภาคใต้แถบฝั่งอันดามันเข้าไปอีก จากการเสี่ยงรับผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล<O:p></O:p>

    ถึงแม้ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวจะไม่สามารถคาดการณ์ และทำนายล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไร รวมถึงนักวิจัยด้านแผ่นดินไหวเองก็ไม่สามารถระบุออกมาได้ ทว่าบอกได้เพียงโอกาสในการเกิดเท่านั้น ทาง รศ.ดร.เป็นหนึ่ง จึงแนะว่า ไหนๆ วัวก็หายไปครั้งหนึ่งแล้ว เจ้าของอย่างเราๆ ก็ควรจะล้อมคอกเอาไว้ให้ดี

    ติดตั้งเทคโนโลยีสำหรับตรวจวัด เนื่องจากหากวัดได้ ก็สามารถเตือนภัยได้

    โดยต้องรู้ขนาดและตำแหน่งที่แน่นอน จึงต้องมีทั้งระบบคลื่นสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว และการวัดคลื่นน้ำ <O:p></O:p>

    ทั้งนี้ การเตือนภัยจะทำได้ล่วงหน้าแค่ไหน นอกจากมีเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่ดี แม่นยำ และเพียงพอแล้ว ยังขึ้นอยู่กับระยะห่างจากจุดศูนย์กลางการเกิด หากเป็นการเกิดในทะเล คลื่นน้ำจะใช้เวลามากกว่าในการเดินทางมาถึงตัว ซึ่งความเร็วสูงสุดของคลื่นที่อยู่ที่ประมาณ 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถ้าจุดเกิดอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 500-600 กิโลเมตร ก็อาจจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ถ้าเป็นคลื่นการสั่นสะเทือนจะมาถึงก่อนหน้านั้น<O:p></O:p>

    " เทียบความเสี่ยงแผ่นดินไหวบนบกกับในทะเล ขณะนี้เสี่ยงพอๆ กัน เพียงแต่ว่าอันหนึ่งเกิดก่อน อีกอันหนึ่งยังไม่เกิด ประเด็นก็คือ ความเสี่ยงของอาคารสูงๆ " รศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าว

    และแนะต่อว่าควรมีการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องต่อไป <O:p></O:p>

    ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ร่วมมือกับนานาชาติ ติดตั้งระบบเตือนภัย และจากเหตุการณ์ครั้งนี้มีทีมวิจัยลงพื้นที่มากมายเพื่อเก็บข้อมูลความเสียหายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเตรียมพร้อมในอนาคต ที่สำคัญคือข้อมูลอยู่กระจัดกระจาย หากมีการรวมข้อมูลกันได้จะดีมาก เพราะถ้าทำแผนที่แสดงความเสียหาย แล้วพัฒนาเป็นแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยสึนามิ ก็จะเสริมกับระบบเตือนภัยได้

    เช่น ในพื้นที่เสี่ยงภัยอาจจะมีการซักซ้อมหนีภัย การจัดการเรื่องการกระจายข่าว มาตรการเสริมแนวกันคลื่น ซึ่งต้องอิงกับข้อมูลการศึกษาวิจัย<O:p></O:p>

    " พวกเราทำวิจัยมานานแล้วแต่ไม่มีใครรู้สักเท่าไร แต่อยากจะให้คนรับทราบเพื่อลดผลกระทบของแผ่นดินไหวที่ยังไม่เกิด และยังต้องมีการทำวิจัยในอีกหลายเรื่อง จังหวะนี้เป็นช่วงที่คนเริ่มให้ความสนใจ กลัวเพียงว่าสักพักความสนใจจะซาลง " รศ.ดร.เป็นหนึ่ง กล่าว <O:p></O:p>

    ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวทั้งสองเห็นพ้องกันว่า ควรมีการทำวิจัยเพิ่มเติมในส่วนรอยเลื่อนอื่นๆ เพื่อเป็นข้อมูลเตรียมความพร้อมในอนาคต รวมถึงมีมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างอาคาร และอื่นๆ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต <O:p></O:p>

    เพราะแผ่นดินไหว จะเกิดเมื่อไรไม่มีใครรู้ จะห้ามไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ ไหนๆ วัวก็หายไปทีหนึ่งแล้ว ก็ขอให้ล้อมคอกดีๆ ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย<O:p></O:p>
     
  8. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/MaeAiFault.htm



    แผ่นดินไหวโบราณกาลบริเวณอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่​
    สุวิทย์ โคสุวรรณ, ปรีชา สายทอง และอภิชาติ ลำจวน​
    กรมทรัพยากรธรณี (2546) ​


    บริเวณเนินเขาบ้านหาดชมพู ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากชายแดนประเทศเมียนมาร์ประมาณ 2 กิโลเมตร มีรอยเลื่อนแม่จันส่วนแม่อาย (Mae Ai Segments) พาดผ่านตามแนวเชิงเขาทิศตะวันออก-ตะวันตก มีความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร

    คำว่า แผ่นดินไหวโบราณกาล หมายถึง การสั่นไหวของแผ่นดินที่มีสาเหตุมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนมีพลังในอดีตตั้งแต่ก่อนยุคประวัติศาสตร์ โดยอาศัยหลักฐานที่ปรากฏชัดเจนให้เห็นในปัจจุบันของภูมิประเทศที่ถูกธรณีสัณฐานแปรยุคใหม่กระทำ

    การศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาหลักฐานการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตต้องอาศัยการขุดร่องสำรวจในบริเวณที่มีสิ่งบ่งชี้ของธรณีสัณฐานของรอยเลื่อนมีพลัง ซึ่งคือการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งและด้านข้างของชั้นดินต่างๆ นั้นเอง ในบริเวณบ้านหาดชมพูนี้มีทั้งหมด 9 ร่องสำรวจ

    โดยขุดทะลุผ่านชั้นตะกอนน้ำพา ตะกอนเศษหินเชิงเขา และเนินตะกอนน้ำพารูปพัดของยุคไพลสโตซีนและโฮโลซีน ซึ่งพบว่ารอยเลื่อนแม่จันส่วนแม่อายมีการเคลื่อนที่ในลักษณะเหลื่อมซ้ายในแนวราบและเลื่อนย้อนในแนวดิ่ง ในทิศ N 50<SUP>o</SUP>-80<SUP>o</SUP> E และเอียงตัวจากแนวราบ 65<SUP>o</SUP>-85<SUP>o</SUP> ไปทางทิศเหนือ

    ในบริเวณตำแหน่งร่องสำรวจและใกล้เคียงมีหลักฐานของธรณีสัณฐานที่ถูกรอยเลื่อนมีพลังนี้กระทำ ได้แก่ ลักษณะลำธารหักเลื่อน และผารอยเลื่อน เป็นต้น ผลการศึกษาวิจัยรายละเอียดภายในร่องสำรวจพบว่ารอยเลื่อนได้ตัดผ่านชั้นเนินตะกอนน้ำพารูปพัด 3 ลำดับชั้น และตัดผ่านชั้นตะกอนเศษหินเชิงเขาช่วงล่างถึงช่วงกลางที่วางตัวอยู่บนชั้นเนินตะกอนน้ำพารูปพัด ส่วนชั้นตะกอนน้ำพาที่อยู่บนสุดไม่พบหลักฐานว่าถูกรอยเลื่อนตัดผ่าน

    โดยลำดับชั้นล่างสุดของเนินตะกอนน้ำพารูปพัดมีปรากฏการไหลของดิน (Liquefaction) เกิดร่วมด้วย ชั้นตะกอนต่างๆ ที่ถูกรอยเลื่อนตัดผ่านนี้ขยับเคลื่อนออกจากกันในแนวราบ 2.7 เมตร และในแนวดิ่ง 60 เซนติเมตร สามารถนำไปประเมินได้ว่าก่อให้เกิดแผ่นดินไหวไม่น้อยกว่า 7 ริคเตอร์

    วันเวลาของเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหวหาได้จากการหาอายุของชั้นดินก่อนและหลังถูกรอยเลื่อนตัดผ่านด้วยวิธีเรืองแสงด้วยความร้อน (Thermoluminescence) และวิธีคาร์บอน-14 พบว่าเคยเกิดแผ่นดินไหวเมื่อ 8,100 ปี 4,000 ปี และ 1,500 ปีล่วงมาแล้ว และอัตราการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่จันส่วนแม่อายเป็น 0.70 มิลลิเมตร/ปี
     
  9. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/UttaraditFault.htm



    การศึกษาเบื้องต้นของกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ (น้ำปาด)
    บริเวณโครงการเขื่อนแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก
    สุวิทย์ โคสุวรรณ และประดิษฐ์ นูเล
    กรมทรัพยากรธรณี (2546)


    "
    โครงการเขื่อนแควน้อย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ " ดำเนินการโดยกรมชลประทาน เป็นโครงการอ่างเก็บน้ำเอนกประสงค์ขนาดใหญ่ด้วยปริมาณกักเก็บน้ำสูงสุด 769 ล้านลูกบาศก์เมตร

    โดยสร้างเป็นเขื่อนปิดกั้นลำน้ำแควน้อยที่บ้านปากพาน อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก จัดว่าเป็นเขื่อนกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ซึ่งต้องคำนึงถึงว่า ณ ตำแหน่งที่ตั้งของเขื่อนมีรอยเลื่อนมีพลัง (Active fault) พาดผ่านหรือไม่ และในพื้นที่โดยรอบมีรอยเลื่อนมีพลังปรากฏอยู่ที่ใดบ้างที่เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่อาจจะมีผลกระทบกับตัวเขื่อนได้

    ธรณีวิทยาของที่ตั้งของเขื่อนแควน้อยประกอบด้วยหินทรายสีน้ำตาลแดงเนื้อละเอียดของหมวดหินสัวขรัวที่แผ่กระจายในช่วงล่างติดลำน้ำแควน้อยในปัจจุบัน และหินทรายสีขาวเม็ดหยาบเนื้อแน่นแข็งของหมวดหินพระวิหารที่วางตัวอยู่ในส่วนล่าง หินทั้งสองหมวดมีการเรียงตัวของชั้นหินค่อนข้างอยู่ในแนวราบ

    จากการแปลความหมายของข้อมูลดาวเทียม Landsat 7 ETM+ ภาพถ่ายทางอากาศ และการสำรวจภาคสนาม มีหลักฐานชัดเจนว่า กลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศเหนือประมาณ 30 กิโลเมตร ใกล้ อำเภอทองแสนขัน เกิดจากกระบวนการแปรสัณฐานยุคใหม่ (Neotectonics) ที่แสดงแนวโครงสร้างในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

    และทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่บริเวณรอยต่อของจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดพิษณุโลกนี้ ปรากฏมีดัชนีธรณีสัณฐานที่บ่งชี้ถึงความใหม่ของรอยเลื่อน และยังคงสภาพอยู่ถึงปัจจุบัน

    ตลอดแนวความยาวของเขตรอยเลื่อนนี้มักประกอบด้วย หน้าตัดสามเหลี่ยม ทางน้ำเบี่ยงแนว ผารอยเลื่อน สันขวางกั้น และแนวทางน้ำเส้นตรง โดยพบว่ารอยเลื่อนกลุ่มนี้เป็นรอยเลื่อนตามขวาง (Transverse fault) และเป็นรอยเลื่อนเหลื่อมข้าง (Transcurrent fault)

    การศึกษาเบื้องต้นของกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ในบริเวณรอยต่อของจังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดพิษณุโลก ประกอบด้วย 14 รอยเลื่อน คือ รอยเลื่อนพิชัย (มีความยาว 5.5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนด่านขุนโนน (12 กิโลเมตร) รอยเลื่อนปางหมิ่น (5.5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนโคกงาม (4 กิโลเมตร) รอยเลื่อนขุนลาด (11 กิโลเมตร) รอยเลื่อนวังเบน (5.5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนชี้ฟ้า (5.5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนท่าหนอง (8.5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนหนองบอน (2.5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนหนองลวก (8.5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนท่าแกง (5 กิโลเมตร) รอยเลื่อนมะเกลือ (10 กิโลเมตร) รอยเลื่อนไผ่ล้อม (10 กิโลเมตร) และรอยเลื่อนน้ำมืด (19 กิโลเมตร)

    จัดเป็นรอยเลื่อนที่มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวได้อีก (Potentially Active Fault) โดยรอยเลื่อนปางหมิ่นเป็นรอยเลื่อนที่คาดว่ามีการขยับเคลื่อนตัวครั้งหลังสุดในกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ จากหลักฐานทางธรณีสัณฐานที่ปรากฏชัดเจนที่สุดในปัจจุบัน และสามารถประเมินขนาดแผ่นดินไหวที่เคยเกิดมาแล้วในอดีตได้ขนาด 5.9 ริกเตอร์

    บริเวณฝั่งขวาของเขื่อนแควน้อยหรือด้านตะวันออกของลำน้ำแควน้อย มีแนวรอยเลื่อนทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ วางตัวขนานกับแนวแกนคดโค้งของชั้นหินโดยเกิดขึ้นจากกระบวนการแปรสัณฐานยุคเทียร์เซียตอนต้น หลังจากนั้นถึงได้มีกระบวนการแปรสัณฐานยุคใหม่เข้ามากระทำในพื้นนี้ทำให้ได้รอยเลื่อนเหลื่อมข้างซ้ายในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้

    ซึ่งสามารถสรุปในเบื้องต้นได้ว่ารอยเลื่อน ณ บริเวณแกนเขื่อนแควน้อยนี้เป็นรอยเลื่อนเก่า (Inactive fault) ที่ไม่ส่งผลให้แกนเขื่อนมีการเคลื่อนตัว แต่มีผลต่อการกักเก็บน้ำเนื่องจากน้ำในอ่างสามารถรั่วซึมตามแนวรอยเลื่อนนี้ได้ ซึ่งป้องกันและแก้ปัญหาด้วยการอัดฉีดน้ำปูนลงไปประสานรอยเลื่อนให้เป็นผนังทึบกั้นน้ำได้
     
  10. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/MoeiFault.htm



    ธรณีแปรสัญฐานของกลุ่มรอยเลื่อนเมย จังหวัดตาก

    สุวิทย์ โคสุวรรณ ปรีชา สายทอง และวีระพงษ์ ตันสุวรรณ
    กรมทรัพยากรธรณี (2547)


    การสำรวจศึกษาของกลุ่มรอยเลื่อนเมย ที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่จังหวัดตากนั้นได้ทำการสืบค้นหาหลักฐานของธรณีแปรสัณฐานที่เกิดจากการกระทำของแนวรอยเลื่อนที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ด้วยอาศัยการแปลความหมายข้อมูลของภาพดาวเทียม Landsat 7 ETM+ ในช่วงคลื่น 4 (สีแดง) 5 (สีเขียว) และ 7 (สีน้ำเงิน) เพื่อให้ได้ตำแหน่ง และทิศทางการวางตัวของแนวรอยเลื่อน

    รวมทั้งลักษณะการขยับเคลื่อนตัวที่ผ่านมาในอดีต คัดเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการศึกษาในรายละเอียดของแต่ละส่วนของรอยเลื่อน ด้วยการใช้ภาพถ่ายทางอากาศ และเข้าตรวจสอบในสนาม

    ผลการแปลความข้อมูลสัมผัสระยะไกลบ่งชี้ว่ากลุ่มรอยเลื่อนเมยตลอดแนวความยาวทั้งหมด 230 กิโลเมตรนั้น เป็นประเภทรอยเลื่อนตามแนวเฉียง ซึ่งสามารถลากแนวเส้นได้ตั้งแต่ด้านทิศตะวันออกของประเทศเมียนมาร์ ผ่านบริเวณชายแดนทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย เข้าถึงตอนบนของภาคกลาง

    โดยมีแนวกลางวางตัวหลักอยู่ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ และแตกแนวพุ่งขึ้นทิศเหนือสู่พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ส่วนแนวรอยเลื่อนรองนั้น

    พบว่ามีทิศทางการวางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ แนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวเหนือ-ใต้ จากการสำรวจศึกษาในครั้งนี้ได้แบ่งย่อยกลุ่มรอยเลื่อนเมยออกเป็น 10 ส่วน

    ประกอบด้วยส่วนสบเมย (10 กม.) ส่วนห้วยแม่ล้อ (8 กม.) ส่วนบ้านท่าสองยาง (26 กม.) ส่วนเขาแม่สอง (24 กม.) ส่วนห้วยแม่หละ (35 กม.) ส่วนดอยกะลา (23 กม.) ส่วนดอยขุนแม่ท้อ (25 กม.) ส่วนดอยหลวง (43 กม.) ส่วนเขายาว (23 กม.) และส่วนคลองไพร (15 กม.)

    โดยทั้งหมดได้ตัดผ่านกลางแอ่งสะสมตะกอนปัจจุบัน และบางส่วนของภูเขาหินแข็ง ในบรรดารอยเลื่อนย่อยทั้งหมดส่วนบ้านท่าสองยางจัดว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังมากที่สุด

    สอดคล้องกับข้อมูลที่มีอยู่ว่าในบริเวณนี้ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 17 กพ. 2518 ด้วยขนาด 5.6 ริกเตอร์ มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ระหว่างบ้านสบเมย และบ้านท่าสองยาง

    หลักฐานของธรณีแปรสัณฐานที่ค้นพบได้จากการสำรวจในภาคสนามที่บ่งบอกความใหม่จากการกระทำของรอยเลื่อนต่อภูมิประเทศในพื้นที่นี้ได้แก่ ผารอยเลื่อน หน้าผารูปสามเหลี่ยม เนินเขาปิดกั้นทางน้ำ แนวยาวของเนินเขา ทางน้ำหักงอ และลำธารหลงแม่ เป็นต้น

    ลักษณะภูมิประเทศพิเศษต่างๆ เหล่านี้ชี้ชัดว่าเป็นรอยเลื่อนมีพลัง ดังเช่นรอยเลื่อนส่วนบ้านท่าสองยางที่ตัดบริเวณขอบแอ่งสะสมตะกอนปัจจุบันมีการวางตัวในแนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีหลักฐานทางธรณีแปรสัณฐานว่าเป็นรอยเลื่อนตามเฉียงชนิดเคลื่อนในแนวระนาบเหลื่อมขวาและแนวดิ่งเคลื่อนลงตามปกติ

    ขณะที่ส่วนที่ปรากฏในหินแข็งเป็นการเคลื่อนในแนวระนาบเหลื่อมซ้าย จากการปรากฏบนพื้นผิวดินของแนวรอยเลื่อนส่วนนี้มีความยาว 26 กิโลเมตร สามารถประเมินขนาดแผ่นดินไหวที่เคยเกิดบริเวณบ้านท่าสองยางมาแล้วในอดีตย้อนหลังไปไม่เกิน 1.6 ล้านปี (ตามข้อมูลการวัดหาอายุเบื้องต้นด้วยวิธีเรืองแสงด้วยความร้อน) มีขนาด 6.7 ริกเตอร์

     
  11. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/KanchanaburiFault.htm



    แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว : รอยเลื่อนมีพลังในจังหวัดกาญจนบุรี
    สุวิทย์ โคสุวรรณ
    กรมทรัพยากรธรณี (2547)




    รอยเลื่อน
    คือรอยแตกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของเปลือกโลก ทำให้ปรากฏเป็นแนวรอยแตกร้าวบนผิวดิน การขยับเคลื่อนตัวแต่ละครั้งของรอยเลื่อนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว

    ในจังหวัดกาญจนบุรี มีรอยเลื่อนมีพลังที่สำคัญอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และ กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์

    1. กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์
    กลุ่มรอยเลื่อนนี้ประกอบด้วยรอยเลื่อนย่อยขนาดต่างๆ เช่น รอยเลื่อนเจ้าเณร รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนสองท่อ รอยเลื่อนบ่องาม และรอยเลื่อนแควใหญ่ รอยเลื่อนเหล่านี้มีการวางตัวในทิศทางตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านพื้นที่ อ.ศรีสวัสดิ์ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ตามลำน้ำแม่น้ำแควใหญ่ สู่ที่ราบภาคกลางตอนล่าง

    2. กลุ่มรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์
    กลุ่มรอยเลื่อนนี้ต่อเนื่องมาจากประเทศเมียนมาร์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนหลายแนวคือ รอยเลื่อนแควน้อย รอยเลื่อนไทรโยค รอยเลื่อนแม่น้ำน้อย รอยเลื่อนบ่องตี้ รอยเลื่อนเขาพัง รอยเลื่อนจอมบึง และรอยเลื่อนปิล๊อก


    เหตุการณ์แผ่นดินไหวในอดีต

    กลุ่มรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 15 และ 22 เมษายน พ.ศ. 2526 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.3 และ 5.9 ริกเตอร์ ตามลำดับ ในบริเวณพิกัดเส้นละติจูดที่ 14.9<SUP>o</SUP> เหนือ และเส้นลองจิจูด 99.1<SUP>o</SUP> ตะวันออก คาดว่าเกิดจากผลของการกักเก็บน้ำในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนศรีนครินทร์

    หลังจากนั้นมีแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ๆ อีกหลายครั้ง ทางตอนเหนือของ อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนบ่องาม และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์

    กลุ่มรายเลื่อนเจดีย์สามองค์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2502 เกิดแผ่นดินไหวในบริเวณตำบลกลอนโด อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เป็นผลให้พื้นดินแยกเป็นระยะทางยาวประมาณ 300 เมตร กว้าง 1-2 เมตร ลึก 150 เมตร

    การเกิดแผ่นดินไหวทั้งสองกรณีข้างต้นไม่มีรายงานผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน เนื่องจากเกิดอยู่ในพื้นที่ห่างไกลชุมชน

     
  12. สิกขิม

    สิกขิม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    1,310
    ค่าพลัง:
    +6,034
    http://www.dmr.go.th/geohazard/earthquake/RanongFault.htm



    รอยเลื่อนระนอง จังหวัดระนอง-ชุมพร​
    <DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR><DIR>
    </DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR></DIR>ผลการศึกษาจากข้อมูลโทรสัมผัสและข้อมูลในสนาม ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มรอยเลื่อนระนองเป็นรอยเลื่อนที่มีการเลื่อนตัวเหลื่อมซ้ายในแนวราบ ที่มีทิศทางในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ที่เป็นทิศทางของรอยเลื่อนหลักในพื้นที่

    และจากการศึกษาจากการแปลข้อมูลดาวเทียม และภาพถ่ายทางอากาศพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่า รอยเลื่อนนี้น่าจะเป็นรอยเลื่อนที่มีแนวโน้มการเคลื่อนตัวได้อีก (Potentially Active Fault)

    พบลักษณะธรณีสัณฐานที่เกิดขึ้นตามแนวรอยเลื่อนคือ ทางน้ำเบี่ยงแนว ผารอยเลื่อน หน้าตัดสามเหลี่ยม สันขวางกั้น แนวราบกัดกร่อน และ เนินเขาจากการดันตัว ที่ชี้ชัดว่ารอยเลื่อนนี้ยังมีอายุใหม่อยู่

    ในกลุ่มรอยเลื่อนระนองนี้ยังมีแนวรอยเลื่อนย่อยๆ อีกมากมายมีทิศทางของรอยเลื่อนที่ปรากฏอยู่ 3 ทิศทางคือ

    1.รอยเลื่อนในแนวตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นทิศทางหลักในพื้นที่

    2.รอยเลื่อนในแนวตะวันตกเฉียงเหนือพบปรากฏเล็กน้อย

    3.รอยเลื่อนในแนวตะวันออก-ตะวันตกพบปรากฏน้อยมาก

    จากการทำการศึกษาเบื้องต้นพบรอยเลื่อน 2 แนวที่สำคัญคือ รอยเลื่อนราชกูด ที่ปรากฎอยู่ในบริเวณพื้นที่อำเภอละอุ่น จังหวัดระนองคาบเกี่ยวพื้นที่จังหวัดชุมพร เป็นรอยเลื่อนที่น่าสนใจมาก ซึ่งได้ศึกษาในรายละเอียดด้วยการแปลภาพถ่ายทางอากาศ

    จากนั้นได้ศึกษาในภาคสนามพบว่ารอยเลื่อนนี้เป็นรอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนตัวในลักษณะเลื่อนเหลื่อมซ้ายในแนวราบ และมีการเลื่อนตัวในแนวดิ่งแบบเลื่อนย้อนเกิดร่วมด้วย (Left Lateral Strike-Slip with Reverse Fault) วางตัวในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีทิศทางระนาบรอยเลื่อนโดยประมาณ 050 องศา พาดผ่านในพื้นที่ของกลุ่มหินแก่งกระจาน (มีอายุประมาณ 300-270 ล้านปี) ที่เป็นหินโคลนปนกรวด และหินปูน และยังตัดเข้าไปในชั้นตะกอนดินอายุอ่อนด้วย จากความยาวของรอยเลื่อนที่ปรากฎบนผิวดิน (Surface Rupture Length) ทั้งสองส่วนนำมาประเมินเพื่อหาว่ารอยเลื่อนราชกูดนี้เคยทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดเท่าใดในอดีต และอาจจะเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

    ซึ่งพบว่าบริเวณนี้เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.4 และ 6.9 ริกเตอร์ มาแล้ว
     
  13. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
  14. satan

    satan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    5,045
    ค่าพลัง:
    +17,915
    โมทนากับความรู้นี้ครับผม / แล้วะเอาข้อมูลมาโพสอีกนะครับ
     
  15. amm.

    amm. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2008
    โพสต์:
    243
    ค่าพลัง:
    +613
    เมื่อคืนใกล้ตื่นมีคนบอกถึงเรื่องเมืองลี้และเมืองอะไรอีกอย่างแต่เราจำไม่ได้...
    ตื่นมาจำแต่เมืองลี้...ค้นหาจากกูเกิ้ล...พบว่าเป็นอ.ลี้จ.ลำพูนซึ่งมีประวัติยาวนานมาแล้ว...
    และในประวัติก็ถูกกรุงสุโขทัยตีเอาเมืองและขนทรัพย์สินรวมทั้งผู้คนไปหมดจนกลายเป็นเมืองร้าง....
    ซึ่งเมืองลี้เดิมทีเป็นเมืองพระพุทธศาสนาเช่นกัน...มีพระธาตุเยอะมากๆ...
    คุณเกษมคะ...แอ๋มขอข้อมูลเรื่องภัยพิบัติจากคำทำนายที่เกี่ยวกับเมืองลี้หน่อยได้ไหมค่ะ.
     
  16. โยนกนาคบุรี

    โยนกนาคบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +2,694
    เดี่ยวไปค้นปั๊บสา มาให้แต่แปลตัวเมืองเป็นไทยคงยากพอควร


    เหตุการณ์ที่โยนกนาคบุรีเกิดแผ่นดินไหวหรือเกิดเวียงล่ม
    หรือตามพงศวดารของล้าน ช้าง ล้าน นา
    เหตุการณ์นี้จะอุบัติขึ้นอีก แต่จำไม่ได้ละอีกเมื่อไหร่
    กลัว ๆ เหตุการณ์เดิมจะกลับมาอะ
     
  17. ภูติอาคเนย์

    ภูติอาคเนย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    723
    ค่าพลัง:
    +1,326
    โหข้อมูลเพียบเลยขออนุญาติกอปไปแปะไว้ให้ศึกษากันต่อไปนะขอรับ
    ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...