โพลชี้ความสุขแท้จริงวัดไม่ได้ด้วยเงิน กลุ่ม นศ.-จบใหม่ ทุกข์มากสุด

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย piyaa, 25 ตุลาคม 2010.

  1. piyaa

    piyaa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,072
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td valign="middle"><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td align="left" valign="bottom" height="12">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff" valign="top"> <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="160"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle" width="165" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> เอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจคนจนมีความสุขมากกว่าคนรวย ชี้ ความสุขที่แท้จริงไม่ได้วัดกันที่เงิน แต่การมีความสุข เพราะคนจนมีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ ทั้งเรื่องความจงรักภักดี ครอบครัว และวัฒนธรรมประเพณี พร้อมระบุ กลุ่มคนวัยเรียนมหาวิทยาลัยในช่วงใกล้จบ และกลุ่มคนที่อยู่ในวัยเริ่มทำงาน มีความสุขน้อยที่สุด

    นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบคโพลล์) เปิดเผยผลการวิจัยเรื่อง "วิเคราะห์ความสุขมวลรวมคนไทย: ใครกำลังมีความสุข" กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 28 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ชลบุรี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี เลย หนองคาย กาฬสินธุ์ พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ อุทัยธานี สุโขทัย เพชรบูรณ์ สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม กระบี่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา ปัตตานีและสงขลา จำนวน 5,001 ตัวอย่าง ระหว่างช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2553

    โดยผลการสำรวจความสุขมวลรวม ซึ่งมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ผู้หญิง คือ กลุ่มที่มีความสุขมากกว่าผู้ชาย โดยผู้หญิงมีคะแนนเฉลี่ยความสุขอยู่ที่ 6.64 คะแนน ขณะที่ผู้ชายมีคะแนนเฉลี่ยความสุขอยู่ที่ 6.50 คะแนน เมื่อวิเคราะห์ความสุขจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป เป็นกลุ่มคนที่มีค่าความสุขมวลรวมสูงที่สุด เช่นเดียวกับกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปีโดยมีค่าคะแนนความสุขเท่ากันอยู่ที่ 6.74 คะแนน สำหรับกลุ่มที่มีความสุขน้อยที่สุด คือ กลุ่มคนวัยเรียนมหาวิทยาลัยในช่วงใกล้จบและกลุ่มคนที่อยู่ในวัยเริ่มทำงาน ซึ่งมีคะแนนความสุขอยู่ที่ระดับ 6.37 คะแนน

    นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความสุขจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ประชาชนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีค่าความสุขสูงสุดเท่ากับ 6.63 คะแนน ซึ่งสูงกว่ากลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรี ที่มีคะแนนความสุขอยู่ที่ 6.27 และ 6.30 คะแนนตามลำดับ

    นายนพดล กล่าวว่า ที่น่าสนใจ คือ คนที่มีรายได้ต่ำสุด กลับมีระดับความสุขมวลรวมสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ คือ คนรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน มีความสุขอยู่ที่ 6.75 คะแนน ขณะที่กลุ่มคนที่มีรายได้สูงกว่า 20,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน มีระดับความสุขออยู่ที่ 6.43 คะแนน

    "สิ่งที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง คือ กลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความสุขมากที่สุด คือ ความจงรักภักดี ที่ทำให้มีความสุขสูงถึง 9.43 รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว อยู่ที่ 7.97 อันดับที่ 3 คือ สุขภาพใจ อยู่ที่ 7.71 อันดับที่ 4 คือ สุขภาพกาย อยู่ที่ 7.67 และวัฒนธรรมประเพณี อยู่ที่ 7.56 คะแนน ตามลำดับ"

    แต่เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า กลุ่มแม่บ้านและเกษียณอายุกลับเป็นกลุ่มคนที่มีความสุขมากที่สุด คือ 6.88 คะแนน ขณะที่คนว่างงาน และคนที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน คือกลุ่มคนที่มีความสุขต่ำสุดโดยมีคะแนนความสุขอยู่ที่ 6.35 คะแนน เท่านั้น

    สำหรับสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ความสุขของคนสามกลุ่มที่ยึดโยงกับเรื่องการเมืองมีระดับความสุขแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ คนที่สนับสนุนรัฐบาลมีความสุขมวลรวมอยู่ที่ 7.00 ขณะที่ คนไม่สนับสนุนรัฐบาลมีความสุขอยู่ที่ 6.22 และกลุ่มพลังเงียบมีความสุขอยู่ที่ 6.42 คะแนนและในการสำรวจครั้งนี้ ยังพบด้วยว่า กลุ่มสนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ร้อยละ 31.2 กลุ่มไม่สนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ 15.1 และกลุ่มพลังเงียบยังคงเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของการสำรวจครั้งนี้ คือ ร้อยละ 53.1

    เอแบคโพลล์สรุปว่า ผลวิจัยสำหรับประเทศไทยครั้งนี้ บ่งชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความสุขของประชาชนคนไทยไม่ได้ขึ้นอยู่กับรายได้หรือเงินทองเพียงอย่างเดียว แต่ยังคงมีปัจจัยสำคัญสูงสุดที่ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มประชาชนที่มีราย ได้น้อย มีหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ความจงรักภักดี อันดับรองลงไป คือ ครอบครัว กำลังใจ กำลังกายกาย และวัฒนธรรมประเพณี ตามลำดับ
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...