ปีนี้องค์การสหประชาชาติได้ชักชวนให้ทุกประเทศทั่วโลก ให้ช่วยกันรณรงค์
อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้คงไว้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้
เสื่อมลงมาอย่างชัดเจน เป็นเรื่องของส่วนรวมที่ต้องช่วยกันทั่วทั้งโลก
เพราะเกี่ยวข้องถึงกันหมด โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในโซนร้อนจะมีมากกว่า
ประเทศในเขตอบอุ่น หากทุกประเทศได้มีส่วนร่วมช่วยกันอนุรักษ์ จะทำให้
โลกอยู่อย่างสันติสุขขึ้น
ทรัพยากรธรรมชาติที่มีชีวิตหรือทรัพยากรชีวภาพในโลกนี้มีมากมายหลาย
อย่างและจำแนกแตกต่างกันออกไปหลายชนิด จึงเรียกรวม ๆ ว่า ความ
หลากหลายทางชีวภาพ เป็นสภาพของธรรมชาติที่ประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิต
จำนวนมาก ซึ่งหลัก ๆ หมายถึงพื้นที่ในป่า ตั้ง แต่ป่าไม้ สัตว์ พืช แมลง
หลากหลาย ชนิด แตกต่างกันไปและได้เกี่ยวข้องโยงใยความสำคัญมาถึง
มนุษย์ด้วย ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดเสื่อมโทรมขาดหายไปมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้ตามไป
ด้วย
ความหลากหลายทางชีวภาพ แบ่งออกเป็น 3 อย่างด้วยกัน
หลากหลายทางพันธุกรรม เช่น ข้าวสารมีสายพันธุ์ต่าง ๆ
ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ฯลฯ หลากหลายในชนิดพันธุ์
ยกตัวอย่างของป่า เช่น ป่าดิบแล้งมีต้นไม้ราว 50 ชนิด ป่าดิบชื้น
มากถึง 100 ชนิด เช่น ไม้สัก สน พยอม แดง และป่าเต็งรัง
มีต้นไม้ราว 30 ชนิด หลากหลายทางระบบนิเวศ
เช่น ป่าบนบก ป่าชายเลน ป่าตามชายฝั่งทะเล
ตามพื้นที่ของท้องถิ่นนั้น ๆ
ถือเป็นทรัพยากรของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพเหล่านี้
มีความสำคัญต่อส่วนรวมมาก ถือเป็นทรัพยากรของโลก
จะมีผลกระทบต่อโลกหากไม่ดูแลรักษาให้ดี เพราะ
ประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นในระยะเวลาที่รวดเร็ว
จะทำลายสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ในขณะเดียวกัน
นักวิทยาศาสตร์
นักวิจัย ต่างคิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากชีวภาพเหล่านี้มาใช้
พร้อมทั้งมนุษย์เองก็ได้ทำลายไปด้วยจากการสร้างที่อยู่อาศัย
สร้างที่ทำมาหากิน บุกรุกป่าเข้าไปเรื่อย ๆ
จึงต้องมีการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้ความหลากหลายทางชีวภาพ
เหล่านี้ดำรงอยู่ได้ยาวนานที่สุด
ปัจจัยที่มาทำลาย จากดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
ภาวะเรือนกระจก ฝนแล้ง น้ำท่วม ล้วนเป็นผลจากความเจริญ
และการพัฒนา ผลที่ได้ไปทำลายชีวภาพเหล่านี้อย่างมาก
ที่มาคุยเรื่องนี้เนื่องด้วยเมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้ไปงานประชุม
วิชาการของคณะสัตวแพทย์จากหลายองค์กรที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
ก่อนจบท่านประธาน นสพ.วิศิษฏ์ วิชาศิลป์ รอง ผอ.องค์ การสวนสัตว์
ได้บอกว่าปีนี้ ทางสหประชาชาติถือเป็นปีรณรงค์ความหลากหลายทาง
ชีวภาพ ให้ทุกประเทศทั่ว โลกได้อนุรักษ์และพัฒนามากที่สุด
ประเทศไทยถือเป็นอันดับสอง รองจากเขตศูนย์สูตรของอเมริกากลาง
และใต้ที่มีความหลากหลายของสิ่งมี ชีวิตมากที่สุด มีพันธุ์พืช 15,000
ชนิด 8% ของพันธุ์พืชโลก ประเทศแถบสแกนดิเนเวียมีเพียง 1,800 ชนิด
ไทยมีปลาถึง 2,000 ชนิด 10% จากทั่วโลก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกิน
330 ชนิด นกราว 1,000 ชนิด ฯลฯ รวมแล้วในโลกนี้ในบรรดาสิ่งมีชีวิต
1.5 ล้านชนิด มนุษย์นำมาใช้เพื่อดำรงชีวิตเพียง 5,000 ชนิดเท่านั้น ยัง
เหลืออีกมากที่คงต้องวิจัยค้นคว้ากัน ต่อไป
สัตว์ป่าหายากหรือสัตว์ป่าสงวน จำนวน 9 ชนิด
ได้แก่ สมัน แรด กระซู่ กูปรีหรือโคไพร ควายป่า ละมั่ง เนื้อทราย เลียงผา
และกวางผา ต่อมาได้ถอดเนื้อทรายออกเพิ่มเป็น 15 ได้แก่
นกเจ้าฟ้าหญิง สิรินธร นกแต้วแร้วท้องดำ นกกระเรียน แมวลายหินอ่อน
สมเสร็จ เก้งหม้อ และพะยูน
สัตว์-พืช-ป่าต้องอาศัยกัน ตัวอย่างในป่าดงดิบชื้น โคนต้นไม้ป่าจะพบมอส
เฟิร์น เกาะตามส่วนที่อับชื้น ตามลำต้นกิ่งก้านมีไม้เลื้อยเกาะ สัตว์ แมลง
นก อาศัยป่าเกาะตามต้นไม้หาอาหาร ช่วยผสมเกษร ดอกไม้ให้แพร่พันธุ์
ดูเกี่ยวข้องกันหมด หากมีการเปลี่ยนแปลงผลกระทบจะไปทั่วถึงกัน
ดังที่มีคนพูดว่า เด็ดดอกไม้ 1 ดอกย่อมมีผลกระทบถึงดวงดาว
และโลกใบนี้คงเงียบเหงาหากจะมีเพียงมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่อย่างเดียวเท่านั้น
จึงต้องดำรงอยู่ร่วมกันเพราะทั้งหมดเกี่ยวข้องกัน
ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง จากสาเหตุหลายประการ อาจเกิดจาก
การนำทรัพยากรนี้มาใช้มากเกินไป การค้าขายสัตว์ป่า พืชป่า
ที่ผิดกฎหมาย การไปรบกวนที่อยู่อาศัยของสัตว์ เช่น การเผาป่า บุกรุก
ทำลายป่า การเปลี่ยนแปลงของอากาศ ฝนแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้จึงต้องหาหนทางยับยั้งความเสื่อมโทรมให้ลดลง
มีการรณรงค์ให้ประชากรทั่วโลกได้เข้าใจตระหนักถึงความสำคัญของมวล
ชีวภาพที่มนุษย์ต้องพึ่งพาอาศัยกันให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขด้วยการ
อนุรักษ์และพัฒนา
ปี 2553 นี้จึงเป็นปีแห่งการรณรงค์เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของ
โลก และวันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลกด้วย.
Daily News Online > โลกสีสวย > แรงงาน-สาธารณสุข > มองคุณภาพชีวิต > ทั่วโลกรณรงค์อนุรักษ์ความหลากหลายทาง�
>โลกสีสวย>ทั่วโลกรณรงค์อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย เถิก แคลาย, 6 มิถุนายน 2010.