เรื่องเด่น โลกเปลี่ยน…ฤดูผันแปร รับมือแล้งถี่…ท่วมทุก 10 ปี

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 23 พฤษภาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    b8a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b899-e0b8a4e0b894e0b8b9e0b89ce0b8b1e0b899e0b981e0b89be0b8a3-e0b8a3e0b8b1.jpg


    ตกลงมันฤดูอะไรกันแน่…เป็นคำถามที่หลายคนตั้งข้อสงสัย ถึงสภาพอากาศมีฝนตกสลับร้อนปนเย็นเกิดไปทั้งประเทศ มาตั้งแต่กลางฤดูหนาวข้ามฤดูแล้ง จนมาถึงปัจจุบันที่ไม่รู้ว่าเป็นฤดูอะไร

    “สภาพอากาศแปรปรวนแบบนี้ ไม่ได้มีเฉพาะในบ้านเรา เกิดขึ้นไปทั่วโลก สาเหตุมาจากภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยหลักทำให้เกิดอากาศแปรปรวนทั่วโลก ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นกว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้ว 0.8 ํC ทำให้ที่ราบสูงมีสภาพแห้งแล้งขึ้น ประกอบกับการเพิ่มของอุตสาหกรรมใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้ เพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจก ทำให้คาดการณ์กันว่าอีก 80 ปี อุณหภูมิจะสูงขึ้นเป็น 4 ํC น้ำทะเลจะสูงขึ้นอีก 1.2 เมตร และหากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำจะเพิ่มระดับถึง 2.5 เมตร ถ้ายังไม่ทำอะไรกรุงเทพฯจมน้ำแน่”

    ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต อธิบาย…ผลจากปัจจัยเหล่านี้ ทำให้เกิดฤดูกาลเหมือนจะคลาดเคลื่อน อากาศแปรปรวน ยิ่งเจอกับพายุเข้าไปอีก ทำให้ปีนี้น้ำมาก

    a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b899-e0b8a4e0b894e0b8b9e0b89ce0b8b1e0b899e0b981e0b89be0b8a3-e0b8a3e0b8b1-1.jpg

    ผลกระทบต่อไปจะเห็นน้ำท่วมถี่ขึ้นในบ้านเรา น้ำท่วมใหญ่จากเดิมเคยเกิดทุก 70 ปี จะกลายเป็นทุก 10 ปี ภัยแล้งที่เคยเกิดขึ้นทุก 15 ปี จะกลายเป็นทุก 2-3 ปี…คาดการณ์ได้ว่า ปี 2562 คนไทยต้องเตรียมตัวรับมือกับภัยแล้ง และปี 2570 จะเกิดน้ำท่วมใหญ่อีกครั้ง

    ด้าน ดร.สุทัศน์ วีสกุล ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ให้ข้อมูลสถิติปริมาณน้ำฝนเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 267 มม. มากกว่าครั้งน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ที่มีปริมาณน้ำฝนเพียง 137 มม. ที่สำคัญยังทำลายสถิติปริมาณน้ำฝนในรอบ 30 ปี ที่มีค่าเฉลี่ย 97 มม. ฉะนั้น ส.ค.-ก.ย. มีโอกาสเสี่ยงน้ำท่วมอีกครั้ง หากยังเจอกับฝนฟ้าคะนองติดต่อกัน

    “ปีนี้สภาพอากาศคล้ายปี 2528 แถมภาวะโลกร้อนยังทำให้เกิดเอล-นีโญ สลับกับลานีญาบ่อยขึ้น ทำให้ต้องเจอกับพายุฝนฟ้าคะนองเป็นช่วงๆถี่ขึ้น เมื่อบวกกับความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ลงมาได้บ่อยกว่าแต่ก่อน แม้จะไม่แรงนัก แต่ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น นี่ยังไม่รวมลมมรสุมแปรปรวนที่พัดเข้ามาแทบจะทุกทิศทาง เป็นอีกปัจจัยทำให้คนไทยต้องเจอกับพายุฝนฟ้าคะนองบ่อยๆ”

    a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b899-e0b8a4e0b894e0b8b9e0b89ce0b8b1e0b899e0b981e0b89be0b8a3-e0b8a3e0b8b1-2.jpg

    สำหรับการปรับตัวของภาคเกษตร ดร.เสรี และ ดร.สุทัศน์ มองไปทางทิศทางเดียวกัน…ภัยแล้งจะมาถี่กว่าน้ำท่วม เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนปลูกพืชอายุสั้นให้ผลผลิตเร็ว พืชใช้น้ำน้อย ปรับเวลาปลูก

    ต้องรวมตัวกันมีแหล่งน้ำชุมชน กำหนดกฎกติกาใช้น้ำ และต้องติดตามสภาพภูมิอากาศอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนั้นคนภาคกลางต้องพึ่งแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดเล็กที่มี 31,365 แห่ง ที่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น…เพราะในช่วง 5 ปีหลัง น้ำในเขื่อนจากเหนือเริ่มแปรปรวนอย่างชัดเจน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนในภาคเหนือลดลง

    a5e0b8b5e0b988e0b8a2e0b899-e0b8a4e0b894e0b8b9e0b89ce0b8b1e0b899e0b981e0b89be0b8a3-e0b8a3e0b8b1-3.jpg

    ส่วนภาครัฐก็ต้องเลิกบริหารแบบประชา-นิยม เปลี่ยนแนวคิดมาทำงานเชิงรุก เลิกคิดแต่จะเยียวยา แต่ควรหาทางป้องกัน ต้องทำยุทธศาสตร์ไม่ใช่กำหนดแต่ไม่ลงมือทำ…หันมาประเมินความเสี่ยงน้ำท่วมน้ำแล้งของแต่ละพื้นที่แบบฤดูต่อฤดู แล้วให้ข้อมูลจริง แนะนำเกษตรกรช่วงไหนควรปลูกอะไร.

    กรวัฒน์ วีนิล


    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairath.co.th/content/1288364
     

แชร์หน้านี้

Loading...