ใช้ข้อมือมากเสี่ยงโรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 24 กรกฎาคม 2018.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    ใช้ข้อมือมากเสี่ยงโรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ
    #โรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ
    36776565_208168713105197_154701621035532288_n.jpg
    โรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือเกิดจากพังผืดที่หนาตัวบริเวณข้อมือทางด้านฝ่ามือ แล้วกดทับเส้นประสาททำให้เกิดการอักเสบ เมื่อมีการใช้งานบริเวณข้อมืออย่างต่อเนื่องและเป็นเวลานานซึ่งการใช้เม้าส์จะทำให้เราอยู่ในท่ากระดกข้อมือขึ้นเป็นเวลานาน คนที่เขียนหนังสือ ใช้เครื่องมือที่สั่นสะเทือนต่อข้อมือบ่อยๆ (การทำงานที่กระดกข้อมือซ้ำๆกัน) ซึ่งนำไปสู่การกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้
    .
    อาการของโรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ
    -ชา เป็นเหน็บ
    -ปวดแสบปวดร้อนบริเวณฝ่ามือกับนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วโป้งกับนิ้วชี้
    -อาจรู้สึกเหมือนถูกไฟช็อตที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางเป็นบางครั้ง
    -มักมีอาการตอนกลางคืน หรือหลังตื่นนอน
    -เมื่อได้ขยับ หรือสะบัดมือจะรู้สึกดีขึ้น
    -อาการจะชัดเจนมากขึ้นหลังจากทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวข้อมือหรือใช้ข้อมือหยิบจับถือสิ่งของเป็นเวลานาน
    -มีอาการอ่อนแรงของมือและนิ้วมือ
    .
    วิธีป้องกันโรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ
    คือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประวัน และใช้งานมือและข้อมือด้วยความระมัดระวัง
    - ไม่ควรวางมือ ข้อมือและแขนในลักษณะคดงอ ควรวางทั้งมือและแขนให้ขนานเป็นเส้นตรง ไม่วางเม้าส์บนโต๊ะที่เล็กหรือแคบจนเกินไป
    - ระดับความสูงของโต๊ะก็เป็นสิ่งที่สำคัญ หากโต๊ะเตี้ยเกินไป ทำให้คุณต้องยกข้อมือขึ้น อาจตามมาด้วยอาการปวดล้า มือและแขนควรวางอยู่ในระดับเดียวกัน
    - สำหรับการพิมพ์งาน ไม่ควรวางอุ้งมือล่างไว้ที่แป้นพิมพ์เพราะจะทำให้เราทิ้งน้ำหนักลงไปที่อุ้งมือล่าง ควรเปลี่ยนเป็นการพิมพ์ในลักษณะที่ยกมือลอยเพื่อลดอาการบาด
    .
    การรักษาโรคเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือ
    -การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
    ใช้เฝือกอ่อนดามข้อมือ ทานยาแก้ปวดแก้อักเสบ ฉีดยาสเตียรอยด์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ใช้ข้อมือเพื่อลดการอักเสบของข้อมือ
    -การรักษาด้วยการผ่าตัด
    (การรักษาด้วยยาและ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงกล้ามเนื้อฝ่อ)

    ----------------------------------------------------------------------------------------------------
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     

แชร์หน้านี้

Loading...