ไขคำตอบ! “แผ่นดินไหว” ทั่วโลก ไม่เชื่อมโยงภูเขาไฟระเบิด

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 28 มกราคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    G0DL5oPyrtt5HBAi37OqamB8Ydc31xKPs0wEf6iSYeXi7ekHGFtsBd.png


    นักธรณีวิทยาและนักวิชาการเห็นตรงกันว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบริเวณวงแหวนแห่งไฟในเดือนมกราคม เป็นเหตุการณ์ปกติและทั้ง 2 เหตุการณ์ไม่มีความเชื่อมโยงต่อกัน

    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั่วโลกตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2561 พบว่ามีแผ่นดินไหวขนาด 6 ขึ้นไป เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน


    10 มกราคม เวลา 09.51 น. เกิดแผ่นดินไหว ทางตอนเหนือของประเทศฮอนดูรัส ขนาด 7.5 ความลึก 10 กิโลเมตร สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) รายงานการเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวระบุขนาดความแรงที่ขนาด 7.8


    14 มกราคม เวลา 04.18 น. ตามเวลาท้องถิ่น เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ใกล้ชายฝั่งเปรู ทางใต้ถึงตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองอะคารี ประมาณ 40 กิโลเมตร ความลึก 12.1 กิโลเมตร


    21 มกราคม เวลา 08.06 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ที่ประเทศชิลี ในจังหวัดตาราปากา ทางตอนเหนือใกล้พรมแดนเปรู โดยศูนย์กลางอยู่ลึกลงไป 110.8 กิโลเมตร


    23 มกราคม เวลา 13.34 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.0 ที่หมู่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย


    23 มกราคม เวลา 16.31 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 7.8 ในอ่าวอะแลสกา ความลึก 10 กิโลเมตร


    24 มกราคม เวลา 17.51น. เกิดแผ่นดินไหวบริเวณเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 6.1 ความลึก 63 กิโลเมตร


    วันนี้ (28 ม.ค.2561) นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้อำนวยการส่วนวิจัยรอยเลื่อนมีพลัง กรมทรัพยากรธรณี เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคม 2561 เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่ของตะเข็บรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก หรือ วงแหวนแห่งไฟ ซึ่งเป็นสถานการณ์ปกติ


    ถือเป็นช่วงไฮซีซันของปีนี้ โดยแต่ละปีบริเวณวงแหวนแห่งไฟจะเกิดแผ่นดินไหวชุกไม่เหมือนกัน บางปีเกิดชุกตั้งแต่ต้นปี บางปีเกิดกลางปี เรียกได้ว่าช่วงไฮซีซันจะเกิดขึ้นในเดือนไหนก็ได้ และหลังจากนี้เหตุการณ์แผ่นดินไหวจะเบาบางลง และจะหายไปประมาณ 5-6 เดือน เนื่องจากรอยต่อของเปลือกโลกได้ปล่อยพลังออกมาส่วนหนึ่ง


    สำหรับเหตุการณ์ภูเขาไฟที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศฟิลิปปินส์เกิดการปะทุขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เป็นผลมาจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถี่หรือไม่ นายสุวิทย์ให้ข้อมูลว่า เหตุการณ์ทั้ง 2 ไม่มีความเชื่อมโยงต่อกัน เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันเท่านั้น ซึ่งการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟปะทุได้ตลอดเวลา


    รศ.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย กล่าวว่า จากสถิติการเกิดแผ่นดินไหวพบว่า แผ่นดินไหวขนาด 6-6.9 จะเกิดแผ่นดินไหวเฉลี่ย 130-180 ครั้งต่อปี ขนาด 7-7.9 จะเกิดเฉลี่ย 9-16 ครั้งต่อปี และขนาด 8-8.9 จะเกิดขึ้นไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี เมื่อเทียบดูกับการเกิดแผ่นดินไหวในเดือนมกราคมยังถือว่าอยู่ในระดับปกติ การสั่นไหวไม่มีปริมาณเพิ่มขึ้นหรือลดลง อัตราการเคลื่อนตัวยังสม่ำเสมอ และอัตราการสะสมพลังงานตามขอบแผ่นเปลือกโลกยังคงเดิม



    จุฑาภรณ์ กัณหา ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์

    ขอบคุณที่มา
    https://news.thaipbs.or.th/content/269691
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 มกราคม 2018

แชร์หน้านี้

Loading...