ไขมันพอกตับภัยเงียบใกล้ตัว(Fatty Liver Disease)

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 6 สิงหาคม 2018.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    ไขมันพอกตับภัยเงียบใกล้ตัว(Fatty Liver Disease)
    #ไขมันพอกตับ #FattyLiverDisease
    37704172_221135855141816_940574477496877056_n.jpg
    ไขมันพอกตับคือการมีไขมันไปสะสมอยู่ในเซลล์ตับในรูปแบบของไตรกลีเซอไรด์ในเซลล์ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หรือเซลล์ตับตาย และเกิดพังผืดภายในตับ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาภาวะไขมันพอกตับ ทำให้เกิดภาวะตับแข็งและอาจลุกลามเป็นโรคมะเร็งตับจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
    .
    ไขมันพอกตับ(Fatty Liver Disease)แบ่งเป็น 2 ชนิด
    -โรคไขมันพอกตับที่มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์
    (Alcoholic fatty liver disease , AFLD)
    -โรคไขมันพอกตับที่มิได้มีสาเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์
    (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD)
    .
    อาการของไขมันพอกตับ
    -ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นตั้งแต่เริ่มแรก
    -หากมีอาการก็อาจเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงมากพอที่จะบ่งบอกโรคได้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกอึดอัด ปวดแน่น เจ็บบริเวณชายโครงด้านขวาในตำแหน่งที่อยู่ของตับ จากการมีตับโต และมักคลำพบได้ เบื่ออาหาร รู้สึกท้องอืด ท้องเฟ้อ คล้ายอาหารไม่ย่อยท้องผูกหรือท้องเสียเป็นประจำ แน่นท้อง อึดอัดท้อง
    .
    การรักษาไขมันพอกตับ
    -ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    -ควรลดปริมาณอาหารโดยเฉพาะมื้อเย็น (แค่พออิ่ม)
    -หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ตับทำงานหนัก
    -หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์
    -หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่(ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือด)
    -ลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี โดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร
    -หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น นม เนย กะทิ ชีส กุ้ง ปู ไข่แดง และอาหารที่มีรสเค็มจัด
    -บริโภคอาหารให้เหมาะสมถูก สุขลักษณะ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป
    -ไม่ควรหักโหมลดน้ำหนักด้วยการงดอาหารและเร็ว จนเกินไป เพราะอาจก่อให้เกิดภาวะตับอักเสบอย่างรุนแรงได้
    .
    การป้องกันไขมันพอกตับ
    -เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชชนิดต่าง ๆ
    -หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง
    -ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที
    (สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ผู้ชายควรดื่มไม่เกินวันละ 2 แก้ว และผู้หญิงไม่ควรเกินวันละ 1 แก้ว)
    -ตรวจสุขภาพประจำปี
    (ผลการตรวจแสดงค่าเอนไซม์ของตับ (AST และ ALT) ผิดปกติ (มากกว่า 40))


    --------------------------------------------------------------------------------------------------
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     

แชร์หน้านี้

Loading...