ไตรภูมิพระร่วง / ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย koroj, 9 ธันวาคม 2011.

  1. koroj

    koroj สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2011
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +10
    [​IMG]

    ลักษณะการประพันธ์


    1. เป็นวรรณคดีเล่มแรก ที่ได้มีการรวบรวมเนื้อหาสาระจากคัมภีร์ต่าง ๆ ในพุทธศาสนา, พระไตรปิฎก, อรรถกถา และ อื่น ๆ มากกว่า 30 คัมภีร์ โดย พญาลิไททรง

    2. การใช้ถ้อยคำที่มีสัมผัสและความคล้องจอง ได้อย่างไพเราะ และ สละสลวย

    3. ศาสนาโวหารและพรรณนาโวหาร

    4. มีการเปรียบเทียบเชิงอุปมา อุปไมย และ การใช้ภาษาจินภาพ ที่ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามเป็นอย่างดี


    5. วิธีการจัดเรียบเรียง

    - เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี

    - บานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง

    - วันเดือนปีที่แต่ง

    - ชื่อคัมภีร์ต่าง ๆ

    - บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง

    ---------------------------------------------------------------------
    จุดเด่น

    1. - เป็นวรรณคดีโบราณที่ใช้ภาษาไทยแบบเก่า
    และมีการใช้ศัพท์ทางศาสนาและภาษาไทยโบราณอยู่มาก

    2. มีการใช้ภาษาตลอดจนสำนวนโวหารต่าง ๆ
    ในสมัยกรุงสุโขทัย


    3. อธิบายได้อย่างละเอียดและชัดเจน

    ความสำคัญ


    1. ให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้ทางวรรณคดี อันเป็นความคิดของคนโบราณ


    2. เป็นพื้นฐานของวรรณคดีไทย เช่น พระอินทร์ แท่นบัณพุกัมพล ช้างเอราวัณ เขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์ ต้นปาริชาติ ต้นนารีผล นรก สวรรค์ เป็นต้น


    3. สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ ทำดีขึ้นสวรรค์ ทำบาปจะตกนรก เชื่อในผล แห่งกรรม


    4. ค่านิยมในสังคม คือ การเป็นคนใจบุญ มีเมตตากรุณา รักษศีล บำเพ็ญทาน รู้จักเสียสละ


    5. จิตกรนิยมนำเรื่องราวในไตรภูมิพระร่วงไปวาดเป็นภาพสีไว้ที่ผนังในโบสถ์วิหาร ตรงบริเวณด้านหลังพระประธาน โดยจะเขียนภาพสวรรค์ไว้ด้านบนและภาพนรกไว้ด้านล่าง เป็นต้น


    6. เป็นวรรณคดีที่สำคัญทางศาสนา ในสมัยสุโขทัย ที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก

    ---------------------------------------------------------------------
    เนื้อหา


    การกล่าวถึง 3 ภูมิ รวมทั้งหมด 8 หมวด คือ

    1. กามภูมิ 3 หมวด

    2. รูปภูมิ 4 หมวด

    3. อรูปภูมิ 1 หมวด

    ---------------------------------------------------------------------
    รายละเอียดของเนื้อหา


    1. แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง

    2. ความไม่แน่นอน ของ มนุษย์, สัตว์, อีกทั้ง สิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์

    3. ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ”

    ---------------------------------------------------------------------
    ประวัติผู้แต่ง


    - พญาลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1

    - กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย

    - ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช

    - ครองราชย์ใน พ.ศ. 1890

    - เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1911

    - ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว

    - หลังจากขึ้นครองราชย์ได้ 6 ปี

    - ทรงประพันธ์ ประมาณ ปี พ.ศ. 1896

    - ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนากระทั่งเจริญขึ้นเป็นอย่างมาก

    - พญาลิไท ได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ส่งคนไปอาราธนานิมนต์พระสงฆ์ชาวลังการะดับพระเถระเข้ามาพำนักที่กรุงสุโขทัย โดยได้แต่งตั้งให้เป็นพระสังฆราช ของกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1902

    - ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก จึงทำให้พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก

    ----------------------------------------------------------

    วัตถุประสงค์ของผู้แต่ง


    1. เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญูประการหนึ่ง

    2. ใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรงพุทธศานาไว้ให้มั่นคง


    มี 6 พาสครับ ดาวโหลด

    พาสที่ 1
    ไตรภูมิพระร่วง.part1.rar

    พาสที่ 2
    ไตรภูมิพระร่วง.part2.rar

    พาสที่ 3
    ไตรภูมิพระร่วง.part3.rar

    พาสที่ 4
    ไตรภูมิพระร่วง.part4.rar

    พาสที่ 5
    ไตรภูมิพระร่วง.part5.rar

    พาสที่ 6
    ไตรภูมิพระร่วง.part6.rar
     

แชร์หน้านี้

Loading...