ก๊อปมานะ:D
จิ. เจ. รุ. นิ.
ปรมัตถธรรม ๔ ประการ
ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา
จตุธา ปรมตฺถโต
จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ
นิพฺพานมิติ สพฺพถา.
ในพระอภิธรรมปิฎกนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ไม่ว่าประการใดๆ ย่อมมีเนื้อความของพระอภิธรรมอยู่เพียง ๔ ประการ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ไม่รู้จักกัน
ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย อนัตตา, 4 มกราคม 2019.
หน้า 113 ของ 162
-
-
จิต
จิต แปลว่า สภาวะที่รู้[อารมณ์]
วิ. (อารมฺมณํ) จินฺเตตีติ จิตฺตํ.
*เหตุที่ไม่กล่าวว่า “เจตสิกเป็นสภาวะที่รู้อารมณ์” เพราะเจตสิกจะรู้อารมณ์ได้ก็โดยการที่เกิดขึ้นในจิตและอาศัยจิตเป็นเครื่องมือรู้
- ลักขณาทิจตุกกะของจิต
วิชานนลกฺขณํ
มีการรู้[อารมณ์]เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคมรสํ
มีการเป็นประธาน[ในการรู้อารมณ์]เป็นรส
สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ
มีความเป็นไปต่อเนื่องเป็นอาการปรากฏ
นามรูปปทฏฺฐานํ
มีนามรูปเป็นเหตุใกล้
(ดูคำอธิบายลักขณาทิจตุกกะของ จิต โดยพิสดารใน อภิ.อฏฺ. ๑/๑๖๑)
ธรรมชาติของจิต ๓ ประการ
๑) มีการรับอารมณ์อยู่เสมอ
๒) เป็นเหตุให้เจตสิกรู้อารมณ์ได้
๓) ทำให้สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตวิจิตรพิสดาร
(ปรมัตถโชติกะ ๘) -
-
เจตสิก
เจตสิก มี ๒ ความหมาย
๑) สภาวะที่มีในจิต
วิ. เจตสิ ภวํ เจตสิกํ.
๒) สภาวะที่ประกอบในจิต
วิ. เจตสิ นิยุตฺตํ เจตสิกํ.
จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ มีการอาศัยจิตเป็นลักษณะ
*เหตุที่ไม่กล่าวว่า “จิตอาศัยเจตสิก” เพราะแม้จิตจะเว้นเจตสิกบางอย่างไปก็ยังรู้อารมณ์ได้ ส่วนเจตสิกนั้น เมื่อไม่มีจิต เจตสิกก็มีไม่ได้เลย -
รูป
รูป แปลว่า สภาวะที่ผันแปร/เปลี่ยนแปลง/สลายไป
วิ. รุปฺปตีติ รูปํ.
รุปฺปนลกฺขณํ มีการผันแปร/เปลี่ยนแปลง/สลายไปเป็นลักษณะ
*เหตุที่ไม่กล่าวว่า “นามเป็นสภาวะที่ผันแปร/เปลี่ยนแปลง/สลายไป” เพราะประสงค์เอาความผันแปรที่ชัดเจนยิ่งที่เกิดมาจากปัจจัยพิเศษมีความเย็นเป็นต้น (ปัจจัยพิเศษในที่นี้ คือปัจจัยที่เป็นเหตุให้เปลี่ยนแปลงไปจากสภาพเดิมซึ่งจะโดยการเบียดเบียนหรืออุปถัมภ์ก็ตาม) -
นิพพาน
นิพพาน แปลว่า สภาวะที่ออกจากตัณหา
วิ. วานโต นิกฺขนฺตนฺติ นิพฺพานํ.
สนฺติลกฺขณํ มีความสงบเป็นลักษณะ
(เนื้อความหลักในบทความนี้นำมาจากอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา) -
จิ(จิต) - เจ(เจตสิก) - รุ(รูป) - นิ(นิพพาน)
จิต + เจตสิก(52) => จึงเกิด.. รูป(สังขาร นาม - รูป) = อัตตา (เกิด-ดับ) ไม่เที่ยง
/ ปล่อยวาง.. อัตตา => นิพพาน
ใช่ป่าว ...? ;);) -
-
"จิ เจ รุ นิ"
หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุงตอบปัญหาธรรม
ผู้ถาม : - กราบเท้าหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง ในขณะที่ลูกกำลังสับหมูทำกับข้าวเลี้ยงเด็ก ๆ ประมาณ ๒๐ คนเศษ อารมณ์เกิดเคลิ้มขึ้นมา อุทานออกมาโดยไม่รู้ตัวว่า "จิ เจ รุ นิ" อยากจะเรียนถามว่า ๔ ตัวนี้ มีความหมายเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติอย่างไรบ้างเจ้าคะ?
หลวงพ่อ : - มี..
จิ คือ จิต ห้ามจิตอย่าให้ชั่ว
เจ คือ เจตสิก ห้ามอารมณ์อย่าฟุ้งซ่านเกินไป
รุ คือ รูป อย่าหลงในรูป
นิ คือ นิพพาน หวังนิพพาน
ฉันว่าอย่างนี้ใครว่าอย่างไรก็ช่าง
_/|\_ _/|\_ _/|\_ -
เมื่ออยู่ในอิริยาบถทั่วไป ตาเราเห็นรูป จะเป็นรูปวัตถุหรือสิ่งมีชีวิตก็ตาม ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ใจของเรา มีความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง เราต้องมีสติมีปัญญาพิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงของอารมณ์อันนั้นที่เกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้จิตของเราเป็นกลาง
อยู่ในปัจจุบันธรรมทุกๆ ขณะจิตซึ่งมีกิเลสเกิดขึ้น
จะเป็นความพอใจ ไม่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ทุกสิ่งทุกอย่างก็ดี เรามีสติเห็นอารมณ์ เห็นอาการของจิตเหล่านั้น ก็ต้องหาอุบายปัญญาพิจารณาปล่อยวางอารมณ์ทั้งความพอใจออกไป ให้จิตเป็นกลาง ปล่อยวางอารมณ์ซึ่งมีความไม่พอใจออกไป ให้สติตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม เราทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สติ สมาธิ ของเราก็ต่อเนื่อง
.
ปัญญาที่พิจารณาปล่อยวางอารมณ์นั้น ทำให้จิตของเราเป็นกลาง ทำให้จิตของเรานั้นสงบด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา เราพิจารณาเช่นนี้ แต่อารมณ์ทั้งหลายก็ไม่สามารถที่จะขาดออกไปจากจิตใจของเราได้ เพราะวันนี้เห็นรูปอันหนึ่ง ได้ยินเสียงอย่างหนึ่ง ความพอใจความไม่พอใจเกิดขึ้น เราพิจารณาละไปได้หรือทำสมาธิตัดไปได้ แต่พรุ่งนี้เราไปเห็นรูปหนึ่ง ความพอใจความไม่พอใจก็เกิดขึ้นอีก ความพอใจความไม่พอใจเมื่อเราได้ยินเสียงก็เกิดขึ้นมาอีก
.
เพราะฉะนั้นการที่มีสติปัญญาที่จะพิจารณาอารมณ์ออกไปจากจิตใจของเรานั้น เราต้องทำงานทุกๆ วัน มีสติตามรักษาใจทุกๆ วัน แต่อารมณ์ทั้งหลายก็ไม่ขาดออกไปจากจิตของเราหรอก ขาดเพียงชั่วคราว เหมือนต้นไม้ซึ่งมีกิ่งก้านสาขาอยู่
เราเอามีดไปฟัน วันจันทร์เราเอามีดไปฟันกิ่งหนึ่ง
วันอังคารเราฟันอีกกิ่งหนึ่ง วันพุธ พฤหัสเราฟันอีกกิ่งหนึ่ง จนถึงวันอาทิตย์ กิ่งของวันจันทร์ก็แตกขึ้นมาใหม่ กิ่งวันอังคารก็แตกขึ้นมาใหม่ ถ้าเราไม่ขุดรากถอนโคน ต้นไม้ก็ไม่ตาย อารมณ์ภายในจิตใจเราก็เหมือนกัน ถ้าเรามีสติพิจารณาปล่อยวางอารมณ์ออกไปทุกๆ ขณะจิตก็ตาม ในวันพรุ่งนี้เราก็ไปเจอรูปใหม่ ได้ยินเสียงใหม่ จมูกดมกลิ่นใหม่
ลิ้นสัมผัสรสใหม่ กายสัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง อันใหม่ ความรู้สึกเกิดขึ้นที่ใจก็มีอยู่เสมอๆ
เพราะฉะนั้นท่านถึงให้ย้อนกลับมาพิจารณาทำลายอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกายตน อันเป็นรากหรือเป็นต้นเหง้าของความโลภ ความโกรธ ซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา เพราะฉะนั้นเมื่อทำสมาธิ เมื่อจิตสงบดีแล้ว พอเป็นบาทฐานแห่งการพิจารณา เราก็ยกร่างกายของเราขึ้นมาพิจารณาเป็นสิ่งสำคัญ
.
คัดมาบางส่วนจากพระธรรมเทศนาเรื่อง "ไม่แซงซ้ายไม่แซงขวา" วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
จากหนังสือ "ประตูสู่ มรรค ผล นิพพาน ๒"(๗ - ๘) พระอาจารย์อัครเดช(ตั๋น) ถิรจิตฺโต วัดบุญญาวาส อ.บ่อทอง จ.ชลบุรีไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เพราะ...
ไม่เลือก... เค้า.. ในวัน นั้น
จึงมี... เธอ.. ในวันนี้...
อนัตตา.. จ๋า... :D:D -
#finn -
แค่นั่งลอก กาว ..ของเก่า อย่างเดียว ก็เหนื่อยแล้ว ครับ :):) -
ตั้งใจ.. จะปรับเป็นห้องพระ ... ครับ :)
-
จะเกิด ภัย พิบัติ...
เร็ว ๆ นี้... รึ ป่าว เนี่ยะ...? :D:D -
จากการเดานะใกล้ที่สุดกะอีก5-6ปี
ไม่รุนแรงเท่ารัยแต่ก่อกะทบทั่ว
อันนี้มาจากคนๆทำกันเอง -
ทำไม.. คุณ อนัตตา ..
ถึงใช้ข้อความในโปรไฟล์...ว่า.. "เล่นกับเงา.. "
มี ที่มา ที่ไป อย่างไร ครับ...? :rolleyes::rolleyes:
พอดี.. คุณ หมูไม้ .. สงสัย..
/ ท่าน แอร์ร่อน.. ก็อยากรู้.. ครับ..?? :D:D -
:D:D:D:D:D -
สมมติทั้งหลายเปรียบเสมือนเงา:cool:
สิ่งที่เกิด-ดับ เกิด-ดับ มันบอกให้รู้ว่าสิ่งนั้นๆ ไม่จริง...เป็นได้แค่เงา
เตือนตนไว้จะได้ไม่หลงอารมณ์:p
หน้า 113 ของ 162