ไม่เคยฝึกมโนมยิทธิ แต่สิ่งที่ตัวเองสื่อได้ คล้ายๆจะมาทางด้านนี้

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย Me, myself, 3 มีนาคม 2009.

  1. konkangwad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +5,910
    โมทนาสาธุครับคุณอ้อย
     
  2. พรพิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +3,811
    ขอบคุณค่ะ คุณอ้อยที่กรุณาชี้แนวทางให้ คงจะเป็นตัวกิเลสความอยากนี่แหล่ะค่ะ
    ปิดกั้น อยากอย่างนั้นอย่างนี้ เลยไม่ค่อยมีความก้าวหน้า ต้องอุเบกขาวางเฉยเน๊าะ
    สาธุ.....
     
  3. พรพิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +3,811

    สาธุ..ขอบพระคุณค่ะ คงต้องศึกษาการฝึกด้วยตนเองที่บ้านแล้วล่ะ
    ห้องนี้อบอุ่นจริงๆ ค่ะ มีผู้รู้คอยชี้แนะเตือนสติตลอด
    ขอส่งความปรารถนาดีให้กับญาติธรรมทุกท่านด้วยนะคะ
    ;k06
     
  4. หวงจื้อเซวียน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,296
    ค่าพลัง:
    +8,718
    มีบุญมาฝากกัลยาณมิตรทุท่านครับ
    วันนี้ได้โอนเงินทำบุญที่วัดท่าซุง 500 บาทและวัดเทพเจริญธรรมอ.เชียงคาน จ.เลย
    จำนวน 460 บาท
     
  5. konkangwad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +5,910
    ถามผู้รู้ครับเวลาผมนั่งสมาธิผมจะใช้หลายวิธีคือหาที่จะถูกกับตัวเราที่สุดแต่ก็ไม่เห็นผลคืบหน้าอะไรเมื่อคืนเลยตัดสินใจเอาทางภาวนาพุทโธซึ่งก็เคยใช้มาก่อน เคยนิ่งที่สุดก็แค่เป็นแสงกลมๆเหมือนโคมไฟตามรั้วบ้านแต่ทึบๆไม่สว่างขนาดนั้นแล้วก็ไม่บ่อยคือนานๆทีถึงจะเห็นแบบนั้นแต่เมื่อคืนก็ตั้งใจใช้ภาวนาพุทโธพอจิตเริ่มนิ่งก็ตั้งอารมณ์ไม่อยากเกิดอีกต้องการไปหาพระพุทธเจ้าก็น้อมจิตถึงพระองค์ท่านทีนี้ละครับแป๊บเดียวสว่างวาบเหมือนคนเอาไฟฉายส่องหน้าเลยครับแต่คล้ายไฟฉายที่อันเล็กๆนะครับตกใจครับหลุดเลยคือไม่ใช่ค่อยๆสว่างแต่มาแบบวาบเลยกลายเป็นตกใจแล้วหลุดเลยแบบนี้จะเป็นอันตรายต่อจิตเราใหมครับคือถ้าค่อยๆสว่างก็จะพอทำอารมณ์ตามได้แต่แบบนี้รบกวนผู้รู้แนะนำด้วยครับ
     
  6. เจ๋วะรัฐถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    847
    ค่าพลัง:
    +15,386

    จุดสำคัญคือ สติ ค่ะ
    ส่วนมากมักอยากเห็น พอได้เห็นแล้วก็จะตกใจก็จะทำให้หลุดจากสมาธิทันที
    ต้องประคองจิตค่ะ เห็นแล้วก็กำหนดรู้ว่านี่คือแสงสว่างนั่งเพ่งแสงสว่างเลยค่ะว่ามันเป็นสีอะไร ลักษณะเป็นอย่างไร แต่ต้องให้รู้ทุกขณะจิตนะคะสติต้องทรงให้ได้ จิตของเราใครทำอะไรไม่ได้หรอกค่ะถ้าหากจิตของเราไม่ยินยอมค่ะ(พี่me,myselfสอนบ่อยๆค่ะ^^)

    การเข้า ออก สมาธิ เป็นเรื่องสำคัญค่ะ
    โดยเฉพาะการออก บางคนออกแบบลืมตาปุ๊บปั๊บ จิตปรับไม่ทันเพราะบางทีจิตเราดิ่งลึก ขืนลืมตาทันที อะไรก็อาจเกิดขึ้นได้
    พระพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์สอนเสมอว่า ให้กำหนดจิตของเราให้มั่น ให้รับรู้ทุกขณะจิตค่ะ

    ต้องกำหนดจิตค่อยๆออกจากสมาธิ โดยการรู้ตัวเองว่าตอนนี้เราถึงจุดที่จะพอแล้วนะ เอาจิตมารับรู้ลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าจิตอยู่ที่ไหนก็ให้มารับรู้ตรงลมหายใจเข้าออกก่อน พอจิตปรับสภาพได้แล้วก็ค่อยๆพนมมือไหว้ ค่อยๆลืมตา จากนั้นน้อมกราบขอบพระคุณบารมีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ค่ะ
     
  7. konkangwad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +5,910
    ขอบคุณครับตอนนี้รู้เลยว่าสติยังใช้ไม่ได้แต่พบทางที่จะใช้ปฏิบัติครับเมื่อก่อนลองไปเรื่อยตอนนี้จะใช้ภาวนาพุทโธครับ
     
  8. Me, myself บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    เมื่อวานน้องฝนบอกว่า สมเด็จท่านสั่งว่าเวลาพวกเราจะกินข้าวให้เอาข้าวไปถวายองค์ท่านก่อน เช้านี้ตื่นขึ้นมาก็ไปกราบพระศาสดาเป็นปกติ แล้วก็เลยได้ถามถึงเรื่องถวายข้าวที่น้องฝนบอกมาด้วย

    ดิฉัน - พระศาสดาคะ ที่น้องฝนบอกว่าให้เอาข้าวไปถวายองค์สมเด็จน่ะค่ะ ตกลงถวายแค่สมเด็จ หรือ พระศาสดาด้วยคะ

    พระศาสดา - ถวายทั้งสอง

    ดิฉัน - อ้าว แต่อาหารมีชุดเดียวนี่คะ แล้วจะถวายยังไง ถวายสมเด็จก่อนแล้วค่อยมาถวายพระศาสดาเหรอคะ แต่ดูท่าจะไม่เหมาะ

    พระศาสดา - ก็แยกร่างมาซิ

    ดิฉัน - (เออ..จริงวุ้ย ทำไมโง่จัง) อ๋อ ค่ะ

    เช้านี้ก็เลยแยกร่างไปถวายข้าวให้องค์สมเด็จท่านกับพระศาสดาพร้อมๆกัน

    สมเด็จท่านเลยให้พรว่า "ขอให้เป็นสุขๆเถิด"

    ส่วนพระศาสดาก็ให้พรว่า "ขอให้เป็นที่รักของเทพ เทวดา พรหม และพวกสัมภเวสีทั้งหลาย อีกทั้งเป็นที่รักของคนทั้งหลาย"

    สาธุ...
     
  9. เจ๋วะรัฐถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    847
    ค่าพลัง:
    +15,386
    เป็นที่น่ายินดี ที่ตอนนี้มีท่านกัลยาณมิตรหลายท่าน ได้หันมาสนใจปฏิบัติธรรมกันมากขึ้น
    ไม่ว่าจะเป็นการ ภาวนา และการนั่งสมาธิ
    คิดว่าหลายๆท่านอาจจะยังไม่เข้าใจความหมายของ ภาวนา และ สมาธิ
    การที่เราจะทำอะไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจกับสิ่งนั้นให้ถ่องแท้เสียก่อน จากนั้นมาพิจารณา เมื่อเห็นว่าดีแล้ว ถูกต้องแล้ว จึงปฏิบัติตาม
    วันนี้มีพระธรรมของพระพุทธเจ้าซึ่งส่วนตัวคิดว่าดีและครอบคลุม เลยเอามาฝากให้ท่านกัลยณมิตรอ่านค่ะ

    ภาวนาคืออะไร ?
    ภาวนา แปลว่า การทำให้มีขึ้นเป็นขึ้น, การทำให้เกิดขึ้น, การเจริญ, การบำเพ็ญหมายถึง การฝึกอบรม ตามหลักพระพุทธศาสนามี ๒ อย่าง คือ

    สมถภาวนา ฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ
    วิปัสสนาภาวนา ฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้เข้าใจตามเป็นจริง

    อีกนัยหนึ่ง จัดเป็น ๒ เหมือนกันคือ

    จิตตภาวนา การฝึกอบรมจิตใจให้เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมมีความเข้มแข็งมั่นคงเบิกบาน สงบสุขผ่องใส พร้อมด้วยความเพียร สติ และสมาธิ

    ปัญญาภาวนา การฝึกอบรมเจริญปัญญาให้รู้เท่าทันเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จนมีจิตใจเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์

    สมาธิคืออะไร ? มีกี่ระดับ ?
    สมาธิหมายถึงความที่จิตใจสงบ ตั้งมั่น ไม่ฟุ้งซ่านแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่ใจนึกคิด สิ่งที่กำลังกระทำ นั้นๆมี ๓ ระดับ คือ
    ตามปกติ คนเราทุกคนก็มีสมาธิอยู่แล้ว แต่เป็นสมาธิชั่วขณะ ที่เรียกว่าขณิกสมาธิเป็นสมาธิที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ในการทำหน้าที่การงานศึกษาหาความรู้ อ่านหนังสือ พักผ่อน ทำกิจกรรมต่างๆในการปฏิบัติธรรมโดยทั่วไปเช่น การฝึกสติ เจริญกุศล ทำทาน ฟังธรรม เป็นสมาธิในระดับหนึ่งคือยังอยู่ในระดับเบื้องต้น

    อุปจารสมาธิหมายถึง สมาธิจวนจะตั้งมั่น แน่วแน่คือยังไม่นิ่งสนิทเต็มที่สามารถทำให้นิวรณ์ สงบระงับไปได้ แต่ยังไม่มีกำลัง เปรียบเหมือนเด็กเล็กๆ ลุกขึ้นยืนได้บ้าง ล้มลงบ้าง

    อัปปนาสมาธิหมายถึง สมาธิตั้งมั่น เต็มที่ที่เรียกว่าฌานคือกำจัดนิวรณ์สงบราบคาบแล้ว และสามารถรักษาจิตให้แน่วแน่ได้ตลอดเปรียบเหมือนผู้ใหญ่ที่แข็งแรง ยืนได้ขึ้นอย่างมั่นคง
    ส่วนการเจริญภาวนา เช่น สมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา นั้นเน้นการใช้สมาธิในระดับสูงคือในระดับที่จิตตั้งมั่นแน่วแน่จริงๆเพื่อให้ได้ผลเป็นการตัดกิเลสเครื่องเศร้าหมองของจิตใจได้เด็ดขาด
    ฉะนั้นเราจึงสามารถเลือกใช้และเลือกฝึกระดับของสมาธิให้เหมาะสมกับกิจการที่เรากระทำได้

    อุปสรรคของสมาธิคืออะไร ?
    อุปสรรคของสมาธิ ได้แก่นิวรณ์หมายถึงสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณความดี, ไม่ให้บรรลุสมาธิได้มี ๕อย่าง คือ

    กามฉันท์พอใจในกามคุณ ๕ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกายที่น่ารักน่าใคร่
    พยาบาทคิดร้ายผู้อื่น
    ถีนมิทธะความหดหู่ ท้อแท้ และซึมเซา ง่วงซึม เคลิ้มหลับ
    อุทธัจจกุกกุจจะความฟุ้งซ่าน และหงุดหงิด รำคาญใจ
    วิจิกิจฉาความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในคุณพระรัตนตรัยและวิธีการที่ปฏิบัติ
    อีกอย่างหนึ่งหมายถึง อุปกิเลสของสมาธิ ๑๑ อย่าง ได้แก่
    วิจิกิจฉาความลังเล หรือความสงสัย
    อมนสิการความไม่สนใจ ใส่ใจ ไว้ให้ดี
    ถีนมิทธะความท้อ และความเคลิบเคลิ้ม ง่วงนอน
    ฉัมภิตัตตะความสะดุ้งหวาดกลัว
    อุพพิละความตื่นเต้นด้วยความยินดี
    ทุฏฐุลละความไม่สงบกาย
    อัจจารัทธวิริยะความเพียรจัดเกินไป
    อติลีนวิริยะความเพียรย่อหย่อนเกินไป
    อภิชัปปาความอยาก
    นานัตตสัญญาความนึกไปในสิ่งต่างๆ เรื่องราวต่างๆที่เคยผ่านมาหรือจดจำไว้ มาผุดขึ้นในขณะทำสมาธิ
    รูปานัง อตินิชฌายิตัตตะความเพ่งต่อรูปหรือเพ่งต่อนิมิตนั้นจนเกินไป

    อิริยาบถที่ใช้ในการฝึกสมาธิ
    เราสามารถฝึกสมาธิได้ในทุกอิริยาบถไม่ว่าจะยืน เดินนั่ง นอน แต่สำหรับการฝึกสมาธิในขั้นสมถะและวิปัสสนาภาวนานั้น ผู้ปฏิบัตินิยมใช้ท่านั่ง-ขัดสมาธิเพราะเป็นท่าที่สงบ มั่นคงร่างกายได้รับความสบายพอควรไม่มากไม่น้อยเกินไป ช่วยให้การฝึกสมาธิได้ผลดีแต่ถ้าไม่สะดวกหรือไม่ถนัดจะนั่งในท่าพับเพียบ หรือนั่งบนเก้าอี้ก็ได้ หรือท่าใดๆ ก็ได้ที่รู้สึกสบายพอควรแต่อย่านั่งพิง เพราะถ้าสบายเกินไปอาจทำให้เผลอสติเผลอหลับได้

    นิมิตคืออะไร ?
    นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย ได้แก่วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, โดยเฉพาะในการฝึกสมาธิ หมายถึงเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด, ภาพของสิ่งที่ผู้ฝึกสมาธินำมาใช้นึกในใจ, สิ่งที่นึกให้เห็นในใจของผู้ทำสมาธิ, มี ๓ คือ
    บริกรรมนิมิตนิมิตแห่งบริกรรม หรือนิมิตตระเตรียม ได้แก่สิ่งที่เพ่งหรือกำหนดนึกในการทำสมาธิ เช่น ดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส
    อุคคหนิมิตนิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น
    ปฏิภาคนิมิตนิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้นเจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญา เป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยายหรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา
    นิมิตที่เห็นได้ติดตา และสามารถนึกขยายให้โตขึ้นได้หรือย่อให้เล็กลงได้นี้เรียกว่าปฏิภาคนิมิตสมาธิที่ใจหยุดได้แนบแน่นอย่างนี้ จัดอยู่ในขั้นอัปปนาสมาธิซึ่งเป็นเบื้องต้นของปฐมฌาน

    ดังนั้น ภาวนา และ สมาธิ
    เปรียบเหมือนเงาตามตัวซึ่งกันและกัน
    ก็เหมือนคู่แฝดกันนั่นเองค่ะ

    ขอให้ท่านกัลยาณมิตรทุกท่าน เจริญในธรรมนะคะ
    สมาธิก็เป็นอีกขั้นหนึ่งของการฝึกมโนมยิทธิค่ะ
    ส่วนใครที่ต้องการฝึกมโนมยิทธิ อย่าลืมบูชาครูก่อนนะคะ
    จัดพานบูชาครู ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า

    ธูป 3 ดอก
    เทียนหนัก 1 บาท 2 เล่ม (เวลาเราจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัยเราก็ใช้สองเล่มใช่ไหมคะ)
    ดอกไม้สามสี 3 ดอก
    เงิน ไม่น้อยกว่า 1 สลึง จะสิบบาท ยี่สิบบาท ก็ได้ค่ะ แต่บูชาแล้วห้ามนำมาใช้นะคะ นอกจากเอาทำบุญค่ะ

    ถ้าท่านใดสนใจ สามารถโหลดไฟล์ที่คุณชนะกรุณานำมาโพสไว้ได้ค่ะ
    ศึกษาให้เข้าใจดีแล้วค่อยฝึกปฏิบัตินะคะ

    http://palungjit.org/threads/มโนมยิทธิ.179954/

    และขออนุโมทนากับคุณชนะด้วยค่ะ สาธุ

    หมายเหตุ ธูป กับ เทียน ไม่ต้องจุด นะคะ เอาวางไว้บนพานค่ะ
    หากจะฝึกครั้งต่อไป ให้เปลี่ยนเฉพาะดอกไม้ และใส่เงินบูชาครูด้วยทุกครั้งค่ะ
     
  10. Me, myself บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0

    น้องอ้อยค่ะ ยุคสมัยมันเปลี่ยนน่ะค่ะ เงินค่าครูเดี๋ยวนี้ขั้นต่ำต้องเป็น 1 บาทนะคะ (อย่าขี้เหนียวนัก) แต่จะใส่มากกว่านั้นก็ได้แล้วแต่ศรัทธาค่ะ ใส่ทุกครั้งที่ฝึกค่ะ พอครบสักเวลานึงก็ให้รวบรวบเอาไปทำบุญห้ามนำกลับมาใช้ค่ะ
     
  11. เจ๋วะรัฐถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    847
    ค่าพลัง:
    +15,386


    พี่จ๋า นู๋ขอบายนะคะเฉพาะที่ตัวหนังสือสีแดงอ่ะ
    อิอิ ล้อเล่นค่ะ

    หลายท่านอาจจะ งง ว่า เอ ข้าวที่เราจะกิน เราจะถวายยังไงดีล่ะ
    เอาตามแบบที่อ้อยทำประจำมาฝากค่ะ

    อาหารที่เราจะกินซึ่งอยู่ในจาน หรือเป็นชุดก็แล้วแต่ หรือข้าวกล่อง เปิดฝาออก เทน้ำใส่แก้ว หรือเปิดฝาขวดออก เอาวางชิดกัน น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    ใครที่ได้มโนมยิทธิแล้วให้ใช้มโนฯยกโภชนาอาหารและน้ำเทินศีรษะนะคะ
    แต่ถ้าใครยังไม่ได้มโนฯ จะยกจริงระดับอก หรือสูงระดับศีรษะก็ได้เช่นกันค่ะ

    แล้วกล่าวว่า
    อิมัง สุปะพยัญชนะ สัมปันนัง
    โภชะนัง สาลีนัง อุทะกังวะรัง
    สัมมาสัมพุทธัสสะ ปูเชมิ

    ข้าพเจ้า ขอน้อมถวายโภชนาอาหารและน้ำนี้แด่พระพุทธเจ้า

    จากนั้น ภาวนา พุทโธ 9 ครั้ง(ซึ่งระหว่างนี้ พระพุทธเจ้าจะเสกคาถาลงในอาหารและน้ำให้เราค่ะ)

    จากนั้นกล่าวคำว่า
    เสสัง มังคะลัง ยาจามิ
    โภชนาอาหารและน้ำนี้ ข้าพเจ้าถวายแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้ถวายแล้ว ขออนุญาตรับประทานเพื่อเป็นมงคล

    ใครจะทำก็เชิญนะคะเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวเราเองค่ะ เหมือนเราได้กินอาหารทิพย์จากพระพุทธเจ้าเลยนะคะ ^_^
     
  12. konkangwad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    483
    ค่าพลัง:
    +5,910
    อนุโมทนาครับจะเอาไปปฏิบัติ
     
  13. พรพิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +3,811
    ธูป 3 ดอกต้องจุดหรือไม่คะ แล้วจุดด้านขวาก่อนหรือเปล่า
    เทียน 2 เล่ม สีอะไรก็ได้ใช่ไหมคะ ต้องจุดเทียนหรือไม่ ด้านใดก่อน
    ขอบคุณค่ะ สาธุ.
     
  14. Me, myself บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ธูปกับเทียนไม่ต้องจุดนะคะ ให้ใส่ไว้ในพานตลอดไปเลยค่ะ ครั้งต่อๆไปก็เปลี่ยนแค่ดอกไม้ค่ะ
     
  15. พรพิสุทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +3,811
    โอ้ ตอบไวดีจัง ขอบคุณมากๆ ค่ะ กำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากท่านผู้รู้ อิอิ
     
  16. wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    วันนี้ไปทำบุญสังฆทานที่บ้านสายลม และบ้านอนุเสาวรีย์ มาครับ

    ขอโมทนาสาธุบุญร่วมกันครับ สาธุ...
     
  17. ต้องตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +1,282
    รบกวนสอบถามท่านกัลยาณมิตรเรื่องการปฏิบัติครับ คือเมื่อคืนนี้เมื่อสวดมนต์ไหว้พระเสร็จจึงนั่งสมาธิภาวนา พุท-โธ กำหนดลมหายใจเข้าออก 108 เที่ยวแล้วภาวนาพุท-โธต่อดูลมหายใจเข้าออกรู้สึกว่าลมหายใจจะหายใจสั้นลงและถี่ขึ้นและจะมีความรู้สึกเสียวแน่นมากที่จมูกบริเวณตรงดั้งและหูจะอื้อมีเสียงวิ้งๆ ตอนนี้เริ่มละจากคำภาวนาพุท-โธ(ผมละเองนะครับไม่ใช่อยู่ๆหายไป)แต่ตามดูลมหายใจตลอดจนรู้สึกว่านานแล้วอาการก็ยังไม่หายจึงค่อยๆลืมตาขึ้นแต่ยังตามดูลมหายใจอยู่จึงนั่งลืมตาดูลมหายใจอยู่พักนึ่งแต่อาการแน่นและเสียวบริเวณดั้งจมูกและหูอื้อยังคงมีเหมือนเดิมจึงค่อยถอนออกจากสมาธิท่านกัลยาณมิตรทั้งหลายเคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้หรือเปล่าครับและผมต้องเดินหน้าปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติขอบคุณครับ
     
  18. เจ๋วะรัฐถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    847
    ค่าพลัง:
    +15,386
    ก่อนอื่นขอถามก่อนว่า
    ก่อนนั่งสมาธิ ได้สมาทานพระกรรมฐานก่อนหรือเปล่าคะ
    และได้ขอบารมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์คุ้มครองหรือเปล่าคะ

    อาการที่หายใจถี่แล้วแน่นหน้าอก เสียวบริเวณดั้ง หูอื้อ ที่กล่าวมา
    คล้ายจะถูกแทรกค่ะ คือวิญญาณก็ดี หรืออะไรก็ตาม เห็นช่องว่างของจิต ในภาวะที่จิตยังไม่แข็ง เค้าจะเข้าแทรกตรงนั้นค่ะ ที่สำคัญหากรู้ว่าอาการเริ่มเป็นแบบนี้ ให้รีบขอบารมีของพระพุทธเจ้าคุ้มครองทันที และหากมีสติ ให้สวดพุทธคุณค่ะ สวดไปเรื่อยๆจนกว่าอาการที่ว่ามาจะคลาย ลมหายใจเข้าสู่ภาวะปกติ ค่อยคลายจากสมาธิค่ะ

    ขอแนะนำให้ไปฝึกที่มีพระอาจารย์คุมอยู่ก่อนจะดีกว่าไหมคะ

    และอีกวิธีหนึ่ง ที่พูดตามความจริงก็คือ
    ถ้าหากว่า ก่อนนั่งสมาธิ ได้ขอบารมีของพระพุทธเจ้าคุ้มครองแล้ว
    เราได้เอ่ยแล้วว่า กายและจิตนี้เราขอมอบแด่พระพุทธองค์
    หากจะเกิดอะไรขึ้น ให้คิดว่า กายนี้ ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในกาย กายไม่มีในเรา
    เราตายในขณะที่ทำสมาธิ ไม่มีทางลงไปสู่อบายแน่นอนค่ะ
    ตั้งจิตไปเลยว่าจะขอกระทำการเพื่อพระนิพพาน แล้วเอาจิตของเรามอบต่อพระพุทธเจ้า
    หากจิตของเราเข้มแข็ง อย่างนี้ไม่ต้องกลัวค่ะ
    อาจจะเป็นวิธีที่ดูโหดไปหน่อย แต่อ้อยเองทุกครั้งที่นั่งสมาธิ อ้อยจะคิดแบบนี้เสมอ
    อ้อยไม่สามารถจะตัดสินใจแทนใครได้ อยู่ที่ท่านกัลยาณมิตรจะเลือกวิธีปฏิบัติกันเองค่ะ
     
  19. เจ๋วะรัฐถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    847
    ค่าพลัง:
    +15,386
    คิดไปคิดมา เอ เราโพสโหดไปหน่อยมั๊ง
    แต่ถ้าข้อความไหนที่ไม่เหมาะสม ก็จะโพสไม่ได้ แต่ในเมื่อโพสได้แสดงว่า
    พระศาสดาทรงอนุญาต

    เข้ามโนฯ กราบหลวงพ่อฤาษี

    อ้อย: กราบนมัสการหลวงพ่อเจ้าค่ะ

    หลวงพ่อ: ว่าอย่างไรเจ้าลิงน้อย

    อ้อย: พอดีไปโพสไว้ในกระทู้ คิดไปคิดมาเหมือนมันจะแรงไปหน่อยนะเจ้าคะ กลัวว่ากัลยาณมิตรจะหายแส๊บกันหมด

    หลวงพ่อ: ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย มัวแต่กลัว อยากนั่นอยากนี่แล้วไม่ศึกษา ไม่ปฏิบัติมันจะถึงไหนกัน ใครจะกลัวก็เป็นเรื่องของเค้า ไปคิดแทนเค้าทำไม เป็นช่วงคัดครอง เวลาหดเข้ามาทุกที มัวแต่กลัวเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไม่ต้องถึงไหนกันพอดี เจ้าไม่ต้องกังวลไป

    อ้อย: กลัวว่ากัลยาณมิตรเห็นว่าอาจจะมีอันตราย เกรงจะเลิกฝึกกันหมด

    หลวงพ่อ: คนที่มีใจตั้งมั่นต่อพระพุทธเจ้าด้วยจิตถึงที่สุดแล้ว ไม่เคยเห็นใครตายสักที ไอ้ที่ตายๆน่ะ จิตมันไม่ถึง

    อ้อย: สาธุเจ้าค่ะ ลูกจะได้สบายใจเจ้าค่ะ

    หลวงพ่อ: จำไว้ จิตที่เข้มแข็งชนะภัยทั้งปวง

    อ้อย: สาธุเจ้าค่ะ ลูกจะปฏิบัติและจะได้บอกกล่าวเพื่อนกัลยาณมิตรด้วยเจ้าค่ะ

    หลวงพ่อ: เจริญพร
     
  20. naruphos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +1,737
    ถวายได้ทั้งสามมื้อเลยใช่ไหมครับพี่อ้อย
     

แชร์หน้านี้