ไม่เสียหายที่จะเข้าใจ‘ริคเตอร์’รู้ไว้..ไม่งง-ไม่แตกตื่น

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 22 เมษายน 2012.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    ไม่เสียหายที่จะเข้าใจ‘ริคเตอร์’รู้ไว้..ไม่งง-ไม่แตกตื่น

    วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555 เวลา 00:00 น.

    [​IMG]
    <!-- /.images-list-items -->
    <!-- /.images-list-container -->
    <!-- /.images-list-wrapper -->

    <!-- /.featured-img -->เรื่องของพิบัติภัยทางธรรมชาติในประเทศไทย นอกจากน้ำท่วม ภัยแล้ง คลื่นยักษ์สึนามิ ฯลฯ กับ “ภัยแผ่นดินไหว” โดยตรง ประเทศไทยก็ต้องมี “แผนรับมือในการป้องกันภัยและกู้ภัยที่พร้อมจริง ๆ” อย่างที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้นำเสนอเชิงเตือนไปแล้ว เพราะแผ่นดินไหวไม่รุนแรงก็สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ ซึ่งหากไม่มีแผนรองรับที่ดีพอก็จะโกลาหล เหมือนตอนน้ำท่วมใหญ่ (ทั้ง ๆ ที่ในไทยก็น้ำท่วมประจำ)

    สำหรับประชาชนเองก็ต้องตระหนักถึงภัยนี้เช่นกัน

    และการทำความเข้าใจกับภัยนี้ก็ถือว่ามีประโยชน์...

    ทั้งนี้ ภัย “แผ่นดินไหว” นั้น ไม่สามารถจะพยากรณ์ได้ชัดเจนว่าจะเกิดเมื่อไหร่? การมีแผนรับมือ มีความเข้าใจจึงจำเป็น และกับความรุนแรงนั้น กับคำว่า ’ริคเตอร์“ ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ก็น่ารู้-น่าทำความเข้าใจ

    จากข้อมูลในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุไว้ว่า... “ริคเตอร์” ซึ่งเป็น ’มาตราวัดระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหว“ นั้น มีการเสนอขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1935 โดยนักวิทยาแผ่นดินไหว 2 คนคือ เบโน กูเทนเบิร์ก และชาลส์ ฟรานซิส ริคเตอร์ ซึ่งแรกเริ่มใช้วัดขนาดแผ่นดินไหวในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ที่บันทึกได้ด้วยเครื่องวัดความไหวสะเทือน ซึ่งมาตราริคเตอร์นี้ ทุก ๆ 1 ริคเตอร์ที่เพิ่มขึ้น แสดงถึงแผ่นดินไหวแรงขึ้น 10 เท่า!!

    ระดับมาตราริคเตอร์นี้ จากข้อมูลที่อ้างอิงข้อมูลของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยา สหรัฐอเมริกา หากแผ่นดินไหวมีความแรงในระดับ ต่ำกว่า 1.9 ริคเตอร์ลงไป จัดเป็นระดับที่ “ไม่ส่งผลต่อความรู้สึก” ส่วนใหญ่จะไม่สร้างผลกระทบด้านความเสียหาย ซึ่งมีการเกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกถึงประมาณ 8,000 ครั้งต่อวัน

    หากเป็นแผ่นดินไหวที่มีระดับความแรง ระดับ 2.0-2.9 ริคเตอร์ จัดเป็นระดับที่ “เบามาก” คนทั่วไปมักไม่รู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวขึ้น มีสถิติการเกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ประมาณ 1,000 ครั้งต่อวัน

    แผ่นดินไหว ระดับ 3.0-3.9 ริคเตอร์ เป็นระดับที่คนส่วนใหญ่ “รู้สึกได้” เป็นระดับแผ่นดินไหวที่บางครั้งสามารถสร้างความเสียหายได้บ้าง มีสถิติการเกิดในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ประมาณ 49,000 ครั้งต่อปี
    ถ้าแผ่นดินไหว ระดับ 4.0-4.9 ริคเตอร์ จัดเป็นระดับ ’เบา“ แต่ส่งผลให้ข้าวของเครื่องใช้อาคารบ้านเรือนสั่นไหวจนสังเกตได้ สร้างความเสียหายได้ระดับหนึ่ง มีสถิติการเกิด ประมาณ 6,200 ครั้งต่อปี

    แผ่นดินไหวที่มีระดับความแรง ระดับ 5.0-5.9 ริคเตอร์ จัดเป็นระดับ ’ปานกลาง“ แต่ก็สร้างความเสียหายอย่างยับเยินกับสิ่งก่อสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงได้ มีสถิติการเกิดขึ้น ประมาณ 800 ครั้งต่อปี

    หากแผ่นดินไหวมีระดับความแรง ระดับ 6.0-6.9 ริคเตอร์ จัดเป็นระดับที่ “แรง” เป็นระดับแผ่นดินไหวที่สร้างความเสียหายค่อนข้างรุนแรงได้ในรัศมีประมาณ 80 กิโลเมตร ซึ่งระดับนี้ข้อมูลของสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริการะบุว่ามีสถิติการเกิดในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ประมาณ 120 ครั้งต่อปี

    แผ่นดินไหวที่มีระดับความแรงอยู่ที่ ระดับ 7.0-7.9 ริคเตอร์ จัดเป็นระดับที่เรียกว่า “รุนแรง” เป็นระดับแผ่นดินไหวที่สามารถสร้างความเสียหายรุนแรงในบริเวณกว้างกว่าระดับแรง หรือกว้างกว่ารัศมี 80 กิโลเมตรขึ้นไป โดยที่ระดับนี้นั้นมีสถิติการเกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ประมาณ 18 ครั้งต่อปี

    ถ้าแผ่นดินไหว ระดับ 8.0-8.9 ริคเตอร์ จัดเป็นระดับที่ “รุนแรงมาก” เป็นระดับที่สร้างความเสียหายรุนแรงได้ในรัศมีเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร โดยมีสถิติการเกิดขึ้นน้อย เฉลี่ยเพียง 1 ครั้งต่อปี

    หากแผ่นดินไหวมีระดับความแรง ระดับ 9.0-9.9 ริคเตอร์ จัดเป็นระดับ “ล้างผลาญ” เป็นระดับแผ่นดินไหวที่สามารถทำลายทุกอย่างได้ในรัศมีเป็นพัน ๆ กิโลเมตร เป็นระดับที่มีสถิติการเกิดน้อยมาก เฉลี่ยเพียงแค่ 1 ครั้งต่อ 20 ปี และถ้าเกิดแผ่นดินไหว ระดับ 10.0 ริคเตอร์ขึ้นไป จัดเป็นระดับที่ “ทำลายล้าง” อย่างไรก็ตาม นี่เป็นระดับที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ไม่มีสถิติจำนวนครั้งที่เกิด ไม่มีบันทึกระดับความเสียหาย

    นี่ว่ากันถึง ’ระดับริคเตอร์“ ของ ’แผ่นดินไหว“

    โดยในไทยเคยเกิดสูงสุดในระดับ ’ปานกลาง“

    อย่างไรก็ตาม นอกจากริคเตอร์แล้ว กับ ’ระดับภัยแผ่นดินไหว“ นั้นก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลด้วย เช่น ลักษณะ-รูปแบบการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนเปลือกโลก, ความลึกจากพื้นโลกของจุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งถ้าลึกไม่มากก็อันตรายมาก!! อีกทั้งยังรวมถึง บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหวเป็นเขตเมืองที่มีสิ่งปลูกสร้างมากหรือไม่? สิ่งปลูกสร้างมีการสร้างแข็งแรงต้านทานแผ่นดินไหวได้แค่ไหน? เป็นต้น

    ทั้งนี้ นอกจากข้อควรรู้ในการปฏิบัติตัวทั้งก่อนเกิด-ระหว่างเกิด-หลังเกิดแผ่นดินไหว ตามที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้นำเสนอไปเมื่อวันก่อนแล้ว กับคำว่า ’ริคเตอร์“ กับ ’ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความเสียหาย“ ที่จะเกิดขึ้นจาก ’แผ่นดินไหว“ นั้น ในยุคปัจจุบันนี้ก็ถือเป็นสิ่งที่คนไทยเราน่าจะต้อง ’ทำความเข้าใจ“ กันไว้บ้าง...

    ในด้านหนึ่งก็เพื่อมิให้ตื่นตระหนกกันจนเกินเหตุ

    และอีกด้านก็เพื่อมิให้ประมาทภัยแผ่นดินไหว!!.



    ------------
    ไม่เสียหายที่จะเข้าใจ‘ริคเตอร์’รู้ไว้..ไม่งง-ไม่แตกตื่น | เดลินิวส์
     
  2. ZZ

    ZZ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    5,375
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,652
    เรารู้ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้อย่างไร ?

    เรารู้ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้อย่างไร


    เรารู้ตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้อย่างไร Posted by GeoThai.net

    ระบบเครือข่ายสถานีตรวจวัดแผ่นดินไหว (seismograph networks) ที่มีครอบคลุมอยู่ทั่วโลกนั้นสามารถที่จะระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้ แม้ว่าเราจะสามารถหาตำแหน่งดังกล่าวได้จากข้อมูลเพียงสถานีเดียว แต่เพื่อความแม่นยำจึงต้องอาศัยข้อมูลจากสถานีตรวจวัดที่มากกว่าสามสถานีขึ้นไป การระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวนั้นมีความสำคัญมากในแง่ของการประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อการศึกษาทางธรณีวิทยาที่เป็นสาเหตุได้

    เมื่อเกิดแผ่นดินไหว กราฟบันทึกการไหวสะเทือน (seismogram) ของสถานีตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือน (seismic station) แต่ละสถานี จะบันทึกช่วงเวลาที่คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave) แรกที่เดินทางมาถึงสถานี ทำให้สามารถคำนวณความแตกต่างช่วงเวลาระหว่างคลื่นทุติยภูมิกับคลื่นปฐมภูมิได้ หรือที่เรียกว่า S-P time ในหน่วยวินาที เมื่อคูณด้วย 8 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วเฉลี่ยที่คลื่นปฐมภูมิเดินทางในเปลือกโลก ก็จะได้ระยะทางในหน่วยกิโลเมตร หรือหาจากกราฟความสัมพันธ์ ดังรูป ที่สามารถหาขนาด (magnitude) ของแผ่นดินไหวได้ด้วย จากการลากเส้นตรงที่มีจุดปลายด้านหนึ่งอยู่บนกราฟ S-P ดังตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 24 วินาที และปลายอีกด้านหนึ่งอยู่บนกราฟค่าแอมพริจูด (amplitude) ดังตัวอย่างมีค่า 23 มิลลิเมตร โดยมีกราฟขนาดอยู่ตรงกลาง จุดตัดที่เกิดขึ้นบนกราฟขนาดก็จะบ่งบอกขนาดของแผ่นดินไหวได้ ดังตัวอย่างมีขนาดเท่ากับ 5.0 ส่วนอีกด้านหนึ่งของกราฟ S-P ก็มีการเทียบระยะห่างระหว่างศูนย์กลางแผ่นดินไหวกับสถานีไว้ด้วย ทำให้เราอ่านค่าระยะทางได้เลยในหน่วยกิโลเมตร

    [​IMG]

    กราฟแสดงการใช้ค่า amplitude เพื่อหาขนาด และระยะทางระหว่างแผ่นดินไหวกับสถานีตรวจวัด (จาก Bolt, 1978)

    จากนั้นก็ทำการสร้างวงกลมล้อมรอบสถานีโดยมีรัศมีเท่ากับระยะที่คำนวณได้ ซึ่งเส้นรอบวงที่ได้นี้คือตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่เป็นไปได้รอบสถานี ด้วยข้อมูล S-P time จากสถานีที่สองก็สามารถสร้างวงกลมได้เช่นกัน ซึ่งจะสามารถกำหนดตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวให้แคบลงเหลือเพียงสองจุด คือตำแหน่งที่วงกลมตัดกัน เมื่อทำอย่างเดียวกันกับสถานีที่สามเราก็จะสามารถระบุได้ว่าจากสองตำแหน่งนั้น ตำแหน่งไหนคือตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่แท้จริง ตำแหน่งที่ได้นี้คือตำแหน่งบนพื้นผิวโลก (epicenter) นะครับ ซึ่งเกิดจากการจำลองตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวใต้ผิวโลก (hypocenter) มายังบนผิวโลกในแนวดิ่ง ถ้าเราทราบความลึกของแผ่นดินไหวเราก็จะสามารถหาตำแหน่งที่เกิดแผ่นดินไหวใต้ผิวโลกได้ การหาความลึกนั้นผมจะมานำเสนอภายหลังนะครับ

    [​IMG]

    จากรูปเป็นตัวอย่างการระบุตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่คำนวณได้จากสถานีตรวจวัดใน Boston, Edinborough และ Manaus ด้วยระยะทางที่แสดงจากวงกลมทั้งสามสามารถตัดกันได้เพียงจุดเดี่ยวคือในบริเวณศูนย์กลางการเปิดออกของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (Mid-Atlantic Ridge spreading center)


    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...