ไส้เลื่อน เป็นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย alfed, 21 พฤศจิกายน 2018.

  1. alfed

    alfed สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    15
    ค่าพลัง:
    +135
    ไส้เลื่อน เป็นได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
    #ไส้เลื่อน #Hernia #HealthyMe
    45671255_270900000165401_3983702636577685504_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_ht=scontent.fbkk10-1.jpg
    "ไส้เลื่อน" หมายถึง ภาวะที่ลำไส้เลื่อนตัวออกมาจากตำแหน่งปกติ มีลักษณะคล้ายก้อนตุง (นูนออกมาจากผิวหนัง) สาเหตุมาจากกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อหน้าท้องไม่แข็งแรง อ่อนกำลังมากกว่าปกติ ภาวะแรงดันในช่องท้องมากผิดปกติ เนื่องจากสาเหตุต่างๆ เช่น การยกของหนัก การเบ่งอุจจาระ(ท้องผูก) การไอหรือจามเรื้อรัง ฯลฯ หรือเกิดความผิดปกติภายหลังช่น จากการผ่าตัด (ที่หน้าท้อง) ส่วนความเชื่อที่ว่าการไม่ใส่กางเกงในทำให้เกิดโรคไส้เลื่อน ไม่เป็นความจริง
    .
    ไส้เลื่อนที่เป็นได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย และในผู้สูงอายุที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต ก็มีโอกาสที่จะเป็นไส้เลื่อนขาหนีบได้ ไส้เลื่อนที่พบได้มากที่สุดคือ ไส้เลื่อนขาหนีบ นอกจากนี้มี ไส้เลื่อนที่สะดือ ไส้เลื่อนแผลผ่าตัดด้วย
    .
    ชนิดของไส้เลื่อน
    - ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องส่วนบน (epingastric hernia)
    - ไส้เลื่อนผนังหน้าท้องส่วนล่าง (hypogastric hernia)
    - ไส่เลื่อนบริเวณสะดือ(umbilical hernia)
    - ไส้เลื่อนโคนขา(femoral hernia)
    - ไส้เลื่อนขาหนีบ(inguinal hernia)
    .
    สาเหตุของโรคไส้เลื่อน
    - การยกของหนัก
    (เกิดอาการเกร็ง ปอดขยายและดันกระบังลมลงมา ทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น)
    - การเบ่งอุจจาระ(ท้องผูก)
    - การไอหรือจามเรื้อรัง
    (อาจเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินหายใจ หรือโรคเรื้อรัง อาทิ วัณโรค โรคถุงลมโป่งพอง)
    .
    ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะไส้เลื่อนคือ
    - เคยเป็นไส้เลื่อน หรือมีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นไส้เลื่อน
    - ภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
    (เนื้อเยื่อที่กันลำไส้อ่อนแอมากกว่าคนที่ไม่อ้วน(ไส้เลื่อนที่สะดือ))
    - มีอายุที่เพิ่มขึ้น
    - เกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงกับหน้าท้อง
    - เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง
    - ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรังจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การสูบบุหรี่
    .
    การสังเกตอาการไส้เลื่อนอย่าไร ?
    สังเกตความผิดปกติภายนอกของร่างกาย หากมีส่วนใดในบริเวณหน้าท้องหรือบริเวณขาหนีบมีลักษณะก้อนตุง ที่นูนเป็นก้อนออกมามากผิดปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยว่าใช่อาการของไส้เลื่อน หรือไม่
    .
    การดูแลตนเอง(ผู้ป่วยโรคไส้เลื่อน)
    - ผู้ป่วยไม่ควรยกของหนักเลย
    - การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
    - รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงและผักผลไม้เป็นประจำ
    (เพื่อลดอาการท้องผูก)
    - รักษาระดับแรงดันภายในช่องท้องให้เป็นปกติ ไม่ควรเพิ่มความดันในช่องท้อง ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อที่บริเวณช่องท้อง
    - ผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนกระบังลมที่มีอาการของกรดไหลย้อน ควรป้องกันการเพิ่มกรดในกระเพาะอาหารเช่น การไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงช็อกโกแลต ไม่กินอาหารที่มีรสจัด ไม่กินอาหารที่มีไขมันมาก ไม่กินอาหารมากเกินไปในแต่ละมื้อ งดอาหารก่อนที่จะนอนอย่างน้อย ประมาณ 3 ชั่วโมง งดสูบบุหรี่ เป็นต้น
    - พบแพทย์เพื่อตรวจเช็คสุขภาพร่างกายเป็นประจำทุกปีก่อนที่โรคไส้เลื่อนจะถามหา
    .
    วิธีการป้องกันโรคไส้เลื่อน
    (รักษาระดับแรงดันภายในช่องท้องให้เป็นปกติ และลดการเกร็งของกล้ามเนื้อที่บริเวณช่องท้อง)
    - ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสม
    - รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงและผักผลไม้เป็นประจำ
    (เพื่อลดอาการท้องผูก)
    - หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
    - ยกสิ่งของให้ถูกวิธี (ย่อตัวลงและหยิบของโดยพยายามให้หลังตรงอยู่เสมอ)
    - ไม่สูบบุหรี่ เพื่อลดอาการไอ(โรคถุงลมโป่งพอง)
    - ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการไอติดต่อกันผิดปกติ
    ------------------------------------------------------------------------------------------------------
    Credit: Healthy Me
    https://www.facebook.com/Good.Healthy.Me/
     

แชร์หน้านี้

Loading...