ครั้งที่ ๑๒๑
บรรยายวันจันทร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๐๖
เรื่อง
มหาสติปัฏฐาน (ข้อว่า สติมา)
วันนี้ จะได้บรรยาย เรื่อง มหาสติปัฏฐาน ข้อว่า "สติมา" สืบต่อไป
ถ. คำว่า "สติมา" แปลและหมายความว่าอย่างไร?
ต. แปลว่า มีสติ หมายความว่า ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานต้องมีสติเป็นสำคัญ คือมีสติเป็นใหญ่ มีสติเป็นประธาน สติแปลว่า ความระลึกได้ ก่อนทำ ก่อนพูด ก่อนคิด
ถ. สติเป็นจิต หรือเจตสิก โดยองค์ธรรมได้แก่อะไร?
ต. สติเป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต แต่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รับอารมณ์เดียวกันกับจิต โดยองค์ธรรมได้แก่สติเจตสิก
ถ. สติ มีลักษณะ กิจ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน เป็นอย่างไร?
ต. สติมีลักษณะ เป็นอย่างนี้ คือ
๑. อภิลาปนลกฺขณา สติมีความระลึกได้เนืองๆ ในอารมณ์เป็นลักษณะอารมณ์นั้น มี ๓ อย่าง คือก. อารมณ์ปกติธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน ในโลก เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นตัวอย่างการระลึกเนืองๆ ในอารมณ์ทั้ง ๓ ขั้นนี้ จัดเป็นลักษณะ คือเครื่องหมายของสติ
ข. อารมณ์ของนักปฏิบัติธรรมขั้นสมถะ เช่นอารมณ์พระกรรมฐาน ๔๐ มีกสิน ๑๐ อนุสสติ ๑๐ เป็นต้น
ค. อารมณ์ของนักปฏิบัติธรรมขึ้นวิปัสสนา ได้แก่ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ อริยสัจ ๔ ปฏิจฺจสมุปบาท ๑๒
๒. อสมฺโมหรส สตินั้นมีความไม่หลงลืมเป็นหน้าที่ หมายความว่า คนที่ลืมของบ่อยๆ เพราะขาดสติ เช่น ลืมกุญแจบ้าน ลืมกระเป๋า ลืมปากกา ลืมเวลาที่นัดหมายกับใครๆ ไว้ ลืมปิดประตูบ้าน เป็นต้น เป็นเพราะขาดสติ เรียกกันว่าเผลอ แม้ผู้ที่เจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าขาดสติแล้วอารมณ์ของกรรมฐานจะไม่ปรากฎเลย ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อสมาธิไม่เกิด ปัญญาก็ไม่เกิดเช่นเดียวกัน เพราะปัญญาจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยสมาธิเป็นบาทใกล้ชิด ถ้ามีสติแล้วจะได้ผลตรงกันข้ามกับที่กล่าวมานี้ เพราะฉะนั้น สติจึงมีหน้าที่สำคัญที่สุด คือทำให้ไม่หลงลืม
๓.อารกฺขปจฺจฏฺฐานา สตินนั้นมีการรักษาอารมณ์เป็นผลปรากฏวิสยาภิมุขภาวปจฺจุปฏฺฐานา และมีความมุ่งหน้าเฉพาะต่ออารมณ์เป็นผลปรากฎ หมายความว่าเมื่อมีสติแล้ว อารมณ์ขั้นต่ำๆ ของชาวโลกก็ยังปรากฎได้ดี เช่น รูป เสียง กลิ่น รส เป็นตัวอย่าง จะสังเกตได้โดยง่ายๆ ในเวลาดูหนังสือ ขณะใดสติไม่มี ขณะนั้นใจก็ลอยออกไปคิดอย่างอื่นเสีย จะดูสัก ๒-๓ เที่ยวก็จำไม่ได้ ทั้งนี้ก็เพราะใจไม่มีสติรักษาไว้ ถ้าขณะใดมีสติ ขณะนั้น ดูหนังสือเพียงเที่ยวก็จำได้ดี
อารมณ์ขั้นกลาง คืออารมณ์ของสมถะก็ดี อารมณ์ขั้นสูง คืออารมณ์ของวิปัสสนาก็ดี ถ้ามีสติแล้วสามารถจะควบคุมอารมณ์ รักษาอารมณ์ได้ดีมาก และได้ผลดีโดยรวดเร็ว ดังนั้น สติจึงมีผลปรากฎเป็น ๒ ประการ คือ รักษาอารมณ์ไว้อย่างหนึ่ง มุ่งหน้าเฉพาะต่ออารมณ์อย่างหนึ่ง๔. ถิรสญฺญาปทฏฺฐานา สตินั้นมีความจำได้มั่นคง จำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้สติเกิดขึ้น เช่นจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำโผฏฐัพพะ ได้แม่ยำเป็นตัวอย่าง แต่เมื่อจะว่าโดยส่วนภาคปฏิบัติแล้ว เหตุใกล้ชิดที่จะให้สติเกิดขึ้นนั้น ได้แก่สติปัฏฐานทั้ง ๔ คือกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา
ถ. สตินั้นท่านอุปมาเปรียบเทียบไว้เหมือนอะไร เพราะเหตุไร อธิบาย?
ต. เหมือนนายประตู เพราะรักษาทวาร ๖ อธิบายว่า สถานที่ทำงานต่างๆ ก็ดี หรือบ้านเจ้านายผู้ใหญ่ก็ดี ห้างร้านต่างๆ ก็ดี โดยมากมีนายประตูเฝ้า นิยมเรียกว่า แขกยาม หรือ นายยาม ใครจะเข้าจะออก นายยามนี้ต้องรู้ดีกว่าคนอื่น เพราะเป็นคนเฝ้า เป็นคนดุแลประจำโดยตรง ฉันใด สติก็ฉันนั้น คือสติมีหน้าที่รักษาทวารทั้ง ๖ ทวารแปลว่าประตู ประตูทั้ง ๖ นั้น ได้แก่ ประตูตา ประตูหู ประตูจมูก ประตูลิ้น ประตูกาย ประตูใจ สติมีหน้าที่รักษาประตูทั้ง ๖ นี้ เหมือนกันกับแขกยามหรือนายยาม ฉะนั้น
ถ. สติมา แปลว่า มีสติ ในมหาสติปัฏฐานนี้ หมายความแค่ไหน?
ต. หมายความว่า มีสติอยู่กับสติปัฏฐานทั้ง ๔ คือ๑. กายานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้กายอยู่เนืองๆถ. ขอให้ยกตัวอย่างมาสักข้อพอประกอบอธิบาย?
๒. เวทนานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้เวทนาอยู่เนืองๆ
๓. จิตตานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้จิตอยู่เนืองๆ
๔. ธัมมานุปัสสนา มีสติกำหนดรู้ธรรมอยู่เนืองๆ
ต. ตัวอย่างนั้นมีมากอยู่ เช่น ในขณะที่นักปฏิบัติธรรมใช้สติกำหนดอยู่ที่ท้องในเวลาพองขึ้น ก้บในเวลาท้องยุบลงไป โดยภาวนาว่า "พองหนอง ยุบหนอ" อยู่นั้นสติปัฏฐานทั้ง ๔ ก็รวมอยู่ในที่แห่งเดียวกันหมดแล้ว โปรดพิจารณาดูตามนี้ คือ๑. ท้องพอง ท้องยุบ เป็นรูป รูปนี้เป็นกาย สติที่กำหนดรู้หาย เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๒. ขณะที่กำหนดท้องพอง ท้ิองยุบ อยู่นั้น เวทนา คือความรู้สึกสบายไม่สบาย หรือเฉยๆ ก็มีอยู่ ไม่ขาดเลย ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง แม้ทุกๆ คนที่กำลังนั่งอยู่ นอนอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ เดี๊ยวนี้ ก็มีความสบาย ไม่สบายเฉยๆ นั่นแหละเป็นเวทนาสติกำหนดท้องพอง ท้องยุบนั้น ก็ถูกเวทนาด้วยจัดเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๓. ในขณะที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบอยู่นั้น จิตคือความรู้สึกว่า ท้องพอง ท้องยุบก็มีอยู่ สติที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบ จึงถูกจิตด้วย จัดเป็นจิตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๔. ในขณะที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบอยู่นั้น ธรรม คือขันธ์ ๕ ก็มีอยู่พร้อมแล้ว อายตนะก็มี อริยสัจก็มี โพชฌงค์ก็มี เช่น ท้องพอง ท้องยุบ เป็นรูปขันธ์ ความสบาย ไม่สบาย เฉยๆ เป็นเวทนาขันธ์ จำได้ว่า พองสั้นพองยาว พองมาก พองน้อย เป็นสัญญาขันธ์ ที่ปรุงแต่งให้เห็นว่า สุข ทุกข์ เฉยๆ เป็นสังขารขันธ์ ความรู้เป็นวิญญาณขันธ์ ขันธ์ทั้ง ๕ นี่แหละเป็นธรรม สติที่กำหนดท้องพอง ท้องยุบจึงถูกธรรมด้วย จัดเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานถ. เป็นอันได้ความอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อนักปฏิบัติธรรมใช้สติกำหนดลงไปที่ท้องโดยพิจารณาอาการพอง อาการยุบอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ อย่างครบบริบูรณ์ ถูกต้องแล้วใช่หรือไม่?
ต. ใช่แล้ว
ถ. เมื่อเป็นเช่นนั้น สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พล ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรค ๘ ก็คงมีอยู่ด้วยกันใช่ไหม เพราะเหตุไร?
ต. ใช่ เพราะว่าโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการนั้น จะต้องบำเพ็ญไปพร้อมๆ กัน อย่างนี้ ต่างแต่ว่าในขณะที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นเป็นเพียงบุพพภาคมรรค จึงยังไม่มีธรรมสมังคี ต่อเมื่อถึงสัจจานุโลมิกญาณ ถึงอริยมรรค จึงจะเป็นธรรมสมังคีแท้ โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ จึงจะเกิดขึ้นพร้อมกันอย่างบริบูรณ์
ถ. เมื่อจะกล่าวตามแนวปฏิบัตินั้น สติมีเท่าไร อะไรบ้าง?
ต. สตินั้นเมื่อจะกล่าวตามแนวปฏิบัติมีอยู่ ๓ ประการ คือประการที่ ๑ สติขั้นต่ำ ได้แก่สติของบุคคลธรรมดาสามัญ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทุกๆ คน เช่น จะขับรถก็ต้องมีสติ จะเขียนหนังสือก็ต้องมีสติ จะอ่านหนังสือ จะลุก จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จะดื่ม จะพูด ก็ต้องมีสติด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันแต่ว่าใครจะมีมาก มีน้อยกว่ากันเท่านั้น ถ้าใครขาดสติก็ทำอะไรผิดๆ พลาดๆ ลืมโน่นลืมนี่บ่อยๆถ. สติมีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
ประการที่ ๒ สติขั้นกลาง ได้แก่สติของผู้บำเพ็ญมหากุศล เช่น ทำทาน รักษาศีล เรียนธรรม ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม คือเจริญสมถกรรมฐาน เป็นต้น
ประการที่ ๓ สติขั้นสูง ได้แก่ สติของนักปฏิบัติธรรม ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามแนวแห่งมหาสติปัฏฐาน ที่พระบรมศาสดาจารย์ได้ทรงแสดงไว้
ต. มีประโยชน์มาก เช่น๑. สติ โลกสฺมิ ชาคโร สติปลุกคนให้ตื่นอยู่ในโลก ไม่ให้คนหลับ ไม่ให้คนประมาท
๒. สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติมีความเจริญทุกเมื่อ หมายความว่า ถ้ามีสติแล้วจะทำอะไรๆ ก้ไม่พลาด เช่น จะดูหนังสือ เรียนหนังสือ ก็จำได้ง่าย จะทำงานรักษาศีล ฟังธรรม เจริญกรรมฐานก็ได้ผลดีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ขาดตกบกพร่อง
๓. สติมา สุขเมธติ คนมีสติย่อมได้รับความสุข หมายความว่า ความสุขต่างๆ ของโลก เช่น สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์ สุขเกิดแต่จ่ายทรัพย์บริโภค สุขเกิดแต่ความไม่มีหนี้ สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ ก็ต้องอาศัยสติเป็นสำคัญ แม้สุขในทางธรรม เช่น ญานสุข วิปัสสนาสุข มัคคสุข ผลสุข นิพพานสุข ก็เกิดขึ้นเพราะอาศัยสติทั้งนั้น ถ้าปราศจากสติแล้ว สุขต่างๆ เหล่านี้ จะไม่เกิดขึ้นได้เลย
๔. สติมโต สุเว เสยฺโย คนมีสติเป็นผู้ประเสริฐทุกวัน หมายความว่าชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลต้องได้สติเป็นประจำทุกวัน การงานนั้นๆ จึงจะดำเนินไปได้โดยเรียบร้อยและผลิตผลสมความตั้งใจไว้
๕. รกฺขมาโน สโต รักฺเข ผู้รักษาต้องมีสติรักษา หมายความว่า ผู้จะรักษาทรัพย์สมบัติภายนอกทั้งที่มีวิญญาณครอบ และไม่มีวิญญาณครอง เช่น เสื้อ ผ้า เงินทอง บ้านช่อง เรือนชาน เรือกสวน ไร่ นา ช้าง ม้า วัว ควาย หมู หมา เป็ด ไก่ เป็นต้น ก็ต้องมีสติทั้งนั้น ถ้าปราศจากสติ ต้องได้รับความเดือดร้อนนานาประการ เช่นไฟไหม้ ของหาย ถูกขโมยลัก ไปก่อความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นต้น แม้สมบัติภายในคือพระธรรม นับตั้งแต่ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้นไป ก็ต้องอาศัยสติทั้งนั้น จึงจะสามารถรักษาได้ดี บำเพ็ญได้ดี
๖. อุฏฺฐานวโต สติมโต แม้ผู้ต้องการยศทั้ง ๖ คือ
๑. โภคยศ ยศ คือโภคสมบัติ
๒. อิสสริยยศ ยศคือความเป็นใหญ่
๓. กิตติยศ ยศคือเกียรติ
๔. สัมมนยศ ยศคือความนับถือ
๕. วรรณยศ ยศคือการยกย่องสรรเสริญ
๖. ปริวารยศ ยศคือความเป็นผู้มีบริวารมาก และซื่อสัตย์ จงรักภักดี กตัญญูกตเวที ก็ต้องอาศัยคุณธรรม ๗ ประการ ในคุณธรรม ๗ ประการนั้น ก็มีสติอยู่ด้วยคือ
ถ. เมื่อกล่าวตามแนวปฏิบัติขั้นสูงแล้ว จะทำอย่างไรสติจึงจะแก่กล้า สามารถอำนวยประโยชน์ดังกล่าวมานี้ได้๑. อุฏฐานะ มีความขยันต่อกิจการงานทุกๆ อย่าง
๒. สติ มีสติรอบคอบ
๓. สุจิกัมมะ มีการงานสะอาดเรียบร้อย
๔. นิสัมมการี ใคร่ครวญให้ดีเสียก่อนจึงทำลงไป
๕. สัญญตะ มีความสำรวมระมัดระวังให้มากและให้ดีที่สุด
๖. อัปปมัตตะ ไม่ประมาท
๗. ธัมมชีวี เป็นอยู่โดยอาศัยหลักธรรมเป็นเรือนใจ คือจะประกอบอาชีพอะไรๆ ก็ตาม ไม่ยอมให้ผิดศีลธรรม ไม่ยอมให้ผิดกฎหมายของบ้านเมือง ไม่ยอม ทำลายประเทศ ชาติ ศาสนา เป็นอันขาด
๘. สติเป็นธรรม มีอุปการะมาก ทั้งคติโลก คติธรรม
๙. สติเป็นกำลังอัันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติธรรมทั้งขั้นต่ำ ขั้นกลาง ชั้นสูง
๑๐. สติเป็นทางสายกลาง สามารถนำผู้ปฏิบัติให้รีบรัดเข้าสู่ มรรค ผล นิพพาน
ต. ต้องปฏิบัติดังนี้ คือ๑. เจริญสติปัฏฐาน ๔ถ. ตามที่กล่าวมานี้ มากมายเหลือเกิน จะมีวิธีใดบ้างซึ่งจะรวบรัดย่อๆ กว่านี้ คือปฏิบัติเพียงนิดเดียว แต่ถูกหมดทุกอย่างเลย?
๒. มีโยนิโสมนสิการ ใส่ใจโดยอุบายอันแยบคาย
๓. พหุลีกาโร พยายามฝึกฝนอบรมบ่อยๆ คือทำให้มากๆ ขยันทำที่สุด
๔. ให้ดำเนินตามอสัมโมหาสัมปชัญญะ ๒๒ อย่าง คือ มีสติในการก้าวไป ถอยกลับ เหลียวซ้าย แลขวา คู้ เหยียด พาดสังฆาฏิ อุ้มบาตร ห่มจีวร บริโภค ดื่ม เคี้ยว ลิ้มรส ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เดิน ยืน นั่ง นอน หลับ ตื่น พูด นิ่ง
ต. มีอยู่วิธีหนึีง คือ ไม่ประมาท ได้แก่ เจริญวิปัสสนา ภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" เท่านั้น ก็ได้ชื่อว่า ทำถูกไปพร้อมๆ กัน ทั้งพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม โดยแท้แล
วันนี้ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน เฉพาะข้อที่ว่า "สติมา" แปลว่า มีสติก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้.
thx1
พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญานสิทฺธิ ป.ธ.๙)
คำบรรยาย: วิปัสสนากรรมฐาน เล่ม ๗
หน้า ๑๑๗-๑๒๓
(๑๓) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙)
ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 20 กรกฎาคม 2009.