(๒๖) มรดกธรรมพระธรรมธีรราชมหามุนีวันนี้ จะได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ข้อที่ว่าด้วยปฏิกูลบัพพะ
ครั้งที่ ๑๓๔
บรรยายวันจันทร์ที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๐๖
เรื่อง
มหาสติปัฏฐาน
(ข้อว่า ปฏิกูลปัพพะ)
ถ. คำว่า ปฏิกูลปัพพะ แปลและหมายความว่าอย่างไร?
ต. ปฏิกูลปัพพะ แยกเป็น ๒ ศัพท์ คือ ปฏิกูล + ปัพพะ
ปฏิกูล แปลว่า น่าเกลียด หมายความว่า เป็นของไม่ดีไม่งาม ไม่น่าอยากได้ ไม่น่าปรารถนาถ. ในหมวดนี้ มีใจความว่าอย่างไร?
ปัพพะ แปลว่า ข้อ, หมวด, ตอน, หมายความว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้เป็นข้อ ๆ เป็นหมวดๆ เป็นตอนๆ ไป เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่่ผู้ฟัง เมื่อนำมาต่อกันเข้าไปรูปเป็น ปฏิกูลปัพพะ หมวดว่าด้วยด้วยปฏิกูล
ต. มีใจความว่า ปุน จปรํ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เป็นต้น ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ข้ออื่นนอกจากสัมปชัญญะปัพพะ ยังมีอยู่อีก คือ ท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ย่อมพิจารณาเห็นร่างกายนี้ เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงไป มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่ สิ่งที่มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ถ. พระพุทธองค์ทรงแสดงอุปมาอุปมัยในข้อนี้ไว้อย่างไรบ้าง?
ต. ทรงแสดงไว้อย่างนี้ว่า "เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว อุภโตมุขา มูโตฬี ปูรา นานาวิหิตสฺส ธญฺญสฺส" เป็นต้น ใจความว่าดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารทั้งหลาย ถุงมีปาก ๒ ข้าง เต็มไปด้วยธํญญาชาติ มีประการต่างๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุคคลผู้มีตาดีแก้ถุงนั้นออกดูก็รู้ได้ว่า เหล่านี้ข้าวสาลี เหล่านี้ข้าวเปลือก เหล่านี้ถั่วเขียว เหล่านี้ถั่วเหลือง เหล่านี้งา เหล่านี้ข้าวสาร ข้อนี้แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสารก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือพิจารณาเห็นร่างกายนี้่ เบื้องบนตั้งแต่ปลายเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำตั้งแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีผม ขน เลับ เป็นต้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นถ. เมื่อฟังดูตามที่ได้บรรยายมานี้ รู้สึกหนักไปในแง่ปริยัติเป็นส่วนมาก ถ้าอยากจะให้ตรงดิ่งลงไปเฉพาะแง่ปฏิบัติแล้วจะภาวนาว่าอย่างไร?
ร่างกายทั้งหมด คือมหาภูตรูปทั้ง ๔ เปรียบเหมือนถุงมีปาก ๒ ข้าง อาการ ๓๒ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น เป็นต้น เปรียบเหมือนธัญญชาติต่างๆ ที่บุคคลใส่ปนกันลงไปในถึงใบเดียวกันฉะนั้น
พระโยคาวจร คือผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐาน พิจารณาเห็นอาการ ๓๒ เปรียบเหมือนบุรุษมีตามดี แก้ถุงออก ย่อมมองเห็นถั่ว งา ข้าวสาร เป็นต้น ในถุงใบนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น
ต. ต้องใช้สติกำหนดอาการ พอง และยุบ ของท้อง โดยภาวนาว่า "พองหนอ ยุบหนอ" อย่างนี้เป็นวิธีปฏิบัติที่ตรงและถูกต้องที่สุด
ถ. การปฏิบัติอย่างนี้ ถูกสติปัฏฐาน ๔ หรือไม่?
ต. ถูกหมดทั้ง ๔ ข้อ ไม่มีเหลือเลย
ถ. ถูกกายคตาสติหรือไม่?
ต. ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์
ถ. ถูกอาการ ๓๒ หรือไม่?
ต. ถูก เำพราะท้องของแต่ละบุคคล ขนก็มี หนังก็มี เลือดก็มี เอ็นก็มี กระดูกก็มี อาหารใหม่ก็มี อาหารเก่าก็มี เหงื่อก็มี มันข้นก็มี มันเหลวก็มี มูตรก็มี เมื่อกำหนดพอง ยุบ จึงเป็นอันว่าถูกอาการ ๓๒ แน่นอน ดุจเอากำปั้นทุบดิน ฉะนั้น
ถ. กรรมฐานอย่างนี้ นอกจากพุทธกาลไปมีหรือไม่ มีอะไรเป็นหลักอ้าง?
ต. นอกจากพุทธกาลไปแล้วไม่มีเลย มีหลักอ้างปรากฎอยู่ในวิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๑๔ ว่า "ยนฺตํ อญฺญตฺร พุทฺธุปฺปาทา นปฺปวตฺตปุพฺพํ สพฺพติตฺถิยานํ อวิลยีภูตํ" กายคตาสติกรรมฐานนี้ ไม่เคยมีนอกพุทธกาลเลย และไม่เป็นวิสัยของเดียรถีย์ทุกจำพวกตามหลักนี้ ก็ชี้ให้เห็นได้เด่นชัดแล้วว่า การเจริญวิปัสนากรรมฐาน ตามสติปัฏฐานทั้ง ๔ มีกายคตาสติ หรือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นต้นนี้ มีปรากฎเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น และมีขึ้นต่อเมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วถ. ถ้าเราได้เจริญถูกต้องตามหลักแล้ว จะได้ประโยชน์ได้อานิสงส์เป็นประการใดบ้าง ยกหลักฐานประกอบอธิบาย?
ต. ได้ประโยชน์มาก จะได้นำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง เช่น๑. มหโต สํเวคาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อความสลดใจใหญ่ตามที่บรรยายมานี้ มีหลักฐานรับรองไ้ว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๕๕ ว่า
๒. มหโต อตฺถาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อประโยชน์ใหญ่ทั้ง ๓ คือ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ ปรมัตถประโยชน์
๓. มหโต โยคกฺเขมาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อความเกษมจากโยคะใหญ่
๔. มหโต สติสมฺปชญฺญาย สํวติตติ เป็นไปพร้อมเพื่อสติสัมปชัญญะใหญ่
๕. ญาณทสฺสนปฏิลาภาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อญานทิสสนะ คือเพื่อบรรลุวิปัสสนาญาณ
๖. ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหาราย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่ออยู่เป็นสุข ในภพปัจจุบันทันตาเห็น
๗. วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
ทั้ง ๒๕ ข้อนี้ ล้วนแต่เป็นประโยชน์ เป็นอานิสงส์ของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานทั้งนั้นเอกธมฺโม ภิกฺขเว ภาวิโต พหุลีกโต มหโต สํเวคาย สฎวตฺตติ มหโต อตฺถาย สัวตฺตติ มหโต โยคภฺเขมาย สํวตฺตติ มหโต สติสมฺปชญฺญาย สํวตฺตติ ญาณทสฺสนปฏิลาภาย สํวตฺตติ ทิฏฺฐธมิมสุขวิหาราย สํวตฺตติ วิชฺชาวิมุตฺติผล สจฺฉิกิริยาย กตโม เอกธมฺโม กายคตาสติ๘. อมตํ ปริภุญฺชนฺติ ชื่อว่าได้บริโภคอมตะ
ดูกร ท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย ธรรมอย่างเอกที่บุคคลได้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความสังเวชสลดใจอันยิ่งใหญ่ เพื่อประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพื่อความเกษมจากโยคะทั้ง ๔ อันยิ่งใหญ่ เพื่อสติสัมปชัญญะอันยิ่งใหญ่ เพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เพื่ออยู่เป็นสุขในภพปัจจุบันทันตาเห็น เพื่อกระทำให้แจ้งวิชชา ๓ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ธรรมอย่างเอกเป็นไฉน" ธรรมอย่างเอกนั้น คือ กายคตาสติ
๙. อปริหีนํ ชื่อว่าไ่ม่เสื่อมจากอมตะ
๑๐. อวิรทฺธํ ชื่อว่าไม่พลาดจากการบรรลุมรรค ผล นิพพาน
๑๑. อารทฺธํ ชื่อว่าได้ปรารภอมตะ
ตามที่บรรยายมานี้ มีหลักฐานรับรองไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ หน้าที่ ๕๙ ว่าอมตนฺเต ภิกฺขเว น ปริภุญฺชนฺติ เย กายคตาสตึ น ปริภุญฺชนฺติ อมตนฺเต ภิกฺขเว ปริภุญฺชนฺต เย กายคตาสตึ ปริภุญฺชนิติ อมตนุเตสํ ภิกฺขเว อปริภุตฺตํ เยสํ กายคตาสติ อปริภุตฺตา อารทฺธํ เยสํ กายคตาสติ อารทฺธา
ดูกรท่านผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย๑๒. อนุปฺปนฺนา เจว อกุสลา ธมฺมา นุปฺปชฺชนฺติ
ชนเหล่าใดไม่เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ดื่มอมตะ
ชนเหล่าใดเจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้อิ่มอมตะ
ชนเหล่าใดไม่ได้เจริญกายคตาสติ ชนเหล่านั้นก็ไม่ได้บริโภคอมตะ
ชนเหล่าใดได้บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นชื่อว่าได้บริโภคอมตะแล้ว
ชนเหล่าใดเสื่อมจากกายคตาสติ ชนเหล่านั้นก็เสื่อมจากอมตะ
ชนเหล่าใดไม่เสื่อมจากกายคตาสติ ชนเหล่านั้น ชื่อว่าไม่เสื่อมแล้่วจากอมตะ
ชนเหล่าใดพลาดจากกายคตาสติ ชนเหล่านั้นก็พลาดจากอมตะ
ชนเหล่าใดปรารภกายคตาสติ ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าได้ปรารภอมตะแล้ว
เมื่อเจริญกายคตาสติมากๆ แล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้นได้ อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมไป
๑๓. อนุปฺปนฺนา เจว กุสลา ธมฺมา นุปฺปชฺชนฺติ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นก็ย่อมเกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมเจริญไพบูลย์ยิ่งๆ ขึ้นไป
๑๔. อวิชฺชา ปหียติ วิชฺชา อุปฺปชฺชติ
อวิชชาเสื่อมไป วิชชาเจริญขึ้น
๑๕. อสฺมิมาโน ปหัยติ ละอัสมิมานะคือความถือตัวถือตนได้
๑๖. อนุสยา สมุคฺฆาตํ คจฺฉนฺติ ถอนอนุสัย คือรากบาปได้
๑๗. สญฺโยชนา ปหียนุติ ละสัญโยชน์ ๑๐ เสียได้
๑๘. ปญฺญาเภทาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อความแตกฉานด้วยปัญญา
๑๙. อนุปาทาปรินิพฺพานย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมอนุปาทาปรินิพพาน
๒๐. อเนกธาตุปฏิเวโธ เป็นผู้แทงตลอดอเนกธาตุ
๒๑. นานาธาตุปฏิเวโธ เป็นผู้แทงตลอดธาตุต่างๆ
๒๒. อเนกธาตุปฏิสมฺภิทา เป็นผู้ได้ปฏิสัมภิทาในอเนกธาตุ
๒๓. โสตาปตฺตผลสจฺฉิกิริยาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อกระทำให้แจ้งโสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
๒๔. ปญฺญาปฏิลาภาย สํวตฺตติ เป็นไปพร้อมเพื่อได้ปัญญา เพื่อความเจริญแห่งปัญญา เพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก มีปัญญาดุจแผ่นดิน มีปัญญาไพบูลย์ มีปัญญาสุขุมลึกซึ้ง มีปัญญาว่องไว มีปัญญากล้าแข็ง มีปัญญาตัดกิเลส
๒๕. ชื่อว่าได้กระทำให้แจ้งพระอมตะมหานฤพาน ดังพระบาลีว่า อมตนฺเตสํ ภิกฺขเว สจฺฉิกตํ เยสํ กายคตาสติ สจฺฉิกตา ชนเหล่าใดได้กระทำให้แจ้งกายคตาสติชนเหล่านั้นชื่อว่า ได้กระทำให้แจ้งอมตะ
ถ. ถ้าเราตรวจค้นหาในสกลกายนี้จะพบอะไร?
ต. ถ้าใครๆ จะตรวจค้นหาในร่างกายอันยาววาหนาคืบนี้ โดยอาการทั้งปวง จะไม่พบของสะอาดอะไรๆ เลย แม้เพียงอณูหนึ่ง เช่นแก้วมณี แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์หอม การบูร จุณอบ เป็นต้น จะพบแต่ของไม่สะอาดอย่างเดียว เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ซึ่งเป็นของมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดยิ่งนัก
ถ. ผู้ประสงค์จะปฏิบัติกรรมฐานข้อนี้จะพึงทำอย่างไร?
ต. พึงเข้าไปหาพระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐานก่อน แล้วเรียนวิธีปฏิบัติจากท่าน นำมาปฏิบัติตาม
ถ. พิจารณาเห็นกายในกาย ในภายในเป็นต้น ในปัพพะนี้ หมายความว่าอย่างไร
ต. หมายความว่า พิจารณาเห็นกายของตน มีผมเป็นต้นพิจารณาเห็นกายในกายในภายนอกนั้น หมายความว่า พิจารณาเห็นกายของคนอื่น มีผม เป็นต้นถ. เมื่อปฏิบัติตามปฏิกูลปัพพะนี้แล้ว จะเกิดอริยสัจ ๔ ได้อย่างไร
พิจาณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกนั้น หมายความว่า บางครั้งพิจารณาเห็นกายของตน บางครั้งพิจารณาเห็นกายของคนอื่น
เมื่อสรุปแล้วก็ได้แก่นามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ และสัมมสนญาณนั่นเอง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้น พิจารณาเห็นธรรมคือความดับไป และพิจารณาเห็นธรรมทั้งความเกิดความดับในกายอยู่เนืองๆ หมายความว่า ผู้นั้นได้เจริญวิปัสสนาถึงญาณที่ ๔ คืออุทยัพพยญาณแล้ว จัดเป็นภาวนามยปัญญา ต่อจากนั้นวิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นโดยลำดับๆ คือ เห็นรูปนามเป็นของน่ากลัว เห็นโทษต่างๆ ของรูปนาม คือเห็นอาการ ๓๒ เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด เกิดความเบื่อหน่าย อยากหลุดพ้นไปจากรูปนาม ตั้งใจปฏิบัติ วางเฉยในรูปนาม เห็นพระไตรลักษณ์ชัดเจนแจ่มแจ้งมาก รูปนามดับลงไปหมดสิ้น กิเลสก็ขาดไปตามสัดส่วนของมรรคนั้นๆ ผลสุดท้ายไม่มีการยึดมั่นถือมั่นอะไรเลยในโลก เพราะละกิเลสตัณหาได้หมดสิ้นแล้ว ด้วยมรรคทั้ง ๔
อย่างนี้แหละชื่อว่ามีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เนืองๆ
ต. เกิดได้อย่างนี้ คือ๑. ทฺวตฺตึสาการปริคฺคาหิกา สติ ทุกฺขสจิจํ
สติที่กำหนดรู้อาการ ๓๒ จัดเป็นทุกขสัจ
๒. ตสฺสา สมุกฺฐาปิกา ปุริมตณฺหา สมุทยสจฺจํ
ตัณหาก่อนๆ ที่ยังสติให้เกิดขึ้น จัดเป็นสมุทัยสัจ
๓. อุภินฺนํ อปฺปวตฺติ นิโรธสจฺจํ ทุกข์สมุทัย เป็นนิโรธสัจ
๔. ทุกฺขปริชานโน สมุทยปชหโน นิโรธารมฺมโณ อริยมคฺโค มคฺคสจฺจํ
อริยมรรคกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย มีนิโรธเป็นอารมณ์ จัดเป็นมัคคสัจ
วันนี้ ได้บรรยายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ข้อที่ว่าด้วย ปฏิกูลปัพพะ มา ก็นับว่าสมควรแก่เวลาแล้ว ขอยุติไว้เพียงเท่านี้
สวัสดี
(๒๖) มรดกธรรมพระธรรมธีราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ์)
ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 16 พฤศจิกายน 2009.