๙ วัดป่ากรรมฐานกับ ๑ สำนักแม่ชี..ใน ๒ วัน..ที่มุกดาหาร-สกลนคร

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 3 มีนาคม 2010.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วันที่ ๒๗ กพ ๕๓ :-

    ๑ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร (หลวงปู่จาม มหาปุญโญ)

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 27 - 28 กพ ที่ผ่านมา..ได้มีโอกาสเดินทางไปยังจังหวัดมุกดาหาร
    เพื่อร่วมงานอายุวัฒนมงคล 100 ปีหลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    ณ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี มีภาพมงคล และภาพประทับใจหลาย ๆ ภาพนำมาแบ่งปันกันด้วยค่ะ

    ตั้งอยู่บ้านห้วยทราย หมู่ที่ 9 ตำบลคำชะอี อำเภอคำชะอี
    จังหวัดมุกดาหาร สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 33 ไร่

    การเดินทาง : จากกรุงเทพ เดินทางไปจังหวัดมุกดาหาร
    ผ่านร้อยเอ็ด - อำเภอโพนทอง - อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ - อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร

    ถ้าผ่านที่ว่าการอำเภอหนองสูงก็ใกล้จะถึงแล้ว ก็จะผ่านอีก 3 หมู่บ้าน แต่ค่อนข้างห่างกัน คือ บ้านหนองสูงใหม่ บ้านคำชะอี (ไม่ใช่ตัวอำเภอคำชะอี) แล้วก็เป็นบ้านห้วยทราย พอถึงบ้านห้วยทราย จะมีจุดสังเกตุเห็นยอดเจดีย์ วัดหลวงปู่จามอยู่ทางด้านซ้ายมือ ตรงข้ามกับโรงเรียนบ้านห้วยทราย ซึ่งห่างจากถนน หนองสูง - คำชะอี ประมาณ 500 เมตร

    [​IMG]

    ถึงวัดเวลา 06.00 น. ของวันที่ 27 กพ ตามหมายกำหนดการเป๊ะ!!..

    [​IMG]

    เจดีย์ฯ ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันต์ธาตุ

    [​IMG]

    อ่านคติธรรมของหลวงปู่แล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ..แต่ก็พอเดาได้นิดหน่อย

    [​IMG]

    ตู้บรรจุพระอรหันตธาตุ..สาธุ

    [​IMG]

    ดอกไม้สักการะถูกจัดขึ้น และวางไว้อย่างสวยงามมาก..:cool:

    [​IMG]

    ศาลาอีกหลัง อยู่ถัดจากเจดีย์ฯ..
    ตอนนี้ไม่มีเวลาโอ้เอ้แล้ว ขอไปเตรียมใส่บาตรก่อนนะคะ..

    [​IMG]

    หาที่เหมาะ ๆ แล้วเตรียมตั้งแถวตักบาตรเช้ากันเลยค่ะ

    [​IMG]

    ภาพอาหารคาว - หวาน ที่บรรดาพุทธศาสนิกชน ที่ไปร่วมงานจัดไว้เพื่อเตรียมถวายจังหันแด่พระภิกษุสงฆ์ที่มาร่วมงาน

    [​IMG]

    เห็นแล้วปลื้มปิติกับงานนี้มาก ๆ ค่ะ..ขออนุโมทนบุญทั้งหมดทั้งมวลกับทุก ๆ ท่านด้วย..:cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2010
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสัสโก วัดป่านาคำน้อย จ.อุดรธานี

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู

    [​IMG]

    ช่วงที่หลวงปู่จามท่านกำลังฉันเช้า..ก็ได้เดินชมบรรยากาศรอบ ๆ วัด บังเอิญไปพบกุฏิพระอาคันตุกะ โดยที่หลวงปู่บุญเพ็งท่านได้อยู่ที่กุฏิหลังนั้นพอดี จึงมีโอกาสเข้าไปกราบ และถวายใบปวารณา (ปัจจัย) หลวงปู่บุญเพ็งท่านเมตตามาก แบ่งข้าวก้นบาตรให้พวกเราได้กิน (ดังภาพ) เป็นสิริมงคลอย่างที่สุด..สาธุ ๆ ๆ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 มีนาคม 2010
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ๒. สำนักแม่ชีห้วยทราย อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร (คุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ)

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    [​IMG]

    เจดีย์ศรีไตรรัตนานุสรณ์

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    ประวัติคุณแม่ชีแก้ว เสียงล้ำ

    [​IMG]

    ตามประวัติได้บันทึกไว้มีนามเดิมว่า ตาไป่ เสียงล้ำ (ตาไป่ มีความหมายว่า “ผู้คนมองมาเป็นสายตาเดียวกัน” ) ได้ถือกำเนิดเมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444 ตรงกับวันศุกร์ เดือน 11 แรม 12 ค่ำ ที่บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร (เดิมเป็น อ.มุกดาหาร จ.นครพนม) บิดาชื่อ ขุนธรรมรังสี (ซ้น เสียงล้ำ) มารดาชื่อ ด่อน เสียงล้ำ ​

    คุณแม่ชีแก้วเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 5 คน มีพี่ชาย 3 คน พี่สาว 1 คน ออกบวชชีเมื่อ ปี พ.ศ. 2480 หลวงพ่อกา เป็นพระอุปัชฌาย์ ณ วัดหนองน่อง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร ​

    คุณแม่ชีแก้วกำพร้าแม่เมื่ออายุประมาณ 5 ขวบ คุณพ่อของท่านได้ภรรยาใหม่ เป็นหญิงม่ายมีลูกหญิงติดมา 1 คน เมื่อมาอยู่กับคุณพ่อของท่านก็มีลูกชาย 1 คน แต่ถึงแก่กรรมไปเสียแต่ยังเด็ก หลังจากคุณพ่อของท่านถึงแก่กรรม คุณแม่ชีแก้วได้อยู่กับครอบครัวใหม่ของคุณพ่อท่าน มีความสุขตามสมควร ไม่มีปัญหาใด ๆ เพราะท่านเป็นคนขยัน และพูดน้อย ​

    เมื่อยังเด็กคุณแม่ชีแก้วระลึกชาติได้ โดยเล่าว่า เคยเกิดเป็น แม่ไก่ลาย มีลูกหลายตัว เจ้าของเอาข้าวเปลือกมาหว่านให้ลูกไก่ ท่านเตือนลูก ๆ ว่าอย่ากิน เพราะเมื่อกินอิ่มแล้วเขาจะมาเอาไปฆ่า ลูกตัวหนึ่งอ้างว่ามันหิว ต้องกินก่อน ลูกไก่ 2 ตัวในจำนวนนั้น ในชาตินี้ได้มาเกิดเป็นพระ คือ ท่านอาจารย์....และ ท่านอาจารย์..... ​

    พี่ชายคนโตคือ ลุงตี๋ และพี่สาวคือ ป้าป่อน ไม่ค่อยรักใคร่เอ็นดูท่าน ส่วนพี่ชายอีก 2 คน คือ ลูกอ้อม และลุงอิน รักใคร่เอ็นดูท่านมาก เอาใจใส่ดูแลท่านมาโดยตลอด แม้เมื่อท่านไปบวชชีแล้วไปปฏิบัติธรรมที่ภูเก้า ก็ติดตามไปเยี่ยมและดูแลท่านสม่ำเสมอ ​

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    ชีวิตทางโลก และทางธรรม

    [​IMG]

    [​IMG]

    ในปี พ.ศ. 2461 เมื่อคุณแม่ชีแก้วมีอายุ 17 ปี ได้แต่งงานกับคนหมู่บ้านเดียวกัน ชื่อ นายบุญมา เสียงล้ำ อายุอ่อนกว่าคุณแม่ 1 ปี คุณแม่ชีแก้วอยู่กันกับสามีมาราว 10 ปี ก็ยังไม่มีบุตร คุณแม่เกรงจะไม่มีคนดูแลเมื่อแก่เฒ่า จึงไปขอเด็กหญิงแรกเกิดมาเลี้ยง ตั้งชื่อว่า “แก้ว” เมื่อเด็กหญิงแก้วอายุประมาณ 8-9 ขวบ คุณแม่ชีแก้วเห็นว่าลูกพอจะช่วยเหลือตัวเองได้ และหุงหาอาหารเป็น คุณแม่จึงได้ขออนุญาตสามีไปบวชชี สามีไม่ยินยอม



    <DD>คุณแม่อ้อนวอนอยู่หลายครั้งหลายครา ตลอดเวลา 2 ปี ก็เป็นผล ก็เผอิญมีญาติผู้ใหญ่มาเยี่ยม จึงได้ช่วยพูดให้ คุณแม่จึงได้บวชสมประสงค์ แต่มีข้อแม่ว่าให้บวชได้เพียงพรรษาเดียว โดยมี หลวงพ่อกา (ปู่ของท่านพระอาจารย์อินทร์ถวาย สันตุสสโก วัดป่านาคำน้อย อ.นายูง จ.อุดรธานี) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชให้ท่านที่วัดหนองน่อง บ้านห้วยทรายในขณะนั้นคุณแม่ชีแก้วมีอายุประมาณ 36-37 ปี <DD><DD>คุณแม่ชีแก้วจะต้องสึกเมื่อออกพรรษา แต่หลังออกพรรษาแล้ว 1 วัน คุณแม่ก็ยังไม่สึก นุ่งผ้าดำทับผ้าขาวไว้ แล้วกลับบ้านทำความสะอาดบ้าน หุงหาอาหารไว้พร้อมสรรพ เมื่อได้จังหวะก็เตรียมลงจากเรือนจะกลับวัด สามีชวนกินอาหารคุณแม่ก็ปฏิเสธ สามีจะคว้าข้อมือ คุณแม่ก็วิ่งหนีลงเรือนไป สามีวิ่งตาม ก็พอดีพี่ชายของคุณแม่มาห้ามไว้ สามีคุณแม่โกรธมาก ประกาศตัดขาดแยกทางกัน คุณแม่ก็ออกจากบ้านตั้งแต่วันนั้นแล้วไปพักอยู่บ้านพี่ชายของท่าน <DD>


    <DD>คุณแม่ชีแก้ว ได้ไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์คำพัน ที่วัดภูเก้าเป็นเวลา 8 ปี ได้พบเห็นเกิดความรู้ ความเห็นแปลก ๆ ต่าง ๆ นานา อย่างที่ไม่เคยรู้เคยเห็นมาก่อน เช่น เมื่อภาวนาแล้วเห็นวัวหรือควาย มาขอให้คุณแม่กินหนังนอก หนังใน (หัวใจ) เขาจะได้หมดกรรม และจะได้เกิดเป็นคน รุ่งเช้าคุณแม่ฝากคนไปซื้อหัวใจวัวควายที่ถูกฆ่าเมื่อเช้านี้ แต่ไม่ทัน คนฆ่าเอาไปกินเสียก่อน บางครั้งเมื่อนั่งภาวนาก็มีผีมารบกวน ต้องสวดมนต์แผ่เมตตาบทกรณียเมตตสูตร จึงได้หายไป <DD><DD>ความเป็นอยู่ที่ภูเก้านี้ ลำบากมากกันดาร น้ำ ต้องตักน้ำใส่กระบอกมาใช้ ในช่วงนี้พี่ชายของคุณแม่ก็ได้มาเยี่ยม เห็นว่าน้องสาวลำบากมาก ก็ชวนให้กลับบ้านห้วยทราย คุณแม่ชีแก้ว จึงตั้งจิตอธิษฐานว่าถ้าจะได้อยู่ที่ภูเก้านี้ ขอให้พบแหล่งน้ำ เมื่อท่านนั่งสมาธิภาวนา จึงได้เห็นแอ่งน้ำถึง 11 แอ่ง อยู่บริเวณลานหิน ด้านล่างมีเถาวัลย์และหญ้าปกคลุมอยู่เป็นหย่อมๆ แอ่งน้ำเหล่านี้ เดิมเป็นที่อาบน้ำของพระปัจเจกพระพุทธเจ้ามาก่อน <DD>

    <DD>คุณแม่จึงให้คณะแม่ชี และชาวบ้านช่วยกันรื้อหญ้า และเถาวัลย์ที่ปกคลุมอยู่ ออกไป แล้วขุดลอกดินขึ้นจากหลุมหิน บางหลุมลึกถึง 14-15 ศอก ความกว้างประมาณ 4-5 ศอก เมื่อขุดลอกแล้วมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค ทำให้ปัญหาเรื่องน้ำหมดไป แต่ก็มีปัญหาอื่น ๆ อีก เช่น ปัญหาเรื่องส้วม และปัญหาเรื่องระเบิด ที่ภูเก้านี้ไม่ได้สร้างส้วม ต้องไปปลดทุกข์ที่หน้าผา ลิงก็พากันมาแอบดูหัวเราะกิ๊ก ๆ กั๊ก ๆ และในช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กลางคืนเครื่องบินมาทิ้งระเบิด พระเณรก็หนีลงภูไปอยู่ที่ราบ หลบลูกระเบิดกันหมด จนเงียบเสียงเครื่องบินจึงกลับมา แต่คุณแม่ท่านไม่หนี นั่งภาวนาอยู่เช่นนั้น <DD><DD>ในเวลาต่อมาพระอาจารย์คำพันลาสิกขา คุณแม่ชีแก้ว จึงต้องพาคณะแม่ชี ลงมาหาที่อยู่ใหม่ที่บ้านห้วยทราย ก็คือที่ดินตรงที่เป็นสำนักแม่ชีในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นที่ดินของมหาภูบาล มงคลเกตุ ครึ่งหนึ่ง และของนายกะตุด ผิวขำอีกครึ่งหนึ่ง คุณแม่ชีแก้วได้ตั้งเป็นสำนักแม่ชี ในปี พ.ศ. 2488 ในระยะแรกนั้นลำบากมากอัตคัดขาดแคลนไปหมด ต้องใช้กระบอกไม้ไผ่บ้านลำใหญ่เป็นกระโถน ถังตักน้ำก็แตกรั่ว ไม่มีรองเท้าต้องตัดกาบหมากมาใช้ มีดพร้าจอบเสียมก็ไม่มี มีแต่มีดเล็กๆ ไว้ใช้ส่วนตัว <DD>


    <DD>ความทุกข์กายนี้ก็พอทนได้ แต่ความทุกข์ใจ เพราะขาดครูบาอาจารย์นี้เป็นเรื่องทุกใหญ่ เพราะขาดผู้ใช้ทางนั่นเอง คุณแม่ชีแก้วจึงได้แยกตัวไปเสาะหาครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นหลายองค์ ได้แก่ หลงปู่กงมา จิรปุญโญ หลวงปู่ฝั่น อาจาโร อยู่หลายปี แล้วจึงกลับมาเป็นหลักให้แก่คณะแม่ชีรุ่นหลัง <DD><DD>สมัยที่คุณแม่ไปปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่กงมานั้น ปฏิบัติอย่างไร ภาวนาอย่างไร จิตก็ไม่ยอมลง เพราะถือความรู้ตัวเองมากจนเกินไป “นิพพานก็รู้แล้วทางไปก็รู้แล้ว ประตูนิพพานก็รู้แล้ว ญาท่านมั่นท่านก็สอนไว้ทุกอย่าง” ที่นี้พอภาวนา ใจก็ไม่ยอมลงให้หลวงปู่กงมา ทำอย่างไรจิตใจก็ไม่อ่อนไม่ลง จิตไม่รวมแข็งกระด้างอยู่อย่างนั้น ก็ได้แต่นึกด่าตัวเองอยู่ในจ่า “อีทิฐิ อีมานะ อีหยาบอีดื้อ อีหม้อนรกอเวจี” <DD>

    <DD>นั่งภาวนาก็ด่า เดินจงกรมก็ด่า ปวดท้องบิดก็ปวดฝนก็ตกกระหน่ำ เดินจงกรมตากฝนตลอดคืน จนค่อนสว่าง จึงทบทวนตรวจดูตนเองว่าเป็นอย่างไร จึงแข็งกระด้างหนักหนาจิตใจดวงนี้ มาคิดได้ว่า กิจของตนก็ประกอบอยู่แล้ว ข้าวปลาอาหารก็อาศัยอยู่กับครูบาอาจารย์ มันดื้อ มันอวด มันประจานตัวเอง ไม่ยอมลงแก่ใคร ๆ อยู่นี่ เพราะมาถือว่าตนรู้ถือผู้รู้นี้หรือ

    <DD>ทีนี้ก็เลยตั้งจิตอธิษฐานขออโหสิกรรมพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ไหว้พระ สวดมนต์ เจริญเมตตา จิตจึงลั่นครึบ ตกวูบลงภายใน สงบนิ่งอยู่สักพัก แสงสว่างภายในจากจุดน้อย ๆ ก็สว่างมากขึ้น กว้างขึ้น ขยายกว้างจนสว่างหมด แต่ก่อนมันไม่สว่าง ไม่ชัดเจนหรุบหรู่อยู่ พอจิตยอมแล้วก็สว่างแจ้งใส ใจก็ชัดเจน พิจารณาอะไรมันก็ควร จิตอ่อน จิตเบา จิตควรแก่การงาน มีธรรมะอบรมอยู่ในใจ พิจารณาธรรมะอันใด ก็ชัดเจนหมด <DD><DD>เมื่อออกจากทางจงกรมแล้ว เปลี่ยนเสื้อผ้า ทำกิจการงานอะไรก็สบายรู้ตลอดไป จนหลวงปู่กงมากลับจากบิณฑบาต กิริยาของท่านเปลี่ยนไป ดูยิ้มแย้มแจ่มใส จัดแจงแบ่งปันอาหารบิณฑบาตด้วยองค์ท่านเอง แบ่งให้พระเณรแบ่งให้แม่ชี กิริยาใด ๆ ก็ดูนุ่มนวลอ่อนละมุนละไม ซึ่งผิดกับเมื่อครั้งก่อน ๆ กิริยาของท่านบูดบึ้ง มึนตึง ไม่ควรว่าก็ว่า ไม่ควรด่าก็ด่า คำด่าก็เป็นคำเดียวกันกับที่คุณแม่นึกด่าตัวเองอยู่ภายในใจนั่นเอง และมักจะยกย่องคนนั้นคนนี้ แม่ชีรูปนั้นรูปนี้ว่าดี อันนั้นก็ดี อันนี้ก็ถูก <DD>

    <DD>ภายหลังฉันจังหันเสร็จแล้ว หลวงปู่ก็ประกาศดัง ๆ คับศาลาว่า “แม่แก้วเอ๋ย..ถูกทางของเธอแล้ว ตั้งใจไปเถิด” พอพูดจบก็ลงจากศาลาไป ถึงเวลาบ่าย หลวงปู่ออกจากที่พักผ่อนแล้ว คุณแม่ก็จัดแต่งขัน 5 ขัน 8 ไปขอขมาคารวะ แต่ท่านให้คารวะ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก่อน จากนั้นท่านก็รับการขอขมาคารวะจากคุณแม่เป็นลำดับสุดท้าย และท่านได้เล่าความฝันอันเป็นอุบายธรรมภาวนาให้คุณแม่ฟังว่า “เมื่อคืนนี้อาตมาฝันว่า ควายอีตู้ มาชนหมู ของอาตมา” <DD><DD>สำนักชีบ้านห้วยทราย นับว่าเป็นสำนักชีที่เป็นเอกเทศ ไม่ได้พึ่งพาอาศัยพระภิกษุสงฆ์ แม่ชีทุกคนต่างก็ตั้งใจภาวนาปฏิบัติธรรมด้วยความสงบสุข คุณแม่ชีแก้ว ท่านได้เดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นเป็นครั้งคราว การเดินทางไปนั้น มีคณะแม่ชีติดตาม 3-4 องค์ แต่ละครั้งต้องเดินเท้าขึ้นภูพานไปเป็นเวลา 11-12 วัน จึงจะถึง วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร ทุกครั้งที่ไปเยี่ยม หลวงปู่มั่นก็จะให้คุณแม่ชีแก้วพักอยู่นาน ๆ และท่านได้เมตตาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนาแก่คุณแม่ครั้งละนาน ๆ ซึ่งเป็นประดยชน์ต่อการปฏิบัติของคุณแม่ในระยะต่อมาเป็นอย่างมาก <DD>


    <DD>ในปี พ.ศ. 2492 หลวงปู่มั่นท่านเริ่มมีอาการอาพาธ และเมื่ออาการของท่านทรุดหนักเป็นลำดับ หลวงปู่มั่นจึงให้นำท่านไปพักที่ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร ด้วยเมตตาธรรมของท่านเกรงว่าเมื่อท่านมรณภาพลงแล้ว จะมีเหตุขัดข้องหลายประการ ผู้คนประชาชนก็จะมามาก หนทางไปมาไม่สะดวก ตลาดก็ไม่มี เกรงว่าจะเป็นเหตุให้สัตว์ตายในงานนี้จำนวนมาก เขาจะฆ่าสัตว์ทำอาหาร สำหรับเลี้ยงแขกที่มาในงาน ถ้ามรณรภาพที่วัดป่าสุทธาวาส ก็มีตลาดเขาทำกันอยู่แล้ว <DD><DD>ดังนั้นคณะศิษย์ มีหลวงปู่เทศก์ เทศรังสี เป็นผู้นำ ได้นำหลวงปู่มั่นไปพักที่วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร เมื่อหลวงปู่มั่น ละสังขาร คุณแม่ชีแก้วพร้อมด้วยคณะแม่ชีและชาวบ้านห้วยทรายได้เดินทางไปร่วมงานถวายเพลิงหลวงปู่มั่นที่วัดป่าสุทธาวาสด้วย <DD>


    <DD>[​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    <DD>
    [​IMG]


    [​IMG]



    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2010
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ๓. วัดภูผาผึ้ง อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร (หลวงปู่อ้ม สุขกาโม)

    [​IMG]


    วัดภูผาผึ้ง (วัดป่าภูผาผึ้ง)
    หมู่ 3 บ้านคำผักกูด ต.กกตูม
    อ.ดงหลวง จ.มุกดาหาร 49140

    หลวงปู่อ้ม สุขกาโม ประธานสงฆ์

    เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ และพระอาจารย์แบน ธนากโร ปฏิบัติโดยใช้อานาปานสติ (การทำสมาธิโดยใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นเครื่องยึดจิต) + บริกรรมพุทโธ และการพิจารณาร่างกาย

    วัดภูผาผึ้ง (วัดป่าภูผาผึ้ง) เป็นวัดตั้งอยู่ในป่าเชิงเขา มีเนื้อที่นับหมื่นไร่ (ทางราชการฝากให้วัดช่วยดูแลป่าให้) แวดล้อมไปด้วยแมกไม้ สงบ ร่มเย็น กุฎี ที่พัก ส่วนใหญ่พักได้หลังละ 1 คน แยกเป็นสัดส่วนชาย-หญิง ที่พักส่วนใหญ่มีไฟฟ้า และระบบน้ำเข้าถึง (เป็นน้ำที่ต่อท่อลงมาจากบนภูเขา มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี) เรื่องอาหาร ถ้าอาหารที่พระรับบิณฑบาตไม่เพียงพอ ทางโรงครัวจะทำอาหารเพิ่มเติมให้ นับว่าเป็นสถานที่ที่สัปปายะ เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง การปฏิบัติจะปล่อยให้ปฏิบัติกันเองตามกำลังของแต่ละบุคคล

    สามารถไปพักปฏิบัติธรรมได้ตามความสะดวกของแต่ละท่านตลอดทั้งปี ทั้งนักบวช ทั้งฆราวาส ชาย-หญิง ทั้งธรรมยุต และมหานิกาย ขอให้ตั้งใจจริงเป็นใช้ได้ ทางวัดไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ผู้ปฏิบัติสามารถบริจาคช่วยเหลือค่าอาหาร-ค่าไฟฟ้าได้ตามกำลังศรัทธา

    การเดินทาง : วัดจะตั้งอยู่ใกล้ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ มากกว่า (อยู่เกือบสุดเขตของ จ.มุกดาหาร) อยู่ห่างจาก อ.เขาวง ประมาณ 14 กม. จากกรุงเทพฯ ขึ้นรถประจำทาง (จากหมอชิต) ไปลงที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ (มีรถเพียงวันละประมาณ 1 เที่ยวเท่านั้น) แต่ถ้าขึ้นรถประจำทางจากกรุงเทพฯ ไปลงที่ อ.กุฉินารายณ์ (บัวขาว) จ.กาฬสินธุ์ (มีรถเกือบทั้งวัน) แล้วต่อรถสองแถวไปลงที่ อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ จะหารถง่ายกว่ามาก จากนั้นขึ้นรถสองแถวจาก อ.เขาวง ไปลงที่บ้านสานแว้-บ้านคำผักกูด ตรงสถานีตำรวจกกตูม แล้วนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปอีกประมาณ 6 กม. ก็จะถึงวัดตามที่ต้องการ

    หรือถ้าไปด้วยรถส่วนตัว ก็ไปตามเส้นทางกรุงเทพฯ-กาฬสินธุ์-เขาวง-บ้านสานแว้-บ้านคำผักกูด แล้วเลี้ยวเข้าทางย่อยตรงสามแยกสถานีตำรวจกกตูม ก็จะไปถึงวัดฯ เช่นกัน (การเดินทางอาจจะลำบากสำหรับท่านที่อยู่ไกลวัด แต่ถ้ามีเวลา และความเพียรมากพอ แล้วจะรู้สึกว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง)

    ขอบคุณข้อมูลจาก :: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ???ҋ҃
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. pataster

    pataster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +806
    ยังไม่ครบอ่ะครับ
     
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    จะค่อย ๆ ทยอยนำมาลงให้นะคะ..
     
  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]๔. วัดป่านาคนิมิตต์ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร (หลวงปู่อว้าน เขมโก)[/FONT][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG]

    [/FONT][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][/FONT][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่มั่น[/FONT][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้จากเสนาสนะป่าบ้านโคกมาพำนัก ณ บ้านนามน ในปัจจุบันคือ วัดป่านาคนิมิตต์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์เนียมสหธรรมมิกของพระอาจารย์กงมา อยู่ห่างจากบ้านโคกประมาณ ๔ กิโลเมตร สถานนี้เป็นป่าธรรมชาติ มีพรรณไม้ต่างๆ เช่น ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้รัง และไม้อื่นๆ แม้จะอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านแต่ก็เป็นป่ารกชัฏเหมาะแก่การทำความเพียร [/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในปีนั้นได้มีการประชุมพระคณาจารย์กันโดยมิได้นัดหมายมิได้มีการอาราธนา หรือบอกกล่าวแต่อย่างใด ได้แก่ หลวงปู่เทสก์ เทสรงฺสี, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์ทองสุข สุจิตฺโต, หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร เป็นต้น ท่านทั้งหลายนั้นได้มาสู่สถานที่นี้ โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นจุดมุ่งหมาย ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการประชุมที่อัศจรรย์ เนื่องจากพระคณาจารย์เหล่านี้ไม่ต้องมีพิธีการต้อนรับหรือต้องเกรงใจ หรือต้องทำระเบียบการประชุมเรื่องของบประมาณค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด[/FONT]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=198>[​IMG]

    </TD><TD height=198>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิหลวงปู่มั่น ณ วัดป่านาคนิมิตต์[/FONT]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ในการมาของคณาจารย์เหล่านี้ล้วนเป็นพระเถระผู้ใหญ่ และผู้น้อยติดตามจึงเป็นเหตุให้การประชุมรวมตัวของคณะสงฆ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างล้นเหลือ โดยหลวงปู่มั่นได้วางนโยบายสำคัญๆ ทั้งทางด้านปกครอง และด้านการปฏิบัติกรรมฐาน[/FONT]

    [​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเป็นมาของวัด[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ความเป็นมาของวัดแห่งนี้จากบทสัมภาษณ์ พระอาจารย์อว้าน เขมโกจากหนังสือบูรพาจารย์พอสรุปได้ว่า เดิมวัดแห่งนี้หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้รุกขมูลผ่านมาก่อน ต่อมาหลวงปู่มั่น ได้รุกขมูลมาตามเส้นทางของหลวงปู่เสาร์และแวะพักที่นี่ หลวงปู่มั่นเห็นว่าสถานที่นี้สัปปายะ ท่านจึงปรารภกับญาติโยมว่า "คิดจะสร้างเป็นวัด" จึงได้มีการยกที่ดินถวายท่าน และสร้างเสนาสนะแบบชั่วคราวพอได้อยู่อาศัย แล้วท่านจึงเดินธุดงค์ต่อไปทางภาคเหนือ ๑๒ ปี หลังจากนั้นท่านจึงมาจำพรรษาที่นี่เป็นครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ.๒๔๘๖ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในครั้งนี้ชาวบ้านนามนได้สร้างกุฏิถวายองค์ท่าน รุ่งเช้าของวันที่ได้เริ่มต้นก่อสร้างปรากฏ หลวงปู่มั่นได้ชี้บอกโยมว่า "นั่นแหละ พญานาคทำรอยไว้ให้แล้ว" ชาวบ้านไปดูเป็นรอยกลมๆ จึงนำรอยนั้นเป็นหมายในการขุดหลุมตั้งเสากุฏิ ต่อมาเมื่อจะสร้างศาลาก็ปรากฏรอยนี้อีกจึงได้ลงเสาศาลาในลอยนั้นเช่นกัน ท่านจึงพูดกับโยมว่า "วัดนี้ชื่อว่าวัดป่านาคนิมิตต์" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดป่าบ้านนามนตามชื่อหมู่บ้านนั้น ต่อมาเมื่อได้จดทะเบียนชื่อวัด จึงได้ใช้มงคลนามที่หลวงปู่มอบให้นี้เป็นชื่อวัด[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สถานที่นี้ยังเป็นที่กำเนิดบันทึกพระธรรมเทศนาที่สำคัญของหลวงปู่มั่น คือ " มุตโตทัย " ที่บันทึกครั้งแรก ณ วัดนี้ โดยพระอาจารย์วิริยังค์ ได้เล่าถึงความเป็นมาไว้ในบันทึกใต้สามัญสำนึก ประวัติของท่านดังนี้[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]" ... เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระอาจารย์มั่นฯ แล้วไพเราะจริงๆ ทำให้ผู้เขียนนั่งกัมมัฏฐานได้รับความสงบใจตามที่ได้มาฟังธรรมของท่าน ซึ่งธรรมเทศนานั้นได้เกิดรสชาติที่ซาบซึ้งหาอะไรเปรียบไม่ได้อีกแล้ว ผู้เขียน ( พระอาจารย์วิริยังค์ ) คิดในใจว่า ทำไมจึงดีอย่างนี้ มันสุดแสนจะพรรณา ทำให้ผู้เขียนระลึกถึงคนอื่นๆ ต่อไปว่า เราจำเป็นที่จะต้องบันทึกธรรมเทศนาของท่านอาจารย์มั่นฯ ให้ได้ เพราะถ้าเราไม่บันทึก ต่อไปธรรมเทศนาอันวิเศษนี้ก็จะหายสูญไปอย่างน่าเสียดาย และธรรมเทศนาเช่นนี้จะพึงแสดงได้ก็แต่ท่านพระอาจารย์มั่นฯ เท่านั้น รูปอื้นถึงแสดงก็ไม่เหมือน จึงทำให้ผู้เขียนได้พยายามอย่างยิ่งที่จะเขียนบันทึกธรรมเทศนาของท่านให้ได้และก็เป็นผลสำเร็จขึ้นเป็นอันดับแรก เพราะยังไม่เคยมีใครบันทึกธรรมเทศนาของท่านเลย[/FONT]



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[​IMG]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]จำพรรษาและบันทึก "มุตโตทัย"[/FONT]



    </TD><TD width="50%">[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เป็นที่น่าสังเกต ท่านพระอาจารย์มั่นฯ ท่านไม่เคยยอมให้ใครบันทึกธรรมเทศนาของท่านโดยเป็นหนังสือเลย มีแต่จำกันใส่ใจเท่านั้น ถ้าใครจะบันทึกด้วยหนังสือจะต้องถูกท่านดุและประณามเอาทีเดียว แต่ผู้เขียนได้ขโมยเขียน และยอมทุกสิ่งทุกอย่างเพราะรัก และชอบและเลื่อมใสสุดหัวใจแล้ว ท่านจะดุด่าประฌามผู้เขียนยอมทุกอย่าง ขออย่างเดียวให้ได้บันทึกธรรมเทศนาเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นต่อไปภายหลังที่ไม่ได้ฟังจากท่าน แต่ได้อ่านในหนังสือเล่มนี้ ส่วนพระภิกษุสามเณรที่ไปอยู่กับท่านต่างก็กลัวเช่นนี้ จึงไม่มีใครกล้าจะเขียนธรรมเทศนาของท่าน จึงเป็นอันว่าผู้เขียนได้กล้าเสี่ยงอันตรายครั้งงสำคัญทีเดียวในการบันทึกธรรมเทศนา เรื่องนี้เกิดความสำเร็จแก่ผู้เขียนอย่างเต็มภาคภูมิ คือตลอดพรรษานี้ ผู้เขียนได้บันทึกเทศนาตลอดไตรมาส ซึ่งก็สำเร็จขึ้นเป็นเล่มในชื่อ " หนังสือ มุตโตทัย "[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลังจากผู้เขียนได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านแล้ว ก็พยายามทำเป็นความลับไว้ตลอดเวลา วิธีการที่ผู้เขียนทำสำเร็จนั้นคือ เมื่อเวลาท่านแสดงธรรม พยายามกำหนดไว้ในใจอย่างมั่นคง เพราะขณะนั้นความจำของผู้เขียนยังอยู่ในการใช้ได้ เมื่อท่านแสดงธรรมจบแล้วผู้เขียนยังต้องมีหน้าที่ถวายการนวดอีกไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง เมื่อถวายการนวดเสร็จแล้ว ก็รีบกลับที่พักจับปากการีบเขียนธรรมเทศนาของท่าน ก่อนความจำนั้นจะเลื่อนลางไป ตอนนี้ผู้เขียนจะบอกอะไรสักอย่าง ว่าเป็นเรื่องที่น่าคิดหนักหนา ตอนนั้นอยู่ในระหว่างสงคราม ปากกา - ดินสอ - น้ำหมึกไม่ต้องหา ไม่มีใช้ เผอิญผู้เขียนมีปากกาอยู่ ๑ ด้ามติดตัวไป น้ำหมึกไม่มี ผู้เขียนต้องคิดตำราทำน้ำหมึกใช้โดยเอาผลสมอไทย ผลมะเหลื่อม ผลมะขามป้อม เอามาจำแช่น้ำ แล้วเอาเหล็กที่มีสนิมมากเช่นผาลไถนาแช่ลงไปด้วย เมื่อแช่ ๒ - ๓ วันได้ที่แล้ว เอามากรองด้วยผ้าบางจนใสแล้วก็เอาเขม่าติดก้นหม้อสีดำใส่เข้าไปคนจนเข้ากันดีแล้วกรองอีก คราวนี้ก็เอามาใช้ได้ผล ข้าพเจ้าได้ใช้มันจนเขียนได้เป็นเล่ม แต่เวลาเขียนมันจะไม่แห้งทันที ต้องรอนานกว่าจะแห้ง[/FONT]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]กุฏิพระอาจารย์วิริยังค์ [/FONT]


    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ศาลาใหญ่ [/FONT]

    </TD></TR><TR><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]บรรยากาศภายในวัด [/FONT]


    </TD><TD>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif][​IMG][/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ประตูทางเข้าวัด [/FONT]



    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]ข้าพเจ้าได้ทำอยู่อย่างนี้ คือฟังเทศน์เสร็จแล้วถวายการนวด เสร็จแล้วกลับมาเขียนหนังสือตลอดเวลา ๓ เดือน การแสดงธรรมของท่านมิได้แสดงทุกๆ คืน ในที่สุดข้าพเจ้าทำงานเสร็จ สมกับคำปณิธานที่ได้ตั้งไว้ แล้วก็พยายามทำความลับไว้มิได้แพร่งพรายให้ผู้ใดทราบถึงการกระทำของข้าพเจ้าเลยแม้แต่คนเดียว[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เมื่อความสนิทสนมผู้เขียนกับท่านอาจารย์มั่นฯ นับวันแต่จะสนิทยิ่งขึ้นท่านได้ให้พรพิเศษ เมตตาพิเศษ แนะนำพิเศษ จนผู้เขียนหายความหวาดกลัวเหมือนอย่างแต่ก่อน[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]อยู่มาวันหนึ่งผู้เขียนคิดว่า ก็ธรรมเทศนาที่เราเขียนแล้วนั้นจะปิดเป็นความลับไว้ทำไม เปิดเผยถวายท่านเสียดีกว่า ท่านจะกินเลือดกินเนื้อเราก็ให้รู้ไป จึงเป็นอันว่าผู้เขียนได้นำเอาเนื้อความอ่านเล่าถวาย ท่านจึงเอะใจขึ้นว่"นี่วิริยังค์คุณไปเขียนแต่เมื่อไร" จากนั้นท่านก็ไม่ว่าอะไร และท่านก็ยอมรับว่า การบันทึกนี้ถูกต้อง โล่งอกโล่งใจข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่ง นึกว่ายังไงเสียคงโดนด่าหลายกระบุงแต่ท่านกลับให้ความร่วมมือเป็นอย่างน่าอัศจรรย์ ..."[/FONT]


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%" height=181>[​IMG]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]หลวงปู่อว้าน เขมโก[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน [/FONT]


    </TD><TD width="50%" height=181>[FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]สภาพในปัจจุบัน[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Microsoft Sans Serif]วัดป่านาคนิมิตต์ในปัจจุบันมีพระอาจารย์อว้าน เขมโกเป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบันยังมีเสนาสนะเก่าแก่ที่ยังอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ได้แก่ กุฏิหลวงปู่มั่นที่ยังอยู่ในสภาพดี และกุฏิพระอาจารย์วิริยังค์ที่ท่านใช้จำพรรษาและบันทึกธรรมะ "มุตโตทัย" ที่อยู่ลึกเข้าไปก็อยู่ในสภาพดีเช่นกัน สภาพวัดทั่วไปยังคงความสงบร่มเย็นเป็นสัปปายะสถานที่เกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่มั่น ที่ยังรักษาสภาพแวดล้อมและข้อวัตรปฏิบัติได้เป็นอย่างเข้มแข็ง[/FONT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ข้อมูลจาก : Ǒ??蒹Ҥ?ԁԵ?젺钹?ҁ? ?.?ͧ⢻ ͮ⤡ȃՊؾÃ? ?.ʡŹ?ælt;/a>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2010
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ๕. วัดป่าสวนริมธาต อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร (หลวงปู่แบน ธนากโร)

    [​IMG]


    ครั้งแรกตั้งใจจะไปกราบหลวงปู่ท่านที่วัดดอยธรรมเจดีย์ แต่ทราบมาว่าหลวงปู่แบนท่านไม่ได้อยู่ที่วัด ท่านไปพำนักอยู่ที่วัดสาขาที่ชื่อว่า "วัดสวนป่าริมธาร" ซึ่งไม่ไกลจากกันมากนัก โดยใช้เส้นทางเดียวกัน ห่างออกมาประมาณ 3-4 กิโลเมตรเท่านั้นเองค่ะ


    [​IMG]


    [​IMG]

    สภาพโดยรอบ ๆ เป็นภูเขาอยู่ด้านหลัง มีการลงปลูกพันธุ์ไม้ไว้ เป็นจำนวนมาก

    [​IMG]

    ส่วนมากจะเป็นต้นลีลาวดี ดอกสวย ๆ มีหลากหลายสี หลายพันธุ์ค่ะ

    [​IMG]

    ครั้งนี้เป็นการเดินทางไปกราบท่านเป็นครั้งแรก หลวงปู่ท่านมีเมตตามาก ได้เทศนาสั่งสอนพวกเราแบบสด ๆ ซะปลื้มปิติ..

    ก่อนกลับหลวงปู่ท่านบอกว่า คราวหน้าไม่ต้องตั้งใจมา หากเดินทางผ่านมาก็แวะมาได้ด้วยค่ะ..สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    วันที่ ๒๘ กพ ๕๓ :-

    ๖. วัดป่าปทีปปุญญาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร (หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป)

    [​IMG]


    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป

    วัดป่าประทีปปุญญาราม
    ต.เซือม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    ๏ อัตโนประวัติ

    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป มีนามเดิมว่า ผ่าน หัตถสาร เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๒ ปีจอ ณ บ้านเซือม ตำบลโพนแพง อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายด่าง และนางจันทร์เพ็ง หัตถสาร

    ๏ การบรรพชา และอุปสมบท

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ อายุ ๑๕ ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่ง ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูวิรุฬห์นวกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ อายุ ๒๐ ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพระพุทธศาสน า ณ พัทธสีมาวัดทุ่ง ตำบลอากาศ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูวิรุฬห์นวกิจ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระมาก เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    <!-- / message -->๏ ญัตติเป็นธรรมยุต

    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป ท่านได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ ณ พัทธสีมาวัดจอมศรี ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูพิทักษ์คณานุการ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระสมุห์ภา เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ภายหลังจากได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว ท่านก็ได้ไปอยู่ศึกษาธรรม รวมทั้งข้อวัตรปฏิบัติกับพระเถราจารย์กรรมฐานสายหลวง ปู่มั่น ภูริทัตโต อาทิเช่น หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดอรัญญวิเวก อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร, หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

    [​IMG]
    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม
    วัดอรัญญวิเวก อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

    [​IMG]
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

    [​IMG]
    หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม
    วัดอุดมรัตนาราม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

    <!-- / message -->
    ขอบคุณข้อมูลจาก .. ?ÐǑ?Ԡ˅ǧ?٨?蒹 ?ѭ?һ?բ? Ǒ??蒻?ջ?ح?҃ҁ - ʁҸԴͷ?́

    [​IMG]

    หลวงปู่ในอิริยาบทสบาย ๆ ทักทายญาติโยมด้วยรอยยิ้ม และมีเมตตา

    [​IMG]

    โครงการภายในวัดในขณะนี้คือ การสร้างพิพิธภัณฑ์

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ๗. วัดอรัญญวิเวก หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

    เนื่องจากเส้นทางจากอากาศอำนวยไปนครพนมไม่ไกลจากกันมากนัก เป็นเขตรอยต่อเชื่อมกัน จึงได้มีโอกาสได้แวะไปกราบนมัสการรูปของหลวงปู่ตื้อด้วยค่ะ..:cool:



    [​IMG]


    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม

    ชาติกำเนิด

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ท่านพักจำพรรษาประจำที่ และอยู่นานที่สุดที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ต.สันมหาพน อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งอยู่บนเส้นทางเชียงใหม่-เชียงดาว อยู่ตรงมุมทางแยกขวาเข้าเขื่อนแม่งัด ทางไปวัดอรัญญวิเวก ของหลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป นั่นเอง

    ครั้งสุดท้ายท่านกลับไปจำพรรษาที่บ้านเกิด ที่วัดป่าอรัญญวิเวก บ้านข่า ต.บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม และมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ เวลา ๑๙.๐๕ ณ สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม นามเดิมว่า ตื้อ นามสกุล ปาลิปัตต์ เกิดในครอบครัวชาวนา เมื่อวันจันทร์ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๑ ตรงกับวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีชวด สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ณ บ้านข่า ตำบลบ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

    บิดาของท่านชื่อ นายปา มารดาชื่อ นางปัตต์

    หลวงปู่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย ๕ หญิง ๒ คนโตเป็นหญิงชื่อ นางคำมี คนที่สองเป็นชาย ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเล็ก คนที่สามชื่อ นายทอง คนที่สี่ชื่อ นายบัว ส่วนหลวงปู่เป็นบุตรคนที่ห้า คนที่หกชื่อนายตั้ว และคนสุดท้ายเป็นหญิงชื่อ นางอั้ว ทีสุกะ พี่น้องทุกคนรวมทั้งหลวงปู่มรณภาพหมดแล้ว เป็นไปตามวัยและตามธรรมดาของสังขาร ที่ยังเหลืออยู่ก็มีแต่ความดี และความชั่ว ยังให้คนระลึกถึงพูดถึงไปอีกนาน

    ครอบครัวที่ใกล้ชิดกับวัด

    ในบรรดาเครือญาติของหลวงปู่ตื้อ นับเป็นครอบครัวที่ใกล้ชิดกับวัด ใฝ่ใจต่อการศึกษาในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า บรรดาผู้ชายล้วนแต่ได้บวชเป็นพระภิกษุ และถ้าเป็นหญิงก็สละบ้านเรือน มาบวชชีจนตลอดชีวิตก็มีหลายคน

    หลวงปู่ จึงได้รับการปลูกฝังให้สนใจการบวชเรียน สนใจศาสนาโดยสายเลือดก็ว่าได้

    ท่านเป็นศิษย์วัด รับใช้พระเณรตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเคยบวชเณรมาครั้งหนึ่ง ท่านจึงมีความคุ้นเคยกับวัด คุ้นเคยกับพระกับเจ้าเป็นอย่างดี และปรารถนาที่จะได้บวชเป็นพระภิกษุเมื่อถึงเวลาอันควร ท่านคิดเรื่องการบวชอยู่ตลอดเวลา

    ศุภนิมิตก่อนบวช

    ก่อนที่หลวงปู่จะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุนั้น ในคืนหนึ่ง ท่านฝันว่าได้มีชีปะขาว (ตาผ้าขาว) ๒ คนเข้ามาหาท่าน คนหนึ่งแบกครกหิน อีกคนถือสากหิน เอามาวางไว้ตรงหน้าท่าน

    ตาผ้าขาวคนแรกพูดว่า “ไอ้หนู แกยกสากนี่ออกจากครกได้ไหม”

    หลวงปู่ ตอบโดยไม่ต้องคิด ว่า “ขนาดเสาเรือนผมยังแบกคนเดียวได้ ประสาอะไรกับสากเพียงแค่นี้”

    แล้วหลวงปู่ก็ลงมือยกทันที ยกสองครั้งสากก็ไม่เขยื้อน เมื่อพยายามครั้งที่สาม จึงยกสากหินนั้นขึ้นได้

    หลวงปู่ มองเห็นมีข้าวเปลือกอยู่เต็มครก ท่านจึงลงมือตำจนข้าวเปลือกนั้นกลายเป็นข้าวสารไปหมด แล้วตาผ้าขาวทั้งสองก็หายไป

    ทันใดนั้น ปรากฏว่าท่านเห็นภิกษุ ๒ รูป มีผิวพรรณผ่องใส กิริยาอาการน่าเคารพเลื่อมใส หลวงปู่มั่นใจว่าจะต้องเป็นพระผู้วิเศษจึงตรงเข้าไปกราบ

    พระภิกษุองค์หนึ่งพูดกับหลวงปู่ว่า “หนูน้อย เจ้ามีกำลังแข็งแรงมาก ”

    พูดเพียงแค่นั้น พระท่านก็หายไป แล้วหลวงปู่ก็ตื่น ท่านมั่นใจว่าเป็นฝันดี จะต้องมีเหตุการณ์ที่ดีเกิดขึ้นกับท่านอย่างแน่นอน หรือว่าท่านจะได้บวชตามที่ใจปรารถนา จะได้มีโอกาสประพฤติธรรมอย่างจริงจัง ต่อไป

    คุณปู่ขอร้องให้บวช

    ในตอนเย็น เมื่อกลับจากท้องนา และต้อนวัวควายเข้าคอกเรียบร้อยแล้ว คุณพ่อของท่านก็บอกว่า

    “ไอ้หนู เมื่อตอนกลางวัน ปู่จารย์สิม ท่านมาที่บ้าน ถามหาเจ้า เห็นว่ามีธุระสำคัญจะพูดด้วย กินข้าวอิ่มแล้วให้ไปบ้านปู่ ดูซิ ว่าท่านมีเรื่องอะไร ”
    (คำว่า อาจารย์ พ่อจารย์ ปู่จารย์ ทางอีสาน หมายถึง ผู้ใหญ่ที่เคยบวชพระหลายพรรษา หรือเคยเป็นเจ้าอาวาสแล้วสึกออกมาครองเรือน ถือว่าเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรม เป็นครู-อาจารย์ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ)

    เมื่อหลวงปู่ตื้อทานข้าวเสร็จแล้ว ก็รีบไปพบ ปู่จารย์สิม ทันที ปู่จารย์สิมเรียกให้หลานชายเข้าไปข้างในเรือน เมื่อเปิดประตูเข้าไปเห็นมีผ้าไตรจีวร บาตร และบริขารสำหรับบวชพระ เตรียมไว้อย่างเรียบร้อย

    ปู่จารย์สิม ได้มอบขันดอกไม้ที่เตรียมไว้ให้หลานชายแล้วพูดว่า

    “ปู่เห็นมีหลานคนเดียวเท่านั้นที่ควรจะบวชให้ปู่ ปู่ได้เตรียมเครื่องบวชไว้ให้เรียบร้อยแล้ว ปู่อยากให้หลานบวชให้ปู่สัก ๑ พรรษา หรือ บวชได้สัก ๗ วันก็ยังดี ก็ให้บวชให้ปู่ก็เป็นพอ จะนานเท่าไรก็ได้ ไม่เป็นไร

    หลวงปู่ตื้อท่านปลื้มใจมาก ตอบรับปากปู่ของท่านในทันที แต่ต้องไปขออนุญาตและบอกลาพ่อแม่ก่อน

    เมื่อคุณพ่อคุณแม่ของท่านทราบเรื่อง ก็รู้สึกดีใจกับลูกชาย ทั้งสองท่านอนุญาต และกล่าวคำอนุโมทนาสาธุการกับลูกชายของตน

    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ

    ต่อจากนั้น หลวงปู่ตื้อ ก็ได้เข้าไปอยู่เป็นศิษย์วัด ไปเรียนรู้ธรรมเนียมพระ และฝึกขานนาคเตรียมตัวที่จะบวช

    ในบันทึกไม่ได้บอกถึงวันเวลาและสถานที่บวช ทราบแต่ว่า ท่านบวชในฝ่ายมหานิกาย บวชกับพระอุปัชฌาย์คาน ที่อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    ตามประวัติ บอกไว้ว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่ออายุ ๒๑ ปี บวชครั้งแรกในฝ่ายมหานิกาย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ บวชอยู่นานถึง ๑๙ พรรษา จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑ จึงได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพิศาลสารคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูนพีสีพิศาลคุณ (ทอง โฆสิโต) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงปู่ตื้อ อยู่ในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ๔๖ พรรษาจวบจนท่านละสังขารเมื่ออายุ ๘๖ ปี รวมอายุพรรษาทั้งสองนิกาย ๖๕ พรรษา

    หลังจากที่หลวงปู่ เข้าพิธีอุปสมบทที่อำเภอท่าอุเทนแล้ว ท่านก็กลับไปจำพรรษาที่วัดบ้านเกิด เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยขั้นต้น และท่องบ่นบทสวดมนต์ต่างๆ ตามที่พระเณรใช้สวดกันเป็นประจำ

    เมื่อหลวงปู่ตื้อ บวชครบ ๗ วัน ปู่จารย์สิมของท่านได้มาที่วัด ถามพระหลานชายว่าต้องการจะสึกหรือยังไม่สึก ถ้าสึกจะได้กลับไปจัดเสื้อผ้ามาให้

    หลวงปู่ตื้อ ท่านรู้สึกลังเลในตอนนั้น ใจหนึ่งก็อยากจะสึก ใจหนึ่งก็ไม่อยากสึก แต่มาคิดได้ว่า ถ้าสึกในขณะนั้น ชาวบ้านจะพากันเรียกว่า “ไอ้ทิด ๗ วัน” ทำให้อับอาย จึงบอกปู่จารย์สิมว่า

    “อาตมายังไม่อยากสึก ขออยู่ไปก่อน รอให้ออกพรรษาก่อนเถิด”

    หลวงปู่ตื้อ ท่านก็บวชอยู่ได้จนครบพรรษาแรก ได้หัดท่องหัดสวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน จนจำได้ขึ้นใจ ออกไปสวดงานต่างๆ ในหมู่บ้านรวมกับพระอื่นๆ ได้

    พอออกพรรษาแรกได้เดือนเศษ ปู่จารย์สิมก็มาถามอีกว่าอยากจะสึกแล้วยัง พระหลานชายก็ทำเฉยเสีย เพราะรู้สึกว่าใจคอรู้สึกสงบสบายดีอยู่ ท่านคิดในใจว่า ท่านบวชเรียนแค่พรรษาเดียว การเล่าเรียนพระธรรมยังไม่ได้อะไรเลย การอาราธนาศีล ๕ ศีล ๘ อาราธนาเทศน์ ก็ยังทำได้ไม่คล่อง จำได้ผิดๆ ถูกๆ เมื่อสึกออกไป ถ้าถูกไหว้วานให้นำอาราธนาต่างๆ ถ้าว่าไม่ได้คงจะอายเขาแน่

    หลวงปู่ตื้อ ท่านบอกปู่จารย์สิม ว่าตอนนี้ท่านยังรู้สึกสบายดีอยู่จะขอบวชไปเรื่อยๆ ก่อน

    เข้าเรียนในหลักสูตรนักปราชญ์

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มีอุปนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่ในตัวท่าน ต้องการศึกษาธรรมะในพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งกว้างขวางออกไป

    การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนาที่ถือว่าเป็นสุดยอดในสมัยนั้นเรียกกันว่า “เรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์” คือหัดอ่านเขียนภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเผยแพร่ และจารึกคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ผู้ที่สนใจศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งถึงแก่น จึงจำเป็นต้องรู้ภาษาบาลีอย่างแตกฉาน

    “การเรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์” ซึ่งเป็นการเรียนที่ยากนั้น ผู้เขียนต้องมีความเฉลียวฉลาด ขยัน และอดทนอย่างแท้จริง ถ้าหากใครเรียนจบตามหลักสูตรดังกล่าวจัดว่าเป็น “นักปราชญ์” คือเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยอย่างแท้จริง

    หลังจากออกพรรษาแรกได้เดือนเศษ อยู่ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ หลวงปู่ได้เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนธรรมที่สำนักเรียน วัดโพธิชัย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
    วัดโพธิชัย เป็นสำนักเรียนสนธิ เรียนนาม มูลกัจจายน์ที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น มีท่านพระอาจารย์คาน เป็นเจ้าสำนักเรียน

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ออกเดินทางจากวัดบ้านเกิด เดินทางด้วยเท้าไปเป็นระยะทางกว่า ๕๐ กิโลเมตร ต้องบุกป่าฝ่าดงไปด้วยความยากลำบาก

    หลวงปู่ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนอย่างเอาจริงเอาจัง ใช้เวลารวม ๔ ปี จึงจบตามหลักสูตร จัดว่าเป็น “นักปราชญ์” ที่มีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดีในสมัยนั้น

    เมื่อเรียนความรู้จบตามที่ต้องการแล้ว หลวงปู่ ก็กราบลาพระอาจารย์เจ้าสำนัก เดินทางกลับมาอยู่ที่สำนักเดิม คือ วัดบ้านข่า บ้านเกิดของท่านนั้นเอง

    ตั้งใจศึกษาต่อทางปริยัติธรรม

    ดังกล่าวแล้วว่า หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มีนิสัยใฝ่เรียนใฝ่รู้อยู่ในสายเลือด ท่านประสงค์จะศึกษาค้นคว้าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งต่อไป

    หลังจากที่ท่านกลับมาอยู่วัดบ้านข่าได้เพียง ๓ วัน เท่านั้น ท่านก็ออกเดินทางโดยมุ่งไปเรียนพระปริยัติธรรมที่บางกอก หรือกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของไทย ซึ่งเป็นแหล่งการศึกษาที่เจริญที่สุดของประเทศ

    หลวงปู่ ออกเดินทางด้วยเท้า ร่วมกับพระภิกษุรุ่นราวคราวเดียวกันอีกรูปหนึ่ง ออกเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ ค่ำที่ไหนก็หยุดจำวัดและทำสมาธิภาวนาที่นั่น เดินทางหลายวัน แล้วไปหยุดพักที่จังหวัดอุดรธานีเป็นด่านแรก

    พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ในปัจจุบัน

    เมื่อเดินทางถึงอุดรธานีแล้ว พระภิกษุที่ร่วมเดินทางเกิดคิดถึงบ้าน เปลี่ยนใจอยากกลับบ้านมากกว่าที่จะเดินทางไปกรุงเทพฯ ตามที่ตกลงกันไว้ แม้จะพูดชี้แจงอย่างไร ท่านก็ไม่ยอม ต้องการเดินทางกลับบ้านอย่างเดียว

    หลวงปู่จึงต้องจำใจเดินทางกลับไปส่งเพื่อนพระที่บ้านเดิม ท่านเดินทางไปส่งถึงอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เห็นว่าพระเพื่อนสามารถเดินทางกลับวัดบ้านข่าตามลำพังได้แล้ว จึงได้แยกทางกันหลวงปู่เดินทางกลับอุดรธานี ไปพักที่ วัดโพธิสมภรณ์ ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง

    วัดโพธิสมภรณ์ หรือแม้แต่ตัวจังหวัดอุดรธานีในสมัยนั้นยังมีสภาพเป็นป่าอยู่ ยังไม่มีบ้านเรือนมากมายเหมือนสมัยปัจจุบัน
    เปลี่ยนใจออกปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ไปอาศัยพำนักที่วัดโพธิสมภรณ์ระยะหนึ่ง ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิภาวนา การปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน รู้สึกว่าถูกกับอุปนิสัยของท่าน ท่านจึงเลิกล้มความตั้งใจที่จะเดินทางไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ เปลี่ยนมาเป็นการออกปฏิบัติกรรมฐานแทน

    หลวงปู่ มีความเห็นว่า การปฏิบัติกรรมฐาน เป็นการเดินทางเส้นตรงต่อการบรรลุธรรมอย่างแท้จริง

    หลังจากที่หลวงปู่ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติภาวนาเรียนรู้ข้อวัตรูปฏิบัติเกี่ยวกับการเที่ยวธุดงค์กรรมฐานพอสมควรแล้วท่านก็พร้อมที่จะออกธุดงค์ต่อไป

    เป้าหมายแรกท่านมุ่งออกธุดงค์ไปทางฝั่งประเทศลาว เพราะเป็นที่ที่พระธุดงค์ในสมัยนั้นไปกันมาก เพราะมีความเหมาะสมในการบำเพ็ญภาวนาหลายประการ

    หลวงปู่ เดินทางออกจากจังหวัดอุดรธานี มุ่งหน้าไปทางจังหวัดหนองคาย แวะพักปฏิบัติภาวนา พร้อมกับโปรดญาติโยมชาวบ้านป่าไปเป็นระยะๆ ค่ำที่ไหนก็ปักกลดพักภาวนาที่นั่น

    หลวงปู่ไปแวะพักที่พระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี หยุดบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่นั่นหลายวัน แล้วจึงเดินทางมุ่งไปทางฝั่งประเทศ ลาว

    ข้อมูลเพิ่มเติม : พระพุทธบาทบัวบก ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ประดิษฐานในพระธาตุเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม คล้ายพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่เห็นเป็นรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งสร้างขึ้นทับรอยพระพุทธบาทเดิม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ของเดิมมีลักษณะเป็นแอ่งลึกลงไปประมาณ ๕๐ – ๖๐ ซม. ประทับบนแผ่นหิน ยาวประมาณ ๓ เมตร กว้าง ๙๐ เซนติเมตร เดิมก่อสร้างเป็นมณฑปครอบไว้ ต่อมาจึงรื้อสร้างเป็นพระธาตุ หรือเจดีย์ขึ้นแทน _____ ปฐม นิคมานนท์

    ได้ครูผึ้งมาสอนกรรมฐาน

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งลาวได้พักบำเพ็ญเพียรบริเวณนครเวียงจันทน์เป็นเวลาหลายเดือน
    หลวงปู่ตื้อ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า ท่านได้ไปทำความเพียรที่เชิงภูเขาควายอยู่ ๔ เดือนเต็ม

    คืนแรกที่ไปถึงภูเขาควาย ได้ไปนั่งภาวนาภายในถ้ำเล็กๆ แห่งหนึ่ง เมื่อเริ่มนั่งสมาธิไปได้หนึ่งชั่วโมงเศษ ก็ได้ยินเสียงดังอู้ๆ มาแต่ไกล คล้ายเสียงลมพัดอย่างแรง เมื่อลืมตาดูก็ไม่เห็นอะไร ท่านก็หลับตาทำสมาธิต่อ
    ปรากฏว่ามีผึ้งเป็นหมื่นๆ แสนๆ ตัวมาบินวนเวียนเหนือศีรษะท่าน เสียงคล้ายกับเครื่องบิน

    อย่างไม่คาดคิด ทันใดนั้นฝูงผึ้งก็บินลงมาเกาะตามผ้าจีวรของท่านเต็มไปหมด ท่านต้องเปลื้องจีวรออก ถอดผ้าอังสะออก เหลือนุ่งผ้าสบงผืนเดียว รวบชายสบงด้านหน้า เอาลอดหว่างขาแล้วมาเหน็บไว้ที่ขอบเอวด้านหลัง คล้ายนุ่งผ้าโจงกระเบน รัดขอบขาให้ตึงเพื่อกันไม่ให้ผึ้งชอนไชเข้าไปในผ้าได้

    ในบันทึกไม่ได้กล่าวว่า ท่านนั่งสมาธิต่อ หรือทำประการใด บอกแต่เพียงว่าฝูงผึ้งตอมไต่ยั้วเยี้ยไปตามเนื้อตัวของท่านเต็มไปหมด ไม่มีตัวใดต่อยเนื้อตัวท่านเลย ท่านสงบนิ่งไม่เคลื่อนไหว ใช้ความอดทนรอดูมัน ประมาณ ๒๐ นาที ฝูงผึ้งก็พากันบินจากไป จัดว่าผึ้งฝูงนี้มาเป็นครูสอนกรรมฐานฝึกความอดทนให้หลวงปู่ได้เป็นอย่างดี

    เทวดามาบอกที่ซ่อนทองคำ

    หลังจากที่ฝูงผึ้งกลับไปหมดแล้ว หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ก็นั่งสมาธิต่อ
    เมื่อท่านนั่งไปได้สองชั่วโมงเศษๆ ได้นิมิตเป็นศีรษะคนมีขนาดใหญ่มาก มองเห็นแต่ไกล ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาจนเห็นเต็มร่าง ซึ่งมีรูปร่างใหญ่โตมาก มาหยุดยืนดูท่านอยู่นานพอสมควรโดยไม่ได้พูดจาอะไร หลวงปู่ก็สงบนิ่งดูอยู่
    บุรุษนั้นยืนจ้องท่านนานพอสมควร แล้วก็หันหลังกลับเดินออกไปในทิศทางที่โผล่มา ดูคล้ายกับเดินลึกลงไป ร่างกายส่วนล่างหายไปตามลำดับ แล้วศีรษะอันใหญ่โตก็ลับหายไปอย่างรวดเร็ว

    หลวงปู่ไม่ได้มีอาการหวั่นไหวแต่อย่างใด ท่านนั่งสมาธิภาวนาอยู่ในที่เดิม นั่งอยู่ไม่นานก็ปรากฏเป็นเทวดา ๒ องค์ ใส่มงกุฎสวยงามเข้ามาหาท่าน
    เทวดาองค์หนึ่งพูดขึ้นว่า “ท่านอาจารย์ ห่างจากนี้ไม่ไกลนักมีพระพุทธรูปทองคำ ๑๐ องค์ พระพุทธรูปเงิน ๑๕ องค์ฝังอยู่ ขอให้ท่านอาจารย์ไปเอาขึ้นมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้สักการบูชา เพราะตอนนี้ไม่มีใครอยู่เฝ้ารักษาแล้ว”

    พูดบอกเท่านั้น แล้วเทวดาทั้งสองก็หายไป

    หลวงปู่ ไม่ได้ออกค้นหาพระพุทธรูปตามที่เทวดาบอก เพราะท่านไม่มีความประสงค์ที่จะเสาะแสวงหาทรัพย์สมบัติ แต่มุ่งค้นหาสัจธรรม ตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ภาวนาบนเส้นทางช้างศึก

    แถวใกล้นครเวียงจันทน์ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ไปปักกลดภาวนาบนเส้นทางช้างศึกของเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์ในประวัติศาสตร์ของลาว
    ผู้เขียนเข้าใจว่าน่าจะเป็นเส้นทางเดินทัพของเจ้าอนุวงศ์ในอดีต หลวงปู่ได้ปักกลดภาวนาอยู่บนเส้นทางนั้นหลายคืน ไม่ทราบว่าท่านมีจุดประสงค์ภายในใจอะไร ความจริงพอจะเดาได้ แต่ไม่อยากเดา

    หลวงปู่เล่าให้สานุศิษย์ฟังว่า มีคืนหนึ่ง ท่านได้นิมิตว่ามีวิญญาณหลงทางมาหามากมายจริงๆ ส่วนใหญ่เป็นทหารหนุ่มๆ ทั้งสิ้น เดินผ่านมาทางที่ท่านพักปักกลดอยู่

    ที่ท่านเรียกว่าวิญญาณหลงทาง ก็คือ เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ไม่รู้จักกราบพระไหว้พระ บางคนก็ยืนมองพระเฉยๆ บางคนก็สนุกสนานเฮฮาไปตามเรื่อง
    หลวงปู่ ได้แผ่เมตตาอุทิศบุญกุศลไปให้ ปรากฏว่าไม่ได้ทำให้พวกเขาสามารถระลึกและคลายมานะทิฏฐิได้เลย วิญญาณเหล่านั้นได้แต่มาปรากฏให้เห็นเท่านั้น ก็ได้แสดงกริยาอะไรกับท่านเลย คล้ายกับเป็นวิญญาณที่มืดบอดจากคุณธรรมความดี ท่านจึงเรียกว่าเป็นวิญญาณหลงทาง ยังไม่สามารถชี้แนะในทางดีได้ ท่านก็ปล่อยให้วิญญาณเหล่านั้นผ่านไป

    เดินธุดงค์ไปทางหลวงพระบาง

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้ปักกลดภาวนาในที่ต่างๆ แถวนครเวียงจันทน์อยู่ ๔ เดือนเศษ มีโยมมาขอให้ท่านพักอยู่นานๆ พวกเขาจะสร้างกุฏิถวาย แต่ท่านไม่รับนิมนต์ บอกชาวบ้านเหล่านั้นว่า ท่านตั้งใจจะเดินธุดงค์ขึ้นเหนือไปเรื่อยๆ เป้าหมายอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งคนถิ่นนั้นรู้จักเชียงใหม่ว่าเป็น “เมืองเหนือของไทยใหญ่”

    หลวงปู่ตื้อ ตั้งใจจะไปเสาะหาและฟังคำสอนของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่พำนักอยู่ตามป่าเขาแถบจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงรายในขณะนั้น

    หลวงปู่ตื้อ เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า การออกธุดงค์ครั้งนั้นไปกัน ๖ องค์ แต่ไม่ได้เดินทางไปด้วยกัน ต่างแยกย้ายกันไปแสวงหาที่บำเพ็ญภาวนาตามนิสัยของตน หลายๆ วันจึงจะพบปะกันบ้าง ไต่ถามเรื่องราวกันและกัน แล้วแยกกัน ต่างองค์ต่างไป

    นอกจากพระไทยแล้ว บางครั้งก็พบกับพระพม่าซึ่งท่านเหล่านั้นก็ออกท่องเที่ยวธุดงค์ไปเหมือนกัน

    ออกจากเวียงจันทน์ หลวงปู่ ธุดงค์ไปทางหลวงพระบาง หนทางเดินลำบากที่สุด สภาพทั่วไปเป็นป่าทึบและภูเขาสูงๆ มากมาย บางวันเดินขึ้นเขาสูงๆ แล้วเดินลงไปอีกด้านหนึ่งใช้เวลาทั้งวันก็มี พอตกเย็นค่ำมืด ท่านก็ปักกลดพักผ่อน ทำความเพียรภาวนา เมื่อได้อรุณก็ตื่นและออกเดินทางต่อไป

    บางวันหลวงปู่ ไม่ได้บิณฑบาตและไม่ได้ฉันอาหารเลย เพราะไม่พบบ้านเรือน ต้องเดินทางไปข้างหน้าเรื่อยๆ ท่านบอกว่าถนนหนทางแถวนั้นยากที่สุด รถยนต์ไม่มีโอกาสเข้าไปได้เลย แม้จะเดินเท้าก็ยังยาก รถราไม่เคยมีในถิ่นนั้น

    พบชีปะขาวพาไปดูสมบัติในถ้ำ

    จากบันทึกของลูกศิษย์บอกว่า ในช่วงที่หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เดินธุดงค์จากหลวงพระบาง ไปใกล้จะถึงเมืองแมด เมืองกาสี ท่านเดินออกจากเขาลูกหนึ่ง บริเวณเชิงเขาเป็นป่าละเมาะ มีต้นไม้เตี้ยๆ เดินทางไม่ลำบากเหมือนช่วงที่ผ่านมา

    หลวงปู่ เดินไปเรื่อยๆ ไม่นานก็มองเห็นเขาอีกลูกหนึ่งข้างหน้า ไกลออกไปท่านมองเห็นชีปะขาวนั่งสมาธิอยู่บนก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ท่านจึงเดินตรงเข้าไปหา
    พอหลวงปู่เดินเข้าไปใกล้จะถึง ก็มองเห็นชีปะขาวนั่งสมาธิอยู่ไกลออกไปเช่นเดิม ท่านก็เดินเข้าไปหาอีก นึกแปลกใจว่าทำไมหินก้อนนั้นจึงเคลื่อนที่ออกไปได้ ท่านเพ่งมองแล้วก็เดินเข้าไปหาต่อไป

    เมื่อเข้าไปใกล้ ปรากฏว่าไม่ใช่ชีปะขาว แต่กลายเป็นก้อนหินที่มีรูปร่างเหมือนคนนั่งสมาธิอยู่ ใกล้ๆ กันนั้นมีแอ่งน้ำธรรมชาติ มีน้ำใสไหลเย็น ประกอบกับเป็นเวลาเย็นใกล้ค่ำ หลวงปู่ จึงตัดสินใจกางกลดเพื่อพักบำเพ็ญเพียร ณ ที่นั้น เพราะท่านรู้สึกเหนื่อยอ่อนมาหลายวัน

    ตกกลางคืน ขณะที่ท่านนั่งสมาธิกำหนดจิตอยู่ ได้เกิดนิมิตเห็นชีปะขาวเหมือนที่พบเมื่อตอนกลางวัน เข้ามาหา แล้วบอกหลวงปู่ว่า

    “ขอนิมนต์ท่านอยู่ที่นี่นานๆ ข้าน้อยจะสอนวิชาเดินป่าที่ไม่รู้จักอดอยากให้ และจะพาไปดูสมบัติต่างๆ ภายในถ้ำ ท่านอยากได้อะไรก็จะมอบให้หมด”
    หลวงปู่ ได้ถามชีปะขาวว่า “เมื่อกลางวัน โยมนั่งสมาธิอยู่บนก้อนหินนั้นใช่ไหม?”

    ชีปะขาวกราบเรียนว่าใช่ แต่ที่ทำหายตัวห่างออกไปเรื่อยๆ นั้นเพราะ “ต้องการให้ท่านได้มาหยุดพักผ่อนตรงนี้ พวกข้าน้อยนี้เป็นพวกกายทิพย์ มีวิมานอยู่ในสถานที่นี้”

    หลวงปู่ได้กล่าวขอบใจ และอนุโมทนากับความหวังดีของชีปะขาวแล้วท่านบอกเขาว่า

    “อาตมาเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า กำลังปฏิบัติตามรอยพระบาทของพระองค์ ไม่ต้องการสมบัติทั้งหลายที่ท่านจะมอบให้หรอก ขณะนี้เราต้องการรู้เพียงว่า จะเดินไปทางไหนจึงจะถึงบ้านคนได้ง่าย เพระเราไม่ได้ฉันอะไรเลยเป็นเวลา ๕ วันมาแล้ว”

    ชีปะขาวตอบว่า “สิ่งที่ท่านต้องการยังอยู่ไกลมาก แต่ถ้าท่านพยายามเดินทางให้เร็ว ก็จะถึงเร็ว”

    กราบเรียนดังนั้น แล้วชีปะขาวก็หายไป

    ได้ฉันอาหารวันแรกหลังออกจากหลวงพระบาง

    เมื่อภาพนิมิตชีปะขาวหายไปแล้ว หลวงปู่ตื้อก็ยังอยู่ในสมาธิต่อไป พอลืมตาขึ้นท้องฟ้าก็สว่างได้อรุณวันใหม่

    หลวงปู่ รีบออกเดินทางตามที่ชีปะขาวบอก เดินไปไม่ไกลก็พบหมู่บ้านชาวป่า มีประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน เมื่อท่านหาที่พักบริขารได้แล้วก็เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน

    มีคนมาใส่บาตรท่าน ๕-๖ คน แสดงว่าหมู่บ้านแห่งนี้เคยมีพระธุดงค์มาโปรดสั่งสอนแล้ว แม้พูดกันไม่รู้เรื่อง พวกเขาก็ยังรู้จักใส่บาตรพระ

    นับเป็นวันแรกที่หลวงปู่ได้ฉันอาหาร นับตั้งแต่เดินทางออกจากหลวงพระบางเมื่อ ๕ วันที่แล้ว

    พวกชาวบ้านป่าเรียกตนเองว่า “พวกข้า” พวกเขาได้แสดงอาการขอให้หลวงปู่พักอยู่ด้วยนานๆ แต่ท่านก็แสดงอาการให้รู้ว่า ท่านขอบอกขอบใจ และไม่สามารถอยู่ด้วยได้ ท่านมีกิจต้องเดินธุดงค์ต่อไปเรื่อยๆ

    เมื่อฉันภัตตาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ ก็ออกธุดงค์ต่อไป

    ธุดงค์เข้าไปในเขตพม่า

    เมื่อหลวงปู่ตื้อฉันอาหารจากการบิณฑบาตในวันนั้นแล้ว ท่านก็เดินทางต่อไป ท่านเดินไปตามภูเขาและดงไม้เข้าถึงเมืองทั้งห้าทั้งหก แล้วเข้าสู่เขตพม่า ในบริเวณเมืองเชียงตุง

    ในสมัยนั้น ประชาชนชาวพม่าเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก พระสงฆ์องคเจ้าก็มีมากและได้รับการอุปถัมภ์เลี้ยงดูจากประชาชนเป็นอย่างดี

    หลวงปู่ออกธุดงค์ตามป่าเขา หลีกเร้นจากการเข้าพักบริเวณบ้านผู้คน นอกจากเข้าไปบิณฑบาตพอได้อาศัยเท่านั้น

    หลวงปู่ ได้พบปะกับพระพม่าอยู่บ่อยๆ พระเถระผู้เฒ่าก็มี สามเณรก็มี พวกท่านเหล่านั้นกางกลดบำเพ็ญเพียรอยู่ตามป่าเขาห่างไกลบ้านผู้คน

    บางครั้งหลวงปู่ได้ปักกลดภาวนาด้วยกันกับพระพม่าก็มี ท่านเล่าว่าชนชาวพม่าก็สนใจในธรรมกรรมฐานมากพอสมควร พระสงฆ์และสามเณรชาวพม่าบางท่านได้ออกเดินธุดงค์กรรมฐาน ชนิดไม่กลับวัดเลย คือหายสาบสูญไปเลยก็มีมาก
    หลวงปู่ บอกว่า พระพม่านี้เก่งในทางคาถาอาคมมาก บางครั้งเมื่อพบกัน พระชาวพม่ามักสอนคาถาต่างๆ ให้ เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางในถิ่นทุรกันดาร

    เดินทางกลับประเทศไทย

    หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ได้เล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังว่า ช่วงเดินธุดงค์ในเขตพม่านั้นเป็นการเดินทางที่ยากลำบากที่สุด รวมทั้งไม่สะดวกหลายอย่างเกี่ยวกับการถือเคร่งตามพระวินัย

    เส้นการเดินทางที่สบายๆ ไม่มีเลย ถ้าวันไหนได้เดินไปตามเชิงเขาแล้วก็รู้สึกสบายบ้าง แต่มักจะเป็นระยะสั้นๆ แค่ ๒-๓ กิโลเมตรเท่านั้น ส่วนมากมีแต่ขึ้นเขา เข้าป่ารก เฉลี่ยการเดินทางในวันหนึ่งๆ ได้เพียง ๗-๑๐ กิโลเมตรเท่านั้น ถ้าหากสุขภาพไม่แข็งแรงและจิตใจไม่เข้มแข็งจริงๆ แล้ว ก็คงต้องอาพาธป่วยไข้ ทำให้ลำบากและทุกข์ทรมานมากขึ้น

    หลวงปู่บอกว่า การภาวนาตามป่าเขานั้น จิตสงบดีมาก แม้การเดินทางจะลำบาก แต่ก็สัปปายะดี สำหรับเรื่องสัตว์ร้าย ผีสางเทวดานั้นไม่มีปัญหาอันใดเลย กลับได้อารมณ์กรรมฐานดีเสียอีก ได้ประโยชน์ในการบำเพ็ญภาวนาเป็นอย่างมาก

    อุปสรรคสำคัญในการเดินธุดงค์ในเขตพม่าได้แก่ ความไม่สะดวกเกี่ยวกับเรื่องพระวินัยบางข้อ หลวงปู่จึงได้ธุดงค์มุ่งกลับมาเมืองไทย ท่านเข้ามาทางจังหวัดน่าน ลงไปเขตเมืองแพร่ แล้วเดินธุดงค์ไปบริเวณจังหวัดเลยตอนเหนือ ระยะการเดินทางนับร้อยๆ กิโลเมตร พบที่ใดเหมาะสมก็ปักกลดภาวนาที่นั่น บำเพ็ญเพียรอย่างไม่มีการลดละเลย เป็นช่วงที่บำเพ็ญเพียรได้ดีมาก สุขภาพก็แข็งแรงไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยเลย

    ข้อมูลจาก : หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม วัดป่าอรัญญวิเวก

    [​IMG]

    เจดีย์ฯ ที่บรรจุอัฐิของหลวงปู่ก่อนเข้าอาคารพิพิธภัณฑ์

    [​IMG]

    อาคารพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ฯ

    [​IMG]

    ดอกไม้ ธูปเทียน ถวายหลวงปู่

    [​IMG]

    ตู้บรรจุพระอรหันตธาตุภายในอาคารพิพิธภัณฑ์

    [​IMG]

    บางภาพจะเห็นพระธาตุอยู่ภายในด้วยค่ะ..

    [​IMG]

    รูปเหมือนของหลวงปู่ตื้อ

    [​IMG]

    ตู้โชว์วัตถุมงคล และเครื่องอัฐบริขาร

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ๘. วัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร (หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธฺมโม)

    [​IMG]

    ประวัติและปฏิปทา หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธฺมโม

    วัดกัลยาณธัมโม (วัดป่าโชคไพศาล)
    ต.นาซอ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม” มีนามเดิมว่า แตงอ่อน บุตรศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณนา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ นายพันธ์ บุตรศรี มารดาชื่อ นางมุ่ย บุตรศรี ต่อมา ครอบครัวของท่านได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านหนองนาหาร ตำบลนาซอ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร


    ๏ การบรรพชาและอุปสมบท

    ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ วัดเสบุญเรือง ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยมีพระอาจารย์อินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดเสบุญเรือง ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยมีพระอาจารย์อินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์


    ๏ ญัตติเป็นธรรมยุต

    หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม ได้ญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๗ ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมี พระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    [​IMG]
    พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล)


    ๏ มอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น

    ภายหลังจากได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงตาแตงอ่อนได้ไปอยู่ศึกษาธรรม ข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

    หลวงตาท่านเล่าว่า “ในพรรษา ๔ ก่อนที่จะเดินทางเข้าไปที่วัดป่าบ้านหนองผือนั้น ได้นิมิตถึงท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อท่าน ท่านมาปรากฏให้เห็นขณะหลวงตากำลังนั่งสมาธิอยู่ โดยนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น เดินมายืนตรงหน้า แล้วหันหลังกลับมานั่งสมาธิทับองค์หลวงตา จากนั้นหลวงตาก็ตื่นขึ้น และคิดว่าสงสัยเราจะได้เข้าไปบ้านหนองผือแน่ ครั้นไปถึงที่วัดบ้านหนองผือแล้ว หลวงตาจึงทราบว่า เป็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่น”

    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ประทับใจครั้งแรกในเมตตาธรรมของหลวงปู่มั่น ช่วงที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือว่า “เราจะไปกราบนมัสการท่าน เห็นพระภิกษุสามเณรเอาน้ำร้อนเข้าไปให้ท่านฉัน พระเณรขึ้นไปกราบท่าน เราก็ขึ้นไปด้วย ท่านทักว่า “พระมาจากไหน” แล้วท่านเมตตาถามว่า “ท่านจะไปไหน ?”

    หลวงตากราบเรียนท่านว่า “กระผมคิดจะกลับไปบ้านวา”

    ท่านกล่าวว่า “อันนี้ไม่โมทนานำแล้ว ลงไปนั่นมันร้อน ไปภาวนาข้างนอกมันร้อน อยู่แถวภูเขานี้ดีกว่า” เรียกว่าท่านให้โอกาสแล้ว ท่านจะให้อยู่แล้วนี่ ให้อยู่ถิ่นของท่านมันเย็นอยู่แล้ว หมู่เพื่อนภิกษุมาจับแขนแล้วบอกว่า “ท่านให้อยู่นะนี่ ไปขอนิสัยกับท่านอยู่เด้อ” พอเสร็จธุระแล้วหลวงตาครองผ้าจีวร ไปกราบขอนิสัยกับท่าน หลวงตาเลยอยู่ด้วยกับท่าน ไม่ได้ออกไปไหนจนท่านมรณภาพลง”

    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ว่า “ท่านมีกิจวัตรประจำทุกวันแหละ ท่านเดินจงกรมทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าท่านออกจากห้องมีพระมารับบริขาร บาตร จีวร ของท่านไปสู่ที่ฉัน ส่วนท่านก็เดินจงกรมก่อน เสร็จแล้วก็กลับขึ้นไปศาลา แล้วครองจีวรไปบิณฑบาต

    เมื่อถึงเวลาท่านออกจากวัดไปบิณฑบาตนั้น ภิกษุสามเณรออกไปรอท่านที่บ้านหนองผือก่อน เมื่อท่านไปถึงก็นำบาตรมาถวายท่าน แล้วก็เดินตามท่านเป็นแถว ชาวบ้านหนองผือจะตั้งแถวรอใส่บาตร ๓ สายด้วยกัน พอท่านรับบิณฑบาตแล้วก็ไปนั่งม้านั่งที่เขาเตรียมไว้ เพื่อจะให้พร ยถา สัพพี.....ฯ แก่เขา แล้วก็เดินไปรับบิณฑบาตและให้พรจนครบทุกสายก็กลับวัด

    ญาติโยมบ้านหนองผือ ไม่ค่อยมารับพรในวัดหรอกเพราะท่านให้พรในหมู่บ้านทุกวันแล้ว อุบาสกอุบาสิกามีไม่มาก มาแต่เฉพาะผู้ชายที่มารับใช้ภิกษุสามเณร ล้างบาตร ล้างกระโถน และเก็บสิ่งเก็บของ ถ้ามีโยมผู้หญิงมาปฏิบัติ ท่านให้ไปอยู่กับแม่ชีข้างนอก (บ้านพักแม่ชีอยู่นอกวัด) โยมเอาอาหารมาวางที่หอฉัน

    ผู้ชายเขาก็เก็บมา ผู้หญิงเข้ามาใกล้ไม่ได้ ท่านไม่ให้เกี่ยวข้องกับฆราวาสผู้หญิง หลังจากท่านฉันจังหันแล้วเป็นอันว่าเสร็จกิจวัตรของท่านในช่วงเช้า จากนั้นท่านก็ขึ้นกุฏิพักผ่อน จะมีพระภิกษุที่เคยมานวดเส้นนวดถวายท่านเป็นประจำ พอท่านพักผ่อนแล้ว ท่านก็ลุกมานั่งสมาธิ บางทีท่านก็นั่งอยู่โคนต้นไม้ในตอนกลางวัน บางวันท่านก็เดินดูภิกษุสามเณรซักผ้าจีวร แล้วท่านก็เดินดูบริเวณรอบๆ วัด พอสมควรก็กลับกุฏิ

    พอย่ำค่ำท่านอบรมภิกษุสามเณร มีอยู่ตลอดทุกวัน ใครจะศึกษาธรรมะ กราบขอโอกาสเรียนถามท่าน ท่านก็อธิบายธรรมะธัมโมเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้ภิกษุสามเณรฟัง ฟังอยู่ที่นั้นก็เข้าใจดี ได้พิจารณาอาคันตุกะภิกษุที่อยู่ในนั้นก็ได้ยินได้ฟังด้วยกัน ท่านอบรมสั่งสอนให้เดินจงกรมภาวนานั่งสมาธิ มีความพากเพียรเราก็ทำไปตามคำสอนของท่านนี่แหละ มีโอกาสเวลาใดก็ไปนั่งสมาธิเดินจงกรมภาวนาไม่ว่าเช้า-เย็น-กลางคืน

    กติกาของท่านนั้น เช้า-เย็น ต้องทำความเพียรตลอด ตื่นแต่เช้ากวาดวัดเสนาสนะก่อนท่านพระอาจารย์มั่นออกจากห้อง ตอนเย็นก็ช่วยกันกวาดวัด บริเวณวัดและกุฏิที่พัก ภิกษุสามเณรต้องปฏิบัติตามข้อวัตร การตักน้ำใช้นั้นเปลี่ยนกันตักน้ำขึ้นจากบ่อ ตักน้ำตักสองคน พวกหาบก็หาบไปใส่ไว้ทุกกุฏิ บ่อน้ำในวัดป่าบ้านหนองผือ ไปตักไม่เคยแห้งใสปานแก้ว สองคนตักๆ เทใส่ องค์นี้ก็ตักเทจ๊าก องค์นั้นก็ตักเทจ๊าก เปลี่ยนกันทำ พวกหามก็หามไป น้ำบ่อไม่ลึก เอาไม้ขอตักเอา”

    ขอบคุณข้อมูลจาก (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่) .. :: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?ҡ??ͨ͹ ?Ś’??ځ⁦lt;/a>


    [​IMG]

    หลวงตาในอิริยาบทสบาย ๆ ทักทายญาติโยมที่มาทำบุญที่วัด
    ได้ถวายสังฆทาน และทำบุญสร้างพระธาตุเจดีย์กับท่านด้วยค่ะ

    [​IMG]

    พอท่านเห็นเรากำลังแอบถ่ายภาพท่านอยู่ ท่านก็ถาม..เราก็เพิ่งจะเจอหลวงตาครั้งแรกก็รู้สึกเกร็ง ๆ แต่ก็ตอบท่านไปว่า ถ้าขอท่านแล้วกลัวท่านไม่ให้ถ่าย เพราะอยากเก็บภาพกลับมาให้เพื่อน ๆ ร่วมอนุโมทนากัน ท่านก็ยิ้ม ๆ แล้วก็ห่มจีวรให้เรียบร้อย เสร็จแล้วก็บอกว่า "เอ้า!! แต่งตัวเสร็จแล้ว ตามสบายเลยทีนี้" สาธุค่ะ..หลวงตา..

    [​IMG]

    หลังจากที่ได้สนทนากับหลวงตา ท่านก็เมตตาถามว่าเดินทางมาจากที่ไหน?? เมื่อคืนไปพักยังงัย สบายมั๊ย?? พวกเรารู้สึกสดชื่นขึ้นทันทีเลย
    พอถึงเวลาท่านก็ออกจากศาลากลับไปพัก..

    [​IMG]

    หลังจากนั้นก็เก็บภาพบรรยากาศโดยรอบมาฝากกันต่อไป..:cool:

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ๙. วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน)

    [​IMG]

    พระอาจารย์บุญหนา ธมฺมทินฺโน บรรพชาเป็นสามเณร ปฏิบัติอุปัฏฐากครูอาจารย์อยู่ถึง ๑๒ ปี โดยเฉพาะอยู่กับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์ผู้ใหญ่รูปหนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร ในช่วงที่ท่านเป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนนั้น ท่านเคยไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผืออยู่เสมอ ๆ ท่านเล่าว่า สาเหตุที่ได้บวชเป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนนั้น เพราะอาจารย์อ่อนท่านเดินธุดงค์มาพักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผลหรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นท่านบวชเป็นสามเณรแล้ว แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย ได้ ๔ พรรษา พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก ประกอบด้วยตัวท่านเองมีความเลื่อมใสการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสให้ท่านสนใจไปฟังการอบรมภาวนา และอุปัฏฐากใกล้ชิกกับพระอาจารย์อ่อนตั้งแต่นั้น ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต และติดตามพระอาจารย์อ่อนเรื่อยมา

    ท่านเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือครั้งแรกก็ไปกับพระอาจารย์อ่อนผู้เป็นพระอาจารย์ของท่าน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) และญาติโยม ๔-๕ คน ออกจากวัดผ่าบ้านหนองโดกหลังฉันจังหันเหสร็จประมาณ ๓ โมงเช้า โดยเดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้นหนองโดก ผ่านไปทางบ้านโคกกะโหล่งหรือบ้านคำแหวปัจจุบัน แล้วปีนเขาขึ้นสู่ถ้ำน้ำหยาด อันเป็นที่พักแห่งหนึ่งของคนเดิน คณะของท่านก็เดินตามทางนั้นไปเรื่อย ๆ ใช้เวลานานพอสมควร จึงไปถึงที่พักของคนเดินทางอีกแห่ง ตรงนั้นเป็นลำห้วยเล็ก ๆ อยู่ฟากเขาใกล้บ้านหนองผือ น้ำใสเย็นไหลตลอดแ ชื่อว่าห้วยหมากกล้วย ถึงช่วงนี้พระอาจารย์อ่อนผู้เป็นหัวหน้าจึงพูดขึ้ยอย่างเย็น ๆ ว่า "เอาล่ะ ถึงที่นี่แล้ว ให้พักผ่อนเอาแฮงสาก่อน...." และพระอาจารย์ก็รับผ้าอาบจากสามเณรเอามาพับครึ่งแล้วปูลงบนพลาญ (ลาน) หิน เสร็จแล้วท่านก็นั่งลงขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นการพักเหนื่อยตามวิธีของท่าน สำหรับสามเณรพร้อมญาติโยมที่ไปด้วยต่างแยกาย้ายหาที่พักเหนื่อย โดยการหามุมสงบทำสมาธิของแต่ละคนไปตามอัธยาศัย จนตะวันบ่ายคล้อยอากาศเริ่มเย็นสบาย จึงพากันออกจากสมาธิแล้วเตรียมเดินทางต่อไป

    ท่านเล่าต่อไปอีกว่า ถึงวัดป่าบ้านหนองผือเวลาประมาณบ่าย ๓ โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัดของท่าน รู้สึกว่าร่มรื่นสงบเงียบเหมือนกับไม่มีพระเณร แต่ลานวัดสะอาด เห็นแล้วพลอยทำให้จิตใจท่านสงบเย็นไปด้วย ดูสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในวัดก็จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เดินไปอีกหน่อยหนึ่ง เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้คนตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อนพร้อมคณะก็เข้าไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่นที่บนกุฏิท่าน เสร็จแล้วกลับลงมาไปกาที่พักปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อซึ่งมีบ่ออยู่ท้ายวัด ตักขึ้นเทใส่ปี๊บ ใช้ผ้าขาวกรองที่ปากปี๊บ เมื่อเต็มแล้ว พระผู้ที่จะหาม ๒ รูปใช้ไม้คานหามสอดที่ห่วงปี๊บ ถ้าต้องการหลายปี๊บก็สอดเรียงซ้อนกันมากน้อยตามกำลังสามารถ อย่างมากประมาณ ๔ ถึง ๖ ปี๊บ ในแต่ละเที่ยว เอาไปเทตามโอ่งที่ล้างบาตรที่ล้างเท้าหน้าศาลาหอฉัน และตามกุฏิพระเณร ห้องถาน (ห้องส้วม) จนเต็มหมดทุกที่ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิท่าน ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อยผสมพอให้อุ่น ๆ เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อมเพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายท่านอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา (พระอาจารย์บุญหนา ธมฺมทินฺโน) มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย

    ท่านเล่าว่าตัวท่านเองเป็นสามเณรร่างเล็กพอได้แทรกเข้าไปกับพระซึ่งส่วนมากมีร่างกายใหญ่โตทั้งนั้น เช่น พระอาจารย์ทองคำ พระอาจารย์คำพอง พระอาจารย์อ่อนสา พระอาจารย์มหาบัว และอีกหลาย ๆ ท่าน เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส.." เสียงท่านน่าฟังมาก แต่เณรไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอลแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้นสำหรับที่เป็นคติธรรมตามที่ท่านได้เข้าสัมผัสวัดป่าบ้านหนองผือครั้งสมัยท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ที่นั่น ท่านได้สังเกตุเห็นว่า แม้พระเณรจะมีเป็นจำนวนมาก การทำกิจวัตร เช่น ตักน้ำใช้ น้ำดื่ม กวาดลานวัด ปัดห้องน้ำห้อส้วม ตลอดทั้งล้างกระโถน กาน้ำ กรองน้ำใส่โอ่งไห และทำการงานอื่น ๆ จะไม่ปรากฏเสียงพระเณรพูดคุยกัน ถึงจะพูดคุยกันก็เพียงกระซิบกระซาบ เห็นแต่อาการปากขมุบขมิบเท่านั้น คนอื่นไม่ได้ยินด้วย นี่ก็เป็นคติธรรมอันหนึ่ง ให้มีสติระมัดระวังตัวไม่ประมาท

    ท่านจึงเกิดอุบายธรรมขึ้นมาว่า เรื่องสติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงแยู่อย่างนี้เสมอ แล้วเล่าต่อไปว่า ท่านได้ฟังมาจากพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อาจารย์ของท่านเอง เล่าเรื่องของท่านพะรอาจารย์เสาร์เทศน์สั้น ๆ ว่า กายสุจริตํ วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ เอวัง... แล้วท่านก็ลงจากธรรมาสน์ไป

    หลังจากท่านพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือได้ระยะหนึ่งแล้วก็ธุดงค์ออกไปกับพระอาจารย์อ่อน หาความสงบวิเวกอยู่ใกล้ละแวกนั้น จนกระทั่งทราบข่าวท่านพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือไปพักวัดป่ากลางโนนภู่ สุดท้ายมรณภาพที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ท่านสามเณรบุญหนากับพระอาจารย์อ่อนก็ได้ติดตามไปด้วยตลอด และไปพักอยู่ช่วยงานเตรียมเมรุชั่วคราว ถวายเพลิงศพท่านพะรอาจารย์มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จนเรียบร้อยหมดทุกอย่าง จึงออกเที่ยวธุดงค์ต่อไป ​

    ปัจจุบันนี้หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินฺโน ท่านพำนักบำเพ็ญสมณธรรม อบรมพุทธบริษัทอยู่ที่วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร​

    คัดลอกจากหนังสือบูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร


    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มีนาคม 2010
  13. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    ๑๐. วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร (หลวงปู่บุญพิน กตปุญฺโญ)

    [​IMG]

    [​IMG]

    วัดผาเทพนิมิต ถึงแม้ว่าอยู่ในระหว่างสามจังหวัดบรรจบกันได้แก่ จังหวัดสกลนคร จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดอุดรธานี ซึ่งอยู่บริเวณเทือกเขาอันเป็นบริวารแห่งภูพาน

    แต่เนื่องจากทางเข้าวัดต้องผ่านบ้านดงสว่าง อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร วัดนี้จึงได้ขึ้นอยู่กับจังหวัดสกลนคร วัดผาเทพนิมิตสร้างมาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว โดยมีพระครูสุวิมลบุญญากร หรือที่ลูกศิษย์เรียกกันในนามหลวงปู่บุญพิน กตปุญฺโญ ซึ่งเป็นพระเถระประธานสงฆ์
    ในวัดผาเทพนิมิต และในแถบอำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคนเป็นต้น

    หลวงปู่บุญพิน ท่านได้เมตตาแนะนำญาติโยมพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดสกลนคร และจังหวัดใกล้เคียงให้อยู่ในสัมมาปฏิบัติ อันเป็นไปตามหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่ การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นต้น นับว่าท่านเป็นหลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    ศาลาภายในวัด

    [​IMG]

    พระแก้วมรกตทรงเครื่องทรงทั้ง 3 ฤดู..งดงามมาก ๆ


    [​IMG]

    เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุภายในวัด

    [​IMG]

    อีกด้านนึงของพระเจดีย์ฯ..

    [​IMG]

    ต้นอะไรก็ไม่รู้ เห็นสวยแปลกดี เลยเก็บภาพมาฝากกันค่ะ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,129
    อนุโมทนา สาธุ ... ปิติไปกับคุณเจงและคณะ ครับ


    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  15. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    อนุโมทนา สาธุ ดูแล้วเกิดปิติร่วมกับทุกคนในคณะที่ไปด้วยค่ะ
     
  16. AddWassana

    AddWassana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    11,698
    ค่าพลัง:
    +21,186
    [​IMG]
    ดูเหมือนมีคนชี้บอกที่บ้านสวน(คนอื่น)ว่า... "ต้นสะตอที่กำลังออกดอกค่ะ"
     
  17. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    เค้าอยากไปกราบแม่ชีแก้วอ่ะ เคยอ่านประวัติมานิดหน่อย ศัทธาท่านจังเลยล่ะ
    อนุโมทนาบุญกะตะเองและเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านที่ร่วมในการนี้นะคะ สาธุ สาธุ สาธุ

    [​IMG]
     
  18. sonthya

    sonthya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,489
    ค่าพลัง:
    +8,797
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  19. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530

    อนุโมทนาค่ะ..เกิดปิติเกือบทุกวัดเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่ได้ฟังเทศนาโอวาทจากหลวงปู่อ้ม หลวงปู่อว้าน และหลวงปู่แบนด้วย

    โดยเฉพาะได้ฟังจากหลวงปู่แบน..โอ้ย!!..น้ำเกือบท่วมวัด..:'(

    สาธุทั้งหมด ทั้งมวลค่ะ..

     
  20. หญิงจัน

    หญิงจัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    962
    ค่าพลัง:
    +2,655
    กว่าจะเข้ามาดูได้..........

    อนุโมทนาสาธุ กับพี่เจง ด้วยนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...