‘น้ำพระราชหฤทัย’ยิ่งใหญ่ ชุบชีวิต’ชาวกัมพูชา’ลี้ภัย

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 12 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    ใครที่ชื่นชอบท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ คงคุ้นชื่อสถานที่แห่งนี้ “ศูนย์ราชการุณย์ฯ” หนึ่งน้ำพระราชหฤทัยอันยิ่งใหญ่หาที่เปรียบมิได้ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่มีต่อ “ชาวกัมพูชาลี้ภัย”

    โดยพระองค์ทรงเป็น

    “แม่ของแผ่นดิน” และทรงแบ่งเบาพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชการที่ 9 มาโดยตลอด ดังกระแสพระราชดำรัสในการที่อุทิศพระองค์ช่วยเหลือชาวกัมพูชาที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบารมีว่า “ฉันตัดสินใจที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เหล่านี้ เท่าที่กำลังความสามารถของฉันจะมี”

    e0b8a3e0b8b2e0b88ae0b8abe0b8a4e0b897e0b8b1e0b8a2e0b8a2e0b8b4e0b988e0b887e0b983e0b8abe0b88de0b988.jpg

    b8a3e0b8b2e0b88ae0b8abe0b8a4e0b897e0b8b1e0b8a2e0b8a2e0b8b4e0b988e0b887e0b983e0b8abe0b88de0b988-1.jpg

    8a3e0b8b2e0b88ae0b8abe0b8a4e0b897e0b8b-2e0b8a2e0b8a2e0b8b4e0b988e0b887e0b983e0b8abe0b88de0b988-2.jpg

    เมื่อย้อนกลับไปในครั้งอดีต เหตุการณ์ในวันที่ 26 พ.ค. 2522 นับได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันสูงสุด…

    “นายสุวรรณ พิมลแสงสุริยา” ผจก.ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน เล่าให้ฟังว่า ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน จ.ตราด เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ได้พระราชทานความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมชาวกัมพูชาอพยพ จำนวนนับแสนคนที่หนีภัยสงครามในประเทศ เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร บริเวณบ้านเขาล้าน ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด

    e0b8b-3e0b88ae0b8abe0b8a4e0b897e0b8b-3e0b8a-3e0b8a-3e0b8b4e0b988e0b887e0b983e0b8abe0b88de0b988-3.jpg

    0b8b-4e0b88ae0b8abe0b8a4e0b897e0b8b-4e0b8a-4e0b8a-4e0b8b4e0b988e0b887e0b98-4e0b8abe0b88de0b988-4.jpg

    พระองค์ท่าน ได้เสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงเยี่ยมและพระราชทานความช่วยเหลือผู้อพยพเหล่านั้น เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2522 และทรงรับสั่งให้ตั้งศูนย์ฯ นี้ ถือเอาวันที่ 26 พ.ค. เป็นวันสถาปนาศูนย์ฯ”

    ด้วยเหตุที่มีชาวกัมพูชา อพยพเป็นจำนวนมาก พวกเขาเหล่านั้นล้วนอดอยาก หิวโหย และเจ็บป่วย เกินกำลังความสามารถของทางจังหวัดที่จะดูแลช่วยเหลือได้ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุรีพระบาท พระองค์ทรงตรัสสินพระราชหฤทัยพระองค์เอง จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยม และพระราชทานความช่วยเหลือชาวกัมพูชาอพยพ จากพระราชวังไกลกังวน อ.หัวหิน จ.ประจวบคิรีขันธ์ โดยมิได้ทรงคำนึงถึงความปลอดภัยส่วนพระองค์ เนื่องจากผู้อพยพที่บ้านเขาล้าน เป็นสถานที่อยู่ใกล้ชายแดน อาจมีกระสุนปืนใหญ่หรือจรวดตกเข้ามาได้

    จากนั้นได้ทรงประทับ ฮ.พระที่นั่ง ไปลงบริเวณที่ชาวกัมพูชาอพยพ อยู่ที่บ้านเขาล้าน และเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมผู้อพยพทันที ท่ามกลางแดดเปรี้ยงตอนกลางวัน โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย ทั้งยังทรงช่วยทำที่พักชั่วคราวให้ผู้อพยพ ทอดพระเนตรเห็นผู้อพยพทั้งหญิง คนชรา และเด็กทุกคนซูบผอม นอนบ้างนั่งบ้าง พิงอยู่โคนต้นไม้ ไม่มีหลังตากันแดดกันฝน ไม่มีห้องสุขา ตลอดเส้นทางต้องหลีกเลี่ยงสิ่งปฏิกูลที่ผู้อพยพถ่ายไว้

    8b-5e0b88ae0b8abe0b8a-5e0b897e0b8b-5e0b8a-5e0b8a-5e0b8b-5e0b988e0b887e0b98-5e0b8abe0b88de0b988-5.jpg

    8b-6e0b88ae0b8abe0b8a-6e0b897e0b8b-6e0b8a-6e0b8a-6e0b8b-6e0b988e0b887e0b98-6e0b8abe0b88de0b988-6.jpg

    ระองค์ท่าน ทรงรับสั่งให้เลขาธิการสภากาชาดไทย จัดตั้งศูนย์ฯ ทันที เพื่อดูแลชาวกัมพูชา และรับสั่งว่าถ้าไม่เห็นธงกาชาดขึ้นที่นี่ จะยังไม่เสด็จกลับหัวหิน ผู้ว่าฯ จึงสั่งให้ทุกฝ่ายช่วยกัน ตัดต้นสน 2 ต้น ทำเสาธง ติดตั้งธงชาติและธงกาชาด ชักธงขึ้นสู่เสา”

    สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชการที่ 9 ทรงเข้าพระราชหฤทัยดีว่า ประเทศที่ 3 จะรับผู้อพยพเหล่านี้ จะเลือกผู้ที่มีความสามารถประกอบอาชีพได้ จึงพระราชทานครูศิลปาชีพมาฝึกให้ผู้อพยพ เช่น ช่างไม้ ช่างเหล็ก จักสาน ช่างตัดเสื้อ ช่างตัดผม รวมทั้งสอนภาษาไทย อังกฤษ เขมร สอนการเพาะปลูกผักโตเร็ว เพื่อนำมารับประทาน ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เพื่อนำประกอบอาหารที่มีประโยชน์ทางโภชนาการ

    กระทั่งผ่านไป 7 ปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย มีพระราชบัญชา ให้สภากาชาดไทยปิดศูนย์เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2529 โดยย้ายผู้อพยพที่เหลืออยู่จำนวน 195 คนไปที่ศูนย์กาบเชิง จ.สุรินทร์ เมื่อศูนย์ฯ ปิดลง สภากาชาดไทยได้ขอให้กองทัพเรือ ส่งทหารเข้ามาดูแลพื้นที่จนถึงปัจจุบัน

    8b-7e0b88ae0b8abe0b8a-7e0b897e0b8b-7e0b8a-7e0b8a-7e0b8b-7e0b988e0b887e0b98-7e0b8abe0b88de0b988-7.jpg

    ทั้งนี้เมื่อปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานแนวทางการพัฒนาไว้ 3 ประการ คือ

    1.จัดสร้างพิพธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ได้พระราชทานความช่วยเหลือชาวกัมพูชาอพยพ โดยเสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2535 และได้พระราชทานนามอาคารพิพิธภัณฑ์นี้ว่า “ศาลาราชาการุณย์”

    2.ปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นค่ายพักแรมของเยาวชน ทั้งยุวกาชาด, ลูกเสือ, เนตรนารี, นักเรียน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ

    3.จัดเป็นที่พักผ่อน เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ด้านมนุษยธรรม อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    นับตั้งแต่นั้นมา…ศูนย์ราชการุณย์สภากาชาดไทย เขาล้าน จ.ตราด จึงแปรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงความเป็นมาของผู้อพยพ เมื่อพ.ศ.2522-2529 มีทั้งหุ่นจำลองเท่าของจริง ภาพถ่าย ภาพวาด และสิ่งของที่ผู้อพยพนำติดตัวมา รวมทั้งงานฝีมือที่ได้รับการสอนจากครูศิลปาชีพ.

    …………………………………
    คอลัมน์ : รายงานพิเศษ
    โดย “ทวีลาภ บวกทอง”


    [embedded content]

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/591237
     

แชร์หน้านี้

Loading...