‘ยังเละ!’แม้จะไม่แรง ‘รับมือภัยพิบัติ’ มีแผนแต่’ขาดอะไร?’

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 29 กันยายน 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    news_CXEIOUMFxY102159_533.jpg


    แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ตั้งอยู่ใน “พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติรุนแรง” แต่ก็ไม่สามารถมองข้ามการ ’เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ“ ได้ เพราะทุกครั้งที่ต้องเผชิญภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น แม้ไม่ใช่ระดับรุนแรงขั้นวิกฤติเหมือนกับหลาย ๆ ประเทศ แต่เมื่อเกิดแล้วก็ก่อให้เกิดผลกระทบด้านชีวิตและทรัพย์สินไม่น้อย อย่างเช่นกรณีล่าสุด กับ “พายุโซนร้อนทกซูรี” ที่แม้จะผ่านประเทศไทยแค่ผิว ๆ แต่ก็ทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากพายุลูกดังกล่าวไม่น้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม กับผลกระทบต่อประเทศไทยจากกรณี ’ภัยธรรมชาติ“ ที่เกิดขึ้นในระยะหลัง ๆ นั้น ก็ทำให้หลาย ๆ คนอดรู้สึกสงสัยไม่ได้??…

    ทั้งที่ประเทศไทยก็มี ’แผนรับมือภัยพิบัติ“

    เหตุใดความเสียหายถึงดูรุนแรงยิ่งขึ้น??…

    เกี่ยวกับ แผนรับมือภัยพิบัติของประเทศไทย นั้น ที่ผ่านมาก็มีความเคลื่อนไหวของภาครัฐในการจะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา กับการรับมือและป้องกันภัยพิบัติมาตลอด โดยตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 12 ได้ระบุให้หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่รับผิดชอบและจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง แต่กระนั้น…หลายครั้งที่เกิดเหตุการณ์ ดูเหมือนยังไม่ค่อยสามารถดำเนินการตามแผนได้ครบถ้วน?ดูเหมือนยัง ขาดองค์ประกอบสำคัญในหลายมิติ ? ดูเหมือน…

    ’แผนรับมือภัยพิบัติ“ ยังขาดความสมบูรณ์?

    ทั้งนี้ กับแนวทางที่จะทำให้เรื่องนี้ดีขึ้นนั้น ก็เคยมี “ข้อเสนอแนะ” เกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ อย่างรายงานวิจัยเรื่อง โครงการเรียนรู้อยู่กับภัยพิบัติ : นิเวศวัฒนธรรม สื่อ รัฐ กับพลวัตชุมชน ตั้งแต่ปี 2557 โดย นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ภายใต้ทุนสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่นำ ประสบการณ์การจัดการรับมือภัยพิบัติของชุมชนในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (อุทกภัย) จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ นครศรีธรรมราช, พิษณุโลก, พิจิตร, นครสวรรค์, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม, สงขลา, ภูเก็ต มา “ถอดบทเรียน”

    ใช้ “ประสบการณ์ชุมชน” เป็น “กรณีศึกษา”

    จนได้ค้นพบ…“เครื่องมือบรรเทาภัยพิบัติ”

    ที่อาจเป็นอีกทางเลือกเพื่อการแก้ปัญหานี้

    ในรายงานวิจัยฉบับดังกล่าวได้อธิบายถึง ’เครื่องมือ“ ที่ใช้ ’บริหารจัดการ“ เกี่ยวกับ ’ภัยพิบัติชุมชน“ ก่อนและหลังการเกิดภัยพิบัติ ว่า…ประกอบด้วย 9 ชิ้น คือ…1.ผังประวัติศาสตร์ภัยพิบัติชุมชน ที่เป็นแผนผังรวบรวมเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งชุมชนใช้เป็นข้อมูลเพื่อร่วมกันวิเคราะห์เงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะส่งผลต่อการเพิ่มหรือลดความเสียหายในแต่ละช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติได้, 2.แผนที่ชุมชน ที่เป็นการระบุตำแหน่งสถานที่สำคัญ ๆ และพื้นที่เสี่ยงของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าใจถึงมิติกายภาพ, 3.ผังเครือญาติ ที่เแสดงถึงความสัมพันธ์ในระบบเครือญาติในชุมชนนั้น ๆ

    4.ผังเครือข่ายและองค์กรชุมชน ที่ใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้ชุมชนได้เล็งเห็นถึงความหลากหลาย และช่วยให้ชุมชนเข้าใจถึงเครือข่ายและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ทั้งแบบทางการและไม่เป็นทางการ ในฐานะทุนทางสังคมของชุมชน ว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง, 5.ระบบสื่อสารชุมชน ที่รวบรวมช่องทางสื่อสารซึ่งชุมชนสามารถจะใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้บริหารจัดการการสื่อสารให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับงานภัยพิบัติได้ เช่น ระบบแจ้งภัย ระบบเตือนภัย, 6.ตารางทุนชุมชน เพื่อให้ชุมชนประยุกต์ใช้ขีดความสามารถที่มีอยู่สำหรับการรับมือภัยพิบัติ

    7.ปฏิทินชุมชน–ปฏิทินภัยพิบัติ ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมและเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น ประเพณีชุมชน วันสำคัญ หรือช่วงที่เคยเกิดภัยธรรมชาติเพื่อใช้วางแผน ใช้ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้า, 8.ระบบสุขภาพ และการแพทย์ฉุกเฉิน ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความสำคัญต่อการดูแลกลุ่มเปราะบางในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ, 9.เรื่องเล่าภัยพิบัติ ที่เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเรื่องเล่าและประสบการณ์ของคนในชุมชน…เหล่านี้ก็เป็น ’เครื่องมือจัดการภัยพิบัติชุมชน“ ทั้ง 9 ชิ้น ที่นักวิชาการค้นพบจากการถอดบทเรียนในอดีต…

    จากชุมชนที่เคยรับมือภัยพิบัติ–ภัยธรรมชาติ

    โดยการนำกรณีศึกษาที่เคยเกิดมาวิเคราะห์

    ทั้งนี้ สำหรับวัตถุประสงค์การศึกษาวิจัยดังกล่าวนี้ ในรายงานวิจัยฉบับนี้ได้มีการเน้นย้ำว่า…เพื่อช่วยให้ชุมชนเห็นภาพการจัดการภัยพิบัติของชุมชนที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อที่จะได้นำมาใช้ กำหนดยุทธศาสตร์การรับมือ ให้ความช่วยเหลือ ในยามที่เกิดภัยพิบัติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านเครื่องมือจัดการภัยพิบัติชุมชน

    นอกจากนั้น ยังต้องการชี้ให้เห็นถึง ความสำคัญของการส่งเสริมให้ชุมชนเกิดความรู้ด้านการรับมือภัยพิบัติ และการเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับภาครัฐ และกับชุมชน ในเรื่องการคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และการเกิดความพร้อมมากที่สุดของชุมชน ในการ

    รับมือภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    ไม่ ’เสียหายมากซ้ำ ๆ“ อย่างที่ยังเป็นอยู่!!!.


    ขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/601137
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กันยายน 2017
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    ปัญหาความล่าช้าคือท้องถิ่นยังมีการปกครอง
    โดยข้าราชการพลเรือน
    อย่างไรก็ตามหากเกิดภัยพิบัติรุนแรง รัฐบาล
    ทหารย่อมบรรเทาภัยได้เร็วกว่ารัฐบาลพลเรือน
    หลาย 10 เท่าคัาบโผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...