“ผมเลือกเกิดไม่ได้ แต่ผมเลือกที่จะเป็นได้” ร.ศ.คิม ไชยแสนสุข

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย MBNY, 9 พฤศจิกายน 2010.

  1. MBNY

    MBNY Administrator ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2003
    โพสต์:
    6,860
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +22,504
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=570 height=866><TBODY><TR><TD class=style26 height=272><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=570 height=238><TBODY><TR><TD class=style29 rowSpan=2 width=370>การดำรงชีวิต..ที่ต้องดิ้นรน..ใจกลางเมืองหลวง


    ผมเกิดและเติบโตที่ชุมชนจารุเมือง สมัยก่อนเขายังไม่เรียกว่า 'ชุมชน' แต่ เขาเรียกกันว่า 'สลัม' และในปัจจุบันนี้ไม่มีชุมชนนี้อยู่แล้ว เพราะบริเวณนั้นได้เปลี่ยนเป็น สนามกีฬา คือสนามศุภชลาศัยนั้นเอง ผมเป็นลูกชายคนโต มีน้องอีก ๕ คน พ่อและแม่มีอาชีพค้าขาย ผมตามพ่อแม่ไปขายของด้วยทุกวันตั้งแต่เกิดก็ว่าได้ และเมื่อมีน้องก็ต้องช่วยแม่ดูน้องพอโตขึ้นหน่อย ไม่ต้องช่วยแม่เลี้ยงน้องแล้ว แต่ต้องไปช่วยพ่อ ขายของที่ตลาด เพื่อนในวัยเดียวกัน เขาไปโรงเรียน แต่ผมต้องไปขายของ

    พ่อผมเป็นคนจีน ท่านเป็นคนที่ขยัน อดทน ไม่ย่อท้อ ผมไม่เคยได้ยินท่านบ่นว่า 'เหนื่อย' เลย กลับจากขายของ เราก็ทานอาหารกันพร้อมหน้า ทานอาหารเสร็จ พ่อก็จะสอนหนังสือ สอนอ่านสอนเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาจีน พ่อบอกผมเสมอว่า ต้องอ่านออกเขียนได้จะได้ทันคน พ่อผมสอนหนังสือให้ผม ซึ่งในความคิดของผม ผมว่าผมรู้มากกว่านักเรียนอาชีพเสียอีก นักเรียนอาชีพหมายถึงนักเรียนที่มีหน้าที่เรียนหนังสืออย่างเดียว เพราะถึงเวลาที่เพื่อน ที่เป็นนักเรียนอาชีพเลื่อนชั้นกัน ผมก็เลื่อนชั้นด้วย แต่ผมไปสอบเทียบ สอบเทียบตั้งแต่ชั้นประถม จนถึงมัธยมหก ไม่เคยเลยทั้งชีวิต ไม่เคยใส่เสื้อนักเรียนหรือถือกระเป๋านักเรียนอย่างที่เพื่อนๆ เขาใส่ เขาถือกัน ในทุกๆ วัน ผมได้รับความรู้จากพ่อ และจากชีวิตจริง

    </TD><TD width=220 align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=style33 width=220 align=middle>รองศาสตราจารย์คิม ไชยแสนสุข
    อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD class=style29 height=216>ชีวิตที่ก้าวผิดไม่ได้...ทั้งความคิดและการกระทำ


    สภาพที่อยู่อาศัยจะอยู่กันอย่างแออัด หลากหลายชีวิต หลากหลายครอบครัว เมื่อโตขึ้นจึงมีเพื่อนมากมายทั้งหญิงและชาย ซึ่งมีทั้งคนดีและคนไม่ดี เมื่อสมัยก่อน 'ชุมชน' หรือ 'สลัม' จะเป็นแหล่งของนักเลง นักพนัน แหล่งเสพติด วัยรุ่นส่วนใหญ่จะสูบบุหรี่กันทั้งนั้น
    เมื่อผมกลับจากขายของ พ่อก็จะสอนหนังสือให้ทุกวัน ผมเองก็มีความสนใจในการเรียน ผมสนใจที่จะอ่านหนังสือให้ออก อยากเขียนหนังสือได้ เวลาส่วนใหญ่จึงหมดไปกับการอ่านหนังสือ ผมอ่านหนังสือทุกชนิด

    มีความสุขที่ได้ทำงาน...ได้ช่วยพ่อขายของ...ไม่เคยน้อยใจที่ไม่ได้ไปโรงเรียน

    ไม่เคยมีความรู้สึกน้อยอก น้อยใจ ที่ไม่ได้ไปโรงเรียน แต่กลับมีความสุข ที่ได้ช่วยพ่อขายของในหลายๆ ครั้ง ที่เจอเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เคยขอดูหนังสือหรือวิชาที่เขาเรียนมา ทำให้เรารู้ว่า ที่เราได้อ่านได้เรียนจากที่พ่อสอน เรารู้มากกว่า...เราเก่งกว่าเพื่อน...(หัวเราะ)
    เมื่อตอนสอบเทียบชั้นมัธยมหกได้คะแนนสอบที่ถือว่าสูงที่สุด ทำให้คิดว่าจะต้องเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย

    เมื่อต้องตัดสินใจเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย...ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ คือแรงบันดาลใจ

    ผลของการสอบเทียบระดับมัธยมหก ทำให้เกิดกำลังใจที่จะศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย จึงได้ขวนขวายหาหนังสืออ่านเพื่อให้เกิดแนวทาง เพื่อจะได้ศึกษาต่อ ก็บังเอิญได้อ่านบทความของอาจารย์ป๋วย (ศ.ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์) ซึ่งผมได้อ่านและศึกษาบทบาทของท่าน ที่มีต่อการศึกษาและบ้านเมืองในเวลาต่อมา จึงเป็นแรงบันดาลใจ ทำให้ผมเลือกเรียนเศรษฐศาสตร์

    รู้จักตนเอง...รู้สภาพครอบครัว...รู้บทบาทหน้าที่และด้วยความรับผิดชอบ

    เมื่อถึงเวลาสอบเอนทรานซ์ ผมไม่ได้ไปสอบ เพราะผมรู้ว่าถึงผมสอบเอนทรานซ์ติด ผมก็ไม่มีสิทธิ์เรียน เพราะจะทำให้ผมไม่มีเวลาทำงาน ผมต้องทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ผมจึงเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะเศรษฐศาสตร์ เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย

    เกียรตินิยมอันดับสอง ในเวลาเพียงสามปี ด้วยความมุ่งมั่น และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ผมมีความตั้งใจที่อยากจะเป็น 'ครู'

    ได้เป็น 'ครู' ในรั้วมหาวิทยาลัย

    เมื่อจบปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับสอง จึงสมัครเข้าเป็นเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงและหลังจากนั้นจึงขอทุนเพื่อศึกษาต่อ ในระดับปริญญาโท ที่นิด้า และได้จบปริญญาโท ภายในสองปี และสอบเข้าเป็น 'ครู' คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ในเวลาต่อมา และเป็น 'ครู' ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบัน

    จาก 'ครู' สู่ผู้บริหาร

    มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความหลากหลาย หลากหลายทั้งสังคม ศาสนาและฐานะ กล่าวคือ มีนิสิตที่มาจากครอบครัว ตั้งแต่ยากจนที่สุด ขนาดที่ว่าข้าวเช้า ข้าวกลางวัน ก็ไม่มีจะรับประทานกัน อันนี้เป็นเรื่องจริงนะครับ ไปจนกระทั่งพวกเศรษฐีร้อยล้านพันล้าน หมื่นล้านก็มี เพราะฉะนั้นในความแตกต่างตรงนี้ ในส่วนของผู้ที่มีมากล้นเหลือ เราคงไม่ต้องไปดูแลอะไรมากมาย

    ส่วนสำคัญที่เราต้องดูแลคือ กลุ่มนักศึกษาที่ขาดแคลนดูแลให้เขาได้มีโอกาส คือ หนึ่งมหาวิทยาลัยจะต้องให้ช่องทางในแง่โลกทัศน์ ว่าเขาไม่ใช่คนด้อยโอกาสในสังคม แต่เขาสามารถสร้างตัวของเขาเองได้ ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะมุมานะ เขาจะเรียนรู้หรือไม่ สังคมไทยเป็นสังคมเปิด สังคมไทยไม่มีชนชั้นวรรณะ เพราะฉะนั้นเขาสามารถจะไต่เต้าไปสู่ความสำเร็จในชีวิตได้ ซึ่งอยู่ที่ตัวของเขาเอง แม้ว่าจะมีทุนทรัพย์เพียงน้อยนิด มหาวิทยาลัยก็ดูแล ไม่มีทุนก็มาขอทุน มีทั้งทุนเรียนดี ทุนยากจน ทุนฉุกเฉินแบบไม่มีจะกินแล้ว ไม่มีเงินลงทะเบียนมาขอลงทะเบียนฟรี มาคุยปัญหากัน

    ถ้าหากเขาไม่มีจริงๆ เราก็มีการพิสูจน์ว่าต้องไม่มีจริงๆ ไม่ใช่ว่าไปเล่นการพนันแพ้ แล้วมาขออย่างนี้ไม่ได้ เราก็มีคณะกรรมการสืบค้น โดยการสืบค้น คือสืบจากคนข้างเคียง สืบจากครอบครัว เพียงเท่านี้เราก็มีหลักฐานพอที่จะอนุมัติความช่วยเหลือได้ จำนวนทุนเราก็มีไม่อั้นสำหรับการช่วยเหลือ

    จากประสบการณ์ชีวิต...สู่การให้โอกาสทางการศึกษา

    หากนักศึกษาต้องการอาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ มหาวิทยาลัยจะช่วยเหลือโดยการจ้างให้ช่วยงาน ตามคณะต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย เป็นงานเล็กๆ น้อยๆ ตามความถนัดของแต่ละคน เรียนไปด้วยทำงานไปด้วย ก็พอจะมีรายได้ในการดำรงชีพไปได้
    เมื่อปีที่แล้วผมได้เดินทางไปยังต่างจังหวัด ก็ได้มีโอกาสเจอกับลูกศิษย์รามคำแหงที่ปัจจุบันเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด

    ผมจำได้เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว เขาก็เป็นลูกจ้างมหาวิทยาลัย เขามาเรียนโดยที่ไม่มีเงิน ไม่มีเงินเช่าหอพัก ไม่มีเงินกินข้าว ต้องอาศัยอยู่ที่วัด แล้วมาเป็นเด็กรับจ้างพับข่าวของมหาวิทยาลัย สมัยนั้นได้เงินวันละ ๓๐ บาท เขาสู้ชีวิตจนวันนี้ เขาได้เป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด

    ที่สำคัญคือค่าหน่วยกิต ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงถูกมาก ๔ ปี ยังไม่ถึงหมื่นและเรายังไม่คิดที่จะเพิ่มค่าหน่วยกิจ เพราะหวังที่จะสร้างโอกาสให้แก่ผู้ที่ต้องการการศึกษา

    ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างไร

    หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มีความชัดเจนมาก หากไม่รู้จักพอประมาณผมคงจะมาอยู่ตรงนี้ไม่ได้ ชีวิตผมคงจะล้มเหลวไปแล้ว และหากไม่ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผลชีวิตผมคงจะล้มเหลวไปตั้งแต่เด็กๆ แล้ว เพราะผมอยู่ในสังคมที่มีความเสี่ยงต่ออบายมุขสูงมาก เราก็หลีกเลี่ยงตรงนั้นมาได้ด้วยการใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผล

    ข้อคิดอันหนึ่งที่ได้รับมาเป็นแรงดลใจมาโดยตลอด ก็คือเรื่องการมีภูมิคุ้มกันทุกอย่างต้องรู้จักเผื่อเหลือเผื่อขาด เราต้องคิดว่าความสำเร็จมันไม่ได้มีอยู่ทุกวัน วันหนึ่งเราอาจจะเจอปัญหาอุปสรรคขึ้นมา เพราะฉะนั้นทั้งเรื่องครอบครัว เรื่องรายได้ทุกอย่างต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด ทำมาหากินมาได้ทุกอย่างก็ต้องเผื่อเหลือเผื่อขาด

    ผมเป็นคนที่ถูกอบรมมาอย่างนั้นและใช้ชีวิตมาอย่างนั้น คือไม่ฟุ่มเฟือย เงินที่ทำงานได้มามันก็พอมีอยู่แต่ก็ไม่กล้าที่จะใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เงินที่จะซื้อบ้านอย่างสุขสบายก็พอจะมีหรือจะใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในการจะทำธุรกิจส่วนตัวก็สามรถที่จะทำได้แต่ผมก็ไม่เคยประมาท

    ผมก็ดีใจที่สุด ที่ครั้งหนึ่งผมเคยลงทุนในตลาดหุ้นแล้วก็สามารถผ่านพ้นวิกฤติ เมื่อปี ๒๕๔๐ ไปได้ เรียกว่าผ่านไปอย่างเส้นยาแดงผ่าแปด แล้วมองย้อนกลับไปดูว่า ถ้าหากเราไม่รู้จักเรื่องพอประมาณ เราไม่รู้จักคิดถึงเรื่องภูมิคุ้มกัน ถ้าหากว่าโลภไม่รู้จักจบจักสิ้น ป่านนี้ผมคงจะแย่ไปแล้วหรืออาจจะล้มละลายไปแล้วก็ได้ ยิ่งเป็นการย้ำเตือนว่าชีวิตต้องรู้จักความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน

    เมื่อผมก้าวมาสู่ ตำแหน่งอธิการบดี ผมบอกเลยว่านโยบายอันดับแรกคือ ผมจะบริหารมหาวิทยาลัย ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เริ่มต้นจากเรื่อง การจัดซื้อจัดจ้างทุกอย่าง ก็สอนให้ทุกคนรู้จักพอประมาณ ไม่ใช่ซื้ออย่างฟุ่มเฟือย เงินทองพวกนี้มันเป็นเงินหลวงทั้งนั้น ควรจะใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทางราชการ เพราะฉะนั้นทุกอย่างจะต้องคิดถึงหลักความพอประมาณ

    ผมได้พยายามให้ผู้บริหารทุกคนรู้ว่าหากไม่ใช้หลักในข้อนี้ วิกฤติสามารถเกิดได้ทุกเวลา เพราะเราเป็นส่วนราชการ เวลาที่ประเทศประสบปัญหา ส่วนราชการก็จะพลอยมีปัญหาไปด้วย งบประมาณก็จะถูกตัด เมื่องบประมาณถูกตัด หากเราไม่คุ้นเคยกับการอยู่อย่างประหยัดเราจะอยู่ไม่เป็น แต่หากเราฝึกจนเป็นนิสัยเมื่อเจอวิกฤติขึ้นมา เราก็ตั้งรับได้ เพราะเราคุ้นเคยกับการไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ฟุ่มเฟือย ตรงนี้เป็นข้อสำคัญที่สุด รวมไปถึงเรื่องของความซื่อสัตย์ ความไม่ซื่อสัตย์ต่อตำแหน่งหน้าที่ ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผมเคร่งครัดมากในการบริหาร เน้นเรื่องซื่อสัตย์สุจริตเพราะทุกคนที่เป็นข้าราชการจะต้องดูแลเงินทุกบาททุกสตางค์ของทางราชการ
    สิ่งที่อยากจะทำที่สุดเลยก็คือ ผมมองว่าลูกศิษย์รามคำแหงเรามีมากมายทั่วประเทศ ผมจึงอยากจะใช้โอกาสตรงนี้เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพยายามจะทำโครงการอันหนึ่งเรียกว่า "โครงการสร้างตัวทวีคูณในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งทำมา ๒ ปีกว่าแล้ว

    เดิมทีนักศึกษามหาวิทยาลัย จะนิยมทำงานที่บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ อาทิ การไปออกค่าย ผมก็บอกกับพวกเขาว่าบทบาทด้านนั้น เป็นสิ่งดี เป็นการฝึกฝนให้มีจิตสาธารณะ แต่เดี๋ยวนี้การที่จะไปสร้างโรงเรียน สร้างห้องสมุด ฯลฯ ในที่ต่างๆ นั้น เราสู้ อบต. ไม่ได้ เพราะเขามีงบประมาณมากกว่าเราทำได้ดีกว่าเรา เราจึงต้องเปลี่ยนบทบาท เป็นค่ายเศรษฐกิจพอเพียง เปลี่ยนจากค่ายที่จะไปสร้างถาวรวัตถุเป็นค่ายเศรษฐกิจพอเพียงโดยส่งนักศึกษาลงไปให้ความรู้ในเรื่องของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    นักศึกษาที่ถูกส่งไป ทุกคนต้องเข้าอบรมหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนเรียกได้ว่าความรู้ความเข้าใจ แน่นพอสมควร เวลาที่ลงไปในพื้นที่ชนบทหรือที่ใดก็ตามสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้ตรงนี้ได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน ตนเองรู้แล้วอย่ารู้คนเดียวต้องสอนให้คนอื่นเขารู้ต่อๆ ไป นี่คือตัวทวีคูณในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    ข้อดีที่เราพบก็คือเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้เขาจะกลายเป็น "คนพอเพียง" ดังนั้นชีวิตปฏิบัติของพวกเขาจะให้ทำตัวเหมือนเด็กกะโปโล เด็กแวนซ์ หรืออะไรก็ตามเขาทำไม่ได้ เขารู้สึกละอาย เขาจะมีความประพฤติดี การแต่งกายก็ดี กิริยามารยาทก็ดี จิตใจก็ดีและมีจิตสาธารณะ ๒ ปีที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมโครงการหลายพันคน

    มีความแตกต่างด้านความคิดของนักศึกษาบ้างหรือไม่

    สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความกตัญญู รู้จักที่จะมีความกตัญญูต่อแผ่นดิน ต่อประเทศชาติ ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เรามีกิจกรรมที่ถือปฏิบัติทุกปี คือให้นักศึกษาทุกรุ่นปฏิญาณตนต่อพ่อขุนรามคำแหง ว่าจะมีความกตัญญูต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ใครจะไปคิดนอกลู่นอกทางไม่ได้

    ที่นอกลู่นอกทาง อาจจะพอมีบ้างที่เขาอาจจะจ้างวานไปทำในสิ่งไม่สมควร แต่ก็จำนวนไม่มาก เราก็คิดว่าเราสามารถควบคุมได้ รามคำแหงเป็นสังคมเปิด ที่บางครั้งอาจจะมีผู้หลักผู้ใหญ่หรือกลุ่มบุคคลที่มาชี้นำให้นักศึกษาไปในแนวทางต่างๆ อาจจะนอกลู่นอกทางไปบ้าง แต่ในสิทธิเสรีภาพทางความคิด มหาวิทยาลัยก็จะไม่ก้าวล่วงของคนที่จะเรียนรู้ แต่ขอบเขตของการเรียนรู้ ก็ต้องมีขอบเขตพอสมควรและการเรียนรู้นั้นต้องไม่ไปทำลายสิ่งที่เป็นหัวใจของคนไทย หรือส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของคนไทย

    แนวทางการใช้ชีวิตที่จะก่อสุขได้อย่างยั่งยืน

    อยากให้ดูตัวอย่างคนจีน ที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย หากเขาไม่รู้จัก 'ความพอเพียง' ทุกวันนี้เขา ไม่มีทางอยู่ดีมีสุขได้อย่างที่มีในทุกวันนี้หรอกครับ ที่อยู่ได้เพราะผลมาจาก 'ความพอเพียง' ลองดูว่าคุณค่าของ 'ความพอเพียง' มันมีคุณค่ามากมายขนาดไหน เสื่อผืนหมอนใบสะสมจนเป็น 'เจ้าสัว' ขึ้นมาได้ จะเห็นได้ว่าตรงนี้เป็นรูปธรรมที่สุด และสิ่งเหล่านี้ ก็ตกทอดต่อมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน แต่คนจำนวนมาก เดี๋ยวนี้มองข้ามสิ่งดีๆ เหล่านี้ไป อย่านึกว่าวันนี้รวยแล้ว วันหน้าคุณจะรวยตลอดไป มันเป็นไปไม่ได้ต้องสร้าง 'ภูมิคุ้มกัน' ให้แก่ตนเอง เราเชื่อมั่นว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักชัยของชีวิตที่คนไทยพึงปฎิบัติตามได้อย่างไม่ต้องสงสัย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    ที่มา<TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780 background=../images/fon_top.jpg align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TD height=138 vAlign=top width=582>
    [​IMG]สัมภาษณ์บุคคลสำคัญ
    www.AriyaPlus.com
    บทสัมภาษณ์บุคคลสำคัญ การดำเนินชีวิตประจำวันและปฏิบัติตน โดยยึดแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    http://www.ariyaplus.com/scoop/scoop_47.php<!-- google_ad_section_end -->
     
  2. Tanunchapat

    Tanunchapat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    631
    ค่าพลัง:
    +3,191
    ขอบคุนท่าน จขกท ที่ได้นำบทความดี ๆ มาให้อ่านค่ะ มีประโยชน์มาก น่าจะให้กำลังใจกับคนด้อยโอกาส แต่ไม่ด้อยปัญญาได้ดีทีเดียว

    อจ.คิม คะ ดิฉันอยากจะบอกว่า ที่อจ. เป็นได้อย่างงี้ ส่วนนึงมาจาก "จิตใฝ่ดี ใฝ่สูง" ของ อจ. แต่ อีกส่วนที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าตัว อจ.เอง ก้อคือ คุณพ่อของ อจ.ค่ะ ดิฉันขอเรียกท่านว่า "อภิชาติบิดร" นะคะ

    ถ้าคนทุกคน มีจิตสำนึกในบทบาทของตนเอง คำว่า กิเลส ตัณหา ราคะ โมหะ โทสะ คงไม่มีในพจนานุกรม
     

แชร์หน้านี้

Loading...