วันศุกร์ ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564, 11.25 น.
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๖๔ พระธรรมวัชรบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เป็นประธานเปิดปฐมนิเทศนิสิตใหม่ระดับบัณฑิตวิทยาลัย จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มจร นำโดยพระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รองศาสตราจารย์ ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มจร พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้และสร้างความสุขในระดับบัณฑิตวิทยาลัย” กล่าวความสำคัญว่าว่า ขออนุโมทนากับทุกหลักสูตรภาคใต้บัณฑิตวิทยาลัย โดยคณาจารย์ได้เอาใจใส่การเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างดียิ่ง แม้จะอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติโดยมีการบันทึกไว้เพื่อสามารถรับย้อนหลังได้ โดยบัณฑิตวิทยาลัยกำกับมาตรฐานการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและจัดการศึกษาในสาขาพระพุทธศาสนาและปรัชญา
ในการบริหารการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในช่องทางออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยยึดนิสิตเป็นสำคัญที่สุด โดยตั้งคำถามว่าอะไรคือความรู้ อะไรคือปัญญา การเรียนรู้กับความรู้มีความสัมพันธ์อย่างไร โดยมองการเกิดของปัญญาผ่านสุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา โดยมีการพัฒนาการคือ “ข้อมูล ความจำ ความเข้าใจ สังเคราะห์ วิเคราะห์” โดยความรู้ของคนอื่นคือถือว่าเป็นข้อมูลเท่านั้นแต่ยังไม่ถึงระดับปัญญา จึงมีสุภาษิตว่า “ความรู้ท่วมเขาเอาตัวไม่รอด” เราจึงต้องพัฒนาไปสู่การเกิดของปัญญา จึงมีปัญญา ๓ ระดับ ประกอบด้วย ๑)ปัญญาที่ติดตัวตั้งแต่เกิด ๒)วิปัสสนาปัญญา ปัญญาเห็นแจ้ง ๓)ปัญญาในการจัดการบริหารชีวิตตนเอง จึงย้ำว่านิสิตระดับบัณฑิตศึกษาปริญญาโทปริญญาเอกจะต้องผ่านวิปัสสนาปัญญา จะต้องฝึกปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงต้องออกการเรียนรู้ให้นิสิตได้ลงมือปฏิบัติผ่านกายภาพและจิตตภาพ
โดยหลักสูตรต่างๆ จะต้องจัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้นิสิตลงมือปฏิบัติผ่านกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ โดยการเรียนรู้จะต้องมีความรู้ซึ่งปกติเรามักจะหาความสุขจากภายนอกโดยลืมหาความสุขจากภายในจิตใจของตนเองสอดรับนิทานเชนเกี่ยวโคหาย โดยโคไม่ได้หายไปไหนเปรียบเสมือนความสุขที่อยู่ในจิตใจของตนเอง ความสุขอยู่ในหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในทางพระพุทธศาสนา โดยเราศึกษาปริยัติคือ เก่ง ปฏิบัติคือดี ปฏิเวธคือมีความสุข โดยมุ่งดีเก่งมีความสุขในการเรียนรู้ สอนให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัส ในระดับปริญญาเอกจะต้องมอบหมายงานแล้วนำมาสะท้อนกันเพื่อการพัฒนา ระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องฝึกการเขียนต้องลงมือเขียน หลักสูตรต่างๆ จะต้องออกแบบการเรียนรู้ให้นิสิตมีความสุขในการเรียนเพราะการบรรยายได้ ๕ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นิสิตต้องลงมือปฏิบัติจะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาจะต้องเรียนรู้ผ่านภาวนา ๔ คือ ด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตภาพ และด้านปัญญาภาพ สอดรับกับกระบวนการเรียนรู้ผ่าน IQ EQ SQ ซึ่งโลกปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเทคโนโลยี แต่เราเรียนพระพุทธศาสนาเพื่อบริหารจัดการชีวิตให้มีความสุขบริหารจัดการชีวิตให้รอด เรียนพระพุทธศาสนาเพื่อให้บริหารจัดการองค์กร
การจัดการเรียนการสอนจะต้องสร้างบรรยากาศในการสอนแม้จะเป็นการสอนแบบออนไลน์ การสอนต้องไม่ใช่วิชาการแห้งๆ จะต้องมีชีวิตชีวา ผู้สอนจะต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยสุนทรียะปูชนียะ สร้างความแข็งแกร่งให้นิสิตมีความเป็นกัลยาณมิตรธรรม เพื่อให้นิสิตเกิดศรัทธาและปัญญาโดยให้ความสำคัญในทุกมิติแม้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของทุกศาสนาอื่นๆ เราต้องไม่ดูถูกความเชื่อของคนอื่นด้วยการเคารพซึ่งกันและกัน การเรียนรู้จะต้องได้ ๓ วิชาคือ วิชาการ วิชาชีพ และวิชาชีวิต การสอนจึงต้องให้ตรงจริตของผู้เรียน โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยยังทำหน้าที่พัฒนาจิตใจเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทุกรูปแบบ เป็นพุทธนวัตกรรมมีบูรณาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคมไป
จากนั้นนิสิตบัณฑิตศึกษาทุกหลักสูตรได้มอบตัวเป็นศิษย์กับครูอาจารย์ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติระหว่างศิษย์กับครูอาจารย์ โดยมี พระธรรมวัชรบัณฑิต ศาสตราจารย์ ดร. อธิการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธาน ในโอกาสนี้ท่านอธิการบดี มจร และคณาจารย์ได้ต้อนรับนิสิตบัณฑิตศึกษาสู่รั้วมหาจุฬาอย่างเป็นกัลยาณมิตร โดยมุ่งให้เรียนรู้ถึงวิปัสสนาปัญญา ส่วนคณาจารย์สอนให้ชีวิตสามารถนำปัญญาในการจัดการบริหารชีวิตตนเองเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขระดับบัณฑิตศึกษา
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รองศาสตราจารย์ ดร. คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขอต้อนรับนิสิตบัณฑิตวิทยาลัย ประกอบด้วย “สาขาพระพุทธศาสนา สาขาปรัชญา สาขาสันติศึกษา สาขาพุทธนวัตกรรมการสื่อสาร” จำนวน ๑๑๙ รูป/คน โดยการปฐมนิเทศเป็นการเริ่มต้นใหม่ของรั้วมหาวิทยาลัย เช่น ภูมิหลังของมหาวิทยาลัย วัฒนธรรมของนิสิตมหาจุฬา วิถีปฏิบัติของนิสิต เพราะมหาจุฬาเป็นมหาวิทยาลัยของภาครัฐและเป็นมหาวิทยาลัยทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการจะจบการศึกษาจะต้องทราบอะไรบ้าง โดยมีขั้นตอนต่างๆ เป็นการวางแผนการศึกษาตามระยะเวลา เรียนอย่างไรจะไม่สิ้นสถานภาพของการเป็นนิสิต ตอนนี้ถือว่าเราลงเรือลำเดียวกันเพื่อเดินทางไปด้วยกัน ครูอาจารย์และเจ้าหน้าที่พร้อมจะช่วยเหลือนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาทุกท่าน โดยมีเป้าหมายเพื่อได้ความรู้ความเข้าใจในสาขาที่เราศึกษาเป็นฐาน ส่วนใบปริญญาเป็นรอง เพื่อพัฒนาชีวิตของเราให้เกิดความสุข ขอให้ทุกท่านไปถึงปัจฉิมนิเทศ เพราะนิเทศมี ๓ ประเภทคือ ปฐมนิเทศ มัชฌิมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ คือ เบื้องต้น ท่ามกลาง และสุดท้าย
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส, ศาสตราจารย์ ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร กล่าวต้อนรับนิสิตบัณฑิตศึกษาว่า เรามีสายสัมพันธ์ที่ดีเพราะเรามีอาจารย์ท่านเดียวกันคือท่านอธิการบดีรูปปัจจุบัน พอเรียนจบให้โอกาสพวกเราได้สนองานมหาจุฬาภายใต้อุดมการณ์เดียวกัน เราเห็นการเจริญเติบโต เราจึงเป็นบ่อน้ำแห่งความสุขให้ลูกศิษย์ของเรา โดยเจตนาที่นิสิตเดินทางมาหาเรามุ่ง ๒ ปริญญา คือ มุ่งปริญญานอกเพื่อตอบโจทย์ชีวิตละการทำงานแต่เพียงความรู้เป็นปริยัติ แต่สิ่งหนึ่งที่มหาจุฬาให้คือ ปริญญาในเพื่อกำหนดรู้รูปนามของตนเองเป็นตัวรู้เป็นการปฏิบัติ เราจึงมุ่งด้วยความสงบจบด้วยความฉลาด สามารถบริหารจัดการชีวิตให้มีความสุข พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความทุกข์กับการดับทุกข์ เพราะ “ที่ใดมีทุกข์ที่นั่นมีพระพุทธศาสนา” ความทุกข์ทำให้เรามาศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อดับทุกข์ในเรือนใจของเรา เราต้องไม่เน้นเพียงปริญญานอกแต่เราต้องมุ่งปริญญาใน ยิ่งปัจจุบันเราชาวบ้านมีความทุกข์นี่คือโอกาสทางพระพุทธศาสนา มหาจุฬาต้องมุ่งบูรณาการเพื่อเชื่อมิถีชีวิต พระพุทธเจ้าจึงไปหาคนที่มีความทุกข์ โดยเป็นเชื่อมโลกกับธรรม โดยเป็นพระพุทธศาสนาวิถีใหม่ ศาสนาพุทธจะเข้าใจคนที่มีความทุกข์อย่างไร จึงย้ำว่า “ทำอย่างไรเราจะไม่ให้พระพุทธศาสนาในแค่คัมภีร์เท่านั้น” ชาวบ้านมีตาเดียวเราต้องไปเพิ่มตาให้กับคนในชุมชน เรามาเจอกันแล้วพากันไปพ้นทุกข์ จากนั้นผู้อำนวยการหลักสูตรต่างๆได้กล่าวต้อนรับนิสิตบัณฑิตศึกษา
ขอขอบคุณที่มา
https://www.banmuang.co.th/news/education/243269
“อธิการบดี มจร” ยันจัดการเรียนการสอน “มจร” ต้องมีวิปัสสนาเป็นฐาน
ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 23 กรกฎาคม 2021.