เรื่องเด่น “เกิดแล้ว!วิทยาลัยพุทธนานาชาติแห่งใหม่บนอนุทวีปแอฟริกา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 11 สิงหาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    “เกิดแล้ว!วิทยาลัยพุทธนานาชาติแห่งใหม่บนอนุทวีปแอฟริกา

    วันที่ ๑๐ ส.ค.๒๕๖๑ เฟซบุ๊ก Sunthorn Utaithum ได้โพสต์ภาพของข้อความว่า สมเด็จพระราชินีนาถเบสต์ เคมิกิสา พระพันปีหลวงแห่งราชอาณาจักรโตโรของประเทศอูกานดา ทรงขุดดินเป็นปฐมฤกษ์ ณ สำนักสงฆ์แห่งอูกานดา เพื่อก่อตั้งวิทยาลัยพุทธนานาชาติแห่งใหม่ขึ้นบนอนุทวีปแอฟริกา ภายใต้การนำของพระธรรมรักขิต หรือสตีเว่น คาบอคโกซา (Steven Kaboggoza) ชาวอูกานดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา

    e0b989e0b8a7e0b8a7e0b8b4e0b897e0b8a2e0b8b2e0b8a5e0b8b1e0b8a2e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b899e0b8b2.jpg

    ทั้งนี้นายสำราญ สมพงษ์ นิติปริญญาเอกสาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้เคยรายงานเรื่อง”พระยูกันดาถอดบทเรียนสร้างสันติภาพภายในที่แอฟริกา” เมื่อวันที่ ๓๐ ม.ค.๒๕๕๙ (http://www.komchadluek.net/news/knowledge/221514) ความว่า

    ชื่อเสียงของพระพุทธรักขิตะชาวยูกันดา ซึ่งเป็นพระสงฆ์เถรวาทรูปแรกที่นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในทวีปแอฟริกา เป็นที่ทราบของชาวไทยพุทธบ้างในระดับหนึ่ง และที่ทราบมากขึ้นเมื่อได้ออกหนังสือเกี่ยวกับอัตชีวประวัติเรื่อง “บัวบานที่ยูกันดา” ที่เขียนคำนิยมโดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือพระว. วชิรเมธี พระนักเทศน์นักเขียนชื่อดังแห่งศูนย์วิปัสสนาไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย

    ด้วยชื่อเสียงดังกล่าวพระพุทธรักขิตะจึงได้รับเชิญไปบรรยายในเวทีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและและสันติภาพอยู่เป็นระยะๆ รวมถึงล่าสุดได้รับนิมนต์ไปบรรยายเสนอบทความในการประชุมนานาชาติ ณ เมืองมัณฑเลย์ ประเทศเมียนมาร์ ในหัวข้อ “The World Peace Buddhist Conference” หรือ “พระพุทธศาสนากับสันติภาพโลก” ที่สถาบันวิชาการสีตะกู ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ภายใต้การนำของพระสยาดอจี อชิน ญาณิสสระ อธิการบดี ซึ่งมีนักสันติภาพจากหลากหลายศาสนาทั่วโลกกว่า ๑,๐๐๐ รูป/คน ได้เข้าร่วมและเสนอบทความ รวมถึงพระพรหมบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ได้เดินทางไปปาฐกถาพิเศษ และพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดี มจร ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก ได้นำคณาจารย์และนิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นผู้นำเสนอประสบการณ์จากทำงานด้านสันติภาพในประเด็น “หมู่บ้านสันติภาพ” ต่อที่ประชุมด้วย

    จากเวทีสันติภาพที่ประเทศเมียนมาร์นั่นเองพระมหาหรรษาจึงได้นิมนต์พระพุทธรักขิตะเดินทางมาประเทศไทย เป็นวิทยากรพิเศษบรรยายประสบการณ์การสร้างสันติภาพเรื่อง “ถอดบทเรียนการสร้างสันติภาพในทวีปแอฟริกาใต้ : กรณีศึกษา ประเทศยูกันดา” ให้แก่นิสิตปริญญาโท สาขาสันติศึกษา มจร และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ารับฟังที่ห้องสันติศึกษา อาคารเรียนรวม มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันเสาร์ที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๙

    พระพุทธรักขิตะได้ระบุว่า ได้เดินทางมาบรรยายที่ มจร ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๒ โดยขอนำเสนอวีดีโอสั้นๆเป็นเรื่องราวเมล็ดพันธุ์แห่งธรรมะ ซึ่งสันติภาพนั้นมี ๓ ระดับ คือ ๑ สันติภาพทั่วไป ๒. สันติภาพภาวนา และ ๓ .ผลจากการปฏิบัติ ซึ่งสันติภาพนั้นแบ่งออก ๒ แบบ คือ สันติภายในและสันติภายนอก ปัจจุบันนี้สร้างได้เพียงสันติภาพภายนอกจึงจำเป็นต้องพัฒนาให้ถึงสันติภาพภายในโดยผ่านการปฏิบัติภาวนา ซึ่งแนวทางการพัฒนาเพื่อไปสู่สันติภาพมี ๓ ระดับคือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ

    “คำว่าสันติภาพในมุมมองของผม คือ อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ถึงแม้เราจะไม่มีสงครามแล้ว แต่ความรู้สึกเกี่ยวกับสงครามยังมีอยู่ เพราะเราเคยเป็นเหยื่อของสงคราม ซึ่งที่ประเทศยูกันดามีพระสันติภาพเหมือนประเทศไทยมีพระเเก้วมรกต โดยอาตมาเป็นพระรูปแรกที่ไปสร้างวัดที่ประเทศยูกันดาซึ่งก็เป็นสิ่งแปลกเพราะเป็นสิ่งที่ชาวยูกันดาไม่เคยรู้จักมาก่อน” พระพุทธรักขิตะกล่าวและว่า

    คำถามก็คือจะใช้อะไรในการไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา คำตอบก็คือว่า ใช้ความเมตตา กรุณา ทำให้ชาวบ้านเห็น เช่น ให้ทาน แจกอาหาร ด้วยการแบ่งปัน โดยเอาธรรมไปทำ ที่ประเทศยูกันดาขาดแคลนน้ำจึงช่วยเรื่องน้ำให้ทานเรื่องน้ำสะอาดให้กับชาวยูกันดา ซึ่งใช้วิธีการสงเคราะห์หรือสังคหธุระ และที่ยูกันดามีปัญหาด้านการศึกษาจึงเริ่มด้วยการสอนภาษาอังกฤษ ปลูกฝังการศึกษาและสอดแทรกธรรมะเข้าไปด้วย

    พระพุทธรักขิตะกล่าวด้วยว่า จึงอยากขอความร่วมมือ มจร ในการเปิดโรงเรียนและส่งครูไปช่วย เพราะครูตัวจริงต้องไปสอนในสถานที่เขาไม่รู้ ให้เขารู้ สอนคนไม่รู้ ให้รู้ได้ เพราะการสอนเป็นการเรียนรู้ไปในตัวด้วย เช่นกัน

    “เราควรจัดการความขัดแย้งภายในตัวเองก่อน ซึ่งที่ผ่านมาอาตมานับถือมาทุกศาสนาทุกนิกาย จึงมาค้นหาว่าอะไรคือความต้องการที่แท้จริง จึงมีโอกาสได้ไปปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๓ เดือน จึงค้นพบความต้องการที่แท้จริง ความจริงศาสนาพุทธก็มีหลายนิกายทั้งเถรวาทและมหายาน แม้แต่การปฏิบัติของเถรวาทในการกำหนดท้องบ้างลมหายใจบ้าง ไม่รู้จะกำหนดที่ไหนกันแน่ เพียงเท่านี้ก็ขัดแย้งในตัวเองแล้ว จึงทำให้ไปปฏิบัติกรรมฐานที่ประเทศเมียนมาร์เพื่อสร้างสันติภายใน” พระชาวยูกันดา กล่าวและว่า

    ถ้าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่าไปเปรียบเทียบกับคนอื่น แต่ให้เปรียบเทียบกับตนเอง อดีตเราปฏิบัติได้แค่ไหน ตอนนี้เราได้แค่ไหน เพราะถ้าเราไปเปรียบเทียบกับคนอื่นก็จะเกิดทิฐิมานะเราต้องมั่นใจและศรัทธาเท่านั้น มีคำถามว่าทำไมถึงเลือกมาเป็นชาวพุทธและทำไมถึงเลือกเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เหตุเพราะว่าศาสนาอื่นที่ศึกษาไม่สามารถให้คำตอบของชีวิตได้ แต่พระพุทธศาสนาสามารถตอบคำถามของชีวิตได้ ศาสนาพุทธให้คำตอบที่ถูกต้องมากๆแต่ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานถึงจะได้คำตอบนั้น

    พระพุทธรักขิตะกล่าวว่า อาตมาถือว่าเป็นแกะดำในครอบครัว เพราะคนในครอบครัวนับถือศาสนาอื่น แต่อาตมาคนเดียวที่มานับถือศาสนาพุทธ คนในครอบครัวรับประทานเนื้อแต่อาตมาฉันผักจึงเกิดความขัดแย้งในครอบครัว แม้แต่ลุงผู้ส่งให้ศึกษาอยากให้เป็นนักธุรกิจ แต่มาวันหนึ่งอาตมานับถือพระพุทธศาสนาและบวชเป็นพระภิกษุจึงทำให้ลุงเกิดความผิดหวังเป็นอย่างมากถือว่ายังขัดแย้งเพราะยังไม่เข้าใจ แต่ มจร ได้แก้ปัญหาความขัดแย้งได้ดีมากๆ โดยเมื่อเป็นเจ้าภาพจัดงานวิสาขบูชาโลกทำให้ลุงได้ร่วมเดินทางมาด้วยและได้รับพระพุทธรูปจากบุคคลสำคัญของประเทศไทย ทำให้ลุงเกิดการยอมรับเป็นอย่างมาก

    สันติภาพจะเกิดต้องมี ๓ ระดับ คือ ความรักต่อกัน ต่อสู้กับตนเอง ร่วมมือกันด้วยความอดทนต่อกัน เพราะความขัดแย้งในชุมชน ซึ่งเราเป็นสัตว์สังคมต้องอยู่ร่วมกัน ที่ประเทศยูกันดาไม่เคยสัมผัสคุ้นเคยกับพระสงฆ์ จึงเกิดความขัดแย้งทางสังคมอย่างหนึ่ง เพราะไม่เคยรู้จักนักบวช แม้แต่เห็นชุดการแต่งกายก็มองว่าเป็นแฟชั่นสวยงาม คิดว่าเป็นนายแบบ ถามถึงราคาชุดที่ใส่ก็เป็นความขัดแย้งจากความไม่รู้ บางกลุ่มคิดว่า บ้า วิกลจริต เพราะแต่งกายไม่เหมือนคนอื่น จึงใช้วิธีกำหนดได้ยินหนอๆๆ ไม่เอาไปปรุงแต่ง เป็นสร้างพุทธสันติวิธี กำหนดว่าได้ยินก็ผ่านไป ได้ยินอะไรก็ปล่อยสักว่าได้ยิน แล้วมันก็ผ่านไปเป็นการสร้างสันติภายใน

    พระชาวยูกันดา กล่าวว่า ต่อไปอยากให้พวกเราสร้างสันติภายในด้วยการนั่งสมาธิและแผ่เมตตาและแบ่งปันความขัดแย้งเกี่ยวกับสังคม การเมือง เราเคยมีความขัดแย้งแบบรุนแรงหรือไม่ แต่เราต้องสามารถให้อภัยคนอื่นได้ ซึ่งไม่ใช่ความอ่อนแออะไรเลยแต่คือความแข็งแกร่งของจิตใจเรา เราต้องฝึกการให้อภัย คนที่จะถูกเยียวยาคนแรกคือตัวเราเอง ซึ่งพุทธศาสนาสอนเรื่องการเผยแผ่เมตตา ความขัดแย้งทางศาสนาก็มีส่วนสำคัญ ซึ่งเราเรียนทฤษฎีเกี่ยวสันติภาพในห้องเรียนแต่พอเราไปเจอความขัดแย้งจริงๆจะท้าทายเรามาก ซึ่งบางอย่างเราต้องมีอุเบกขา พร้อมทั้งเข้าใจเกี่ยวกับโลกธรรมให้มากๆ

    ส่วนความขัดแย้งทางการเมือง พระสงฆ์ควรจะมีส่วนร่วมทางการเมืองหรือไม่นั้น ความจริงแล้วพระสงฆ์ไม่ควรไปเล่นการเมือง แต่ควรให้ คำแนะนำชี้แนะเตือนสติมากกว่าลงไปเล่น เหมือนเล่นฟุตบอลต้องมีโค้ช พระเหมือนโค้ชให้ธรรมะ ให้ข้อคิดในการเล่นการเมืองการปกครอง

    พระพุทธรักขิตะกล่าวสรุปว่า ทุกความขัดแย้งแม้จะแค่เล็กๆ ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกันและกัน จึงต้องฝึกปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้ง การจัดการความขัดแย้งต้องเริ่มต้นจากตัวเราเอง ด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นการสร้างสันติภายใน

    ขอขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/121362
     

แชร์หน้านี้

Loading...