เรื่องเด่น 7 วิธี ที่จะทำให้คุณเลิกเป็นคน ฟุ้งซ่าน คิดมาก ขี้กังวล

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 5 เมษายน 2018.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    7 วิธี ที่จะทำให้คุณเลิกเป็นคน ฟุ้งซ่าน คิดมาก ขี้กังวล


    Untitled-1-11.png



    แน่นอนว่าตัวคุณเองรู้อยู่แล้ว ว่าการใช้เวลาเป็นชั่วโมงเพื่อตัดสินใจว่าจะเลือกแซนด์วิชชิ้นไหนเป็นอาหารกลางวันเป็นเรื่องไร้เหตุผล เช่นเดียวกับการใช้เวลานับสัปดาห์เพื่อตัดสินใจว่าจะรับข้อเสนองานชิ้นนี้ดีไหม? หรือใช้เวลาหนึ่งปีเพื่อคิดว่าจะแต่งงานกับแฟนคนนี้ดีรึเปล่า?


    คุณอาจจะคิดว่า “พอได้แล้วน่า…ตัดสินใจซะทีเถอะ” แต่พอผ่านไปแค่ไม่กี่นาที ความลังเลและหวั่นวิตกก็เริ่มจู่โจมเข้ามาเรื่อยๆ แม้คุณจะพยายามสร้างภูมิคุ้มกันความรู้สึกเหล่านี้บ้างแล้วก็ตาม


    ทุกคนคงเคยผ่านสถานการณ์แบบนี้มาแล้ว และมีวิธีรับมือที่ต่างกันออกไป ซึ่งจากเว็บไซต์ Quora ที่มีคนไปตั้งคำถามว่า “ฉันควรแก้นิสัยคิดมากนี้ยังไงดี?” ซึ่งมีผู้คนมากมายที่มาแชร์วิธีของตัวเองและร่วมโหวตคำตอบที่สร้างสรรค์ที่สุด และทางเราก็ได้รวบรวมมาไว้ในเว็บ SUMREJ ให้แล้ว ต่อไปคุณจะได้รู้วิธีหยุดนิสัยนี้ได้อย่างถาวร!


    1.สังเกตความคิดของตัวเอง

    primate-ape-thinking-mimic.jpg


    ส่วนสำคัญที่สุดของการทำสมาธิคือ การปล่อยให้ความคิดของคุณลอยผ่านไป แทนที่จะไปยึดติดอยู่กับมันหรือพยายามที่จะหยุดคิดมัน


    การฝึกสมาธิแบบเจริญสติ (Mindfulness Meditation) เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณ หยุดหมกมุ่นกับเรื่องในอดีตได้ โดยให้คุณลองสังเกตการณ์ความคิดของตัวเอง แทนที่จะลงไปหมกมุ่นอยู่กับมัน


    สตีฟ จอบส์ เองก็เคยอธิบายเกี่ยวกับวิธีการเช่นเดียวกันนี้ให้ วอลเตอร์ ไอแซ็กซัน ผู้เขียนชีวประวัติของเขาฟัง ดังนี้


    “ลองนั่งอยู่เฉยๆ แล้วสังเกตความคิดของตัวเองดู คุณจะรู้เลยว่าความคิดมันไร้ขอบเขตจริงๆ และเวลาที่คุณพยายามทำให้มันนิ่ง ก็มีแต่จะแย่ลงเท่านั้น แต่จิตใจของคุณจะสงบลงเองเมื่อเวลาผ่านไปสักพัก และเมื่อจิตใจของคุณสงบแล้วมันก็จะมีที่ว่างในการรับฟังสิ่งที่ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น”


    2.เขียนความคิดของตัวเอง


    woman-hand-desk-office.jpg


    อีกวิธีนึง ที่จะช่วยหยุดความคิดฟุ้งซ่านของคุณ ก็คือ การระบายให้กับคนที่มีมุมมองวิธีคิดแตกต่างไปจากคุณได้ฟัง หรือจะใช้วิธีเขียนระบายความคิดของตัวลงไปในกระดาษแทนก็ได้ เพราะการเขียนทำให้เราคิดอย่างเป็นระบบขึ้นมาก ถ้าคุณเก็บความคิดเหล่านั้นไว้แต่ในหัว นอกจากมันจะไปสุมกันจนเป็นภูเขาเลากา มันยังทำให้คุณวนกลับมาคิดเรื่องเดิมซ้ำอยู่อย่างนั้นไม่จบสิ้น


    3.กำหนดช่วงเวลาสำหรับ “การหยุดใช้ความคิด”

    การกำหนดโซน “หยุดใช้ความคิด” ช่วยห้ามไม่ให้คุณหมกมุ่นกับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป เช่น การไม่คิดเกี่ยวกับเรื่องยากๆ หลังเวลาสองทุ่มเพื่อไม่ให้มันมารบกวนเวลานอนหลับ


    Amy Morin ซึ่งเป็นทั้งนักสังคมสงเคราะห์และนักเขียน ได้แนะนำวิธีที่ใกล้เคียงกันไว้ในคอลัมน์หนึ่งของ Psychology Today ว่าให้แบ่งเวลาไว้ประมาณ 20 นาทีต่อวัน สำหรับการสะท้อนความคิดของตัวเอง


    “ภายในยี่สิบนาทีนี้ ปล่อยให้ตัวเองวิตกกังวล ครุ่นคิด ฟุ้งซ่านได้เต็มที่ตามต้องการ แล้วพอหมดเวลา ก็ให้เปลี่ยนไปทำสิ่งอื่นที่มีประโยชน์กว่า ถ้าคุณเริ่มคิดมากนอกช่วงเวลาที่กำหนดไว้เมื่อไหร่ ก็ให้เตือนตัวเองว่า ค่อยเอาเก็บไปคิดในช่วงเวลาที่กำหนดดีกว่า”


    4.เบี่ยงเบนความคิดของตัวเอง

    the-strategy-win-champion-the-championship-1.jpg


    ฟังดูง่ายๆ แต่ที่จริงการจดจ่อกับสองสิ่งไปพร้อมกันนี่มันยากนะ ลองออกกำลังกายหรือเล่นเกมดูเมื่อรู้ตัวว่าตนเองกำลังคิดมาก เพื่อสร้างสมดุลระหว่างอารมณ์และร่างกาย


    ผู้เชี่ยวชาญหลายคนก็เห็นด้วยกับวิธีนี้ Stepher S. Ilardi ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Depression Cure กล่าวกับ Fox News ว่า วิธีแก้การคิดมากคือ ให้หากิจกรรมที่เบี่ยงเบนความสนใจของคุณ ซึ่งควรเป็น “กิจกรรมที่ใช้ทั้งร่างกาย ความคิด และการร่วมเล่นกับผู้อื่น เช่น เทนนิส หรือการเดินเที่ยวกับเพื่อนสักคน”


    5.โฟกัสที่สิ่งที่ทำได้ในปัจจุบัน

    อีกหนึ่งวิธีแก้นิสัยคิดมากก็คือ เลิกคิดแล้วลงมือทำ อย่าไปโฟกัสในสิ่งที่คุณต้องทำ สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ หรือแม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว แต่ให้พุ่งความสนใจไปในที่สิ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบันก็พอ ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็กแค่ไหนก็ตาม แล้วก็ลงมือทำมันซะ


    Bob Migliani ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Embrace of the Chaos เขียนลงในหนังสือพิมพ์ The Huffington Post ว่า เขามักจะเปลี่ยนความกังวลใจเกี่ยวกับอนาคตให้กลายเป็นการกระทำที่จับต้องได้ “ทุกครั้งที่ผมเริ่มกังวลในเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ผมจะลุกจากที่ที่นั่งอยู่ เดินไปที่คอมพิวเตอร์และลงมือเขียนหนังสือของผมต่อ” เขากล่าว


    6.เคารพความคิดเห็นของตัวเอง

    เหตุที่คุณยังคงคิดมากจนไม่ยอมตัดสินใจ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคุณไม่เชื่อว่าตัวเองจะตัดสินใจเลือกสิ่งที่ถูกต้อง จงเรียนรู้ที่จะเคารพความคิดเห็นของตัวเอง ยิ่งคิดมากเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งลังเลในความคิดของตัวเองมากเท่านั้น


    7.คุณสามารถเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้

    เป็นเรื่องปกติที่จะกังวลว่าคุณเลือกงานผิด แต่งงานกับคนที่ไม่ใช่สำหรับตัวเอง หรือแม้แต่ขับรถกลับบ้านผิดทาง แต่ความผิดพลาดก็ไม่ได้นำไปสู่หายนะเสมอไป แถมยังเป็นโอกาสให้ได้เรียนรู้และเติบโตขึ้นด้วย


    นักข่าวชื่อดัง Kathryn Schulz เคยขึ้นไปพูดบนเวที TED Talk เธอกล่าวว่า “การตระหนักได้ว่าตัวเองทำอะไรพลาดแล้วปรับมุมมองการมองโลกใหม่ได้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ”


    “การคิดมากมักเป็นเพราะคุณคิดว่ามันเป็นการตัดสินใจครั้งสุดท้ายของคุณ เปลี่ยนแปลงไม่ได้และต้องถูกต้องเท่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้ว คุณไม่ต้องกังวลกับความผิดพลาดเลย และให้เข้าใจไว้ว่าความคิดเห็นหรือความรู้ของคุณนั้นมันเปลี่ยนแปลงได้เสมอตามกาลเวลา แล้วคุณจะรู้สึกสงบและเป็นอิสระจากภายในอย่างแท้จริง”


    ขอบคุณที่มา : sumrej.com


    ------------
    ขอบคุณที่มา
    http://108resources.com/3068-2/
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,103
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    หลักการแก้ไข แบบจิตวิทยาแบบนี้ และอีกหลายอย่าง ที่ได้วิเคราะห์ด้วยเหตุผลแล้วน่าจะทำได้ แต่หลายคน ก็ล่มกลางคันหรือทำได้ไม่ตลอดรอดฝั่ง
    อาจเพราะเหตุ-ปัจจัยที่ละเอีัยด เช่น ปรามาสพระรัตนตรัย , ปรามาสผู้ทรงศีล ผู้มีธรรม, เนรคุณต่อบิดา มารดา บุพการี ผู้มีคุณต่อตนหรือส่วนรวมด้วยกาย วาจา ใจ ฯลฯ

    ถ้าหมั่นขอขมากรรมต่อท่านเหล่านั้น บ่อยๆ ทั้งที่ระลึกได้หรือระลึกไม่ได้
    ตั้งใจเด็ดขาดจะไม่ทำอีก อาจได้สัมผัสความสงบโปร่งเบาจากภาระหนักๆในใจ หรือความเร่าร้อนทางจิตใจ ที่ปะทุออกมาบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ เกินกว่าจะระงับกดข่มเอาไว้ได้ ก็อาจเป็นไปได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...