๗๕เมื่อ ๒ ปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ได้ไปเที่ยวอยุธยาแบบเต็มๆ วัน (ที่จริงหลังจากนั้นก็มีไปเที่ยวอยุธยาเหมือนกันแต่แบบผ่านๆ) ซึ่งไปทั้งหมด ๖ วัด ก็จะมี
วัดไชยวัฒนาราม (ตามหาเจดีย์เจ้าฟ้ากุ้ง)
๑. วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
๒. วัดไชยวัฒนาราม
๓. วัดโลกยสุทธาราม
๔. วัดราชบูรณะ
๕. วัดมหาธาตุ
๖. วัดสุวรรณดารามราชวรวิหาร
คราวนั้นที่วัดไชยวัฒนาราม ไม่ได้เปิดให้เข้าชมด้วยผลพวงจากน้ำท่วม วัดเกิดความเสียหายทำให้เป็นพื้นที่อันตรายโบราณสถานจมน้ำอาจจะเกิดการทรุดตัว จึงทำได้แต่ส่องกล้องถ่ายรูปไกลๆ อยู่นอกรั้วเท่านั้น พอกลับมาถึงบ้านได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับวัดไชยวัฒนารามจึงรู้ว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์หรือเจ้าฟ้ากุ้งกับเจ้าฟ้าสังวาลย์(แต่ข้อมูลบางที่บางแห่งก็บอกว่าเป็นที่ฝังพระศพของเจ้าฟ้ากุ้งกับเจ้าฟ้าสังวาลย์ แล้วสรุปว่าเป็นที่บรรจุพระอัฐิหรือเป็นที่ฝังพระศพกันแน่ งง)....
มาคราวนี้ได้มีโอกาสมาเดินดูวัดไชยวัฒนารามเฉพาะเจาะจงวัดเดียวไม่ได้ไปวัดอื่น แต่เก็บรูปมาไม่ได้มากเพราะไปถึงตอนประมาณ ๕ โมงเช้าแดดร้อนจัดเดินไม่ไหว....ข้อมูลของวัดนำมาจากกระทู้เก่าแล้วมีเพิ่มเติมเข้าไปอีกนิดหน่อยนะ....
75.วัดไชยวัฒนาราม (ตามหาเจดีย์เจ้าฟ้ากุ้ง)
ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 13 มีนาคม 2015.
หน้า 1 ของ 3
-
-
วัดไชยวัฒนาราม
ตั้งอยู่ที่ ถนนอู่ทอง ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดไชยวัฒนารามบางครั้งเรียกว่า “วัดไชยยาราม” และ “วัดไชยชนะทาราม” เป็นพระอารามหลวงในสมัยอยุธยา ซึ่งเป็นวัดที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นวัดอรัญวาสี ณ บริเวณที่ดินซึ่งเป็นนิวาสสถานของพระราชชนนีในปีที่ขึ้นครองราชย์ คือปีมะเมีย พ.ศ.๒๑๗๓ สันนิษฐานว่าเป็นวัดประจำรัชกาลด้วยต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ใช้วัดนี้ในฐานะเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีสำหรับพระราชทานเพลิงศพของพระราชวงศ์และขุนนางผู้สูงศักดิ์
ในปี พ.ศ.๒๒๙๙ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) กวีเอกสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้ถูกกล่าวโทษว่าเสด็จเข้ามาทำชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ในพระราชวังหลายครั้ง สืบสวนได้ความเป็นสัตย์จริง จึงลงพระราชอาญาเฆี่ยนทั้งสองพระองค์จนดับสูญแล้วนำศพไปฝังไว้ ณ วัดไชยวัฒนารามทั้งสองพระองค์
เมื่อครั้งสงครามพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๐ วัดไชยวัฒนารามถูกแปลงเป็นค่ายตั้งรับศึก เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาวัดไชยวัฒนาราม จึงถูกปล่อยให้ทิ้งร้าง ผู้ร้ายเข้าไปลักลอบขุดหาสมบัติ เศียรพระพุทธรูปถูกขโมย มีการรื้ออิฐที่พระอุโบสถ และกำแพงวัดไปขาย ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการอนุรักษ์และพัฒนาสืบมาจนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๕
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุเป็นปรางค์ประธาน ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นที่สื่อแทนเขาพระสุเมรุ ฐานประทักษิณซึ่งฐานประทักษิณได้ยกสูงขึ้นมาจากพื้น ๑.๕ เมตร มีลักษณะเป็นปรางค์จัตุรมุข (มีมุขยื่นออกมาทั้ง ๔ ด้าน) ในส่วนของมุขด้านตะวันออกจะเจาะมุขทะลุเข้าสู่เรือนธาตุ ซึ่งภายในจะประดิษฐานพระพุทธรูปนั่ง (ปัจจุบันไม่พบแล้ว) ยอดขององค์ปรางค์ทำเป็นรัดประคดซ้อนกัน ๗ ชั้น แต่ละชั้นเป็นลวดลายใบขนุนกลีบขนุน ส่วนบนสุดเป็นทรงดอกบัวตูม ปรางค์แบบนี้มีลักษณะเหมือนปรางค์ในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่งวัดไชยวัฒนารามนั้นสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำเอาพระปรางค์ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้างอีกครั้งหนึ่ง การที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงสร้างปรางค์ขนาดใหญ่เป็นประธานของวัด เท่ากับเป็นการรื้อฟื้นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมสร้างปรางค์เป็นประธานของวัดเช่น การสร้างปรางค์ที่วัดมหาธาตุและวัดราชบูรณะเนื่องจากพระองค์ทรงได้เขมรมาอยู่ใต้อำนาจจึงมีการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมเขมรเข้ามาใช้ในการก่อสร้างปรางค์อีกครั้งหนึ่ง
สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือประเทศเขมร โดยตั้งใจจำลองแบบปราสาทนครวัดมาก่อสร้าง ข้างปรางค์ประธานล้อมรอบด้วยปรางค์บริวารทั้งสี่ สื่อแทนทวีปที่มีอยู่ทั้งสี่ โดยตั้งอยู่บนลานประทักษิณเดียวกัน ปรางค์บริวารเป็นปรางค์องค์เล็กลงมาที่อยู่รายล้อมปรางค์ประธาน มีทั้งหมด ๔ องค์ ลักษณะจะเพรียวกว่าปรางค์ประธานไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระปรางค์ประธาน พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระปรางค์ประธาน พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เมรุทิศ เมรุราย เป็นเมรุทรงปราสาท คือเป็นเรือนหรืออาคารซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๗ ชั้น รองรับส่วนยอดที่ ทำอย่างยอดปรางค์ การเรียกชื่อสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่าเมรุ สื่อถึงจักรวาลอื่นๆ ตั้งอยู่ล้อมรอบปรางค์ประธาน อยู่รายรอบระเบียงคด ทั้ง ๘ ทิศ เมรุทิศตั้งอยู่บริเวณมุม ส่วนเมรุรายตั้งกึ่งกลางระหว่างเมรุทิศ เชื่อมต่อกันด้วยระเบียงคด ภายในคูหาจะประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย เอาไว้ที่เมรุทิศ เมรุละ ๑ องค์ เมรุราย เมรุละ ๒ องค์ ภายในซุ้มเรือนแก้วล้วนลงรักปิดทอง ฝ้าเพดานทำด้วยไม้ประดับลวดลายและดาวเพดานลงรัก ปิดทองเช่นกัน ผนังภายในเมรุเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปใบไม้ใบกนกปัจจุบันได้เลือนลางไป ผนังด้านนอกของเมรุทั้ง ๘ องค์มีภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติ จำนวน ๑๒ ภาพไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เมรุทิศ เมรุราย
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
เมรุทิศ เมรุราย
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในเมรุทิศ เมรุราย
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในเมรุทิศ เมรุราย
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในเมรุทิศ เมรุราย
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในเมรุทิศ เมรุราย
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
ระเบียงคด คือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างเมรุแต่ละเมรุเอาไว้โดยรอบฐานประทักษิณรอบปรางค์ประธานซึ่งแต่เดิมจะมีหลังคารอบๆ ผนังก่ออิฐถือปูนมีลูกกรงหลอกเป็นรูปลายกุดั่น ที่บริเวณระเบียงคดนี้จะมีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่รวมทั้งหมด ๑๒๐ องค์ แกนในทำจากไม้พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วน ส่วนนิ้วใช้โลหะสำริดดัดขึ้นรูป ปัจจุบันเหลือที่ยังมีพระเศียรอยู่ ๒ องค์ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปบริเวณระเบียงคต
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปบริเวณระเบียงคต
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปบริเวณระเบียงคต
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปบริเวณระเบียงคต
ไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พระพุทธรูปบริเวณระเบียงคต
-
พระอุโบสถ อยู่ทางด้านทิศตะวันออกนอกระเบียงคด มีซากพระประธานพระพุทธรูปปางมารวิชัยสร้างด้วยหินทรายประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี สภาพปัจจุบันเหลือเพียงฐานเสาอุโบสถ และรอยฐานเสมา ใบเสมาของพระอุโบสถทำด้วยหินสีค่อนข้างเขียว จำหลักเป็นลายประจำยามและลายก้านขด และเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ทางด้านหน้าพระอุโบสถมีเจดีย์ ๒ องค์ ฐานกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๒ เมตร ซึ่งถือเป็นศิลปะที่เริ่มมีแพร่หลายตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองไฟล์ที่แนบมา:
-
-
พื้นพระอุโบสถ
ไฟล์ที่แนบมา:
-
หน้า 1 ของ 3